วันจันทร์, กรกฎาคม 12, 2553

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร: ภาวะที่เรียกว่า Deflation กำลังจะเกิดขื้นในไทยเร็วๆนี้



นี่เป็นบทวิเคราะห์ของนักวิชาการ ที่ศึกษาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...

ช่วงนี้นอกจากราคาน้ำมันที่ ถีบตัวขึ้นไปไม่หยุด ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหลายก็เริ่มปรับตัวขึ้นกันอย่างเห็นได้ชัด ราคาอาหารและสินค้าเกษตรโดยเฉพาะราคาข้าว ก็ปรับขึ้นไปอย่างมากดูน่าเป็นห่วง

ตอนที่ราคาน้ำมันขึ้นเอาๆ ใครไม่มีเงินซื้อรถขับก็คงไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไร เมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดจากราคาอาหารที่ขึ้นอย่างน่ากลัว โดยเฉพาะ กลุ่มคนรายได้น้อย (ที่อาศัยอยู่ในเมือง และอยู่นอกภาคเกษตร) ที่อาหารเป็นรายการใช้จ่ายรายการใหญ่ และเป็นรายการใช้จ่ายที่ตัดลำบากเสียด้วย

แต่ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่เห็นราคาอาหารต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นไป เกือบสามเท่า ในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ในขณะที่ราคาข้าวสาลีและข้าวโพดก็ขยับตัวสูงขึ้นตามไปติดๆ

ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งประเทศยากจนทั้งหลาย องค์กรระหว่างประเทศก็เริ่มเป็นห่วงว่า ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้คนยากจน ยิ่งจนลงไปใหญ่ เพราะรายได้เพิ่มไม่ทัน ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น หลายๆ ฝ่ายบอกว่าโลกกำลังเผชิญกับ "วิกฤตการณ์ด้านอาหาร" ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี และต้องการความช่วยเหลือโดยด่วน

ลองนึกถึงกลุ่มคนที่เคยดำรงชีวิตด้วยรายได้ที่ต่ำกว่าใต้เส้นความยากจนสากล "1 เหรียญต่อวัน" หรือ "2 เหรียญต่อวัน" ดูสิครับ ถ้าราคาอาหารเพิ่มขึ้นไปสองเท่าสามเท่า จะเกิดอะไรขึ้นกับคนกลุ่มนี้

ธนาคารโลกเพิ่งจะออกข่าวว่า ภาวะ ราคาสินค้าเกษตรแพงรอบนี้ อาจจะทำให้ความพยายามในการลดภาวะความยากจนในรอบ 5-10 ปีที่ผ่านมาหายวับไปกับตา !

ปัญหาราคาอาหาร โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และภาวะการขาดแคลนอาหารกระจายไปทั่วโลก จนเป็นเหตุให้เกิดการประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการกับปัญหาราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายๆ ประเทศ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้เห็นการจลาจลแย่งชิงอาหาร และปัญหาการขาดแคลนอาหารมากว่าสามสิบปีแล้ว

ข่าวการประท้วงและจลาจลในประเทศต่างๆ นับตั้งแต่ประเทศเล็กๆ อย่าง เฮติ แคเมอรูน, ไอเวอรี่โคสต์, มอริเตเนีย โมซัมบิก และ เซเนกัล ไล่ไปจนถึงประเทศที่เรารู้จักกันดีอย่าง อียิปต์, อินโดนีเซีย, เม็กซิโก อาร์เจนตินา และบังกลาเทศ จนมีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงระดับความรุนแรงและปัญหาที่กระจายไปเป็นวงกว้าง

ผมว่าเมืองไทยโชคดีอย่างมากครับ ที่เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก (ใช่ครับ แม้ว่าจีนจะเป็นผู้ผลิตข้าว รายใหญ่ที่สุดในโลก แต่ประเทศไทยเป็น ผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก เรามี ส่วนแบ่งในตลาดส่งออกกว่าหนึ่งในสาม และตามมาด้วยเวียดนาม และอินเดียครับ แล้วรู้ไหมครับว่า ประเทศไทยส่งออกข้าวไปประเทศ และทวีปไหนมากที่สุด ? เดี๋ยวจะมาเฉลยตอนท้ายนะครับ)

