จาก อัลบั้ม.The straits times |
PHNOM PENH- CAMBODIA'S foreign minister on Saturday sought regional help in resolving a border dispute with Thailand in order 'to avoid any large scale armed conflict'.
In a letter to his Vietnamese counterpart and the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), Mr Hor Namhong said the two countries would not be able to reach a deal without outside support.
'As the current stalemate has extinguished any hope of further bilateral negotiations and in order to avoid any large scale armed conflict... I earnestly seek assistance,' he said in the letter.
The two countries have stepped up a war of words over the spat recently, with Cambodian Prime Minister Hun Sen warning it could lead to fresh bloodshed. Meanwhile Thai premier Abhisit Vejjajiva Tuesday called for Cambodian citizens to leave the contested territory.
The neighbouring nations have been locked in a troop standoff at their disputed border since July 2008, when the ancient Preah Vihear temple was granted UNESCO World Heritage status. The World Court ruled in 1962 that the temple belonged to Cambodia, although its main entrance lies in Thailand. The Thai-Cambodia border has never been fully demarcated, partly because it is littered with landmines left over from decades of war in Cambodia.
Troops from both countries exchanged fire briefly on their border in June, the latest in a series of clashes between the neighbours. -- AFP
Ref: straitstimes.com/BreakingNews/SEAsia
------------------------------------------------
กัมพูชาส่งจดหมายวอนเวียดนามและอาเซียนช่วยแก้ปัญหาข้อพิพาทชายแดน
พนมเปญ 14 ส.ค. – สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ส่งจดหมายถึงรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม และสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาข้อพิพาทชายแดนกับไทย เพื่อไม่ให้เกิดการปะทะกันครั้งใหญ่
รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ระบุในจดหมายว่า ไทยและกัมพูชาจะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงระหว่างกันได้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากนานาชาติ และว่า จากสถานการณ์ในขณะนี้ ทำให้หมดหวังที่จะเปิดการเจรจาในระดับทวิภาคีและเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด การปะทะกันครั้งใหญ่ เขาจึงต้องออกมาขอความช่วยเหลืออย่างจริงจัง
ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา ได้ออกมาเตือนว่า ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวอาจนำไปสู่การนองเลือดครั้งใหม่ รายงานระบุว่า ทหารไทยและกัมพูชาเคยเปิดฉากยิงปะทะกันบริเวณพรมแดนในช่วงสั้น ๆ เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา นับเป็นการปะทะกันล่าสุดระหว่างเพื่อนบ้านทั้งสอง.- สำนักข่าวไทย
Ref: MCOT.net
วันเสาร์ ที่ 14 ส.ค. 2553
---------------------------------------------
จาก อัลบั้ม MCOT.net |
BANGKOK, Aug 14 -- Thailand’s Deputy Prime Minister Suthep Thaugsuban said Saturday that Prime Minister Abhisit Vejjajiva has not yet ordered him to Cambodia to discuss ending the two countries’ disagreement regarding the ancient Preah Vihear.
Mr Suthep said he still had no details of the planned visited of United Nations Secretary-General Ban Ki-moon to Cambodia during which the UN chief is expected to discuss the temple issue with Cambodian government leaders.
A report by the Associated Press from Phnom Penh on Thursday said that Cambodian Prime Minister Hun Sen will raise the temple issue with Mr Ban during his official visit to Cambodia October 27-28.
Mr Hun Sen on Monday proposed an international conference to discuss the dispute “because the bilateral discussion is at an impasse now.”
The Thai government, however, opposes the idea as unnecessary because the 2000 Memorandum of Understanding, signed by the two governments, provides a sufficient framework for a solution.
Urging the Thai public to not pay much attention to Mr Hun Sen’s criticism of the Thai government, Mr Suthep said both countries are close neighbours and the Cambodian government could “say anything as long as it neither hurts Thai sovereignty nor its image”.
