ิby Generalhero on 2010-08-27 - 03.26 pm
Ref: รัฐบาลทหารไทยเป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับรัฐบาลทหารพม่า
โดย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม จาก Huffington Post
หลายคนสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าเหตุใดรัฐบาลทหารพม่าซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของความโหดเหี้ยมถึงได้ออกมาประกาศให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ เหตุใดรัฐบาลทหารพม่าต้องกระทำเช่นนั้น? ทั้งนี้เพราะไม่มีใครเชื่อในละครฉากนี้อีกต่อไป โดยอย่างน้อยที่สุดก็คงจะเป็นกลุ่มคนผู้ให้การสนับสนุนนักโทษทางการเมืองอย่างนาง อองซานซูจี ซึ่งนางอองซูจีถูกสั่งกักบริเวณไม่กี่วันหลังจากมีลงมติให้มีเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลทหารพม่าไม่ได้มีความจริงใจต่อการการเลือกตั้งแต่อย่างใด นักหนังสือพิมพ์อย่าง นายโจนาธาน เมนโทปร์ กล่าวว่า “ รัฐบาลทหารพม่าสร้างเรื่องนี้ขึ้นมาขึ้นมาเพื่อเอาใจคนที่ไม่รู้ประสีประสา โดยหลีดเลี่ยงที่จะไม่ทำให้อำนาจของตนเองสั่นคลอน”
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงความอดทนที่รัฐบาลสหรัฐของนายโอบามามีต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลไทยที่มีกองทัพหนุนหลังแล้วจะพบว่าเราไม่สามารถกล่าวโทษเหล่านายพลทหารพม่าที่คิดว่านีคือกฎเกณฑ์ใหม่ของรัฐบาลสหรัฐ กลุ่ม“คนที่ไม่ประสีประสา” เหล่านี้ได้ถลำเชื่อในเกมการเมืองเหล่านี้มากขึ้น
เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา ประเทศไทยคือประเทศประชาธิปไตยประเทศเดียวในภูมิภาค มีความโดดเด่นกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคในเรื่องของสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเรือน เสรีภาพในการนับถือศาสนา และเคารพในสิทธิของชนกลุ่มน้อย ในหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคได้พัฒนาการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ เสรีภาพทางการเมือง และการยึดมั่นในระบบนิติรัฐขึ้นอย่างช้าๆ ประเทศไทยกลับเป็นประเทศที่ถอยหลังลงคลอง
ประเทศสัมพันธมิตรที่ยาวนานเป็นที่พึ่งพาของประเทศภูมิภาคนี้อย่างสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนางฮิลลารี คลินตัน ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่คุกคามสันติภาพของภูมิภาคและมีการุกคามสิทธิมนุษยชนในประเทศอย่างต่อเนื่อง หากมองในหลายแง่มุมแล้วประเทศไทยมีความคล้ายกับประเทศพม่ามากกว่าประเทศที่กำลังก้าวไปสู่ประชาธิปไตยอย่างอินโดนีเชีย
ตั้งแต่นายยกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคผู้นำรัฐบาล ได้ขึ้นสู่อำนาจหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลการเลือกตั้งปีที่แล้วเป็นโมฆะ โดยมีกลุ่มนายทหารคนสำคัญของประเทศ คณะองคมนตรี และกลุ่มอำมาตย์หัวเก่า ให้การสนับสนุน ได้มีการดำเนินนโยบายทำลายสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตยของคนยากคนจนอันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศทุกรูปแบบ
มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือเป็นจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่อำมหิตของรัฐบาลไทยที่ถูกมองข้ามโดยรัฐบาลสหรัฐ ในปลายปี 2551 ซึ่งไม่นานหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ขึ้นสู่อำนาจ สื่อต่างชาติได้นำเสนอเรื่องราวการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันน่ารังเกียจของเจ้าหน้ารัฐไทยที่กระทำต่อกลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวโรหิงญ่า หลายวันหลังจากที่กลุ่มคนเหล่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม
กองทัพไทยได้ผลักเรือของกลุ่มผู้ลี้ภัยเหล่าออกไปยังน่านน้ำสากล และปล่อยให้คนเหล่านั้นเสียชีวิตจากการขาดน้ำและอาหารบนเรือที่ไม่มีเครื่องยนต์และเครื่องมือนำทิศทาง มีการประมาณตัวเลขของผู้เสียชีวิตที่เกิดจากการกระทำของกองทัพไทยอย่างคร่าวๆว่ามีประมาณ 500ราย แต่กระนั้นนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เลือกที่จะเพิกเฉยต่อข้อกล่าวที่มีการจัดทำขึ้นเป็นเอกสารอย่างรวดเร็ว แทนที่จะจัดให้มีการสอบสวนเรื่องดังกล่าว
