วันเสาร์, เมษายน 30, 2554
เชื่อมั่นประเทศไทยฯ ตอนสุดท้าย..ยังไม่เป็นที่น่าสนใจของประชาชน
เชื่อมั่นประเทศไทยฯ ตอนสุดท้าย
รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายอภิสิทธิ์ในวันนี้ เป็นการออกอากาศครั้งสุดท้ายแล้ว โดยตลอดระยะเวลาในการจัดรายการที่ผ่านมากว่า 2 ปี รายการนี้เป็นช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ผลงานต่างๆ ของรัฐบาล
แต่อย่างไรก็ตาม ผลการตอบรับจากประชาชนพบว่ารายการนี้ยังไม่เป็นที่น่าสนใจของประชาชน
ที่มา: Produced by VoiceTV
by VoiceNews
30 เมษายน 2554 เวลา 19:43 น.
ครม.เทกระจาดส่งท้าย อิ่มทั้งผู้ให้สุขทั้งผู้รับ
การประชุมครม.สองนัดสุดท้ายในวันที่ 26 เม.ย.และวันที่ 3 พ.ค.เต็มไปด้วย อภิมหาวาระ อัดแน่นด้วยเม็ดเงินหลายร้อยพันหมื่นล้าน ตามที่กระทรวงต่างๆเสนอขอมา
เหลือเวลาอีกแค่สัปดาห์ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เตรียมส่งคืนอำนาจให้ประชาชนด้วยการประกาศยุบสภาวันที่ 6 พ.ค. มีผลให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ต้องกลายสภาพเป็น ครม.รักษาการ ย่อมทำให้การพิจารณาวาระสำคัญในที่ประชุม ครม. ต้องระมัดระวังอาจหมิ่นเหม่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาอนุมัติงงบประมาณจำนวนมาก เพื่อดำเนินโครงการต่างๆ หรือแม้แต่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ผู้บริหาร ตำแหน่งสำคัญ ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
การปรับสภาพครม.จากเต็มขั้นเป็นครม.รักษาการ ทำให้ การประชุมครม.สองนัดสุดท้าย เมื่อวันที่ 26 เม.ย. และวันที่ 3 พ.ค.ที่จะถึงนี้ เต็มไปด้วย อภิมหาวาระ อัดแน่นด้วยเม็ดเงินหลายร้อยพันหมื่นล้าน ตามที่กระทรวงต่างๆเสนอขอมา
ที่น่าสนใจ การประชุม ครม.เมื่อวันที่ 26 เม.ย. มีวาระจรเข้าสู่ที่ประชุมถึง 20 เรื่อง และวาระจรดังกล่าวเน้นหนักไปด้วยการขออนุมัติงบจัดซื้อ หรือแม้แต่สถานการณ์ร้อนสุดจากเหตุการณ์ปะทะชายแดน ไทย กัมพูชา ก็มีการจัดวาระจรขอซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติม ในการปกป้องอธิปไตยของชาติ วงเงินถึง 1,200 ล้านบาท
ตรวจสอบวาระเทกระจาดเบื้องต้นวันที่ 26เม.ย. มหาศาลที่สุดอยู่ที่กระทรวงกลาโหม จากพรรคภูมิใจไทย ได้รับอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการปรับปรุงเรือฟรีเกต เรือรบหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสิน วงเงิน 2,900 ล้านบาท ระยะ 4 ปี ปีงบประมาณ 2554 - 2257 โดยปีงบประมาณ 2554 จำนวน 600 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 800ล้านบาท ปี 2556 จำนวน1,100 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 451 ล้านบาท
ตามด้วย อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการจัดหายานยนต์สายสรรพาวุธระยะที่ 2 ทบ.1412 โดย กองทัพบกจัดซื้อจัดจ้าง โดยงบประมาณที่ขอมาทั้งสิ้นมีงบประมาณ 3 ปี งบประมาณปี 2554 จำนวน 749 ล้านบาท งบประมาณปี2555 จำนวน 1,750 ล้านบาท ปี 2,256 จำนวน 2,498 ล้านบาท เพื่อซื้อรถยนต์บรรทุกขนาด 2 ตันครึ่ง ซึ่งครม.อนุมัติจัดซื้อวิธีพิเศษ เพื่อทดแทนยุทโธปกรณ์เดิมที่เก่าล้าสมัย ที่ได้มีการรับแจกจ่ายใช้ในราชการมาเป็นเวลานาน และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการปฏิบัติภารกิจของกองทัพให้บรรลุเป้าหมาย
โดยกองทัพบกได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นไม่ผูกพันงบประมาณ ตามกรอบวงเงิน โดยได้คัดเลือกยานยนต์สายสรรพวุธ ชนิดรถยนต์บรรทุก ขนาด 2 ตันครึ่ง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ ISUZU รุ่น FTS 34 SU-KDPN จากบริษัทสิทธิผลอิมปอร์ต จำกัด ผู้แทนจำหน่ายโดยตรงอีซูซุ มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ราคาคันละ 3.3ล้านบาท จำนวน 1,475 คัน วงเงิน 4,900 ล้านบาท
น่าสนใจกว่านั้น อนุมัติตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กอ.รมน.เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2554 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินจำเป็น (แผนงาน/โครงสร้างภายในปี 54) จำนวนกว่า8,700 ล้านบาท เพื่อใช้ในการซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค ขุดบ่อ รวมถึงในการสร้างจิตวิทยามวลชนสัมพันธ์
ว่ากันว่า งบ กอ.รมน.มากมายขนาดนี้ที่เน้นไปกับการพัฒนาพื้นที่ชนบทห่างไกล ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ เป็นงบที่มาในบรรยากาศรับการเลือกตั้งดีแท้ จึงไม่แปลกที่ งบ กอ.รมน.ก้อนนี้ ไม่มีการแถลงข่าวแต่อย่างใด
ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา เป็นปลื้มไม่แพ้กัน เมื่อนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและการกีฬาเดินออกจากห้องประชุมครม.ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมกับบอกว่า “วาระที่กระทรวงเสนอผ่านฉลุยครับ” ไม่ว่าจะเป็น การยกเลิกบัตรไทยแลนด์พรีวิลเลจ การ์ด ส่วนเงินชดเชยสมาชิกจำนวน 3,000ล้านบาท จะมีการหารือแนวทางในครม.สัปดาห์หน้า หรือได้รับไฟเขียวประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย และประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย แต่ที่ดูปฏิกิริยาชาติไทยพัฒนาปรีดากว่านั้น เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้รับการอนุมัติโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท
เล็งมาที่ กระทรวงการคลัง น่าจับตามอง ตั้งแต่ได้รับการอนุมัติออกสลากการกุศล เพื่อสร้างโรงพยาบาล ให้แก่ 8 หน่วยงาน เช่น องค์การทหารผ่านศึก, รพ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์การแพทย์รามาธิบดี จำนวน 6,900ล้านบาทหรือเกือบ 7,000ล้านบาท กระทรวงการคลังอัดฉีดเต็มที่โครงการประชานิยมรัฐบาล ด้วยการได้รับงบประมาณอีกกว่า 500 ล้านบาท ในการทำโครงการประชาสัมพันธ์ดึงดูดแรงงานนอกระบบเข้าระบบประกันตน
นายกรณ์ จติกวณิช รมว.คลัง ยังยิ้มแป้น เมื่อ ครม.เห็นชอบตามข้อเสนอปรับเงินเดือนทั้งระบบให้กับพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ 5% หลังจากที่ไม่มีการปรับมาตั้งแต่ปี 2547 เมื่อเทียบกับธนาคารออมสินที่เพิ่งได้ปรับไปเมื่อปี 2553
กระทรวงแรงงาน โควต้าพรรคประชาธิปัตย์( ปชป.) ไม่น้อยหน้า ด้วยการให้ครม.ผ่านประกาศ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือใหม่ รวม 11 สาขาวิชาชีพ ซึ่งจะมีผลหลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน แต่ก็ถือเป็นการต้อนรับวันแรงงานที่จะถึงพร้อมกับการเตรียมเปิดนโยบายขึ้นค่าแรงของพรรคประชาธิปัตย์อีกต่างหาก
กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับงบสนับสนุนในการบูรณะและซ่อมแซมโบราณสถานที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว 24 รายการ เป็นเงิน 66 ล้านบาท
ยี่ห้อ “ปชป.” อีกเช่นกัน โดยนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกฯ รับบัญชานโยบายแก้ปุ๋ยแพง ผ่านความเห็นชอบ โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิต ของเกษตรกรโดยจะใช้งบประมาณ 3,500 ล้านบาท
ส่วนงบช่วยเหลือปัญหาภัยฝนถล่ม น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ที่ผ่านมา วานนี้ ก็ผ่านอย่างรวดเร็วตามข้อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการ กำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ คชอ. ที่มีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯเป็นประธาน ได้รับงบ 2,100 ล้านบาทเพื่อให้ 7 หน่วยงาน นำไปช่วยแก้ไขปัญหาอุทกภัย ดินโคลนถล่ม และคลื่นเซาะชายฝั่ง
ดีดลูกคิด พิจาณาตัวเลขกลมๆ กับ "ครม.นัดก่อนยุบสภา" ขอบอก แตะระดับ สามหมื่นกว่าล้านบาท ถือเป็นงบประมาณอนุมัติด่วนจี๋นาทีสุดท้าย หวังเติมเต็มกำลังใจฝ่ายความมั่นคงรักษาอธิปไตยของชาติ และเสริมสร้างความสุขให้ประชาชนและพรรคร่วมดีแท้
บทความโดย: ธรรมสถิตย์ ผลแก้ว
ที่มาบทความ: โพสต์ทูเดย์
เหลือเวลาอีกแค่สัปดาห์ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เตรียมส่งคืนอำนาจให้ประชาชนด้วยการประกาศยุบสภาวันที่ 6 พ.ค. มีผลให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ต้องกลายสภาพเป็น ครม.รักษาการ ย่อมทำให้การพิจารณาวาระสำคัญในที่ประชุม ครม. ต้องระมัดระวังอาจหมิ่นเหม่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาอนุมัติงงบประมาณจำนวนมาก เพื่อดำเนินโครงการต่างๆ หรือแม้แต่การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ผู้บริหาร ตำแหน่งสำคัญ ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
การปรับสภาพครม.จากเต็มขั้นเป็นครม.รักษาการ ทำให้ การประชุมครม.สองนัดสุดท้าย เมื่อวันที่ 26 เม.ย. และวันที่ 3 พ.ค.ที่จะถึงนี้ เต็มไปด้วย อภิมหาวาระ อัดแน่นด้วยเม็ดเงินหลายร้อยพันหมื่นล้าน ตามที่กระทรวงต่างๆเสนอขอมา
ที่น่าสนใจ การประชุม ครม.เมื่อวันที่ 26 เม.ย. มีวาระจรเข้าสู่ที่ประชุมถึง 20 เรื่อง และวาระจรดังกล่าวเน้นหนักไปด้วยการขออนุมัติงบจัดซื้อ หรือแม้แต่สถานการณ์ร้อนสุดจากเหตุการณ์ปะทะชายแดน ไทย กัมพูชา ก็มีการจัดวาระจรขอซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติม ในการปกป้องอธิปไตยของชาติ วงเงินถึง 1,200 ล้านบาท
ตรวจสอบวาระเทกระจาดเบื้องต้นวันที่ 26เม.ย. มหาศาลที่สุดอยู่ที่กระทรวงกลาโหม จากพรรคภูมิใจไทย ได้รับอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการปรับปรุงเรือฟรีเกต เรือรบหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสิน วงเงิน 2,900 ล้านบาท ระยะ 4 ปี ปีงบประมาณ 2554 - 2257 โดยปีงบประมาณ 2554 จำนวน 600 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 800ล้านบาท ปี 2556 จำนวน1,100 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 451 ล้านบาท
ตามด้วย อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการจัดหายานยนต์สายสรรพาวุธระยะที่ 2 ทบ.1412 โดย กองทัพบกจัดซื้อจัดจ้าง โดยงบประมาณที่ขอมาทั้งสิ้นมีงบประมาณ 3 ปี งบประมาณปี 2554 จำนวน 749 ล้านบาท งบประมาณปี2555 จำนวน 1,750 ล้านบาท ปี 2,256 จำนวน 2,498 ล้านบาท เพื่อซื้อรถยนต์บรรทุกขนาด 2 ตันครึ่ง ซึ่งครม.อนุมัติจัดซื้อวิธีพิเศษ เพื่อทดแทนยุทโธปกรณ์เดิมที่เก่าล้าสมัย ที่ได้มีการรับแจกจ่ายใช้ในราชการมาเป็นเวลานาน และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการปฏิบัติภารกิจของกองทัพให้บรรลุเป้าหมาย
โดยกองทัพบกได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นไม่ผูกพันงบประมาณ ตามกรอบวงเงิน โดยได้คัดเลือกยานยนต์สายสรรพวุธ ชนิดรถยนต์บรรทุก ขนาด 2 ตันครึ่ง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ ISUZU รุ่น FTS 34 SU-KDPN จากบริษัทสิทธิผลอิมปอร์ต จำกัด ผู้แทนจำหน่ายโดยตรงอีซูซุ มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ราคาคันละ 3.3ล้านบาท จำนวน 1,475 คัน วงเงิน 4,900 ล้านบาท
น่าสนใจกว่านั้น อนุมัติตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กอ.รมน.เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณปี 2554 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินจำเป็น (แผนงาน/โครงสร้างภายในปี 54) จำนวนกว่า8,700 ล้านบาท เพื่อใช้ในการซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค ขุดบ่อ รวมถึงในการสร้างจิตวิทยามวลชนสัมพันธ์
ว่ากันว่า งบ กอ.รมน.มากมายขนาดนี้ที่เน้นไปกับการพัฒนาพื้นที่ชนบทห่างไกล ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ เป็นงบที่มาในบรรยากาศรับการเลือกตั้งดีแท้ จึงไม่แปลกที่ งบ กอ.รมน.ก้อนนี้ ไม่มีการแถลงข่าวแต่อย่างใด
ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา เป็นปลื้มไม่แพ้กัน เมื่อนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและการกีฬาเดินออกจากห้องประชุมครม.ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมกับบอกว่า “วาระที่กระทรวงเสนอผ่านฉลุยครับ” ไม่ว่าจะเป็น การยกเลิกบัตรไทยแลนด์พรีวิลเลจ การ์ด ส่วนเงินชดเชยสมาชิกจำนวน 3,000ล้านบาท จะมีการหารือแนวทางในครม.สัปดาห์หน้า หรือได้รับไฟเขียวประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย และประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดเลย แต่ที่ดูปฏิกิริยาชาติไทยพัฒนาปรีดากว่านั้น เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้รับการอนุมัติโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท
เล็งมาที่ กระทรวงการคลัง น่าจับตามอง ตั้งแต่ได้รับการอนุมัติออกสลากการกุศล เพื่อสร้างโรงพยาบาล ให้แก่ 8 หน่วยงาน เช่น องค์การทหารผ่านศึก, รพ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์การแพทย์รามาธิบดี จำนวน 6,900ล้านบาทหรือเกือบ 7,000ล้านบาท กระทรวงการคลังอัดฉีดเต็มที่โครงการประชานิยมรัฐบาล ด้วยการได้รับงบประมาณอีกกว่า 500 ล้านบาท ในการทำโครงการประชาสัมพันธ์ดึงดูดแรงงานนอกระบบเข้าระบบประกันตน
นายกรณ์ จติกวณิช รมว.คลัง ยังยิ้มแป้น เมื่อ ครม.เห็นชอบตามข้อเสนอปรับเงินเดือนทั้งระบบให้กับพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ 5% หลังจากที่ไม่มีการปรับมาตั้งแต่ปี 2547 เมื่อเทียบกับธนาคารออมสินที่เพิ่งได้ปรับไปเมื่อปี 2553
กระทรวงแรงงาน โควต้าพรรคประชาธิปัตย์( ปชป.) ไม่น้อยหน้า ด้วยการให้ครม.ผ่านประกาศ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือใหม่ รวม 11 สาขาวิชาชีพ ซึ่งจะมีผลหลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา 90 วัน แต่ก็ถือเป็นการต้อนรับวันแรงงานที่จะถึงพร้อมกับการเตรียมเปิดนโยบายขึ้นค่าแรงของพรรคประชาธิปัตย์อีกต่างหาก
กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับงบสนับสนุนในการบูรณะและซ่อมแซมโบราณสถานที่ได้รับความเสียหาย เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว 24 รายการ เป็นเงิน 66 ล้านบาท
ยี่ห้อ “ปชป.” อีกเช่นกัน โดยนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกฯ รับบัญชานโยบายแก้ปุ๋ยแพง ผ่านความเห็นชอบ โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิต ของเกษตรกรโดยจะใช้งบประมาณ 3,500 ล้านบาท
ส่วนงบช่วยเหลือปัญหาภัยฝนถล่ม น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ที่ผ่านมา วานนี้ ก็ผ่านอย่างรวดเร็วตามข้อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการ กำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ คชอ. ที่มีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯเป็นประธาน ได้รับงบ 2,100 ล้านบาทเพื่อให้ 7 หน่วยงาน นำไปช่วยแก้ไขปัญหาอุทกภัย ดินโคลนถล่ม และคลื่นเซาะชายฝั่ง
ดีดลูกคิด พิจาณาตัวเลขกลมๆ กับ "ครม.นัดก่อนยุบสภา" ขอบอก แตะระดับ สามหมื่นกว่าล้านบาท ถือเป็นงบประมาณอนุมัติด่วนจี๋นาทีสุดท้าย หวังเติมเต็มกำลังใจฝ่ายความมั่นคงรักษาอธิปไตยของชาติ และเสริมสร้างความสุขให้ประชาชนและพรรคร่วมดีแท้
บทความโดย: ธรรมสถิตย์ ผลแก้ว
ที่มาบทความ: โพสต์ทูเดย์
วันอังคาร, เมษายน 26, 2554
บุตรสาว เสธ.แดง ร้องนายกฯ เร่งรัดคดีลอบยิงบิดา-การตายคนเสื้อแดง
บุตรสาว เสธ.แดง ร้องนายกฯ เร่งรัดคดีลอบยิงบิดา-การตายคนเสื้อแดง
รัฐสภา 26 เม.ย. - เมื่อเวลา 12.00 น. วันนี้ (26 เม.ย.) น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล หัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม เดินทางมาที่อาคารรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้เร่งรัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในการพิจารณาคดีการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ที่มีความล่าช้าเป็นอย่างมาก
น.ส.ขัตติยา กล่าวว่า ต้องการให้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดคดีการเสียชีวิตของบิดาที่ถูกลอบยิงเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2553 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งระยะเวลาเกือบ 1 ปี คดียังไม่มีความคืบหน้า รวมถึงคดีการเสียชีวิตของกลุ่มคนเสื้อแดงคนอื่น ๆ จึงอยากให้นายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลดีเอสไอ ช่วยเร่งรัดคดีดังกล่าว เพราะเรื่องเงียบมาก
โดยตนได้รับการติดต่อจากดีเอสไอเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ขณะที่ นายปณิธาน กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้ละเลยต่อคดีของกลุ่มคนเสื้อแดง และแม้ว่าจะมีการยุบสภา ก็จะไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาคดีต่าง ๆ เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินตามนโยบายเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
น.ส.ขัตติยา ยังกล่าวถึงเส้นทางทางการเมืองของตนเองว่า ขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม และพร้อมจะสานฝันตามเจตนารมณ์ของเป็นบิดาให้สำเร็จ แต่ยอมรับว่า พรรคเพื่อไทยได้มาทาบทามให้ร่วมงานทางการเมือง ซึ่งมีแนวทางและนโยบายเดียวกัน ทั้งนี้ จะตัดสินใจทิศทางทางการเมืองของตนเองอีกครั้ง หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาแล้ว. - สำนักข่าวไทย
ที่มา : สำนักข่าวไทย
http://news.impaqmsn.com/articlesjavascript:void(0).aspx?id=414615&ch=pl1
รัฐสภา 26 เม.ย. - เมื่อเวลา 12.00 น. วันนี้ (26 เม.ย.) น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล หัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม เดินทางมาที่อาคารรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้เร่งรัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในการพิจารณาคดีการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ที่มีความล่าช้าเป็นอย่างมาก
น.ส.ขัตติยา กล่าวว่า ต้องการให้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดคดีการเสียชีวิตของบิดาที่ถูกลอบยิงเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2553 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งระยะเวลาเกือบ 1 ปี คดียังไม่มีความคืบหน้า รวมถึงคดีการเสียชีวิตของกลุ่มคนเสื้อแดงคนอื่น ๆ จึงอยากให้นายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลดีเอสไอ ช่วยเร่งรัดคดีดังกล่าว เพราะเรื่องเงียบมาก
โดยตนได้รับการติดต่อจากดีเอสไอเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ขณะที่ นายปณิธาน กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้ละเลยต่อคดีของกลุ่มคนเสื้อแดง และแม้ว่าจะมีการยุบสภา ก็จะไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาคดีต่าง ๆ เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินตามนโยบายเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
น.ส.ขัตติยา ยังกล่าวถึงเส้นทางทางการเมืองของตนเองว่า ขณะนี้ยังดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม และพร้อมจะสานฝันตามเจตนารมณ์ของเป็นบิดาให้สำเร็จ แต่ยอมรับว่า พรรคเพื่อไทยได้มาทาบทามให้ร่วมงานทางการเมือง ซึ่งมีแนวทางและนโยบายเดียวกัน ทั้งนี้ จะตัดสินใจทิศทางทางการเมืองของตนเองอีกครั้ง หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาแล้ว. - สำนักข่าวไทย
ที่มา : สำนักข่าวไทย
http://news.impaqmsn.com/articlesjavascript:void(0).aspx?id=414615&ch=pl1
วันอาทิตย์, เมษายน 24, 2554
สงคราม”ความเชื่อ”กรณี”ใครยิงก่อน”ที่ชายแดน”ไทย-กัมพูชา"
สงคราม”ความเชื่อ”กรณี”ใครยิงก่อน”ที่ชายแดน”ไทย-กัมพูชา”
ทุกครั้งที่มีเสียงปืนดังขึ้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ทั้งกองทัพไทย และกองทัพกัมพูชาจะชี้นิ้วใส่กันทันทีว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ลั่นกระสุนก่อน
ซึ่งเป็น”เรื่องยาก”ที่จะพิสูจน์ได้
ในอดีตการปะทะกันระหว่างกองทัพ 2 ประเทศจะจบลงด้วยการเจรจาหยุดยิง และสานสัมพันธ์กันใหม่ แต่ทันทีที่กรณีพิพาทไทย-กัมพูชา ยกระดับเข้าสู่ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554
ปัญหาความขัดแย้งก็”ยกระดับ”ขึ้นทันที
สหประชาชาติโยน“ลูกบอล”แห่งความขัดแย้งใส่มือ”อาเซียน”ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย เป็นประธาน และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ.กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ มีมติชัดเจน
“ยินดีต่อการที่กัมพูชาและไทยได้เชิญผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบริเวณชายแดนกัมพูชา-ไทยในฝั่งของกัมพูชาและของไทยตามลำดับ เพื่อสังเกตการณ์การปฏิบัติตามคำมั่นของทั้ง 2 ฝ่ายที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะด้วยอาวุธไม่ให้เกิดขึ้นระหว่างกันอีก”
ถ้าตีความแบบไม่ซับซ้อนก็คือ มี”คนกลาง”มาเฝ้าระวังที่ชายแดน 2 ประเทศ เพื่อเป็น”พยาน”ว่า 2 ฝ่ายจะยุติการปะทะกัน และหากเกิดปะทะกันจะได้มี”คนกลาง”ตัดสินใจว่าใครลงมือก่อน “กัมพูชา”ที่มี”จุดยืน”ชัดเจนว่าต้องการให้องค์กรระหว่างประเทศและ”คนกลาง”เข้ามาจึงเปิดประตูรับทันทีแบบไม่มีเงื่อนไข พร้อมให้ 15 ผู้สังเกตการณ์ทหารจากอินโดนีเซียเข้าไปได้ทุกจุดแม้ในค่ายทหาร
ในขณะที่ฝั่งไทย มติสภากลาโหมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ กลับมีมติสวนทางกับกระทรวงการต่างประเทศ
“สถานการณ์ไทย-กัมพูชา ยังไม่ได้อยู่ในภาวะสงคราม เป็นการปะทะกันระดับพื้นที่เท่านั้น ถ้าหากส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่ซึ่งเป็นคนต่างชาติอาจจะทำให้ความเข้าใจในข้อมูลคลาดเคลื่อน”
และภายใต้เหตุผลเรื่อง”อธิปไตย”ของประเทศ ทางกองทัพจึงมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้สังเกตการณ์ต้องไม่ใส่ชุดทหาร ไม่พกอาวุธ และเป็นส่วนหนึ่งของสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย ด้วย”ท่าที”ที่แตกต่างกัน ฝั่งหนึ่งเปิดกว้างสำหรับ”คนกลาง” แต่อีกฝั่งหนึ่งมีเงื่อนไขในการเปิดประตู
การเดินเกมของกระทรวงต่างประเทศที่ไม่เป็นเอกภาพภายในทำให้ไทยเพลี่ยงพล้ำเรื่อง”ความเชื่อถือ” ไม่ว่าจะเรื่อง”คนกลาง” หรือ การถอนบันทึกข้อตกลงเจบีซี 3 ฉบับออกจากสภาฯ ภาพที่ออกมา“ไทย”ย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
ดังนั้น เมื่อเกิดการสู้รบครั้งใหม่ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้งสองฝ่ายต่างชี้นิ้วใส่กันว่าอีกฝั่งหนึ่งเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
คำถามเรื่อง”ความเชื่อ”จึงเกิดขึ้น "สหประชาชาติ"และ"อาเซียน"จะเชื่อใคร
...................
