วันเสาร์, กันยายน 25, 2553

จากโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมถึงนายอภิสิทธิ์/รัฐบาลไทย

by Generalhero on 2010-09-26 - 09:49 am
Ref: Robert Amsterdam Thailand

จาก อัลบั้มRobert Amsterdam Thailand

จากโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมถึงนายอภิสิทธิ์/รัฐบาลไทย

เมื่อ วันที่ 17 และ 18 สิงหาคม สมาชิกในรัฐบาลไทยหลายคน รวมถึงนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรมว.ต่างประเทศได้ตอบจดหมายที่ผมได้ส่งไปในวันที่ 10 สิงหาคม โดยจดหมายฉบับนี้ผมได้ส่งไปในนามของเหยื่อซึ่งถูกสังหารจากการสลายการชุมนุม ของรัฐบาลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา

ผมได้ส่งจดหมายฉบับนี้เพื่อทวงถามคำตอบจากคำถามหลายข้อในจดหมายที่เราได้ ส่งไปเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน โดยเนื้อความในจดหมายฉบับก่อนมีรายละเอียดที่ย้ำเตือนถึงหน้าที่ของรัฐบาล ที่ต้องจัดให้มีการสอบสวนเหตุการณ์การสังหารประชาชน อันเป็นพันธกรณีของรัฐบาลไทยภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่อง สิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ขององค์สหประชาชาติที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ นอกจากนี้เรายังได้กล่าวถึงสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการเข้าถึงและตรวจสอบ หลักฐานทางคดีอย่างเป็นอิสระ

เนื่องจากมีสมาชิกของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หลายคนถูกจับกุมและกล่าวหาในข้อหาหาการร้าย ดังนั้นรัฐบาลไทยมีพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งบัญญัติว่าทนายและ ผู้ปรึกษาด้านกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิในการเข้าถึง“เอกสารรัฐบาลหรือ กองทัพที่เกี่ยวข้องและครอบคลุมถึงยุทธศาสตร์ การสั่งการ คำสั่งโดยวาจาหรือที่เป็นลายลักษณ์อักษร ข่าวกรอง การละเอียดการสอบสวน หรือรายงานของผู้เชียวชาญที่เจ้าหน้ารัฐไทยใช้เตรียมการ แถลงการณ์ ในการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง” นอกจากนี้เรายังได้ร้องขอเอกสารที่ระบุถึงสายบัญชาการในกองทัพซึ่งได้รับมอบ หมายให้ทำการควบคุมและสลายการชุมนุมเหล่านี้ด้วย

ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา รัฐบาลจงใจเพิกเฉยที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กล่าวว่ายังไม่ได้อ่านจดหมายฉบับดังกล่าว แม้วเราได้ส่งสำเนาจดหมายฉบับดังกล่าวหลายสำเนาไปยังสำนักงานของนายก รัฐมนตรีแล้วก็ตาม แทนที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องดังกล่าว นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กลับสบประมาทเรื่องส่วนบุคคลและยกเหตุผลที่หลักลอย ขึ้นมาอ้างเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ที่จะ ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิ ทางการเมือง ทั้งนายปณิธานและนายชวนนท์อ้างว่าสิทธิของผู้ชุมนุมเสื้อแดงไม่ได้ถูกละเมิด แต่อย่างใด แต่แทนที่จะกล่าวว่าจะปฏิบัติตามบทบัญญัติในสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย เรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง กับยกเอาเรื่องสถานภาพทางกฎหมายของผมซึ่งเป็นชาวต่างชาติขึ้นมาอ้าง

ผมรู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลไทยละเลยโอกาสในการเริ่มต้นที่จะแสดงความรับผิด ชอบต่อเหยื่อจากการสลายการชุมนุม และยังถอยห่างจากแนวทางการปรองดองสมานฉันท์ด้วยการเลื่อนตำแหน่งให้กับนาย ทหารและตำรวจที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชน นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์และคณะได้ปฎิเสธอย่างชัดเจนว่าจะปฏิบัติตามกฎหมาย ระหว่างประเทศที่ต้องเคารพในหน้าที่ที่จะต้องสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนกว่า 80 ราย

การกระทำของรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างความสับสนยุ่งยาก และความไม่เต็มใจที่จะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีอันสำคัญเร่งด่วนนี้ และความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบเป็นให้หลายคนสรุปว่าพยานหลักฐาน เหล่านั้นอาจจะส่งผลให้เกิดความยุ่งยากทางการเมืองอันกระทบต่อการรักษาไว้ ซึ่งอำนาจส่วนตัวของเหล่าอำมาตย์

ประชาคมโลกจะไม่เพิกเฉย หากรัฐบาลไทยละเมิดพันธกรณีของตนเองภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศอย่างสนธิ สัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง การที่รัฐบาลสหรัฐได้ประกาศสนับสนุนการดำเนินคดีอาชญากรรมสงครามในพม่าเมื่อ ไม่นานมานี้ ย้ำให้เห็นถึงการกระทำที่เป็นภัยของเหล่าอำมาตย์ในประเทศไทย

นี่ไม่ใช่การอภิปรายว่ารัฐบาลไทยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อพลเรือนของ ตนเองอย่างไร หน้าที่การสอบสวนและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดนั้นได้รับการเคารพมายาวนานภา ยใต้กฎหมายระหว่างประเทศ การไม่ดำเนินคดีแก่เหล่านายทหารและกลุ่มอำมาตย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ความรุนแรงนี้แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งกับภาพลักษณ์ที่ประเทศไทย พยายามจะรักษาเอาไว้

แผนการของรัฐบาลนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฎิเสธ หลีกเลียง และสร้างสถานการณ์ความตึงเครียดเพื่อเป็นข้ออ้างในการใช้อำนาจเผด็จการ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายแสดงการคัดค้านและความกังวลในการกระทำของรัฐบาล รัฐบาลอ้างอย่างผิดๆว่าการเรียกร้องนี้เป็นการทำลายชื่อเสียงประเทศไทย ดังนั้นหากรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องการที่จะอ้างว่าตนเป็นตัวแทนของประชาชนไทย มีหนทางเดียวที่จะสามารถอ้างเช่นนั้นได้ คือ นายอภิสิทธิ์และคณะต้องชนะการเลือกตั้งที่อิสระและเป็นธรรม

Posts from the ‘โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม’ Category

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 3
September 23, 2010
23 กันยายน 2553

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(อีเมลล์ Abhisit@abhisit.org)

เรื่อง การละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย

เรียน นายกรัฐมนตรี

ตามท่านทราบเป็นอย่างดีว่า สำนักงานกฎหมายแห่งนี้เป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและสมาชิกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งถูกกล่าวหาทางอาญาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงใน กรุงเทพมหานครเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 (เราจะเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวในจดหมายฉบับนี้ว่า “การชุมนุม”) เราเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงท่านในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรับมนตรี และในฐานะที่ท่านเป็นบุคคลที่มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาญา ระหว่างประเทศ

เราได้ส่งจดหมายเพื่อย้ำเตือนรัฐบาลของท่านถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 และครั้งล่าสุดในวันที่ 6 สิงหาคม 2553 เนื้อหาจดหมายได้ย้ำเตือนรัฐบาลไทยถึงพันธกรณีที่มีต่อสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยต้องมีการจัดการสอบสวนถึงสาเหตุของการเสียชีวิตของพลเรือนกว่า 80 รายที่ถูกสังหารในระหว่างการชุมนุม และยังระบุถึงหน้าที่ที่รัฐบาลที่จะต้องให้โอกาสแก่ทีมทนายของผู้ถูกกล่าว และทางสำนักงานกฎหมายของเราในการเข้าถึงพยานหลักฐาน แต่จนถึงบัดนี้ท่านไม่ได้ตอบสนองถึงข้อเรียกร้องดังกล่าวของเรา

เป็นที่ปรากฏชัดว่า แทนที่คณะรัฐบาลของคุณจะปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่กลับพยายามปกปิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กองทัพไทยกระทำต่อผู้ชุมนุมที่ ปราศจากจากอาวุธระหว่างการชุมนุม