The International Court of Justice ruled in 1962 that the 11th century temple belongs to Cambodia, and UNESCO named it a World Heritage site in 2008 after Cambodia applied for the status.
The latest problem arose when Thailand objected to Phnom Penh's submitting a management plan for the temple late last month to UNESCO’s World Heritage Commission (WHC). The agency decided on July 29 to defer the decision until it meets next year.
The two countries have been locked in a dispute over a 4.6 sq km patch of land near the cliff-top temple. (MCOT online news)
“สุเทพ” ชี้ปัญหาประสาทพระวิหารให้ กต.ดำเนินการ
สนามบินสุวรรณภูมิ 14 ส.ค. – รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันยังไม่มีบัญชาจากนายกรัฐมนตรี ไปหารือกัมพูชาแก้ปัญหาปราสาทพระวิหาร พร้อมเผยไม่ทราบกำหนดเยือนกัมพูชาของเลขาธิการยูเอ็น เชื่อ กต.ทราบดีว่า ควรทำอะไร
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ นายบัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ มีกำหนดเยือนประเทศกัมพูชา ซึ่งคาดหมายจะมีการหารือเกี่ยวกับปัญหาปราสาทพระวิหาร ว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดกำหนดการของเลขาธิการยูเอ็น อย่างไรก็ดี หากมีกรณีที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยทางกระทรวงการต่างประเทศคงทราบดีว่า สมควรจะทำอะไร อย่างไร ตนไม่มีหน้าที่ไปพูดจาก้าวก่ายงานของกระทรวงการต่างประเทศ
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาให้สัมภาษณ์พาดพิงประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหา ปราสาทพระวิหาร รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์มาก ถึงอย่างไรไทยและกัมพูชาก็เป็นเพื่อนบ้านกัน กัมพูชาจะพูดอะไรก็แล้วแต่ทางกัมพูชา ตราบใดที่ไม่มีอะไรกระทบกระเทือนกับอธิปไตยของไทย หรือชื่อเสียงของไทย ก็ไม่ต้องกังวลอะไรมาก หากมีอะไรมากระทบกับอธิปไตย ชื่อเสียงของประเทศก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ แก้ไข
เมื่อถามว่า มีกำหนดนัดหมายหารือกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มี ที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้ คือหากนายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ตนไปพูดคุยกับทางกัมพูชาตนก็จะไป แต่ขณะนี้ยังไม่มีบัญชาอะไรตนจึงไม่มีหน้าที่อะไรที่ต้องไปทำ เมื่อถามว่าได้รับทราบรายงานสถานการณ์ว่าทางกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในอาณาเขต ประเทศไทยหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มี ทุกอย่างเป็นปกติเหมือนก่อนที่จะมีเรื่องความพยายามบริหารจัดการปราสาทพระ วิหาร ที่เคยเป็นอย่างไรก็ยังเป็นอย่างนั้น – สำนักข่าวไทย
Ref: www.mcot.net
2010/08/14
---------------------------------------------------
แฉกัมพูชาลักไก่-บุกยึดพื้นที่ทับซ้อน