ประเทศไทยไม่ได้อยู่เพียงเดียวดายในโลก แต่ประเทศไทยอยู่ในสังคมโลก “ความเชื่อ”ว่าปราสาทพระวิหารเป็นของไทย พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของไทย “กัมพูชา”รุกราน”ไทย”ก่อน ฯลฯ
ทั้งหมดอาจเป็น”ความเชื่อ”ของคนกลุ่มหนึ่งในเมืองไทย แต่ในสังคมโลกที่ต้องฟังและต้องคำนึงถึง”วิธีคิด”และ”กติกา”ที่เป็นสากล ประเด็นสำคัญที่สุด ก็คือ ประเทศไทยได้สร้าง”ความน่าเชื่อถือ”มากแค่ไหนในระดับนานาชาติ
โดยเฉพาะเรื่องปัญหาชายแดน”ไทย-กัมพูชา” ในทางการเมือง มีคนเคยบอกว่า”ความเชื่อ”คือ”ความจริง” ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระหว่างประเทศ หรือ การเมืองในประเทศ
ตอนที่สหรัฐอเมริกาบุกอิรัก และจับ”ซัดดัม ฮุสเซ็น”ประหารชีวิต ประธานาธิบดีบุชสร้าง”ความเชื่อ”ระดับเรื่อง”อิรัก”สร้างระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมา
เมื่อโลกเชื่อ “ความชอบธรรม”ก็เกิด
แม้สุดท้ายจะพิสูจน์แล้วว่า”ระเบิดนิวเคลียร์”เป็นเพียง”นิยาย”ที่สหรัฐอเมริกาสร้างขึ้นมา
“ความเชื่อ”นั้นผิดพลาด แต่”ความจริง”ก็คือ “อิรัก”ราบเป็นหน้ากลอง และยังไม่สงบจนถึงทุกวันนี้ การเมืองระหว่างประเทศเรื่อง”ไทย-กัมพูชา”ก็เช่นกัน ไม่มีใครรู้ว่า”ความจริง”เป็นอย่างไร
ใครยิงใครก่อน
แต่สำคัญที่ว่า”โลก”จะเชื่อใคร นี่คือ “สัจธรรม”ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย
ที่มา: มติชนออนไลน์ (update: วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 19:25:27 น.)
วันศุกร์, เมษายน 22, 2554
คำพูดนายกฯ กับเท้าทหาร: ทีวี.จอมืดตื่นปฏิวัตินปช.ปูดพลเอกในกองทัพแจ้งมีแผนล้มเลือกตั้ง
คำพูดนายกฯ กับเท้าทหาร
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.
ปกติเราไม่ควรเอาข่าวลือมาเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ควรหยิบคำเล่าลือมาขยายให้ความสำคัญ แต่บรรยากาศความปั่นป่วนด้วยข่าวลือตลอดวันที่ 21 เมษายนนั้น ต้องขอเอามาพูดอย่างจริงจังเสียหน่อย
เพราะการลือระดับเขย่าบ้านเขย่าเมืองหลายริคเตอร์ ลือกันว่ามีปฏิวัติ อลหม่านไปทั่วประเทศ เริ่มจากบรรยากาศทหารตบเท้า แล้วตามด้วยจอทีวีมืดไป 2 ชั่วโมงเพราะดาวเทียมขัดข้อง ในสำนักงานหนังสือพิมพ์รับโทรศัพท์ชาวบ้านแทบสายไหม้ ส่วนใหญ่โทร.จากต่างจังหวัดด้วย
สะท้อนให้เห็นอะไร สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนคนไทยตกอยู่ในความหวาดผวา ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากปัญหา ท่าทีที่ขึงขังจริงจังของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กับนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดง ที่มีกรณีหมิ่นสถาบันเป็นชนวนเหตุ
แล้วหลังจากนั้น นายทหารใหญ่พากันออกมาขานรับ ผบ.ทบ.กันสะพรึบ ตามด้วยประเพณีตบเท้าตามกรมกองต่างๆ เพื่อแสดงท่าทีสนับสนุน ผบ.ทบ. พอเริ่มตบหลายหน่วย พร้อมกับการเริ่มพูดจาของผู้การผู้พันอันดุดัน ลักษณะพร้อมจะทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
แบบนี้บรรดาประชาชนเจ้าของเงินภาษีอากรจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แต่ไม่มีสิทธิครอบครองอาวุธเหล่านั้น ก็ย่อมอยู่ในอาการหวั่นไหวเป็นธรรมดา
ด้วยการตบเท้าที่มีปริมาณเกินพอดี การพูดจาที่ทำให้สถานการณ์เขม็งเกลียวเกินไป ทำให้เริ่มเกินเลยไปจากการแสดงจุดยืนปกป้องสถาบันแน่นอนว่าภาระหน้าที่หลักของกองทัพคือการปกป้องสถาบันสูงสุดของคนไทยทั้งชาติ
เมื่อมีการพาดพิงเบื้องสูงอันทำให้ทหารรู้สึกว่าไม่เหมาะสมก็สามารถแสดงท่าทีได้ แต่ถ้าการตบเท้านั้น ไม่อยู่เพียงแค่ขอบเขตป้องสถาบัน กลายเป็นตบเท้าแสดงพลัง แล้วยังบอกว่า ผบ.ทบ.สั่งอะไรก็ได้ พร้อมจะปฏิบัติทันทีภายในไม่กี่ชั่วโมง
แบบนี้การเคลื่อนไหวของทหารจะเริ่มถูกโยงไปยังสถานการณ์การเมือง
สถานการณ์ที่มีการมองกันมาตลอดว่า โอกาสเลือกตั้งยังไม่แน่นอน เพราะกลุ่มอำนาจบางกลุ่มหวั่นเกรงว่าพรรคการเมืองอีกขั้วจะเป็นฝ่ายชนะ ก่อนหน้านี้ ผบ.สูงสุดถึงกับต้องนำ ผบ.ทุกเหล่ามายืนแถลงไม่มีการปฏิวัติ ไม่สนับสนุนนายกฯมาตรา 7 ในการเลือกตั้งก็จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ให้การเมืองว่ากันเอง
แต่การตบเท้าในขณะนี้ ทำให้ชาวบ้านลืมคำแถลงเดิม จากที่มองว่าทหารทำได้เพื่อปกป้องสถาบันสำคัญของคนไทย แต่ตอนนี้เริ่มรู้สึกว่าไปเกี่ยวกับจะเลือกตั้งไม่เลือกตั้งไหม
รัฐบาลอภิสิทธิ์ซึ่งแสดงท่าทีให้ประเทศเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง กำหนดวันยุบสภาต้นเดือนพฤษภาคม เลือกตั้งปลายมิถุนายน ได้รัฐบาลใหม่สิงหาคม ต้องถามว่าแล้วรู้สึกอย่างไรกับบรรยากาศในบ้านเมืองวันนี้ ที่มีคนทั้งประเทศผวาพร้อมกันอย่างไม่นัดหมาย
นโยบายจะให้มีเลือกตั้ง คืนอำนาจให้ประชาชนของนายกฯอภิสิทธิ์ ทำไมจึงไม่หนักแน่นเท่าเสียงตบเท้าของทหาร
คำพูดของนายกฯกับเสียงเท้าของทหาร ใครดังกว่ากัน
-----------------------------------------------------
ทีวี.จอมืดตื่นปฏิวัตินปช.ปูดพลเอกในกองทัพแจ้งมีแผนล้มเลือกตั้ง
ประชาชนตื่นปฏิวัติหลังทีวี.ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 5 จอดับมืดลงกะทันหัน สัญญาณขาดหายไปกว่า 3 ชั่วโมงก่อนกลับมาเป็นปรกติ ซีอีโอไทยคมชี้แจงเป็นปัญหาประจุไฟฟ้าในอากาศ ไม่เกี่ยวอะไรกับการเมืองและไม่มีใครทำให้สัญญาณขาดหาย แกนนำ นปช. อ้างมีพลเอกในกองทัพแจ้งเตือนพบการเคลื่อนไหวยึดอำนาจตามแผน “ถอน ยุบ ยึด” โดยเริ่มนับหนึ่งในสัปดาห์หน้าด้วยการถอนประกันตัว จากนั้นรอให้ยุบสภาแล้วจึงยึดอำนาจ ยืนยันจะต่อต้านทั้งในและนอกประเทศ อดีตประธาน นปช. ไม่เชื่อ ชี้สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย ด้านนักวิชาการสหรัฐเตือนยกเรื่องสถาบันมาอ้างเพื่อจัดการฝ่ายตรงข้ามมากเกินไปจะเป็นการทำลายสถาบันเสียเอง
ที่ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว วันที่ 21 เม.ย. 2554 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ร่วมกันแถลงข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมือง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กล่าวว่า ปรกติ นปช. จะแถลงข่าวสัปดาห์ละครั้ง แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ทำให้ต้องออกมาสื่อสารกับประชาชนถี่ขึ้น
“สถานการณ์ตอนนี้ไม่น่าไว้วางใจ เพราะมีการโหมเรื่องหมิ่นสถาบันหนักขึ้นในกลุ่มทหาร พวกผมบอกว่าแล้วว่าจะไม่ตอบโต้เรื่องนี้ และทหารควรหยุดนำเรื่องนี้มาใช้เป็นข้ออ้างในการเคลื่อนไหวระดมกำลังพลเพื่อเตรียมความพร้อม เพราะเมื่อมีการแจ้งดำเนินคดีและเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้วควรปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามกลไกที่มีอยู่ ซึ่งพวกผมที่ถูกกล่าวหาก็พร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรม”
ทหารแสดงพลังไม่ใช่เรื่องปรกติ
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า การเคลื่อนไหวของกำลังพลในกองทัพขณะนี้ไม่ใช่เรื่องปรกติ เนื่องจากได้รับทราบจากนายทหารยศพลเอกที่ยังอยู่ในราชการว่ามีการคิดอ่านกันเพื่อสกัดไม่ให้มีการเลือกตั้ง ให้สังเกตดีๆจะเห็นว่าหน่วยทหารที่ออกมาแสดงพลังอยู่ในขณะนี้ล้วนเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับนายทหารที่มีอำนาจอยู่ในกองทัพทั้งสิ้น
“เขาออกมาโชว์ตัวแสดงความพร้อมเพื่อให้ผู้บังคับบัญชามั่นใจ เพราะบางหน่วยมีการประกาศความพร้อมว่าสามารถกระทำการได้ภายในกี่นาที กี่ชั่วโมง และประกาศทำตามคำสั่งของนายอย่างไม่มีเงื่อนไข การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจึงเป็นการเช็กกำลังก่อนทำการใหญ่”
ปูดทหารทำตามแผน “ถอน ยุบ ยึด”
นายณัฐวุฒิกล่าวอีกว่า แผนที่คิดกันไว้ในตอนนี้คือ “ถอน ยุบ ยึด” โดยจะเริ่มนับหนึ่งกันในสัปดาห์หน้าด้วยการถอนประกันตัวแกนนำ จากนั้นสัปดาห์ถัดไปรอให้ประกาศยุบสภา แล้วจึงเข้ามายึดอำนาจ
“ผมไม่ได้ท้าทาย แต่จำเป็นต้องพูดเพื่อเอาความจริงที่รู้มาบอกประชาชน ที่พูดไม่ได้ต้องการให้เกิดการยึดอำนาจ เพราะประเทศบอบช้ำมามากแล้ว เพียงแต่อยากออกมาเตือนว่าอย่าท้าทายประชาชน เพราะครั้งนี้ประชาชนจะไม่ยอมให้ยึดอำนาจง่ายๆแน่”
เรียกร้องประชาชนร่วมกันต่อต้าน
นายณัฐวุฒิกล่าวเรียกร้องให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะมีสีเสื้อหรือไม่ก็ตามออกมาแสดงพลังให้ทหารรับรู้ว่าต้องการการเลือกตั้ง ไม่ได้ต้องการรถถัง ทหารจึงไม่ควรทำอะไรที่สวนทางกับความต้องการของประชาชน
แกนนำ นปช. กล่าวถึงแนวทางการต่อต้านการยึดอำนาจหากเกิดขึ้นว่า จะทำใน 2 ส่วนคือ การต่อต้านภายในประเทศและต่างประเทศ วันนี้นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. เดินทางไปพบนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความด้านต่างประเทศ เพื่อหารือใน 2 ส่วนคือ เรื่องการหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มน้ำหนักคดีที่ฟ้องร้องนายกรัฐมนตรีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศว่าจะเพิ่มเติมพยานหลักฐานอย่างไรในชั้นอัยการที่กำลังพิจารณาสำนวนอยู่
เตรียมการต่อต้านในต่างประเทศแล้ว
อีกส่วนหนึ่งคือ การหารือแนวทางการต่อต้านปฏิวัติในต่างประเทศหากว่าเกิดขึ้น โดยจะมอบหมายให้นายโรเบิร์ตเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งทราบว่ามีการเตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว ทันทีที่มีการยึดอำนาจจะเริ่มดำเนินการในทันทีพร้อมกันทั่วโลก
“เราจะดำเนินการคู่กันไป คือการต่อต้านในประเทศและในเวทีโลก ส่วนแนวทางจะเป็นอย่างไรยังไม่ขอเปิดเผยในเวลานี้ ขอย้ำว่าที่พูดไม่ได้ท้าทาย แต่มาเตือนเพราะไม่อยากให้เกิดการยึดอำนาจ เนื่องจากประชาชนต้องการการเลือกตั้งเพื่อเริ่มนับหนึ่งสำหรับการสร้างความสมานฉันท์ในประเทศ”
ปูดเรียก ผบ. คุมกำลังเข้าประชุม
นายจตุพร พรหมพันธุ์ กล่าวทำนองตั้งคำถามถึง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก ว่าเมื่อคืนวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมาได้เรียก ผบ.พล.1 รอ., พล.2 ร.อ. และ พล.9 ร.อ. มาประชุมพร้อมกันที่บ้านพักใช่หรือไม่ หากใช่อยากถามว่าเรียกมาสั่งการเรื่องอะไร
“ผมถามแค่นี้แหละว่าถ้ามีการประชุมกัน ประชุมกันเรื่องอะไร และท่านกำลังคิดทำอะไรอยู่ อยากให้สังเกตว่าทหารที่ตบเท้าแสดงกำลังกันอยู่ในตอนนี้ล้วนเป็นหน่วยที่ออกมาปฏิบัติการเมื่อช่วงเดือน เม.ย. และ พ.ค. 2553 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตายของประชาชนทั้งสิ้น”
ให้เสื้อแดงเลิกโจมตี “บิ๊กจิ๋ว”
นายจตุพรเรียกร้องไปยังแนวร่วมเสื้อแดงว่า ควรเลิกวิจารณ์การลาออกจากพรรคเพื่อไทยของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เพราะท่านไม่ได้ทำร้ายพรรคเพื่อไทย ทราบมาว่าเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก ส่วนกระแสข่าวลือที่ว่าตนจะลาออกจากการเป็น ส.ส. ลาออกจากพรรคเพื่อไทยนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง
“ตอนนี้กำลังมีความพยายามปล่อยข่าวเพื่อแยกคนเสื้อแดงออกจากพรรคเพื่อไทย เพราะหากแยกได้จะทำให้กำลังอ่อนแอลง ขออย่าได้หลงไปกับเกมนี้”
อัยการจ่อถอนประกันแกนนำบางคน
ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ เปิดเผยความคืบหน้าการพิจารณาคำร้องถอนประกันตัวแกนนำ นปช. 9 รายของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่าได้ตรวจสอบเอกสารถอดคำปราศรัยของแกนนำทุกคนแล้ว เบื้องต้นพบว่ามีแกนนำบางรายเข้าข่ายผิดมาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อย่างชัดเจน ขณะที่บางส่วนไม่เข้าองค์ประกอบความผิด คาดว่าจะต้องยื่นถอนประกันตัวแกนนำ นปช. บางรายที่กระทำผิด
ดีเอสไอเกาะติดเว็บไซต์หมิ่น
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศเฝ้าติดตามเว็บไซต์ต่างๆที่เผยแพร่เนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นสถาบันอย่างใกล้ชิด หากพบความผิดจะบล็อกเว็บไซต์ทันที และจะสืบหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษด้วย
“พวกคดีหมิ่นสถาบันสามารถโอนมาเป็นคดีพิเศษได้ทันที เพราะเชื่อมโยงกับคดีล้มเจ้าที่ดีเอสไอดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นไปตามแผนผังที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เคยนำมาเปิดเผยก่อนหน้านี้”
คอป. ส่งรายงานสลายชุมนุมแล้ว
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เปิดเผยว่า ได้ส่งรายงานผลการทำงานให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แล้ว มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รวม 92 ราย เสียชีวิตในกรุงเทพฯ 89 ราย อุบลราชธานี 2 ราย และขอนแก่น 1 ราย ผู้บาดเจ็บ 1,885 ราย แยกเป็นประชาชน 1,343 ราย และเจ้าหน้าที่ 542 ราย
“คอป. มีปัญหาในการทำงาน เพราะไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะให้ความคุ้มครองผู้ที่เข้ามาให้ข้อมูล จึงมีข้อจำกัดในการทำงาน อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกฝ่ายมุ่งไปที่การค้นหารากเหง้าของปัญหา มองประโยชน์ของชาติโดยรวมมากกว่ามองในมติของตัวเองด้านเดียว”
จี้ทุกพรรคเสนอแนวทางแก้ขัดแย้ง
ประธาน คอป. ยังเรียกร้องให้ทุกพรรคการเมืองประกาศแนวทางนำบ้านเมืองออกจากวิกฤตความขัดแย้งให้ชัดเจนก่อนการเลือกตั้ง ช่วยกันทำให้การเลือกตั้งไม่มีความรุนแรงและเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
“การนิรโทษกรรมไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ทางที่ดีที่สุดคือเอาความจริงมาบอกกับประชาชนอย่างตรงไปตรงมา และต้องใช้กฎหมายอย่างยุติธรรม ไม่ตั้งข้อกล่าวหาที่เกินเลยกับผู้ชุมนุม ให้โอกาสในการต่อสู้คดี ที่สำคัญต้องให้หลักประกันว่าหน่วยงานด้านการยุติธรรมจะทำงานอย่างอิสระ ตรงไปตรงมา ไม่ถูกแทรกแซง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง”
นายคณิตกล่าวอีกว่า ทุกฝ่ายต้องยุติการเคลื่อนไหวที่หมิ่นเหม่กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในช่วงที่การเมืองมีความขัดแย้งอย่างในปัจจุบัน และต้องแสดงเจตนารมณ์ให้สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้ง
นักวิชาการสหรัฐเตือนอย่าอิงสถาบันมาก
มร.เดวิด สเตรกฟัสส์ นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งทำงานด้านมนุษยชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า เท่าที่เก็บสถิติและตรวจสอบดูพบว่าข้อหาหมิ่นสถาบันมักเกิดกับคนเสื้อแดงฝ่ายเดียว ขณะที่ฝ่ายอื่นแม้จะมีคดีติดตัวเหมือนกันแต่ไม่มีความคืบหน้า สะท้อนให้เห็นปัญหากระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยที่ยังมีปัญหา 2 มาตรฐานอยู่
“ผู้มีอำนาจในปัจจุบันมักใช้เรื่องหมิ่นสถาบันจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เรื่องนี้น่าเป็นห่วง เพราะจะส่งผลเสียไปถึงสถาบันที่คนไทยเคารพเอง อยากให้ไปดูประวัติศาสตร์ของหลายประเทศที่เคยเกิดเรื่องแบบนี้มาแล้ว” มร.เดวิดกล่าวพร้อมเสนอให้ทุกฝ่ายร่วมกันระดมสมองถึงผลกระทบที่เกิดจากมาตรา 112 เพื่อนำไปสู่การปฏิรูป เรื่องนี้คนในสังคมไทยต้องช่วยกันตัดสินใจ ไม่อย่างนั้นจะถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างจนสร้างความแตกแยกไม่จบสิ้น สุดท้ายประเทศไทยจะไปไม่รอด รวมทั้งในอนาคตประเทศไทยอาจต้องพบความหายนะ และส่งผลกระทบต่อตัวสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อดีตประธาน คมช. ชี้ไม่เอื้อปฏิวัติ
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิและอดีตผู้บัญชาการทหาร เรียกร้องทุกฝ่ายอย่านำกองทัพและสถาบันพระมหากษัตริย์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ส่วนกระแสเรื่องการปฏิวัติยังเชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะสถานการณ์ขณะนี้ไม่เอื้ออำนวย
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อเวลาประมาณ 16.10 น. วันที่ 21 เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่ประชุมกำลังชมรายการโทรทัศน์ที่ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมไทยคม 5 อยู่ได้เกิดจอมืดลงกะทันหัน ทำให้เกิดกระแสข่าวลือขึ้นหนาหู และพากันตื่นตระหนกว่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น
ไทยคมแค่ขัดข้องทางเทคนิค
หลังจากปล่อยให้สถานการณ์อึมครึมอยู่พักใหญ่ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้ออกแถลงการณ์สั้นๆชี้แจงในเวลา 18.20 น. ว่าดาวเทียมไทยคม 5 ประสบปัญหาทางด้านเทคนิคบางประการ ขณะนี้บริษัทสามารถควบคุมสถานการณ์และกำลังดำเนินการให้ดาวเทียมไทยคมกลับเข้าสู่การทำงานตามปรกติในเวลาอันสั้น ขอยืนยันว่าดาวเทียมไทยคม 5 ยังอยู่ในวงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก ไม่ได้หลุดวงโคจรออกไปแต่อย่างใด สำหรับความคืบหน้านั้นทางบริษัทจะมีแถลงการณ์ให้ทราบเป็นระยะต่อไป
ยันไม่มีอะไรเกี่ยวกับการเมือง
ต่อมาในช่วงค่ำ นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้เปิดแถลงข่าวว่า ปัญหาเกิดจากปะจุไฟฟ้าในอวากาศทำให้ดาวเทียมไทยคม 5 เซฟโหมดตัวเองเพื่อป้องกันความเสียหาย ไม่ได้หลุดจากวงโคจรตามที่มีข่าวลือ และเจ้าหน้าที่ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงก็สามารถกู้สถานการณ์ได้
“ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการกระทำของใคร ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการเมือง และในช่วงที่ยังไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ 100% จะใช้ดาวเทียมไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์รองรับสัญญาณจากลูกค้าออกอากาศไปก่อน”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สัญญาณดาวเทียมกลับมาเป็นปรกติเมื่อเวลาประมาณ 18.55 น. ของวันเดียวกัน
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=10418
วันพฤหัสบดี, เมษายน 21, 2554
“จตุพร” แฉแผน “กำจัดเสื้อแดง-ทำลายเพื่อไทย” สู่การยึดอำนาจ..อีกครั้ง
“จตุพร” แฉแผน “กำจัดเสื้อแดง-ทำลายเพื่อไทย” สู่การยึดอำนาจ..อีกครั้ง
การกล่าวปราศรัยของแกนนำของคนเสื้อแดง ในการชุมนุมครบ 1 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เมษายนที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพรรคเพื่อไทย รวมทั้งการลาออกจากพรรคเพื่อไทย ของ พล.อ.ชวลิต ยงใยยุทธ ด้วยเหตุผลที่ว่า คนเสื้อแดง และพรรคเพิ่อไทย มีการพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และโอกาสที่ พรรคเพื่อไทย จะถูกยุบพรรคด้วย วันนี้ (21 เมษายน 2554) รายการ Hot Topic ได้พูดคุยกับ บุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นชนวนแห่งวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับพรรคเพื่อไทยอยู่ในขณะนี้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ยืนยันว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา เขาไม่ได้พูดพาดพิงและหมิ่นถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เป็นการเตือนนายกรัฐมนตรีที่สั่งการให้ ทหารรักษาพระองค์ และทหารเสือราชินี ออกมาสังหารประชาชนในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 – 20 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่าน ซึ่งไม่ได้เป็นการ จวบจ้วงล่วงเกินสถาบันพระมหากษัตริบ์ เพราะทหารสองหน่วยนี้ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วน สาเหตุที่พล.อ.ชวลิต ลาออกจากพรรคเพื่อไทย ได้พูดคุยกับคนใกล้ชิดของท่านแล้ว ก็น่าเห็นใจ เพราะพล.อ.ชวลิตเป็นคนดี และเป็นคนเก่าแก่ของพรรค แต่โดยส่วนตัวก็อยากจะอธิบายถึงข้อเท็จจริงและความจริงที่เกิดขึ้นให้ท่านทราบ
ในส่วนของคนเสื้อแดง พรรคเพื่อไทย ก็เป็นอิสระ และแยกต่อกัน เพราะพรรคเพื่อไทย มีนโยบายเพื่อที่จะบริหารประเทศ แต่เพียงเรามีจุดยืนที่เหมือนกันเท่านั้น คือ การต่อสู้และเดินหน้าเพื่อประชาธิปไตย และเรียกร้องถึงความยุติธรรม ความเสมอภาคต่อไป แต่หากพรรคมีโอกาสที่จะถูกยุบ คนเสื้อแดงก็จะเดินหน้าต่อไป ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะคนที่อยู่พรรคเพื่อไทย จะต้องเตรียมพร้อมการถูกยุบพรรคตลอดเวลา
ที่มา: Produced by VoiceTV
21 เมษายน 2554 เวลา 20:02 น.
