วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 28, 2554

‘แดง-เหลือง’ฟันธงใกล้สถานการณ์พิเศษมีนาคมอันตราย

เสื้อแดง-เสื้อเหลืองวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองตรงกันใกล้เกิดสถานการณ์พิเศษในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมถือว่าสถานการณ์เปราะบางมากที่สุด แต่ยังมองปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์แตกต่างกัน ชี้ยุบสภาเลือกตั้งแค่เบี่ยงกระแส ไม่ตอบโจทย์แก้ปัญหาให้บ้านเมืองตราบใดที่ผู้คุมอำนาจไม่ประกาศให้ชัดเจนว่าจะยอมรับผลเลือกตั้ง ปล่อยให้การเมืองเป็นไปตามธรรมชาติ

“อภิสิทธิ์” โดนจี้ถามเรื่องถือ 2 สัญชาติ อ้างพวกที่ขุดคุ้ยไม่รักชาติ หวังแค่ผลทางคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2554 บรรดาคนเสื้อแดงจำนวนมากไปรวมตัวกันที่วัดปทุมวนารามร่วมทำบุญเลี้ยงพระเพื่ออุทิศส่วนกุลศลให้กับแนวร่วมที่เสียชีวิตจากการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม โดยมีแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดินที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปร่วมด้วย เช่น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย นพ.เหวง โตจิราการ นายขวัญชัย ไพรพนา นายก่อแก้ว พิกุลทอง และนายยศวริศ ชูกล่อม หลังเสร็จสิ้นการทำบุญทั้งหมดได้เดินทางกลับโดยไม่เปิดปราศรัยกับมวลชนแต่อย่างใด

ใช้สถานะ ส.ส. หนุนเสื้อแดง

นายณัฐวุฒิให้สัมภาษณ์ถึงข่าวแกนนำที่ออกจากเรือนจำจะลงสมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทยว่า แกนนำที่เป็นสมาชิกพรรคอยากเสนอตัวลงสมัคร อย่างนายก่อแก้วและนายขวัญชัย แต่สุดแท้แต่พรรคจะพิจารณาตามความเหมาะสม ซึ่งการลงสมัคร ส.ส. มีเป้าหมายเพื่อนำสถานะสมาชิกรัฐสภามาเกื้อหนุนต่อการเคลื่อนไหวภาคประชาชน

จี้ผู้มีอำนาจยอมรับผลเลือกตั้ง

ส่วนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนั้น นายณัฐวุฒิกล่าวว่า แล้วแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเลือกกำหนดที่เหมาะสม มั่นใจว่าการหาเสียงเลือกตั้งจะเป็นไปด้วยดี ไม่มีคนเสื้อแดงออกมาต่อต้าน อย่างไรก็ตาม ยังเป็นห่วงว่าหากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชนะเลือกตั้งฝ่ายที่คุมอำนาจจะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งและพยายามทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องอีก ดังนั้น จึงอยากให้นายอภิสิทธิ์และผู้นำกองทัพออกมาประกาศให้ชัดเจนว่าจะยอมรับผลการเลือกตั้งที่จะออกมาไม่ว่าใครเป็นฝ่ายชนะก็ตาม

กลุ่มอำนาจกำหนดทิศทางประเทศได้

นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ไม่ควรเอาการเคลื่อนไหวของประชาชนมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จัดเลือกตั้งภายในปีนี้ ส่วนตัวคิดว่าปัญหาของรัฐบาลไม่ได้อยู่ที่คนเสื้อแดง แต่อยู่ที่คนเสื้อเหลือง แม้จะมีคนออกมาร่วมชุมนุมไม่มากแต่มีพลังในการสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลได้มาก และสามารถกำหนดทิศทางของประเทศได้ เพราะว่าเป็นกลุ่มชนชั้นนำที่อนุรักษ์นิยม มีแนวความคิดแบบจารีตนิยม เป็นกลุ่มคนในระบอบอำมาตย์ของแท้

“นายอภิสิทธิ์ไม่ต้องกังวลกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง เพราะพวกเราเคลื่อนไหวเป็นระบบ มีวุฒิภาวะ รับผิดชอบต่อประเทศชาติและสังคม”

หลังไล่ “ทักษิณ” แสดงตนชัดขึ้น

นางธิดาระบุว่า เป็นห่วงอนาคตของประเทศ เพราะขณะนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของคนบางกลุ่มที่สามารถชี้นำทิศทางของประเทศได้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนหลังการปฏิวัติยึดอำนาจมาจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคนกลุ่มนี้ได้รับการยอมรับจากชนชั้นนำที่พร้อมสนับสนุนการดำเนินการในทุกเรื่อง

อาจยึดอำนาจจัดระเบียบใหม่

“สิ่งที่เป็นห่วงตอนนี้คืออาจจะมีหรือไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก็ได้ แต่ดูแนวโน้มแล้วการเลือกตั้งอาจเป็นไปได้ยาก หากเขาไม่มั่นใจว่าจะคุมอำนาจเอาไว้ได้ต่อไปอาจเลือกวิธีการยึดอำนาจปิดประเทศเพื่อจัดระเบียบใหม่ให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ” นางธิดากล่าวและว่า หากมีการยึดอำนาจคนเสื้อแดงจะยืนหยัดต่อสู้แน่นอน

ซัดผลสรุปดีเอสไอไม่น่าเชื่อถือ

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุผลการตรวจสอบการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2553 ของ พล.ต.ท.อัมพร จารุจินดา อดีต ผบช.สพฐ.ตร. ที่วิเคราะห์จากภาพถ่ายว่าเกิดจากการถูกยิงโดยอาวุธปืนอาก้า และยังเน้นย้ำว่าทหารที่ปฏิบัติการวันนั้นไม่ได้ใช้ปืนอาก้า

โดยตั้งเป็นประเด็นคำถามว่า พล.ต.ท.อัมพรที่เกษียณอายุราชการไปแล้วใช้ตำแหน่งหน้าที่ใดมายืนยันผลชันสูตร และยืนยันได้อย่างไรว่าถูกต้องโดยที่ไม่มีการตรวจศพ ที่สำคัญคือ พล.ต.ท.อัมพรเป็นคนเดียวกับที่ตรวจสอบศพของ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ ผู้ร่วมชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ว่าเสียชีวิตจากแก๊สน้ำตา ซึ่งแย้งกับผลชันสูตรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วจะเชื่อถือได้อย่างไร นอกจากนี้ผลการพิสูจน์เบื้องต้นระบุชัดเจนว่ามีการยิงมาจากแผงหลังของแนวทหาร เรื่องจะยิงด้วยกระสุนอะไรคงไม่สำคัญเท่ากับว่าใครยิง

ตั้งฉายากรมผงซักฟอก

“คงต้องตั้งฉายาให้ดีเอสไอว่าเป็นกรมผงซักฟอก เพราะนายธาริตสามารถฟอกทุกอย่างให้รัฐบาลได้หมดทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องกักตุนน้ำมันปาล์มจนประชาชนเดือดร้อนก็สรุปแล้วว่าไม่พบคนผิด” นายพร้อมพงศ์กล่าว

ที่พรรคการเมืองใหม่ นายสำราญ รอดเพชร รองหัวหน้าและโฆษกพรรค เรียกร้องให้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ไปเป็นพยานในศาลให้แกนนำคนเสื้อแดงจนได้รับการประกันตัวออกมาเปิดเผยพิมพ์เขียวการสร้างความปรองดองว่ามีรูปแบบอย่างไร นอกจากนี้ยังเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยคิดจะทำอะไรเพื่อให้เกิดความปรองดอง มัวแต่ประคองตัวเองให้เป็นทางเลือกของประชาชนในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น โดยป้ายสีให้คนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงเป็นตัวอันตรายของบ้านเมือง

กมม. จี้ทบทวนเอกสิทธิ ส.ส.

นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่า การที่ 7 แกนนำที่ได้รับการประกันตัวจะลงสมัคร ส.ส. เพื่อใช้เอกสิทธิคุ้มครองไม่ต้องติดคุกระหว่างพิจารณาคดีถือเป็นเรื่อง 2 มาตรฐานในกลุ่มเสื้อแดง เพราะขณะที่แนวร่วมอยู่ในเรือนจำแต่แกนนำกลับทิ้งมวลชนเพื่อหาเกราะกำบัง หากพรรคการเมืองใหม่เข้าไปในสภาจะเสนอทบทวนเอกสิทธิของ ส.ส. ว่าให้ใช้ได้ในกรณีไหนอย่างไรบ้าง ผู้ที่ต้องคดีร้ายแรงอย่างก่อการร้ายไม่ควรได้สิทธินี้

เชื่อสถานการณ์พลิกผันเดือน มี.ค.

“พรรคเพื่อไทยต้องตระหนักว่ามีคดียุบพรรคค้างอยู่ที่อัยการกรณีไปสนับสนุนการก่อการร้าย หากรับแกนนำทั้ง 7 คนเข้าพรรคจะเป็นการตอกย้ำโดยดิ้นไม่หลุดว่าเป็นพวกเดียวกัน” นายสุริยะใสกล่าวและว่า การปล่อยแกนนำเสื้อแดงแม้รัฐบาลจะทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมือง แต่เชื่อว่าความสงบจะไม่เกิดขึ้นตราบใดที่ไม่ยึดหลักนิติรัฐ สถานการณ์จะรุนแรงมากกว่าเดิม และเชื่อว่าสถานการณ์จะพลิกผันได้ในช่วงเดือน มี.ค. นี้ โดยมี 2 ปัจจัยเกื้อหนุนคือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจและการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง แม้นายกรัฐมนตรีจะพยายามดึงความขัดแย้งให้ไปสู่การเลือกตั้ง แต่เชื่อว่าไม่ตอบโจทย์ของบ้านเมือง การพูดเรื่องการเลือกตั้งเป็นเพียงการเบี่ยงกระแสเท่านั้น

ระบุไม่ได้เกิดสถานการณ์แบบไหน

นายสุริยะใสกล่าวอีกว่า ในเดือน มี.ค. มีโอกาสสูงที่จะเกิดสถานการณ์พิเศษขึ้น แต่จะเป็นรูปแบบไหนไม่อาจระบุได้ชัดเจน โดยกลุ่มคนที่จะทำให้เกิดสถานการณ์นี้ไม่ได้อยู่ที่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองเท่านั้น แต่จะมีกลุ่มคนที่เป็นตัวแปรมาเกี่ยวข้องด้วย

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่ค่อยสบอารมณ์เมื่อถูกตั้งคำถามเรื่องการถือ 2 สัญชาติ และควรสละสัญชาติอังกฤษเพื่อแสดงออกถึงความรักชาติ โดยระบุว่า ความรักชาติขอให้ดูที่พฤติกรรม เรื่องสัญชาติขณะนี้กฎหมายยังไม่ชัดเจน บางคนบอกว่าการแสดงออกถึงการเลือกสัญชาติไทยก็ถือว่าได้สละสัญชาติอังกฤษไปแล้วโดยปริยาย หากก่อนหน้านี้เคยใช้สิทธิในฐานะเป็นคนสัญชาติอังกฤษก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

“มาร์ค” ไม่เจตนาถือสัญชาติอังกฤษ

“เรื่องนี้นักกฎหมายเองก็ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน แต่โดยส่วนตัวแสดงเจตนาที่ชัดเจนแต่แรกว่าถือสัญชาติไทย ไม่มีเจตนาจะถือสัญชาติอังกฤษแม้ว่าจะเกิดที่นั่น ในช่วงการศึกษาและการเดินทางเข้าออกก็แสดงเจตนาชัดเจนอยู่แล้วว่าต้องการถือสัญชาติไหน”

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะไปยืนยันเรื่องนี้ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เมื่อมีคนยื่นก็เป็นเรื่องของศาลที่จะต้องพิจารณา หากไปยื่นฟ้องที่ศาลอังกฤษ ศาลอังกฤษก็ต้องพิจารณา เรื่องนี้ส่วนตัวเพิ่งทราบเพราะไม่เคยอ่านกฎหมายอังกฤษ

ถอนตอนนี้เกรงถูกครหาหนีคดี

“เรื่องสละสัญชาติอังกฤษยังไม่แน่ใจว่าต้องทำหรือไม่ เพราะกฎหมายของไทยก็ไม่ชัดเจน แต่เจตนาของผมถือตามกฎหมายไทย หากไปทำอะไรตอนนี้ก็จะถูกกล่าวหาว่าต้องการหนีคดีที่เขาไปฟ้องกัน แต่เจตนาของผมไม่ใช่ต้องการเก็บสัญชาติอังกฤษไว้ หากต้องดูตามกฎหมายอังกฤษก็คงต้องไปดูต่อว่าผมต้องเสียภาษีหรือเปล่า ต้องเกณฑ์ทหารหรือเปล่า”

อยู่เมืองไทยยึดกฎหมายไทย

นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า เมื่อมาอยู่เมืองไทยก็ยึดตามกฎหมายไทย ซึ่งเกี่ยวกับสัญชาติกฎหมายเขียนเอาไว้ว่า หากมีข้อกฎหมายขัดกันให้ถือกฎหมายสยาม

เมื่อถูกถามว่าจะเป็นบุคคล 2 สัญชาติต่อไป นายอภิสิทธิ์สวนว่า “ผมไม่รู้ว่าผมมี 2 สัญชาติหรือไม่ เป็นเรื่องของข้อกฎหมาย ที่ผ่านมาพยายามตรวจสอบแล้วแต่นักกฎหมายเองก็ยังเห็นไม่ตรงกัน เพราะเป็นเรื่องข้อกฎหมายในแต่ละประเทศ แต่ตามปรกติหากใครทำตัวเป็นสัญชาติอะไรก็ชัดเจนยู่แล้ว ผมคงไปเปลี่ยนที่เกิดไม่ได้”

คุณสมบัติครบถ้วนเป็นนายกฯ

นายอภิสิทธิ์ย้ำว่า ไม่มีปัญหาเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายไทย และมีคุณสมบัติครบถ้วนหากจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง

“ผมไม่มีปัญหากับเรื่องนี้ แต่อยากถามว่าคนที่ตรวจสอบและคนที่จ้างตรวจสอบเรื่องนี้รักชาติจริงหรือไม่” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ที่เขายกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพียงเพื่อหวังผลทางคดีที่เอาไปยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศเท่านั้น ซึ่งนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็รับจ้างมาทำเรื่องนี้อยู่แล้ว

ปล่อยแนวร่วมเสื้อแดง 40-50 คน

ส่วนกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะชุมนุมเพื่อกดดันให้ปล่อยตัวชั่วคราวแนวร่วมที่อยู่ในเรือนจำนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องการประกันตัวคนเสื้อแดงรัฐบาลดำเนินการอยู่แล้ว ที่ผ่านมาได้ให้ประกันไปแล้ว 40-50 คน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน หากไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องอะไรรัฐบาลพร้อมช่วยเหลือ

“ที่ผ่านมาได้รับประกันตัวไปหลายคน เพียงแต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจหรือเป็นข่าวเท่ากับพวกแกนนำที่ได้ประกันตัว”

ซัดใช้โวหารชี้แจงถือ 2 สัญชาติ

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้ความเห็นว่า นายอภิสิทธิ์กำลังมีปัญหามากขึ้นในการบริหารประเทศ และคงไม่ง่ายที่จะเอาตัวรอดไปได้เหมือนครั้งก่อนๆ โดยเฉพาะการถือ 2 สัญชาติที่ไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักได้นอกจากการเล่นโวหาร

“ผมไม่ได้สนใจว่าศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับฟ้องหรือไม่ หรือเขาจะสละสัญชาติอังกฤษหรือไม่ แต่ที่ผมสนใจคือเขายังสมควรเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยต่อไปหรือไม่ ประเด็นอยู่ที่ว่าคนจะเป็นนายก รัฐมนตรีของประเทศไทยต้องมีความรับผิดเท่ากับคนไทยทั่วไป ไม่ใช่มีอภิสิทธิ์หรือมีภูมิคุ้มกันมากกว่าคนอื่นๆ เพราะจะทำให้ไม่รอบคอบในการทำงานเพราะคิดว่าตัวเองมีภูมิต้านทานมากกว่าคนไทยทั่วไปก็เป็นได้ วันหนึ่งข้างหน้าเกิดทำอะไรผิดพลาดขึ้นมาแล้วหนีไปอยู่อังกฤษ ใช้สิทธ์ความเป็นพลเมืองอังกฤษก็จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของที่นั่นทันที”


ที่มา: หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ (update: ปีที่ 12 ฉบับที่ 3001 ประจำวัน จันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2011)

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 25, 2554

Robert Amsterdam Thailand: Mark Abhisit’s Confession


Nearly one month since the release of our Application to the International Criminal Court, where it was argued that Mark Abhisit Vejjajiva is a citizen of the United Kingdom, the edifice of lies and obfuscation built by the government to counter the allegations has come crashing down. Before parliament, the Prime Minister was forced to admit that he still holds British citizenship, which he acquired at birth.

Thai law does not disqualify Mark Abhisit from holding public office on the basis of his dual nationality. It is up to the Thai electorate, moreover, to decide whether Mark Abhisit’s status as citizen of the United Kingdom makes him unfit to serve. Aside from the fact that this new revelation places the Prime Minister squarely under the jurisdiction of the ICC, this entire episode has highlighted traits that will in all likelihood factor into the voters’ decision.

The first is Mark Abhisit’s predisposition to lie and deceive. Whenever journalists have pressed him to comment on the allegations, his answers have ranged from evasive (“I am not a citizen of Montenegro”), to non-responsive (“I am a Thai citizen”), to misleading (“I paid the same school fees at Eton that foreigners pay”). While Mark Abhisit never personally went beyond these “non-denial denials,” refusing to answer specifically whether he had renounced British citizenship, he left the outright lying to his spokespersons.

Since our Application was submitted to the ICC Prosecutor, Democrat Party MPs Sirichoke Sopha and Attaporn Ponlaboot, Democrat Party spokesperson Buranat Samutrak, and the Prime Minister’s own spokesperson Theptai Senpong have issued daily, categorical denials that Mark Abhisit is still British, often adding that we had fabricated these allegations. Of course, none of these men have ever exhibited any problem lying to the public, so Mark Abhisit cannot be faulted for making them do something they otherwise would not. At a minimum, however, it is evidence of poor leadership to hang one’s spokespersons out to dry by letting them lie about something so easily disprovable.

None of this is new, of course. In spite of his ill-gotten reputation as a “squeaky clean” politician, Mark Abhisit is well known to play fast and loose with the truth. In every matter on which his government has been asked tough questions – the Rohingya affair, the lese majeste prosecutions, the media censorship, and last year’s massacre of 91 people – the same pattern has repeated itself over and over again. In every case, the government has stonewalled, obfuscated the facts, suppressed evidence, made promises of transparency it never intended on keeping, and trotted out the usual buffoons who never met a lie they were too ashamed to tell. On the issue of dual nationality as well as on the human rights abuses committed by the security forces, we have all come to expect that Mark Abhisit’s government will never respond with anything but falsehoods. After all, if one cannot tell the truth about his real name, or his nationality, how can he be expected to be open about his role in incidents that may well result in criminal liability?

Aside from whether a pathological liar is fit to serve Thailand as its Prime Minister, the Thai public might also want to consider whether someone as reluctant to take responsibility for his mistakes and so eager to pass the buck to someone else possesses the moral qualities to lead. Even while admitting his British nationality today, Mark Abhisit had the audacity to blame his parents for registering his birth in the United Kingdom, when he had almost thirty years to renounce his citizenship, had he ever wished to do so. In Mark Abhisit’s world, it is always someone else’s fault. Despite his government’s appalling human rights record, Mark Abhisit has always sought to deflect accountability for the crimes committed on his watch.

