จาก อัลบั้มASTVผู้จัดการ |
จากกรณีข้อพิพาทเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารระหว่าง ประเทศไทยกับกัมพูชา ซึ่งในวันนี้ (2 ส.ค.) นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 34 ที่ประเทศบราซิลได้ออกมาแถลงถึงความสำเร็จในการขอเลื่อนการพิจารณากรณี พื้นที่บริเวณเขาพระวิหาร
ในทางตรงกันข้าม เมื่อวันที่ 30 ก.ค. นายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กัมพูชา ได้อ้างต่อสื่อมวลชนว่าคณะกรรมการมรดกโลกได้รับแผนบริหารจัดการปราสาทพระ วิหารของฝ่ายกัมพูชาแล้ว นอกจากนั้น ผู้แทนของไทยยังได้ร่วมกับกัมพูชาและรัฐมนตรีบราซิล ลงนามในเอกสารสนับสนุนแผนบริหารจัดการดังกล่าวด้วย ซึ่งนับเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของกัมพูชา หลังจากที่ไทยคัดค้านมาตลอด
“มันเป็นสิ่งที่ประเทศไทยไม่เคยยอมรับมาก่อน ตอนนี้เขายอมรับแล้ว” นายซก อาน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สดผ่านดาวเทียมจากกรุงบราซิเลีย ทั้งยืนยันอีกว่าคณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้เลื่อนการพิจารณาจะ “รับหรือไม่รับ” แผนออกไปอย่างที่ฝ่ายไทยประกาศ “นี่เป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของกัมพูชา และเป็นการพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของประเทศไทย” รองนายกฯ กัมพูชากล่าว
ทั้งนี้ รายงานข่าวดังกล่าวยังระบุด้วยว่า นายสุวิทย์ ได้เซ็นรับร่างเอกสาร ที่จัดทำโดยคณะกรรมการมรดกโลกในวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา ในการประชุมที่นายฆวาว ลูอิซ ซิลวา เฟอร์ไรรา (Joao Luiz Silva Ferreira) รัฐมนตรีบราซิลเป็นประธาน ขณะที่ นายซก อาน ยืนยันว่าคณะกรรมการมรดกโลกได้ “ยอมรับ” เอกสารรายงานเกี่ยวกับแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาเสนอไปแล้ว โดยการประชุมครั้งต่อไปในบาห์เรน จะเป็นการพิจารณาแผนการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารอย่างยั่งยืน
ล่าสุด ได้มีผู้นำเอกสาร “มติการประนีประนอม” ระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ปรากฏในข่าวมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชน โดยเอกสารดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
***************
มติการประนีประนอมเสนอโดยประธานที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 (34 com 7B.66)
คณะกรรมการมรดกโลก
1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add3 แล้ว
2. อ้างถึงมติคณะกรรมการมรดกโลก 31 COM8.24, 32 COM 8B.12 และ 33 COM 7B.65, ได้รับรองการประชุมครั้งที่ 31 (ไครซ์เชิร์ช, ค.ศ. 2007), การประชุมครั้งที่ 32 (ควิเบก, ค.ศ. 2008) และการประชุม ครั้งที่ 33 (เซบีย่า, 2009) ตามลำดับ
3. แจ้งให้ทราบว่าศูนย์มรดกโลกได้รับเอกสารจากรัฐภาคี (กัมพูชา) แล้ว
4. สิ่งที่จะดำเนินการต่อไปเพิ่มเติม, ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆโดยรัฐภาคีเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประสาน งานนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนของปราสาทพระวิหาร
5. ตัดสินใจพิจารณาเอกสารที่ยื่นเสนอโดยรัฐภาคีในการประชุมครั้งที่ 35 ในปี ค.ศ. 2011
ลายเซ็น สุวิทย์ คุณกิตติ 29/07/2010 ซก อาน 29/07/2010 Juca Ferreira BSB 29/07/2010
***************
สำหรับเอกสารดังกล่าว นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและนักวิชาการอิสระผู้ติดตามเรื่องข้อ พิพาทกรณีปราสาทพระวิหารได้ตั้งข้อสังเกตว่า การลงนามในเอกสารดังกล่าวของนายสุวิทย์แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยไม่ปฏิเสธการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกด้วยการไม่ ปฏิเสธหรือคัดค้านมติคณะกรรมการมรดกโลกจากการประชุม 3 ครั้งตามรายละเอียดข้อที่ 2
“ขณะที่ในรายละเอียดข้อ 4 ก็บ่งชี้ว่า แผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารของกัมพูชาสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะประเทศไทยไม่ปฏิเสธการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติ 7 ชาติ จึงมีนัยยะว่าส่งเสริมแผนบริหารจัดการด้วยเช่นกัน” นายปานเทพกล่าว และว่า การยอมรับรายละเอียดในข้ออื่นๆ ก็อาจจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ ซึ่งเมื่อตนเห็นเอกสารฉบับนี้แล้วก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมฝ่ายกัมพูชาถึง ประกาศชัยชนะหลังนายซก อาน เดินทางกลับจากบราซิล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น