วันจันทร์, กรกฎาคม 05, 2553

Thailand's Blue Diamond Heist: Still a Sore Point

จาก Time's online: Sebastian Kaulitzki / Alamy


Thailand's Blue Diamond Heist: Still a Sore Point
By Christopher Shay Sunday, Mar. 07, 2010

Two decades ago, a Thai gardener climbed into the palace of a Saudi prince through a second-story window, busted open a safe with a screwdriver and stole some 200 pounds of jewelry. The former Saudi chargé d'affaires in Bangkok told the Washington Post that the gardener stuffed "rubies the size of chicken eggs" in his vacuum-cleaner bag, along with a huge, nearly flawless blue diamond, which at 50 carats would be one of the largest blue diamonds in the world.

Or at least that's how the story goes, according to the local Thai press and the old chargé d'affaires. Thailand's Department of Special Investigation (DSI), which is similar to the FBI, says it has no evidence to confirm the facts of the case — and doesn't even know whether the blue stone that's said to be larger than the Hope Diamond exists. What is certain is that the alleged theft eventually cost Thailand billions of dollars, left people dead in its wake and put an Elvis-impersonating Thai official on death row. More than 20 years later, the ripped-off Saudis still want their jewels back, and relations between the two governments remains strained.
(See the world's top 10 heists.)

In January, five Thai police officers were arrested and charged for a murder that is allegedly connected to the case, raising hopes that some of the questions surrounding what has come to be known in Thailand as the Blue Diamond Affair would finally be answered. For Thailand, it could mean improved diplomatic relations with Saudi Arabia, potentially returning hundreds of thousands of jobs in the oil-rich nation to Thai migrant workers. But since Thailand's statute of limitations lapsed in February for murders allegedly linked to the heist, the Thais are running out of options. It will now be up to the Saudi government to decide if Thailand's last-ditch efforts are enough to normalize relations.

After the 1989 jewel heist, the gardener, Kriangkrai Techamong, airmailed the loot to his home in northern Thailand and hightailed it back, according to reports in the local press. After the Saudi government gave Thailand the tip about Kriangkrai, it didn't take long for Thai police to arrest him, but not before he allegedly sold some of the priceless jewels for a mere $30 an item. Soon after, three Saudi diplomats in Bangkok were shot execution-style in two different attacks on the same night. Two days after that, a Saudi businessman was kidnapped and never seen again.
(See the top 10 crime stories of 2009.)

Though the DSI insists there's no proof that the murders and kidnapping are connected to the theft, the former Saudi chargé d'affaires, Mohammed Khoja, was adamant, telling the Bangkok Post in 1995 that the murder case and heist were linked. Despite the deaths, the Thai police tried to return the gems that weren't yet sold by Kriangkrai in an official visit to Saudi Arabia, hoping it would end the scandal. It didn't take long, however, for Saudi Arabia to claim that most of the returned goods were imitation baubles. To add insult to injury, the local press reported rumors of photos of the wives of bureaucrats wearing new diamond necklaces at a charity gala, ones that were awfully similar to the ones taken from the Saudi royalty. Needless to say, Saudi Arabia was not amused. In June 1990, the country would stop renewing the visas of more than a quarter-million Thai workers in Saudi Arabia and would give out no further ones, cutting Thailand off from billions of dollars in remittances. Saudi Arabia also barred its citizens from traveling to Thailand as tourists. Nabil Ashri, the current Saudi chargé d'affaires, said the decision to downgrade relations was "obviously for safety reasons and due to repeated failures of the Thai authorities to adequately solve or explain any of the cases to Saudi authorities."

Under pressure from Saudi Arabia, Thailand continued to investigate the case, though maybe not in the way Saudi Arabia had hoped. In 1994, a Thai jeweler, whom Khoja believed was behind the imitation jewels, was kidnapped, and then his wife and 14-year-old son were killed. At the time, the Thai police said the two died in a car crash, but Khoja was not convinced. The Washington Post quoted him as saying, "The forensic commander thinks we're stupid. This was not an accident."
(See the top 10 news stories of 2009.)