Dual citizenship does not disqualify Mark Abhisit from holding public office. His compulsive dishonesty and substandard leadership definitely should.


Ref: Robert Amsterdam Thailand

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 22, 2554

พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ มือปราบหูดำ-ทูตสีกากี-ตำรวจสายพิราบ "ใครมาเป็นผู้บริหาร ตำรวจก็เป็นหมารับใช้ทั้งนั้น"


จากมือวิสามัญฆาตกรรมชั้นเซียนสู่นักเจรจาม็อบดีเด่น ผู้ได้รับขนานนามสารพัดฉายาในชีวิตจนเจ้าตัวยังจำได้ไม่ครบ จากชีวิตราชการ ในชั้นประทวนจนถึงผู้บริหาร จากอดีตเคยประจำอยู่ทั้งโรงพักชั้นดีที่สุด จนไปถึงการโยกย้ายเข้า-ออก นอก-ในนครบาล

พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ผบก.น.1) เจ้าของหนังสือวางปืนใช้ปาก จากประสบการณ์หัวหน้าทีมเจรจาต่อรองของตำรวจ และฝ่ายรัฐบาล

ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ฉายภาพผ่านหลากหลายมุมในชีวิต ก่อนถึงบทบาทปัจจุบัน ซึ่งล่าสุดได้รับฉายามือประสาน 10 ทิศ จากสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย และได้รับโล่นักเจรจาต่อรองดีเด่นจาก พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

- เป็นตำรวจที่ได้รับฉายาเปลี่ยนแปลงไปทุกปี เพราะอะไร

ผมมีหลายฉายา เดิมเคยอยู่จราจร ผมแจกอมยิ้มเลยได้ฉายามือปราบอมยิ้ม แล้วก็เปลี่ยนมาทำงานสืบสวน ต่อมาพอวิสามัญมาก ๆ เขาเรียกมือปราบสัปเหร่อ แล้วตอนหลังมาถูกเรียกว่ามือปราบหูดำ แล้วก็เมื่อปีที่แล้วตั้งโครงการปะฉะดะ เขาก็เรียกมือปราบฉะดะ ปีนี้ได้โล่นักเจรจาต่อรองดีเด่น และฉายา 10 ทิศจากสื่อมวลชน ให้ฉายาเยอะ ยังจำได้ไม่หมดเลย (หัวเราะ)

- ชอบฉายาไหนที่สุด

มือปราบหูดำ เพราะมันเป็นตัวตนเรา ส่วนฉายาอื่นมาจากจ็อบที่ปีไหนทำเรื่องอะไรก็ได้ฉายานั้น มือปราบสัปเหร่อตอนนี้ก็เงียบไปเพราะเรามาเป็นผู้บริหารแล้ว แต่มือปราบหูดำนี่ เพราะเราไปไหนคนเขาก็รู้เพราะเรามีปานดำที่หูไง เป็นตัวตนเรา

- ชีวิตราชการส่วนตัวมีโครงการดูแลตำรวจชั้นประทวนผู้ใต้บังคับบัญชา

ทำโครงการดูก้น-ครัว มีคนบริจาคข้าวสารอาหารแห้ง ถึงเวลาผมเอาไปให้ลูกเมียตำรวจที่แฟลตตำรวจ ข้าวสารถุงเดียว ถ้าผมให้ตำรวจเอง เขาก็จะรู้สึกว่าไปทำงานให้นาย นายก็ให้ข้าวสารมา

แต่ถ้าคุณให้ครอบครัวเขาที่แฟลตจะได้ใจผิดกัน เพราะกลับไปลูกเมียก็จะบอกตำรวจว่าผู้การเอาข้าวมาเยี่ยม ฉะนั้นเวลาผมขอความร่วมมือแม่บ้านตำรวจ ลูกเมียตำรวจ เขาก็ให้ความร่วมมือทั้งหมด ลูกน้องถึงทำงานให้ผมอย่างเอาเป็นเอาตาย

- ความลำบากในชีวิตส่วนตัวมีผลต่อวิธีการทำงาน

ใช่ ผมเป็นตำรวจชั้นประทวนมาก่อน ผมเป็นพลตำรวจก่อนเป็นนายร้อย ผมลำบากมาก ๆ ทำให้ผมเข้าใจตำรวจชั้นประทวน คนอื่นเขามาถึงเป็นนายคนแล้วเขาก็อาจจะไม่เข้าใจ

อย่างผมเคยรับจ้างเข้าเวรวันละร้อยบาท ผมเข้าใจความรู้สึกนะ เขาหิวเหมือนกัน เรากินข้าว เขาก็อยากกินของดี ๆ นะ ตอนผมเป็นสิบตรี เราเห็นเขาเสิร์ฟอาหารเต็มโต๊ะ นายกินเสร็จผมค่อยกินเดนเขา เราเข้าใจว่าลูกน้องก็อยากจะกินอย่างเรา ตำแหน่งไม่เหมือนกันอาจจะไม่ได้มีความเสมอภาคเท่าเทียม แต่เราต้องทำให้เขารู้สึกว่ามีคุณค่า

ผมเคยเอาสารวัตร รองผู้กำกับไปดูงานต่างประเทศ สารวัตรบางคนเขายังไม่เคยขึ้นเครื่องบินเลยก็ได้ใจ ได้องอาจ ได้ใส่สูท เขาก็ทำงานให้เราหัวปักหัวปำ และคนที่ได้ประโยชน์คือองค์กรและประชาชน

- เคยไปอยู่ จ.บุรีรัมย์ ก่อนจะย้ายกลับเข้ามานครบาล

ผมถูกย้ายไปอยู่บุรีรัมย์ ถ้าเป็นคนอื่นคงท้อแท้ เพราะตอนอยู่นครบาลก็มีชื่อเสียง แต่ผมทำงานหนักขึ้นผู้ใหญ่ก็ต้องสงสาร ผมไปอยู่บุรีรัมย์ปีครึ่ง ผมได้กลับมานครบาลไม่ใช่เพราะนักการเมืองนะ แต่ย้ายกลับมาเพราะ ผบ.ตร. ถามว่าผมรู้จักนักการเมืองไหม ก็รู้จักเป็นธรรมดา เพราะผมต้องรู้จักตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด รู้จักศาล อัยการ เพราะต้องทำงานร่วมกัน การรู้จักนักการเมืองก็เป็นปกติ ส่วนความผูกพันเป็นเพื่อนใจก็เป็นอีกคนละเรื่อง

- ผ่านการแข่งขันเลื่อนตำแหน่งในค่านิยมสังคม ที่เน้นพวกพ้องร่วมสถาบันกันอย่างไร

ถ้าเราทำเท่าคนอื่นหรือชนะเขานิด ๆ เราก็ไม่ได้แล้ว เพราะเขามีเพื่อนมีพี่มีรุ่น ฉะนั้นเราจะต้องทำงานมากกว่าเขา 2 เท่า เราต้องทำให้ดีกว่าเขา 2 เท่า ถ้าไม่ชนะ ก็ไม่มีสิทธิ์ได้ เชื่อผมเถอะ ทุกอย่างอยู่ที่การทำงาน ผมเคยเป็นหัวหน้าสายสืบพญาไท สมัยก่อนเป็นโรงพักชั้น 1 ของประเทศ แต่ผมถูกย้ายไปอยู่บางมด ถ้าเป็นคนอื่นคงท้อแท้ ผมไปอยู่แค่ 6 เดือน ผมได้เป็นพนักงานสอบสวนดีเด่นของฝั่งธนฯ ของ บช.น. ของกรมตำรวจ ผมทำสำนวนเป็นแบบอย่าง ถ้าคุณโดนย้ายไปไม่ดีแล้วคุณท้อแท้คุณแพ้เลยนะ คุณต้องทำให้ดีขึ้นเพื่อให้เขาเอาคุณกลับมา

- ช่วงที่ถูกย้ายไป-มา เพราะตำรวจพันกับการเมืองหรือเปล่า

ผมประสบกับจิตใจผู้บังคับบัญชามากกว่า เช่น เพราะถูกมองว่าเป็นอีกพวก แต่ความจริงแล้วใครมาผมก็ทำงานให้ในฐานะผู้บังคับบัญชา แต่ใครจะเข้าใจยังไงก็แล้วแต่ ถ้าคุณอคติคิดไม่ดีคุณก็ไม่ได้ของดี รัฐบาลใครมาผมก็ทำให้หมด แต่เรื่อง ส่วนตัวจะชอบใครนั่นเป็นเรื่องนอกงาน

- ผู้การมีวิธีทำงานอย่างไรสำหรับเรื่องยาก ๆ ตั้งแต่คดีวิสามัญฆาตกรรม ก่อนมาเจรจาม็อบ

นอกเวลางานผมก็เป็นคนตลกโปกฮานะ แต่ในเวลาทำงานผมเป็นคนทำงานจริงจัง เวลาคุมลูกน้องงานก็ต้องเป็นงาน ส่วน เลิกงานจะกินจะเที่ยวก็ว่าไป ไอ้ตัวนี้เรา ก็ผูกใจลูกน้องได้ ลูกน้องก็เห็นว่านายทำงาน ชีวิตผมเคยลำบากมาก่อน พ่อของผมจบ ป.4 แม่ของผมอ่านหนังสือไม่ออก ผมมาถึงวันนี้ได้ด้วยงาน ถ้าผมไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ใต้บังคับบัญชา ผมทำคนเดียวไม่ได้หรอก ตอนทำงานช่วงที่มีการวิสามัญ ผมทำมาก่อนมีนโยบายปราบปรามยาเสพติดของนายกฯทักษิณ เพราะนายกฯทักษิณทำเมื่อปี 2546 แต่ผมเอาจริงเอาจังเรื่องยาเสพติดมาตั้งแต่ 2544 ผมวิสามัญมา 30 กว่าคนยังไม่รวมคดีอื่น ๆ

- ตอนทำงานวิสามัญฆาตกรรม มองหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างไร

การวิสามัญฆาตกรรมไม่ใช่การเอาคนไปฆ่านะ บางคนคิดว่าวิสามัญคือเอาคนไปฆ่า แต่ลองช่วงนี้ถ้าตำรวจไม่โดนยิง คนก็ไม่เห็นใจตำรวจ อย่างผมวิสามัญคนร้าย ก็เพราะคนร้ายมีปืนมายิงตำรวจทั้งนั้น คดียาเสพติดคนร้ายมีปืนทั้งนั้นเพราะ โทษสูง ถ้าถูกจับก็ประหารชีวิต มันก็ต้องสู้ก่อน แต่สาเหตุที่ตำรวจยิงแม่นกว่าเพราะใจมันผิดกัน ถ้าน้องเป็นคนร้ายเจอตำรวจ ก็แพ้ไปครึ่งหนึ่ง เพราะตำรวจเราใจกฎหมายทำถูกต้อง แต่คนร้ายใจหนี ฉะนั้นความแม่นความตั้งใจมันผิดกัน

- คิดอย่างไรเมื่อตำรวจตกอยู่ในฐานะจำเลย เวลาใช้อาวุธป้องกันตัวในสถานการณ์เสี่ยง

ใช่ งานเสี่ยงแต่คนไม่รู้ไง คือบางทีผมก็เข้าใจนะงานสิทธิมนุษยชนเนี่ย ผมเคย วิสามัญคดีคนร้ายเอาปืนจี้ยิงคนบนสะพานลอยเอาทรัพย์สิน ตีคนพิการ แทงคนพิการ ตั้งแต่ผมวิสามัญขณะที่เขามีอาวุธปืนยิงตำรวจวันนั้น ไม่มีคนร้ายก่อคดีบนสะพานลอยอีกเลย ผมถูกโจมตีจากนักสิทธิ มนุษยชน แต่ผมถามว่า ถ้าวันนั้นตำรวจตายแล้วนักสิทธิมนุษยชนเคยเอาหรีดไปให้เขาสักพวงไหม เคยเห็นไหม ?

- สาเหตุที่ได้รับมอบหมายให้เจรจาม็อบเพราะอะไร

ผู้บังคับบัญชามองว่าการดูแลเหตุการณ์ชุมนุมจะใช้กำลังอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการพูดคุย ต้องตกลงทำความเข้าใจกันก่อน เขาก็มองว่าผมรู้จักคนเยอะทุกวงการตั้งแต่ดำเป็นขาว ดินเป็นดาว เพราะผมเข้ากับคนง่าย เขาก็มองว่าให้ผมทำดีกว่าเพราะมี คอนเน็กชั่นเยอะ จะให้ผมไปเจอใครหรือไปหาใคร เมื่อประสบความสำเร็จก็ใช้มาเรื่อย

สำหรับเรื่องม็อบ เราต้องรู้จุดประสงค์ของผู้ที่ชุมนุม อย่างม็อบอย่างเสื้อแดงเขาก็มาเพราะเรื่องความคิดที่เขาสนับสนุนทักษิณ เราก็ต้องทำให้เขาเห็นว่าเราคุยกับเขารู้เรื่อง

ขณะที่ม็อบเสื้อเหลืองเป็นม็อบเฉพาะกิจที่เขาเห็นว่าจะต้องดำเนินการกับทักษิณ เราต้องคิดว่าเราจะพูดกับเขายังไง หรืออย่างม็อบคนจนที่มาทำเนียบเราจะพูดกับเขายังไง ม็อบเดือดร้อนเรื่องที่ทำกิน เราจะพูดกับเขายังไง แล้วเราจะเอาข้อตกลงนั้นไปพูดกับรัฐบาลให้เขาพอใจได้ยังไง

ที่สำคัญคือการเจรจากับม็อบทุกครั้ง เราต้องแสดงความเห็นใจเขาทุกครั้ง และให้เกียรติเขา เรียกเขาพี่ น้า อา คนไทยชอบการให้เกียรติ แต่ถ้าเราไปเรียกเขาว่าไอ้ มึง กู เขาก็ไม่พูดด้วย อีกอย่างต้องทำให้เขาเห็นว่าเป็นห่วงเป็นใยเขา แต่ถ้าเขาทำผิดกฎหมายเราก็ไม่ยอมนะ ต้องให้เขาเห็นว่าผู้การเอาจริง

- อย่างนี้ก็ไม่แปลกที่ม็อบแต่ละสีจะมองว่าผู้การแต้มเป็นพวกเดียวกับเขา

ใช่ ๆ เพราะผมเจรจาได้ทุกม็อบ ถามว่าพี่จะเอายังไง บางทีเราก็รู้ว่าเขาไม่ได้มาชนะคะคาน แต่มายื่นหนังสือ มาแสดงความคิดเห็น

- มีความเห็นทางการเมืองส่วนตัวไหม

ก็มีนะ เราอาจจะชอบบ้างแต่ไม่ใช่ชอบหัวปักหัวปำ บางทีอาจจะชอบนโยบาย บางทีอาจจะชอบตัวบุคคล แต่ในฐานะที่ผมเป็นตำรวจ ผมอยากให้บ้านเมืองสงบสุข

- เมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้ว ฐานะของตำรวจจะเป็นอย่างไร

ใครมาเป็นผู้บริหาร ตำรวจก็เป็นหมา รับใช้ทั้งนั้น เพราะใครมาก็มาใช้ เปรียบสำนวนคนโบราณเขาพูด ใครจะมา กูก็หมาเหมือนเดิม (ทำเสียงเหน่อเหมือนคนสุพรรณฯ) คือใครมาตำรวจก็หมาเหมือนเดิม ใครมาก็ด่าว่าตำรวจอยู่ดี และถ้าใครมาด่าว่าตำรวจเป็นสีไหน ผมขอเถียงนะ ต้องมาทำงานเป็นตำรวจถึงจะรู้ เพราะความเป็นตำรวจถ้านายคนไหนใช้มา นายคนไหนถูกต้อง มันทำให้หมดแหละ เพราะเรารับเงินหลวง

เราเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราต้องทำงาน แต่คนชอบไปด่าตำรวจว่าเป็นสีแดง แต่คุณไม่รู้เหรอว่าหน่วยอื่นเป็นสีแดงตั้งเยอะแยะ แต่คุณไปผลักตำรวจไปอยู่ฝั่งนั้นเอง ถามว่าทักษิณเคยให้อะไรกับผมและตำรวจชั้นประทวนไหม เขาก็ไม่ได้ให้อะไรส่วนตัว แล้วจะไปตายเพื่อทักษิณทำไม แต่คนที่กล่าวหาตำรวจก็เท่ากับไปผลักตำรวจ ไปรังแกตำรวจ เขาก็หนีคุณไปเอง

- ตำรวจถูกเรียกว่ามะเขือเทศ เป็นความเข้าใจของคนนอกเท่านั้นงั้นหรื

สมัยมีผู้ชุมนุมฝ่ายหนึ่งผลักตำรวจให้อยู่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง แล้วตำรวจจะยืนยังไง พอเป็นอย่างงั้นปุ๊บเลยทำให้ดูเหมือนตำรวจทำงานไม่เข้มแข็ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะความจริงแล้วตำรวจทำงานหนักมากกว่าทุกองค์กร...ทั้งก่อนชุมนุม ตอนชุมนุม และหลังการชุมนุมตำรวจ ก็ต้องดูแล และทำสำนวนอีก ดีเอสไอ ก็ส่งสำนวนให้ตำรวจอีกที...ตำรวจ ต้องอยู่กับประชาชน ต้องทำงานกับเขา ต้องหาข่าวกับเขา ดังนั้นจะรุนแรงกับประชาชนไม่ได้พอเป็นอย่างนี้คนที่ผลักตำรวจไปอยู่อีกฝ่ายก็ไปคิดว่าตำรวจอยู่ ฝ่ายตรงข้ามจริง ๆ

- ความยากของงานทั้งเจรจาและรักษากฎหมายมีเส้นแบ่งอย่างไร

ผมเชื่อว่าการชุมนุมต้องใช้การเจรจา เพราะถ้าคุณใช้กำลังวันนี้ก็เพิ่มความแค้นมากขึ้น ดังนั้นต้องใช้การเจรจา แต่ถ้าคุณล้ำเส้นก็ต้องถูกดำเนินคดี เช่น การจาบจ้วงสถาบัน ก็ต้องโดนคดีแน่

- ภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นความภาคภูมิใจ หรือรู้สึกอย่างไร

ก็ภูมิใจ แต่เป็นภาระที่หนัก เพราะถ้าทำไม่สำเร็จก็เสียฟอร์มและเสียหายทางราชการ บางทีผมอาจจะเจรจาพูดคุย ทางโทรศัพท์ก็ได้ แต่เหตุที่ต้องทำต่อหน้าสื่อมวลชนเพื่อให้สาธารณะเห็นว่ามีการทำข้อตกลงประสานงานกันแล้ว ใครบิดพลิ้ว ก็ต้องรับผิดชอบ


ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์(update:วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2553 เวลา09:49:00 น)

พิษน้ำมันปาล์มลามการเมือง

อัญชลี วานิช เทพบุตร เนวิน ชิดชอบ ศุภชัย ใจสมุทร


พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ :

รายงานพิเศษ: พิษน้ำมันปาล์มลามการเมือง

ปัญหาน้ำมันปาล์มขาดตลาด ถีบราคาขายต่อขวดให้พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่แค่ปัญหาด้านเศรษฐกิจ แต่ชิ่งกระทบมาถึงการเมือง

