วันอังคาร, สิงหาคม 31, 2553

เพชรสีฟ้าน้ำหนัก 45.52 กะรัตที่กำลังจะกล่าวถึงมีชื่อว่า “โฮพ” เป็นเพชรที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลกเม็ดหนึ่ง เพราะมีประวัติความเป็นมาน่าสยดสยองยิ่งนัก

by Goosehhardcore on 2010-09-01 - 11:33 am
ที่มาข้อมูล: จากอัลบั้ม รูปภาพบนกระดาน โดย Rednews BangkokThailand



พลิกตำนาน บลูไดมอนด์ ตำนานเพชรสีฟ้า อาถรรพ์เพชรซาอุมีจริงหรือ ?

เพชรสีฟ้าน้ำหนัก 45.52 กะรัตที่กำลังจะกล่าวถึงมีชื่อว่า “โฮพ” เป็นเพชรที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลกเม็ดหนึ่ง เพราะมีประวัติความเป็นมาน่าสยดสยองยิ่งนัก ซึ่งหลายคนเชื่อว่าเป็นเรื่องของโชคลาภที่เกิดขึ้นจริง แต่อีกหลาย ๆ คนกลับเชื่อว่าเป็นเรื่องอิงนิยาย ส่วนจะจริงแท้แค่ไหนหรืออิงนิยายมากน้อยเพียงใดนั้น เรามาช่วยกันไขปมปริศนากันดีไหม........?

มีตำนานเล่าว่า ในปี 1642 มีพ่อค้าพลอยและนักผจญภัยชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ยัง แบบทิสท์ ทาเวอร์นิเยร์ ได้เดินทางเข้าไปในอินเดียทางตะวันตกเฉียงใต้ และขณะที่เขากำลังผจญภัยอยู่นั้น มีชายคนหนึ่งนำเพชรสีฟ้าน้ำหนักถึง 112.50 กะรัต มายื่นขายให้ เขาเลยตกลงรับซื้อมันไว้

แต่ในยุคนั้น กฎหมายอินเดียไม่ยินยอมให้ใครครอบครองเพชรขนาดใหญ่ หนักตั้งแต่ 10 กะรัตขึ้นไป ผู้ที่สามารถครอบครองเพชรเม็ดใหญ่ขนาดนั้นได้ คือ กษัตริย์ เจ้าผู้ครองนครเท่านั้น เพชรสีฟ้าเม็ดนี้จึงถูกลักลอบนำออกนอกนอกอินเดียมาได้อย่างผิดกฏหมาย

ในปี ค.ศ. 1668 ทาเวอร์นิเยร์ ได้ตกลงขายเพชรสีฟ้าเม็ดนั้นพร้อมกับเพชรเม็ดโตอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ให้กับ พระเจ้าพระหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แต่หลังจากนั้นอีกเพียง 2-3 ปี ทาเวอร์นิเยร์ ต้องมุ่งหน้าสู่อินเดียอีกครั้งหนึ่ง ด้วยหมายมั่นปั้นมือว่าจะพบโชคอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่อายุก็ปาเข้าไป 80 แล้ว

สาเหตุที่เข้ามุ่งหน้าแสวงหาโชคในครั้งนั้น เล่ากันว่าเป็นเพราะบุตรชายของเขาที่ใช้เงินอย่างสรุ่ยสุร่าย และผลาญเงินของผู้เป็นบิดาจนสิ้นเนื้อปะดาตัวและ ในที่สุด ทาเวอร์นิเยร์ก็ต้องจบชีวิตลงที่นั่นอย่างอเนจอนาถ จากฝูงสุนัขจิ้งจอกจอมกระหาย

หลังจากทาเวอร์นิเยร์จบชีวิตลงได้ไม่นานนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงรับสั่งให้เจียระไนเพชรสีฟ้านั้นขึ้นมาใหม่จากเดิม 112.50 กะรัต จนเหลือเพียง 67.50 กะรัต เท่านั้น พร้อมกับตั้งชื่อใหม่เป็น "เฟร้นซ์ บูไดมอนด์" และหลังจากนั้นไม่นานนักก็เสด็จสวรรคตลงด้วยโรคฝีดาษ

