จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
mrboringdays | September 20, 2009
ฟิฟทีนมูฟ (http://www.15thmove.net/)
วีดีทัศน์นำเสนอการสัมมนา แสวงหาความจริง : แผ่นดินเขาพระวิหาร ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ กรกฎาคม ๒๕๐๕-ปัจจุบัน วันอังคารที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม ชั้น ๒ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร โดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร
mrboringdays | September 20, 2009
ฟิฟทีนมูฟ (http://www.15thmove.net/)
วีดีทัศน์นำเสนอการสัมมนา แสวงหาความจริง : แผ่นดินเขาพระวิหาร ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ กรกฎาคม ๒๕๐๕-ปัจจุบัน วันอังคารที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม ชั้น ๒ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร โดย คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร
http://www.15thmove.net/media/present...
Ref: Any Doc
อ้างถึง: บทความของ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
...คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็นเพราะว่า ประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก...
ประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารกลายเป็นหัวข้อที่สาธารณชนให้ความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศกัมพูชายื่นเรื่องการขอเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตาม อนุสัญญา Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage โดยที่ประเทศไทยคัดค้านการยื่นฝ่ายเดียวของกัมพูชา โดยอ้างเรื่องความสมบูรณ์ทางวิชาการด้านโบราณคดีและการที่ทั้งสองประเทศยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเขตแดน
แม้คดีนี้จะผ่านความรับรู้ของคนไทยมายาวนานแล้วก็ตามแต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องนี้
เหตุผลที่คนไทยไม่ค่อยรู้ความเป็นมาเป็นไปในคดีปราสาทพระวิหารอาจเป็น เพราะว่าประเทศไทยแพ้คดีนี้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชา จนทำให้สังคมไทยไม่อยากกล่าวถึงคดีนี้มากนัก
และด้วยเหตุที่คนไทยรู้จักกับคดีนี้น้อย จึงอาจมีการบิดเบือนข้อมูลได้ง่าย เนื่องจากคดีนี้มีสองประเด็นใหญ่ที่ต้องพิจารณาคือ ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลและการพิจารณาขั้นเนื้อหา จึงขอแยกอธิบาย ดังนี้
ประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลโลก
ประชาชนคนไทยมักจะสงสัยอยู่เสมอว่า ทำไมประเทศไทยต้องไปขึ้นต่อสู้คดีต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีอธิปไตย มีเอกราช การขึ้นต่อสู้คดีของประเทศไทยมิเท่ากับเป็นการเสียเอกราชหรือ
ประเด็นนี้ เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อน หากใช้ความรู้สึกชาตินิยมหรือสามัญสำนึกย่อมไม่เข้าใจว่าทำไมประเทศไทยต้องขึ้นศาลโลก ผู้เขียนจะขออธิบายช่องทางการยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเสียก่อนว่ามีวิธีการใด บ้าง การยอมรับเขตอำนาจศาลโลกนั้นทำได้อยู่สามประการคือ
ประการแรก การยอมรับเขตอำนาจการพิจารณาคดีโดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาใดอนุสัญญาหนึ่ง ซึ่งกำหนดว่า หากมีปัญหาในการตีความสนธิสัญญา ให้ศาลโลกเป็นผู้พิจารณา
ประการที่สอง ประเทศคู่พิพาทตกลงทำความตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเป็นเฉพาะกรณีๆไป กล่าวคือ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นมาแล้ว รัฐคู่พิพาทได้ทำสนธิสัญญายอมรับเขตอำนาจศาลเฉพาะข้อพิพาทนั้น และ