กระทรวงพาณิชย์ ที่ดูแลเรื่องสต๊อกสินค้า มี นางพรทิวา นาคาศัย เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เป็นรมว.พาณิชย์ ขณะที่กระทรวงเกษตรฯ อยู่ในความดูแลของพรรคชาติไทยพัฒนา

เมื่อปัญหานี้ลุกลาม นายกฯ แต่งตั้ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ เข้าไปแก้ปัญหา

ระหว่างนี้ ฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทยและอดีตแกนนำบ้านเลขที่ 111 แท็กทีมกันเปิดแผลขยี้ปมร้อนรายวัน รวมถึงปูดชื่อย่อนักการเมืองที่ได้ประโยชน์จากการกักตุนน้ำมันปาล์ม


อัญชลี วานิช เทพบุตร เลขาธิการนายกรัฐมนตรี


ถ้าพรรคเพื่อไทยให้สัมภาษณ์ระบุชื่อดิฉันอย่างนั้นจริงก็ดี ขอให้เก็บม้วนเทปที่เขาให้สัมภาษณ์นั้นไว้ด้วย

กำลังให้ทนายความเก็บข้อมูล และต้องดูก่อนว่าที่เขาไปพูดอักษรย่อ ให้เชื่อมโยงมาถึงดิฉันนั้นเข้าข่ายเสียหายหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายการหมิ่นประมาทจะฟ้องร้องดำเนินคดี

'หญิงสุ' กับ 'ชายพร้อม' ชอบเล่นละครก็เล่นกันไป 2 คน อย่าดึงดิฉันเข้าไปด้วย เพราะไม่เกี่ยว ไม่ชอบเล่นละคร ไม่ได้มีบทบาทหน้าที่ในเรื่องพวกนี้

ถามว่าดิฉันเกี่ยวพันกับผลผลิตปาล์มน้ำมันหรือไม่ ครอบครัวดิฉันทำธุรกิจเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน คุณปู่เป็นคนแรกที่นำปาล์มน้ำมันต้นแรกเข้ามาปลูกในไทย พัฒนากลายเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศจนทุกวันนี้ และเป็นบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์

แต่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันพืช หรือน้ำมันบริสุทธิ์

สิ่งที่เขาพูด ไม่ได้ทำการบ้าน แล้วเหมารวมว่าโรงสกัดน้ำมันก็เข้าใจเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่นำน้ำมันพืชบรรจุขวด ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน เป็นความพยายามดึงตัวละครเข้าไปร่วมเล่นด้วยเท่านั้นเอง พรรคเพื่อไทยต้องการทำเรื่องนี้ให้เป็นประเด็นการเมือง

ถามว่าวันนี้ปาล์มน้ำมันขาดตลาดหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าขาดผลผลิตการเกษตร เป็นรอบ 10 ปีที่ขาดมาก เพราะไทยประสบปัญหาภัยแล้ง จึงส่งผลกระทบต่อสต๊อกน้ำมันพืช

เป็นปัญหาที่ต้องเข้าไปดูที่ระบบบริหารจัดการ ลงไปในรายละเอียด โดยเฉพาะกรมเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย ระบุราคาผลปาล์มอยู่ที่ 11-12 บาท แต่รับซื้อจริงแค่ 6 บาทเท่านั้น ไม่ทราบว่าโรงงานที่รับซื้อในราคาดังกล่าวเป็นของคุณหญิงหรือไม่ แต่เวลาซื้อกันวันนี้อยู่ที่ 8 บาท เป็นสัดส่วนที่ขึ้นลงตามกลไกตลาด ไม่มีใครบิดเบือน

คนไม่รู้จริงอย่าออกมาพูด จะทำให้คนสับสนได้

ดิฉันไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการชุดใด หากถามว่าการแก้ปัญหาเดินมาถูกทางหรือไม่ คิดว่าการนำน้ำมันปาล์มเข้านั้นจำเป็น ของมันขาดจริงๆ แต่ปัญหาอยู่ที่จำนวนเท่าไหร่

และอยู่ที่ฝีมือว่าจะบริหารจัดการสต๊อกที่นำเข้านั้นได้อย่างไร เพื่อรองรับผลผลิตปาล์มน้ำมันที่จะออกช่วงปลายเดือนมี.ค. ต้นเม.ย.

หากบริหารจัดการดีๆ ช่วงนี้จะเข้าสู่ภาวะปกติและเป็นประโยชน์ ผู้บริโภคไม่ต้องซื้อน้ำมันพืชแพง รัฐบาลไม่ต้องช่วยเหลือมาก

วันนี้ต้องบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด กระทรวงเกษตรฯ ต้องเก็บข้อมูลของสวนกระทรวง พาณิชย์เก็บข้อมูลสต๊อกน้ำมันพืช ภาคอุตสาหกรรม ถ้าบริหารจัดการตัวเลขอย่างนี้ให้ดีๆ น่าจะไปได้

ส่วนการทำงานของทั้ง 2 กระทรวง ต้องดูว่าเกิดอะไรขึ้น อาจบกพร่องในเรื่องบริหารจัดการอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องตัวเลข เช่น ข้าราชการประจำกระทรวงเกษตรฯ ต้องรู้อยู่ว่าผลผลิตดิ่งๆ เป็นสัญญาณอันหนึ่งแล้ว

กระทรวงพาณิชย์น่าจะรู้ว่าสต๊อกมันขาดจริงๆ ไม่มีใครหลอกใครได้ ตัวเลขในโรงกลั่นน้ำมันมีอยู่ว่า สต๊อกในประเทศเท่าไหร่ ใครกลั่นได้เท่าไหร่


พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย

ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มนั้นเกิดจากการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาล ทั้งเรื่องของการผลิต การกระจายสินค้า การดำเนินการด้านนโยบายที่เอาน้ำมันปาล์มไปทำไบโอดีเซล รวมถึงปล่อยให้มีการกักตุนเพื่อปั่นราคา ซึ่งทำกันอย่างเป็นกระบวนการ

ขอท้า นายสุเทพ และครม.ชุดนี้ ให้ไปสาบานด้วยกันที่วัดพระแก้วว่าใครเกี่ยวข้องกับกระบวนการกักตุน ปั่นราคา และหาประโยชน์จากน้ำมันปาล์มบ้าง จะกล้าหรือไม่

ผ่านมา 3 เดือนแล้วแต่ยังแก้ปัญหาไม่ได้ รัฐบาลหวังผลแค่หากระสุนดินดำเพื่อเป็นทุนไว้ใช้เลือกตั้งครั้งหน้า วันอภิปรายไม่ไว้วางใจจะเปิดเผยว่าใครบ้างที่เกี่ยวข้อง ใครผลิต โรงงานไหน เชื่อมโยงไปถึงใครที่เป็นนักการเมืองบ้าง

กลุ่มทุนไหน กลุ่มข้าราชการฝ่ายใดที่หนุนนักการเมืองชั่ว


เนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย

การเข้ามาแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเรื่องธรรมดาซึ่งเป็นเรื่องของพรรคประชาธิปัตย์ ผมบอก คุณพรทิวา ไปแล้วว่า ให้เดินหน้าเต็มที่เพราะพรรคภูมิใจไทยไม่เกี่ยวข้อง ส.ส. พรรคไม่มีใครทำธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องปาล์ม น้ำมัน

ถ้ากระทรวงพาณิชย์มีมตินำเข้าเสรีน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และสั่งห้ามส่งออกขายนอกประเทศแค่ 3 เดือน ก็เรียบร้อยทุกอย่าง กลับสู่สภาพเดิม

เรื่องนี้ดูไม่ยากเพราะแหล่งน้ำมันปาล์มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่ที่ โดยเฉพาะจ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง และ ที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จังหวัดเหล่านี้มีโรงงานสกัดและโรงงานกลั่นน้ำมันอยู่แล้ว

ที่คนทำเรื่องนี้กลัวมากที่สุดคือปาล์มทะลายจะราคาตก จะส่งผลกระทบต่อฐานหัวคะแนนสำคัญซึ่งเป็นของพรรคไหนทุกคนก็พอจะรู้อยู่แล้ว เพราะปัจจุบันคนเหล่านี้ไม่ได้ปลูกยางพารากันแล้ว

เรื่องปาล์มน้ำมันขอให้ใจเย็นๆ เดี๋ยวก็รู้ว่าใครอยู่เบื้องหลัง ตอนนี้พรรคเพื่อไทยมีข้อมูลในการอภิปรายแล้ว พรรคภูมิใจไทยเป็นแค่ทางผ่านเท่านั้น

ที่มองกันว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องโยนเผือกร้อนและโยนปัญหามาที่พรรคภูมิใจไทย ก็เอาให้สนุก เพราะรักจึงยอมทุกอย่าง (เพลงไว้ใจของวงไมโคร) ถ้าพรรคตอบโต้ก็เหมือนบ้านแตก

และตรงนี้ไม่ใช่การประนีประนอม แต่เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันในฐานะคนที่อยู่ร่วมกันแบบผัวเมีย ต้องมีทะเลาะกันบ้าง

เป็นเมียก็ยอมให้เตะๆ ไป ไม่มีเมียคนไหนคิดเลิกกับผัว สาเหตุที่ผัวจะเตะเมียมี 2 เรื่อง คือ 1.เมามา 2.เตะเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็รักกันเมียก็ยอมๆ ไปเสีย

ส่วนถ้าผัวเตะบ่อยๆ เมียคิดจะมีชู้หรือเปล่า ผมบอกได้ว่าตอนนี้ยังไม่รู้ ให้ไปคิดกันเอาเอง แต่เท่าที่เห็นตามหน้า 1 หนังสือพิมพ์ เมื่อผัวเตะเมียบ่อยๆ ก็จะถูกเมียเอามีดไปฟันหัว หรือไม่ก็โดนตัดจู๋ เลือกเอาแล้วกันว่าจะโดนอะไร

ดังนั้น ขอเตือนหากผัวจะทำอะไรก็ต้องให้เนียนกว่านี้ และหาจังหวะเผลอให้ดีกว่านี้


ศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย

ยืนยันไม่มีความขัดแย้งระหว่างพรรคภูมิใจไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายแต่ละพรรคมีวิธีการบริหารงานเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่ไม่ได้ทำให้แตกหัก

นางพรทิวาทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ไม่มีเรื่องผลประโยชน์และการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง มีสายตาประชาชนและสื่อจับจ้องอยู่คงไม่มีใครคิดฆ่าตัวตาย ส่วนอักษรย่อที่ออกมาก็มาจากการพูดของฝ่ายค้าน ตัวย่อบางตัวพรรคอื่นก็ออกมาปัดกันพัลวัน

ข่าวเสนอปลดรมว.พาณิชย์ ถ้านางพรทิวา เป็นรัฐมนตรีสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ก็อาจเป็นไปได้ที่ ส.ส.จะเสนอกันภายในพรรค แต่วันนี้ผู้ใหญ่ในรัฐบาลคงคิดว่าเป็นเรื่องการบริหารงานปกติ แต่ไม่ได้หมาย ความว่าต้องเสนอให้ปลด มันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น ไม่สามารถทำได้อย่างที่อยากจะทำ

ภาพความเป็นผู้ร้ายมันมักจะเกิดขึ้นอยู่กับพรรคภูมิใจไทย ตั้งแต่เรื่องรถเมล์ ขสมก. แล้ว สิ่งที่พรรคภูมิใจไทยต้องทำให้มากที่สุดในวันนี้คือพิสูจน์ให้เห็นว่าเราไม่ได้เป็นอย่างที่ถูกกล่าวหา


ที่มา: ข่าวสดรายวัน : วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7391

---------------------------------------------

ไขปริศนาวิกฤตน้ำมันปาล์ม ขาดแคลน-กักตุน-ปั่นราคา รัฐบาลไร้น้ำยา"โยนกันไปมา"


ปัญหาน้ำมันปาล์มกำลังบานปลาย เป็นปมขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลกันเองอีกครั้ง เมื่อฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ออกมาติการแก้ปัญหาของนางพรทิวา นาคาศัย เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลภาวะสินค้าไม่ให้เกิดการขาดแคลนและราคาแพงจนไม่อาจ ควบคุมได้ และล่าช้าต่อการแก้ปัญหาจนกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง พร้อมกับเสนอสูตรแก้ปัญหาของนายสุเทพเอง

ปล่อยข่าว นักการเมือง นามย่อ ส.

เป็นการเกิดขึ้นหลังจากนางพรทิวาเปรยถึงปัญหาปาล์มขาดแคลน เพราะมีขบวนการจงใจกักตุน และรวมหัวกับต่างชาติ กว้านเก็บน้ำมันปาล์มในท้องตลาด เพื่อให้เหลือปริมาณในตลาดให้น้อยที่สุด มุ่งเป้าหมายเพื่อปั่นราคาขายในท้องตลาดให้แพงลิบลิ่ว พุ่งเป้าไปยังคนใกล้ชิดในพรรคประชาธิปัตย์เอง ว่ามีความเกี่ยวพันกับโรงสกัดและโรงกลั่น

จนกระทั่งมีการปล่อยข่าวว่าคนทางการเมืองนามย่อ "ส" อยู่เบื้องหลังปัญหา

การคาดเดาพุ่งเป้าไปยังนายสุเทพ ที่เป็นทั้งนักการเมืองภาคใต้ มีข้อครหาเรื่องการนั่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ทั้งที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง

มีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ ต้องการสร้างให้ซ้ำรอยเหมือนครั้งการระบายสินค้าเกษตรกรในสต๊อครัฐบาล

ครั้งนั้นปมขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างนางพรทิวากับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ขณะที่ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสินค้าเกษตร ขยันเหยียบเบรกขวางการระบายขายข้าวโพด มันสำปะหลัง และข้าวสาร ที่นางพรทิวาเสนอ

การลดบทบาทรมว.พาณิชย์


จนสุดท้ายที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ดึงการพิจารณาและอนุมัติไปไว้ทำเนียบรัฐบาลทั้งหมด เท่ากับเป็นการลดบทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จากเดิมมีอำนาจเต็มเซ็นอนุมัติขายหรือไม่ขายให้ใคร ปริมาณ และราคาเท่าไหร่ก็ได้ กลายเป็นเพียงผู้เสนอว่าควรเปิดระบายสินค้าเท่านั้น

มุ่งไปให้เห็นว่าเป็นทางออกของการลดภาพพจน์ เรื่องความไม่โปร่งใสและการเอื้อประโยชน์ให้คนใกล้ชิดกับการเข้ามาเกี่ยว ข้องกับการระบายสินค้า

แต่ครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ลำพังกระทรวงพาณิชย์คงไม่อาจแก้ปัญหาปาล์มขาดแคลนได้ และจะกลายเป็นปัญหาลุกลามถึงอาหารสินค้าอื่นๆ อ้างน้ำมันแพงขยับขึ้นราคายกแผง จนเป็นภาระค่าครองชีพประชาชนและผู้มีรายได้น้อย

จึงเป็นที่มาของการดึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาตรวจสอบการกักตุนน้ำมันปาล์ม แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นเพียงการเข้าตรวจสอบว่าน้ำมันมีการซุกซ่อนที่ใด แค่ไหน และมีอำนาจในการจัดการได้อย่างไร

เพราะก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์เองก็พบปัญหาว่ามีโรงกลั่น 4 แห่ง ประวิงเวลาการผลิตและระบายปาล์มน้ำมัน ได้รับการจัดสรรจากการนำเข้าในล็อตแรก 3 หมื่นตัน มีรวมกันแล้วถึง 9 ล้านขวด จากจำนวนที่ผลิตได้ 24-25 ล้านลิตร

แต่ก็เพียงรับรู้ ไม่อาจดำเนินการเอาผิดได้ ทำได้แค่เร่งรัดให้ผลิตออกสู่ตลาด ทั้งที่น่าจะหาทางลงโทษ หรือใช้การยึดคืนปาล์มเพื่อให้บริษัทอื่นผลิตแทน

ความเชื่องช้าหรือเจตนาแฝง ?

หากจะย้อนดูถึงปัญหาปาล์ม ปัญหาที่เกิดเป็นเพราะความ "เชื่องช้า" ของหลายฝ่าย แต่ยังเกิดข้อสงสัยว่าเป็นเรื่องของเจตนาจะให้เกิดขึ้นหรือไม่


ตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 ในวงการผลิตและค้าปาล์มน้ำมันได้ทำหนังสือเร่งรัดถึงนางพรทิวา ขอให้พิจารณาเสนอนายสุเทพอนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มดิบกึ่งบริสุทธิ์ เพราะเริ่มเห็นความผิดปกติของผลผลิตเกษตรกรลดลงและสต๊อคปาล์มน้ำมันดิบลดลง ต่อเนื่อง ขณะที่ราคาขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันปาล์มตามห้างสรรพสินค้าและตลาดสดลดลง น้ำมันดิบเข้าโรงกลั่นก็ฝืดเคืองขึ้นเรื่อยๆ

โรงผลิตและผู้ค้าปาล์มน้ำมันบางราย เริ่มมีการกักตุน ปรับวิธีการค้าขาย ลดสัดส่วนบรรจุขวดเพื่อป้อนตลาดครัวเรือน หันมาเพิ่มบรรจุถุงและปี๊บแทน เพราะขายได้ราคาดีกว่าแบบบรรจุขวด ที่มีกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ของกระทรวงพาณิชย์คุมราคาขายอยู่ และไม่ต้องเจอโทษจำคุก 7 ปี ถูกปรับอีกไม่เกิน 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตลอด 3-4 เดือนก่อนเข้าวิกฤตในช่วงที่ผ่านมา พบว่าผลผลิตปาล์มสดยังใกล้เคียงปี 2552 ประมาณ 8.2 ล้านตัน แต่กลับเห็นความผิดปกติในตัวเลขสต๊อคน้ำมันปาล์มจากที่เคยกันสำรองไว้ 2 แสนตัน ในเดือนสิงหาคม 2553 ลดลงอย่างรวดเร็ว เหลือ 1.85 แสนตัน 1.33 แสนตัน และ 98,015 ตันในเดือนพฤศจิกายน เหลือ 0% ในเดือนธันวาคม 2553 จนถึงเดือนมกราคม 2554

รวมถึงตัวเลขการใช้ไบโอดีเซลจากใช้เพียง 2.6 หมื่นตันในปี 2550 เพิ่มเป็น 4.7 แสนตันในปี 2553

สำหรับการเพิ่มขึ้นของตัวเลขส่งออกน้ำมันปาล์ม พบว่าเดือนกันยายน เอกชนส่งสัญญาณต่อกระทรวงพาณิชย์แล้วว่า มีปาล์มในประเทศลดลง มีการส่งออกสูงถึง 37,137 ตัน จากก่อนหน้านี้ส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 23,000 ตัน แม้ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ก็ยังมีการส่งออก 7,901 ตัน และ 3,606 ตันตามลำดับ ขณะที่ในประเทศต้องเข้าแถวรอซื้อน้ำมันปาล์มแล้ว

เพราะไม่ใส่ใจ ...จนวิกฤตรุนแรง

ทั้งปี 2553 ยอดส่งออกมีถึง 223,984 ตัน สูงกว่าปี 2552 ส่งออกไป 189,780 ตัน อัตราเพิ่มของมูลค่าสูงกว่าปริมาณ ปี 2553 มีมูลค่า 6,656 ล้านบาท แต่ปี 2552 มีมูลค่า 4,720 ล้านบาท