วันอาทิตย์, เมษายน 17, 2554
กูรูใหญ่ ส่อง"ประเทศไทย"หลังเลือกตั้ง"เละ! "อภิสิทธิ์ -ยิ่งลักษณ์"ไม่ใช่คำตอบ...รอประชาชนเป็นพระเอก!
จะได้กลับมารอบสองหรือไม่ ?
จะแดงไปถึงไหน ?
คนเสื้อแดง และพาร์ตเนอร์ชื่อ ทักษิณ
"นิธิ เอียวศรีวงศ์"
ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน
ชั่วโมงนี้ การเมืองไทยน่าจะเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งแน่นอนแล้ว
พรรคใหญ่ พรรคกลาง เปิดตัวผู้สมัครกันอย่างคึกคัก 20-23 เมษายน พรรคประชาธิปัตย์ โหมนโยบายหาเสียงผ่านสื่อ ขณะที่พรรคเพื่อไทย จะแกะกล่องนโยบายที่ส่งตรงจาก"นายใหญ่"ในวันที่ 23 เมษายน
ถนนไปสู่การเลือกตั้ง แน่นอนแล้ว แต่ปัญหาใหญ่กว่านั้นคือ หลังเลือกตั้งแล้วการเมืองจะเละกว่านี้ไหม !!!
"มติชนออนไลน์" นำเสนอมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ และกูรูใหญ่ มานำเสนอ เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพเศรษฐกิจการเมืองไทย หลังการเลือกตั้งที่เดิมพันสูงลิ่ว
เศรษฐกิจไทยไม่น่าห่วง วิตกการเมืองทุบพัง !!!
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ นักเศรษฐศาสตร์อิสระ วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจไทยไม่น่าห่วงเท่าการเมือง
"เศรษฐกิจไทยในขณะนี้เหมือนเรือลำไม่ใหญ่ แต่ค่อนข้างแน่น แม้จะมีคลื่นและลมพายุเข้ามาปะทะก็สามารถโต้คลื่นลมได้ ซึ่งในบางครั้งเรืออาจโคลงเคลง แต่จะไม่จม ไม่รั่ว เพราะเรือไม่เปราะบาง เว้นแต่คนในเรือตีกันเอง ซึ่งหมายถึงมีความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้น เศรษฐกิจไทยก็จมได้เช่นกัน ดังนั้นแม้รัฐบาลจะประกาศให้มีการเลือกตั้งในเร็ว ๆ นี้ แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองก็ยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยที่ต้องจับตามอง "
สอดรับกับ ทัศนะของ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ที่วิเคราะห์ว่า " ความเสี่ยงที่นักลงทุนค่อนข้างกังวลมากที่สุดเป็นปัญหาการเมือง ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนว่าสถานการณ์จากนี้ไปจนถึงเลือกตั้งหรือหลังเลือกตั้งผลจะออกมาอย่างไร "
เช่นเดียวกับ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อัครราชทูต ฝ่ายเศรษฐกิจการคลัง ประจำสหราชอาณาจักรและยุโรป ที่แสดงความเห็นว่า การเมืองทำให้ประเทศเสียโอกาส
" น่าเสียดาย คือวิกฤตการเมืองในประเทศและวิกฤตโลกได้ทำให้ประเทศเสียโอกาสในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ" ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ กล่าว
เลือกตั้งมีแน่ แต่หลังเลือกตั้งต้องรอโชคชะตา
จากนักเศรษฐศาสตร์มาฟังนักรัฐศาสตร์รุ่นใหญ่ อย่าง ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก
นักรัฐศาสตร์ใหญ่ เชื่อว่า "ยังไงก็มีการเลือกตั้ง แต่สุดท้ายจะไปไม่รอด หรืออาจจะบริหารประเทศได้ 5-6 เดือน แล้วเกิดการประท้วงวุ่นวายไปหมด รัฐบาลไปไม่ได้ แล้วก็อาจมีรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมา เพราะถ้านักการเมืองเสื่อมคนก็ไม่ยอมรับ ตอนนี้การเมืองไทยก็รอโชคชะตาอย่างเดียว "
"หลังการเลือกตั้งนี่ไม่ว่าพรรคไหนจะรวมกันจัดตั้งรัฐบาลก็แล้วแต่ แต่ถ้านักการเมืองไม่ปรับปรุงแก้ไขตัวเอง และไม่ตระหนักถึงวิกฤตที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวมนะมันไม่เกิดประโยชน์หรอก เลือกตั้งมันก็แค่กระบวนการอันหนึ่งที่มันผ่านไปเพื่อตั้งรัฐบาล แต่ถ้ามันไม่แก้ที่ตัวผู้ที่ได้อำนาจมาจากการเลือกตั้ง การเมืองมันก็กลับไปสู่ที่เดิม"
ดร.ลิขิต วิเคราะห์สถานการณ์หลังการเลือกตั้งเป็น 4 แนวทาง ดังนี้คือ
แนวทางที่ 1. เลือกตั้งปุ๊บทุกอย่างเรียบร้อย ราบรื่นทุกอย่าง พรรคที่ได้เสียงข้างมากก็จัดตั้งรัฐบาล บริหารประเทศไป ส่วนพรรคที่แพ้ก็ไปเป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมันเป็นแนวคิดที่ดีเกินไปที่จะเป็นความจริง แต่หลายคนก็อยากให้เป็นแบบนี้
แนวทางที่ 2. มีการเลือกตั้ง แต่เป็นการเลือกตั้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ บางพรรคจะหาเสียงไม่ได้ในบางพื้นที่ เข้าไปก็ถูกขว้าง จนถึงขั้นใช้ความรุนแรง อาจจะมีการขว้างระเบิดกัน ยิงกัน ผมเพิ่งเจอ ส.ส. คนหนึ่งเขาบอกว่าลงไปในพื้นที่นี่ โอ้โห...มันด่ากัน ขว้างไข่กัน ขนาดไปงานศพยังถูกขว้างเลย ถามจริงๆ ตอนนี้หัวหน้าพรรคบางพรรคลงไปหาเสียงในภาคเหนือภาคอีสานได้ไหม แล้วหัวหน้าพรรคอีกพรรคไปหาเสียงในภาคใต้ได้ไหม จะมีแคมเปญยังไงล่ะ อย่างนี้มันไม่ใช่การเลือกตั้งแล้ว ซึ่งสุดท้ายอาจจะต้องหาทางออกด้วยการยุติการเลือกตั้ง หรือปล่อยไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายประชาชนเอือมระอาว่าถ้าการเลือกตั้งยังเป็นอย่างนี้แล้วรัฐบาลจะเป็นยังไง
แนวทางที่ 3 การเลือกตั้งผ่านไปได้ ถึงจะมีความรุนแรงบ้างแต่ก็เลือกตั้งได้ แต่ว่าประชาชนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เพราะมีการโกงทุกรูปแบบ เพราะฉะนั้นประท้วงกันทั่วเลย เหมือนสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลัง พ.ศ. 2500 ที่มีการเลือกตั้งสกปรก นิสิตจุฬา นักศึกษาธรรมศาสตร์ ประท้วงกันใหญ่ ก็มาเจอร้อยเอกคนหนึ่งที่สะพานมัฆวานฯ บอกหยุดก่อน เดี๋ยวนายจะมา ร้อยเอกคนนั้นคือ อาทิตย์ กำลังเอก จากนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็มาแล้วบอก “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” แล้วก็ปฏิวัติ ทีนี้พอประชาชนไม่ยอมรับการเลือกตั้ง มันก็เกิดการฟ้องร้อง คดีล้นศาลไปหมด ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องโหวตโนเยอะแยะนะ แล้วถ้าคนเกิน 50% บอกโน..ฉันไม่เลือกใคร ยุ่งเลยนะ ความชอบธรรมในการเลือกตั้งไม่มี
แนวทางที่ 4 เลือกตั้งผ่านไปได้ ถึงจะมีการขว้างปากันช่วงหาเสียงแต่ก็ยังกล้อมแกล้มผ่านไปได้ แต่ว่าตั้งรัฐบาลไม่ได้ หรือกว่าจะตั้งได้หืดขึ้นคอเลยเพราะคะแนนมันก้ำกึ่ง และถึงตั้งรัฐบาลได้ก็บริหารงานไม่ได้ เหมือนสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ทั้งหมดก็คือลงเอยว่าระบบการเลือกตั้งต้องยุติชั่วคราว
ดร.ลิขิต เชื่อว่า แนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ แนวทางที่ 3 คือเลือกตั้งได้แต่ประชาชนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง มีการคัดค้านเยอะแยะไปหมด อาจจะแรงเลยเพราะต่างคนต่างไม่ยอมแพ้ มีคดีขึ้นศาลเต็มไปหมด ชาวบ้านเดินขบวนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง กกต.(คณะกรรมการการเลือกตั้ง) บอกอย่างงี้ไม่ไหวแล้ว กกต.ทนไม่ได้ลาออกดีกว่า
บทสรุปของ ดร.ลิขิต คือ การเมืองไทย ต้องรอโชคชะตาอย่างเดียว !!!
"อภิสิทธิ์ -ยิ่งลักษณ์" ไม่ใช่คำตอบ
เมื่อเจาะผู้นำการเมือง รายตัว นักรัฐศาสตร์รุ่นเดอะ แจกแจงไว้ดังนี้
"คุณอภิสิทธิ์ก็มีข้อจำกัดมากในแง่ของประสบการณ์และความรู้ เขาไม่มีประสบการณ์ ไม่มีประวัติความสำเร็จสักอย่างนอกจากเป็นนักการเมือง แล้วมันลำบากเพราะแกขึ้นมาก็ไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง พูดกันในแง่ดีก็คืออย่างน้อยแกก็ประคับประคองรัฐบาลมาได้ ก็ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ แต่สถานการณ์อย่างนี้ลำบาก"
ส่วน"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ดร. ลิขิต เห็นว่า "ยังอ่อนประสบการณ์ ยังติดเรื่องอาวุโสอะไรต่างๆ มันไม่ง่าย แค่บริหารพรรคก็ลำบากแล้ว แต่ถ้ามีคนหนุนหลังอยู่ก็อาจจะทำได้ ก็บริหารงานในลักษณะของตัวแทน"
โดยภาพรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ประชาธิปัตย์ หรือ เพื่อไทย ...ต่างลำบาก ไม่มีตัว ไม่มีตัวเกือบทุกพรรค !!!
นี่คือ การตอบแบบฟันธงของ ราชบัณฑิตและกูรูใหญ่สายรัฐศาสตร์
พระเอก คือประชาชน คือสังคม ไม่ใช่นักการเมือง
สุดท้ายคือ "นิธิ เอียวศรีวงศ์" 1 ใน 20 อรหันต์กรรมการปฎิรูปประเทศไทย ที่มองอนาคตประเทศไทยว่า ข้ามไม่พ้นขั้วการเมือง
" ไม่มีทาง คืออย่างนี้ การมีความแตกแยก มีความแตกต่าง ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่มันต้องแตกต่างกันได้ในหลาย ๆ เรื่อง การที่เราแตกต่างกันอยู่เรื่องเดียว มันมีปัญหามาก ๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็เรื่องที่ว่า ใช่คุณทักษิณ หรือไม่ใช่คุณทักษิณ พอมาตอนนี้ก็กลายเป็นว่า คุณแดง หรือคุณไม่แดง แทนที่คุณจะมาแตกต่างว่า คุณไม่ชอบประชาธิปัตย์ แต่คุณก็เห็นด้วยกับพรรคในเรื่องนั้นเรื่องนี้ คือเราต้องมีหลายมิติ แต่ตอนนี้เรามีแค่มิติเดียว "
แต่อย่างไรก็ตาม "นิธิ" ก็มีความหวังกับการปฎิรูป โดยมีสังคมเป็นตัวผลักดัน
"คนที่เป็นพระเอก คือประชาชน คือสังคม ไม่ใช่นักการเมือง"
คือคำตอบสุดท้ายของ"นิธิ เอียวศรีวงศ์"
( ข้อมูล ประชาชาติธุรกิจ มติชน ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ )
ที่มา: มติชนออนไลน์ (update: วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 23:49:37 น.)
วันพฤหัสบดี, เมษายน 14, 2554
ผมขอสนับสนุนให้คุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดาเป็นนายกรัฐมนตรี
บทความโดย ชำนาญ จันทร์เรือง
จากการลุกขึ้นเหน็บแนมฝ่ายค้านของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกรณีที่ฝ่ายค้านระบุว่า รัฐบาลช่วยเหลือน้ำท่วมล่าช้า แต่นายสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ผู้ดำเนินรายการข่าวทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 กลับลงพื้นที่ถึงประชาชนก่อน และหากสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี ก็คงจะได้รับเลือกนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้พรรคเพื่อไทย ก็ยังไม่มีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ก็ควรที่จะเชิญนายสรยุทธ์มาเป็นได้
ประสมเข้ากับการโวยวายของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวหาว่าสื่อมวลชนที่ลงไปทำข่าวทุกวันนี้ ทำเพื่อโปรโมทตัวเอง ไม่ได้ทำเพื่อชาติ พยายามทำเหมือนรัฐบาลไม่ทำอะไร ดังนั้น รัฐบาลต้องทบทวนแผนประชาสัมพันธ์กันใหม่ ช่วงเทศกาลสงกรานต์จะเชิญ(ความหมายก็คือบีบคอ)สื่อช่อง 9 และ 11 ลงไปทำข่าวการเตรียมสร้างและซ่อมแซมบ้านในพื้นที่ประสบอุทกภัย ทำให้ผมเกิดอาการคลื่นเหียนจนอยากจะอาเจียนออกมา แต่เสียดายของเก่าที่กินเข้าไปแล้วจะเสียของ ก็เลยต้องกลั้นไว้
เรื่องของการเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่นของพรรคประชาธิปัตย์นี้ผมได้ยินมานานแล้ว ไม่ได้แปลกใจอะไร แต่ไม่นึกว่าจะใจแคบได้ถึงขนาดนี้ ซึ่งอันที่จริงแล้วผมไม่ได้เป็นแฟนรายการเรื่องเล่าเช้านี้ของคุณสรยุทธ์แต่อย่างใดเพราะผมเป็นคนตื่นสาย เว้นเสียแต่ว่าวันไหนมีงานหรือชั่วโมงบรรยาย ส่วนตอนเย็นก็ดูบ้างไม่ดูบ้างแล้วแต่โอกาส หรือดูดูอยู่ก็กดช่องเปลี่ยนเสียหลายครั้งเพราะหัวข้อเรื่องการสนทนาไม่ถูกใจ แต่โดยภาพรวมแล้วผมกลับชื่นชมการกระทำของคุณสรยุทธ์และต้นสังกัดของเขาที่มีวิสัยทัศน์และมีน้ำใจต่อเพื่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยด้วยกันเองหรือชาวญี่ปุ่น
พูดถึงการศึกษาหรือความรู้ความสามารถของคุณสรยุทธ์ไม่ได้ด้อยกว่านายกรัฐมนตรีของไทยคนไหนหรือนักการเมืองทั้งหลายที่อยู่ในสภาในปัจจุบันนี้ ที่สำคัญคือก็ใจถึงพึ่งได้กว่าหลายๆคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือตัวนายกรัฐมนตรีเองที่ถูกผู้หญิงตัวเล็กๆชูป้ายทวงจักรเย็บผ้าที่รัฐบาลเคยสัญญาว่าจะให้แล้วไม่ให้ว่า “ดีแต่พูด”จนเธอกลายเป็นขวัญใจคนใช้แรงงานไปโดยปริยาย
ครั้นหันมามองพรรคฝ่ายค้านที่ยังหาหัวไม่ได้ สุดท้ายแว่วว่าจะมาลงที่น้องสาวของคุณทักษิณโดยการันตีว่าเป็นผู้หญิงเก่งอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น สร้างตัวมาจากตำแหน่งเล็กๆจนไต่เต้าเป็นผู้บริหารระดับ หรือเป็นสายตรงกับคุณทักษิณ น้องสาวพูดก็เหมือนคุณทักษิณพูด ฯลฯ แต่ผมกลับมองว่าอย่างไรก็ตามเธอก็คือร่างทรงของคนอื่น ผมไม่ต้องการนายกรัฐมนตรีที่เป็นหุ่นกระบอกของใคร
ฉะนั้น ผมจึงขอสนับสนุนให้คุณสรยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่ไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์หรือนายกรัฐมนตรีที่เป็นร่างทรงของคนอื่น โดยมีเงื่อนไขว่า
๑) ต้องยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่เป็นปัญหาถ่วงความเจริญของประเทศชาติ และเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์จากการแต่งตั้งของ”แก๊งแต่งตั้ง”ทั้งหลาย โดยให้เหลือเพียงการบริหารราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นดังเช่นนานาอารยประเทศทั้งหลายที่เป็นรัฐเดี่ยวและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฯลฯ
๒) ต้องยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาการสรรหาจากเทวดาเพียงเจ็ดคนเสีย แล้วให้มีที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด รวมถึงทบทวนถึงที่มาของกรรมการในองค์กรอิสระทั้งหลายด้วย
๓) ต้องสอบสวนให้ได้ผลของการสังหารหมู่ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ทหาร หรือนักข่าวต่างประเทศ แล้วนำตัวมาลงโทษ
๔) ต้องให้ทหารกลับกรมกอง ไม่ต้องเสนอหน้ามายืนยันว่าจะไม่ปฏิวัติเพราะไม่ใช่หน้าที่
๕) ต้องเพิ่มเติม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลยุติธรรมมิให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคณะรัฐประหารว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์เพราะไม่มีในตำรากฎหมายใดใดในโลกหรือในประเทศไทยบัญญัติไว้เช่นนั้น แต่ศาลฎีกาไทยกลับไปรับรองการกระทำเช่นนั้น ทั้งๆที่เป็นการกระทำความผิดฐานกบฏตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๓ อย่างชัดเจน
๖) ต้องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เกี่ยวกับคดีหมิ่นสถาบันฯ มิให้ใครนำมาใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งผู้อื่น โดยกำหนดตัวผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีให้ชัดเจน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้ฟ้องมั่วจนเปรอะเช่นในปัจจุบันนี้
๗) ต้องดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้องในเนื้อหาที่ปรากฏว่ามีการวิ่งเต้นคดี ไม่ว่าจะเป็นตุลาการหรือเจ้าหน้าที่กรณีคลิปหลุดศาลรัฐธรรมนูญอันอื้อฉาว มิใช่ไปมุ่งดำเนินคดีเฉพาะผู้จัดทำคลิปแต่อย่างเดียว
๘) ต้องจัดให้มีการปฏิรูปที่ดินให้ชัดเจน ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือที่ดินที่ได้เอกสารสิทธิ์มาโดยไม่ชอบเอามาจัดสรรให้ผู้ที่ไม่มีที่ทำกินได้ใช้ประโยชน์
๙) ต้องให้อำนาจตุลาการมีการยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน มิใช่หลุดลอยเป็นอิสระจากการตรวจสอบของประชาชนเช่นในปัจจุบัน เอะอะอะไรก็อ้างความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี ทั้งๆที่บางเรื่องไม่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีแต่อย่างใดแต่เป็นการบริหารจัดการสำนวนคดี เช่น กรณีศาลปกครองกับ ปปช. หรือกรณีเงินค่ารถประจำตำแหน่งแต่ไม่ได้เอาไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของเงิน ฯลฯ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผู้อ่านคงคิดว่าเป็นไปไม่ได้หรอก มีแต่ซูเปอร์แมนเท่านั้นกระมังที่ทำได้ ซึ่งก็อาจจะจริงแต่
อย่าลืมว่าคุณสรยุทธ์เคยเป็นซูเปอร์แมนมาแล้วในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการกล้าฉีกตัวมาจากค่ายเนชั่น การจัดทำรายการลักษณะของการเล่าข่าวจนทำให้จากอาตี๋ธรรมดากลายเป็นเศรษฐีหลายร้อยล้าน การระดมความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจนผมเชื่อว่าไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รู้จัก คุณสรยุทธ์ ฯลฯ
คงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาการตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่ เพราะมีหัวพรรคให้เลือก ช็อปปิงอยู่มากมาย แล้วลองออกนโยบายเช่นว่านี้ดูสิครับ รับรองว่าประชาธิปัตย์หรือคุณทักษิณไม่มีทางสู้ได้อย่างแน่นอน อย่างน้อยก็หนึ่งเสียง(หนักๆ)จากผมอย่างแน่นอนครับ
ที่มาบทความ: มติชนออนไลน์ (update: วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 13:25:37 น.)