เมื่อมาถึงยุคของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ดูเหมือนว่า "เฟร้นซ์ บูไดมอนด์” เริ่มแสดงความอาถรรพ์ที่น่าสยดสยองยิ่งขึ้น แม้ว่าพระองค์จะไม่เคยได้สวม “เฟร้นซ์ บูไดมอนด์” เลยแม้แต่นิดเดียว แต่พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้ เคาน์เตสดูบาร์รียืมไปสวมใส่ และท้ายที่สุดเธอก็ต้องมาจบชีวิตลง ด้วยการถูกตัดศรีษะในขระที่เกิดเหตุการณ์ในปฏิวัติขึ้นในฝรั่งเศส

พอมาถึงยุคของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีใครสามารถให้คำตอบที่แน่นอนได้ว่าพระองค์เคยทรงสวม “เฟร้นซ์ บูไดมอนด์” หรือไม่ แต่ เล่ากันว่าพระราชินีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ พระนางมารี อังตัวเนตต์ นั้นทรงโปรดปราน “เฟร้นซ์ บูไดมอนด์” เป็นยิ่งนัก สหายสนิทของพระนางมารี อังตัวเนตต์ คือ เจ้าหญิงแห่งลามบัลล์ ก็ทรงโปรดปรานเช่นกัน

พระนางทรงสวมใส่เพชรนี้บ่อยครั้ง และแล้วก็ ทรงนี้ไม่พ้นความอาถรรพ์ของมันไปได้ พระนางสิ้นพระชนม์ลงด้วยการถูกสังหาร โดยกลุ่มฝูงชนขณะเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศสนั่นเอง

หลังจากที่สร้างความอาถรรพ์มาตลอดระยะเวลา 124 ปี กับเครื่องประดับแห่งราชวงศ์ฝรั่งเศส จนกระทั่งมาถึง วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1792 “เฟร้นซ์ บูไดมอนด์” และสมบัติอื่น ๆ ของราชวงศ์ฝรั่งเศสถูกขโมยจากราชวังไปจนหมดเกลี้ยง ซึ่งแม้ว่าในช่วงหลังจะได้เพชรกลับคืนมาบ้างจาก “เฟร้นซ์ บูไดมอนด์” ก็คงยังหายสาบสูญและในช่วง 20 ปี ของการหายสาบสูญนั้น เชื่อกันว่า เพชรเม็ดนี้ได้ถูกเจียระไนเปลี่ยนโฉมไปแล้วโดยช่างฝีมือเจียระไนชาวดัชช์ ชื่อ วิลเฮล์ม ฟอลส์

แต่ก็นับว่าเป็นโชคร้ายของฟอลส์ ที่บุตรชายของเขาชื่อ เฮนดริก ได้ขโมยเพชรสีฟ้าเม็ดนั้นไป ฟอลส์ จึงตรอมใจตายในที่สุด และเมื่อบุตรชายคนทรยศ ทราบข่าวการเสียชีวิตของผู้เป็นบิดา จึงรู้สึกสำนึกผิดและเสร้าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ท้ายที่สุดเขาจึงคิดหาทางออกด้วยการฆ่าตัวตาย

ในปี ค.ศ. 1830 เพชรอาถรรพ์เม็ดเดิมนั้น ถูกขายเปลี่ยนมือมาเป็นของเฮนรี่ ฟิลลิป โฮพ (ซึ่งซื้อมาในราคาเพียง 90,000 เหรียญเท่านั้น) แต่หลังจากที่ครอบครองมันไว้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น อาถรรพ์ของเพชรสีฟ้าก็เล่นงานเขาและครอบครัวจนเสียชีวิตไปหมด จนกระทั่งมาถึงมือผู้รับมรดกคนสุดท้ายของตระกูลโฮพ คือ ลอร์ด ฟรานซิส เพลแฮม คลินตัน โฮพ

เพชรสีฟ้าเม็ดเดิมก็ยังคงแสดงความอาถรรพ์อย่างไม่ลดละ ทำให้เขาต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนสิ้นเนื้อประดาตัว ยิ่งไปกว่านั้น ภรรยาแสนรักของเขาซึ่งเป็นดาราละครเวทีชื่อ เม โยเฮ ก็มีอันต้องตัดรักไปเพื่อไปผูกรักใหม่กับชายอื่น หลังจากที่เธอพยายามกลับไปทำอาชีพเดิม แต่ก็ต้องล้มเหลว