โดยในวันที่ 20 เมษายน 2553 รัฐบาลของท่านได้ถอดถอนเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจจากหน้าที่ในการสอบสวนเหตุการณ์ การสังหารประชาชน โดยมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แต่ในสี่เดือนที่ผ่านมา กรมสอบสวนคดีพิเศษไม่ได้ดำเนินการสอบสวนการสังหารดังกล่าวแต่อย่างใด จากพยานหลักฐานนี่รัฐบาลมีอยู่มากมาย อาทิ รูปพรรณสัณฐานผู้กระทำการ และหลักฐานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวได้สัดส่วนต่อความรุนแรงหรือไม่ จึงไม่เป็นเรื่องยากแต่อย่างใดที่รัฐบาลจะดำเนินการสอบสวนคดีตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา โดยศาลไทยได้ระบุว่าจะต้องมีการระบุและแสดงรูปพรรณสัณฐานผู้กระทำความผิดใน การสังหารประชาชน (อ้างอิงจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งประเทศไทย บทที่ 2 มาตรา 148)

อย่างไรก็ตาม คณะรัฐบาลของท่านได้จับกุมและกล่าวหาแกนนำนปช.ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องและต้อง รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของถูกกล่าวหา ในปัจจุบันแกนนำนปช.ทั้ง 19คนยังคงถูกรัฐบาลคุมขังตามอำเภอใจ

ในวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เป็นเวลา 4เดือนกว่าหลังจากการสังหารประชาชนในระหว่างการชุมนุม ท่านได้ตอบสนองข้อเรียกร้องสาธารณชนโดยให้กรมสอบสวนคดีพิเศษจัดตั้งคณะ กรรมการเพื่อที่จะสอบสวนถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เราขอกล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษนั้นไม่ได้มีความเป็นธรรมหรือเป็นอิสระ เพราะคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในวันที่ 7 เมษายน 2553 ภายใต้พระราชกำหนดฉุกเฉิน ได้กล่าวหาแกนนำเสื้อแดงหลายครั้งว่าสมรู้ร่วมคิดในการล้มล้างระบอบกษัตริย์ และยังมีการใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินแม้ว่าสถานการณ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะกลับ สู่ปกติแล้วก็ตาม ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้จึงไม่เอื้อต่อการสอบสวนที่มีความเป็นอิสระและ เป็นธรรมอย่างแท้จริง

การที่คณะรัฐบาลของท่านปฏิเสธที่จะยกเลิกพระราชกำหนดฉุกเฉิน และเพิกถอนอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงให้เห็นว่ารัฐบาล ของคุณพยายามปกปิดข้อเท็จจริง แม้จะมีพยานที่อยู่ในเหตุการณ์และวิดีโอบันทึกเหตุการณ์จำนวนมากที่ระบุว่า กองทัพไทยมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของพลเรือนทั้ง 80 รายก็ตาม การที่ ศอฉ. ได้ถอดถอนอำนาจหน้าที่ของกรมตำรวจในการสอบสวนคดีดังกล่าวในวันที่ 20 เมษายน 2553 ทำให้กระบวนการการสอบสวนคดีเกิดความล่าช้า กรมสอบสวนคดีพิเศษมีผลการชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตทั้งหมด แต่ทางทีมทนายของผู้ถูกกล่าวหาและญาติของผู้เสียชีวิตไม่ได้รับผลการชันสูตร ดังกล่าว หรือวิดีโอบันทึกเหตุการณ์การการสลายชุมนุมแต่อย่างใด

แม้ว่าจะมีหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายหรือวิดิโอมากมายที่ระบุรูปพรรณสัณฐาน ทหารที่ยิงอาวุธใส่กลุ่มผู้ชุมนุม แต่ยังไม่มีการจับกุมหรือสอบสวนสมาชิกกองทัพไทยแม้แต่คนเดียว กรมสอบสวนคดีพิเศษไม่ได้ดำเนินการสอบสวนพยานในเหตุการณ์ดังกล่าว อย่างเช่น ไม่มีการเรียกผู้บริหารอาคารที่กลุ่มทหารมือปืนลอบสังหารใช้เป็นที่ซุ่มยิง ประชาชนมาสอบสวนว่ากลุ่มคนเหล่านั้นเข้ามาใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ซุ่มยิง ได้อย่างไร หรือเรียกให้กลุ่มบริษัทคมนาคมขนส่งกรุงเทพมหานครระบุรูปพรรณสัณฐานบุคคลที่ อยู่ในรางรถไฟฟ้าในวันที่ 19 พฤษภาคมที่ปรากฏในในวิดีโด และความล่าช้าของกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้นส่งผลให้หลักฐานเหล่านั้นเน่าเปื่อย ผุพัง และสร้างความยากลำบากในการระบุพยาน