ประการที่สาม รัฐได้ทำคำประกาศฝ่ายเดียวยอมรับเขตอำนาจศาล ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐกำหนดไว้
ประเด็นเรื่องการยอมรับเขตอำนาจศาลโลก (ทั้งศาลโลกเก่าและใหม่) ของประเทศไทยนั้นเป็นประเด็นที่คนไทยไม่ใคร่ได้กล่าวถึง อาจเป็นเพราะว่าเป็นประเด็นข้อกฎหมายมากเกินไปประชาชนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้สนใจ
อีกทั้งทางการก็มิได้ชี้แจงประเด็นนี้ต่อสาธารณชนมากนัก ทั้งๆที่ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก และเป็นประเด็นที่หากมีการกล่าวถึงในวงกว้างแล้วก็อาจมีผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องได้ แต่เนื่องจากประเด็นนี้สำคัญ ผู้เขียนจึงมิอาจหลีกเลี่ยงที่จะข้ามไปได้จึงขอกล่าวถึงดังนี้
ประเทศไทยได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ทั้งหมด 3 ฉบับ ดังนี้
ฉบับแรกทำเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1929 และเริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ในปี ค.ศ.1930 โดยคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าซึ่งชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ" (Permanent Court of International Justice : PCIJ) เป็นเวลา 10 ปี
ฉบับที่สอง รัฐบาลไทยทำคำประกาศโดยมิวัตถุประสงค์เพื่อ "ต่ออายุ" (renew) เขตอำนาจศาลโลกเก่า โดยคำประกาศฉบับที่สองนี้ทำเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1940 โดยคำประกาศที่สองนี้เริ่มมีผลใช้บังคับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1940
ฉบับที่สาม รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1950 ซึ่งหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สอง (ที่ต่ออายุคำประกาศฉบับแรก) หมดอายุเป็นเวลา 14 วัน
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจและเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่ฝ่ายไทยนำมาอ้างก็คือ ศาลโลกเก่านั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1946 และตามธรรมนูญของศาลโลกใหม่ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" (International Court of Justice : ICJ) นั้นมาตรา 36 วรรค 5 ได้กำหนดว่า ให้การยอมรับเขตอำนาจ "ศาลโลกเก่า" โอนถ่ายไปยัง "ศาลโลกใหม่" หากว่า คำประกาศนั้นยังมีผลใช้บังคับอยู่หรือกล่าวง่ายๆ คือ ยังไม่ขาดอายุนั่นเอง
ข้อต่อสู้เกี่ยวกับการคัดค้านเขตอำนาจศาลโลกใหม่ที่ทนายความฝ่ายไทยต่อสู้ในชั้นของการคัดค้านเขตอำนาจของศาลโลกใหม่นั้นมีว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ยุติลงอันเป็นผลมาจากการสิ้นสุดของศาลโลกเก่า ดังนั้น คำประกาศต่ออายุเขตอำนาจศาลโลกเก่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 จึงไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป
อีกทั้งคำประกาศดังกล่าวมิใช่คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ ดังนั้น ศาลโลกใหม่จึงไม่มีเขตอำนาจ
แต่ข้อต่อสู้นี้อ่อนมาก ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามที่รัฐบาลไทยทำเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1950 นั้น ไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการต่ออายุยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าได้ เพราะว่า คำประกาศฉบับที่สามนี้ ทำหลังจากที่คำประกาศฉบับที่สองหมดอายุแล้วสองอาทิตย์