เมื่อ วันที่ 13 ส.ค. นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานเพื่อการตอบโต้และชี้แจงข่าวเร่งด่วน (พีอาร์ยู) ในสังกัดสำนักคณะรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์พาดพิงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ต่อกรณีปราสาทพระวิหาร ว่า เรื่องดังกล่าวนายกฯ ไม่ขอตอบโต้ แต่ตนในฐานะโฆษกส่วนตัวนายกฯ จำเป็นต้องชี้แจง เพราะหากนิ่งเฉยอาจทำให้คนไทยและต่างประเทศเข้าใจผิดได้
โดย ที่สำนักข่าวพีอาร์ยูระบุว่า 1.นายกฯ พูดถึงความสัมพันธ์มากเกินไปและยั่วยุต่อกัมพูชา ที่ผ่านมานายกฯ พยายามพูดในประเด็นที่เป็นปัญหา และไม่มีการพูดยั่วยุให้ต่อต้านประเทศกัมพูชา มีแต่ทำความเข้าใจให้ยอมรับเงื่อนไขเจรจาผ่านช่องทางนักการทูต 2.ไม่มีคุณสมบัติผู้นำรัฐบาล อาเซียน และสหประชาชาติ ซึ่งบทบาทนายกฯ ในประชาคมโลกถือว่าเป็นที่ยอมรับ ในฐานะผู้นำอาเซียน 3.นายกฯ มีพฤติกรรมร่วมกับคนที่เป็นศัตรูกับประเทศกัมพูชา ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาตินั้น การเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวเป็นสิทธิของคนที่รักชาติ ซึ่งนายกฯ ได้แสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้นำด้วยการไปรับฟังความเห็นกลุ่มคนเหล่านี้และ กลุ่มอื่นๆ ที่รักชาติ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นกลุ่มใดก็ตาม และกลุ่มดังกล่าวก็ไม่มีพฤติกรรมเป็นศัตรูตามที่กล่าวหา
นายเทพไท กล่าวต่อว่า 4.รัฐบาลไทยมีการคุกคามทหารกัมพูชานั้น รัฐบาลไทยไม่เคยส่งสัญญาณหรือดำเนินการใดๆ ที่มีลักษณะคุกคามทางทหารของกัมพูชา หรือมีท่าทียั่วยุให้เกิดความรุนแรง 5.การทำหน้าที่ของนายกฯ เป็นการละเมิดสิทธิระหว่างประเทศ ที่ผ่านมานายกฯ ไม่ได้กระทำการใดๆ ที่ละเมิด ทุกอย่างใช้ช่องทางการทูต 6.พาดพิงนายกฯ ว่าโกหก เป็นอันธพาลมีจิตใจ เจ้าเล่ห์ ส่วนนี้ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมานายกฯ เป็นสุภาพบุรุษและเป็นที่ยอมรับ ไม่เคยก้าวร้าวต่อใครทั้งสิ้น และ 7.กล่าวหานายกฯเ ป็นเหมือนนาซี ที่ต้องการรุกดินแดนประเทศอื่น ฝักใฝ่เผด็จการ ขอยืนยันว่านายกฯ เป็นนักประชาธิปไตยเต็มตัว และยอมรับกติกาภายใต้ระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งไม่เคยรุกรานเพื่อนบ้านเพื่อยึดดินแดนมาเป็นของตัวเอง แต่กรณีข้อพิพาทปราสาทพระวิหารเป็นสิทธิที่นายกฯ ต้องปกป้อง
ขณะที่ บริเวณด่านเก็บค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศ ทั่วไปยังคงปกติ โดยมีกำลังทหารไทยพร้อมอาวุธปืนครบมือมาตั้งด่านตรวจเข้มรถทุกคันที่ผ่าน ขึ้นไปบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร โดยจะอนุญาตให้ชาวบ้านผ่านเข้าไปทำไร่ที่บริเวณไม่ห่างจากด่านเก็บค่า ธรรมเนียมมากนัก เนื่องจากยังไม่ไว้วางใจในสถาน การณ์บริเวณเขาพระวิหาร ขณะที่บริเวณพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนยังคงเต็มไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารหลากหลายประเภท ของชาวกัมพูชา แม้กระทั่งพิพิธ ภัณฑ์ศิลปะแบบบายน ซึ่งมาก่อสร้างอาคารไว้ก็ได้เริ่มดำเนินการใกล้เสร็จแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว หากคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาให้สิทธิประเทศกัมพูชาในการบริหารจัดการพื้นที่ ทั้งหมด