วันอาทิตย์, เมษายน 10, 2554
เอกชนอัดพรรคการเมืองแข่งขันขาย “ประชานิยมเฉพาะหน้า”
ขาดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะยาว ละเลยจุดเด่นเกษตรกรรม ความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว คิดขึ้นค่าจ้างไม่ลืมหูลืมตา พัฒนาแรงงาน-ผลกระทบผู้บริโภค
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า นโยบายของ 2 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ที่ประกาศใช้สู้ศึกการเลือกตั้งครั้งนี้ ในมุมมองของภาคเอกชน นโยบายส่วนใหญ่คล้ายกันคือต้องการให้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นนโยบายประชานิยมเฉพาะหน้าไว้ขายเวลาเลือกตั้ง แต่ขาดนโยบายที่เป็นยุทธศาสตร์ประเทศหรือการวางแผนของการเจริญเติบโตของประเทศในระยะยาว เนื่องจากเรื่องต่างๆ มีเป้าหมายที่เล็กเกินไปเป็นนโยบายของรัฐบาลไม่ได้
javascript:void(0)
เอกชนต้องการเห็นนโยบายที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เช่นยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เรื่องเกษตร อาหาร ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักสำหรับประเทศ เนื่องจาเป็นเรื่องที่ไทยมีพื้นฐานดีอยู่แล้ว และทั้ง 3 ตัวนี้มีขีดความสามารถที่จะผลักดันให้ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืนจากนั้น ค่อยๆหานโยบาย มาประกอบ
นอกจากนี้ เรื่องการพัฒนาด้านการศึกษารัฐบาลไม่ค่อยให้ความสำคัญ หรือการพัฒนาแรงงานควรจะทำอย่างไร มีแต่จะขึ้นค่าจ้างให้อย่างเดียว แต่ไม่เคยบอกว่าแรงงานต้องดีขึ้นอย่างไร
“จึงขอแนะนำให้คิดนโยบายใหม่ นโยบายที่ออกมาไม่ใช่ว่าไม่ดีแต่เล็กเกินไป เป็นนโยบายเฉพาะหน้าเดิมๆ ไม่เป็นกรอบใหญ่ นอกจากนี้ยังไม่เห็นรัฐบาลไหนมีความคิดที่จะออกกฎหมายดีๆ มาใช้ในประเทศ มีต้องแต่ต้องมานั่งเป็นรัฐบาลผู้บริหาร แต่การเดินหน้าของประเทศต้องใช้กฎหมายเป็นหลัก” นายพรศิลป์ กล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า นโยบายที่เห็นส่วนใหญ่เป็นการนำของเก่ามารวมเป็นนโยบายพรรคการเมืองที่มุ่งคะแนนเสียง แทนที่จะวางนโยบายพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน แต่นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังพอมีเรื่องการวางโครงสร้างพื้นฐานอยู่บ้าง เช่น การพัฒนาท่าเรือ รถไฟความเร็วสูง
รวมทั้งนโยบายประชานิยมของแต่ละพรรค ไม่ควรใช้ประชานิยมกับเรื่องขึ้นค่าจ้าง เพราะเมื่อขึ้นค่าจ้าง ต้นทุนผู้ประกอบการสูงขึ้นสุดท้ายก็ผลักภาระไปที่การขึ้นราคาสินค้า ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และจะกระทบต่อเศรษฐกิจระยะยาว เพราะเงินเฟ้อสูงขึ้น ขีดความสามารถการแข่งขันเอกชนลดลง นักลงทุนจะไม่เข้ามาไทยในอนาคต
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงนโยบายให้คนซื้อบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรกนำมาลดหย่อนภาษีได้ว่า ในส่วนของซื้อบ้านหลังแรกแล้วหักภาษีได้ หากนำมาตรการนี้กลับมาใช้ใหม่ กรมมองการให้บ้านหลังแรกลดภาษีได้ขณะนี้หากใช้ถือว่ายังไม่เหมาะสมเพราะเศรษฐกิจไม่ได้เกิดวิกฤตเช่นที่ผ่านมา
สำหรับเรื่องซื้อรถคันแรกแล้วนำมาลดภาษี เห็นว่ารถเป็นสินค้าในหมวดฟุ่มเฟือย หากซื้อรถแล้วนำมาลดภาษีได้ จะเป็นการกระตุ้นให้คนบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งสุดท้ายอาจทำให้ขาดดุลการค้ามากขึ้นได้
สังคมไม่เชื่อการเมือง ทำได้ตามที่หาเสียง
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า เป็นธรรมดาที่พรรคการเมืองต้องนำขึ้นค่าจ้างมาหาเสียง การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ พรรคหนึ่งขึ้นวันละ 250 บาท อีกพรรคเป็น 300 บาท เป็นการบลัฟกันไปมา มุมมองของแรงงานจะไม่มองว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 250 บาท หรือ 300 บาท แต่ขอให้ทำได้จริงๆ
“การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่อำนาจรัฐบาลที่จะมาสั่งการได้ เพราะมีคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ที่ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือนายจ้างรัฐและลูกจ้าง การขึ้นแต่ละบาทก็สู้กันแทบตาย จะมาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 250-300 บาท ไม่ใช่จะมาพูดกันง่ายๆ ก็ต้องยอมรับความจริงว่าพวกการเมืองชอบหาเสียงพอเลือกไปก็ทำไม่ได้ บอกว่าติดโน่นติดนี่ต้องทำเรื่องเร่งด่วนก่อน” นายชาลี กล่าว
นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์ แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายค่าจ้างของทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดกันมาอย่างยาวนานแต่ก็ไม่เคยทำตามที่พูดไว้ได้เนื่องจากฝ่ายการเมืองมักจะฟังผู้ประกอบการมากกว่าแรงงาน จึงเชื่อว่าแรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้คาดหวังและเข้าใจว่าเป็นเพียงนโยบายเพื่อดึงคะแนนเสียง สุดท้ายแล้วฝ่ายการเมืองก็จะมีคำอธิบายกับกลุ่มแรงงานว่าเหตุใดจึงทำตามที่พูดไม่ได้
นายแล ดิลกวิทยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์แรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำถูกกำหนดโดยคณะกรรมการไตรภาคี ไม่ใช่อำนาจของรัฐบาลหรือฝ่ายการเมือง ดังนั้นหากตัวแทนฝ่ายผู้ประกอบการไม่เห็นด้วย ก็ยากที่รัฐบาลจะบงการหรือบังคับให้ขึ้นได้ จึงมองไม่เห็นทางที่จะทำให้สำเร็จ
นายแล กล่าวว่า ทุกวันนี้นายจ้างหากำไรจากการกดค่าจ้าง ดังนั้นหากกฎหมายกำหนดให้เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นได้จริง นายจ้างก็คงปรับเฉพาะเพดานล่างให้ตรงตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนแรงงานที่อยู่เหนือค่าจ้างขั้นต่ำแล้วคงจะไม่ได้รับการปรับขึ้น
นายอิศระ วงศ์รุ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีสซิงกสิกรไทย กล่าวว่า ในมุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจหากพรรคการเมืองนำนโยบายบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรกนำมาลดหย่อนภาษีได้มาใช้ ย่อมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยและรถยนต์แน่นอน เพราะถือว่าเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภค ทางธนาคารและบริษัทลีสซิงที่ปล่อยสินเชื่อก็ได้ประโยชน์ไปด้วย ซึ่งก็ส่งผลดีทำให้ภาครัฐเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกิจได้มากขึ้น แม้ต้องแลกกับการลดภาษีให้ผู้บริโภคก็ตาม
อย่างไรก็ตาม หากมีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามที่ประกาศกัน มองว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบ คืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพราะยังใช้แรงงานในระดับนี้อยู่มาก รวมถึงกลุ่มสิ่งทอ หากต้นทุนค่าจ้างซึ่งเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมากๆ สุดท้ายธุรกิจก็จะหันไปใช้เครื่องจักรในขบวนการผลิตแทน และสุดท้ายก็จะทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเกิดขึ้นในที่สุด
ด้านการศึกษา นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการอัดเงินเข้าสู่ระบบอุดมศึกษา เนื่องจากจะสร้างนิสัยการได้เงินมาอย่างง่ายๆ และยิ่งเร่งให้สถาบันการศึกษากลายเป็นธุรกิจอุดมศึกษาอย่างชัดเจน ที่สำคัญคือทั้งสองพรรคการเมืองกลับไม่มีนโยบายสนับสนุนอาชีวะ ทั้งๆ ที่ทิศทางของประเทศไทยต้องการผลักดันให้นักเรียนเข้าสู่สายอาชีวะมากกว่า
นายสมพงษ์ กล่าวว่า นโยบายการให้เงินฟรีๆ แก่นักศึกษามีเป้าหมายคือ คะแนนเสียงจากคนอายุ 18 ปี แต่ไม่เคยศึกษาผลกระทบด้านลบ ที่ผ่านมาเคยมีการศึกษาจากนโยบายในลักษณะนี้ พบว่า เงินส่วนใหญ่หมดไปกับการใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่าย
สำหรับนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่จะให้เงินมหาวิทยาลัย 1,000 ล้านบาท ให้นักศึกษากู้เพื่อทำวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป็นนโยบายที่ดี แต่ต้องมีการสร้างตลาดรับรองผลผลิต มิเช่นนั้นจะสร้างหนี้อย่างมหาศาล
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เปิดเผยว่า นโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทยที่ออกมาล่าสุด ถือเป็นประชานิยมยุคที่ 2 ที่เป็นการทำนโยบายจากบนลงล่าง ต่างจากยุคแรกที่เป็นการฟังความคิดเห็นจากประชาชน จึงทำให้ประสบความสำเร็จมาบ้างแล้วจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และโครงการพักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี แต่กรณีนี้ที่มีการประกาศพักหนี้เกษตรกร 5 แสนบาทแรกเป็นเวลา 5 ปี เห็นว่ายิ่งเป็นการกระตุ้นให้คนก่อหนี้และเบี้ยวหนี้
นายไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยสังคมและ เศรษฐกิจ หมาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า เรื่องที่พรรคการเมืองควรทำ ควรจับประเด็นที่ประชาชนเรียกร้องความเสมอภาคในการเข้าถึงระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่มีความเหลื่อมล้ำกัน และมีระบบซ้ำซ้อน ควรจะนำมาเป็นจุดขายได้ ว่ามีนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล หรือให้อยู่ในระบบเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ น่าจะอาศัยจังหวะในการประกาศนโยบาย ซึ่งจะเป็นการสะท้อนการมองการณ์ไกล
นายไพโรจน์ กล่าวว่า การแข่งขันจัดทำประชานิยมอย่างรุนแรงมากขึ้นจะทำให้ประชาชนเสพติดประชานิยม แม้ว่าในระยะสั้นไม่มีผลกระทบต่อฐานะการคลังรัฐบาล โดยจะไม่แสดงในงบประมาณอย่างชัดเจนว่ามีการใช้เงินทำโครงการประชานิยมต่างๆ จำนวนเท่าไร แต่ยังมีการซุกซ่อนการใช้เงินที่มาทำนโยบายประชานิยม โดยผ่านกองทุนฯต่างๆ และการส่งผ่านนโยบายไปยังสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งทำให้สถาบันการเงินของรัฐอ่อนแอ
ที่มา:โต๊ะข่าวเพื่่อชุมชน สถาบันอิศรา (update: วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2554 เวลา 13:04 น.)
เกมพรรคร่วม โดดเดี่ยวปชป...ยกเว้น "มือที่มองไม่เห็น" จะแสดงอิทธิฤทธิ์อีกรอบ
เกมพรรคร่วม โดดเดี่ยวปชป.
กระแสเลือกตั้งถูกขานรับกันเป็นทอดๆ
เริ่มตั้งแต่ฝ่ายการเมือง กองทัพ ประชาชน รวมถึงองค์กรที่มีบทบาทในการจัดการเลือกตั้งโดยตรงอย่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต.
ส่วนคนบางกลุ่มที่ต้องการให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เสนอให้ยุบสภา แต่ไม่มีการเลือกตั้ง แล้วจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรี มาตรา 7 เข้ามาบริหารประเทศชั่วคราว 4-5 ปี
นอกจากสังคมไม่ตอบรับ ยังโดนกระแสตีกลับถูกมองเป็นขาประจำ "ตัวป่วน" ส่วนการเปลี่ยนแผนหันมาชูประเด็น "โหวตโน" ก็ทำท่ากลายเป็น "มุขแป้ก" เพราะขัดแย้งกันเองในกลุ่ม
สัญญาณเลือกตั้งเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น
เมื่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติวาระสาม ผ่านร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับการเลือกตั้ง และการทำงานของกกต.จำนวน 3 ฉบับ
คือ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง
ขั้นตอนต่อไปประธานวุฒิสภายืนยันบรรจุวาระให้วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับ ในวาระแรกวันที่ 11 เมษายน เชื่อว่าทั้งหมดจะจบในชั้นวุฒิสภาภายในเดือนเมษายน ก่อนส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยขั้นตอนสุดท้าย
โดยนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันกระบวนการต่างๆ จะเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ คือสามารถ"ยุบสภา"ได้ภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม
ดังนั้น ถ้าหากครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ พูดจริงทำจริง ไม่ได้ดีแต่พูด
ประชาชนทั่วทั้งประเทศที่เฝ้ารอการเลือกตั้งมานานจะได้กาบัตร เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ ได้ประมาณปลายเดือนมิ.ย.
หรืออย่างช้าที่สุดคือต้นเดือนก.ค.
นอกจากนี้ ฉากสำคัญที่คนทั่วไปไม่ได้เห็นกันบ่อยๆ
คือฉากที่พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. นำผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ รวมทั้งตัวแทนผบ.ตร. ออกมายืนเรียงแถวหน้ากระดานแถลงจุดยืนพร้อมหน้า
ยืนยันเป็นเสียงเดียวกัน ทหารไม่ทำปฏิวัติเด็ดขาด
ทั้งยังอ้างข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ห้ามทหารเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และหากมีหน่วยใดเคลื่อนย้ายกำลังโดยไม่ได้รับคำสั่งคือ กบฏ
การเลือกตั้งจะมีขึ้นหรือไม่และหลังเลือกตั้งจะเกิดเหตุการณ์อะไรหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับกองทัพ หากมีการยุบสภาก็เป็นเรื่องของรัฐบาล ส่วนการจัดเลือกตั้งก็เป็นหน้าที่ของกกต.
พร้อมยืนยันไม่มีรัฐบาลแห่งชาติหรือนายกฯ มาตรา 7 แน่นอน
อย่างไรก็ตาม เป็นเพราะยังไม่ลืมบทเรียนเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 กันยาฯ 2549 รวมถึงภาพของกองทัพ ซึ่งทำหน้าที่เป็น "นั่งร้าน" ค้ำยันรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
ไม่ว่าก่อนและหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนธ.ค.50 การสั่งยุบพรรคไทยรักไทย ต่อด้วยพรรคพลังประชาชน ชะตากรรมของนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สองอดีตนายกฯ
การจัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในค่ายทหาร
โดยเฉพาะเหตุการณ์รัฐบาลสั่งใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามม็อบเสื้อแดงเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553 จนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบ 2,000 คน
หลังจากเกิดเหตุรัฐบาลก็อยู่รอดมาได้ จนครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์ในวันนี้
จึงไม่แปลกที่คนในพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงจะยังหวาดระแวง ไม่เชื่อถือคำพูดของทหารที่ว่าจะไม่ปฏิวัติ
เรื่องของเรื่องเพราะไม่รู้ว่า "มือที่มองไม่เห็น" คิดอย่างไร
ท่ามกลางสารพัดโพลสำรวจทั้งในทางลับและเปิดเผย พบว่าพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทย
ไม่เฉพาะแต่ผลสำรวจของบรรดาโพลที่ออกมาในทิศทางเดียวกัน
ถ้าสังเกตจากปฏิกิริยาของพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่เป็น "ตัวแปร" สำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลมาเกือบทุกยุค ก็จะพบเห็นถึงความไม่มั่นใจเช่นกัน
ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้กลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลรอบใหม่หรือไม่
ไม่ว่าจะเป็นการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างพรรคชาติไทยพัฒนาของนายบรรหาร ศิลปอาชา กับพรรคภูมิใจไทย ของนายเนวิน ชิดชอบ
หรือการแถลงข่าวรวมคน-ไม่รวมพรรค ระหว่าง"รวมชาติพัฒนา"กับ"เพื่อแผ่นดิน" ซึ่งมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และแกนนำกลุ่ม 3 พี "พินิจ-ไพโรจน์-ปรีชา" อยู่เบื้องหลัง ภายใต้ชื่อใหม่"รวมชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน"
ก็เป็นไปเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเสียบร่วมรัฐบาล
โดยที่พรรคเหล่านี้ไม่มีใครยึดติดหรือพูดจาผูกมัดตัวเอง ว่าต้องเป็นพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่เป็นแกนนำ ถึงจะเข้าร่วมรัฐบาล
ส่วนที่ว่ามีการทำสัญญาใจกันไว้แล้วนั้น ก็ไม่มียืนยันเช่นกัน เป็นเพียงข่าวสีสันลอยๆ
เพราะดูจากสภาพของพรรคประชาธิปัตย์ตอนนี้ อาการ "ขาลง" น่าจะไปไกลจนกู่ไม่กลับ
ไหนจะปัญหาน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ที่นายกฯ และรัฐบาลขาดความฉับไวในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งที่เป็นพื้นที่ของตัวเองแท้ๆ
ไหนจะปัญหาของกินของใช้ราคาพุ่งสูง ล่าสุดเพิ่งผ่านพ้นจากเรื่อง "สวาปาล์ม" มาหมาดๆ ก็เป็นคิวน้ำมันถั่วเหลืองปรับขึ้นราคาอีกขวดละ 9 บาท
ก่อนที่พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคภูมิใจไทยจะเปิดศึก "หักดิบ" กันอีกรอบเรื่องขึ้นราคาปุ๋ยอีก 10-35 เปอร์เซ็นต์
ตามข่าวพาดหัวนายกฯอภิสิทธิ์ เบรกนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยจนหัวคะมำ เบื้องหลังเพราะกลัวกระทบต่อฐานเสียงเกษตรกรที่กำลังจะมีการเลือกตั้งเร็วๆ นี้
พรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส "เหยียบบ่าเพื่อน" จนนาทีสุดท้าย
เลยไม่แปลกใจกับข่าวพรรคร่วมรวมหัวกันโดดเดี่ยวพรรคแกนนำ หลังการเลือกตั้งน่าจะทางใครทางมัน
ยกเว้น "มือที่มองไม่เห็น" จะแสดงอิทธิฤทธิ์อีกรอบ
ที่มา: ข่าวสดรายวัน(update: วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7437)
วันเสาร์, เมษายน 09, 2554
การเมืองไทย 2554 (2)
รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร ได้เขียนบทวิเคราะห์ “การเมืองไทย 2554” โดยฉบับที่แล้วเป็นตอนที่ 1 ได้กล่าวถึง “พื้นฐานโครงสร้างการเมืองไทยและปัญหาหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” และ “ประเด็นสถานการณ์ปัญหาทางการเมือง 2554” โดยกล่าวถึงการจับกุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และการปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำ นปช. ทำให้ขบวนการเสื้อแดงมีความหวังมากขึ้นเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศ
การชุมนุมมวลชนที่มี นปช. เป็นแกนนำได้รับความร่วมมือและการเข้ามีส่วนร่วมจากประชาชนจำนวนมากทั่วประเทศ โดยแกนนำ นปช. ประกาศเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์เพื่อสร้าง “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง” และด้วยยุทธวิธีตามแนวทาง “สันติวิธี” (แกนนำ นปช. แถลงอย่างเป็นทางการที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ด้วยเอกสารเชิงนโยบายของตน)
ขณะที่แกนนำมวลชนเสื้อแดงกลุ่มอื่นที่ประกาศท่าทีเบี่ยงเบนแตกต่างออกไป (เช่น แกนนำมวลชนบางกลุ่มปราศรัยโน้มนำความคิดประชาชนว่าต้นตอของปัญหาการเมืองไทยและการปราบปรามประชาชนด้วยความรุนแรงมีที่มาจากคำสั่งของบุคคลใน “สถาบัน” (ผู้เขียนพบว่าแม้แต่บุคคลที่มีตำแหน่งการเมืองระดับสูงของประเทศจำนวนหนึ่งก็ “เชื่อ” เช่นนั้น บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้รับโดยตรงจาก “แหล่งข้อมูลชั้นสอง” ซึ่งแม้จะเป็นบุคคลน่าเชื่อถือ แต่ข้อมูลก็มีลักษณะสำคัญเป็นข่าวสารประเภท “การโฆษณาชวนเชื่อ” จากกลุ่มอำนาจในกองทัพและรัฐบาล มากกว่าจะเป็นความจริงที่พิสูจน์ยืนยันได้) แกนนำมวลชนดังกล่าวแสดงจุดยืนทางความคิดหลายครั้งว่าไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้แบบสันติวิธีของ นปช. การสำรวจข้อมูลภาคสนาม
รวมทั้งการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ชุมนุมคนเสื้อแดงหลายครั้ง ทำให้เห็นว่ามีกลุ่มปฏิบัติการจิตวิทยามวลชนจำนวนหนึ่งนำเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองที่โน้มนำความคิดดังกล่าว เช่น อัลบั้มภาพถ่าย เอกสารใบปลิวและเอกสารบทความ แผ่นวีซีดี ฯลฯ เข้าไปเผยแพร่ต่อมวลชนเสื้อแดงในที่ชุมนุม นปช. เพื่อให้มีการกระจายข่าวสารข้อมูลต่อๆกันไป โดยหวังผลแบบ “น้ำซึมบ่อทราย” ตามคำที่แกนนำกลุ่มมวลชนเหล่านี้ใช้อธิบายกับผู้ปฏิบัติการมวลชนของตน) ยังคงดำเนินกิจกรรมของตนเป็นอิสระจาก นปช.