ศาลโลกเห็นว่า สิ่งที่จะต่ออายุได้นั้น สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ มิใช่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว อีกทั้งรัฐบาลไทยก็รู้ดีว่าขณะที่ทำคำประกาศฉบับที่สามนั้นทำหลังจากที่ศาลโลกเก่าได้สิ้นสุดลงแล้วกว่าสี่ปี (ศาลโลกเก่าสลายตัวเมื่อปี ค.ศ.1946 แต่คำประกาศฉบับที่สามทำเมื่อปี ค.ศ.1950) ข้ออ้างของประเทศไทยจึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นต่อไปมีว่า ในเมื่อคำประกาศฉบับที่สามฟังไม่ได้ว่าเป็นคำประกาศต่ออายุยอมรับเขตอำนาจศาลโลกเก่าแล้ว ผลในทางกฎหมายของคำประกาศฉบับที่สามคืออะไร ศาลโลกเห็นว่า คำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลฉบับที่สามเป็นคำประกาศใหม่ ที่แยกเป็นเอกเทศออกจากคำประกาศฉบับแรกและฉบับที่สอง
และหากพิจารณาเนื้อหาของคำประกาศที่สามแล้ว ศาลโลกเห็นว่า เป็นการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลโลกใหม่ โดยอิงเงื่อนไขจากคำประกาศฉบับแรก
ดังนั้น ศาลโลกจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลโลกมีเขตอำนาจพิจารณาข้อพิพาทที่รัฐบาลกัมพูชาฟ้องรัฐบาลไทย ข้อต่อสู้ทางกฎหมายของฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นเรื่องเนื้อหาของข้อพิพาท
คําร้องของกัมพูชาที่สำคัญที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร การนำเสนอพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายนั้นมีดังนี้
ฝ่ายไทยเสนอว่า หากพิจารณาตามสนธิสัญญาที่สยามทำกับประเทศฝรั่งเศส (ขณะนั้นประเทศฝรั่งเศสปกครองกัมพูชา) เมื่อปี ค.ศ.1904 ซึ่งตามสนธิสัญญาจะใช้ "สันปันน้ำ" (watershed) ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งไทย แต่หากพิจารณาตามแผนที่ ปราสาทพระวิหารจะอยู่ฝั่งกัมพูชา
ขออธิบายตรงนี้เลยว่าหลังจากที่มีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีในปี ค.ศ.1904 ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการผสมขึ้น และไม่นานนัก คณะกรรมการชุดนี้ก็มิได้ทำงานอีกต่อไป ต่อมาฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ขึ้น ข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาฉบับนี้ มีดังนี้
ประการแรก แผนที่นี้เป็นการร้องขอจากฝ่ายไทยให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้น แผนที่นี้ทำขึ้นที่กรุงปารีส การที่ประเทศร้องขอให้ประเทศฝรั่งเศสทำขึ้นนั้นเป็นเพราะว่าในขณะนั้น ประเทศไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการทำแผนที่
ประการที่สอง การปักปันเขตแดนแล้วลงมาตราส่วนลงในแผนที่เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ฝ่ายไทยไม่มีส่วนร่วมเลย
ประการที่สาม การทำแผนที่นี้ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผสมแต่อย่างใด ในประเด็นนี้ผู้พิพากษาฟิสต์มอริสซึ่งเป็นหนึ่งในองค์คณะกล่าวว่า คณะกรรมการผสมไม่เคยแม้แต่จะ "เห็น" แผนที่นี้ อย่าว่าแต่ "รับรอง" เลย เป็นการร้องขอฝ่ายเดียวจากรัฐบาลไทย
ประการที่สี่ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดและเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกวินิจฉัยให้ประเทศไทยแพ้ก็คือ แม้ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาด เคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่
โอกาสที่จะประท้วงความไม่ถูกต้องของแผนที่ เช่น กรณีการเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเดินเรือกับประเทศฝรั่งเศสที่ทำขึ้นในปี ค.ศ.1925-1937 แต่ไทยก็มิได้ทักท้วง
ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธในภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้ เป็นการปิดปากประเทศไทยว่าจะมาปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ไม่ได้
ยิ่งไปกว่านั้น ทางการของไทยเองยังได้ทำแผนที่ใช้ขึ้นเองอีกด้วยในปี ค.ศ.1937 โดยแผนที่ที่เจ้าหน้าที่ของไทยเป็นผู้จัดทำ ได้แสดงว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา ประเด็นนี้ไทยอ้างว่า แผนที่ที่ไทยทำขึ้นเองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทหารเป็นการภายในเท่านั้น แต่ศาลโลกไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของไทยในประเด็นนี้
เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้นกองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่ และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย
ซึ่งศาลโลกเห็นว่า เท่ากับประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส) อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ผู้พิพากษาศาลโลกท่านหนึ่งคือ ท่านเวลลิงตัน คู ซึ่งเป็นตุลาการเสียงข้างน้อยได้ทำความเห็นแย้งว่า ในเวลานั้นกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย อีกทั้งพระองค์ยังตรัสว่า การมาเยือนปราสาทพระวิหารนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง
นอกจากนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ไทยแพ้คดีอาจเป็นผลมาจากการตั้งรูปคดีที่ผิดพลาดมาตั้งแต่ต้น แทนที่ประเทศไทยจะปฏิเสธความผิดพลาดของแผนที่ ควรรับประเด็นเรื่องแผนที่ แล้วยกข้อต่อสู้ว่า ในกรณีที่ข้อความในสนธิสัญญาที่ให้ใช้ "สันปันน้ำ" แย้งกับ "แผนที่" ในกรณีนี้ให้ถือว่าข้อความในสนธิสัญญามีค่าบังคับเหนือกว่า
ซึ่งอนุสัญญาแวร์ซายส์ มาตรา 29 ก็มีข้อความทำนองนี้ อีกทั้งก็มีคดีที่ศาลตัดสินให้ความน่าเชื่อถือของสนธิสัญญายิ่งกว่าแผนที่
จริงหรือที่ "การนิ่งเฉย" หรือ "กฎหมายปิดปาก" มิใช่เป็นหลักกฎหมาย
หลังจากที่ไทยแพ้คดี นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวลานั้นกล่าวทำนองว่าศาลโลกนำหลักกฎหมายที่ไม่ชัดเจนมาตัดสินคดี ที่น่าคิดก็คือ ทำไมทนายฝ่ายไทยไม่ทราบ หรือว่า "หลักกฎหมายปิดปาก" หรือ "การนิ่งเฉย" นั้น ศาลโลกหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเคยนำมาใช้หลายคดีแล้ว
อีกทั้งนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังได้เขียนบทความเรื่อง "หลักกฎหมายปิดปากที่ใช้ในศาลระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของหลักกฎหมาย ดังกล่าวกับการนิ่งเฉย" (Estoppel before Internationals and Its Relation to Acquiescence) เขียนโดยนักกฎหมายระหว่างประเทศชื่อ Bowett ลงในวารสาร British Yearbook of International Law ปี ค.ศ.1957 และบทความชื่อ "หลักกฎหมายปิดปากในกฎหมายระหว่างประเทศ" โดย Mcgibborn ในวารสาร International and Comparative Law Quarterly ปี 1958 ซึ่งตีพิมพ์ก่อนที่ศาลโลกจะตัดสินประมาณ 3-4 ปี
ไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าฝ่ายไทยได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ แต่ไม่ว่าฝ่ายไทยจะได้เคยอ่านบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ทนายความของฝ่ายไทยน่าจะย่อมรู้ถึงหลักกฎหมายปิดปากเป็นอย่างดี
เพราะหลักว่าด้วย "การถูกการตัดสิทธิ" (Preclusion) หรือ "การนิ่งเฉย" อาจเทียบได้หรือมีผลเท่ากันกับ "หลักกฎหมายปิดปาก" อันเป็นหลักกฎหมายอังกฤษ หรือแองโกลแซกซอน
บทส่งท้าย
สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของ แผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้
หากประเทศไทยจะเสียดินแดนอีกครั้ง คงไม่ใช่เพราะนำข้อมูลการต่อสู้ทางกฎหมายคดีความเอาไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน หรือเกิดจากความไม่รักชาติ ไม่สามัคคีอย่างที่คนไทยหลายคนเข้าใจกัน แต่เกิดจากความไม่รอบคอบ ความประมาท และไม่รู้จักหน้าที่ของตนเองมากกว่า เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสามจังหวัดภาคใต้ของเรา
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
จาก อัลบั้มAny Doc |
ดีเบตปราสาทพระวิหารเบต2ฝ่าย
เวทีดีเบต ข้อพิพาทปราสาทประวิหาร นายกฯ ยืนยัน ไม่ยกเลิก MOU เพราะเป็นตัวสกัดกัมพูชารุกล้ำพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ลั่น หากจำเป็นไทยพร้อมใช้ความรุนแรงตอบโต้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร่วมจัดรายการพิเศษพูดคุยและเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นปัญหา ปราสาทเขาพระวิหารร่วมกับ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ขณะที่ฝ่ายภาคีเครือข่ายประชาชนคนไทยรักชาติ ประกอบด้วย นายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่าย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ นายสมปอง สุจริตกุล อดีตทนายความผู้ประสานงานฝ่ายไทยต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร ปี 2503-2505 และนายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระ โดยนายกรัฐมนตรี ย้อนไประหว่างการเกิดข้อพิพาทไทยกัมพูชา ในปี 2505 ที่กัมพูชา นำเรื่องนี้เข้าสู่ศาลโลก ไทยได้ต่อสู้ทางคดี พร้อมยึดถือเขตแดนที่เป็นสนธิสัญญาในสันปันน้ำ เป็นเขตแดน ซึ่งมั่นใจปราสาทพระวิหารเป็นของไทย แต่กัมพูชาต่อสู้โดยอ้างแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่อ้างว่าจะทำโดยฝรั่งเศส ซึ่งลุกล้ำไทยพอสมควร เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ศาลโลกพิพากษา โดยไม่ได้ตัดสินว่าเขตแดนไทย-กัมพูชา อยู่จุดใด รวมทั้ง ไม่ได้ระบุแผนที่รับรอง โดยคณะกรรมการ ขณะที่ไทยก็ไม่ได้มีการโต้แย้ง
เวทีดีเบต 2 ฝ่าย ระหว่างตัวแทนรัฐบาลนำโดย นายกฯ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ และ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และฝ่าย กลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชนคนไทยรักชาติ นำโดย นายวีระ สมความคิด นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นายสมปอง สุจริตกุล และ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม ผ่านไปแล้วกว่า 1 ช.ม. แล้ว ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยมีการพูดย้อนไปตั้งแต่ปี 2505 ที่ ศาลโลกตัดสินให้ ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่พื้นที่โดยรอบยังเป็นข้อพิพาท
ด้านนายกฯ ยืนยันว่า ตั้งแต่ปี 2550 ไทยมีจุดยืนขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ร่วมกับกัมพูชา แต่พอปี 2551 การออกแถลง การร่วมสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดย นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ สมัยนั้น จึงเป็นเงื่อนไขที่กัมพูชานำไปอ้างได้ ซึ่งหลังจากนั้น ไทยก็ได้เดินหน้าคัดค้านเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ปฏิเสธว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยพูดว่า พื้นที่ 4.6 ตางรางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทับซ้อน โดยยืนยันว่า พื้นที่ ที่ติดกับตัวปราสาทเป็นของพื้นที่ของไทย ไม่มีใครสามารถไปดำเนินใดๆ ได้ ต้องได้รับอนุญาตจากไทยก่อน พร้อมย้ำ MOU ปี 2543 ไม่ได้ยอมรับแผนที่ของฝรั่งเศส โดยระหว่างที่ยังไม่การกำหนดเขตแดน ก็ไม่ควรที่จะมีการดำเนินการใดๆ แต่ก็มีการละเมิดข้อตกลงอย่างต่อเนื่องของกัมพูชา ซึ่งไทยก็มีการทำหนังสือประท้วงกลับไป