พ.อ.กฤตัช สรวมศิริ รองผบ.กองกำลังสุรนารี กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ทั่วไปโดยรอบเขาพระวิหารยังคงปกติ ทหารไทยที่อยู่ในแนวทุกหน่วยก็ยังคงเฝ้าตรวจติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับทหารกัมพูชา ส่วนชาวบ้านที่เข้าไปทำกินใกล้กับแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ก็ยังคงสามารถที่จะเข้าไปทำกินได้ตามปกติ ยกเว้นในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เนื่องจากมีกฎหมายที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว ซึ่งชาวบ้านทุกคนก็เข้าใจดี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้บริเวณพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนจำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตร เต็มไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารหลากหลายประเภท หรือแม้กระทั่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะแบบบายน ซึ่งมาก่อสร้างอาคารไว้ ก็ได้เริ่มดำเนินการใกล้เสร็จแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว หากคณะกรรมการมรดกโลก พิจารณาให้สิทธิ์กัมพูชาในการบริหารจัดการพื้นที่ทั้งหมด ขณะที่ทหารไทยและทหารกัมพูชายังคงตรึงกำลังอยู่ในที่ตั้งของตนเองโดยรอบเขา พระวิหาร
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า แต่จากการที่ได้มีการตรวจสอบพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารแล้วพบว่า ทางฝั่งของประเทศกัมพูชาเตรียมความพร้อมเกือบทุกด้านแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมและเพิ่มจำนวนร้านขายของประเภทต่างๆ หากมองจากบริเวณผามออีแดง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ จะสามารถมองเห็นถนนที่ตัดตรงมาจากจังหวัดพระวิหารของกัมพูชา เพื่อเดินทางมายังปราสาทพระวิหาร ได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว มีทั้งช่วงที่เป็นคอนกรีตและลาดยาง โดยถนนจะตัดอ้อมมาทางหมู่บ้านโกมุย ฝั่งกัมพูชา ก่อนจะวกขึ้นเขาพระวิหาร และล่าสุดมีถนนที่เป็นทางขึ้นปราสาทพระวิหาร ถึง 2 จุดด้วยกัน คือถนนที่เป็นทางแยกไปยังปราสาทโคปุระชั้น 1 และปราสาทโคปุระ ชั้น 2
ขอบคุณที่มา: ข่าวสดรายวัน
วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7198 หน้า 1
*****************
"ดร.โกร่ง"คนเดินตรอก เขียนถึง"กรณีเขาพระวิหาร" ย้อนเหตุการณ์ตั้งแต่ปี2505 ทำไมโอกาสไทยแพ้มากกว่าชนะ?
ที่มา: มติชนออนไลน์
วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 10:42:22 น.
กรณีเขาพระวิหาร
คนเดินตรอก
โดย...วีรพงษ์ รามางกูร