แต่จนถึงต้นปี 2554 ยังไม่สามารถเรียกร้องความร่วมมือจากประชาชนให้เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมกับกลุ่มตนได้มากเท่าการชุมนุมที่มี นปช. เป็นแกนนำ (ข้อมูลสังเกตการณ์เชิงปริมาณเบื้องต้นจากสนามกิจกรรมการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในจังหวัดต่างๆจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยยังไม่วิเคราะห์รวมกับผลทางปฏิบัติของการจัดสัมมนาเชิงวิชาการในช่วงต้นปีดังกล่าวในหัวข้อเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่นักวิชาการ “กลุ่มนิติราษฎร์” (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีนักวิชาการมหาวิทยาลัยอื่นร่วมด้วย)
การยืนหยัดรักษาสาระสำคัญที่ครบถ้วนตามคำประกาศเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และแนวทางสันติวิธีของ นปช. เป็นจุดเข้มแข็งที่กลุ่มอำนาจพิมพ์เขียวตามรัฐธรรมนูญ 2550 ต้องการบั่นทอน (ด้วยการแทรกซึม) และทำลาย (ด้วยการใช้กำลังปราบปราม) แต่ยังคงไม่ประสบความสำเร็จตลอดช่วงเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา
ความต้องการบั่นทอนและทำลายพลังทางการเมืองของมวลชนเสื้อแดงดังกล่าวยังปรากฏร่องรอยหลักฐานให้เห็นได้ในปี 2554 และจะยังคงดำเนินต่อไปควบคู่กับการพยายามเรียกร้อง “การปรองดอง” ในขอบเขตความหมายที่ไม่บั่นทอนสถานะอำนาจทางการเมืองของกลุ่มตน โดยอาจมีการอ้างใช้ประโยชน์จากการปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำ นปช. ออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯตามคำสั่งศาลอาญาเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของข้อเรียกร้องกดดันให้ขบวนการเสื้อแดงเข้าสู่วิถีการปรองดองในความหมายดังกล่าว แต่การปรองดองโดยให้ประชาชนยอมรับอำนาจดังกล่าวอาจหวังผลได้ยากยิ่งขึ้น หลังจากมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงต่อประชาคมโลกมากขึ้นตามลำดับเกี่ยวกับการใช้อำนาจรุนแรงโดยกองทัพและรัฐบาลในการปราบปรามการชุมนุมคนเสื้อแดงในปีที่ผ่านมา
(ตัวอย่างสำคัญได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลต่างๆในเอกสารที่สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ยื่นร้องขอต่อสำนักอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 ให้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมในประเทศไทยในปี 2553; นอกเหนือไปจากนี้การรายงานข่าวโดยสื่อมวลชนต่างประเทศ เช่น นายแดน ริเวอร์ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวจากประเทศไทยในสนามเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 ก็มีสาระสำคัญของข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำแถลงของรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในขณะนั้น)
ส่วนที่ 3
ปฏิรูป ปฏิวัติ รัฐประหาร
โอกาสที่จะเกิด “การรัฐประหาร” ในปี 2554 โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของกลุ่มผู้นำในโครงสร้างอำนาจตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 ยังมีความเป็นไปได้ โดยหวังผลในการจัดระเบียบทางการเมืองอีกครั้งเพื่อรักษาภาวะการสืบทอดอำนาจต่อเนื่องของตน แต่การติดตามข้อมูลสถานการณ์อย่างระมัดระวัง และความพร้อมของเครือข่ายกลุ่มพลัง นปช. ในการเคลื่อนไหวมวลชนต่อต้านและต่อสู้กับการรัฐประหาร จะช่วยขัดขวางหรือยับยั้งการตัดสินใจขั้นสุดท้ายดังกล่าว ดังเช่นกรณีที่มีการรายงานข่าวสารข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เกี่ยวกับ “การนัดหารือ” ระหว่างกลุ่มบุคคลที่บ้านนักธุรกิจระดับชาติ และความเคลื่อนไหวของผู้นำทางทหารและอดีตผู้บัญชาการซึ่งมีบารมีทางการเมืองการทหารระดับสูงสุดของประเทศที่จังหวัดเพชรบูรณ์ในช่วงต้นปี 2554
กรณีนี้ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวางในแวดวงนักวิเคราะห์ทางการเมืองและผู้เชี่ยวชาญทางการทหารจำนวนหนึ่งว่า คณะผู้นำทหารเตรียมการรัฐประหารที่อาจตัดสินใจลงมือในช่วงเดือนดังกล่าวจริง แต่ไม่สามารถตัดสินใจขั้นสุดท้ายให้ลงมือปฏิบัติการรัฐประหารได้ ทั้งที่มีการเคลื่อนย้ายกำลังพลรองรับไว้แล้วจำนวนหนึ่ง ในกรณีดังกล่าวนอกจากแกนนำ นปช. จะมีส่วนสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลเรื่องการนัดหารือแล้ว นปช. ยังเปิดแถลงต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการ เพื่อแจ้งเตือนและแนะนำประชาชนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการต่อต้านการรัฐประหารหากเริ่มมีการประกาศการยึดอำนาจครั้งใหม่ ความตื่นตัวในการต่อต้านการรัฐประหาร
ผนวกกับความวิตกกังวลอย่างจริงจังจากกลุ่มทุนเอกชนรายใหญ่ในประเทศ (รวมทั้งข้อสังเกตที่ระบุว่าคณะผู้ประชุมหารือไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้เกี่ยวกับผู้ที่จะให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการรัฐประหาร) อาจประกอบกันเป็นสาเหตุให้ไม่มีการตัดสินใจลงมือก่อการรัฐประหารในช่วงเดือนดังกล่าว หรือในอีกทางหนึ่งที่อาจเป็นไปได้เช่นกันคือ การเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลเพื่อให้มีรายงานข่าวทางสื่อมวลชนครั้งดังกล่าว (ซึ่งปรากฏต่อมาว่ามีการสะท้อนความเห็นจากหลายฝ่ายที่แสดงความวิตกกังวลและคัดค้านการรัฐประหาร) อาจเป็นเพียงการเคลื่อนไหวข่าวสารเชิงยุทธการของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มเพื่อตรวจสอบภาวะทางการเมืองบางประการ
อย่างไรก็ตาม การรัฐประหารยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในสภาพการณ์ทางปฏิบัติของการเมืองไทยตลอดปี พ.ศ. 2554 เนื่องจากเครือข่ายกลุ่มอำนาจรัฐตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 ตกอยู่ท่ามกลางภาวะกดดันคุกคามความมั่นคงของกลุ่มตนทั้งจากการดำเนินงานของพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภา การเคลื่อนไหวของมวลชนเสื้อแดงทั่วประเทศ และจากการดำเนินการทางกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ ในช่วงเวลาที่ผู้นำกลุ่มอำนาจยังไม่สามารถตัดสินใจก่อการรัฐประหารซ้ำเพราะไม่มั่นใจในความสำเร็จ
กลไกอำนาจรัฐตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีตำแหน่งและอำนาจอยู่ในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ รวมทั้งในองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือของรัฐและกระบวนการโฆษณาชวนเชื่อในอาณัติดำเนินการเผยแพร่และเรียกร้องความร่วมมือจากสาธารณชนให้เห็นคล้อยตามว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์กำลังดำเนินการปฏิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ
ในประเด็นนี้ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า โครงการที่ถูกระบุว่ามีจุดมุ่งหมายในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งคณะกรรมการชุดต่างๆที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์แต่งตั้ง และเรียกชื่อหรือระบุในเอกสารแต่งตั้งให้มีสีสันของการปฏิรูปเหล่านั้นเป็นเพียง “โครงการผ่อนคลายแรงกดดันทางการเมือง” ที่รุมเร้ารัฐบาลและเครือข่ายอำนาจรัฐตามพิมพ์เขียวดังกล่าว โดยไม่อาจนำไปสู่ “การปฏิรูปที่แท้จริง” ตามความหมายที่กลุ่ม นปช. และมวลชนเสื้อแดงต่อสู้เรียกร้อง
การเปิดเผยความเห็นผ่านเอกสารวิชาการซึ่งถูกอ้างอิงต่อมาโดยสื่อมวลชนแวดวงจำกัดในช่วงต้นปี 2554 โดยศาสตราจารย์คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการสอบสวนค้นหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 (รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์แต่งตั้งโดยให้เหตุผลว่าเพื่อแสดงความจริงใจให้มีการค้นหาความจริงอย่างเป็นอิสระ
อันจะนำไปสู่การปรองดองระหว่างฝ่ายต่างๆที่ขัดแย้งกัน) เป็นตัวอย่างสำคัญของกรณีการใช้โครงการของรัฐเป็นเครื่องมือในการผ่อนคลายแรงกดดันทางการเมือง โดยไม่มีศักยภาพที่มุ่งหมายการปฏิรูปที่แท้จริง
นอกเหนือไปจากนี้การทำงานของคณะกรรมการที่รัฐบาลแต่งตั้งและมอบหมายการทำงานให้มีสีสันทางวิชาการมากขึ้น เช่น การทำงานของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปทางการเมืองชุดที่มีศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นประธาน ก็ปรากฏผลการทำงานคล้ายคลึงกันว่าเป็นข้อเสนอที่นอกจากจะมีความแปลกแยกแตกต่างไปจากหลักการของการเมืองประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภา (ซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างไปจากประชาธิปไตยตามระบอบประธานาธิบดี เช่น ข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มีสิทธิเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ข้อเสนอให้พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง “ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ” มากที่สุด โดยอาจได้รับการเลือกตั้ง “ส.ส.ระบบเขตพื้นที่” น้อยกว่าพรรคอื่น เป็นพรรคที่ได้รับสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ) แล้วยังอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมากขึ้นในอนาคตหากนำไปปฏิบัติจริง
โอกาสที่จะเกิด “การปฏิวัติทางการเมือง” ครั้งใหญ่ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างสังคมและสถาบันต่างๆอย่างกว้างขวางยังคงเป็นไปได้ยากอย่างยิ่งในการเมืองไทยในปี พ.ศ. 2554 (ยากเป็น “อย่างยิ่ง” เมื่อเปรียบเทียบกับโอกาสในการเกิดรัฐประหาร และยากกว่าโอกาสในการเกิด “การปฏิรูป” ตามแนวทางที่ นปช. ประกาศ) แม้ว่านักวิชาการจำนวนหนึ่งและนักเคลื่อนไหวมวลชนบางกลุ่ม
รวมทั้งนักการเมืองในระบบพรรคการเมืองปัจจุบันบางรายอาจประเมินและตั้งความคาดหวังกันว่าศักยภาพการระดมมวลชนขนาดใหญ่หลายแสนคนจากทั่วทุกภูมิภาคตามที่ขบวนการ นปช. แสดงให้เห็นว่าสามารถดำเนินการได้อย่างค่อนข้างคงเส้นคงวาแล้วนั้น สามารถถูกปรับแต่งไปใช้ประโยชน์ในทิศทางการปฏิวัติสังคมครั้งใหญ่ (ซึ่งต้องเกิดความรุนแรงเป็นส่วนประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) แทนที่จะเป็นการต่อสู้ตามแนวทางสันติวิธีเพื่อให้ได้ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง” ตามที่คณะกรรมการชุดรักษาการของแกนนำ นปช. ประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2553
นักวิชาการที่อภิปรายในเวทีวิชาการต่างๆ หรือแกนนำกลุ่มพลังที่ปราศรัยในเวทีชุมนุมมวลชนส่วนหนึ่ง รวมทั้งแกนนำกลุ่มปฏิบัติการขนาดเล็กที่จัดกิจกรรมร่วมกับคนเสื้อแดงในจังหวัดต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยนำเสนอแนวความคิดเรื่องการปฏิวัติสังคมครั้งใหญ่ก็ตระหนักว่าพลังมวลชนในกลุ่มตนไม่มีศักยภาพเพียงพอในการปฏิวัติสังคมโดยการต่อสู้ด้วยวิถีแห่งความรุนแรง และกลุ่มพลังมวลชนในอาณัติของตนตามลำพังไม่มีเครื่องมือที่เป็นจริงอย่างเพียงพอ
เช่น อาวุธสำหรับการต่อสู้กับกองทัพในการปฏิวัติสังคม ยิ่งไปกว่านั้นความคิดที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติการเมืองถึงระดับการถอดรื้อโครงสร้างทางสังคมครั้งใหญ่ในสังคมไทย (คำว่า “ถอดรื้อโครงสร้าง” เป็นคำที่นักทฤษฎีวิชาการด้านสังคมศาสตร์ของไทยแปลมาจากตำราวิชาการต่างประเทศ) ไม่สามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หากไม่มีกำลังอาวุธที่เตรียมพร้อมสนับสนุนจากกองทัพ หรือผู้มีบารมีลำดับสูงในกองทัพร่วมวางแผน
ถ้าหากเบื้องหลังกลุ่มที่ดำเนินการเคลื่อนไหวความคิดเชิง “ถอดรื้อ” ในกลุ่มมวลชนเสื้อแดงดังกล่าวไม่มีอำนาจและกำลังอาวุธจากกองทัพหนุนหลังอยู่จริงดังกล่าวข้างต้น การเคลื่อนไหวมวลชนให้มุ่งไปสู่ทิศทางการถอดรื้อแบบไม่สันติวิธีจะนำไปสู่ผลแบบเดียวกับเหตุการณ์ “วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519” ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มอำนาจตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 มากกว่าจะสอดคล้องกับอุดมการณ์ต่อสู้แบบสันติวิธีเพื่อการปฏิรูปตามที่กลุ่ม นปช. ประกาศ
การนองเลือดซ้ำแบบเหตุการณ์ “วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519” ในสภาพการณ์ที่มีการใช้ความรุนแรงและกำลังอาวุธจากฝ่ายประชาชนเข้าต่อสู้กับอำนาจรัฐ แม้จะอ้างว่าเพื่อจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติการเมือง แต่ก็จะขาดความชอบธรรม และมีความเปราะบางต่อการถูกประณามจากนานาชาติ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ
ซึ่งนอกจากจะทำให้ยากที่จะคาดหวังการคุ้มครองทางกฎหมายจากองค์กรหรือกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว ยังจะช่วยขยายช่องทางให้เครือข่ายกลุ่มอำนาจตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 สามารถดำเนินการจัดระเบียบทางการเมืองซ้ำ เพื่อตอกย้ำการสืบทอดอำนาจของกลุ่มตนอย่างมั่นคงและเป็นระยะยาวได้ง่ายยิ่งขึ้น
เท่าที่ปรากฏข้อเท็จจริงตั้งแต่ช่วงหลังการรัฐประหาร 2549 จนถึงปัจจุบัน การเผยแพร่ความคิดรวมทั้งกระแสหมุนเวียนของข่าวสารแบบ “ข่าวลือ” และการโฆษณาชวนเชื่อแบบ “ข่าวสารกึ่งจริง” ที่มุ่งหมายในการสร้างผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มักจะมีผลรูปธรรมข้อสำคัญเป็นการถ่วงรั้งความชอบธรรมและบั่นทอนความเข้มแข็งทางการเมืองของขบวนการคนเสื้อแดงที่มี นปช. เป็นแกนนำ (เช่น การถูกสื่อมวลชนในเครือข่ายที่สนับสนุนการรัฐประหาร 2549 กล่าวหาคนเสื้อแดงและแกนนำว่า “ล้มเจ้า” การถูกดำเนินคดีอาญาในฐานความผิดตามมาตรา 112 (ดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท)
รวมทั้งถูกสื่อมวลชนและกลไกข่าวสารข้อมูลต่างๆทั้งของรัฐและเอกชนเผยแพร่ข้อสังเกตว่าขบวนการคนเสื้อแดงมีความแตกแยก ไม่เป็นเอกภาพ เป็นต้น) และขัดขวางความก้าวหน้าในการปฏิรูปประชาธิปไตยมากกว่าจะมีผลรูปธรรมอย่างจริงจังเป็นการกระตุ้นสภาวะการปฏิวัติทางการเมืองครั้งใหญ่ในประเทศไทยตามทิศทางดังกล่าว
แม้ว่าสาธารณชนทั่วไปอาจมองข้ามข้อเท็จจริงจำนวนมาก แต่ “กระบวนการปฏิรูป” ทางการเมืองที่ไม่ต้องอาศัยความริเริ่มหรือโครงการของรัฐได้เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร 2549 โดยเกิดขึ้นตามลำดับพัฒนาการทางความคิดและปฏิบัติการทางการเมืองของประชาชนในกลุ่มพลังต่างๆที่ต่อต้านการรัฐประหาร 2549 ต่อต้าน “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” และผู้มีอำนาจเบื้องหลังระบอบการเมืองที่เรียกว่า “อำมาตยาธิปไตย” ต่อต้านการจัดตั้งรัฐบาลผสมพรรคประชาธิปัตย์ในเดือนธันวาคม 2551
ต่อต้านการใช้กำลังกองทัพปราบปรามประชาชนในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน-พฤษภาคม 2553 ต่อต้านรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่องภายหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุม พ.ศ. 2553 และหวนกลับมาร่วมสนับสนุนการชุมนุมใหญ่ของขบวนการเสื้อแดง นปช. ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ฯลฯ
การปฏิรูปดังกล่าวเกิดขึ้นโดยความริเริ่มอันเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติทางสังคมวิทยาการเมืองของประชาชนโดยไม่พึ่งพิงอำนาจรัฐหรือโครงการปฏิรูปของรัฐ รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นในการดำเนินโครงการปฏิรูปของรัฐ (ประชาชนจำนวนมากรวมทั้งคนเสื้อแดงไม่ให้ความสนใจต่อคณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งขึ้น
ในประเด็นเดียวกันนี้ผู้เขียนเคยนำเสนอบทความวิเคราะห์พัฒนาการของขบวนการดังกล่าวเผยแพร่ในเดือนตุลาคม 2552 ว่าขบวนการคนเสื้อแดง นปช. รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์การเมืองไทยว่าอาจเป็น “คณะปฏิวัติประชาธิปไตย” คณะแรกในสยาม (ในความหมายที่ไม่ใช่การรัฐประหารหรือการใช้อาวุธในการยึดอำนาจรัฐเหมือนกรณีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)
ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการปฏิรูปโดยความริเริ่มของสาธารณชนขึ้นอยู่กับความตั้งใจของขบวนการ นปช. และมวลชนเสื้อแดงในการต่อสู้ด้วยสันติวิธีเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงตามที่ประกาศ มากกว่าจะขึ้นอยู่กับการกระตุ้นความคิดเรื่องการปฏิวัติการเมืองหรือการถอดรื้อสังคมไทย
โอกาสและความคืบหน้าในการปฏิรูปการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงตามหลักการและอุดมการณ์ที่ นปช. ประกาศสามารถเป็นไปได้มากขึ้นด้วยการต่อสู้ตามแนวทางสันติวิธีในปี 2554 โอกาสดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการปฏิรูปจะสามารถพัฒนาได้เร็วขึ้น โดยสาธารณชนยังอยู่ในภาวะปลอดภัย หากการเคลื่อนไหวกิจกรรมมวลชนมีจุดมุ่งเน้นมากขึ้นในการยืนยันให้นานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศตระหนักอย่างต่อเนื่องว่าประชากรเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจะยืนหยัด “ปฏิเสธ” และ “ไม่ร่วมมือ” กับระบอบการเมืองของกลุ่มอำนาจตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งนี้ การยืนยันให้ประชาคมโลกเห็นเช่นนั้นอาจจำเป็นต้องแสดงความตั้งใจอย่างเป็นรูปธรรมด้วย “ปฏิบัติการร่วม” ของประชาชนจำนวนมากในวงกว้างทั่วประเทศ ทั้งปฏิบัติการทางเศรษฐกิจและปฏิบัติการทางการเมือง ทั้งในช่วงเวลาที่มีการนัดชุมนุมมวลชน และในบางวาระที่ไม่มีการชุมนุมประชาชน
โดยเลือกใช้วิธีการปฏิเสธและการไม่ร่วมมือเท่าที่กระทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (เท่าที่มีการกล่าวถึงกันแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คือการนัดหยุดงาน การนัดหยุดบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยบางประเภทในระดับมวลชนทั่วประเทศเป็นครั้งคราว รวมทั้งการแสดงเจตนาประท้วงกลุ่มทุนที่สนับสนุนอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยด้วยการงดซื้อหรืองดใช้บริการทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนดังกล่าวเป็นครั้งคราว
สามารถสร้างพลังผลักดันร่วมกันมากขึ้นในทิศทางการปฏิรูปดังกล่าว โดยไม่มีผลกระทบต่อสวัสดิภาพแรงงานของพนักงาน) จนกว่าจะเกิดการปฏิรูปทางการเมืองที่มองเห็นเป็นรูปธรรมทางปฏิบัติต่อไปมากขึ้นในประเทศไทย
ส่วนที่ 4
ข้อเสนอแนะ
การปฏิรูปยังเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมที่เหมาะสำหรับการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองของไทยมากกว่าการรัฐประหารหรือการปฏิวัติขนานใหญ่ ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงในการสร้างเผด็จการคณะใหม่ หรือเผด็จการรูปแบบใหม่ที่ไม่สามารถจะเป็น “ขั้นบันได” ไปสู่การสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
ภายในบริบทการเมืองแห่งความขัดแย้ง และบริบทเศรษฐกิจสังคมแห่งความไม่เป็นธรรมในประเทศไทยหลังการรัฐประหาร 2549 เมื่อพิจารณาประเด็นสถานการณ์ที่ประมวลโดยสังเขปข้างต้นในการเมืองไทย 2554 ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพื่อทุกฝ่ายพิจารณาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติตามดุลยพินิจและความเหมาะสมดังนี้
1.ดำเนินการเคลื่อนไหวผลักดันไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปที่โปร่งใสสุจริต และร่วมกันตรวจสอบป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง (รวมทั้งการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรมในการเลือกตั้ง)
2.กระตุ้นเตือนทุกฝ่ายให้ช่วยกันตรวจตราระมัดระวังป้องกันการรัฐประหาร
3.สนับสนุนการเคลื่อนไหวชุมนุมประชาชนที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญด้วยสันติวิธีและภายในขอบเขตกฎหมาย แต่ปฏิเสธหรือยับยั้งติเตือนกลุ่มพลังมวลชนที่กระตุ้นความรุนแรงหรือกระตุ้นความคิดที่อาจนำไปสู่การละเมิดกฎหมายร้ายแรง
4.ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหรือผู้ใช้อำนาจรัฐที่ดำเนินการทางการเมืองด้วยความเป็นธรรม และปฏิเสธหรือร่วมกันคัดค้านด้วยวิถีทางที่สามารถกระทำได้ภายในขอบเขตกฎหมายเมื่อปรากฏกรณีหรือเหตุการณ์ที่มีการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรมทางการเมืองหรือไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากที่ได้ปรากฏก่อนหน้านี้
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 305 วันที่ 2 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 หน้า 5-7 คอลัมน์ รายงานพิเศษ โดย รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร
บทความจากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข ปีที่ 6 ฉบับที่ 305 ประจำวัน จันทร์ ที่ 4 เมษายน 2011
บทความโดย รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร
การชุมนุมมวลชนที่มี นปช. เป็นแกนนำได้รับความร่วมมือและการเข้ามีส่วนร่วมจากประชาชนจำนวนมากทั่วประเทศ โดยแกนนำ นปช. ประกาศเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์เพื่อสร้าง “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง” และด้วยยุทธวิธีตามแนวทาง “สันติวิธี” (แกนนำ นปช. แถลงอย่างเป็นทางการที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ด้วยเอกสารเชิงนโยบายของตน)
ขณะที่แกนนำมวลชนเสื้อแดงกลุ่มอื่นที่ประกาศท่าทีเบี่ยงเบนแตกต่างออกไป (เช่น แกนนำมวลชนบางกลุ่มปราศรัยโน้มนำความคิดประชาชนว่าต้นตอของปัญหาการเมืองไทยและการปราบปรามประชาชนด้วยความรุนแรงมีที่มาจากคำสั่งของบุคคลใน “สถาบัน” (ผู้เขียนพบว่าแม้แต่บุคคลที่มีตำแหน่งการเมืองระดับสูงของประเทศจำนวนหนึ่งก็ “เชื่อ” เช่นนั้น บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้รับโดยตรงจาก “แหล่งข้อมูลชั้นสอง” ซึ่งแม้จะเป็นบุคคลน่าเชื่อถือ แต่ข้อมูลก็มีลักษณะสำคัญเป็นข่าวสารประเภท “การโฆษณาชวนเชื่อ” จากกลุ่มอำนาจในกองทัพและรัฐบาล มากกว่าจะเป็นความจริงที่พิสูจน์ยืนยันได้) แกนนำมวลชนดังกล่าวแสดงจุดยืนทางความคิดหลายครั้งว่าไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้แบบสันติวิธีของ นปช. การสำรวจข้อมูลภาคสนาม
รวมทั้งการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ชุมนุมคนเสื้อแดงหลายครั้ง ทำให้เห็นว่ามีกลุ่มปฏิบัติการจิตวิทยามวลชนจำนวนหนึ่งนำเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองที่โน้มนำความคิดดังกล่าว เช่น อัลบั้มภาพถ่าย เอกสารใบปลิวและเอกสารบทความ แผ่นวีซีดี ฯลฯ เข้าไปเผยแพร่ต่อมวลชนเสื้อแดงในที่ชุมนุม นปช. เพื่อให้มีการกระจายข่าวสารข้อมูลต่อๆกันไป โดยหวังผลแบบ “น้ำซึมบ่อทราย” ตามคำที่แกนนำกลุ่มมวลชนเหล่านี้ใช้อธิบายกับผู้ปฏิบัติการมวลชนของตน) ยังคงดำเนินกิจกรรมของตนเป็นอิสระจาก นปช.