และยังเป็นที่แน่ชัดว่ารัฐบาลได้สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวในประเทศ ไทย ซึ่งส่งผลให้พยานเกิดความหวาดกลัวที่จะให้ข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และการคงพระราชกำหนดฉุกเฉิน ยังทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจอย่างล้นเหลือในการคุกคามผู้ต้องสงสัย สร้างความหวาดกลัวไปทั่ว อย่างน้อยที่สุดคือ การ์ดนปช. 3รายเสียชีวิตจากสาเหตุอันผิดธรรมชาติหลังจากการชุมนุม นอกจากนี้ ศอฉ.ยังใช้อำนาจในการยึดทรัพย์สินของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อน ไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งทำให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะมีการล้างแค้นโดยการสอบสวนทรัพย์สินของฝ่าย ตรงข้าม และมีการใส่ร้ายกลุ่มคนเสื้อแดงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การยิงและ ลอบวางระเบิดเอ็ม79 โดยไม่หลักฐานที่แน่ชัดผ่านทางสื่อที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษเพิกเฉยต่อข้อกล่าวหาอันมีมูลในเรื่องการทุจริตทางการ เมืองที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกระดับสูงของพรรคประชาธิปัตย์ สิ่งเหล่านี้แสดงในเห็นถึงความสองมาตรฐานที่ใช้ทำลายการเคลื่อนไหวของคน เสื้อแดงของเจ้าหน้ารัฐอย่างต่อเนื่อง และสิ่งเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่าคณะรัฐบาลของท่านปราศจากความน่าเชื่อถือ ที่จะดำเนินการสอบสวนคดีเกี่ยวกับการสังหารประชาชนอย่างเป็นอิสระหรือเป็น ธรรม ในขณะเดียวกันรัฐบาลยังโยนความรับผิดต่อการตายของประชาชนทั้งหมดให้กับแกนนำ นปช.

เราขอย้ำเตือนในท่านเห็นถึงความล้มเหลวของท่านในการเยียวยาเหยื่อของ อาชญากรรมอันทารุณ อาทิ การสังหารประชาชนโดยใช้ศาลเตี้ยหรืออำนาจมืด ซึ่งเป็นการละเมิดต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเรือนและสิทธิทางการเมือง รวมถึงบทบัญญัติกรุงโรมซึ่งเป็นรากฐานของศาลอาญาระหว่างประเทศที่บัญญัติให้ ทหารหรือพลเรือนผู้มีอำนาจเหนือประชาชนที่ล้มเหลวในการดำเนินการสอบสวน ดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติต้องรับผิดชอบ หากปรากฏชัดว่ากลุ่มคนดังกล่าวได้จงใจเพิกเฉยต่อข้อมูลที่ระบุชัดแจ้งว่าผู้ ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าว ซึ่งได้ระบุไว้ในบทบัญญัติกรุงโรม มาตรา 28 (b) (III) หลักการดังกล่าวยังเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่สามารถนำไปปรับใช้กับ ประเทศไทยได้

และจากการกระทำของรัฐบาลที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความไม่เต็มใจและความไร้สมรรถภาพของรัฐบาลในการดำเนินการการ สอบสวนคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอย่างเป็นอิสระ

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว

ด้วยความนับถือ
นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์
ลอนดอน สหราชอาณาจักร

จดหมายฉบับนี้ยังถูกส่งไปให้
Madam Navi Pillay (ทางอีเมลล์)

กรรมการข้าหลวงใหญ่สอทธมนุษยชนสหประชาชาติ
กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

Mr. Geert-Jan Alexander Knoops (ทางอีเมลล์)
สำนักงานกฎหมาย Knoops & Partners Advocaten
กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์

-----------------------------------------

ทนายทักษิณส่งจ.ม.ถึง"มาร์ค"ฉบับ 3 ทวงถามคดีพลเรือนถูกสังหาร 80 ราย
Ref: มติชนออนไลน์ (update วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 08:26:38 น)