กลับเข้าเรื่องต่อ ด้วยความที่เราจะเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ เราเลยไม่มีปัญหาข้าวขาดแคลน แต่กระนั้นด้วยกลไกราคา เมื่อราคาตลาดโลกสูงขึ้นขนาดนี้ ราคาข้าวในประเทศก็คงอยู่นิ่งๆ ไม่ได้ ต้องถีบตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

เพราะถ้าราคาข้าวในประเทศไม่ปรับตัวให้สูงขึ้น คงมีคนแอบขนข้าวไปขาย ต่างประเทศ จนทำให้ข้าวในประเทศขาดแคลนได้ เหมือนที่เคยเกิดกับ น้ำตาลทรายมาแล้ว

(ตอนนี้ผมว่า คงมีคนบ่นเรื่องเงินบาทแข็งน้อยลงไปเยอะแล้วละครับ ลองนึกดูสิครับ ถ้าเงินบาทไม่แข็งขึ้นมาขนาดนี้ เราคงต้องจ่ายเงินซื้อข้าวและน้ำมัน แพงกว่านี้แน่ๆ)……

ประเทศส่วนใหญ่แก้ไขปัญหาราคาอาหารแพงด้วยการลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร ให้เงินอุดหนุนสินค้าเกษตร หรือแม้แต่ออกมาตรการควบคุมราคาอาหาร (แม้ว่าจะได้ผลหรือไม่ก็ตาม)

ส่วนประเทศผู้ส่งออกส่วนใหญ่ (เช่น เวียดนาม อาร์เจนตินา รัสเซีย และอินเดีย) ก็มีมาตรการกีดกันการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น เก็บภาษีการส่งออกสินค้าเกษตร จำกัดโควตาการส่งออก หรือไม่ก็ห้ามส่งออกสินค้าเกษตรบางชนิดไปเลย เพื่อเก็บผลผลิตทางการเกษตรไว้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นมาตรการ ที่เหมาะสม ถ้ามองจากมุมมองผู้บริโภคภายในประเทศ

แต่หลายๆ ฝ่ายเริ่มจะแสดงความเป็นห่วงว่า ถ้าทุกประเทศทำเช่นนี้จะยิ่งทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกสูงขึ้นไปใหญ่ และประเทศยากจนทั้งหลายจะได้รับผลกระทบหนักเข้าไปใหญ่

ถ้ารัฐบาลประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอยากจะช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่สูงขึ้น น่าจะใช้มาตรการอุดหนุนทางการคลัง (เช่น การให้เงินชดเชยโดยตรงแก่ผู้มีรายได้น้อย) น่าจะได้ผลดีกว่า และทำให้เกิดผลกระทบต่อตลาดโลกน้อยกว่า

แน่นอนครับว่า ไม่มีใครฟังแน่นอน ใครจะอยากให้คนในประเทศตัวเองซื้อสินค้าที่ตัวเองผลิตในราคาแพง ยิ่งเห็นการประท้วงในหลายๆ ประเทศ ผมว่าคงไม่มีใครกล้าเสี่ยงยกเลิกมาตรการจำกัด การส่งออกแน่ๆ

นี่มันเกิดอะไรขึ้นเหรอครับ ? ทำไมราคาสินค้าเกษตรถึงขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ? ผมว่าหลายๆ ท่านคงได้ยินคนพูดถึงเรื่องนี้มาเยอะแล้ว ขอพูดถึงคร่าวๆ ละกัน บางคนบอกว่าเป็นปัญหาด้านอุปสงค์ เพราะความต้องการอาหารจากประเทศกำลังพัฒนา ที่เพิ่งจะลืมตาอ้าปากได้ เลยต้องการอาหารที่ดีขึ้น และปริมาณที่มากขึ้น บ้างก็ว่าเป็นเพราะประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และออกจากภาคเกษตรกันไปมาก ทำให้ปริมาณการผลิตโตไม่ทันความต้องการสินค้าเกษตร