เมื่อปี พ.ศ. 2505 ขณะนั้นยังเป็นนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดูจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกปราศรัยทางโทรทัศน์เรื่อง คำพิพากษาของศาลโลก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พูดไปควักผ้าเช็ดหน้าออกมาเช็ดน้ำตาว่าเราจำเป็นต้องปฏิบัติตาม คำพิพากษา ของศาลโลกโดยการถอนกำลังออกจากพระวิหาร และต้องคืนโบราณวัตถุกลับไปให้กัมพูชา พร้อมกันนั้นก็ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชาและมอบหมายให้สหภาพพม่า เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของทางราชการไทยในพนมเปญและที่เมืองอื่น ๆ
ทางรถไฟที่ทอดยาวจากหัวลำโพงไปถึงกรุง พนมเปญก็เป็นอันต้องหยุด ประเทศไทยประกาศปิดชายแดน ตั้งแต่นั้นมาทั้ง 2 ประเทศก็หมดความเป็นมิตรต่อกัน แต่ประชาชนของทั้ง 2 ประเทศตามชายแดน ซึ่งเป็นญาติพี่น้องกันต่างก็ยังไปมาหาสู่ติดต่อค้าขายกันตามปกติ จนนายพลลอนนอลรัฐประหารขับไล่ สมเด็จพระเจ้าสีหนุออกไปร่วมกับฝ่ายเขมรแดง เราจึงรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศกัมพูชาขึ้นมาใหม่ แล้วข่าวคราวเรื่องเขาพระวิหารก็เงียบหายไป
เมื่อปี 2506 พวกเรานิสิตรัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง ต้องเรียนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และบรรพ 6 ว่าด้วยครอบครัวและมรดกกับท่านศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งที่ร่วมอยู่ในคณะทนายของฝ่ายไทย หัวหน้าคณะทนายความของไทยเป็นฝรั่งเข้าใจว่าเป็นอเมริกัน ส่วนหัวหน้าทนายความของฝ่ายกัมพูชาเป็นชาวฝรั่งเศส
พวกเราก็กราบเรียนถามท่าน อาจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ว่า ประเด็นที่ต่อสู้กันนั้นว่าอย่างไร ท่านก็บอกให้พวกเรากลับไปอ่านคำพิพากษาของศาลโลกเสียก่อนแล้วท่านจะอธิบาย ให้ฟัง
เมื่ออ่านจบแล้วเราก็เข้าใจขึ้นเป็นอัน มาก เพราะคำพิพากษาเขียนเหตุผลไว้อย่างละเอียด ทั้งคำฟ้องร้องของกัมพูชาและคำแก้คดีของฝ่ายไทย รวมทั้งเอกสารสนธิสัญญาแผนที่แนบท้ายสัญญา ลายพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงมีไปถึงข้าหลวงฝรั่งเศสประจำกัมพูชา เรื่องขออนุญาตเสด็จไปเยี่ยมชมเขาพระวิหาร ภาพถ่ายสมเด็จกับ ม.จ.พูนพิศมัยพระธิดาเสด็จเขาพระวิหาร
ประเด็นที่ต่อสู้กันก็คือ แผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับปี 1904 ที่ให้เอาสันปันน้ำเป็นเขตแดน แต่แผนที่แนบท้ายใช้มาตราส่วน 1 : 200,000 ขีดมาตามสันปันน้ำ แล้วมาวกเอาปราสาทเขาวิหารไปเป็นของกัมพูชา แล้วจึงวกกลับมาบนสันปันน้ำอีกทีหนึ่ง
เรารู้ว่าแผนที่นั้นผิดไม่ ตรงกับตัวหนังสือในสนธิสัญญาปักปันเขตแดน ค.ศ. 1904 อีกทั้งไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ที่ฝรั่งเศส ทำฝ่ายเดียวแล้วส่งมาให้ไทย ไทยรับรองให้ความเห็นชอบเพราะฝ่ายไทยไม่ได้ส่งตัวแทนไปร่วมคณะปักปันเขตแดน ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา
แต่ใน ที่สุดศาลโลกตัดสินว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา เพราะแผนที่ แนบท้าย ค.ศ. 1904 เป็นส่วนหนึ่งของ สนธิสัญญาทั้งในแง่เอกสารและข้อเท็จจริงที่ทางไทยไม่ได้ทักท้วงภายใน 10 ปี อีกทั้งหัวหน้าคณะปักปันเขตแดนของฝ่ายไทยจะเสด็จเยี่ยมปราสาทพระวิหารก็ ทรงมีลายพระหัตถ์ขออนุญาตข้าหลวงฝรั่งเศส ข้าหลวงฝรั่งเศสก็ออกมารับเสด็จพร้อมกับชักธงชาติฝรั่งเศสขึ้นสู่ยอดเสา มีการถ่ายรูปร่วมกัน
อาจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ท่านเล่าให้พวกเราลูกศิษย์ฟังว่า ท่านรู้แต่แรกแล้วว่าเราคงจะแพ้คดี แต่โดยหน้าที่ที่เป็น คนไทยและจรรยาบรรณของทนายความก็ต้องทำหน้าที่ปกป้องผล ประโยชน์ของประเทศชาติอย่างถึงที่สุด
ท่านเล่าว่าทางที่ถูกเราไม่ควรตกลงให้กัมพูชานำคดีขึ้นศาลโลก เพราะคดีที่จะขึ้นสู่ศาลโลกได้ทั้งสองฝ่ายต้องยินยอมให้ศาลโลกพิจารณา
แต่จอมพลสฤษดิ์ท่านต้องการ รักษาเกียรติภูมิของชาติว่าเราเป็นชาติอารยะ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ และทนายฝรั่งเชื่อว่าฝ่ายเราจะเป็นฝ่ายชนะ อาจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ท่านเป็นเสียงข้างน้อย เมื่อนายกรัฐมนตรีตัดสินใจแล้วท่านก็ต้องทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ในฐานะที่มีอาชีพทนายความและเป็นคนไทย
เมื่อฝ่ายเราแพ้คดีแล้ว ก็แปลว่าเราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมรับว่า แผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา มีผลบังคับใช้เหมือนกับกรณีเจดีย์สามองค์ ที่ด่านเจดีย์สามองค์ที่อังกฤษขีดวกเข้ามาทางฝ่ายไทยเป็นปากนกแก้วให้เป็น ของพม่า
ปัญหาก็คือ ความชัดเจนว่าขอบเขตปราสาทพระวิหารนั้นกินขอบเขตพื้นที่ไปถึงไหน เพราะแผนที่ที่ฝรั่งเศสส่งมาให้ไทยเรารับรองหรือทักท้วงนั้นใช้มาตราส่วนย่อ มาก ดูได้ไม่ชัด
คณะรัฐมนตรีในสมัยจอมพลสฤษดิ์จึง ตีความคำพิพากษาว่า ขอบเขตของปราสาทพระวิหาร หรือ ′The Temple of Pra Vihar′ (สื่อมวลชนไทย สะกดภาษาอังกฤษตามสำเนียงเขมรว่า The Temple of Preach Vihear ซึ่งไม่ควรสะกดอย่างฝรั่ง ควรสะกดตามสำเนียงไทย หรือสำเนียงแขกเจ้าของภาษาสันสกฤตว่า The Temple of Pra Vihar อาจจะเพราะความไม่รู้หรือไม่ก็เพราะเห่อฝรั่ง)มีขอบเขตแค่ไหน
ทางฝ่ายกัมพูชาก็ว่า ′สระตาล′ห่างออกมาไกลสองสระที่เป็นที่สรงน้ำของกษัตริย์ขอมข้างหนึ่ง และเป็นที่อาบน้ำชำระร่างกายของพราหมณ์ข้างหนึ่งก่อนขึ้นไปเฝ้าพระอิศวรที่ ปราสาท เป็นส่วนหนึ่งของเทวสถานแห่งนี้
นอกจากนั้น ไกลออกมาถึงสถูปคู่ ซึ่งคงจะหมายถึงประตูทางเข้าพระวิหาร ซึ่งไกลออกมาถึง 2 ก.ม. เป็นเครื่องหมายแสดงขอบเขตของพระวิหาร
รวมทั้งหมดจึงจะเป็นเทวสถาน หรือ พระวิหารแห่งพระอิศวรเจ้าที่สมบูรณ์ เหมือนกับอาณาเขตของวัดคงไม่ใช่เฉพาะพระอุโบสถภายในเขตที่ลงลูกนิมิตและใบ เสมา คงเริ่มจากซุ้มประตูภายในกำแพงทั้งหมด ซึ่งอาจจะมีศาลาราย วิหารคต ศาลา กุฏิพระ ฯลฯ ด้วยประกอบเข้าจึงเป็นวัด หรือ ′พุทธสถาน′ หรือ ′พระวิหาร′