Only a few months afterward, Chalor Kerdthes, the police officer who had headed the initial investigation and handed over the fake gems to Saudi Arabia, was arrested by Thai police and charged with ordering the murders of the jeweler's wife and son. The high-ranking police officer fought the charges until the Thai Supreme Court upheld his death sentence in October 2009. Chalor remains in prison, where he has put together a band and recorded a Thai cover of Elvis Presley's "Jailhouse Rock." Chalor has maintained his innocence, telling the Times of London, "Not all people in jail are guilty." It's no wonder that after all the deaths, Khoja said there was a hex on the blue diamond and that anyone who illegally handled the mysterious stone would be cursed — something many Thais still believe.

Further complicating the mystery, the U.S.-based Foundation for Democracy in Iran claimed in a 1996 report that the 1990 murders of the Saudi diplomats were the result of Iranian hit squads. The DSI, which took over the case from the Thai police in 2004, said any Iranian connection to the murders is only a rumor. But a 2009 arrest warrant for an "Abu Ali" for the murder of one of the Saudi diplomats has fueled speculation on message boards and in the blogosphere of Middle Eastern involvement. Despite having little concrete evidence about Abu Ali, a DSI team headed to Interpol headquarters in France at the end of January to ask the international police organization for help with apprehending the suspect.

Charging five current or former police officers for the murder of the Saudi businessman who disappeared in 1990 — along with the subsequent trial, slated for the end of March — represents the best chance in years to put an end to the long-standing row. All five officers, however, deny the charges and have vowed to fight them in court. The highest ranking of the bunch, Somkid Boonthanom, has blamed politics for the arrest, telling Bangkok's the Nation that he witnessed "outside factors intimidating and pressuring" the prosecutors.

So far the two-decade-old whodunit reads like a paperback thriller, but it remains to be seen if the story will be neatly wrapped up in its final chapters. Ashri said that if the case were solved, Saudi Arabia would "have to seriously consider restoring relations" and that he was pleased by the recent "serious efforts from the Thai government." Still, with the statute of limitations expiring, pressure falls on the upcoming trial to reveal the secrets behind the Blue Diamond Affair. Saudi Arabia will have to decide soon if Thailand's last-minute show of effort is enough, or if the curse of the blue diamond will haunt Thai foreign relations for years to come.

Read more: http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1969920,00.html#ixzz0srwttvqf
By Christopher Shay Sunday, Mar. 07, 2010
Read more: http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1969920,00.html#ixzz0srwJNjhW
--------------------------------------------

ไทม์: เพชรซาอุฯสีน้ำเงินที่ถูกขโมย – ยังคงเป็นเรื่องทิ่มแทงใจ

เพชรสีน้ำเงิน - เซบาสเตียน คอลิสกี้/ อลามี่

สองทศวรรษที่ผ่านมา มีคนสวนชาวไทยได้ปีนหน้าต่างขึ้นชั้นสองของพระราชวังในเจ้าชายแห่งซาอุดิอา ระเบีย ใช้ไขควงงัดตู้นิรภัย และขโมยเครื่องเพชรน้ำหนักทั้งหมดประมาณ ๙๐ กิโลกรัม อดีตอุปทูตแห่งซาอุฯประจำกรุงเทพกล่าวกับวอชิงตันโพสต์ว่า คนสวนคนนั้นยัด “ทับทิมหลายเม็ดซึ่งมีขนาดเท่าไข่ไก่” ในถุงเครื่องดูดฝุ่น ในถุงนั้นยังมีเพชรน้ำงามแทบจะไม่มีตำหนิขนาดใหญ่สีน้ำเงินรวมอยู่ด้วย เป็นเพชรขนาด ๕๐ กะรัตซึ่งอาจจัดได้ว่า เป็นหนึ่งในเพชรสีน้ำเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก

อย่างน้อยนี่คือเรื่องราวที่เป็นไปตามที่สื่อ ไทย และอุปทูตคนเก่าได้กล่าวไว้ กรมสอบสวนคดีพิเศษของประเทศไทย (ดีเอสไอ) ซึ่งมีหน้าที่คล้ายกับเอฟบีไอกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานยืนยันความจริงในคดีนี้ – ว่าเพชรสีน้ำเงินที่อ้างว่ามีขนาดใหญ่กว่าเพชรโฮปนั้นมีจริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆคือ การกล่าวหาเรื่องการขโมยเพชรนี้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยหลายแสนล้าน บาท มีคนต้องตายเพื่อสังเวยเพชรนี้ และทำให้ตำรวจไทยนายหนึ่งที่คล้ายเอลวิสต้องถูกพิพากษา และรอการประหารชีวิต มากกว่า

ยี่สิบปีต่อมา ราชวงศ์ซาอุฯที่ถูกทำการโจรกรรมนั้นยังคงยืนยันว่าต้องการเครื่องเพชรกลับ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลทั้งสองยังคงเสื่อมทรามลงตราบจนทุกวันนี้

ในเดือนมกราคม ตำรวจไทย ๕ นายถูกจับกุม และถูกตั้งข้อหาว่า ฆาตกรรมบุคคลที่กล่าวว่าเกี่ยวโยงกับคดีนี้ สร้างความหวังอย่างมากว่า ในที่สุดคำตอบบางคำตอบของคดีที่เมืองไทยรู้จักกันดีว่าคือคดีเพชรซาอุฯ จะได้รับการถูกเปิดเผยกันเสียที สำหรับประเทศไทยแล้ว ยังหมายถึงการปรับปรุงสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตกับซาอุดิอาระเบีย พร้อมกับโอกาสที่คนงานไทยจะได้เดินทางกลับไปทำงานในประเทศที่ร่ำรวยไปด้วย น้ำมัน

แต่คดีฆาตกรรมเพชรซาอุฯได้หมดอายุความลงในเดือนกุมภาพันธ์ คนไทยก็หมดทางเลือกเช่นกัน ขณะนี้ขี้นอยู่กับรัฐบาลซาอุฯที่จะเป็นฝ่ายตัดสินว่า ความพยายามของประเทศไทยครั้งหลังสุดนี้ พอที่จะฟื้นฟูสัมพันธไมตรีให้กลับมาเหมือนเดิมได้หรือไม่

สื่อในประเทศลงข่าวว่า หลังจากทำการขโมยเพชรในปี ๒๕๓๒ เกรียงไกร เตชะโม่ง คนสวนคนนั้นได้ส่งเครื่องเพชรที่ขโมยกลับไปยังภาคเหนือของประเทศไทยทาง ไปรษณีย์ และรีบหนีออกจากซาอุฯ หลังจากนั้นรัฐบาลซาอุฯได้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเกรียงไกรให้ประเทศไทยได้ทราบ ตำรวจไทยใช้เวลาไม่นานก็จับเกรียงไกรได้ แต่ก่อนที่จะถูกจับ เขาได้ขายเครื่องเพชรที่ประเมินค่ามิได้ไปในราคาชิ้นละประมาณหนึ่งพันบาท หลังจากนั้นไม่นาน นักการทูตซาอุฯ ๓ คนในกรุงเทพได้ถูกยิงทิ้ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดซ้อนกันภายในคืนเดียว สองวันต่อมา นักธุรกิจชาวซาอุฯอีกคนหนึ่งถูกลักพาตัว และไม่ได้พบเห็นอีกเลย

แม้ดีเอสไอยืนยันว่า ไม่มีหลักฐานใดๆที่จะโยงการฆาตกรรม และการลักพาตัว กับการขโมยเพชร แต่นายโมฮัมหมัด โคจา อดีตอุปทูตซาอุฯ ยังคงยืนกรานตามนี้ และให้สัมภาษณ์บางกอกโพสต์ในปี ๒๕๓๘ ว่า คดีฆาตกรรม “เกี่ยวข้อง” กับการขโมยเพชร แม้จะมีการตายเกิดขึ้น ตำรวจได้เดินทางไปเยือนซาอุฯอย่างเป็นทางการเพื่อพยายามคืนเครื่องเพชรที่ เกรียงไกรยังไม่ได้ขายออกไปให้รัฐบาลซาอุฯ โดยหวังว่าจะยุติเรื่องอื้อฉาวทั้งหลาย แต่เพียงไม่นานซาอุฯได้อ้างว่า เครื่องเพชรส่วนใหญ่ที่ได้คืนมานั้นเป็นของปลอม เรื่องที่แย่อยู่แล้วยิ่งหนักขึ้นไปอีก เมื่อสื่อในประเทศเสนอข่าวลือ ด้วยภาพภรรยาของข้าราชการซึ่งสวมสร้อยเพชรเส้นใหม่ในงานราตรีการกุศลงาน หนึ่ง บางเส้นช่างคล้ายกับเครื่องเพชรที่ขโมยออกมาจากพระราชวังซาอุฯ ป่วยการที่จะพูด ซาอุดิอาระเบียไม่เห็นเป็นเรื่องน่าสนุกด้วย