ต่อมาเพชรสีฟ้าอาถรรพ์ก็ตกมาอยู่มาอยู่ในมือของ นักสะสมของเก่าชื่อ เชอร์คาสปาร์ เพอร์ดอน คลาร์ก เขาเล่าว่ามีชายชราคนหนึ่งนำมาเสนอขายให้ ซึ่งชายชราคนนั้นเล่าให้เชอร์คาสปาร์ฟังว่า เขาได้มาจากการประมูลที่บริพตัน ในอังกฤษ โดยก่อนหน้านี้เพชรสีฟ้ารวมทั้งสมบัติชิ้นอื่น ๆ ถูกทิ้งไว้กลางห้องของนักร้องนักแสดงคนหนึ่งที่เธอและสามี ต้องหนีหนี้สินที่ร่วมกันสั่งสมไว้

แต่อีกทั้งสมบัติชิ้นอื่น ๆ ของตระกูลโฮพได้ดี เขาจึง นำสมบัติทั้งหมดไปคืนให้กับผู้พิทักษ์ทรัพย์สินของตระกูลโฮพ อาจเป็นเพราะ ประวัติความเป็นมาอันเลวร้ายของเพชรสีฟ้ากับตระกูลโอพกระมัง เพชรสีฟ้าอาถรรพ์เม็ดนั้นได้รับสมญานามว่า “โฮพ”

และจะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบได้ เจ้าของเพชรอาถรรพ์คนถัดไปจึงกลายมาเป็น โบรกเกอร์ ชาวฝรั่งเศส ชื่อ แจีกกี้ โคลอท ซึ่งต่อมาก็เสียสติกลายเป็นคนบ้าในที่สุด และจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย หลังจากที่ขายเพชรอาถรรพ์ให้กับ เจ้าชาย คานิตอฟสกี้ แห่งรัสเซีย ได้ไม่นานนัก แต่เจ้าชายคานิตอฟสกี้ก็มิได้ทรงโชคดี ไปกว่าคนอื่นแต่อย่างใด หลังจากครอบครองเพชรอาถรรพ์นี้ได้เพียงระยะสั้น ๆ พระองค์ทรงกลับกลายเป็นคนเศร้าหมองไปโดยไม่มีสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่โดยปกติแล้วจะทรงเป็นคนร่าเริง สนุกสนาน

แต่ดูเหมือนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดกับพระองค์ก็ต้องมีอันเป็นไปด้วย พระสหายซึ่งเป็นดาราสาวคนหนึ่งชื่อ ลอเรนส์ ลาดู นั้นโปรดปรานเพชรอาถรรพ์มาก เจ้าชายทรงอนุญาตให้เธอยืมใส่ และคงเป็นเพราะความอาถรรพ์ของเพชรเม็ดนี้กระมัง ที่ทำให้พระองค์ทรงปลิดชีวิตดาราสาวคนนั้นทิ้ง ด้วยกระสุนปืนในคืนแรกที่เธอสวมใส่เพชรอาถรรพ์เม็ดนี้ หลังจากนั้นอีกเพียงไม่กี่วัน เจ้าชายคานิตอฟสกี้ก็ทรงถูกสังหารโดยกลุ่มคณะปฏิวัติ

เจ้าของคนถัดมานั้นเป็นพ่อค้าชาวอียิปต์ ชื่อ ฮาบิบ เบย์ แต่เขาและครอบครัวต้องจบชีวิตลง เมื่อเรือไอน้ำที่พวกเขาโดยสารมาเกิดอุบัติเหตุชนกับเรือลำอื่น ที่นอกฝั่งสิงคโปร์ ในตอนแรกนั้นเชื่อกันว่าเจ้าเพชรสีฟ้าอาถรรพ์เม็ดนั้น คงมาถึงวาระสุดท้ายแล้ว

และคงจมลงใต้ทะเลไปพร้อม ๆ กับครอบครัวของนายฮาบิบ เบย์ แต่ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เจ้าเพชรสีฟ้าเม็ดนั้น กลับมาอยู่ในมือของ โบรกเกอร์ ชาวกรีก ชื่อ ไซมอน มอนทาลิเดช ได้อย่างเหลือเชื่อ