แต่จนถึงต้นปี 2554 ยังไม่สามารถเรียกร้องความร่วมมือจากประชาชนให้เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมกับกลุ่มตนได้มากเท่าการชุมนุมที่มี นปช. เป็นแกนนำ (ข้อมูลสังเกตการณ์เชิงปริมาณเบื้องต้นจากสนามกิจกรรมการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในจังหวัดต่างๆจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยยังไม่วิเคราะห์รวมกับผลทางปฏิบัติของการจัดสัมมนาเชิงวิชาการในช่วงต้นปีดังกล่าวในหัวข้อเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่นักวิชาการ “กลุ่มนิติราษฎร์” (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีนักวิชาการมหาวิทยาลัยอื่นร่วมด้วย)
การยืนหยัดรักษาสาระสำคัญที่ครบถ้วนตามคำประกาศเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และแนวทางสันติวิธีของ นปช. เป็นจุดเข้มแข็งที่กลุ่มอำนาจพิมพ์เขียวตามรัฐธรรมนูญ 2550 ต้องการบั่นทอน (ด้วยการแทรกซึม) และทำลาย (ด้วยการใช้กำลังปราบปราม) แต่ยังคงไม่ประสบความสำเร็จตลอดช่วงเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา
ความต้องการบั่นทอนและทำลายพลังทางการเมืองของมวลชนเสื้อแดงดังกล่าวยังปรากฏร่องรอยหลักฐานให้เห็นได้ในปี 2554 และจะยังคงดำเนินต่อไปควบคู่กับการพยายามเรียกร้อง “การปรองดอง” ในขอบเขตความหมายที่ไม่บั่นทอนสถานะอำนาจทางการเมืองของกลุ่มตน โดยอาจมีการอ้างใช้ประโยชน์จากการปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำ นปช. ออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯตามคำสั่งศาลอาญาเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นส่วนหนึ่งของข้อเรียกร้องกดดันให้ขบวนการเสื้อแดงเข้าสู่วิถีการปรองดองในความหมายดังกล่าว แต่การปรองดองโดยให้ประชาชนยอมรับอำนาจดังกล่าวอาจหวังผลได้ยากยิ่งขึ้น หลังจากมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงต่อประชาคมโลกมากขึ้นตามลำดับเกี่ยวกับการใช้อำนาจรุนแรงโดยกองทัพและรัฐบาลในการปราบปรามการชุมนุมคนเสื้อแดงในปีที่ผ่านมา
(ตัวอย่างสำคัญได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลต่างๆในเอกสารที่สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ยื่นร้องขอต่อสำนักอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 ให้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมในประเทศไทยในปี 2553; นอกเหนือไปจากนี้การรายงานข่าวโดยสื่อมวลชนต่างประเทศ เช่น นายแดน ริเวอร์ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวจากประเทศไทยในสนามเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2553 ก็มีสาระสำคัญของข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำแถลงของรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในขณะนั้น)
ส่วนที่ 3
ปฏิรูป ปฏิวัติ รัฐประหาร
โอกาสที่จะเกิด “การรัฐประหาร” ในปี 2554 โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของกลุ่มผู้นำในโครงสร้างอำนาจตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 ยังมีความเป็นไปได้ โดยหวังผลในการจัดระเบียบทางการเมืองอีกครั้งเพื่อรักษาภาวะการสืบทอดอำนาจต่อเนื่องของตน แต่การติดตามข้อมูลสถานการณ์อย่างระมัดระวัง และความพร้อมของเครือข่ายกลุ่มพลัง นปช. ในการเคลื่อนไหวมวลชนต่อต้านและต่อสู้กับการรัฐประหาร จะช่วยขัดขวางหรือยับยั้งการตัดสินใจขั้นสุดท้ายดังกล่าว ดังเช่นกรณีที่มีการรายงานข่าวสารข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เกี่ยวกับ “การนัดหารือ” ระหว่างกลุ่มบุคคลที่บ้านนักธุรกิจระดับชาติ และความเคลื่อนไหวของผู้นำทางทหารและอดีตผู้บัญชาการซึ่งมีบารมีทางการเมืองการทหารระดับสูงสุดของประเทศที่จังหวัดเพชรบูรณ์ในช่วงต้นปี 2554
กรณีนี้ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวางในแวดวงนักวิเคราะห์ทางการเมืองและผู้เชี่ยวชาญทางการทหารจำนวนหนึ่งว่า คณะผู้นำทหารเตรียมการรัฐประหารที่อาจตัดสินใจลงมือในช่วงเดือนดังกล่าวจริง แต่ไม่สามารถตัดสินใจขั้นสุดท้ายให้ลงมือปฏิบัติการรัฐประหารได้ ทั้งที่มีการเคลื่อนย้ายกำลังพลรองรับไว้แล้วจำนวนหนึ่ง ในกรณีดังกล่าวนอกจากแกนนำ นปช. จะมีส่วนสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลเรื่องการนัดหารือแล้ว นปช. ยังเปิดแถลงต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการ เพื่อแจ้งเตือนและแนะนำประชาชนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการต่อต้านการรัฐประหารหากเริ่มมีการประกาศการยึดอำนาจครั้งใหม่ ความตื่นตัวในการต่อต้านการรัฐประหาร
ผนวกกับความวิตกกังวลอย่างจริงจังจากกลุ่มทุนเอกชนรายใหญ่ในประเทศ (รวมทั้งข้อสังเกตที่ระบุว่าคณะผู้ประชุมหารือไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้เกี่ยวกับผู้ที่จะให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการรัฐประหาร) อาจประกอบกันเป็นสาเหตุให้ไม่มีการตัดสินใจลงมือก่อการรัฐประหารในช่วงเดือนดังกล่าว หรือในอีกทางหนึ่งที่อาจเป็นไปได้เช่นกันคือ การเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลเพื่อให้มีรายงานข่าวทางสื่อมวลชนครั้งดังกล่าว (ซึ่งปรากฏต่อมาว่ามีการสะท้อนความเห็นจากหลายฝ่ายที่แสดงความวิตกกังวลและคัดค้านการรัฐประหาร) อาจเป็นเพียงการเคลื่อนไหวข่าวสารเชิงยุทธการของกลุ่มการเมืองบางกลุ่มเพื่อตรวจสอบภาวะทางการเมืองบางประการ
อย่างไรก็ตาม การรัฐประหารยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในสภาพการณ์ทางปฏิบัติของการเมืองไทยตลอดปี พ.ศ. 2554 เนื่องจากเครือข่ายกลุ่มอำนาจรัฐตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 ตกอยู่ท่ามกลางภาวะกดดันคุกคามความมั่นคงของกลุ่มตนทั้งจากการดำเนินงานของพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภา การเคลื่อนไหวของมวลชนเสื้อแดงทั่วประเทศ และจากการดำเนินการทางกฎหมายในกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ ในช่วงเวลาที่ผู้นำกลุ่มอำนาจยังไม่สามารถตัดสินใจก่อการรัฐประหารซ้ำเพราะไม่มั่นใจในความสำเร็จ
กลไกอำนาจรัฐตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีตำแหน่งและอำนาจอยู่ในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ รวมทั้งในองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือของรัฐและกระบวนการโฆษณาชวนเชื่อในอาณัติดำเนินการเผยแพร่และเรียกร้องความร่วมมือจากสาธารณชนให้เห็นคล้อยตามว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์กำลังดำเนินการปฏิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ
ในประเด็นนี้ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า โครงการที่ถูกระบุว่ามีจุดมุ่งหมายในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งคณะกรรมการชุดต่างๆที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์แต่งตั้ง และเรียกชื่อหรือระบุในเอกสารแต่งตั้งให้มีสีสันของการปฏิรูปเหล่านั้นเป็นเพียง “โครงการผ่อนคลายแรงกดดันทางการเมือง” ที่รุมเร้ารัฐบาลและเครือข่ายอำนาจรัฐตามพิมพ์เขียวดังกล่าว โดยไม่อาจนำไปสู่ “การปฏิรูปที่แท้จริง” ตามความหมายที่กลุ่ม นปช. และมวลชนเสื้อแดงต่อสู้เรียกร้อง
การเปิดเผยความเห็นผ่านเอกสารวิชาการซึ่งถูกอ้างอิงต่อมาโดยสื่อมวลชนแวดวงจำกัดในช่วงต้นปี 2554 โดยศาสตราจารย์คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการสอบสวนค้นหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 (รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์แต่งตั้งโดยให้เหตุผลว่าเพื่อแสดงความจริงใจให้มีการค้นหาความจริงอย่างเป็นอิสระ
อันจะนำไปสู่การปรองดองระหว่างฝ่ายต่างๆที่ขัดแย้งกัน) เป็นตัวอย่างสำคัญของกรณีการใช้โครงการของรัฐเป็นเครื่องมือในการผ่อนคลายแรงกดดันทางการเมือง โดยไม่มีศักยภาพที่มุ่งหมายการปฏิรูปที่แท้จริง
นอกเหนือไปจากนี้การทำงานของคณะกรรมการที่รัฐบาลแต่งตั้งและมอบหมายการทำงานให้มีสีสันทางวิชาการมากขึ้น เช่น การทำงานของคณะกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปทางการเมืองชุดที่มีศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นประธาน ก็ปรากฏผลการทำงานคล้ายคลึงกันว่าเป็นข้อเสนอที่นอกจากจะมีความแปลกแยกแตกต่างไปจากหลักการของการเมืองประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภา (ซึ่งมีโครงสร้างแตกต่างไปจากประชาธิปไตยตามระบอบประธานาธิบดี เช่น ข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มีสิทธิเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ข้อเสนอให้พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง “ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ” มากที่สุด โดยอาจได้รับการเลือกตั้ง “ส.ส.ระบบเขตพื้นที่” น้อยกว่าพรรคอื่น เป็นพรรคที่ได้รับสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ) แล้วยังอาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมากขึ้นในอนาคตหากนำไปปฏิบัติจริง
โอกาสที่จะเกิด “การปฏิวัติทางการเมือง” ครั้งใหญ่ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อโครงสร้างสังคมและสถาบันต่างๆอย่างกว้างขวางยังคงเป็นไปได้ยากอย่างยิ่งในการเมืองไทยในปี พ.ศ. 2554 (ยากเป็น “อย่างยิ่ง” เมื่อเปรียบเทียบกับโอกาสในการเกิดรัฐประหาร และยากกว่าโอกาสในการเกิด “การปฏิรูป” ตามแนวทางที่ นปช. ประกาศ) แม้ว่านักวิชาการจำนวนหนึ่งและนักเคลื่อนไหวมวลชนบางกลุ่ม
รวมทั้งนักการเมืองในระบบพรรคการเมืองปัจจุบันบางรายอาจประเมินและตั้งความคาดหวังกันว่าศักยภาพการระดมมวลชนขนาดใหญ่หลายแสนคนจากทั่วทุกภูมิภาคตามที่ขบวนการ นปช. แสดงให้เห็นว่าสามารถดำเนินการได้อย่างค่อนข้างคงเส้นคงวาแล้วนั้น สามารถถูกปรับแต่งไปใช้ประโยชน์ในทิศทางการปฏิวัติสังคมครั้งใหญ่ (ซึ่งต้องเกิดความรุนแรงเป็นส่วนประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้) แทนที่จะเป็นการต่อสู้ตามแนวทางสันติวิธีเพื่อให้ได้ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง” ตามที่คณะกรรมการชุดรักษาการของแกนนำ นปช. ประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2553
นักวิชาการที่อภิปรายในเวทีวิชาการต่างๆ หรือแกนนำกลุ่มพลังที่ปราศรัยในเวทีชุมนุมมวลชนส่วนหนึ่ง รวมทั้งแกนนำกลุ่มปฏิบัติการขนาดเล็กที่จัดกิจกรรมร่วมกับคนเสื้อแดงในจังหวัดต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยนำเสนอแนวความคิดเรื่องการปฏิวัติสังคมครั้งใหญ่ก็ตระหนักว่าพลังมวลชนในกลุ่มตนไม่มีศักยภาพเพียงพอในการปฏิวัติสังคมโดยการต่อสู้ด้วยวิถีแห่งความรุนแรง และกลุ่มพลังมวลชนในอาณัติของตนตามลำพังไม่มีเครื่องมือที่เป็นจริงอย่างเพียงพอ
เช่น อาวุธสำหรับการต่อสู้กับกองทัพในการปฏิวัติสังคม ยิ่งไปกว่านั้นความคิดที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติการเมืองถึงระดับการถอดรื้อโครงสร้างทางสังคมครั้งใหญ่ในสังคมไทย (คำว่า “ถอดรื้อโครงสร้าง” เป็นคำที่นักทฤษฎีวิชาการด้านสังคมศาสตร์ของไทยแปลมาจากตำราวิชาการต่างประเทศ) ไม่สามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ หากไม่มีกำลังอาวุธที่เตรียมพร้อมสนับสนุนจากกองทัพ หรือผู้มีบารมีลำดับสูงในกองทัพร่วมวางแผน
ถ้าหากเบื้องหลังกลุ่มที่ดำเนินการเคลื่อนไหวความคิดเชิง “ถอดรื้อ” ในกลุ่มมวลชนเสื้อแดงดังกล่าวไม่มีอำนาจและกำลังอาวุธจากกองทัพหนุนหลังอยู่จริงดังกล่าวข้างต้น การเคลื่อนไหวมวลชนให้มุ่งไปสู่ทิศทางการถอดรื้อแบบไม่สันติวิธีจะนำไปสู่ผลแบบเดียวกับเหตุการณ์ “วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519” ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มอำนาจตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 มากกว่าจะสอดคล้องกับอุดมการณ์ต่อสู้แบบสันติวิธีเพื่อการปฏิรูปตามที่กลุ่ม นปช. ประกาศ
การนองเลือดซ้ำแบบเหตุการณ์ “วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519” ในสภาพการณ์ที่มีการใช้ความรุนแรงและกำลังอาวุธจากฝ่ายประชาชนเข้าต่อสู้กับอำนาจรัฐ แม้จะอ้างว่าเพื่อจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติการเมือง แต่ก็จะขาดความชอบธรรม และมีความเปราะบางต่อการถูกประณามจากนานาชาติ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ
ซึ่งนอกจากจะทำให้ยากที่จะคาดหวังการคุ้มครองทางกฎหมายจากองค์กรหรือกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศแล้ว ยังจะช่วยขยายช่องทางให้เครือข่ายกลุ่มอำนาจตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 สามารถดำเนินการจัดระเบียบทางการเมืองซ้ำ เพื่อตอกย้ำการสืบทอดอำนาจของกลุ่มตนอย่างมั่นคงและเป็นระยะยาวได้ง่ายยิ่งขึ้น
เท่าที่ปรากฏข้อเท็จจริงตั้งแต่ช่วงหลังการรัฐประหาร 2549 จนถึงปัจจุบัน การเผยแพร่ความคิดรวมทั้งกระแสหมุนเวียนของข่าวสารแบบ “ข่าวลือ” และการโฆษณาชวนเชื่อแบบ “ข่าวสารกึ่งจริง” ที่มุ่งหมายในการสร้างผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มักจะมีผลรูปธรรมข้อสำคัญเป็นการถ่วงรั้งความชอบธรรมและบั่นทอนความเข้มแข็งทางการเมืองของขบวนการคนเสื้อแดงที่มี นปช. เป็นแกนนำ (เช่น การถูกสื่อมวลชนในเครือข่ายที่สนับสนุนการรัฐประหาร 2549 กล่าวหาคนเสื้อแดงและแกนนำว่า “ล้มเจ้า” การถูกดำเนินคดีอาญาในฐานความผิดตามมาตรา 112 (ดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท)
รวมทั้งถูกสื่อมวลชนและกลไกข่าวสารข้อมูลต่างๆทั้งของรัฐและเอกชนเผยแพร่ข้อสังเกตว่าขบวนการคนเสื้อแดงมีความแตกแยก ไม่เป็นเอกภาพ เป็นต้น) และขัดขวางความก้าวหน้าในการปฏิรูปประชาธิปไตยมากกว่าจะมีผลรูปธรรมอย่างจริงจังเป็นการกระตุ้นสภาวะการปฏิวัติทางการเมืองครั้งใหญ่ในประเทศไทยตามทิศทางดังกล่าว
แม้ว่าสาธารณชนทั่วไปอาจมองข้ามข้อเท็จจริงจำนวนมาก แต่ “กระบวนการปฏิรูป” ทางการเมืองที่ไม่ต้องอาศัยความริเริ่มหรือโครงการของรัฐได้เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร 2549 โดยเกิดขึ้นตามลำดับพัฒนาการทางความคิดและปฏิบัติการทางการเมืองของประชาชนในกลุ่มพลังต่างๆที่ต่อต้านการรัฐประหาร 2549 ต่อต้าน “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” และผู้มีอำนาจเบื้องหลังระบอบการเมืองที่เรียกว่า “อำมาตยาธิปไตย” ต่อต้านการจัดตั้งรัฐบาลผสมพรรคประชาธิปัตย์ในเดือนธันวาคม 2551
ต่อต้านการใช้กำลังกองทัพปราบปรามประชาชนในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน-พฤษภาคม 2553 ต่อต้านรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่องภายหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุม พ.ศ. 2553 และหวนกลับมาร่วมสนับสนุนการชุมนุมใหญ่ของขบวนการเสื้อแดง นปช. ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ฯลฯ
การปฏิรูปดังกล่าวเกิดขึ้นโดยความริเริ่มอันเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติทางสังคมวิทยาการเมืองของประชาชนโดยไม่พึ่งพิงอำนาจรัฐหรือโครงการปฏิรูปของรัฐ รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นในการดำเนินโครงการปฏิรูปของรัฐ (ประชาชนจำนวนมากรวมทั้งคนเสื้อแดงไม่ให้ความสนใจต่อคณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งขึ้น
ในประเด็นเดียวกันนี้ผู้เขียนเคยนำเสนอบทความวิเคราะห์พัฒนาการของขบวนการดังกล่าวเผยแพร่ในเดือนตุลาคม 2552 ว่าขบวนการคนเสื้อแดง นปช. รวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์การเมืองไทยว่าอาจเป็น “คณะปฏิวัติประชาธิปไตย” คณะแรกในสยาม (ในความหมายที่ไม่ใช่การรัฐประหารหรือการใช้อาวุธในการยึดอำนาจรัฐเหมือนกรณีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)
ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการปฏิรูปโดยความริเริ่มของสาธารณชนขึ้นอยู่กับความตั้งใจของขบวนการ นปช. และมวลชนเสื้อแดงในการต่อสู้ด้วยสันติวิธีเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงตามที่ประกาศ มากกว่าจะขึ้นอยู่กับการกระตุ้นความคิดเรื่องการปฏิวัติการเมืองหรือการถอดรื้อสังคมไทย
โอกาสและความคืบหน้าในการปฏิรูปการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงตามหลักการและอุดมการณ์ที่ นปช. ประกาศสามารถเป็นไปได้มากขึ้นด้วยการต่อสู้ตามแนวทางสันติวิธีในปี 2554 โอกาสดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการปฏิรูปจะสามารถพัฒนาได้เร็วขึ้น โดยสาธารณชนยังอยู่ในภาวะปลอดภัย หากการเคลื่อนไหวกิจกรรมมวลชนมีจุดมุ่งเน้นมากขึ้นในการยืนยันให้นานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศตระหนักอย่างต่อเนื่องว่าประชากรเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจะยืนหยัด “ปฏิเสธ” และ “ไม่ร่วมมือ” กับระบอบการเมืองของกลุ่มอำนาจตามพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งนี้ การยืนยันให้ประชาคมโลกเห็นเช่นนั้นอาจจำเป็นต้องแสดงความตั้งใจอย่างเป็นรูปธรรมด้วย “ปฏิบัติการร่วม” ของประชาชนจำนวนมากในวงกว้างทั่วประเทศ ทั้งปฏิบัติการทางเศรษฐกิจและปฏิบัติการทางการเมือง ทั้งในช่วงเวลาที่มีการนัดชุมนุมมวลชน และในบางวาระที่ไม่มีการชุมนุมประชาชน