ทางเราก็ตีความว่า คำพิพากษาหมายถึงเฉพาะตัวพระวิหารสิ้นสุดที่บันไดขึ้นวิหารเท่านั้น ดังนั้นพื้นที่รอบพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรจึงยังเป็นของไทย เขมรบอกไม่ใช่ของไทย กัมพูชาไม่เคยรับรู้ ดังนั้นต่างคนต่างอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่ ดังกล่าวจนทางฝ่ายกัมพูชาต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทางยูเนสโกจึงขอให้เขมรเจรจากับไทยว่าจะร่วมกันพัฒนาอย่างไรให้เป็นเทวสถาน ที่สมบูรณ์ เพราะทางขึ้นอยู่ทางฝั่งไทย
หนังสือช่วยจำที่ลงนามโดย รมต. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ปี 2543 ก็ถูกต้องแล้ว หนังสือช่วยจำลงนามโดย รมต.นพดล ปัทมะ ที่ทำให้เขมรยอมรับว่าพื้นที่ 4.6 ตร.ก.ม เป็นพื้นที่ทับซ้อนก็ถูกต้อง หนังสือของ รมต. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เพื่อ ปูทางไปในการปักปันเขตแดน ส่วนของ รมต.นพดล ปัทมะ ก็เพื่อนำไปสู่การขึ้นทะเบียนมรดกโลก และร่วมกันพัฒนาให้เป็นมรดกโลก ทั้ง 2 บันทึกมีประโยชน์กับทั้ง 2 ประเทศและของโลกในแง่สันติภาพและวัฒนธรรมร่วมกัน
ปัญหา ที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะนักการเมืองที่ไม่รับผิดชอบใช้ประเด็นความขัดแย้งกับเพื่อน บ้านมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองใช้ประหัตประหารกันทางการเมือง โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์ของชาติ แท้จริงแล้วก็เพื่อประโยชน์ของตนเอง เมื่อฝ่ายหนึ่งทำเรื่องให้ง่ายให้เป็นประโยชน์ร่วมกัน อีกฝ่ายต้องการให้เป็นเรื่องยากให้เป็นโทษกับประเทศชาติ อีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นนักการเมืองเหมือนกัน มีพรรคฝ่ายค้านเหมือนกัน ก็ใช้กรณีนี้เล่นงานผู้นำของตน เอาอย่างประเทศไทยเรื่องก็เลยทำท่าจะบานปลายไปกันใหญ่
ดีที่ทหารทั้ง 2 ฝ่ายมีความเป็นอารยะพอ ไม่เถื่อนกระโจนไปตามการเมือง ซึ่งต้องชมเชยกองทัพของทั้ง 2 ประเทศ มิฉะนั้นก็ต้องรบกัน พาลูกหลานชาวบ้านไปตายโดยเปล่าประโยชน์
สื่อมวลชนของทั้ง 2 ประเทศก็พลอยไปเล่นการเมืองกับเขาด้วย ไม่ทำหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ ไม่เคยศึกษา ไม่อ่านบันทึกของอาจารย์ ดร.บวรศักดิ์ ดร.ชาญวิทย์ คำพิพากษาของศาลโลกก็คงไม่อ่านอยู่แล้ว
ถ้าเรื่องไปถึงคณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีความมั่นคงไม่มีทางเลือกต้องกลับไปที่ศาลโลกให้ตัดสินให้ชัดเจนว่า พื้นที่ 4.6 ตร.ก.ม.เป็นส่วนหนึ่งของปราสาทหรือไม่ เราก็ไม่มีทางเลือกเพราะได้เคยตกลงให้ศาลโลกพิจารณามาแล้ว
คิดอย่างสามัญ สำนึก โอกาสที่เราจะแพ้น่าจะสูงกว่าโอกาสที่จะชนะ ทางที่ดีปล่อยให้คลุมเครือดีกว่าให้ศาลโลกตัดสินอีกครั้ง โดยถือว่าเป็นประโยชน์ร่วมกัน น่าเสียใจที่เราไปเล่นการเมืองกันจนวิถีทางการแก้ปัญหาที่พัฒนามาด้วยดีนั้น กำลังพังทลายลง พอรัฐบาลจะลงก็ต้องหาบันไดลง
แต่ก็มีคนกำลังจะชักบันไดออกไม่ให้ลง
.............
Refที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่16-18 สิงหาคม 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น