เมื่อ 23 ก.ย. นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ส่งจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 3 ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีใจความสรุปว่า จากการที่เคยส่งจดหมายเพื่อย้ำเตือนรัฐบาลของท่านถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2553 และครั้งล่าสุดในวันที่ 6 ส.ค.2553 เนื้อหาจดหมายได้ย้ำเตือนรัฐบาลไทยถึงพันธกรณีที่มีต่อสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ว่าจะต้องมีการจัดการสอบสวนถึงสาเหตุของการเสียชีวิตของพลเรือนกว่า 80 รายที่ถูกสังหารในระหว่างการชุมนุม และยังระบุถึงหน้าที่ที่รัฐบาลที่จะต้องให้โอกาสแก่ทีมทนายของผู้ถูกกล่าว และทางสำนักงานกฎหมายของเราในการเข้าถึงพยานหลักฐาน แต่จนถึงบัดนี้ท่านไม่ได้ตอบสนองถึงข้อเรียกร้องดังกล่าวของเรา

แทนที่คณะรัฐบาลของท่านจะปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่กลับพยายามปกปิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กองทัพไทยกระทำต่อผู้ชุมนุมที่ ปราศจากจากอาวุธระหว่างการชุมนุม โดยในวันที่ 20 เมษายน 2553 รัฐบาลของท่านได้ถอดถอนเจ้าหน้าที่ตำรวจออกจากหน้าที่ในการสอบสวนเหตุการณ์ การสังหารประชาชน โดยมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แต่ในสี่เดือนที่ผ่านมา กรมสอบสวนคดีพิเศษไม่ได้ดำเนินการสอบสวนการสังหารดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งที่มีพยานหลักฐานอยู่มากมาย อาทิ รูปพรรณสัณฐานผู้กระทำการ และหลักฐานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวได้สัดส่วนต่อความรุนแรงหรือไม่

ในขณะเดียวกัน คณะรัฐบาลของท่านได้จับกุมและกล่าวหาแกนนำนปช.ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องและต้อง รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิของถูกกล่าวหา ในปัจจุบันแกนนำนปช.ทั้ง 19 คนยังคงถูกรัฐบาลคุมขังตามอำเภอใจ การที่ ศอฉ.ได้ถอดถอนอำนาจหน้าที่ของกรมตำรวจในการสอบสวนคดีดังกล่าวในวันที่ 20 เมษายน 2553 ทำให้กระบวนการการสอบสวนคดีเกิดความล่าช้า กรมสอบสวนคดีพิเศษมีผลการชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตทั้งหมด แต่ทางทีมทนายของผู้ถูกกล่าวหาและญาติของผู้เสียชีวิตไม่ได้รับผลการชันสูตร ดังกล่าว หรือวิดีโอบันทึกเหตุการณ์การการสลายชุมนุมแต่อย่างใด

"เราขอย้ำเตือนในท่านเห็นถึงความล้มเหลวของท่านในการเยียวยาเหยื่อของ อาชญากรรมอันทารุณ อาทิ การสังหารประชาชนโดยใช้ศาลเตี้ยหรืออำนาจมืด ซึ่งเป็นการละเมิดต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเรือนและสิทธิทางการเมือง รวมถึงบทบัญญัติกรุงโรมซึ่งเป็นรากฐานของศาลอาญาระหว่างประเทศที่บัญญัติให้ ทหารหรือพลเรือนผู้มีอำนาจเหนือประชาชนที่ล้มเหลวในการดำเนินการสอบสวน ดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติต้องรับผิดชอบ หากปรากฏชัดว่ากลุ่มคนดังกล่าวได้จงใจเพิกเฉยต่อข้อมูลที่ระบุชัดแจ้งว่าผู้ ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าว ซึ่งได้ระบุไว้ในบทบัญญัติกรุงโรม มาตรา 28 (b) (III) หลักการดังกล่าวยังเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่สามารถนำไปปรับใช้กับ ประเทศไทยได้

จากการกระทำของรัฐบาลที่ได้กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความไม่เต็มใจและความไร้สมรรถภาพของรัฐบาลในการดำเนินการการ สอบสวนคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอย่างเป็นอิสระ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว ด้วยความนับถือ นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร"

สำหรับจดหมายฉบับนี้ ท้ายฉบับยังระบุว่า ได้ส่งไปทางอีเมล์ให้นางนาวี พิลเลย์ กรรมการข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น