นายกฯ ยัน ไทยไม่ได้เสียดินแดน MOU ปี 2543 ยังมีประโยชน์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างรายการพิเศษพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประเด็นปัญหาปราสาทเขาพระวิหารกับ ตัวแทนภาคีเครือข่ายประชาชนคนไทยรักชาติ โดยยืนยันว่า ที่ผ่านมา คัดค้านเรื่องที่กัมพูชาจะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก มาโดยตลอด ซึ่งไทยไม่ได้เปลี่ยนดินแดนให้กัมพูชา ขณะที่ขอให้มั่นใจได้ว่า คำตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลกนั้น จะใช้อ้างอธิปไตยไม่ได้ ทั้งนี้ ยืนยันบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU 2543 ไม่ได้ยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่จัดทำโดยกัมพูชา และจุดยืนของรัฐบาลก็คัดค้านแผนที่ดังกล่าว มาโดยตลอด
ส่วนทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีนำบันทึกช่วยจำ โดยกระทรวงต่างประเทศได้ทำถึงกัมพูชา เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2551 ซึ่งระบุชัดเจนว่า ไทยไม่ยอมรับแผนที่ที่กัมพูชาใช้แนบท้าย MOU ปี 2543 อย่างไรก็ตาม การกระทำสิ่งใดของกัมพูชา ยูเนสโก หรือ หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ที่มีการพิพาทไม่สามารถทำได้ เว้นแต่จะได้รับการอนุญาติจากรัฐบาลไทย
โดย นายกรัฐมนตรี ยืนยัน ไม่ยกเลิก MOU ปี 2543 เพราะ MOU ฉบับดังกล่าว ยังมีประโยชน์ เนื่องจากยังเป็นการสร้างพันธะกับกัมพูชา เพราะจะไม่สามารถเข้าไปดำเนินการใดๆ เพิ่มเติมในพื้นที่ได้ ซึ่งถือเป็นการสกัดกัมพูชาทางหนึ่ง แต่หากยกเลิก จะยิ่งทำให้กัมพูชา ดำเนินการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ส่วนเรื่องการรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของชาวกัมพูชานั้น ได้เกิดขึ้นมาร่วม 10 ปี ซึ่งไทยได้มีการประท้วงอย่างต่อเนื่อง โดยยืนว่าเมื่อใดที่มีความจำเป็นต้องแสดงถึงสิทธิ์ของอธิปไตย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะมีการตอบโต้ ด้วยการปะทะกัน ทั้งนี้ หากเราจำเป็นต้องใช้กำลัง เราต้องคำนึงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม เชื่อหากไทยใช้ความรุนแรงตอบโต้ จะมีคนลุกขึ้นต่อต้านอย่างแน่นอน ดังนั้น ตนจึงได้มอบหมายให้ให้กระทรวงการต่างประเทศ และ กระทรวงกลาโหม ทำงานประสานกัน ยืนยัน รัฐบาลมีเจตนาที่จะแก้ปัญหาให้เรื่องนี้ให้จบ ซึ่งอาจไม่ทันใจทุกคน
ด้านนายวีระ สมความคิด ตัวแทนกลุ่มภาคีเครือข่ายประชาชนคนไทยรักชาติ กล่าวว่า ชาวกัมพูชา ได้รุกล้ำเข้ามาภายหลัง ไทยได้ทำ MOU ปี 2543 พร้อมกับอ้างสิทธิ์ว่า ไทยได้ยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แล้ว เพราะกัมพูชาไม่ได้เข้าใจเหมือนไทย ด้าน นาย ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ยืนยัน MOU 2543 ไม่ได้อนุญาตให้ชาวกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ข้อพิพาท พร้อมระบุกัมพูชาเข้ามาก่อน ทำ MOU ปี2543 และเตรียมนำเรื่อง MOU เข้าขอความเห็นต่อที่ประชุม ครม. ว่าจะให้นำเข้าพิจารณาในสภาหรือไม่
ที่มา: Sanook.com หน้าแรกข่าวการเมือง breaking news
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น