หากรัฐบาลใส่ใจและไม่ปล่อยให้ปัญหาล่วงเลยถึงเดือนธันวาคม 2553 วิกฤตขาดแคลนปาล์มเพื่อใช้ในการบริโภคก็จะไม่รุนแรงอย่างวันนี้

สุดท้าย นายสุเทพยอมเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ ครั้งแรกในปี 2553 เพื่อพิจารณามาตรการตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการบริหารผิดพลาด เอื้อประโยชน์กลุ่มพ่อค้าคนกลาง ตั้งแต่โรงสกัดถึงโรงกลั่น เพราะรัฐบาลเลือกปรับเพิ่มราคาควบคุมขวด (1 ลิตร) ทันที 9 บาท จาก 38 บาท เป็น 47 บาท ก่อนใช้มาตรการขั้นสองคือนำเข้าปาล์ม 3 หมื่นตัน เพื่อให้ชดเชยปริมาณที่หายไป แต่กลับเป็นการนำเข้าในปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการจริง จึงถูกดูดซับจากกระแสการตื่นตระหนกว่าจะไม่มีสินค้า และราคาจะถีบตัวสูงขึ้นอีก โดยไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นเท่าไหร่

ภาพการแย่งซื้อน้ำมันตามห้างจนหมดแผงทุกวัน จนห้างต้องจำกัดการปล่อยน้ำมันเหลือคนละ 2 ขวดบ้าง 1 ขวดบ้าง ก็มีการโยนกันไปมาทั้งผู้ผลิต พ่อค้าคนกลาง และค้าปลีกว่ามีการกักตุนเพื่อปั่นราคาตลาดให้สูงขึ้น หวังเก็งกำไร รวมถึงโรงผลิตไบโอดีเซลตุนปาล์มเพื่อผลิตพลังงานทดแทน ต่างก็เป็นสาเหตุให้วิกฤตขาดปาล์มแย่ลงไปอีก

ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ก็เสียเวลาไปกับการไล่จับไล่ปรับปลาซิวปลาสร้อย ร้านค้ารายย่อยขายเกินราคา ทั้งที่เป็นผลกระทบมาจากยี่ปั๊วซาปั๊วส่งสินค้ามาให้ในราคาสูงกว่าราคาขวดละ 47 บาท ตามราคาควบคุมของกระทรวงพาณิชย์

เมื่อน้ำมันปลาล์มเกิดภาวะขาดแคลนหนักขึ้น สุดท้ายมีการขอนำเข้าอีกรอบ 2 แสนตัน แต่ได้รับการอนุมัติ 1.2 แสนตัน โดยยังคงบังคับผลิตและขายในราคาควบคุมลิตรละ 47 บาท แต่ก็ส่อว่าจะเหมือนการนำเข้ารอบแรก คือผู้ผลิตอ้างต้นทุนแพง ราคาน่าจะนำเข้าได้ลิตรละ 40-41 บาท บวกค่ากลั่นและบริหารจัดการอีกลิตรละ 15 บาท จะขายต่ำกว่า 50 บาทคงไม่ไหวแล้ว

เกมการตักตวงผลประโยชน์

จึงเกิดการรวมตัวกันในกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่บางราย งดรับการจัดสรรน้ำมันปาล์ม อ้างแบกรับต้นทุนไม่ไหว หากจะให้ทำต้องปล่อยลอยตัวหรือภาครัฐต้องชดเชยส่วนต่างให้

นับเป็นเกมการตักตวงผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย โดยมีเงื่อนไขเวลาเป็นหัวใจหลัก เพราะในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ผลผลิตปาล์มจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ดังนั้นในช่วงนี้ ปริมาณการระบายน้ำมันปาล์มออกสู่ตลาด จึงมีความสำคัญทั้งต่อความต้องการใช้ของประชาชนอย่างเพียงพอ และต้องไม่ให้มีผลกระทบกับราคาผลปาล์มดิบของเกษตรกรในประเทศด้วย

เมื่อมาผนวกกับบรรยากาศการเมืองกำลังคุกรุ่น ใกล้ช่วง "ยุบสภา" เต็มที จึงไม่น่าแปลกใจ หากจะเห็นต่างฝ่ายต่างออกมาโยนความรับผิดชอบกันไปมา ทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย ทั้งที่ความรับผิดชอบน่าจะอยู่ที่รัฐบาล เพราะทุกฝ่ายก็รู้ปัญหาความขาดแคลนมาตั้งนานแล้ว แต่ก็ปล่อยปละละเลย ไม่ใส่ใจดูแล ไม่เกาะติดปัญหา จนปัญหาลุกลาม

ต้องติดตามว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่มีนายสุเทพนั่งหัวโต๊ะ บรรดาผู้รับผิดชอบทั้งหลาย ยังโยนกันไปโยนกันมา หรือเอาจริงเอาจังกับการลากคอ "ไอ้โม่ง" ที่หากินบนความเดือดร้อนของประชาชนออกมาลงโทษได้แค่ไหน


บทความชื่อ:ไขปริศนาวิกฤตน้ำมันปาล์มขาดแคลน-กักตุน-ปั่นราคารัฐบาลไร้น้ำยา"โยนกันไปมา"
โดย Sahanut Natt Maneekul ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 22:20 น
ที่มาบทความ: http://www.facebook.com/note.php?note_id=499286547734

-------------------------------------------------------


น้ำมันปาล์ม

ปัญหาน้ำมันปาล์มขยับราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบทั้งในระดับครัวเรือน และระดับอุตสาหกรรม

รัฐบาลชี้แจงว่า ราคาน้ำมันปาล์มที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่อง จากขาดแคลนวัตถุดิบเพราะประเทศไทยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และความต้องการในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

จึงต้องมีหลายมาตรการออกมาช่วย เช่น ให้นำเข้าผลปาล์ม 30,000 ตันจากต่างประเทศ แต่สถาน การณ์ก็ไม่ดีขึ้น

กลายเป็นปัญหาการเมืองไปทันที เพราะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องหลายฝ่าย

สำหรับ"ปาล์มน้ำมัน" เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้น จึงเจริญเติบโตได้ดีในภาคใต้ของประเทศ บริเวณที่ปลูกมากที่สุด คือจังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูล และตรัง

ปาล์มน้ำมันชนิดที่ปลูกเป็นการค้า มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และได้นำเข้ามาปลูกในไทย ผ่านทางอินโดนีเซียและมาเลเซีย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2470 ที่สถานีทดลองยางคอหงษ์ จ.สงขลา และสถานีกสิกรรมพลิ้ว จ.จันทบุรี

ส่วนการปลูกเพื่อเป็นการค้า เริ่มหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ จ.สงขลา แต่ก็ได้ล้มเลิกกิจการไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2511 จึงได้ส่งเสริมอีกครั้งหนึ่ง และพื้นที่เพาะปลูกขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว

ปาล์มน้ำมันมีอยู่หลายชนิด แต่ที่ปลูกเป็นการค้ามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Elaeis guineensis จำแนกออกเป็น 3 พันธุ์ คือ

1.พันธุ์ดูรา (Dura) มีเปลือกหุ้มผลค่อนข้างบาง และมีกะลาหนา มีปริมาณน้ำมันต่อทะลายต่ำเพียงร้อยละ 18-20

2.พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) มีเปลือกหุ้มผลค่อนข้างบาง แต่ให้ผลขนาดเล็ก และดอกตัวเมียเป็นหมันผลิตผลต่อต้นต่ำ 3.พันธุ์เทนเนอรา (Tenera) เป็นพันธุ์ลูกผสม โดยรวมลักษณะดีจากทั้งสองพันธุ์ดังกล่าวเข้าด้วยกัน โดยใช้ดูราเป็นแม่ และฟิสิเฟอราเป็นพ่อ ให้น้ำหนักผลปาล์มต่อทะลายสูง เนื่องจากมีเปลือกหุ้มผลหนา และมีปริมาณน้ำมันมาก

เนื่องจากผลตอบแทนของการปลูกปาล์มน้ำมันดีกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ยางพาราและการทำนาข้าว จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกขึ้นเรื่อยๆ

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.สุราษฎร์ธานี ระบุว่า ปี 2553 ประเทศไทยปลูกปาล์มน้ำมัน 3,637,536 ไร่ ให้ผลผลิต 9,032,635 ตัน

ทั้งนี้ผลปาล์มให้น้ำมันปาล์ม ได้จาก 2 ส่วน คือ จากเปลือกหุ้มภายนอก และจากเนื้อในของเมล็ด

"น้ำมันจากเปลือกของปาล์ม" ประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัว ประมาณร้อยละ 52 และกรดไขมันไม่อิ่มตัว ร้อยละ 48 เมื่อจะนำมาใช้จึงต้องนำน้ำมันดิบมาผ่านกรรมวิธีแยกกรดไขมันทั้งสองออกจากกันก่อน

น้ำมันไม่อิ่มตัว สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด เช่น ใช้ปรุงอาหาร ทำเนยเทียม หรือ มาการีน เนยขาว เป็นส่วนผสมของนมข้นหวาน ไอศกรีม และขนมอีกหลายชนิด

ส่วนที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสามารถนำไปทำสบู่ ผงซักฟอก และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ

ส่วน "น้ำมันเนื้อในของเมล็ดปาล์ม" ประกอบ ด้วยน้ำมันชนิดอิ่มตัวสูงถึงร้อยละ 85-90 ไม่เหมาะต่อการบริโภค จึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ เครื่องสำอาง ผงซักฟอกอุตสาหกรรมสี และเรซิน เป็นต้น

วิกฤตการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งหาแหล่งพลังงานทดแทนจากพืช ซึ่งปาล์มน้ำมันก็จัดเป็นพืชที่มีศักยภาพอันดับต้นๆ จึงมีการนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลด้วย

หลังเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันปาล์ม ครม.จึงมีมติให้ชะลอการใช้ไบโอดีเซลไปก่อน


ที่มา: ข่าวสดรายวัน
(update: วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7391)

20 2 54 เบิกตัว สนั่น คณิต ให้การประกันแกนนำ นปช



โดมิโนเอฟเฟ็ค...

การตัดสิ้นใจเปลี่ยนคำตัดสินเดิมบางข้อ จนนำมาซึ่งการอนุมัติปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำ นปช.ในวันนี้ ต้องบอกว่า ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากความทุ่มเททำงานของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นทีมกฎหมายหรือแม้แต่คนเสื้อแดงผู้ร่วมเคลื่อนไหวทุกท่าน

หากวันนี้การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นไปในทางกดดันประมาณว่า ไม่ปล่อยไม่เลิก หรือหากขู่ว่าไม่ปล่อยจะมีการกระทำใดๆที่ส่อว่าจะเป็นการทำลายความสงบของ บ้านเมือง วันนี้ผลของคำตัดสินอาจค้านสายตาประชาชนอีกครั้ง แต่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นในความจริงของครอบครัวผู้ถูกคุมขังและคน เสื้อแดงที่ร่วมอุดมการภายนอก ทำให้คนเสื้อแดงพิสูตรให้สังคมส่วนใหญ่เห็นความจริงยอมรับว่า คนเสื้อแดงมิได้เป็นผู้ก่อเรื่องอย่างที่เคยโดนใส่ร้าย

ด้วยการเสนอข้อเท็จจริงที่ปรากฎชัดว่า การชุมนุมตั้งแต่ต้นจนถึงก่อนวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ไม่มีความรุนแรงใดๆเลย จนเมื่อทหารเข้ามากระชับพื้นที่เรื่องราวจึงปะทุขึ้น อีกประการคือ ในการเข้าสลายการชุมุนมนั้นก็เกิดขึ้นหลังจากที่แกนนำได้ประกาศยุติการ ชุมนุมแล้วด้วยซ้ำโดยแต่ก็ยังถูกทหารปราบปรามอย่างเอาเป็นเอาตาย ซึ่งก็ยังกังขาว่าเหมาะสมไหม..?

ประการสำคัญคือ หลักฐานที่ใช้กล่าวหา ณ วันนี้ปรากฎชัดแล้วจากสำนวนการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษว่า ไม่มีน้ำหนักพอและการกล่าวหาเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อวันนี้ไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินและบ้านเมืองก็กลับเข้าสู่ภาวะปรกติแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดจึงควรมีสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีใน สิ่งที่ตนถุกกล่าวหาอย่างเป็นธรรม

การสู้อย่างมีสติไม่ใช้อารมย์เป็น ที่ทั้ง แต่ให้กำลังใจซึ่งกันและกันอดทนเอาความจริงเข้าเสนอ จนที่สุดสังคมโดยรวมเริ่มเห็นภาพความจริงที่ถูกปิดบังไว้ จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวที่คนเสื้อแดงยกระดับการชุมุนมของกลุ่มตนให้สูงและมีคุณ ค่ามากกว่าการไฮปาร์คด่าทอผู้อื่นให้สะปากไปวันๆ

การตัดสินของศาลใน วันนี้ ผมเองเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการพิจารณาถึงพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองของคนเสื้อแดง ที่ผ่านมา แม้จะไม่พอใจแม้จะถูกกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นบิดเบือนจนต้องเสียอิสรภาพ แต่คนเสื้อแดงก็มิได้เลือกสู้โดยการใช้กำลังบังคับอย่างใครๆ แต่เลือกจะใช้ความจริงและความอดทนเข้าเดิมพัน

สิ่งเหล่านี้ไม่ว่า ใครจะเรียกเช่นไร แต่นี่คือ โดมิโนเอฟเฟ็คในแบบฉบับของคนไทย ที่ไม่จำเป็นต้องส่งข้อความให้ออกไปประท้วงขับไล่ หรือขึ้นเวทีกล่าวหาใส่ร้ายคนอื่นโดยไม่สนใจความจริงเป็นเช่นไร แต่เป็นการนำความจริงมาเสนอจากหนึ่งเป็นสิบเป็นร้อนและจากร้อยเป็นพันเป็น ล้าน ทำให้สาธารณชนเห็นภาพการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็นอารยชนอย่างแท้จริง ซึ่งนำมาซึ่งรางวัลในวันนี้คือ การปล่อยตัวชั่วคราวนั่นเอง

แต่อย่าง ไรเสียวันนี้ใช่เป็นชัยชนะที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดกับสิ่งที่คนเสื้อแดงต่อสู้ ด้วยไม่ ก้าวต่อไปของคนเสื้อแดงคงต้องพิสูตรให้คนทั่วไปได้เข้าใจว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงนั้นมิได้มุ่งหวังแต่ประโยชน์เพื่อพวกพ้องตน เองอย่างที่ถูกใครกล่าวหา การสลัดคราบการต่อสู้เพื่อนายเก่า หรือพวกพ้องที่หนีคดีจะเป็นโจทย์สำคัญที่แกนนำและคนเสื้อแดงต้องเร่งทำความ เข้าใจกับประชาชนวงนอก

ก็ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่กระทำดี จงมีกำลังใจต่อสู้กับสิ่งเลวร้ายในประเทศนี้ต่อไป และเชื่อว่าหากคนเสื้อทำเช่นนี้ต่อไปแรงกระเพื่อมจะทวีมากขึ้น วันนี้คนเสื้อแดงมาถูกทางแล้ว ขอให้ตั้งมั่นและพัฒนาการต่อสู้ไปในเชิงสร้างสรร เพื่ออนาคตที่ประเทศไทยนี้จะได้มีประชาธิปไตยที่มาจากเสียงของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชนได้รับประโยชน์ร่วมกันตราบชั่วลูกชั่วหลาน


source: นักวิชาการ ลูกพ่อฯ 22 February at 20:20

MV เพลง "แดงเดือด"

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 18, 2554

“ตื่นเถิด! ประชาชนไทย”

“หากไม่ปรากฏชัด ว่าสาเหตุการตายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ คือไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ อาจจะเป็นคนร้าย ไอ้โม่ง ไอ้เขียว ไอ้ขาว ไอ้แดง ไอ้ดำก็แล้วแต่ จะส่งไปรวมกับคดีหลักคดีเดิมที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อสืบหาคนร้ายต่อไป ซึ่งตำรวจเพียงทำสำนวนชันสูตร ไม่ได้กล่าวหาใคร และไม่ได้มีหน้าที่ค้นหาตัวผู้กระทำผิด ผู้ที่มีหน้าที่ในการรวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิด มาลงโทษคือพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ”

พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) กล่าวถึงความคืบหน้าคดี 91 ศพจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ว่าดีเอสไอส่งให้ตำรวจสอบสวนแค่ 13 ศพ โดยศพที่มีเศษกระสุน หัวกระสุน ปลอกกระสุนเป็นหลักฐานต้องตรวจพิสูจน์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ จะไม่ใช้ความเห็นส่วนตัว เพราะอาจผิดพลาดได้ ขณะนี้สอบสวนแล้ว 95% คาดว่าอีกไม่เกิน 2 เดือนจะเสร็จ แต่หากการสอบสวนปรากฏชัดว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ต้องส่งให้ดีเอสไอทำ การไต่สวนต่อไป

คำแถลงของ พล.ต.ต.อำนวยทำให้เห็นชัดเจนว่ากลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง ชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดินและญาติผู้เสียชีวิตทั้ง 91 ศพคงยากจะได้ “ความจริง” และ “ความยุติธรรม” ทั้งที่เหตุการณ์ผ่านมาแล้วกว่า 9 เดือน ไม่รู้ว่าหลักฐานต่างๆถูกทำลายและบิดเบือนไปอย่างไร เพราะดีเอสไอแถลงออกตัวก่อนแล้วว่ากว่า 63 ศพยังไม่มีหลักฐานระบุว่าเสียชีวิตอย่างไร รวมทั้งช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่นและนักข่าวอิสระชาวอิตาลี

2 สี 2 มาตรฐาน

ขณะที่แกนนำ นปช. และคนเสื้อแดงอีกนับร้อยกลับถูกคุมขังและไม่ได้รับการประกันตัว จากการยัดเยียดข้อหา “ผู้ก่อการร้าย” และฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะแกนนำ นปช. มอบตัวตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ก่อนจะเกิดการเผากลางเมือง แต่วันนี้นอกจากดีเอสไอจะไม่สามารถจับตัวคนร้ายได้แล้ว ยังมีหลักฐานระบุว่าอาจเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐเองอีกด้วย

ตรงข้ามกับคดีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ถูกตั้งข้อหา “ผู้ก่อการร้าย” จากการปิด สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิตั้งแต่ปี 2551 ทำให้ประชาคมโลกประณาม และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายแสนล้าน แต่จนปัจจุบันนี้คดียังไม่คืบหน้า เช่นเดียวกับคดีกลุ่มพันธมิตรฯบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2551 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ โดยปักหลักชุมนุมอยู่นานกว่า 100 วัน จนหัวหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีพันธมิตรฯขอลาออกจากการเป็นหัวหน้า พนักงานสอบสวนไปแล้วถึง 2 คน

ขณะที่นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และนายสมบูรณ์ ทองบุราณ 2 แกนนำพันธมิตรฯ ที่ถูกจับกุมในข้อหาเดียวกันกับคนเสื้อแดงกลับได้รับการประกันตัวโดยเร็ว จนคนเสื้อแดงต้องชุมนุมเรียกร้องขอความยุติธรรม รวมถึงทำจดหมายเปิดผนึกปรับทุกข์กับผู้พิพากษาทั่วประเทศและคนไทยทั้งแผ่น ดินว่าทำไมคนเสื้อแดงจึงไม่ได้ประกันตัว และตั้งคำถามว่าเป็นความยุติธรรม 2 มาตรฐานหรือไม่