หรือบางคนบอกว่า น่าจะเป็นปัญหามากจากสภาพอากาศแปรปรวนที่ทำให้สินค้าเกษตรในบางประเทศเสียหาย (เช่น ภาวะแห้งแล้งในออสเตรเลีย พายุไซโคลนที่ถล่มบังกลาเทศ) หรือบางคนก็บอกว่าภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง

นอกจากนี้แล้ว ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็มีส่วนทำให้ต้นทุนการผลิต การขนส่ง และต้นทุนวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้าเกษตรอย่างปุ๋ยสูงขึ้น ยิ่งทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

บางคนก็ว่าเป็นเพราะความบิดเบี้ยวของตลาดที่เกิดจากการส่งเสริมและอุดหนุนให้นำสินค้าเกษตร ไปผลิตเป็นพลังงานเชื้อเพลิงทดแทนในบางประเทศ (เหมือนในโฆษณาเลยครับ "อะไรๆ ก็โทษแก๊ส โซฮอล์" !) ซึ่งเหมือนเป็นการให้คนจนที่ใช้รายได้ส่วนใหญ่กับอาหาร จ่ายค่าอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อไปอุดหนุนค่าน้ำมันเจ้าของรถ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมีฐานะ

นอกจากนี้แล้ว การกักตุนสินค้าเกษตร (อย่างที่มีข่าวอยู่ในเมืองไทย) และการเก็งกำไรราคาสินค้าเกษตร ก็คงมีส่วนทำให้ราคาสินค้าเกษตรพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างทุกวัน

การแก้ไขปัญหาในระยะสั้น จึงคงจะต้องเน้นที่การบรรเทาผลกระทบโดยเฉพาะต่อประเทศยากจน อาจจะด้วยการเพิ่มเงินช่วยเหลือในการจัดหาอาหารแก่คนยากจน

ส่วนในระยะกลางและระยะยาว เราคงต้องหันมาให้ความสนใจต่อนโยบายอาหารโลก และผลกระทบของนโยบายด้านพลังงาน ต่อภาคเกษตรอย่างจริงจัง นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด คงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากในอนาคต…


นี่คือคำถามจากความคิดเห็นส่วนหนึ่ง และพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ให้คำตอบไว้น่าสนใจยิ่ง

ความเห็นที่ 1 แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะเข้าข่ายประเทศยากจนด้วยหรือไม่ในสถานการณ์อย่างนี้
ความเห็นที่ 2 นึกถึงเกษตรกรบนแผ่นดินนี้ รอวันพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสสร้างเนื้อสร้างตัว กับน้ำมันบนดิน พัฒนาเศรษฐกิจ

จาก อัลบั้ม รูปภาพบนกระดาน โดยพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร :
ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย

เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของ
ระบบ เศรษฐกิจของชาติ

ความเห็นที่ 3 : คำว่าเร็วๆนี้มีคำจำกัดความว่ากี่เดือนกี่ปีค่ะ

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร: ใกล้ๆนี้ ไม่เกินไตรมาศที่3ของปีนี้ เศรษฐกิจจะเกิดการชะลอตัวอย่างหนัก ทุกคนจะรู้สึกได้ถึงผลกระทบ แม้แต่ตอนนี้ แต่ไตรมาศที่ 3 จะหนักดิ่งลงเหว อย่างเห็นได้ชัด

ความเห็นที่ 4 : เงินฝืดไม่พอ คนค้ายาขี้ยาเริ่มกลับมาแล้ว มันอยู่รอบๆๆตัว น่ากลัวๆๆ

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
อีกทั้งรัฐบาลก่อหนี้สาธารณะไว้มากมายทั้งที่ไม่มีความสามารถบริหารจัดการกับภาวะหนี้สิน เหมือนคนเป็นหนี้บัตรเครดิต10ใบ แต่เงินเดือน 15,000 บาท และเสี่ยงต่อการตกงานสูง เพราะ เศรษฐกิจของประเทศและของโลกยังไม่ฟื้น

ความเห็นที่ 5 มาร์ครู้รึปล่าวว๊ะเนี่ย
ความเห็นที่ 6 So how can we solve the deflation problem krab.. Pls teach or give advice Apisit the way to solve deflation coz he knows only how to loan and does anything that let's him to be the gov krab

