วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 22, 2553

Robert Amsterdam: "The Bangkok Massacres: A Call for Accountability"



robertamster | July 20, 2010

Lawyer Robert Amsterdam introduces a new white paper studying the international law obligations of Thailand to investigate human rights abuses following the Bangkok massacres of protesters in April and May of 2010.


"The recent violence in Thailand is part of a larger campaign of political persecution designed to eliminate the movement calling for restoration of the basic right to self-determination through genuine elections," said Amsterdam. "The supposed 'reconciliation' efforts by the current unelected regime are belied by its ongoing use of emergency powers to criminalize the political opposition, and are nothing more than a cover-up to protect the unelected regime and preserve its unlawful grip on power. This white paper emphasizes the need for truth, accountability and genuine elections as prerequisites for real and lasting reconciliation in Thailand."

DOWNLOAD THE FULL VERSION OF THE WHITE PAPER AT WWW.ROBERTAMSTERDAM.COM/THAILAND

New White Paper Calls for Accountability for Excessive Force Against Bangkok Protesters

The Bangkok Massacres: A Call for Accountability

A new White Paper outlines the responsibilities of the government of Thailand to hold those responsible to account for the killings of about 90 people during protests in April and May of 2010 The document is authored by lawyer Robert Amsterdam, who is retained by former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra as counsel to the legal defense team of UDD protesters and several victims of the crackdown.

LONDON, July 22, 2010 - A newly released document asserts that the Thai Royal Army and its government may be responsible for human rights abuses and possible crimes against humanity in connection with the bloody suppression of protests in Bangkok in April and May, which resulted in the deaths of approximately 90 people. The document outlines Thailand's obligations under International Law to allow independent and impartial bodies to investigate and prosecute all responsible parties.

The 80-page white paper entitled "The Bangkok Massacres: A Call for Accountability" was prepared by international lawyer Robert Amsterdam of Amsterdam & Peroff LLP, whose firm has been retained by former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra as international advisors to the legal defense team for protesters arrested in the crackdown.

"The recent violence in Thailand is part of a larger campaign of political persecution designed to eliminate the movement calling for restoration of the basic right to self-determination through genuine elections," said Amsterdam. "The supposed 'reconciliation' efforts by the current unelected regime are belied by its ongoing use of emergency powers to criminalize the political opposition, and are nothing more than a cover-up to protect the unelected regime and preserve its unlawful grip on power. This white paper emphasizes the need for truth, accountability and genuine elections as prerequisites for real and lasting reconciliation in Thailand."

The white paper examines both historical and current events, and argues that there is sufficient evidence of human rights violations by the Thai military and its civilian chain of command to warrant a complete investigation by truly independent and impartial bodies. The white paper argues that the investigative committee established by Prime Minister Abhisit Vejjajiva is neither independent nor impartial, and that international involvement may be needed to persuade Thailand to comply with its obligations under International Law.

The white paper is now available for public download at www.robertamsterdam.com/thailand.


ที่มา: Robert Amsterdam
Perspectives on Global Politics and Business
---------------------------------------------------------------------


"โรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัม"ออกสมุดปกขาวโจมตี"รบ.อภิสิทธ์"

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2553 ที่ผ่านมา บ.โรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัม ที่ปรึกษากฎหมายในต่างชาติของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้จัดทำสมุดปกขาว เผยแพร่ทางเว็ปไซด์ http://www.robertamsterdam.com ซึ่งมีความยาว 70 หน้า โดยมีเนื้อหาโดยสรุปโจมตีรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการดำเนินการของฝ่ายกองทัพ เกี่ยวกับการจัดการต่อเหตุการณ์ชุมนุมที่ผ่านมา ได้แก่ ประการแรก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกคนปัจจุบันของประเทศไทยขึ้นสู่อำนาจจากความช่วยเหลือของทหารโดยการทำรัฐ ประหาร ??ผนวกกับร่วมกันบิดเบือนกระบวนการศาลยุติธรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับ การขึ้นสู่อำนาจของตนเอง


??ประการที่สองคือ บุคคลในกองทัพซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล้อมปราบประชาชน จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในปี 2516, 2519, 2535 และ 2553 ไม่เคยถูกสอบสวนหรือนำตัวมาลงโทษ?สิทธิเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงด้วยการบังคับ ใช้กฎหมายเผด็จการของกลุ่มทหารอำมาตยาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งการกระทำนี้ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากสัมพันธมิตรอย่างกองทัพสหรัฐ อเมริกามาเป็นเวลาช้านาน