ในปี ค.ศ. 1908 เพชรอาถรรพ์ได้เปลี่ยนมือไปเป็นของ สุลต่านอับดุล ฮามิด ที่ 2 แห่งอาณาจักรออตโตมาน (ตุรกีในปัจุบัน) หลังจากที่มอนทาลิเดช ขายมันให้กับสุลต่านได้ไม่นาน ตัวเขาเองพร้อมด้วยภรรยาและบุตรชาย ก็ต้องมีอันเป็นไป มอร์เตอร์ไซค์ ที่พวกเขาขับมานั้นเกิดอุบัติเหตุพลิกตกหน้าผาไป

ส่วนสุลต่านนั้น ก็มักทรงอนุญาตให้สนมคนโปรดชื่อ ซารามา ซุบายา หยิบยืมไปสวมใส่อยู่บ่อยครั้ง และเธอก็ต้องมาจบชีวิตลง ด้วยฝีมือของเจ้าชีวิตเธอเอง

หลังจากนั้นไม่นาน สุลต่านอับดุล ฮามิด ที่สอง ทรงเริ่มไม่วางพระทัยต่อสถานการณ์ของบ้านเมือง และหวั่นว่าจะเกิดปฏิวัติขึ้น พระองค์จึงทรงคิดแผนการร่วมกับข้ารับใช้ชื่อ แกรนด์ อซิส เพื่อหนีออกนอกประเทศและมีเป้าหมายไปที่ประเทศฝรั่งเศส

โดยทรงลักลอบเอาสมบัติหลายชิ้นติดตัวไป พร้อมกับเพชรสีฟ้าเม็ดนั้นด้วย แต่แล้วสุลต่านก็ทรงถูกหักหลัง เพราะอซิสคิดออกอุบายซ้อน ที่จะขายเพชรเม็ดนั้นอย่างลับ ๆ และหวังจะกอบโกยทั้งหมดที่ขายได้นั้นไว้เสียเอง

เป็นไปได้ว่า อซิส อาจนำเพชรสีฟ้าอาถรรพ์และสมบัติอื่น ๆ ไปขายให้กับโรงรับจำนำในฝรั่งเศส หรืออาจเป็นไปได้ที่เขาขายมันโดยตรงให้กับ ซาลิม ฮาบิบ ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ 1909 ซาลิม ฮาบิบ ได้นำเพชรสีฟ้าอาถรรพ์นั้น รวมสมบัติอื่น ๆ ของขายในกรุงปารีส ภายใต้ชื่อ “คอลเลคชั่น ฮาบิบ” และในปีเดียวกันนั้น ฮาบิบก็ต้องมีอันเป็นไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรือที่โดยสารมานั้นจมลงใต้ทะเลนอก ชายฝั่งสิงคโปร์

เรื่องของเพชรสีฟ้า ชื่อ “โฮพ” จะมีอาถรรพ์จริงหรือเป็นเพียงเรื่องอิงนิยายและจะพลิกผันไปอย่างไรนั้น ปัจจุบันเพชร ถูกครอบครองโดย ผู้หญิงไทยสูงศักดิ์ท่านหนึ่ง ที่กฎหมายไม่สามารถเอาผิดได้.

------------------------------------------------------------


บลูไดม่อนด์ ที่สูญหายไป ..ใครไม่เคยเห็นของจริง ..ทางซาอุฯ เอามาฝากเสื้อแดง

by Generalhero on 2010-08-27 - 00.56 pm
Ref: คดีขโมยเครื่องเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย พ.ศ. 2532


ภาพเพชร บลูไดม่อนด์ ที่สูญหายไป ..ใครไม่เคยเห็นของจริง ..ทางซาอุฯ เอามาฝากเสื้อแดง(จากอัลบั้ม รูปภาพบนกระดาน โดยชมรมคนคิดถึง ทักษิณ)

คดีขโมยเครื่องเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย พ.ศ. 2532
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คดีขโมยเครื่องเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย เมื่อปี พ.ศ. 2532 หรือที่รู้จักกันว่า คดีเพชรซาอุ เป็นคดีการขโมยเครื่องเพชรของราชวงศ์ซาอุดิอาระเบีย โดยลูกจ้างชาวไทย ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดิอาระเบียและไทยเสื่อมลงเป็นเวลานานถึง 20 ปี

จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การขโมยเครื่องเพชร
คดีดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากการที่นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ซึ่งได้เดินทางไปทำงานยังซาอุดิอาระเบีย และถูกทาบทามให้เข้าไปทำงานในพระราชวังของกษัตริย์ซาอุดิอาระเบียในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2532 นายเกรียงไกรได้ขโมยเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด (Prince Faisal Bin Fahd Bin Abdul Aziz) แห่งราชวงศ์ไฟซาลของซาอุดิอาระเบียมาได้ถึง 2 ครั้ง

โดยที่ด่านศุลกากรของทั้งสองประเทศไม่สามารถตรวจสอบได้ โดยเครื่องเพชรดังกล่าวถูกนำมายังจังหวัดลำปาง[1] หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย จึงประสานมายังรัฐบาลไทย ขอให้ติดตามเครื่องเพชรประจำราชวงศ์ส่งคืน

การสืบสวน การจับกุมผู้ต้องหา
อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบพื้นที่ในเขตภาคเหนือ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย

หลังจากนั้นเมื่อนายเกรียงไกร ถูกชุดสืบสวนของ พล.ต.ท.ชลอ จับกุมและนำตัวมาสอบสวนจนยอมรับสารภาพ และให้การถึงบุคคลที่รับซื้อเครื่องเพชรไป เนื่องจากเกรงว่าจะถูกจับส่งไปดำเนินคดีที่ซาอุฯ ซึ่งมีโทษเพียงสถานเดียว คือ "แขวนคอ" ทำให้ศาลพิพากษาตัดสินจำคุกนายเกรียงไกร เตชะโม่งในข้อหาลักทรัพย์ 7 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษเหลือ 3 ปี 6 เดือน

ในช่วงเวลานี้ยังมีนักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบียคนหนึ่งซึ่งมีความใกล้ชิดกับราชวงศ์ได้เดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อสืบสวนหาเครื่องเพชรดังกล่าว แต่บุคคลนั้นถูกลักพาตัวและถูกฆ่า อีกสามเดือนต่อมา เจ้าหน้าที่สามคนจากสถานทูตซาอุดิอาระเบียถูกยิงเสียชีวิต และมือสังหารก็ยังคงลอยนวลมาจนถึงปัจจุบัน[2]

การจับกุมนายเกรียงไกร ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบีย เริ่มดีขึ้น โดย พล.ต.ท.ชลอ ได้รับการยกย่องจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้เป็นแขกพิเศษ และถูกยกให้เป็น "ชี้ค" อีกด้วย หลังจากนั้น ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนซาอุดิอาระเบียอย่างเป็นทางการ

แต่กลับถูกทางการซาอุดิอาระเบีย ตอบกลับว่า "คุณเอาเพชรปลอมมาคืน แถมชุดที่เหลือยังหายไปอีกมาก แบบนี้แล้วเราจะสานความสัมพันธ์กันได้อย่างไร" ส่งผลให้ฝ่ายไทยต้องตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา ตามหาเครื่องเพชรอีกครั้ง

การตามหาเครื่องเพชรของจริง
การย้อนรอยตามหาเพชรฯ โดยคณะทำงานของ พล.ต.ท.ชลอ เริ่มต้นที่กลุ่มญาติของ พล.ต.อ.แสวง แต่ภายหลังเมื่อมีการตรวจสอบไม่พบว่ามีมูลความจริงแต่อย่างใด นอกจากนี้ นักการเมือง ตลอดจนคุณหญิง คุณนาย และ "คนมีสี" หลายคนก็ถูกกล่าวหาว่ามีการจัด "ปาร์ตี้เพชรซาอุฯ" ในสโมสรแห่งหนึ่ง

ระหว่างนั้น นายโมฮัมหมัด ซาอิค โคจา อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย ได้ว่าจ้าง "ชุดสืบสวนพิเศษ" เพื่อแกะรอยอย่างลับ ๆ ตามหาเครื่องเพชรราชวงศ์แห่งซาอุดิอาระเบีย