ในเดือนมิถุนายน ๒๕๓๓ ซาอุดิอาระเบียยกเลิกการต่อวีซ่าทำงานให้กับคนไทยมากกว่าสองแสนคนที่กำลังทำ งานในซาอุฯ และไม่ออกวีซ่าใหม่ให้อีก ตัดรายได้ของประเทศไทยจำนวนหลายแสนล้านบาท และห้ามคนในประเทศไม่ให้เดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทย นาบิล อัชรีอุปทูตซาอุฯประจำประเทศไทยคนปัจจุบันกล่าวในอีเมล์ที่มีไปถึงไทม์ว่า การตัดสินใจที่จะลดสัมพันธไมตรีกับประเทศไทยนั้น “เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า เพื่อเหตุผลในด้านความปลอดภัย และเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไทยคว้าน้ำเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่จะแก้ปัญหาอย่างเพียงพอ หรืออธิบายคดีต่างๆให้ทางเจ้าหน้าที่ซาอุฯได้รับทราบ”

ภายใต้แรงกดดันจากซาอุฯ ประเทศไทยยังคงทำการสืบสวนคดีนี้ แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลซาอุฯได้ตั้งความหวังเอาไว้ ในปี ๒๕๓๗ พ่อค้าเพชรซึ่ง โคจา เชื่อว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปลอมเครื่องเพชรนั้น ถูกลักพาตัว และต่อมาทั้งภรรยา และลูกชายวัย ๑๔ ถูกสังหาร ในเวลานั้น กรมตำรวจกล่าวว่า ทั้งคู่เสียชีวิตจากรถชนกัน แต่ โคจา ไม่เชื่อ วอชิงตันโพสต์นำคำพูดของโคจามาลง ที่ว่า “ความคิดของผู้บัญชาการฝ่ายชันสูตรนั้นช่างโง่เสียจริง นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุ”

หลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ เจ้าหน้าที่ตำรวจคนเดิมที่เคยรับผิดชอบการสืบสวนตั้งแต่แรก และเป็นผู้ที่ส่งมอบเครื่องเพชรปลอมให้กับซาอุฯ ได้ถูกตำรวจไทยจับ และถูกตั้งข้อหาว่า เป็นผู้ออกคำสั่งฆ่าภรรยาและลูกชายของพ่อค้าเพชร นายตำรวจผู้ใหญ่ผู้นี้สู้คดี จนท้ายสุดในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ศาลฏีกายืนยันคำตัดสินให้ประหารชีวิต ชลอยังคงอยู่ในคุก เขาได้ตั้งวงดนตรี และอัดแผ่นหน้าปกไทยเลียนแบบ “เจลเฮ้าส์ ร็อค” ของเอลวิส ชลอยังคงยืนกรานความบริสุทธิ์ของตัว โดยกล่าวกับไทม์แห่งลอนดอนว่า “คนที่ติดคุกไม่ได้กระทำผิดไปเสียทั้งหมด” หลังจากที่หลายชีวิตต้องถูกสังเวยไป ไม่น่าแปลกใจที่ โคจา จะกล่าวว่า เพชรสีน้ำเงินนั้นเป็น “เพชรอาถรรพณ์” ใครก็ตามซึ่งมีไว้ในครอบครองอย่างไม่ถูกต้องจะได้รับคำสาปแช่ง – เป็นเรื่องที่คนไทยหลายคนยังคงปักใจเชื่อ