โดยเลือกใช้วิธีการปฏิเสธและการไม่ร่วมมือเท่าที่กระทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (เท่าที่มีการกล่าวถึงกันแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คือการนัดหยุดงาน การนัดหยุดบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยบางประเภทในระดับมวลชนทั่วประเทศเป็นครั้งคราว รวมทั้งการแสดงเจตนาประท้วงกลุ่มทุนที่สนับสนุนอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยด้วยการงดซื้อหรืองดใช้บริการทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนดังกล่าวเป็นครั้งคราว
สามารถสร้างพลังผลักดันร่วมกันมากขึ้นในทิศทางการปฏิรูปดังกล่าว โดยไม่มีผลกระทบต่อสวัสดิภาพแรงงานของพนักงาน) จนกว่าจะเกิดการปฏิรูปทางการเมืองที่มองเห็นเป็นรูปธรรมทางปฏิบัติต่อไปมากขึ้นในประเทศไทย
ส่วนที่ 4
ข้อเสนอแนะ
การปฏิรูปยังเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมที่เหมาะสำหรับการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองของไทยมากกว่าการรัฐประหารหรือการปฏิวัติขนานใหญ่ ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงในการสร้างเผด็จการคณะใหม่ หรือเผด็จการรูปแบบใหม่ที่ไม่สามารถจะเป็น “ขั้นบันได” ไปสู่การสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
ภายในบริบทการเมืองแห่งความขัดแย้ง และบริบทเศรษฐกิจสังคมแห่งความไม่เป็นธรรมในประเทศไทยหลังการรัฐประหาร 2549 เมื่อพิจารณาประเด็นสถานการณ์ที่ประมวลโดยสังเขปข้างต้นในการเมืองไทย 2554 ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพื่อทุกฝ่ายพิจารณาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติตามดุลยพินิจและความเหมาะสมดังนี้
1.ดำเนินการเคลื่อนไหวผลักดันไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปที่โปร่งใสสุจริต และร่วมกันตรวจสอบป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง (รวมทั้งการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรมในการเลือกตั้ง)
2.กระตุ้นเตือนทุกฝ่ายให้ช่วยกันตรวจตราระมัดระวังป้องกันการรัฐประหาร
3.สนับสนุนการเคลื่อนไหวชุมนุมประชาชนที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญด้วยสันติวิธีและภายในขอบเขตกฎหมาย แต่ปฏิเสธหรือยับยั้งติเตือนกลุ่มพลังมวลชนที่กระตุ้นความรุนแรงหรือกระตุ้นความคิดที่อาจนำไปสู่การละเมิดกฎหมายร้ายแรง
4.ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหรือผู้ใช้อำนาจรัฐที่ดำเนินการทางการเมืองด้วยความเป็นธรรม และปฏิเสธหรือร่วมกันคัดค้านด้วยวิถีทางที่สามารถกระทำได้ภายในขอบเขตกฎหมายเมื่อปรากฏกรณีหรือเหตุการณ์ที่มีการใช้อำนาจรัฐไม่เป็นธรรมทางการเมืองหรือไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากที่ได้ปรากฏก่อนหน้านี้
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 305 วันที่ 2 - 8 เมษายน พ.ศ. 2554 หน้า 5-7 คอลัมน์ รายงานพิเศษ โดย รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร
บทความจากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข ปีที่ 6 ฉบับที่ 305 ประจำวัน จันทร์ ที่ 4 เมษายน 2011
บทความโดย รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร
วันศุกร์, เมษายน 08, 2554
ผบ.ทบ.ปัด"กอ.รมน."ตั้งวอร์รูมเช็คโพลเลือกตั้ง บ่นการเมืองอะไรกันนักหนา เตือนสื่ออย่าเสนอข่าวคนชั่ว
ผบ.ทบ.ปัด"กอ.รมน."ตั้งวอร์รูมเช็คโพลเลือกตั้ง บ่นการเมืองอะไรกันนักหนา เตือนสื่ออย่าเสนอข่าวคนชั่ว
เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่กองการบินกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่า กองทัพบกตั้งกองบัญชาการสำรวจโพลการเลือกตั้งว่า เชื่อเขาหรือเปล่า ถ้าเชื่อก็ไปถามเขาเอง
ตนบอกแล้วว่าหน้าที่ของทหาร และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) คือเรื่องภัยคุกคาม ไม่มีเรื่องการเมืองหรือเลือกตั้งไม่เกี่ยวกัน กอ.รมน.ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อการเมือง ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ไปแก้ปัญหาเรื่องการเมือง ฉะนั้น การตั้งวอร์รูมที่พูดกันต้องลองไปถามคนที่เขาทำ จากผลสำรวจโพลต่างๆ ว่า ใครทำทหารไม่เกี่ยว
"อยากขอร้องเรื่องของสถาบัน ผมปรามมาหลายครั้งแล้ว ที่ออกมาพูดจา หรือโต้ตอบทางเว็บไซต์ ผิดกฎหมายและสมควรหรือไม่ เราต้องช่วยกันดูแลซึ่งไม่มีประเทศไหนทำกัน ทำลายทุกสถาบันให้หมดไป เพื่ออะไร เพื่อใคร อยากให้ทบทวนว่า ที่ได้ยินมา จริงหรือไม่จริง เกิดประโยชน์กับประเทศไทยหรือไม่ วันนี้อะไรเปลี่ยนแปลงไป เพื่อใคร แล้วทำไมเราไม่ออกมาดูแลปกป้องกัน ผมไม่เข้าใจ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ลองไม่สนใจคนชั่ว สื่อคงแยกแยะออก บางคนอาจมองไม่เหมือนกัน ผมมองคนนี้ไม่ดี แต่บางคนมองคนนี้ดี ผมก็ไม่ไปว่า เพราะเป็นความเห็นส่วนตัว แต่อยากขอร้องอะไรที่ไม่ดี เสื่อมเสีย ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ก็อย่าไปเสนอข่าว อย่าพูดแทนเขา ทำให้สังคมรับรู้ในสิ่งที่ไม่ดี ทุกวันนี้คนก็ขาดวิจารณญาณในหลายเรื่อง ต้องมีคนมาชี้แจง ผมต้องพูดทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ ซึ่งอาจจะไม่สมควรที่ ผบ.ทบ.มาพูดในทุกเรื่อง วันนี้โลกก็เดือดร้อน รอบบ้านก็เดือดร้อน ในบ้านก็เดือดร้อน แล้วยังไม่พออีกหรือจะเอาอะไรกันอีก ต้องแตกดับกันไปข้างหนึ่งหรือไง "
ที่มา: มติชนออนไลน์(update: วันที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:33:08 น.)
เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่กองการบินกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่า กองทัพบกตั้งกองบัญชาการสำรวจโพลการเลือกตั้งว่า เชื่อเขาหรือเปล่า ถ้าเชื่อก็ไปถามเขาเอง
ตนบอกแล้วว่าหน้าที่ของทหาร และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) คือเรื่องภัยคุกคาม ไม่มีเรื่องการเมืองหรือเลือกตั้งไม่เกี่ยวกัน กอ.รมน.ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อการเมือง ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่ไปแก้ปัญหาเรื่องการเมือง ฉะนั้น การตั้งวอร์รูมที่พูดกันต้องลองไปถามคนที่เขาทำ จากผลสำรวจโพลต่างๆ ว่า ใครทำทหารไม่เกี่ยว
"อยากขอร้องเรื่องของสถาบัน ผมปรามมาหลายครั้งแล้ว ที่ออกมาพูดจา หรือโต้ตอบทางเว็บไซต์ ผิดกฎหมายและสมควรหรือไม่ เราต้องช่วยกันดูแลซึ่งไม่มีประเทศไหนทำกัน ทำลายทุกสถาบันให้หมดไป เพื่ออะไร เพื่อใคร อยากให้ทบทวนว่า ที่ได้ยินมา จริงหรือไม่จริง เกิดประโยชน์กับประเทศไทยหรือไม่ วันนี้อะไรเปลี่ยนแปลงไป เพื่อใคร แล้วทำไมเราไม่ออกมาดูแลปกป้องกัน ผมไม่เข้าใจ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ลองไม่สนใจคนชั่ว สื่อคงแยกแยะออก บางคนอาจมองไม่เหมือนกัน ผมมองคนนี้ไม่ดี แต่บางคนมองคนนี้ดี ผมก็ไม่ไปว่า เพราะเป็นความเห็นส่วนตัว แต่อยากขอร้องอะไรที่ไม่ดี เสื่อมเสีย ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ก็อย่าไปเสนอข่าว อย่าพูดแทนเขา ทำให้สังคมรับรู้ในสิ่งที่ไม่ดี ทุกวันนี้คนก็ขาดวิจารณญาณในหลายเรื่อง ต้องมีคนมาชี้แจง ผมต้องพูดทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ ซึ่งอาจจะไม่สมควรที่ ผบ.ทบ.มาพูดในทุกเรื่อง วันนี้โลกก็เดือดร้อน รอบบ้านก็เดือดร้อน ในบ้านก็เดือดร้อน แล้วยังไม่พออีกหรือจะเอาอะไรกันอีก ต้องแตกดับกันไปข้างหนึ่งหรือไง "
ที่มา: มติชนออนไลน์(update: วันที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:33:08 น.)
วันพุธ, เมษายน 06, 2554
กองทัพตบเท้าไม่ปฏิวัติพิสูจน์สัจจะชายชาติทหาร
เป็นปรากฏการณ์ที่ออกมาไม่บ่อยนักกับภาพของ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) พร้อมด้วยผู้นำ 4 เหล่าทัพทั้งทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ ออกมาตบเท้าแถลงข่าวพร้อมกันเมื่อวันที่ 5 เม.ย. เพื่อยืนยันต่อสาธารณชนว่ากองทัพจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารอย่างเด็ดขาดในสถานการณ์ทางการเมือง ณ เวลานี้
หมุนเวลากลับไปเมื่อปี 2551 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ในเวลานั้น ได้เคยนำผู้บัญชาการเหล่าทัพออกรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งมาแล้วว่า ทหารจะไม่เป่าแตรขนอาวุธออกมายึดอำนาจรัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในเวลานั้นอย่างแน่นอน แม้ว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กำลังก่อการยึดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองก็ตาม
ยังไม่รวมถึงการออกมาให้สัมภาษณ์ประปรายของบรรดาผู้นำเหล่าทัพต่างกรรมต่างวาระ เพื่อยืนยันในแบบชายชาติทหารว่าหัวเด็ดตีนขาดอย่างไรทหารก็จะไม่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน โดยจะปล่อยให้ปัญหาการเมืองแก้ด้วยการเมืองเอง
สาเหตุสำคัญที่ทำให้กองทัพต้องมาชี้แจงต่อสังคม เป็นเพราะในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ได้ปรากฏข่าวความเคลื่อนไหวของอำนาจนอกระบบ ที่จะเตรียมเข้ามาแทรกแซงการเมือง โดยเฉพาะท่าทีของ สดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการยืนยันข่าวลือเกี่ยวกับการปฏิวัติว่ามีอยู่จริง
“จากการพูดคุยกับคนอื่นรวมทั้งทหาร ก็มีการพูดถึงว่าทหารมีตัวแล้วว่าจะเป็นใคร ก็มีความรู้สึกว่าขนาดนี้เชียวหรอ ไม่อยากพูดว่าใครที่เราได้ไปคุยด้วย จะมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญเชียวเหรอ ข่าวที่ได้ยินมาถึงขนาดมีการวางตัวกันไว้แล้วว่าใครจะได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย”
สำทับด้วยการเคลื่อนไหวของของกลุ่ม พธม. ระยะหลังๆ มานี้ได้แสดงความชัดเจนมาตลอดว่า ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยการรัฐประหาร หรือเรียกง่ายๆ ว่า ออกบัตรเชิญทหารปฏิวัติ
จากกระแสดังกล่าวเริ่มมีการวิเคราะห์ไปต่างๆ นานา ว่าการปฏิวัติจะออกมาในรูปแบบใด โดยมีความเป็นไปได้ที่สุด 2 แบบ ได้แก่ ปฏิวัติเงียบและปฏิวัติแบบดัง
ปฏิวัติเงียบ คือ การให้อำนาจนอกระบบเข้ามากดดัน กกต.ให้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา เพื่อไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญเข้ามาจัดการการเลือกตั้ง
ส่วนการปฏิวัติแบบดัง เป็นการเล่นกันซึ่งๆ หน้าเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลง โดยกระทำแบบไม่ให้ฝ่ายการเมืองตั้งตัวได้ทัน เพื่อให้บรรลุประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็วและลดการสูญเสียให้น้อยที่สุดเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549
ทั้งสองแนวทางดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้น มีการวิเคราะห์ไปสารพัดว่า การปฏิวัติจะเกิดขึ้นหากมีกเค้าลางพรรคเพื่อไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะได้เป็นรัฐบาล เพื่อปิดทางไม่ให้เครือข่ายทักษิณเข้ามามีอำนาจทางการเมืองสำหรับทำการเช็กบิลผู้นำเหล่าทัพในฐานะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้อำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกลดทอนลงไปก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ ด้วยประวัติศาสตร์ทางการเมืองของกองทัพเอง ทำให้เป็นวาทกรรมที่ยังต้องย้ำความทรงจำของสังคมว่า ไม่มีสัจจะในหมู่ทหาร พูดอย่างทำอย่าง บอกไม่ปฏิวัติแต่ก็ปฏิวัติ หรือครั้งหนึ่งเคยบอกไม่เป็นนายกรัฐมนตรี แต่สุดท้ายก็กลืนน้ำลายตัวเอง
ครั้งหนึ่ง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ทบ. เคยพูดเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2549 ว่า “ยืนยันว่าการปฏิวัติไม่น่าจะมี เราต้องหนักแน่น อย่าไปเชื่อกระแสพวกนี้ แล้วทำให้ความสามัคคีของเราลดลง ขอให้เชื่อมั่นว่าเราตั้งใจที่จะทำให้ประเทศชาติมีความสงบ มีความเรียบร้อย”
แต่ถัดมาอีก 6 วัน บิ๊กบังกลายเป็นผู้นำการปฏิวัติเสียเอง ด้วยการแบบนามธรรมว่าเป็นความต้องการของประชาชน
นอกจากนี้ สมัย รสช. ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ. ขณะนั้น ประกาศจะไม่รับเก้าอี้นายกรัฐมนตรี แต่คล้อยหลังไม่นานก็เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหน้าตาเฉย โดยให้เหตุผลว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ”
จึงไม่แปลกหากจะมีบางฝ่ายไม่เชื่อคำพูดของทหารอีก แม้ว่ากองทัพในสมัยของ พล.อ.อนุพงษ์ เคยจะพิสูจน์ถึงความอดทนของทหารมาแล้วในช่วงปี 25512552 มาแล้วว่า ถึงต่อให้การเมืองวุ่นวายอย่างทหารจะไม่เข้าไปแทรกแซงแน่นอนก็ตาม
ขณะเดียวกันเมื่อมองสถานการณ์ ณ เวลานี้แล้ว ในใจของผู้นำเหล่าทัพประเมินแล้วว่า ยากต่อการปฏิวัติ เพราะอารมณ์ของสังคมได้เข้าสู่การเลือกตั้งเรียบร้อย ฝืนทำรัฐประหารคำว่า “จำเลยสังคม” คงตกหล่นใส่ทหารอย่างเต็มๆ แน่นอน ในฐานะทื่ทำให้ประเทศต้องถอยหลังลงคลอง พร้อมกับการไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
แบบนี้รัฐบาลที่มาจากปากกระบอกปืนถึงจะอยู่ในอำนาจได้ แต่ก็ลำบากในการปกครองประเทศ แล้วจะมีประโยชน์อะไรหากมีอำนาจในเวลานี้ จึงเป็นการได้ไม่คุ้มเสีย
จากเหตุผลทั้งหมดนื้ ทำให้ทหารต้องออกมาตบเท้าแสดงสัจจะต่อประชาชนว่า อย่างไรเสียทหารจะไม่เข้าไปแทรกแซงการเมืองแน่นอน และหากเป็นไปตามนี้ ทหารคงจะได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้น
ถึงกระนั้น ปรากฏการณ์เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ไม่ได้เป็นหลักประกันได้ว่าทหารไทยจะไม่กลืนน้ำลายตัวเองอีกหลังจากประวัติศาสตร์ได้ฟ้องเอาไว้
ที่สุดแล้วคงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์คำว่า ไม่มีสัจจะในหมู่โจร หรือจะเติมคำว่า ไม่มีสัจจะในหมู่ทหาร เข้าด้วย อีกไม่นานจะได้รู้กัน
ที่มา: โพสต์ทูเดย์วิเคราะห์ โดย...ทีมข่าวการเมือง
07 เมษายน 2554 เวลา 09:40 น.
------------------------------------------------------
ตบเท้าปฏิเสธก็เท่ากับ ปรบมือเรียกข่าวลือเพิ่ม
มืองไทยกลายเป็น “โจ๊ก” การเมืองไปได้จริงๆ...และรักษาตำแหน่ง “ด้อยพัฒนา” ทางด้านวิธีคิดและวิถีปฏิบัติทางการเมือง การทหาร ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ก็เรื่องแม่ทัพนายกองเรียกประชุมเป็นการเร่งด่วน เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาอย่างขึงขัง เพื่อประกาศให้ประชาชนคนไทยและทั้งโลกให้ได้รู้ว่าผู้บัญชาการเหล่าทัพ (รวมถึงตำรวจ) มีมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่าจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร
เป็นการ “ตบเท้า” เพื่อลั่นว่าจะไม่ปฏิวัติ พร้อมประกาศสำทับว่าใครเคลื่อนกำลังถือว่าเป็น “กบฏ”
ไม่มีใครไม่รู้ว่าการทำปฏิวัติไม่สำเร็จ คือ การก่อกบฏและมีโทษถึงประหารชีวิต
จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่นายทหารระดับสูงสุดของประเทศจะต้องออกมาย้ำกับประชาชน ว่า กฎหมายเขียนเอาไว้อย่างไร
อีกทั้งไม่มีความจำเป็นจะต้องแตกตื่นไปกับคำให้สัมภาษณ์ของใครต่อใคร ว่า ใครกำลังคิดจะก่อการปฏิวัติ เพราะว่าหัวข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาของคนไทยมาแล้วหลายสิบปี
เป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่บอกว่าไม่ควรจะเกิด ต้องไม่เกิด และต้องพยายามจะทำให้ไม่เกิด...แต่มันก็เกิดอีกครั้งแล้วครั้งเล่า จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมหัวข้อนี้จึงเป็นยี่ห้อแห่งความล้าสมัยของประเทศไทยมาตลอด
กลายเป็น “ความหมกมุ่นประจำชาติ” ที่รังแต่จะทำให้ประเทศไทยไปไม่ถึงไหน ในการสร้างระบอบการปกครอง ที่จะสะท้อนถึงความก้าวหน้าของบ้านเมือง
ยิ่งผู้นำทหารเรียกประชุมอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ด้วยเป้าประสงค์เพื่อที่จะปฏิเสธข่าวลือ ก็ยิ่งตอกย้ำว่าประเทศไทยไม่สามารถที่จะเอาตัวเองหลุดพ้นไปจากวงจรเน่าๆ อย่างนี้ไปได้
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกทรงกิตติ จักกาบาตร์ ประกาศหลังการประชุมวันนั้น ว่า นี่คือ “ฉันทามติ” ของนายทหาร
“หยุดเอากองทัพมาอ้าง และหยุดผลักกองทัพออกจากประชาชน...กองทัพจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยเด็ดขาด และไม่ก้าวก่ายกิจการทางการเมืองในอนาคต...เชื่อเถอะว่า เรารักประเทศชาติ เรายึดมั่นครรลองของประชาธิปไตย...”
จะมีใครว่าทหารจะไม่ปฏิวัติมากน้อยเพียงใดไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ยิ่งนายทหารระดับสูงออกมายืนยันอย่างนั้น ก็ยิ่งทำให้ผู้คนมีความสงสัยมากขึ้นว่า “มีอะไรในกอไผ่” หรือไม่ แค่ไหน?