ที่มา: เนชั่นทันข่าว
22 กค. 2553 12:10 น.
----------------------------------------------------------


ทนายแม้ว "โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม" ออกสมุดปกขาว "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ: ข้อเรียกร้องหาการรับผิด"

หมายเหตุ นี่คือบทคัดย่อของรายงานสมุดปกขาว "THE BANGKOK MASSACRES: A CALL FOR ACCOUNTABILITY" หรือ "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ: ข้อเรียกร้องหาการรับผิด" ของสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff ของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม พร้อมคำนำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งแปลโดยเว็บไซต์ประชาไท มติชนออนไลน์เห็นว่ามีเนื้อหาน่าสนใจจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อดังนี้

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องหาการรับผิด

ว่าด้วยพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีภาระผูกพันในการนำตัวฆาตกรสู่กระบวนการยุติธรรม

บทคัดย่อ

เป็นเวลากว่า 4 ปีที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ นั่นก็คือสิทธิในการกำหนดใจตนเองผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้จริงที่ดำรงอยู่บน ฐานของเจตจำนงของประชาชน การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและลงมือกระทำการรัฐประหาร โดยทหารเมื่อปี 2549 ด้วยความร่วมมือกับสมาชิกองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารของไทยล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549 การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจนำของกลุ่มทุนเก่า นายทหารระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี (“กลุ่มอำนาจเก่า”) โดยทำลายล้างพลังจากการเลือกตั้งซึ่งได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจของพวกเขา อย่างสำคัญและเป็นประวัติการณ์ ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี


เมื่อพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในปลายปีพ.ศ. 2550 ก็กลับถูกศาลเฉพาะกิจ (ad hoc court) อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่แต่งตั้งโดยผู้ทำการรัฐประหารตัดสินให้ยุบพรรค นั้นอีก และเปิดทางให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้องใช้มาตรการกดขี่เพื่อรักษาฐาน อำนาจอันไม่ชอบธรรมและปราบการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อ ตอบโต้การรัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 และการรัฐประหารโดยศาลในปี 2551 หนึ่งในวิธีการกดขี่ก็คือการที่รัฐบาลได้บล็อกเว็บไซท์ประมาณ 50,000 เว็บ ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และกักขังคนจำนวนหนึ่งภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพอันเลื่องชื่อของไทย และภายใต้พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กัน เมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงโดยมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการ และได้ระงับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยการนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พร้อมทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเข้มงวดยิ่งกว่า มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้การประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และใช้อย่างต่อเนื่องไม่มีกำหนดเพื่อปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจเก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตน เองของประชาชนชาวไทยได้โดยไม่ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร


ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ใน กรุงเทพฯ และทะลวงค่ายประท้วงของคนเสื้อแดง หลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าแต่ล้มเหลว ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13 -19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย นับถึงเวลาที่บริเวณที่ชุมนุมได้ถูกเคลียร์เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ สองสามแห่งยังคงมีควันกรุ่น มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คนอาจเผชิญกับโทษประหารชีวิตจากข้อหา “ก่อการร้าย” ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังคงถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรและ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางการเมืองที่ชอบธรรม เป็นเรื่องผิดกฎหมาย


ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการ ชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนซึ่งอยู่ภายใต้สายการ บังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการใช้กองกำลังทหาร อย่างเกินความจำเป็น มีการกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการทำให้หายสาบสูญ และยังมีระบบการประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองและในการแสดงออกของพลเมือง รวมถึงกลุ่มคนเสื้อแดง มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบ สวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม


นอกจากนี้ การใช้กองกำลังทหารในการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ยังจัดเป็นการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนอย่างเป็นระบบและเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การโจมตีเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การ พิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำ นั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดย ไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อโจมตีกลุ่มทางการเมืองที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลา 4 ปีนั้นกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่รับรองโดยรัฐบาล อภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการปฏิบัติตามนโยบาย นโยบายดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น


ท้ายที่สุด การสืบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่คนเสื้อแดงในเดือนเมษายน- พฤษภาคมที่รัฐบาลตั้งใจจะทำนั้นปรากฏแล้วว่าทั้งไม่เป็นอิสระและไม่เป็นกลาง ตามที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ ในขณะที่ประเทศไทยอาจมีความผิดเพิ่มเติมกรณีการละเมิดกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง (ICCPR) และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ จากที่ไม่ดูแลให้มีการสืบสวนการสังหารหมู่อย่างเป็นธรรมและสมบูรณ์ การกดดันจากนานาชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ และเพื่อป้องกันความพยายามในการฟอกตัวเองจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่กำลัง ดำเนินอยู่ของรัฐบาล


