ก่อนถึงคำแปลขอนำเสนอสาส์จากโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม(ที่มา: จากเวบไซต์ ประชาไท)
โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ส่งสาสน์ถึงผู้อ่านสมุดปกขาว
Fri, 2010-07-23 20:08
นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความผู้ได้รับการว่างจ้างจากอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ให้ดำเนินการฟ้องร้องรัฐบาลไทย และวานนี้ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนพฤษภาคม ส่งสาสน์ถึงผู้อ่านรายงานฉบับดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ระบุยังมีฉบับแปลอีกหลาย ภาษา ยินดีรับผิดชอบแต่ผู้เดียว
นายอัมสเตอร์ดัมแสดงความรับรู้กรณีถูกพันธมิตรโจมตีประเด็นส่วนตัว พร้อมทั้งระบุว่าการที่รัฐบาลไทยไม่อนุญาตให้เขาเดินทางเข้าประเทศเป็นการ ตัดสิทธิของเขาในการแก้ต่างให้กับลูกความและเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลโจมตี เขาเพียงฝ่ายเดียว
สำหรับรายงานชิ้นดังกล่าวเป็นการพยายามรวบรวมเหตุการณ์ความรุนแรงและการ วิเคราะห์เบื้องหลังของการใช้กำลังทหารออกมาสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ซึ่งรายงานฉบับนี้ระบุว่าเป็นขบวนการประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ไทยเคย มีมาอย่างน้อยในรอบ 35 ปี
000
สารจาก “โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม” ถึงผู้อ่านสมุดปกขาวทุกท่าน
ถึง ผู้อ่านทุกท่าน
“ผมรับทราบเป็นอย่างดีถึงการถกเถียงอภิปรายเกี่ยวกับสมุดปกขาวที่กำลัง เกิดในประเทศไทยขณะนี้ ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เอกสารชิ้นนี้ได้รับความสนใจ ผมประสงค์ที่จะชี้แจงว่าสมุดปกขาวถูกร่างขึ้นด้วยความร่วมมือของผู้เขียน หลายท่าน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองชาวไทยจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ผมขอเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดทำสุดปกขาวเล่มนี้เพียงผู้เดียว เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยปกครองภายใต้ พรก. ฉุกเฉิน และไม่มีความเป็นประชาธิปไตย
ปัจจุบันเป็นที่เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ารัฐบาลไทยมีความผิดฐานใช้อธิพลทาง การเมืองถ่วงเวลาการสอบสวนกรณีการเสียชีวิตของประชาชนจากการล้อมปราบ ผมไม่เคยพบผู้นำประเทศใดที่เชื่อว่าการประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินในสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ชอบธรรมตามกฎหมาย การคงพรก.ฉุกเฉินแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของรัฐบาลอภิสิทธิ์
ผมทราบว่ากลุ่มพันธมิตรได้โจมตีผมในเรื่องประเด็นส่วนตัว แสดงให้เห็นว่าพวกเขากลัวที่จะรับรู้”ความจริง”อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากนี้ ผมยังถูกรัฐบาลไทยสั่งห้ามเข้าประเทศ เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้พวกเขาโจมตีผมได้โดยไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบใดๆทั้ง สิ้น
ซ้ำการสั่งห้ามผมไม่ให้เข้าประเทศยังเป็นการทำลายสิทธิของผมที่จะแก้ต่างให้คนเสื้อแดงที่เป็นลูกความผมอีกด้วย
นอกจากกรณีของผมแล้ว ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาชญากรรมสงความของผม ดร. คานูปส์ ยังถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้าประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งดร. คานูปส์และผมได้ตัดสินใจที่จะใช้วิธีเจรจาทางการฑูตเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่ง ดังกล่าว
ผมตระหนักเป็นอย่างดีว่ารัฐบาลทหารนี้พยายามที่จะใช้ระบบกฎหมายและสื่อ เป็นเครื่องมือที่จะลดทอนความสำคัญของสมุดปกขาว และยิ่งไปกว่านั้นคือบั่นทอนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง
ผมขอย้ำไว้ ณ ที่นี้ว่า สมุดปกขาวเล่มนี้จะได้รับการแปลเป็นหลายภาษาและแจกจ่ายไปทั่วโลก