คนเสื้อแดงจึงประกาศจะชุมนุมต่อไปจนกว่าจะได้ความยุติธรรมและประชาธิปไตย ที่แท้จริงกลับคืนมา โดยเฉพาะวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ ซึ่งครบ 10 เดือนการ “ขอคืนพื้นที่” ในเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 คนเสื้อแดงอาจปักหลักชุมนุมยืดเยื้อเหมือนที่กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมปิดถนน หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะนี้

ยัดเยียดข้อหา

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายญาติผู้ต้องขังเสื้อแดงประมาณ 50 คน พร้อมนางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กรณีญาติพี่น้อง สามี และลูกยังถูกคุมขังอยู่ตามเรือนจำในจังหวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมหาสารคาม อุบลราชธานี อุดรธานี มุกดาหาร ขอนแก่น และเชียงใหม่ โดยไม่สามารถประกันตัวได้

จากข้อมูลเมื่อเดือนตุลาคม 2553 พบว่ายังมีผู้ต้องขังเสื้อแดง 180 คน มี 151 คนที่ขอความช่วยเหลือ บางส่วนขอทนายความ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเป็นผู้จัดหาให้ อีก 48 รายขอความช่วยเหลือเรื่องเงินประกันตัว ซึ่งกองทุนยุติธรรมอนุมัติให้ทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเงิน 28 ล้านบาทเพื่อเป็นหลักทรัพย์ประกันตัว แต่การให้หรือไม่ให้ประกันตัวเป็นดุลยพินิจของศาล ซึ่งที่ผ่านมากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ยื่นประกันตัวไปแล้วหลายราย แต่ส่วนใหญ่ศาลไม่อนุญาต เพราะเกรงว่าผู้ต้องขังจะหลบหนี

แม้จะมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ประกันตัวคนเสื้อแดง 104 คนตามที่นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เสนอ แต่มติ ครม. ระบุให้ดีเอสไอและสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปหาหลักเกณฑ์และแนวทางในการประกัน ตัว แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจึงจะทำหนังสือทวงถามให้

อย่างกรณีนางศิรินารถ จันทะคัต จากจังหวัดมหาสารคาม อยากให้รัฐบาลแสดงความจริงใจด้วยการช่วยเหลือผู้ต้องขังอย่างที่พูด โดยยกตัวอย่างความยากลำบากของครอบครัวจันปัญญา หลังจากนายสุชล จันปัญญา นักศึกษาเทคนิคชั้น ปวส.1 ถูกคุมขัง ทำให้พ่อที่เป็นอัมพาตและแม่ที่อายุมากอยู่อย่างยากลำบาก เพราะปรกตินายสุชลเป็นเสาหลักหาเลี้ยงครอบครัวและทำงานเป็นลูกจ้างร้านถ่าย เอกสารส่งเสียตัวเองเรียน ในวันเกิดเหตุนายสุชลไปยืนดูการชุมนุม แต่ตำรวจใช้ภาพถ่ายและขวดน้ำมันเป็นหลักฐาน ทั้งที่ขวดน้ำมันไม่มีลายนิ้วมือของนายสุชล

ส่วนนางวาสนา ลิลา จากจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวทั้งน้ำตาว่า สามีถูกคุมขังมานานหลายเดือนจนมีอาการเครียด เกรงจะคิดสั้นในเรือนจำ โดยโดนข้อหาร่วมกันวางเพลิง ทั้งที่วันเกิดเหตุไปซื้ออะไหล่รถและแวะมาดูลูกคนเล็กที่ป่วยอยู่ที่โรง พยาบาล เมื่อผ่านจุดเกิดเหตุจึงแวะดู แต่ตำรวจนำภาพถ่ายมาให้เซ็นชื่อ โดยบอกว่าหากลงชื่อวันรุ่งขึ้นสามารถประกันตัวได้ แต่กลับถูกคุมขังมาจนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลจุดชนวนความรุนแรง

ข้อมูลล่าสุดที่บ่งชี้ถึงการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่ชอบธรรมคือคำให้การของ นายปริย นวมาลา เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที กับ คอป. ในฐานะสื่อหลักขณะนั้นที่ทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ความรุนแรงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 โดยระบุว่า รัฐบาลพยายามจะใช้สื่อคือเอ็นบีที ไม่ว่าจะเป็นข้อความตัววิ่งหน้าจอ หรือการจัดเวทีสนทนา โดยเชิญวิทยากรที่คิดเหมือนกับรัฐบาลมาแสดงความเห็นผ่านโทรทัศน์ โดยผู้จัดไม่สามารถนำคนที่เป็นกลางหรือคิดเห็นแบบเดียวกับคนเสื้อแดงมา ออกรายการได้ เพื่อโจมตีกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งเหมือนเป็นการราดน้ำมันลงในกองไฟ เอ็นบีทีจึงกลายเป็นสื่อที่จุดชนวนความรุนแรง

“ทำไมผมถึงพูดแบบนี้ เพราะว่าองค์กรของผมได้รับความเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นระเบิดเอ็ม 79 ยอมรับว่าบางรายการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์ เจ้าหน้าที่จากหลายฝ่ายยอมรับว่าบุคลากรและเจ้าหน้าที่ก็เป็นบุคคลที่น่า เห็นใจ ไม่ว่ารัฐบาลใดจะมาต้องทำไปตามเนื้อหาที่รัฐบาลต้องการ”

นายปริยยืนยันว่า ความรุนแรงส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาล โดยมองประชาชนกลุ่มหนึ่งเป็นศัตรู แต่ถ้า คอป. จะเจาะข้อมูลจากบุคลากรในสถานีเชื่อว่า 90% ไม่มีใครกล้าพูด ส่วนเหตุผลคงทราบดีว่าเพราะรับเงินเดือนจากรัฐบาล แต่ตนเองกล้าพูดเพราะเห็นใจประชาชน

สกว. ยันรัฐใช้ความรุนแรง

แม้แต่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยังระบุถึงการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลจากการจัดทำรายงานเรื่อง “ยุทธศาสตร์สันติวิธีกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย : กรณีเสื้อเหลือง-เสื้อแดง” ตามโครงการยุทธศาสตร์สันติวิธีสำหรับสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 โดยเห็นว่าสาเหตุที่ทำให้การชุมนุมอย่างสันติของ นปช. ลงท้ายด้วยความรุนแรงนั้นมาจากกระบวนการตัดสินใจของทั้ง 2 ฝ่ายมีปัญหา แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่รัฐบาลที่เป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงและกลุ่มผู้มีส่วนได้ เสียมีความไม่ลงตัวระหว่างอำนาจในระบบสถาบันการเมืองปรกติกับอำนาจภายนอก

โดยเฉพาะผู้ชุมนุมเลือกใช้ยุทธศาสตร์แบบเผชิญหน้าและท้าทายกับระบบการ เมืองปรกติ เช่น การยึดครองศูนย์กลางธุรกิจ แม้จะไม่ใช้ความรุนแรง แต่ฝ่ายรัฐบาลที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยเห็นว่าหากปล่อยให้การ ประท้วงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ พร้อมกับการก่อเหตุรุนแรงจากการกระทำของผู้ที่ไม่ทราบฝ่าย รัฐบาลจะถูกมองว่าไม่สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้ จึงนำไปสู่การยุติปัญหาอย่างรวดเร็ว

“การปฏิบัติการตามกลไกต่างๆของรัฐต่อการชุมนุมนั้นตกอยู่ภายใต้กรอบคิด และวาทกรรมของสงครามและการก่อการร้าย รูปธรรมของวาทกรรมนี้ปรากฏให้เห็นชัดจากคำอธิบายของผู้ปฏิบัติงานของรัฐและ การตั้งข้อกล่าวหาต่อแกนนำ นปช. ในข้อหา “ก่อการร้าย” หลังเหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 10 เมษายน 2553 และพยายามเชื่อมโยง นปช. กับการก่อเหตุความรุนแรงโดยผู้กระทำไม่ทราบฝ่าย”

แม้ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวของ นปช. จะอยู่ในขอบเขตไม่ใช้ความรุนแรง แม้แต่การ “เทเลือด” ก็ถือเป็นการประท้วงในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งรัฐมองการชุมนุมเป็นเพียงการแสดงออกทางการเมืองและจำเป็นต้องแก้ปัญหา ด้วยวิถีทางการเมืองเท่านั้น แต่กลับมองว่าการประท้วงและผู้ประท้วงเป็นภัยร้ายที่ต้อง “จัด การ” ให้ได้ เมื่อมองว่าอยู่ในสภาวะสงครามจึงจำเป็นต้องใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อเอาชนะ สงคราม แม้จะเกิดความรุนแรงและความสูญเสียก็ตาม

บดบังความจริงอันตรายใหญ่หลวง


รายงานของ สกว. ยังระบุถึงเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ นั่นคือการใช้กำลังทหาร “ขอคืนพื้นที่” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ตามมาด้วยการปะทะและการปรากฏตัวของ “ชายชุดดำ” กลุ่มติดอาวุธที่ยังไม่สามารถระบุได้ รัฐบาลจึงตัดสินใจใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ทำให้ผู้ชุมนุมต้องใช้วิธีการตั้งรับหรือตอบโต้ด้วยความรุนแรงในนาม “การป้องกันตนเอง” และทำให้ผู้ชุมนุมที่มีลักษณะรุนแรงสุดโต่งซึ่งเป็นส่วนน้อยมีอิทธิพลต่อ ขบวนการเคลื่อนไหวมากขึ้น

การปรากฏตัวของ “ชายชุดดำ” ที่นำไปสู่การสูญเสียของฝ่ายทหารจึงทำให้การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้ง หลังเป็นลักษณะการทำสงครามมากกว่าการสลายการชุมนุม โดยเน้นการโจมตีก่อนเพื่อป้องกันการสูญเสียของฝ่ายเจ้าหน้าที่

คณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธียังเตือนว่าอันตรายใหญ่หลวงจะบังเกิดขึ้นกับ สังคมหากฝ่ายความมั่นคงมองไม่เห็นความจริงในสังคม หากการตัดสินใจของฝ่ายรัฐในสถานการณ์ขัดแย้งที่ล้ำลึกนั้นเชื่อมโยงกับงาน ข่าวความมั่นคงที่มีข้อมูลและการข่าวแบบความเชื่อบดบังความจริง ซึ่งต้องยอมรับว่าในภาพใหญ่ของสังคมไทยขณะนี้กำลังเปลี่ยนแปลง และคำตอบความมั่นคงของสังคมไทยที่ยั่งยืนในอนาคต ผู้มีอำนาจต้องไม่เลือกข่าวเฉพาะที่ตอบสนองต่อเป้าหมายของตนเอง หรือโดยอาศัยกำลังทหารเป็นหลัก

“อัมสเตอร์ดัม” สู้ไม่ถอย

ด้านนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความสำนักงานทนายความอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ซึ่งเป็นทนายความของ นปช. ในการยื่นเรื่องฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court-ICC) ที่วิดีโอลิ้งค์มายังที่ชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยอมรับว่าการที่ไอซีซีจะรับคดีมีน้อย แต่จะรวบรวมหลักฐานและยื่นคำร้องไปใหม่เพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับ แม้จะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากไอซีซี แต่ทีมทนายจะหาวิธีช่วยคนเสื้อแดงที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายให้ได้ ทั้งที่ผู้ก่อการร้ายตัวจริงคือคนที่สั่งฆ่าประชาชนอย่างเลือดเย็น

นายอัมสเตอร์ดัมยืนยันว่า ตราบใดที่รัฐบาลนี้ยังอยู่ในอำนาจจะต่อสู้อย่างไม่หยุดยั้งเพื่อเปิดโปงการ ก่ออาชญากรรมในประเทศไทย และตราบใดที่องค์กรต่างประเทศยังเพิกเฉยก็จะต่อสู้ต่อไป โดยจะเขียนจดหมายถึงสถานทูตต่างๆว่า We Count to เพื่อแสดงว่าคนเสื้อแดงยังมีตัวตนอยู่และต้องการความยุติธรรม นอกจากนี้ทีมทนายความจะผลักดันพรรคประชาธิปัตย์ออกจากสมาพันธ์เสรีนิยม ระหว่างประเทศ เพราะปกปิดคดีอาชญากรรมระหว่างมนุษยชาติ

“ผมคงอยู่ในโลกไม่ได้หากปล่อยให้ปิศาจอยู่ในโลก แม้ประเทศไทยไม่ได้ลงสัตยาบันกับไอซีซี แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ผิดพลาดที่ยังไม่สละสัญชาติอังกฤษที่ได้รับโดยกำเนิด ฉะนั้นนายอภิสิทธิ์ยังอยู่ในเขตอำนาจของไอซีซี จึงไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่การก่ออาชญากรรม ผมและทีมงานจะนำเรื่องร้องทุกข์ขึ้นสู่กระบวนการให้สำเร็จ ขอให้เชื่อมั่นว่าการต่อสู้จะดำเนินต่อไป ไม่ปล่อยให้ฆาตกรลอยนวล แกนนำ นปช. จะไม่โดนขังคุกอย่างไม่ชอบธรรมแน่นอน”

ประชาชนปฏิวัติ!

ดังนั้น ตราบใดที่นายอภิสิทธิ์ยังเป็นรัฐบาล และดีเอสไอยังเป็นเจ้าของคดี 91 ศพ การชันสูตรพลิกศพจะยังมืดมน และไม่มีวันที่ “ความจริง” จะปรากฏว่าแต่ละรายเสียชีวิตอย่างไร ใครเป็นคนยิง ทั้งที่สังคมไทยและคนทั่วโลกรู้ดีว่าใครเป็นคนสั่ง ใครเป็นฆาตกร
การได้มาซึ่งความจริงและความยุติธรรมจึงเป็นไปไม่ได้เลยหากคนเสื้อแดงจะรอ ความหวังจากรัฐบาลและกระบวนการยุติธรรมที่วันนี้ผูกพันและถูกครอบงำโดยกลุ่ม อำมาตยาธิปไตย ความยุติธรรม 2 มาตรฐานจึงเป็นความชั่วร้ายที่แม้แต่อำนาจตุลาการยังเกิดวิกฤตศรัทธาอย่าง ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

อย่างที่สำนักข่าวอัลจาซีราตีพิมพ์บทความเรื่อง “อะไรที่ทำให้การปฏิวัติสำเร็จ” ของนาย Roxane Farmanfarmaian นักวิชาการรัฐศาสตร์และต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และศูนย์ตะวันออกกลางมหาวิทยาลัยยูทาห์ ซึ่งอยู่ในอิหร่านช่วงเกิดการปฏิวัติและวิกฤตตัวประกันที่อิหร่านจับชาว สหรัฐเป็นตัวประกันถึง 444 วัน เปรียบเทียบการปฏิวัติอิหร่านเมื่อปี 1979 กับการประท้วงใหญ่ในอียิปต์ว่า การปฏิวัติอิหร่านให้บทเรียนที่อียิปต์ 5 บทเรียนสำคัญคือ 1.การปฏิวัติต้องใช้เวลา 2.ระบอบที่หยั่งรากไม่จากไปอย่างเงียบๆ 3.กองทัพไว้ใจอะไรไม่ได้ 4.การนัดหยุดงานเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ และ 5.การเบี่ยงเบนสื่อที่ถูกควบคุมโดยรัฐเป็นความสำเร็จสำคัญ

โดยเฉพาะการลุกฮือของประชาชนในอียิปต์นั้นสะท้อนถึงยุคสมัยที่การประท้วง เริ่มต้นจากการใช้บล็อกและทวิตเตอร์ รวมถึงมีแรงสะสมจากรายการโทรทัศน์บนอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค และโทรศัพท์มือถือ แม้ว่าประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค จะสั่งตัดอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ แต่ไม่สามารถปิดกั้นการสื่อสารได้

ขณะที่นายอภิสิทธิ์กลับกลายเป็น “ตัวตลกโลก” เมื่อผู้สื่อข่าวต่างชาติให้ออกความเห็นถึงนายมูบารัคซึ่งขณะนั้นกำลังถูก ชาวอียิปต์ลุกฮือขับไล่ว่าควรเคารพความต้องการของประชาชนและปฏิบัติหน้าที่ ของตนเอง ทั้งยังฝากถึงผู้นำประเทศที่เผชิญกับการลุกฮือของประชาชนว่าต้องรู้จักอดทน อดกลั้นและไม่ใช้ความรุนแรง แต่กรณีรัฐบาลไทยและกองทัพต้องใช้ความรุนแรงกับคนเสื้อแดงจนมีผู้ชีวิตและ บาดเจ็บมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะมีการยิงอาวุธระเบิดและบุกรุกเข้าไปในโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบ ร้อยของประเทศ

คำพูดของนายอภิสิทธิ์จึงสะท้อนชัดเจนว่าทำไม 9 เดือนที่ผ่านมาคนเสื้อแดงจึงยังต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ความยุติธรรมและ ประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชนกลับคืนมา เหมือนคนตูนิเซียและอียิปต์ที่ทำให้ผู้นำเผด็จการทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง และรัฐบาลประเทศต่างๆทั่วโลกที่ยังปกครองภายใต้อำนาจเผด็จการต้องหวาดผวาและ ปรับตัวก่อนจะถูกประชาชนปฏิวัติ

คนเสื้อแดงจึงมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะต่อสู้เพื่อ ให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมและประชาธิปไตยที่แท้จริงของประชาชน ไม่ใช่ แค่ให้ปล่อยตัวคนเสื้อแดงชั่วคราว

เพราะประวัติศาสตร์ทั่วโลกยืนยันว่าไม่มีอำนาจใดจะยิ่งใหญ่เท่าอำนาจของประชาชน!


ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 299 วันที่ 19-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 หน้า 16-17 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 17, 2554

จะทรมานกันไปถึงหนายยย



iheredottv | กุมภาพันธ์ 17, 2011 |

ขอต้อนรับเข้าสู่สิ้นหวังเสียแล้วดอททีวี ประจำวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 กับประเด็นข่าวอินเทรนด์ไม่มีเอ๊าท์มาเล่า­ให้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพยายามก่อสงครามชายแ­ดนที่ บลัฟกันไปมา พลอยชาวบ้านตาดำๆ ก็ต้องรับความซวยกันไป แถมยังเลยเถิดกลายเป็นเรื่องใหญ่โตอีก แล้วไหนจะเรื่องงับลับ เอ๊ยงบลับที่เกี่ยวโยงกับเครื่องบินเอฟ 16 ของบ้านเราอีก พอมีปัญหามากเข้า ก็วกกลับมาที่เรื่องยุบไม่ยุบอีกนั่นแหละ ตกลงเราเลือก สส. มาให้ทำแค่นี้ใช่ไหมเนี่ย เฮ่อ จะทรมานกันไปถึงไหนเนี่ยยยยยย และตามติดข่าวต่างประเทศกับการโค่นล้มอำนา­จในอียิปต์ และประเทศอื่นๆ อีกนิดหน่อย ติดตามทั้งหมดได้ใน เจาะข่าวตื้นคลิปนี้ได้เลยฮ้าว์ฟฟ

คุ้ยปมปัญหาพรมแดนกับเขมร "ธงชัย - สุรชาติ" ชี้ ไทยมั่วไร้สาระกับ "ประวัติศาสตร์เสียดินแดน"


เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมาลัยหุวนันท์ ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนาทางวิชาการ "รัฐศาสตร์ภาคประชาชน ครั้งที่ 1" เรื่อง "ฝ่าวิกฤตชายแดนไทยเขมร" โดยมี ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย วิสคอนซิล-เมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และ รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รศ.ดร.สุรชาติ กล่าวว่า การเรียนวิชาประวัติศาสตร์พูดผิวเผินเรื่องการเสียดินแดน ไม่ได้โทษว่าหลักสูตรไม่ดี แต่คิดว่ากระบวนการกล่อมเกลาไม่ได้สร้างให้เรารู้ภาพบางเรื่อง โตขึ้นมาก็ไม่รู้ พอมีปัญหาก็ไม่ชัดเจนกับตัวเอง และคิดว่าคนไทยยุคหลังลืมว่าศาลโลกตัดสินเรื่องเขาพระวิหารในปี พ.ศ. 2505 แล้ว เราลองย้อนไปนั้นมันเกิดอะไรขึ้น


ฝรั่งเศสเข้าสู่ภูมิภาคเราประมาณค.ศ. 1859 เขาได้ไซง่อน เริ่มขยายอิทธิพลไปในแม่น้ำโขง แน่นอนว่าปะทะกับผู้มีอำนาจรัฐในท้องถิ่นที่เป็นหลักอยู่ อย่างพวกโพกผ้า, พวกอยู่ตรงกลาง และพวกด้านตะวันออกของพรมแดนเรา ต่อมาก็เหลือเจ้าพ่อเดียว ตรงลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่วันหนึ่งก็ต้องเผชิญกับเจ้าพ่อจากปารีส คิดว่าเริ่มเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงชุดใหญ่ เมื่อถึงจุดนี้สิ่งที่ฝรั่งเศสคิดว่าเป็นอุปสรรคในการขยายตัวคือ พื้นที่ของสยามที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่คิดว่าจะขยายอิทธิพล


จุดที่ใหญ่ที่สุดคือวิกฤติการรศ. 112 ที่เรือของฝรั่งเศสถึงขั้นตั้งศูนย์ยิง แต่โชคดีคือเรายิงเรือนำล่องของฝรั่งเศสจม ถ้าวันนั้นพลแม่นปืนยิงเรือรบหลักอีกสองลำจมการเจรจาที่กทม.ก็คงไม่เกิดและ เราอาจพูดภาษาฝรั่งเศสกันทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นเวลาที่การเจรจาเกิดทำให้เกิดสนธิสัญญา 1893


หลังจาก 1893 นั้นก็มีการทำการตกลงพ่วง เรียกว่าเป็นอนุสัญญา 1904 เป็นผลพวงจากปี 1893 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นพอตกลงได้ฝรั่งเศสก็ออกไปยึดเมืองตราด สุดท้าย เราเริ่มมีปัญหาคือเราไม่มีเส้นเขตแดนกำกับตัวประเทศ แต่ที่เรารับเข้ามาคือความเป็นรัฐสมัยใหม่ หรือประเทศ สองคือ เมื่อเป็นประเทศก็มีตัวเส้นเขตกำกับขอบเขตของภูมิศาสตร์ ของตัวเอง เพราะความเป็นสมัยใหม่มีอำนาจอธิปไตยจึงต้องตอบว่าอำนาจอธิปไตยของรัฐสิ้น สุดตรงไหน เพราะฉะนั้น เมิ่อเริ่มพูดใน 1904 ร. 5 จึงคิดว่าสยามต้องเป็นประเทศเหมือนในยุโรปเพราะหวังว่ามีเส้นเขตแดนแล้วสยาม จะมีข้ออ้างเมื่อฝรั่งเศสรุกเข้ามา


ปี 1907 ในหลวงร.5 เราแลกดินแดนเพื่อยุติปัญหากับฝรั่งเศส เราแลกดินแดนสามส่วนซึ่งขอเรียกว่าตรงนี้ว่า พระราชวินิจฉัยทางยุทธศาสตร์ สัญญาเหล่านี้เป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ของฝรั่งเศสทั้งหมด เมื่อมีการตกลงแล้วก็ต้องมีการปักปัน เมื่อการปักปันเริ่มขึ้นนำไปสู่การตีพิมพ์แผนที่ปักปัน


อนุสัญญากับหนึ่งแผนที่นั้น เป็นคำถามกับเราว่า ตกลงเรารับหรือไม่ว่าในหลวงของเราได้ให้สัตยาบันแล้ว เพราะเมื่อมีการให้แล้ว ปัญหาคือข้อหนึ่งของอนุสัญญาระบุว่าการปักปันเขตแดนให้ใช้เส้นน้ำ และข้อสามที่ว่ามีการให้จัดคณะกรรมการร่วมจัดการปักปัน ถ้าเราไม่ยอมรับว่าการปักปันเกิดขึ้นจริงหรือ ยอมรับหรือไม่ว่าเป็นการปักปันแบบผสม ซึ่งยืนยันได้ว่าข้อสามมีการจัดตั้งคณะกรรมการผสม เพราะฉะนั้น ข้อถกเถียงตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ว่าการปักปันเป็นการดำเนินการโดยเอกเทศนั้น เป็นความเข้าใจผิด เพราะเรามีเอกสารยืนยันว่าเป็นการร่วม


ส่วนปัญหาการรับหรือไม่รับแผนที่นั้น แนวพรมแดนเราปักปันแบ่งออกเป็น 11 ระวาง เมื่อแผนที่ที่ปักปันตีพิมพ์เสร็จรัฐบาลไทยก็ขอให้รัฐบาลฝรั่งเศสตีพิมพ์ เพิ่มขึ้นอีก คำขอในการสั่งตีพิมพ์จากรัฐบาลสยามถือเป็นผลผูกมัดว่ารัฐบาลยอมรับแผนที่ปัก ปันเขตแดนแล้ว แผนที่หนึ่งต่อสองแสนที่เราได้ยินนั้นก็คือแผนที่ชุดนี้


ประเด็นการรับแผนที่บางระวางและไม่รับระวาง คำตอบคือเป็นไปไม่ได้ เพราะถ้ารับคือต้องรับทั้งแนว ส่วนเรื่องเอกสารลับ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่มีแผนที่ลับ ความตกลงลับอยู่ตามที่บางคนเข้าใจ พอมีปัญหาในปีพ.ศ. 2502 ศาลตัดสินชัดลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของ กัมพูชา ไทยต้องรับเพราะมีมติจากยูเอ็น เราทำรีพอร์ทกลับไปว่าเราได้ดำเนินการคือ ต้องชักธงไตรรงค์ลงจากหน้าผา, คืนวัตถุโบราณบางชิ้น คำถามคือพื้นที่รอบปราสาทนั้นมีเส้นหรือไม่ เวิ้งตรงนั้นเราตัดแล้ว แต่มันเกิดข้อโต้แย้งว่ากัมพูชาได้แต่ตัวปราสาท แต่พื้นที่ใต้ตัวปราสาทเป็นของไทย จนมีทฤษฎีเรื่องมือถือ ซึ่งกล่าวว่ากัมพูชาลืม "มือถือ" เอาไว้บน "โต๊ะ"ของไทย ซึ่งเรื่องอสังหาริมทรัพย์กับสังหาริมทรัพย์มีความต่างกัน


ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ นั้นได้บอกว่าการสงวนสิทธิทางกฎหมายให้ไทยสามารถยื่นหลักฐานโต้แย้งได้ แต่ทางไทยไม่ได้มีหลักฐานใหม่ในทางกฎหมายซึ่งเกินระยะเวลา 10 ปีมาแล้วด้วย


ข้อโต้แย้งสงครามอินโดจีน อนุสัญญาโตเกียวนั้นไปจบที่วอชิงตันแล้ว ท้ายที่สุดเราคืนดินแดน เมื่อปัญหาผ่านมาทั้งหมดเราทำความตกลงช่วยจำหรือที่เรียกว่า "เอ็มโอยู 43" คือกรอบของการทำความตกลง ว่าถ้าในอนาคตข้อตกลงที่จะใช้เป็นบรรทัดฐานจะอยู่บนหลักฐาน "สามอนุสัญญาและหนึ่งแผนที่ปักปัน" เพราะฉะนั้นเลิกหรือไม่เลิก ข้อตกลงของเดิมก็ไม่ออกไปไหน


แผนที่หนึ่งต่อห้าหมื่นเป็นแผนที่ที่กองทัพสหรัฐทำในช่วงเวียดนาม แผนที่ทหารเป็นแผนที่ยุทธการไม่ใช่แผนที่เพื่อการปักปันเขตแดน ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้ออ้างได้เพราะเป็นแผนที่เพื่อการทหาร ตกลงวันนี้พื้นที่ทับซ้อนแนวเส้นเขตแดนเกิดจากเส้นลากในคณะกรรมการปักปัน รอยเหลื่อมระหว่างเส้นเขตแดนระหว่างสันปันน้ำ ที่ขอบหมายความว่าเราต้องทำใจเพราะปี 2505 กัมพูชาไม่ได้ฟ้องเรื่องเขตแดนถ้าฟ้องคงเป็นเรื่องปัญหามากกว่านี้


ถ้าประเด็นเป็นแบบนี้ ประเด็นจะไปถึงเรื่องทางออกสุดท้ายคือ "การรบที่ภูมิซรอล" เพราะถ้าเราไม่รับอะไรเลย ต้องกลับไปอ่านประวัติศาสตร์ใหม่ เพราะรัฐบาลแต่ละช่วงก็ดำเนินการอย่างประนีประนอม เพื่อไม่ให้กลับไปสู่การนำไปสู่การตัดสินด้วยภายนอกอย่างสมัยที่มีการตัดสิน ด้วยศาลโลก


ศ.ดร. ธงชัย กล่าวว่า มีด้วยกัน 4 ประเด็นใหญ่ คือ 1. ฐานสาเหตุที่ปะทุขึ้นมาของความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและการเสียดินแดน จะเรียกว่าลัทธิความเชื่อก็ได้ "ลัทธิชาตินิยมไทย" แยกไม่ออกตั้งแต่ต้นเรื่องการเสียดินแดน 2. การตีเส้นเขตแดน ความเข้าใจผิดเรื่องเส้นเขตแดน 3. เรื่องกรณีปราสาทเขาพระวิหาร 4. ความขัดแย้งไทย กัมพูชาไม่ใช่เรื่องเส้นเขตแดนทั้งสิ้น แต่เป็นเพราะเรื่องการเมืองไทย


ศ.ดร.ธงชัย กล่าวเปรียบเทียบปัญหามีเรื่องใหญ่มากเหมือนช้างตัวหนึ่งอยู่ในห้องแต่สังคม ไทยเรามองไม่เห็น ตราบใดที่เรายังไม่ตระหนักว่ามีช้างอยู่ในห้องก็ไม่รู้ต้องรบกันอีกกี่ร้อย ยก เริ่มจากประเด็นเรื่องที่ 1. อุดมการณ์ชาตินิยม เรื่องการเสียดินแดนซึ่งเคยเขียนไปแล้ว แต่ที่คนอ่านไม่รู้เรื่อง อาจจะเพราะว่าขัดกับความเชื่อ


"เราถูกสอนมาตลอดว่า เราเสียดินแดน แต่ผมมาบอกว่า เราไม่เสียดินแดน แต่เคยมีสักคนถามไหม ว่า มีหลักฐานอะไรว่าเราเสียดินแดน เพราะเราเสียดินแดนตั้งแต่ก่อนมีคนไทยอีก ก่อนมีประเทศไทยอีก ความคิดเรื่องการเสียดินแดนมีหลายประเทศในเอเชีย ชาตินิยมหลายประเทศในเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อรูปก่อร่างออกมาโดยมีลัทธิความเชื่อ ที่พูดถึงการถูกทำให้ละอาย อย่างแสนสาหัส เขาต้องประกาศว่าตัวเองถูกรังแกให้น่าละอาย แต่ถูกรังแกบ่อยเหลือเกิน ทั้ง จีน เกาหลี ไม่ใช่เพื่อประจานตัวเอง แต่เพื่อปลุกเร้าชาตินิยม ในการเสียดินแดน ประเทศไทยมีความภาคภูมิใจว่าไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่อีกด้านหนึ่งที่เราบอกว่าตัวเองเสียดินแดน"


ศ.ดร.ธงชัย กล่าวว่า ทั้งหมดเป็นความเชื่อ จึงยากมากที่จะสลัดความเชื่อออกไปได้ ความเป็นไทยและชาตินิยมไทย ถือกำเนิดมาพร้อมกับการถูกคุกคาม แยกกันไม่ออก มา 100 กว่าปี กำเนิดมาด้วยกันกับลัทธิเสียดินแดนค้ำจุ้นความเป็นไทยไว้ ความภูมิใจของการไม่เป็นเมืองขึ้นถูกปลุกมาพร้อมกับความเจ็บปวดเรื่องเสีย ดินแดน ในยุโรปก็ประมาณ 200 ปี เริ่มมีเรื่องความขัดแย้ง เรื่องอธิปไตยเหนือดินแดน มีการเสียดินแดน ที่เสียมาได้ไปอยู่อย่างนี้


"รัฐสมัยโบราณ เป็นรัฐแบบเจ้าพ่อ ไม่ได้ตายตัวแบบอธิปไตยเหนือดินแดน เหมือนเราเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1ที่ 2 ไม่ได้หมายความว่าเราเสียดินแดน หรือการเป็นเมืองขึ้น หรืออย่างกรณีพระนเรศวรประกาศอิสรภาพก็ไม่ได้หมายความอย่างนั้น สมัยที่พระนเรศวรเข้มแข็งเพราะทางพม่าอ่อนแอลง จากเอกสารเก่าพระนเรศวรไม่เคยประกาศอิสรภาพ แต่ประกาศแยกตัวออกมาจากพม่า เพราะการประกาศอิสรภาพหมายถึงเราต้องใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาค"


ศ.ดร.ธงชัย กล่าวอีกว่า ระบบเมืองขึ้นสยามในสมัยนั้นขึ้นต่อเมืองอื่นเกินสองแห่งทั้งนั้น ขอถามว่ามีเมืองขึ้นใดบ้างที่จ่ายเครื่องบรรณาการ ต่อเมืองสยามเพียงแห่งเดียวซึ่งไม่มีเลย เราเชื่อแผนที่สุโขทัย เชื่อแผนที่ว่า ร.1 มีพื้นที่ใหญ่เท่านั้นเท่านี้ การเสียดินแดน 14 ครั้ง อาศัยแผนที่ทางประวัติศาสตร์ ไม่น่าเชื่อถือเลย เพราะถูกสร้างขึ้นมา แม้จะรู้เป็นอย่างดีว่าประเทศเหล่านั้นไม่ได้ขึ้นต่อประเทศสยามแต่เพียงผู้ เดียว


"นอกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม.แล้ว มีพื้นที่ซ้อนทับเต็มไปหมด เพราะเราคิดว่า เป็นที่ของเรา การเสียดินแดน 14 ครั้ง เป็นความเชื่อแบบผิดๆ ร้อยปีก็เปลี่ยนไม่ได้ ถ้าอยากเชื่ออย่างนั้นว่าคนไทยมาจากไหน ถูกจีนไล่มา เราเสียดินแดนมองโกเลียในแถบเขาอัลไต ถูกไล่มาเรื่อย ๆ เราเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ไร้สาระ ลัทธิการเสียดินแดน เป็นความเชื่อในประวัติศาสตร์ที่ผิดๆ ลัทธิชาตินิยม สร้างความเจ็บปวด จากการเสียดินแดน ทั้งหมดเป็นลัทธิความเชื่อ ที่ไม่มีมูลทางประวัติศาสตร์ ยากเหลือเกินที่จะทำให้คนเชื่อว่าเป็นลัทธิไร้สาระได้"


ศ.ดร.ธงชัย กล่าวว่า หลักฐานความทรงจำของสงครามอินโดจีนที่ไทยบุกไปยึดดินแดนของกัมพูชา ที่สำคัญ คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แต่ในการจัดงานแต่ละครั้งไม่มีการรำลึกถึงทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน แต่เป็นอนุสาวรีย์ที่ใช้กับอะไรก็ได้ เพราะใช้ในการรำลึกทหารผ่านศึก เพื่อลบความทรงจำในการต่อสู้ที่อินโดจีน


ศ.ดร.ธงชัย กล่าวถึงประเด็นต่อมา เรื่องเส้นเขตแดน คือ มรดกยุคอาณานิคม ใครก็แล้วแต่ ที่บอกว่าอย่าไปเชื่อเส้นเขตแดนยุคอาณานิคม เพราะชาติไทยทั้งชาติเป็นมรดกยุคอาณานิคมที่มีเส้นเขตแดนมากมายรอบประเทศไทย ในปัจจุบัน แล้วทำไมจะไม่ยอมรับแค่เส้นเขตแดนเขาพระวิหาร หากจะรบกันสามารถรบได้ทุกจุดรอบประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย หากจะรู้ว่ารบตรงไหนจะชี้ให้ว่ารบตรงไหนบ้าง หากจะใช้วิธีอย่างปัจจุบัน รบรอบประเทศไทยเลย เพราะว่าพรมแดนที่ยุคอาณานิคมทิ้งไว้เข้ากันไม่ได้กับรัฐยุคโบราณ และเส้นเขตแดนตัดกลางชุมชนที่เป็นวัฒนธรรมเดียวกัน พวกเขาจึงต้องข้ามไปหากัน เส้นเขตแดนสันปันน้ำ สภาพทางภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลง ร่องน้ำลึกเปลี่ยนไปสันปันน้ำก็เปลี่ยนได้ พรมแดนธรรมชาติเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นสันปันน้ำที่อยู่ในสนธิสัญญาจึงไม่ใช่เส้นเขตแดน


"เขตแดนจึงเป็นเรื่องเทคนิคอยากรบ รบได้รอบประเทศไทย ถ้าหากไม่อยากรบ เป็นเรื่องของเทคนิคปล่อยให้เจ้าหน้าที่เทคนิคจัดการแล้วปล่อยให้รัฐบาลที่ มีความสัมพันธ์ดีต่อกัน จัดการไม่ดีกว่าหรือ เพราะมันตกลงกันไม่ได้ แต่ถ้าใครไปยื้อให้รบกันตาย" ศ.ดร.ธงชัย กล่าว


ศ.ดร.ธงชัย กล่าวต่อว่า เรื่องพรมแดนธรรมชาติมีปัญหาอยู่จริง แต่ยังมีพรมแดนที่มนุษย์สร้างกันเองเป็นปัญหา อย่างเรื่องพรมแดนเขาพระวิหารเป็นหน้าผา และมีคลองบ้าง ส่วนใหญ่เป็นทุ่งโล่ง หมายความว่า การข้ามเขตรู้บ้างไม่รู้บ้างมีเป็นประจำ หลักเขตที่ปักไว้โบราณจริงๆ ยกออกได้ง่ายลักษณะเหมือนหลักกิโล ช่วงอรัญประเทศ เพราะว่ารัฐไทยเคยใช้ให้เป็นทางผ่านที่เขมรแดงใช้รบหลบเข้ามาในประเทศไทย มีอยู่ช่วงหนึ่งที่แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะว่าทุ่นระเบิดเต็มไปหมด เฉพาะทหารเท่านั้นที่ผ่านไปได้ การแก้ปัญหาหลักเขต จะไปแก้ปัญหาเหล่านั้นแก้ได้ยาก กว่าจะไปแก้ได้คงอีกนาน พรมแดนที่มีการวางทุ่นระเบิดประมาณสามล้านลูก ในชายแดนไทยเขมร ซึ่งเป็นทุนระเบิดสารพัดประเทศที่หาคนกู้ได้ยากมาก