ผู้นำกองทัพที่มั่นใจว่าอย่างน้อย ตนเองและทีมงานจะไม่กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง ของกลุ่มใดก็จะต้องเอาความสงบสยบความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะหากความเคลื่อนไหวและการปล่อยข่าวนั้นเป็นการพยายาม “ล่อเสือออกจากถ้ำ” มากกว่าการตรวจสอบข่าวสารที่แท้จริง
จึงไม่ควรที่ใครที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างผู้สันทัดกรณี จะตกเป็นเหยื่อของกระบวนการสร้างข่าว เพื่อให้เกิดความสับสนมากพอที่จะทำให้เกิดความสงสัยคลางแคลงใจกลุ่มต่างๆ ถึงขั้นที่ทำให้เกิดเรื่องที่ไม่ควรจะเกิด
ใครคิดลากรถถังออกมายึดอำนาจการเมืองวันนี้ ย่อมต้องถือว่าบ้า...และผู้นำทหารที่ยืนยันว่าตนไม่มีความต้องการจะได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองและจะไม่ยอมให้เกิดการรัฐประหารอีก ก็จะต้องแสดงจุดยืนด้วยการกระทำ ด้วยการวางกติกาให้โปร่งใส ประชาชน (ไม่ใช่เฉพาะนักการเมืองหรือนักเลือกตั้ง) สามารถตรวจสอบได้อย่างตรงไปตรงมาตลอดเวลา
เพราะนายทหารบางคนไปพัวพันตัวเองกับนักการเมืองบางคนบางกลุ่ม เพราะไม่รู้จักรักษา “ระยะห่าง” ที่ถูกต้อง ไม่สร้างความศรัทธาในบทบาทหน้าที่ของ “ทหารอาชีพ” ในความรู้สึกของประชาชน เรียกง่ายๆ คือ ห่างเหินมวลชน แต่ใกล้ชิดกลุ่มผลประโยชน์มากกว่า จึงทำให้เกิดภาวะของความไม่ไว้วางใจ
จึงทำให้ประชาชนไม่น้อย พร้อมจะเชื่อข่าวลือเรื่องรัฐประหาร หรือ “รัฐบาลในภาวะพิเศษ” เมื่อมีการจงใจปล่อยข่าวหรือเกิดการส่งข่าวลือต่อๆ กัน แม้ว่าบางครั้งจะไร้เหตุ ไร้ร่องรอยก็ตาม
ทหารอาชีพที่เชื่อในพลังประชาชน และ “ฉันทามติสาธารณชน” จริงๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องหวั่นไหวต่อข่าวลือ และต้องวางตัว “นิ่ง” และ “มั่นคง” พอที่จะไม่ต้องทำอะไรก็ตาม ที่เข้าข่าย “ยิ่งปฏิเสธ ยิ่งยืนยัน”
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 7 เมษายน 2554 01:00
16คำถามไขข้อข้องใจ กทม.เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวขนาดไหน
16คำถาม ไขข้อข้องใจ กรุงเทพฯเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติจากเหตุแผ่นดินไหวหรือไม่ และผู้เกี่ยวข้องควรเตรียมการเพื่อรับมืออย่างไร...
คำถามที่ 1. ดูเหมือนว่าเหตุแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในระยะนี้ทั่วโลก ไล่มาตั้งแต่ที่นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จนมาถึงพม่า แต่ละจุดที่เกิดขึ้นก็มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าโลกเราอยู่ขั้นวิกฤติแล้วหรือไม่?
ผมได้รับคำถามลักษณะนี้มาหลายครั้งแล้ว หากดูจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลกย้อนหลังไป 10 ปีจะพบว่าเรามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั่วโลกนับเป็นพันครั้งต่อวัน แผ่นดินไหวบางอันก็มีขนาดเล็กไม่เกิน 2-3 ริกเตอร์ไม่ทำให้คนรับรู้ได้ แต่สามารถตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือวัด แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอที่จะสร้างความเสียหายให้แก่อาคารบ้านเรือนมักจะมีขนาดเกิน 5 ริกเตอร์ขึ้นไปและเกิดในที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เยอะๆ
หากมาดูเฉพาะแผ่นดินไหวขนาดกลางขึ้นไปจะพบว่าตามสถิติแผ่นดินไหวขนาด 5.0-5.9 ริกเตอร์จะเกิดขึ้นประมาณ 1500 ครั้งต่อปี ขนาด 6.0-6.9 จะเกิดขึ้นประมาณ 150 ครั้งต่อปี ขนาด 7.0-7.9 จะเกิดขึ้นประมาณ 15 ครั้งต่อปี และ ขนาดใหญ่กว่า 8.0 ริกเตอร์ขึ้นไปจะเกิดประมาณ 1 ครั้งต่อปี หากดูตามสถิตินี้แล้วในช่วงย้อนหลัง 10 ปี ก็ยังไม่พบสัญญาณบ่งชี้ว่าอัตราการเกิดแผ่นดินไหวมีความถี่เพิ่มขึ้นผิดสังเกตแต่อย่างใด
คำถามที่ 2. แล้วแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในพม่าเมื่อคืนวันที่ 24 มีนาคม 2554 มีอะไรที่บ่งชี้ถึงสิ่งผิดปกติหรือไม่?
จริงๆ แล้วบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวในพม่าคราวนี้ หากไปดูสถิติจะพบว่ามันเป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นประจำอยู่แล้ว ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมามีแผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์ขึ้นไปเกิดขึ้นในบริเวณนี้นับได้ถึง 30 ครั้งด้วยกัน และในจำนวนทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้มีขนาด 6.8-7 ริกเตอร์ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ดังนั้นบริเวณนี้จึงมีอัตราความถี่ของการเกิด 10 ปีต่อครั้ง จะเห็นว่ามันเกิดค่อนข้างถี่ นอกจากนี้แผ่นดินไหวในบริเวณนี้มักเกิดที่ระดับไม่ลึกคือไม่เกิน 30 กิโลเมตรจาก พื้นดิน จึงมีโอกาสก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารและสาธารณูปโภคได้ค่อนข้างมาก
คำถามที่ 3. ตึกสูงในกรุงเทพได้รับการสั่นสะเทือน ผู้คนที่อาศัยอยู่ในตึกสูงหลายแห่งรับรู้ได้ บางคนวิ่งหนีลงมา แล้วโครงสร้างอาคารในกรุงเทพจะมีปัญหาหรือไม่?
อาคารสูงในกรุงเทพได้รับแรงสั่นสะเทือนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แม้กระทั่งแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ที่เสฉวนในปี 2551 ซึ่งอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพถึง 2,600 กิโลเมตร หรือ แม้กระทั่งแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ริกเตอร์ ที่เกาะสุมาตรา เมื่อปี2547 ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพถึง 1,200 กว่ากิโลเมตร ก็ยังส่งผลให้อาคารสูงในกรุงเทพได้รับแรงสั่นสะเทือนจนไหวตัวเหตุการณ์ที่เชียงรายในคราวนี้มีขนาด 6.8 ริกเตอร์แต่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 770 กิโลเมตร ก็ทำให้อาคารในกรุงเทพสั่นสะเทือนได้อย่างแน่นอน ซึ่งไม่ผิดปกติแต่อย่างใด เพราะกรุงเทพตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อน จึงเกิดการเคลื่อนตัวและสั่นไหวได้ง่าย
คำถามที่ 4. อาคารในกรุงเทพมีความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหาย และ มีโอกาสจะถึงขั้นถล่มลงมาหรือไม่?
ผมว่าเราลองมาเปรียบเทียบเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่พม่าในคราวนี้ แผ่นดินไหวที่เสฉวน และ แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา จากข้อมูลพบว่าเหตุแผ่นดินไหวที่สุมาตราทำให้อาคารสูงในกรุงเทพเกิดการสั่นสะเทือนมากที่สุดในบรรดาแผ่นดินไหวทั้งสามนี้ แต่แม้ว่าอาคารจะโยกตัวไปมา ก็ไม่ได้หมายความว่าอาคารจะเกิดการถล่มลงมา หลังจากเหตุแผ่นดินไหวเหล่านี้ เมื่อเข้าไปสำรวจโครงสร้างอาคารก็ไม่พบรอยแตกร้าวหรือความเสียหายในเสา หรือ คาน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่รับน้ำหนักของอาคาร อาจมีรอยร้าวขนาดเล็กๆ ในผนังอิฐซึ่งไม่มีผลต่อกำลังรับน้ำหนักของโครงสร้างแต่อย่างใด
คำถามที่ 5. อาจารย์กำลังจะบอกว่ากรุงเทพมีความปลอดภัย?
ผมบอกว่าอาคารในกรุงเทพสั่นไหวได้เป็นเรื่องปกติ และ หากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจากที่ไกลๆ ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความรุนแรงมากพอที่จะทำอาคารได้รับความเสียหายจนถึงขั้นถล่มลงมา แต่เราต้องไม่ลืมว่าเรามีรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้ๆกรุงเทพฯ ด้วยนะ นั่นคือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีบางส่วนที่เชื่อมต่อกับรอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่าซึ่งเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่มีพลังสูงมากอาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
ที่สำคัญรอยเลื่อนเหล่านี้อยู่ห่างจากกรุงเทพไม่เกิน 300 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นระยะที่อันตรายทีเดียวเพราะเคยมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์เมื่อปี 2528 ที่เกิดขึ้นห่างจากกรุงเม็กซิโกซิตี้ออกไป 350 กิโลเมตร ส่งผลให้กรุงเม็กซิโกซิตี้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก อาคารถล่มจนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 10,000 คน
คำถามที่ 6. ถ้าอย่างงั้นกรุงเทพก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว?
ใช่ครับ กรุงเทพๆถือว่ามีปัจจัยเสี่ยงครบทั้ง 3 ประการคือ 1) เราอยู่ใกล้ๆรอยเลื่อนที่มีพลังที่อาจก่อให้เกิด แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ (2)กรุงเทพตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อน และ ที่สำคัญ (3) โครงสร้างอาคารบ้านเรือนเราไม่ได้ออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหว
คำถามที่ 7. ถ้าอย่างงั้นเราควรจะเตรียมรับมือกันอย่างไร?
ผมบอกได้เลยนะว่าเรายังค่อนข้างโชคดีอยู่ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงสูงเหมือนประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และ อื่นๆ อันที่จริงแล้วหากเราได้มีการเตรียมความพร้อมโครงสร้างอาคารของบ้านเราไว้ให้ดี ก็ย่อมจะสามารถต้านทานแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ปัญหาของเรา คือโครงสร้างอาคารบ้านเรือนของเราไม่ค่อยได้เตรียมรับมือให้รองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แต่ก็ยังไม่สายเกินไป ยังสามารถแก้ไขได้ทัน เราสามารถปรับปรุงโครงสร้างให้อาคารของเรามีความแข็งแรงขึ้นมาได้
คำถามที่ 8. อาคารประเภทไหนบ้างที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว?
อาคารที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากๆ มีอยู่สองสามประเภทคือ พวกตึกแถว ซึ่งเสามีขนาดเล็กๆ และการก่อสร้างไม่ได้ควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างให้ดี ไม่มีวิศวกรมาออกแบบหรือคุมงาน พวกนี้หากเกิดแผ่นดินไหว อาจทำให้อาคารทรุดเอียงลงมาทางด้านหน้าของอาคารซึ่งมักเปิดโล่งเพื่อใช้ทำการค้า ผมค่อนข้างกังวลกับตึกแถว เพราะเราแทบไม่มีข้อมูลเลยว่าอาคารเหล่านี้ใส่เหล็กในเสา และ คานเท่าใด และ ส่วนใหญ่ก็ไม่มีแบบก่อสร้างเก็บไว้ ทำให้ไม่มีข้อมูลที่จะนำมาประเมินกำลังรับน้ำหนักได้
อาคารอีกประเภทที่เสี่ยงก็คือพวกอาคารไร้คาน พวกนี้เราจะเห็นเค้าก่อสร้างเป็นแผ่นพื้นที่วางบนเสาเป็นชั้นๆแต่ไม่มีคานรองรับ บางทีก็ฝังลวดอัดแรงอยู่ข้างในด้วย พวกนี้เป็นที่นิยมมาก เพราะก่อสร้างได้รวดเร็ว เช่นอาคารจอดรถ อาคารสำนักงาน แต่อาคารพวกนี้ก็เสี่ยงมากนะครับ เพราะถ้าพื้นบางเกินไป มันอาจจะพังทะลุผ่านเสาตกลงไปกระแทกพื้นชั้นล่างลงไปเป็นทอดๆ แล้วทำให้อาคารทั้งหลังถล่มลงไปกองกันอยู่บนพื้นได้เลย
คำถามที่ 9. พวกบ้านเดี่ยว หรือ บ้านจัดสรรมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด?
ถ้าเป็นบ้านที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป เช่น ใช้คาน หรือ เสาสำเร็จรูปมาต่อกัน ก็มีความเสี่ยงที่บริเวณรอยต่อที่ประกอบคานกับเสาเข้าด้วยกัน ซึ่งหากทำไว้ไม่แข็งแรงพอ ก็อาจจะหลุด แล้วทำให้อาคารเสียหายได้
คำถามที่ 10. พวกอาคารสูงในกรุงเทพฯเข้าข่ายเสี่ยงหรือไม่?
ดังที่ผมบอกไปแล้วว่า อาคารสูงไหวตัวได้ง่าย และ ผู้คนก็รู้สึกกันเยอะ ทำให้คนกลัวอาคารสูงกันมาก แต่ความเข้าใจตรงนี้ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด การโยกตัวหรือการไหวของอาคารไม่ได้หมายความว่าอาคารจะเสียหายหรือ ถล่มลงมาเสมอไป ต้องอย่าลืมนะครับว่าอาคารสูงส่วนใหญ่กว่าจะออกแบบและก่อสร้างจนสำเร็จได้ จะต้องมีวิศวกรออกแบบและควบคุมงานดีกว่าอาคารประเภทอื่นๆ และถ้าเป็นอาคารสูงที่มีรูปทรงเรียบง่าย มีเสาวางเรียงตัวกันอย่างสม่ำเสมอ ก็น่าจะมีความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นอาคารสูงที่มีรูปทรงซับซ้อน มีส่วนเว้า ส่วนโค้ง ส่วนยื่น หรือ ลูกเล่นมากๆ หรือ มีกำแพงเยื้องออกไปจากศูนย์กลางของอาคารมากๆ หรือ มีด้านล่างเปิดโล่ง พวกนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่า
คำถามที่ 11. แล้วเราจะมีการเตรียมความพร้อมอาคารของเราให้มีความปลอดภัยได้อย่างไร?
ถ้าเป็นอาคารใหม่ที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง จะต้องออกแบบและก่อสร้างให้รองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวตามกฎกระทรวงปี 2550 หากออกแบบและก่อสร้างอาคารตามกฎหมายนี้ก็จะทำให้อาคารมีความปลอดภัย แต่ปัญหาก็คืออาคารเก่าที่มีอยู่จำนวนมากที่ก่อสร้างก่อนปี 2550 ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่หรือเกือบจะทั้งหมดจะไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานต่อแผ่นดินไหว อาคารเหล่านี้หากจัดอยู่ในกลุ่มของอาคารเสี่ยงตามที่ผมได้อธิบายไป ก็ควรจะต้องนำมาวิเคราะห์และหาวิธีการเสริมความมั่นคงให้อาคารแข็งแรงรองรับแผ่นดินไหวได้ในระดับเดียวกับอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ตามกฎกระทรวง
คำถามที่ 12. อาคารเก่าที่ก่อสร้างไปแล้วแก้ไขให้ต้านทานแผ่นดินไหวได้หรือไม่?
อาคารที่ก่อสร้างไปแล้วไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาคารเสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อย ผมคิดว่าเรามีวิธีที่จะแก้ไขให้กลับมาต้านทานแผ่นดินไหวได้ หากเราทราบข้อมูลของอาคาร เช่น แบบก่อสร้าง แบบการเสริมเหล็ก เราก็สามารถนำแบบเหล่านั้นมาวิเคราะห์ตรวจสอบดูว่าอาคารดังกล่าวมีความแข็งแรงเพียงใด และ หากจำเป็นจะต้องเสริมกำลังจะใช้วิธีใดจึงจะได้ผลดีและในราคาที่ประหยัด วิธีการวิเคราะห์ตรวจสอบและเสริมกำลังอาคารคอ่ นข้างจะมีมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว แต่หากอาคารบางประเภทที่เราไม่มีแบบก่อสร้างหรือหาข้อมูลไม่ได้ ก็อาจทำให้การวิเคราะห์ทำได้ยากในกรณีนี้ก็ต้องเผื่อการเสริมความแข็งแรงให้มากๆ หน่อย ชดเชยกับการที่เราขาดข้อมูลที่ชัดเจน
คำถามที่ 13. การเสริมความแข็งแรงให้แก่อาคารทำได้อย่างไรบ้าง แล้วค่าใช้จ่ายสูงมากน้อยเพียงใด
การเสริมความแข็งแรงของอาคารจะเน้นที่การปรับปรุงให้อาคารโยกตัวได้มากและนานขึ้น ปัญหาของอาคารเก่าคือมันจะโยกตัวไปไม่ได้มากนัก เพราะเมื่อมันโยกตัวไปมากๆ ปูนจะกะเทาะหลุดออกมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณโคนเสา ซึ่งเมื่อปูนกะเทาะหลุดออกมาแล้ว ก็อาจจะทำให้โครงสร้างพังทลายลงมา หากเป็นอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ เราจะเน้นที่ใส่เหล็กปลอกที่บริเวณโคนเสาให้มากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปูนกะเทาะหลุดออกมา แต่หากเป็นอาคารที่ก่อสร้างเสร็จไปแล้ว ก็อาจจะใช้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มาพันรอบเสากันปูนกะเทาะหลุดออก และ หากเป็นอาคารหลังเล็กๆ หรือ ตึกแถว การใช้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ก็อาจเป็นสิ่งที่เกินจำเป็น ผมคิดว่าน่าจะใช้เฟอโรซีเมนต์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชาวบ้านที่มีราคาถูกกว่าคาร์บอนไฟเบอร์มาก ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายผมคิดว่าไม่สูงมากอยู่ระหว่าง 2-5% ของค่าก่อสร้าง
คำถามที่ 14. อาจารย์มีข้อแนะนำอย่างไรเกี่ยวกับอาคารที่ได้ก่อสร้างไปแล้ว?
ผมคิดว่าเราควรตรวจสอบอาคารที่สำคัญๆ เช่น อาคารสาธารณะ อาคารโรงพยาบาล อาคารสถานที่ราชการตลอดจน อาคารสูง และ อาคารเอกชนหลายๆ แห่งที่มีคนใช้งานเป็นจำนวนมาก ว่าสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้มากน้อยเพียงใด และ จะต้องเสริมความแข็งแรงอย่างไรที่จะปรับปรุงให้อาคารต้านทานแผ่นดินไหวได้ การตรวจสอบไม่ใช่แค่เดินเข้าไปดูในอาคารและจะทราบได้ แต่จะต้องนำแบบก่อสร้างมาทำตามวิธีการประเมิน และ การเสริมกำลังตามมาตรฐานสากลซึ่งเรามีองค์ความรู้มากพอที่จะตรวจสอบและประเมินได้ ผมคิดว่าเราควรจะต้องเตรียมความพร้อม อาคารของเราให้แข็งแรงทุกเมื่อ เพราะเราไม่อาจจะทราบได้เลยว่าแผ่นดินไหวครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นที่ไหน และ เมื่อไร
คำถามที่ 15. อาจารย์มีข้อแนะนำไปถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง?
ผมคิดว่าหน่วยงานราชการก็ตื่นตัวมากพอสมควรแล้วครับ ผมได้เคยเตือนไปแล้วว่า อย่าดูเฉพาะอาคารอย่างเดียว โครงสร้างประเภทอื่นๆ เช่น โครงสร้างทางยกระดับ สะพาน และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ก่อสร้างไปนานๆแล้วอาจจะไม่สามารถรองรับแผ่นดินไหวในระดับแรงๆได้ ก็จำเป็นจะต้องทำการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และ เสริมความแข็งแรงเช่นกัน ส่วนอาคารเก่าที่เป็นของเอกชน รัฐก็ควรเอื้อให้เขาทำการปรับปรุงอาคารได้สะดวกขึ้น
แต่ทั้งนี้ต้องมี วิศวกรมาควบคุมทั้งในขั้นตอนการออกแบบ และ การก่อสร้างด้วย อีกเรื่องหนึ่งคือพื้นที่ที่บังคับใช้ในกฏกระทรวงปี2550 ปัจจุบันมีภาคเหนือ 9 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด คือที่กาญจนบุรี กรุงเทพและปริมณฑลอีก 4 จังหวัด และ จังหวัดในภาคใต้อีก 7จังหวัด ผมเป็นห่วงว่าอาจจะครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงยังไม่ครบ ต้องไม่ลืมว่าชั้นดินอ่อนไม่ได้มีอยู่ เฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑลแค่ 4 จังหวัดเท่านั้น แต่ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่านั้นอีกหลายจังหวัด และต้องไม่ลืมว่าจังหวัดในภาคอีสานตอนบนก็ได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวในลาวเช่นกัน ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมาดูเรื่องพวกนี้อย่างจริงจังกันเสียที
คำถามที่ 16. อาจารย์คิดว่า วสท. ควรจะแสดงบทบาทอย่างไรในสถานการณ์ที่เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้ง?
ในฐานะที่ วสท. เป็นองค์กรทางวิชาการและวิชาชีพที่ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้เป็นจำนวนมาก วสท. จะต้องแสดงบทบาทเป็นที่ปรึกษาให้แก่สังคม และ จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และแค่นั้นคงยังไม่พอ แต่จะต้องเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่ปฏิบัติได้อีกด้วย ซึ่ง วสท. จะต้องรักษาจุดยืนตรงนี้เอาไว้ ในส่วนผมเองในฐานะที่เป็นกรรมการอำนวยการ และ ประธานคณะอนุกรรมการโครงสร้างและสะพานก็ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ และ ให้ความรู้แก่ประชาชน ทุกวันนี้ก็มีชาวสอบถามผมเป็นจำนวนมาก ซึ่งผมก็มีความยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ชาวบ้านในนาม วสท. อยู่แล้วและก็อยากจะฝาก วสท. ว่าหากชาวบ้านตลอดจนองค์กร หรือ หน่วยงานต่างๆ ต้องการความช่วยเหลือ ก็ให้ติดต่อมาที่ วสท. หรือ ติดต่อมาที่ผมโดยตรงก็ได้ อย่างน้อยเราคงต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมพอสมควร
ที่มาบทความ: โพสต์ทูเดย์วิเคราะห์
ชื่อบทความ: 16คำถามไขข้อข้องใจ กทม.เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวขนาดไหน
บทความโดย: รศ.ดร. อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
06 เมษายน 2554 เวลา 13:52 น.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)