ท้ายนี้ ผมยินดีที่จะอภิปรายเรื่องสมุดปกกับตัวแทนของรัฐบาลทุกที่ทุกเวลาบนพื้นฐาน ของกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ผมยังตระหนักว่ามีบุคคลหลายท่านที่สามารถอภิปรายและชี้แจงเรื่องนี้ได้ดี กว่าผม แต่พวกเขาเหล่านั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและถูกจองจำในค่ายทหาร”
ที่มา: http://robertamsterdam.com/thai/?p=128
อ่านที่นี่ คำแปลฉบับเต็ม "สมุดปกขาวของอัมเสตอร์ดัม" (ส่วนแรก)
ที่มาบทความ: .prachatai.com/journal
Thu, 2010-07-22 20:42
เปิดรายงานครึ่งแรก ของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องหาการรับผิด ว่าด้วยพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยมีภาระผูกพันในการนำตัวฆาตกรสู่กระบวนการยุติธรรม"
หมายเหตุ: คำแปลนี้เป็นครึ่งแรกของรายงานจำนวน 80 หน้า ซึ่งจัดทำโดย สำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff ติดตามอ่านฉบับสมบูรณ์ได้ที่ประชาไท
การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบ
ภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการนำตัวฆาตกรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff
000
บทคัดย่อ/ คำนำ
* เปิดบทคัดย่อสมุดปกขาว “การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ: ข้อเรียกร้องหาการรับผิด”
000
สารบัญ
1. บทนำ
2. เส้นทางไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย
3. การขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย
4. ถนนสู่การปฏิวัติ 2549
5. การฟื้นฟูระบอบอมาตยาธิปไตยอย่างผิดกฎหมาย
1. การยึดอำนาจโดยทหาร
2. ระเบียบรัฐธรรมนูญใหม่
3. การยุบพรรคไทยรักไทย
4. การรัฐประหารทางศาลและเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ถูกจัดตั้งขึ้น
6. ฤดูร้อนสีดำของประเทศไทย: การสังหารหมู่คนเสื้อแดง
1. คนเสื้อแดงต้องการอะไร
2. มาตรการอันผิดกฎหมายของการรณรงค์ประหัตประหารและความรุนแรง
3. บดขยี้คนเสื้อแดง
4. มาตรฐานสากลว่าด้วยการใช้กำลัง
7. ฤดูกาลใหม่ของการปกครองโดยทหาร
1. พระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน
2. การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
3. การควบคุมข้อมูลข่าวสาร
4. เสื้อแดงนะหรือคือผู้ก่อการร้าย
8. ข้อเรียกร้องหาความยุติธรรม
1. หน้าที่ในการสืบสวนและหาผู้กระทำความผิดของประเทศไทย
2. การสังหารโดยพลการและตามอำเภอใจ: การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงอื่นๆ
3. การประหัตประหารทางการเมือง
4. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
5. หลักฐานเรื่องการพยายามปกปิด
6. ความเป็นธรรมสำหรับผู้ถูกกล่าวหา
9. บทสรุป : หนทางเดียวสู่ความปรองดอง
000
บทที่ 1 บทนำ
เป็นเวลากว่า 4 ปีที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ สิทธิดังกล่าวคือสิทธิในการกำหนดทางเลือกของตนโดยผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้ จริงที่ดำรงอยู่บนฐานของเจตจำนงของประชาชน การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและลงมือกระทำการรัฐประหาร โดยทหารเมื่อปี 2549 ด้วยความร่วมมือกับสมาชิกองคมนตรี ผู้บัญชาการทหาร ของไทยล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของนายก รัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549 ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี การที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ด้วยเหตุผลเดียวนั่นก็คือเพราะพรรคการเมืองต่างๆที่ ชนะการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยตลอดการเลือกตั้งสี่ครั้งที่ผ่านมาถูก ยุบไป
การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจนำของกลุ่มทุนเก่า นายทหาร ระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี ซึ่งจะขอรวมเรียกว่าเป็น “กลุ่มอำนาจเก่า” ซึ่งการฟื้นฟูระบอบที่กลุ่มอำนาจเก่าต้องการนั้นจะสำเร็จได้ก็ต้องทำลาย พรรคไทยรักไทยเป็นอันดับแรก เพราะพรรคไทยรักไทยเป็นพลังทางการเลือกตั้งที่ได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจ ของกลุ่มอำนาจเก่าอย่างสำคัญและเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และหลังจากนั้นกลุ่มอำนาจเก่าก็ไม่อาจหยุดยั้งการกวาดล้างขบวนการเรียกร้อง ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นตามมา
พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้รับความนิยม สูงสุดให้มาปกครองประเทศ อันเป็นการไปขัดขวางธรรมเนียมปฏิบัติอันยาวนานที่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอจะได้ เข้ามารับใช้ตามอำเภอใจของกลุ่มอำนาจเก่า ด้วยการเสริมอำนาจของฐานเสียงที่ ถูกเบียดขับไปอยู่ชายขอบของชีวิตทางการเมืองของประเทศมายาวนาน พรรคไทยรักไทยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้พรรคฯ รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องสยบยอมมอบอำนาจใดๆ ที่รัฐธรรมนูญได้มีให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งแก่พวกกลุ่มอำนาจเก่า การบริหารจัดการของพรรคฯ จึงเป็นไปเพื่อยืนยันการควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบาย การให้ทหารอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน และการทำลายเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ที่สมาชิกอันทรงอำนาจของคณะองคมนตรีได้ใช้ อิทธิพลของตนเหนือข้าราชการ ระบบตุลาการ และกองกำลังทหาร ทั้งสองด้านของนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (dual track) ที่รัฐบาลไทยรักไทยได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเสียงข้างมากในสภา นั้น ยิ่งทำให้บรรดานักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ถอนการสนับสนุนทักษิณ ในขณะที่นโยบายเปิดตลาดเสรีของพรรคไทยรักไทยได้ทำให้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อิงกลุ่มอำนาจเก่าต้องมีการแข่งขันมากขึ้น ความนิยมที่มีต่อโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความจำเป็นของเกษตรกรในต่างจังหวัดและคนจนเมืองก็ทำให้รัฐบาล ยืนหยัดต่อแรงกดดันที่มาจากกลุ่มตัวละครหลักๆ ของกลุ่มอำนาจเก่าไว้ได้
เมื่อไม่สามารถจะขจัดหรือบั่นทอนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ด้วยวิธี ใดๆ ทหารจึงใช้ยุทธวิธีในการยกขบวนรถถังและกองกำลังพิเศษเข้ามาทวงประเทศคืน จากตัวแทนของประชาชน
หลังจากการรัฐประหารเป็นต้นมา พวกกลุ่มอำนาจเก่าก็ได้พยายามที่จะรวบรวมอำนาจทางการเมืองของตน ในขณะเดียวกันก็ถอยไปซ่อนตัวอยู่หลังฉากที่สร้างภาพว่าเป็นประชาธิปไตยแบบมี รัฐธรรมนูญ กลุ่มอำนาจเก่าได้ใช้การรณรงค์อย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อกำจัดพรรคไทยรัก ไทยออกจากพื้นที่ทางการเมืองไทย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะกลับไปสู่การมีรัฐบาลอ่อนแอที่ยอมรับใช้ผลประโยชน์ ของกลุ่มอำนาจเก่า เมื่อแผนนี้ไม่สำเร็จ กลุ่มอำนาจเก่าจึงต้องหันไปพึ่งฝ่ายตุลาการที่ถูกทำให้เข้ามามีส่วนพัวพัน ทางการเมืองอย่างมาก และได้รับอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 ให้สามารถล้มผลการเลือกตั้งที่ดำเนินอย่างเสรีได้ เพียงเพื่อทำให้การกำจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นดูเป็นสิ่งที่ถูก ต้องตามกฎหมาย
ด้วยการครอบงำศาล และด้วยความสำเร็จบางส่วนในการทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐบาลผสมของทักษิณ อ่อนแอลง และด้วยความวุ่นวายที่ก่อโดยกลุ่มการเมืองนอกรัฐสภาอย่างพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กลุ่มอำนาจเก่าก็สามารถทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ทว่าหลังจากนั้นรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้อง ใช้มาตรการกดขี่เพื่อรักษาฐานอำนาจอันไม่ชอบธรรมและปราบปรามการเคลื่อนไหว เพื่อประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อตอบโต้การรัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 และการรัฐประหารโดยศาลในปี 2551 หนึ่งในวิธีการกดขี่ก็คือการที่รัฐบาลได้บล็อกเวปไซท์ประมาณ 50,000 เวป ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และกักขังคนจำนวนหนึ่งภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพอันเลื่องชื่อของไทย