"คิดว่าจะเกิดอะไรกับภาษาไทยถ้าคืนคำว่า "ก็" ให้เขมร คงเกิดความโกลาหลกับประเทศไทยเราคงพูดไม่ออกไปอีกเยอะเลย เพราะภาษาไทยไม่มี "ไม้ไต่คู้" หรอก"


ศ.ดร.ธงชัย กล่าวว่า ปัญหาพรมแดนเกิดจากเรื่องมากมายที่น่าสนใจ รากของปัญหา คือ การเมืองไทย หากความสัมพันธ์ไทยกับเพื่อนบ้านก็เกิดความสัมพันธ์ที่ดี เหมือนไทยกับมาเลเซียเป็นพรมแดนที่สั้่นที่สุด แต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ แต่พัฒนาเป็นเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม ส่วนรากของปัญหาไทยที่ขัดแย้งกับกัมพูชา คือ การเมืองไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก


"จึงขอฝากช่วยกันคิดหน่อยว่า ถึงวันนี้ในความเห็นผม คิดว่าเวลาผ่านไปมองย้อนหลัง เราน่าจะเข้าใจวิกฤตได้ดีกว่าเดิม หลังผ่านวิกฤตฝุ่นตลบ ปัญหาชายแดนไทยเขมรเป็นโรคที่เกิดจากอะไร ในความเห็นของผม คือ เป็นโรคที่เกิดจากสอง ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม และชนบทเปลี่ยนไปมากแล้ว แต่ชนชั้นนำไทย ไม่เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อระบบเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยน การเมืองก็ต้องเปลี่ยน ต้องปรับให้สอดคล้องกับกล่มชนชั้นเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ในการเปลี่ยนแปลงนั้น เขาได้รู้ว่าระบบการเลือกตั้งที่คนกรุงรังเกียจหนักหนา แต่สำหรับเขามีประโยชน์มาก การจะไปแสวงหาการเลือกตั้งที่ใสสะอาดไม่มีทาง หากเรายอมรับว่าระบบการเลือกตั้งไม่ได้สมบูรณ์ที่สุด แต่เอื้อสะท้อนผลประโยชน์ ที่นำมาแลกกันแล้วตกลงด้วยสันติ แค่นั้นเอง เศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนไปแล้ว แต่ระบบประชาธิปไตยที่กำลังเคลื่อนไปก็ถูกสกัดอย่างแรง


"ระบบการเมืองถูกทำลายเพราะกลัวว่าฝ่ายการ เมืองจะขึ้นมาเป็น ผู้มีบทบาทในการคัดเลือกบุคคลขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญสูง สุดในช่วงเปลี่ยนผ่าน เรื่องนี้มีทางออกทางเดียวเท่านั้น คือ ปรับระบบการเมือง การแก้ปัญหาต้องประนีประนอม ปล่อยตัวแกนนำเสื้อแดง เพื่อเปิดประตูที่จะนำไปสู่เรื่องความอึดอัดให้มาอยู่ในกรอบ และยกเลิกกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมทั้งคณะกรรมการปฏิรูป 600 ล้าน ที่แตะทุกเรื่องยกเว้นเรื่องที่ควรจะแตะ"


Source: Matichon Online
(update: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 19:10:00 น.)

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 15, 2554

คลิปฟ้องชาวโลก.ฉายที่สภาสูงอังกฤษ




As political unrest continues in Thailand since the military crackdown between the Red Shirts and soldiers in Bangkok on April 10th 2010 saw the deaths of 92 pro-democracy demonstrators, families of victims are still fighting for justice


Ref: jimbandon http://www.youtube.com/watch?v=N_NgTLDtmL0

13 2 54 จตุพร ขึ้นปราศัยเเละโฟนอิน พ ต ท ทักษิณ ชินวัตร


13 2 54 จตุพร ขึ้นปราศัยเเละโฟนอิน พ ต ท ทักษิณ ชินวัตร part 1



13 2 54 จตุพร ขึ้นปราศัยเเละโฟนอิน พ ต ท ทักษิณ ชินวัตร part 2



13 2 54 จตุพร ขึ้นปราศัย part 1



13 2 54 จตุพร ขึ้นปราศัย part 2



13 2 54 จตุพร ขึ้นปราศัย part 3



13 2 54 จตุพร ขึ้นปราศัย part 4



13 2 54 จตุพร ขึ้นปราศัย part 5

A Letter to a Khunying from Nai Cherng Kaenkeo:จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว

จาก ไทยอีนิวส์

A Letter to a Khunying from Nai Cherng Kaenkeo:จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว
(14 February 2011)

ถึง คุณหญิง และกัลยาณมิตร

(1) Happy Valentine’s Day และขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวันแห่ง “ความรัก” ขอ “สันติภาพ” จงบังเกิดต่อพี่น้องร่วมชาติของเราใน “สยามประเทศไทย” กับมนุษยชาติ “ข้ามพรมแดน” ใน “เขมรกัมพูชา” ในลาว ในอุษาคเนย์ และใน “ประชาคมอาเซียน”

(2) ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ทำให้ผมนึกถึงข้อคิดข้อเขียนของ อ. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อันเป็นที่รักเคารพของเรา “จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” (From Womb to Tomb) ที่กล่าวไว้ว่า


“เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ
คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น
ตายในสงครามกลางเมือง
ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์
ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ
หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ”



(3) ผมเชื่อว่า “การเมือง (ที่) เป็นพิษ” ในการเมืองภายในของบ้านเมืองเรา ที่ลามปามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จาก “สันติภาพ” (Peace) กำลังกลายเป็น “สงคราม” (War) จาก “สนามการค้า” (Market Place) กลับเปลี่ยนเป็น “สนามรบ” (Battlefield) นั้น ด้านหนึ่ง มาจากกิเลศและตัณหา จาก “โลภ-โกรธ-หลง” และอีกด้านหนึ่งมาจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” ขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่ “บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำเอาไว้ และขาดการเคารพกติการะเบียบของสังคมโลกที่เป็น “สากล” และเป็น “อารยะ”

(4) ปัญหาที่มาจากกิเลศและตัณหา ว่าด้วย “โลภ-โกรธ-หลง” นั้น ก็คือ

โลภ เพราะอยากได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่”
โกรธ เพราะไม่ได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่”
หลง เพราะคิดว่าอาจจะได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่”



(5) ส่วนปัญหาที่เกิดจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” และจากการขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่ “บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำไว้ ก็คือเรื่อง “หนังสือสัญญา” ฉบับต่างๆ และแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น)ที่ “สยาม” Siam ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับ เสนาบดีพระหัตถ์ซ้าย-ขวาของท่าน คือ คือ สมเด็จกรมเทววงศ์ (การต่างประเทศ) และสมเด็จกรมดำรงฯ (มหาดไทย) จำต้องทำและให้สัตยาบันไว้กับฝรั่งเศสไม่ว่าจะเป็นฉบับ ค.ศ. 1893-1904-1907 (ตรงกับ ร.ศ. 112, 122, 125 และตรงกับ พ.ศ. 2436, 2447, 2450 ตามลำดับ)

(6) รวมทั้งแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น ที่มักจะรู้จักกันในนามของ 1: 200,000) ที่ขีดเส้นพรมแดนครอบคลุมดินแดนจากแม่น้ำโขงตอนบน (แม่กบ-เชียงล้อม)-น่าน-เทือกพนมดงรัก-ตลอดลงมาจนถึงเมืองตราด อันเป็นผลงานของ “คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม” (Commission de Delimitation entre l’Indochine et Le Siam) และอัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร) ที่ทรงรับมาเป็นจำนวน 50 ชุด และส่งกลับมากรุงเทพฯ ถวายให้กับเสนาบดีการต่างประเทศ คือ สมเด็จกรมฯ เทววงศ์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2451 (1908)


(7) การที่ต้องทำหนังสือสัญญาต่างๆข้างต้น การที่ต้องให้สัตยาบัน และการที่ต้อง “รับ” แผนที่ 11 ระวาง (แผ่น) นั้นมา ก็เป็นไปตามปรัชญาความเชื่อว่าด้วย “ชาติ” ของ “ราชาชาตินิยม” หรือ Royal Nationalism ที่จะต้องรักษา “เอกราช-อธิปไตย” ของสยาม/Siam เอาไว้ ต้องยอมรับว่าสยามมีพื้นที่หรือดินแดน “จำกัด” (limited land) เป็นเพียง “รูปขวานทอง” และต้องยอมสละ “ส่วนเกิน” หรือส่วนที่เป็น “ประเทศราช-เมืองขึ้น” ที่ไป “ได้ดินแดน” (ของ “คนอื่น” ของ “เขมร-ลาว-มลายู”) มา ไม่ว่าจะเป็น “เสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณ-จำปาศักดิ์-หลวงพระบาง-เชียงตุง-เมืองพาน” ตลอดจน “เคดะห์-ปลิส-กลันตัน-ตรังกานู” (ที่ต้องยอมยกและแลกเปลี่ยนไปกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2452 หรือ ค.ศ. 1909 ปลายรัชสมัย “เสด็จพ่อ ร. 5”)


(8) แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (1932) พวก “ผู้นำใหม่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก “เสนาอำมาตย์” หรือ “ปีกขวา” นักการเมืองสายทหารของ “คณะราษฎร” ก็เปลี่ยนปรัชญาความเชื่อของตน เปลี่ยนและ “สร้างชาติ” ตามแนวลัทธิ “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” หรือ Military-Bureaucratic Nationalism (แทน “ราชาชาตินิยม” Royal Nationalsim)

ลัทธิใหม่นี้ เปลี่ยนนามประเทศจาก “ราชอาณาจักรสยาม” จาก Siam เป็น “ประเทศไทย” เป็น Thailand พ.ศ. 2482 (1939) รวมทั้งเปลี่ยนเนื้อร้อง “เพลงชาติ” (แต่ไม่ได้เปลี่ยนทำนอง) จากประโยคขึ้นต้นว่า “อันสยาม นามประเทืองว่าเมืองทอง.....” เป็น “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย.....”

แล้วก็ปลุกระดมความ “รักชาติ” การ “กู้ชาติ” ดำเนินการขยายดินแดนด้วยการ “เรียกร้องดินแดน” เพื่อให้ “ประเทศไทย” เป็น “มหาอานาจักรไทย” (สะกดด้วย น. หนู ตามตัวสะกดที่ถูกรัฐบาลให้เปลี่ยนในสมัยนั้น) ดังนั้น “ประเทศไทย” หรือ Thailand ก็มีสภาพเป็น expanded land หาใช่ limited land อย่างของ “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ Siam ไม่

(9) ในปี พ.ศ. 2484-85 หลังการเปลี่ยนชื่อประเทศเพียง 2 ปี ก็เกิด “สงครามอินโดจีน” รัฐบาลของหลวงพิบูลสงคราม ก็ส่งกำลังของกองทัพบก-เรือ-อากาศ บุกเข้าไปยึดดินแดนต่างๆมาได้ อาทิ เมืองเสียมราฐ (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดพิบูลสงคราม”)-ยึดพระตะบอง-ยึดศรีโสภณ-(และปราสาทพระวิหาร)-ยึดจำปาศักดิ์ (และปราสาทวัดพู)-ยึดไซยะบุรี (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดลานช้าง” สะกดโดยไม่มีไม้โท)


รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม “ประกาศสงคราม” กับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ 2485 (1942) และด้วยความช่วยเหลือของ “พันธมิตรญี่ปุ่น “ ก็ทำการยึดเมืองพาน-เมืองเชียงตุง (ในพม่า เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สหรัฐไทยเดิม”) แถมญี่ปุ่นยังมอบรัฐมลายู เช่น “เคดะห์-ปะลิส-กลันตัน-ตรังกานู” ให้มาอีก รัฐบาลพิบูลสงครามเอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สี่รัฐมาลัย”

(10) นี่คือสภาพ “อีรุงตุงนัง” และ “มรดกทางประวัติศาสตร์” ของสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศชาติของเราเกือบถูกยึดเป็น “เมืองขึ้น” และผู้นำของ “อำมาตยาเสนาธิปไตย” หลายคนเกือบกลายเป็น “อาชญากรสงคราม” ถูกจับประหารชีวิต เมื่อมหามิตรญี่ปุ่นถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูแพ้สงครามไป

โชคดีที่มี ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ “ปีกซ้าย” ของ “คณะราษฎร” ตั้ง “ขบวนการเสรีไทย” ทำการใต้ดินขึ้นมา “กู้ชาติ” ไว้ได้ ทำการ “ประกาศสันติภาพ” เมื่อ 16 สิงหาคม 2488 (1945) นี่คือผลงานของ “บรรพชน-มหาบุรุษ” แต่ท่านปรีดี ก็ถูกกำจัดออกไปด้วย “การเมืองทราม-การเมืองเป็นพิษ” (ถูกกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีในกรณีสวรรคตอันมืดมนของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) มีการ “รัฐประหาร พ.ศ. 2490” โดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ที่นำ “อำมาตยาเสนาธิปไตย” ของจอมพล ป. พิบูลสงครามกลับมา และสืบทอดกันต่อๆมาโดยจอมพลสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส ฯลฯ และยังทรงอิทธิพลอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้


(11) จะเห็นได้ว่า “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” ของสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีหลวงวิจิตรวาทการเป็น “มันสมอง” มีทีมงานจากกรมศิลปากร (นายธนิต หรือ นายกี อยู่โพธิ์-นายมานิต วัลลิโภดม หรือทีมงานของกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์) อย่างนายมั่น-นายคง (นายสังข์ พัธโนทัย) ก็ส่งมรดกตกทอดกันมายัง “สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส” ตลอดจนทางสายของนักการเมืองพลเรือนอย่าง “เสนีย์-คึกฤทธิ์ ปราโมช-ควง อภัยวงศ์”

เรื่อยมาจนบัดนี้เป็นเวลากว่า 70 ปี จนถึงรุ่นของจำลอง-สนธิ-โพธิรักษ์-สมปอง-อดุล-ศรีศักร และรัฐบาลในปัจจุบัน

(12) นี่เป็น “หลุมดำทางการเมือง” (Political Black Hole) หรือ “หีบพยนต์-ผะอบนางโมรา” (Pandora’s Box) ที่หากตกลงไปก็ยากที่จะปีนป่ายขึ้นมาได้ หรือถ้าเปิดออกมา (จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม) ก็อาจถึงตายได้ คำถามของเรา ณ บัดนี้ ก็คือเรา (หมายถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ นอก กทม.) จะรอดจาก “บ่วงกรรม” นี้ไปได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรให้ “การเมืองเป็นพิษ” หรือ “การเมืองทราม” กลายเป็น “การเมืองดี” ทำให้ประเทศชาติของเรารุ่งเรือง มีศักดิ์มีศรี มีเกียรติภูมิในวงการระหว่างประเทศ เคารพกติการะเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ ดำเนินการที่เป็น “สากล” และเป็น “อารยะ”


กัลยาณมิตร และเพื่อนๆของผมในกลุ่ม “สันติประชาธรรม” ขอเสนอมายังคุณหญิงอีกครั้งหนึ่ง และขอให้ช่วยนำความไปเรียนต่อ “บุคคลที่อยู่ใกล้ตัวคุณหญิง ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน หรือเป็นทหาร ไม่ว่าจะอยู่ที่ทำงาน หรืออยู่ที่บ้าน” ก็ตาม

ขอให้เรามาช่วยกัน “ปฏิบัติธรรม” ละเสียซึ่งโลภ-โกรธ-หลง ขจัด “อวิชชา” และ “อประวัติศาสตร์” ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันหลีกเลี่ยง “สงคราม” ช่วยกันแสวงหา “สันติภาพ “ ช่วยกันทำให้ “สนามรบ” กลับเป็น “สนามการค้า” อีกครั้ง

ขอให้เรามาช่วยกัน ทำดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของอุษาคเนย์-อาเซียน ที่หลากหลายไปด้วยชาติพันธุ์ ระบบนิเวศ ธรรมชาติและวัฒนธรรม จาก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ถึงพนมดงรัก จากปราสาทพนมรุ้ง ถึงปราสาทพระวิหาร และปราสาทวัดพู จรดแม่น้ำโขงตอนกลาง ณ คอนพะเพ็ง-แก่งหลี่ผี” กลายเป็น “มรดกโลกข้ามเขตแดน” เพื่อ “ความรัก-สันติภาพ-สันติสุข-และอหิงสา” ของ “ประชาคมอาเซียน” ที่ “ไร้พรมแดน” ให้จงได้ (Asean Trans-Boundary World Heritage Sites from Dong Phyayen-Khaoyai to Phnom Dangrek-Prasat Phnom Rung/Preah Vihear/Vat Phou to Khone Papeng/Li Phi Falls and the Middle Mekong Basin)

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อ “ชาติ และราษฎรไทย” ของเรา เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพ่อแม่พี่น้องลูกหลาน หลายพันหลายหมื่นชีวิต ที่อยู่ตามแนวชายแดนกว่า 800 กิโลเมตร จากอุบลฯ ศรีสะเกษ จากสุรินทร์ บุรีรัมย์ จากสระแก้ว-จันทบุรี-ถึงตราด ผู้คนที่เป็นเพียงชาวบ้าน แค่ชาวชนบท ด้อยการศึกษา (ไม่มีแม้แต่ประกาศนียบัตรมัธยม โดยไม่ต้องพูดถึงระดับปริญญาตรี อย่างเราๆท่านๆ ในเมืองหลวง)


และก็ด้อยซึ่งโอกาส ที่ต้องเผชิญต่อ “สงคราม” และสภาพของบ้านแตกสาแหรกขาด สูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ทำมาหากินไม่ได้ ที่อยู่ทางฝั่งตะเข็บชายแดนของ “สยามประเทศไทย” ที่ร่วมชะตาและร่วมกรรมกับผู้คนที่ก็เหมือนๆกัน เป็นญาติพี่น้องกัน ร่วมสายเลือดเดียว ทั้งยังร่วมวัฒนธรรม ร่วมภาษากันในฝั่งตะเข็บชายแดนของ “เขมรกัมพูชา” จากสตุงแตรง ถึงพระวิหาร จากอุดรมีชัย ถึงบันทายมีชัย โพธิสัตว์ และเกาะกง ดังข้อเสนอต่อไปนี้

1. ขอให้กองกำลังของทั้งสองประเทศใช้ขันติธรรม และความอดกลั้น ยุติการสู้รบโดยทันที ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและกองทัพตามชายแดนของ ทั้งสองฝ่าย

2. ขอให้ถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่พิพาทอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการเผชิญหน้าทางทหารตามชายแดนระหว่างกัน

3. ขอให้ยุติเคลื่อนกำลังทหารเข้าไปยังจุดพิพาทอื่นๆ ที่ยังคงเป็นปัญหากันอยู่เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะมิให้ขยายตัวออกไปยังจุดอื่นๆตามแนวชายแดน


4. ขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยผ่านกลไกการเจรจาทวิภาคีซึ่งมีอยู่แล้ว อันได้แก่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมซึ่งได้จัดตั้งตามบันทึกความเข้าใจแห่งราช อาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543

5. ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการแห่งอหิงสา ยุติการนำประเด็นความขัดแย้งเรื่องเขตแดนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ไม่ว่าการเมืองภายในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ อันจะทำให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นชนวนสงครามที่ยากจะหาทางยุติลงได้

ด้วยความระลึกถึง

เชิง แก่นแก้ว
สิงหะปุระ

PS:
Make Love not War
with ASEAN Neighbors,
especially Cambodia and Laos

*********

จดหมายถึงลูกศิษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เนื่องในโอกาสวัน Valentine
ขอส่งอีเมล์ที่ส่งถึงทีมงาน “สยาม-ขะแมร์”
ต่อให้ นศ Seas มธ. (รวมทั้งกัลยาณมิตร คนอื่นๆๆ
ที่ไม่หนุ่มไม่สาว ก็อ่านได้ ครับ)

(1) Feb 14 Valentine Day is coming.
Dont forget to Make Love not War with Asean Neighbors,
esp. in Cambodia and Laos

(2)
อีเมล์รับทราบ ขอบคุณ ครับ Gut-Nur และทีมงาน
การอภิปรายและบริภาษอย่างนี้ เป็น promotion ให้หนังสือ "สยาม ขะแมร็" ที่ดีมาก
ภาษาฝรั่ง เขาเรียกว่า right for a wrong reason ครับ

ผมเอาหนังสือ "สยาม-ขะแมร์"
ติดตัวมาแจกให้บรรดานักวิชาการที่ "Tumasik" หลายเล่ม ครับ
ผู้คนชอบกันใหญ่ ถามว่า นศ ทำจริงๆ หรือ หรือว่าเป็น "มืออาชีพ"

ครับ ผมภูมิใจใน นศ SeasTU ธรรมศาสตร์ของผม
พวกคุณอาจ "กู่้เกียรติธรรมศาสตร์
โดม เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์"
ลูกแม่โดมเลือดเหลืองแดงได้ กระมัง
หลังจากที่มหาวิทยาลับอันเป็นที่รัก และชาติบ้านเมืองของเรา
ถูกเอาไปทำปู้ยี่ ปู้ยำ
ถูก "อันธพาล" และ "อนาธิปไตย"
ซ้ำเติมจนบอบช้ำถึงปานนี้

อ.ปรีดี มักจะยกพุทธภาษิตมาบอกว่า
"อโถ สุจิณฺณสฺส ผลํ น นสฺสติ “
(ผลของกรรมดีที่ก่อไว้นั้น ย่อมไม่สูญหาย)"

Walk on, walk on, through the wind ครับ

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ( อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ )

PS:
Dont forget to Make Love not War with Asean Neighbors, esp. Cambodia and Laos
and HAPPY VALENTINE DAY KRAB


Charnvit Kasetsiri, Ph.D.