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร : ภาวะเช่นนี้ เกิดจาก ความผิดพลาดล้มเหลว จากนโยบายการคลังและการจัดการหนี้สาธารณะความเชื่อมั่นทางการเมืองก็มีส่วน แต่หลักใหญ่เกิดจากรัฐบาล

ความเห็นที่ 7 : แล้วเราควรทำอย่างไรเพราะตอนนี้กำลังมองดูช่องทางทำมาหากินอยู่จะลงทุนก็ยังไม่กล้า(เป็นแม่บ้านเลี้ยงลูกเฉยๆ)ไม่ทราบว่าพอจะมีคำแนะนำบ้างไหมคะ

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร :
ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆ ผมมีเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน แต่มีค่าเดินทางค่ากิน ค่าที่พัก ประมาณ 6000 บาท เงินเหลือ 9000บาท ผมไปผ่อนรถ 8000 บาท เป็นหนี้บัตรเครดิต ต้องชำระเดือนละ 2000 บาท ถามว่า วันนี้ผมมีโอกาส จะเป็นหนี้ในอนาคต ได้หรือไม่ ?

ความเห็นที่ 8: เงินฝืด การชลอตัวของเศรษฐกิจแล้วจะโดนภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำเติมอีกไหมครับเนี๊ยะ
ความเห็นที่ 9: เป็นแบบที่เราลงทุนค้าขายอะไรอย่างเนี้ย
ความเห็นที่ 10: เด๋ว 1 กันยา มือถือเกือบบาทต่อนาที ทุกกรณี
ความคิดเห็นที่ 11: ท่านเป็น&คือนายกในดวงใจของปชช"รากหญ้า"เสมอต้น เสมอปลายจริงค่ะ

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร :
รัฐบาลต้องส่งเสริมธุระกิจขนาดเล็กให้เข้มแข็ง จะแก้ปัญหานี้ได้ กระตุ้นให้เกิดการผลิตสินค้า และสร้างความเชื่อมั่น ในการจับจ่าย

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร :
ผมได้ยินรัฐบาลบอกว่าจะขื้นภาษีมูลค่าเพิ่ม อีก10% ผมไม่เห็นด้วย เพราะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น แล้วเขาอ้างว่า มีประเทศอื่นภาษีเยอะกว่าประเทศเรายกตัวอย่างมาหลายประเทศ แต่เขาพูดความจริงครึ่งเดียว ประเทศเหล่านั้นมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งรายได้มาก และเขาหักภาษีมากก็จริง แต่เขาเป็นรัฐสวัสดิการ พอเกษียญอายุ เขามีเงินเดือนให้5-6หมื่นบาท เจ็บป่วยรักษาฟรี เขาถึงเก็บภาษีแพง พอลูกเขาเกิดมารัฐก็จ่ายค่าการศึกษาให้ทั้งหมด

ความคิดเห็นที่ 11 : สงสารปชช เด็กๆรากหญ้า >ปท like Titanic จริงค่ะ
ความคิดเห็นที่ 12 : Could you please give more details about Deflation ,if it will happen in Thailand .What is the results that comes after ?
For ex .this could lead to ppl take away own money in the bank?
The lone is higher interest?
More expensive , I guess it already are .
And many more ......

ความคิดเห็นที่ 13 : รัฐนิติ..ติได้ทุกเรื่องที่คนอื่นทำ..เก่งฟ้องร้อง..ฟ้องโน่นนี้..เลยไม่มีเวลาทำมาหากิน กู้แจกแหลกลานบานเถอะไทย..สุดท้ายขึ้นภาษีสุดโหด..ผลสุดท้ายคนไทยส่วนหนึ่งที่ต้องรับกรรม.....หุหุหุ คนดี คนเก่ง ทำงานไม่ได้ เก็บเข้ากรุหมด เหลือไว้แต่..ล่างปลายแถวให้ทำงาน..คงเจริญก้าวหน้าแหล่ะไทยเอ้ย....เร็วๆนี้..คาดว่าจามีพรรค..ใครเข้มแข็ง?...


ที่มา: บทวิเคราะห์จากกระดานข้อความของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร on Facebook
2010 07 13, 09.16 AM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น