ไม่เป็นที่ถกเถียงเลยว่าประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้นความรุนแรง และดำเนินการให้เกิดความปรองดอง ทว่าความปรองดองนั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการฟื้นคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นความปรองดองนี้ยังต้องการความรับผิดอย่างเต็มที่ต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้น กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยไปกว่านี้ได้


คำนำ

ในปี พ.ศ.2541 ผมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยแท้ๆ ฉบับแรกของประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา รัฐธรรมนูญฉบับที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้มอบการเป็นตัวแทน อย่างแท้จริงในกระบวนการเลือกตั้งแก่มวลชนชาวไทยเป็นครั้งแรก ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผมพยายามดำเนินโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ได้เสนอไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่า เสียงของพวกเขาได้รับการสดับรับฟัง นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมและแข็งแกร่ง


ในปี 2549 การรัฐประหารได้พรากสิทธิในการเลือกตั้งของเราไป อันทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่พอใจ และทำให้หลายคนลุกขึ้นมาต่อต้าน แต่แทนที่จะมีใครฟังเสียงของพวกเขา กลุ่มที่ล้มล้างรัฐบาลกลับพยายามที่จะกำจัดพวกเขา ความทะยานอยากของคนกลุ่มนี้เป็นอันตรายยิ่ง อีกทั้งยังรุกล้ำจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์


ต่อมาภายหลังข้าพเจ้าได้ขอให้สำนักกฎหมาย Amsterdam และ Peroff ศึกษากรณีของการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ว่าเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ผมยังได้ขอให้สำนักกฎหมายศึกษาการโจมตีอย่างเป็นระบบต่อขบวนการเคลื่อนไหว ทางการเมืองเบื้องหลังกลุ่มคนเสื้อแดง และศึกษานัยยะของเหตุการณ์เหล่านั้นภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โลกควรจะได้เข้าใจว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นกำลังถูกทำร้ายอยู่ในประเทศ ไทย


ภายใต้บริบทเช่นนั้น ผมเชื่อว่าจะเกิดการเลือกตั้งในไม่ช้า อย่างไรก็ตามหากการเลือกตั้งหมายถึงว่าจะมีการปรองดอง การเลือกตั้งเช่นนั้นจะต้องตอบโจทย์ข้อกังวลพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเสริม สร้างอำนาจประชาชนและการฟื้นฟูประเทศไทยให้เป็นรัฐประชาธิปไตยแบบที่ไม่กีด กันคนกลุ่มใด ในขณะเดียวกัน เราต้องปฏิเสธการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง การไม่กีดกันผู้ใดนั้นโดยนิยมแล้วก็คือภาวะที่เป็นสันติสุขนั่นเอง


(ลงชื่อ) ดร. ทักษิณ ชินวัตร


ที่มา: มติชนออนไลน์
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:15:00 น.
----------------------------------------------------------

ต้นฉบับบทคัดย่อ จากเวบไซต์ Robert Amsterdam:

PROLOGUE

In 1998, I founded the Thai Rak Thai party on the heels of the first genuinely democratic Constitution ever adopted in Thailand. This new document, called the People’s Constitution, gave the Thai masses genuine representation in the electoral process for the first time. As Prime Minister, I always tried to implement the public policies I advocated while campaigning, and the majority of Thais, I believe, approved of the fact that their voices were considered. This is why the Thai Rak Thai was so popular and strong.

In 2006, the coup took away our right to vote, which offended most Thais and made many people stand up in opposition. But instead of listening to these voices, the cabal has tried to eliminate them. These ambitions are noxious, and offend the human spirit.

Consequently, I have asked Amsterdam & Peroff to examine the Red Shirt demonstrations to tell us whether the events on April 10 and May 19, 2010 comported with standards of International Law. I have also asked them to examine the systematic assault against the political movement behind the Red Shirts, and the significance of those events under International Law.

The world must understand that true democracy is under attack in Thailand. Within that context, I am fully convinced that elections will come soon. However, if elections are to be a predicate for reconciliation, they must fairly address the fundamental concerns surrounding empowerment of the people and the restoration of Thailand as an inclusive democratic state. At the same time, we must all renounce violence as a vehicle for achieving political objectives. Inclusiveness is, by definition, a peaceful state of affairs.


Dr. Thaksin Shinawatra

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น