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 14, 2554

ดา-ทอร์ปิโดอาจไม่ต้องติดคุกเเล้ว




ศาลอุทธรณ์มีการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและเรื่องดังกล่าวยังไม่เคยมีแนววินิจฉัย มาก่อน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเสียก่อน ศาลอุทธรณ์จึงยกคำพิพากษาจำคุก 18 ปีของศาลชั้นต้น โดยให้ศาลชั้นต้นส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเสียก่อน

ขั้นตอนต่อจาก นี้จะยื่นขอประกันตัวดารณีอีกครั้งหลังจากถูกจำคุกมาแล้วเกือบ 3 ปี และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวมาแล้วหลายครั้ง
นอกจากนี้คงต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งยังไม่ทราบว่าเมื่อใด หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการพิจารณาคดีลับขัดต่อหลักของรัฐธรรมนูญก็จะทำให้ ต้องเริ่มกระบวนการสืบพยานใหม่ทั้งหมด แต่หากว่าศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบด้วยศาลชั้นต้นก็เพียงแต่พิพากษาใหม่


Source: Produced by VoiceTV
14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 21:09 น.

14 2 54 เพื่อไทยเปิดแคมเปญ 5 ล้มเหลว 10 จำทน

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 12, 2554

ปม 11ประเด็น และ 5 คำตอบปราสาทเขาพระวิหาร

รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


"ดร.สุรชาติ บำรุงสุข"เสนอปม 11ประเด็น และ 5 คำตอบปราสาทเขาพระวิหาร ที่หลายฝ่ายยังไม่ชัดเจนเอาไว้น่าสนใจอย่างยิ่ง

หอประชุมศรีบุรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดสัมนาวิชาการอุษาคเนย์หัวข้อ "สยาม-ขะแมร์ คู่รัก คู่ชัง คู่กรรม คู่เวร" ในการอภิปรายหัวข้อ "ปราสาทพระวิหาร: แผนที่ พรมแดน สู่ปมมรดกโลก"ที่น่าสนใจโดยรศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11 ประเด็น ปราสาทเขาพระวิหาร

ดร.สุรชาติ กล่าวว่า คิดว่าเราติดกับอยู่กับคำถามว่า "ใครยิงก่อน" ตนมีคำตอบแบบหนึ่งว่า "พอกระสุนนัดแรกดัง คนตายคนแรกคือพลทหารความจริง" เอาเข้าจริงๆแล้วเชื่อว่ามันตอบไม่ได้ เพราะมันโยงกับประเด็นอื่นที่เรารู้หรืออาจไม่รู้ก็แล้วแต่ ถ้าเริ่มต้นดูเหตุการณ์ปราสาทเขาพระวิหารรอบ 2 คิดว่าเริ่มจากการประชุมที่โอ๊คแลนด์ นิวซีแลนด์ ต้นปี 2550-2551 โดยช่วงตั้งแต่ต้นปี 2551 นั้นมีปมประเด็น 11 ประเด็นย่อยๆ ซึ่งพอเกิดข้อโต้แย้งขึ้นนั้น หลายฝ่ายยังไม่มีความชัดเจน

1. เรายอมรับหรือไม่ว่าตอนที่เรามีปัญหากับฝรั่งเศสในยุคล่าอาณานิคม สยามเคยทำสัญญากับฝรั่งเศสทั้งหมด 3 ฉบับ เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งกับทางฝรั่งเศส คือสนธิสัญญาปีพ.ศ. 2436, 2446 และ 2449 เอกสาร 3 ฉบับนี้จำเป็นที่ต้องยอมรับเพราะเห็นว่าได้ให้สัตยาบันทั้ง 3 ฉบับ แต่ชอบหรือไม่ชอบนั้นพูดยาก เพราะสมัยนั้นเราตัดสินใจที่จะกำหนดเส้นเขตแดนของสยาม เพราะฉะนั้นปัญหาเกิดที่ว่าสัญญาทั้ง 3 ฉบับ ตกลงให้มีการใช้สันปันน้ำเป็นตัวแบ่งเขตแดน แต่ในสัญญาปี 2449 นั้นระบุให้มีการตั้งข้าหลวงผสมให้ไปกำหนดเขต ผลพวงที่ตามมาคือ แผนที่ปักปันเขตแดนปี 2451 เพราะฉะนั้นต้องถามใจดูว่า รับหรือไม่รับกับสนธิสัญญาที่ทำตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

2. เราได้ยินกันมาในระยะสัก 3-4 ปีว่าตกลงการปักปันฝรั่งเศสนั้นเป็นการทำฝ่ายเดียวหรือเป็นการปักปันร่วม ตนคิดว่าคำตอบ หลักฐานยืนยันว่าเป็นการปักปันของคณะกรรมการผสม ประธานของฝ่ายสยามคือ พลเอก หม่อมชาติเดชอุดม ของฝรั่งเศส คือ พันโท แบร์นาร์ ตรงนี้ต้องยอมรับว่า การปักปันทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เชียงราย ถึง จังหวัดตราด พื้นที่แนวทางบกนั้นเป็นการปักปันด้วยคณะกรรมการผสม และสยามเป็นส่วนร่วมด้วย

3. เราบอกไม่ยอมรับแผนที่ 908 หรือของปีพ.ศ. 2451 บอกว่าแผนที่นี้เป็นแผนที่ซึ่งโยงกับประเด็นข้อ 2 คือ ฝรั่งเศสทำฝ่ายเดียว แต่จริงๆต้องยอมรับว่า แผนที่เส้นเขตแดนตั้งแต่ เชียงราย จรด ตราด นั้นถูกแบ่งเป็น 11 ระวาง เมื่อฝรั่งเศสจัดพิมพ์แผนที่ที่ปารีสแล้ว รัฐบาลสยามจัดพิมพ์เพิ่มอีก 50 ชุด ใน 50 ชุดนั้น ส่งกลับกรุงเทพฯ 44 ชุด อีก 2 ชุดเก็บที่สถานทูตที่ปารีส 4 ชุดเก็บที่สถานทูตไทยใน 4 ประเทศคือ อังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย และสหรัฐฯ เพราะฉะนั้นตรงนี้อาจต้องปรับความเข้าใจว่า แผนที่ที่พูดกันว่าไม่รับนั้น เป็นแผนที่ฉบับนี้นั่นเองคือ แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนที่เราได้ยินกันเสมอมา

4. กรณี รับแผนที่แต่ขอรับบางฉบับหรือบางระวาง ข่าวที่ออกมาเร็วนี้จะเห็นผู้นำระดับสูงของไทยออกมาพูดว่า รับเฉพาะบางระวาง ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาที่ยาก เพราะ ในการสั่งพิมพ์นั้นได้มีเอกสารจากสถานทูตไทยที่ปารีส ลงวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1908 ถึงรัฐบาลสยามที่กรุงเทพฯ แล้วยอมรับว่า เราได้สั่งให้พิมพ์แผนที่เพิ่มเติม เพราะฉะนั้น ปัญหาการรับเรื่องบางระวางนั้นคิดว่าต้องยอม เพราะเรารับแผนที่ทั้งหมด 11 ระวางนั้นแล้ว

5. 2 ปีหลังที่ผ่านมามีประเด็นเรื่องเอกสารลับโผล่มา คำตอบคือ ความตกลงสยาม-ฝรั่งเศสไม่เคยทำเป็นเอกสารลับใดๆทั้งสิ้น และเป็นความตกลงเปิดทั้งหมด เอกสารลับถ้าจะมีเป็นความตกลงระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในปัญหาสยาม แต่ปัจจุบันเป็นเอกสารเปิดทั้งหมดแล้ว ต้องยอมรับอีกว่า เราไม่ได้ดูหนังสายลับ ขอยืนยันว่าไม่มี แต่ถ้ามีก็ต้องเปิด แต่เท่าที่รู้จนถึงวันนี้ไม่มีแผนที่ลับ หรือสนธิสัญญาลับ เรื่องทั้งหมดนั้นสยามตัดสินใจที่จะมีเส้นพรมแดนสมัยใหม่ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีเขตแดนเป็นของตัวเอง และในยุคอาณานิคมเราจะอ้างอิงไม่ได้ว่าพื้นที่ของสยามนั้นอยู่ตรงไหน

6. รับหรือไม่รับคำตัดสินศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก คำตัดสินของศาลโลก 9 ต่อ 3 ตัดสินว่า "ปราสาทอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา" ปัญหาคือ เรายอมรับได้เพียงใด หรือ วันนี้ยอมรับว่าเขมรได้แต่ตัวปราสาทเขาพระวิหารแต่ตัวพื้นที่เขมรนั้นไม่มี ปราสาทเสมือนตั้งอยู่บนสุญญากาศ เพราะพื้นที่ทั้งหมดยังถือเป็นพื้นที่ภายใต้อธิปไตยของไทย อันนี้จะเป็นปัญหาโยงมาสู่ข้อ 7

7. กล่าวคือ กัมพูชาได้ตัวปราสาท แต่ไทยได้พื้นที่ทั้งหมด ถ้าเป็นการตีความแบบนี้ คำตอบจะมีปัญหาทันที มีนักกฎหมายบางคนสร้างทฤษฎีว่า ปราสาทเสมือน "มือถือ" บังเอิญเขมรมาลืมมือถือเอาไว้ในบ้านไทย เขมรเลยเป็นเจ้าของมือถือ แต่มือถือที่วางอยู่บนโต๊ะนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของไทย แต่คนรุ่นหลังต้องทำความเข้าใจ โดยเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศได้ทำความเห็นหลังจากคำตัดสินของศาลโลก แล้ว ให้ลากเส้นเขตแดนกำกับตัวพื้นที่ของปราสาทพระวิหาร เส้นนี้ถูกกำหนดเป็นเวิ้งของพื้นที่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน หรือ เป็นเวิ้งของพื้นที่เหมือนที่รัฐบาลของกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดก โลก เพราะฉะนั้น ถ้าเปิดแผนที่โดยเฉพาะที่เป็นแผนที่ทหาร เราจะเรียกเส้นเขตแดนตรงนี้ว่าเส้นตามมติครม.ปี 05 เป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลสมัยนั้นได้ลากเส้นกำกับพื้นที่รอบตัวปราสาทเอาไว้ แล้ว

ต้องทำความเข้าใจเพราะ จะมีคนพูดว่าตกลงด้วยตัวคำตัดสิน เขมรจะได้ตัวปราสาทที่เป็นปราสาทหิน แต่พื้นที่ทั้งหมดยังเป็นของสยาม เหมือนกับมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่บางท่านเสนอว่า ถ้าอย่างนั้นให้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ยกตัวปราสาทออกจากพื้นที่ของไทย ซึ่งถ้าคิดอย่างนี้ ท่านมีปัญหาแน่ เพราะ ทฤษฎีโทรศัพท์มือถือนั้น การเปรียบเทียบสังหาริมทรัพย์ กับ อสังหาริมทรัพย์เปรียบเทียบกันไม่ติด คิดว่าเป็นความไขว้เขว

8. การสงวนสิทธิ์ ในแถลงการณ์ของจอมพลสฤษดิ์ รวมถึงคำแถลงการณ์ของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ได้พูดถึงการสงวนสิทธิ์ของรัฐบาลจริง คำตอบคือ มีจริง แต่คำถามก็มีข้อโต้แย้งจากฎหมายระหว่างประเทศว่า คำตัดสินของศาลโลกนั้นถือเป็นสิ้นสุดหรือไม่ โดยหลักการแล้วคำตัดสินเป็นสิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ แต่ถ้าจะมีการสงวนสิทธิ์น่าจะมีอายุ ซึ่งมีอายุเพียง 10 ปี นั่นหมายความว่า รัฐบาลต้องมีหลักฐานใหม่ที่ส่งผลให้คำตัดสินเดิมนั้นถูกเปลี่ยนแปลง 10 ปีจากปี 2505-2515 เราไม่เคยใช้การสงวนสิทธิ์ จนถึงทุกวันนี้ถ้าไม่นับเรื่อง แผนที่ลับ เข้าใจว่าเราไม่มีหลักฐานใหม่ ยกเว้นแต่คนที่บอกว่าเอกสารลับมีจริงและสามารถแย้งกับคำตัดสินเดิม แต่ถ้าคิดมิตินี้ต้องยอมรับว่าสิทธิ์ได้หมดลงแล้ว

9. อนุสัญญาโตเกียวปีพ.ศ. 2484 ซึ่งสิ้นสุดด้วยสัญญาวอชิงตัน ดินแดนที่เราได้อันเป็นผลพวงของสงความโลกครั้งที่ 2 ทั้งหมด ฝ่ายสัมพันธมิตรตีความว่าเป็นการได้จากฝ่ายอักษะต้องคืน

10. ปัญหา"เอ็มโอยู" จะเลิกหรือไม่เลิก ต้องทำความเข้าใจว่าเอ็มโอยูปี 43 เป็นการสร้างกรอบของการเจรจา ถ้าคิดในมิติของการเจรจาระหว่างประเทศเอ็มโอยู เป็นการสร้างกรอบว่าหากเกิดข้อพิพาทแล้วจะใช้อะไร ซึ่งก็จะกลับไปที่ข้อหนึ่ง สัญญาและอนุสัญญา 3 ฉบับ บวกกับที่ปักปันหนึ่งฉบับ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเลิกหรือไม่เลิกสัญญาเหล่านี้จะไม่ไปไหนเพราะจะเป็นตัวที่ บังคับใช้ เนื่องจากเป็นเอกสารที่ได้รับการทำสัตยาบันแล้ว

11. แผนที่ 1 ต่อ 5 หมื่น คือ แผนที่ชุด แอล 7017 ต้องทำความเข้าใจว่า แผนที่กัมพูชาเป็นชุด แอล7016 แผนที่ชุด แอล 7017 นี้ต้องตกลงว่าเป็นแผนที่ยุทธการที่ใช้สำหรับภารกิจทางทหาร แต่แผนที่ชุดนี้เป็นแผนที่ที่ไม่ใช้ในการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้น แผนที่ 1 ต่อ 5 หมื่น เป็นไปได้หรือที่จะเอาขึ้นสู่การตัดสินในศาลระหว่างประเทศในอนาคต คำตอบก็จะกลับไปที่ข้อหนึ่ง คือ แผนที่ 3 ฉบับบวกแผนที่ปักปัน 1 ฉบับ

สุดท้าย คือข้อ 12. ถ้าไม่รับข้อ 1 ถึง 11 แล้วตกลงจะรับอะไร คำถามคือ จะทำอย่างไร

ลองทดลองด้วยคำตอบ 5 ข้อ

1. จูงมือกันไปศาล นำคดีขึ้นสู่ศาลระหว่างประเทศต่อไป แต่ต้องตระหนักว่า เมื่อขึ้นศาลรอบใหม่นี้เอกสารจะเป็นฉบับเดิมเหมือนที่เคยขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2502 ก็ยาก และอนุสัญญาบวกกับแผนที่ปักปันหนึ่งฉบับก็คงไม่ได้เกิดขึ้นใหม่ในศาลโลกใหม่ ในวันนั้น

2.ถ้าไม่ไปศาล จะเปิดการเจรจาในลักษณะพหุภาคีที่มิได้มีแต่คู่กรณี แต่จะเป็นการเจรจาภายใต้กรอบของอาเซียน หรือยูเอ็น แต่คิดว่าเมื่อดูคำตอบที่ผ่านมา ผู้นำรัฐบาลไทยประกาศชัดว่าไม่เอาอะไรที่เป็นลักษณะพหุภาคี

3.ถ้าเป็นทวิภาคี ถามว่าจะเจรจาอย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นอยู่ หรือมีความหวังว่าเจรจาทวิภาคีในปัจจุบันจะเป็นเหมือนเหตุการณ์ มกราคม 2484 ในวันที่กองทัพสยามรุกเข้าไปในพื้นที่อินโดจีนและเปิดการเจรจาจนได้อนุสัญญา โตเกียว คำตอบเข้าใจว่า ยาก

4.ถ้าเราทำอะไรไม่ได้เลย และเกิดความขัดแย้งขนาดใหญ่สิ่งที่จะตามมาคือการแทรกแซงจากภายนอก ถ้าเช่นนั้นหรือจะเอาเป็นพื้นที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของยูเอ็น เชื่อว่าก็คงไม่เอา

และ5.สุดท้าย คือการทำสงคราม แล้วเราจะได้อะไร สงครามจะสามารถปรับเส้นเขตแดนได้หรือไม่ ตอนปรับปีพ.ศ. 2484 และ 2486 ได้พื้นที่กลับมา แต่พอปี 2489 เรากลับต้องคืนทั้งหมด

คำถามคือ การปรับเส้นเขตแดนด้วยสงครามในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นจริงเพียงใด หรือ คำตอบอยู่ที่เราอาจไม่ได้คิดปรับเส้นเขตแดน หรือ เราอาจคิดเพียงแค่ว่าสงครามจะเป็นเครื่องมือที่ยูเนสโกไม่สามารถดำเนิน การมรดกโลกที่เขาพระวิหารได้


Ref: ชื่อบทความดร.สุรชาติเสนอปมปราสาทพระวิหาร 11ประเด็น 5คำตอบ ที่น่าสนใจ
http://www.bangkokbiznews.com