สำหรับเครื่องเพชรชุดที่ทางการซาอุดิอาระเบียต้องการมากที่สุด คือ เพชรสีน้ำเงิน หรือ "บลูไดมอนด์" เนื่องจากเป็น "เพชรอาถรรพณ์" แม้กระทั่งช่างที่เจียระไนก็ต้องมีอันเป็นไปสาบสูญไปจากโลก จึงเป็นเพียงเพชรชุดเดียวที่มีอยู่ในโลก และไม่ว่าจะตกไปอยู่ในมือใคร กษัตริย์ซาอุดิอาระเบียก็จะทรงจำได้เสมอ เพราะมีการทำตำหนิไว้ด้วยแสงอินฟราเรดอยู่ภายในใจกลางของเม็ด แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครหาพบ ซึ่งนายเกรียงไกรสารภาพกับนายโคจาว่า ได้โจรกรรมมาจริง แต่จำไม่ได้แน่ชัดว่าอยู่ในมือใครระหว่างพ่อค้าเพชรกับชุดจับกุม

กรณีตระกูลศรีธนะขัณฑ์
ดูบทความหลักที่ คดีระหว่างพนักงานอัยการ กับชลอ เกิดเทศ และพวก พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ กลับมาทำคดีนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ได้ทุกวิถีทางในการนำเพชรที่เหลือกลับคืนมาให้ได้

จากคำให้การของนายเกรียงไกร ที่บอกว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล แล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ เสี่ยเจ้าของร้านเพชร ซึ่งภายหลังถูกตำรวจในทีม พล.ต.ท.ชลอ ข่มขู่คุกคาม แต่นายสันติก็ไม่ยอมคืนเพชรให้

ในที่สุด พล.ต.ท.ชลอ ก็ตัดสินใจให้คณะทำงานตั้งด่านตรวจ หน้าซอยบ้านนายสันติ ระหว่างที่ภรรยาของนายสันติคือ นางดาราวดี กำลังจะไปส่งลูกชาย ด.ช.เสรี ศรีธนะขัณฑ์ ที่โรงเรียน ทีมของพล.ต.ท.ชลอ ก็ได้จับทั้งคู่ไปกักขัง เพื่อบังคับให้นายสันตินำเพชรส่วนที่เหลือมาคืน ซึ่งนายสันติก็ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ ว่าลูกและเมียถูกอุ้ม แต่ขังไว้นานเป็นเดือน ย้ายที่กบดานไปหลายแห่งก็ยังไม่ได้เพชรคืน ซ้ำตำรวจคนหนึ่งยังได้ข่มขืนภรรยาของนายสันติ ทีมตำรวจชุดนี้จึงฆ่าปิดปากสองแม่ลูก แล้วอำพรางคดีให้เป็นเหมือนกับเกิดอุบัติเหตุรถชน พล.ต.ท. ชลอถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานออกคำสั่งฆ่าสองแม่ลูกในปี พ.ศ. 2538[3]

ต่อมา ทีมสอบสวนชุดใหม่กลับสืบพบว่าเป็นการอุ้มฆ่า จึงได้ทำการจับกุมตัว พล.ต.ท.ชลอ และลูกน้องทั้ง 9 คน มาดำเนินการทางกฎหมาย ในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาให้ประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ และศาลฏีกาก็ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยืนตามศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต ทำให้คดีขโมยเครื่องเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบียถูกปิดลงอย่างเด็ดขาดในทางกฎหมาย[4]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ซาอุดิอาระเบียยกเลิกการทำวีซ่าทำงานให้กับคนไทย และประกาศเตือนคนในประเทศไม่ให้เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร ทำให้จำนวนคนงานไทยในซาอุดิอาระเบียลดลงจาก 150,000 คน ในปี พ.ศ. 2532 เหลือเพียง 10,000 คน ในปี พ.ศ. 2549

อ้างอิง
1. ^ Thai Foreign Minister to reopen Saudi gems scandal case
2. ^ Thai cop convicted of Saudi gem theft
3. ^ The Economist: A law unto themselves
4. ^ ศาลฏีกาพิพากษาประหารชีวิต 'ชลอ เกิดเทศ
http://th.wikipedia.org/wiki/คดีขโมยเครื่องเพชรราชวงศ์ไฟซาลแห่งซาอุดิอาระเบีย_พ.ศ._2532

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น