หากกว่าถึงเสรีภาพในการแสดงออก จะพบว่าประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกับประเทศพม่ามากขึ้นทุกวัน รัฐบาลพยายามปิดกั้นข่าวสารจากแหล่งข่าวทางเลือก ซึ่งรวมถึงสถานีโทรทัศน์ของฝ่ายตรงข้าม วิทยุชุมชนหลายแห่ง และเวปไซค์ประมาณ 50000เวปไซค์ถูกสั่งปิดหรือบล็อกโดยเจ้าหน้าที่ไทย นอกจากนี้ยังมีการคุกคามสิทธิด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จากสถิติของการดำเนินคดีอาชญาที่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นแล้วพบว่ามีผู้ถูกฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 164 คดี ซึ่งรวมถึงคดีของนักกิจกรรมอย่างนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล(ดา ตอปิโด) ที่ถูกตัดสินให้จำคุกในความผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้ง 3 กระทงเป็นเวลา 18ปี จากคำกล่าวปราศรัยของดาในเดือนกรกฎาคมปี 2551
กลุ่มเอ็นจีโอได้เริ่มสังเกตเห็นการคุกคามเสรีภาพการแสดงออกจากรายงานของคณะกรรมการคุ้มครองนักข่าว ไปจนถึงรายงานข่าวของนักข่าวข่าวไร้พรมแดน จากสถิติการดำเนินนคดีนี้และการคุกคามฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ในเดือนมกราคมปี 2553 Human Rights Watch ได้กล่าวว่าสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ตกต่ำลงไปอย่างมาก ทั้งนี้การไล่ล่านักการเมืองฝ่ายตรงข้ามยังมีความรุนแรงมากขึ้น นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้สัญญาเมื่อไม่นานมานี้ว่าการไล่ล่าจะยังคงมีอย่างต่อเนื่องเพราะที่ผ่านมา “รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากเกินไป”
สิ่งที่แย่กว่าสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือคือนโยบายการใช้ความรุนแรง ระบบศาลเตี้ย และมีการคุมขังฝ่ายตรงข้ามโดยเฉพาะใน “กลุ่มคนเสื้อแดง” หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ในรัฐบาลอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งองค์กรดังกล่าวเป็นองค์กรที่เกิดชึ้นภายหลังจากการทำรัฐประหารในปี 2549 นโยบายเหล่านี้ของรัฐบาลเป็นสาเหตุทำให้ผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธถูกสังหารเกือบร้อยราย และอีกประมาณสองพันคนได้รับบาดเจ็บ
การคุกคามเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนเมษายนปี 2552 เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ใช้กำลังเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร แต่ในวันที่ 14 มีนาคม 2553 กลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้เดินทางเข้ามาชุมนุมในกรุเทพมหานคร จากนั้นรัฐบาลได้สั่งให้สลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งเป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 27ราย แต่ทั้งนี้กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้ถูกใช้กำลังสลายลงอย่างราบคราบเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากทหารได้ใช้กระสุนจริงนับพันลูกยิงใส่ผู้ชุมนุมที่ไร้อาวุธ ผู้บริสุทธิ์ที่ยืนดูเหตุการณ์ อาสาพยาบาล และนักข่าว เป็นเวลากว่าหนึ่งอาทิตย์
แม้จะมีการกล่าวหาคนเสื้อแดงว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติการสลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม และเจ้าหน้ารัฐยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทั้ง 55 รายที่ถูกยิงสังหารนั้นมีอาวุธ รายงานข่าวไร้พรมแดนกล่าวว่าการกระทำของรัฐบาลไทยคือการออก “ใบสั่งฆ่า” ผู้ชุมนุมให้กับทหาร ซึ่งกองกำลังเหล่านี้เหล่านี้นำไปใช้ใช้เพื่อเป็นการ “เพิกเฉยต่อกฎหมายระหว่างประเทศและระบบกฎหมายไทยที่ปกป้องพลเรือน”
กองทัพได้เข้ามามีอำนาจในปกครองประเทศอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากรัฐประหารในปี 2549ในครั้งก่อนที่กองทัพปกครองประเทศโดยใช้กฎหมายบังหน้า หากกล่าวอย่างตรงไปตรงมาแล้วก็คือ ครั้งนี้กองทัพบิดเบือนใช้ระบบกฎหมายคุกคามเพื่อเอื้ออำนาจอย่างล้นเหลือแก่รัฐบาลทหาร โดยรัฐบาลทหารไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำใดๆทั้งสิ้น
การที่รัฐบาลปัจจุบันใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินในทางที่ผิดทำให้ระบบนิติรัฐถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงซึ่งไม่ต่างอะไรจากการทำรัฐประหาร อย่างไรก็ตามแม้ว่ารัฐบาลพยายามเสแสร้งว่าได้ปฏิบัติกฎหมาย เราต้องไม่ลืมว่า การประกาศและยืดเวลาการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินนั้นบ่งบอกว่านี้คือการทำรัฐประหารเงียบของรัฐบาลอภิสิทธิ์และนายทหารที่ให้การสนับสนุนรัฐบาล
ต้นปีนี้ องค์กรระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงอย่าง Freedom House ได้รายงานว่าประเทศไทยไม่สามารถถูกจัดไว้ในกลุ่มประเทศที่มี“การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย” (ซึ่งต่ำกว่าประเทศ “เสรีประชาธิปไตย”) เพราะมีการแทรกแซงกระบวนการทางการเมืองโดยกลุ่มทหารและการขึ้นสู่อำนาจของนายอภิสิทธิ์ที่ปราศจากความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง Freedom House ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในประเภทที่ “มีเสรีภาพเพียงบางส่วน” โดยให้คะแนนประเทศไทยในเรื่องเสรีภาพทางการเมืองและพลเรือนเท่ากับประเทศเวเนซูเอล่า (ซึ่งแย่กว่าประเทศที่มีปัญหาในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างบังคลาเทศ เนปาล พิลิปปินส์ ปากีสถาณี และศรีลังกา)
การจัดอันดับของ Freedom House ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความตกต่ำของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย (ในปี 2548 ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศ “เสรีนิยม”) ทั้งนี้คะแนนของ Freedom House ในปี 2553 ไม่ได้รวมถึงการประเมินการใช้อำนาจรัฐในประเทศไทย ใน 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหากนำมารวมกันอาจจะกล่าวได้ว่าประเทศไทยน่าจะได้คะแนนใกล้เคียงกับรัสเซียหรืออิหร่านมากกว่า
เป็นเรื่องตลกที่น่าเศร้าว่า ในขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศให้มีการเลือกตั้ง (ถึงแม้จะเป็นการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสก็ตาม) แต่รัฐบาลทหารไทยกลับเลือกที่จะสังหารประชาชนเกือบร้อยและละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศมากกว่าที่จะจัดการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคที่เกิดขึ้นจากการกระทำของกลุ่มพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งสัญญาณเตือนประเทศคู่ค้าของประเทศไทยว่า รัฐบาลไทยได้พยายามอย่างหนักที่จะทำลายความพยายามของประชาคมโลกที่จะนำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ภูมิภาคอีกครั้ง
ทุกวันนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐนายบารัก โอบาม่า และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนางฮิลลารี คลินตันยังคงเพิกเฉยที่จะกล่าวถึงเหตุการณ์การทำลายระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย นอกจากนี้สภาคองเกสได้ลงมติรับแผนการการแก้ปัญหาพื้นๆอย่างแผนการ “ปรองดองสมานฉันท์” อันจอมปลอม และยังล้มเหลวที่จะหยุดประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ประเทศที่เต็มไปด้วยการทุจริตฉ้อฉล
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลสหรัฐจะกำหนดทีท่าใหม่และใช้อิทธิพลโน้มน้าวให้รัฐบาลไทยยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ยุติการระบบการคุกคามฝ่ายตรงข้าม และจัดให้มีการเลือกตั้งในที่สุด ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงให้นั้นมีความสำคัญต่อสหรัฐอเมริกาอย่างไร
การปล่อยให้รัฐบาลไทยรอดจากการถูกลงโทษในกรณีของการสังหารประชาชนนั้นเป็นภัยต่อความสงบและเสถียรภาพในภูมิภาค ที่มากกว่านั้นคือการกดดันเพียงเล็กน้อยอาจของรัฐบาลสหรัฐจะเป็นการนำไปสู่การกระตุ้นความเชื่อในระบอบประชาธิปไตยในประเทศซึ่งระบอบประชาธิปไตยนั้นตกอยู่ภายใต้รัฐที่เสื่อมโทรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น