ปริศนายิ่งเพิ่มความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อมูลนิธิเพื่อประชาธิปไตยแห่งอิหร่าน สำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ อ้างจากรายงานเมื่อปี ๒๕๔๙ ว่า การสังหารเจ้าหน้าที่การทูตในปี ๒๕๓๓ จากฝีมือของหน่วยล่าสังหารชาวอิหร่าน ดีเอสไอซึ่งเข้ามาคุมการสืบสวนแทนตำรวจในปี ๒๕๔๗ ปฏิเสธข่าวลือที่ว่า มีชาวอิหร่านเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมนั้น ในปี ๒๕๕๒ มีการออกหมายจับ “อาบู อาลี” ด้วยข้อหาฆาตกรรมหนึ่งในเจ้าหน้าที่การทูตของซาอุฯ ยิ่งกระพือการคาดเดาไปต่างๆนาๆบนหน้าหนังสือพิมพ์ และในโลกของชาวบล็อกที่ว่า ตะวันออกกลางมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์นี้ แม้หลักฐานจะอ่อนในเรื่อง อาบู อาลี แต่เมื่อปลายเดือนมกราคม ดีเอสไอได้เดินทางไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติในประเทศฝรั่งเศส เพื่อขอร้องให้ทางองค์กรตำรวจสากลช่วยตามหาจับตัวผู้ต้องหาที่เป็นฆาตกรราย นี้

การสั่งฟ้องนายตำรวจทั้งที่ยังประจำการ และอดีตนายตำรวจทั้งห้าว่า ร่วมกันฆาตกรรมนักธุรกิจชาวซาอุฯที่หายตัวไปในปี ๒๕๓๓ และรอการพิจารณาคดีในปลายเดือนมีนาคมนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงโอกาสทองแห่งปีในการที่จะยุติข้อพิพาทที่ค้างคามา เนิ่นนาน เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งห้านายให้การปฏิเสธ และสาบานว่า จะต่อสู้คดีในศาล พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม นายตำรวจยศสูงสุดในบรรดาตำรวจทั้งห้านายนี้ โทษว่าการถูกจับเป็นเรื่องการเมือง เขาให้สัมภาษณ์เนชั่นแห่งกรุงเทพว่า เขามีพยานว่า “มีมือจากภายนอกพยายามคุกคาม และสร้างความกดดัน” ให้กับฝ่ายอัยการ

จนถึงเวลานี้ ปริศนาฆาตกรรมที่มีมาถึงสองทศวรรษนี้ดูไม่ต่างไปจากนวนิยายลึกลับ ซึ่งยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้บทสรุปด้วยเนื้อหาที่กระชับนาบิล อัชรี ส่งอีเมล์ถึงไทม์มีเนื้อความว่า หากคดีทั้งหลายคลี่คลายลง ซาอุฯ “จะพิจารณาการฟื้นฟูสัมพันธไมตรีอย่างจริงจัง” และเขาพอใจกับ “ความพยายามอย่างเต็มที่ของรัฐบาลไทยในเวลานี้”

แต่เนื่องจากคดีได้หมดอายุความ ความกดดันจึงมาตกอยู่กับคดีที่กำลังรอการพิจารณาในศาล เพื่อความลับเบื้องหลังเพชรอาถรรพณ์นั้นจะได้มีการเปิดเผยเสียที ในไม่ช้านี้ทางซาอุฯต้องตัดสินใจว่า การอวดอ้างความพยายามของรัฐบาลไทยในวินาทีสุดท้ายนี้ จะเพียงพอหรือไม่ หรือเพชรอาถรรพณ์ที่ต้องคำสาปนี้ จะยังคงตามหลอกหลอนถึงความสัมพันธ์ทางการต่างประเทศของไทยไปอีกนานเท่านาน


ที่มา: จากคำแปลและเรียบเรียงของ – แชพเตอร์ ๑
บทความเรื่อง: Thailand’s Blue Diamond Heist: Still a Sore Point By Christopher Shay
March 07, 2010 ในนิตยสารTime’online

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น