และภายใต้พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กัน เมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงโดยมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการ และได้ระงับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยการนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พร้อมทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเข้มงวดยิ่งกว่า มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้การประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และใช้อย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนดเพื่อที่จะปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจ เก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนชาวไทยได้โดยไม่ ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร
ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ใน กรุงเทพฯ และทะลวงค่ายประท้วงของคนเสื้อแดง หลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าแต่ล้มเหลว ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13 -19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย เมื่อต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แกนนำนปช. ได้ประกาศยุติการชุมนุมและยอมมอบตัวกับตำรวจ
พยานนับร้อยๆ คน และวิดีโอคลิปพันๆ คลิป ได้บันทึกการใช้กระสุนจริงอย่างเป็นระบบโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทยต่อ พลเรือนที่ไร้อาวุธ รวมถึงนักข่าวและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉินในเดือนเมษายนและพฤษภาคม นับ ถึงเวลาที่บริเวณที่ชุมนุมได้ถูกเคลียร์เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ สองสามแห่งยังคงมีควันกรุ่น มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คนอาจเผชิญกับโทษประหารชีวิตจากข้อหา “ก่อการร้าย” ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังคงถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรและพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางการเมืองที่ชอบ ธรรมกลับกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการออกหมายจับจำนวนสูงถึง แปดร้อยหมาย และทางการยังได้สั่งแช่แข็งบัญชีธนาคารของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า ร่วมขบวนการและอาจเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่นปช.อีกอย่างน้อย 83 ราย ที่น่าสลดใจก็คือ แกนนำคนเสื้อแดงในท้องถิ่นต่างๆ ได้ถูกลอบสังหารในชลบุรี นครราชสีมา และปทุมธานี
ท่ามกลางเหตุการณ์ที่น่าสลดอันเป็นจุดสูงสุดของโครงการสี่ปีในการโค่น เจตนารมย์ของประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มอำนาจเก่า สมุดปกขาวเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
วัตถุประสงค์ข้อแรกคือเพื่อเน้นถึงพันธกรณีของประไทยตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ และพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการ ชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนซึ่ง อยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมด้วย ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการใช้กองกำลังทหาร อย่างเกินความจำเป็น การกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการทำให้ประชาชนบางส่วนหายสาบสูญ และยังมีระบบการประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองและในการแสดงออกของพลเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบ สวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม จากประวัติศาสตร์ความเป็นปรปักษ์ต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน เสื้อแดง ทำให้เป็นการสมเหตุสมผลที่จะยืนยันให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างเหมาะสม ด้วยหน่วยงานที่เป็นกลางและเป็นอิสระ เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบต้องการละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจะต้อง รับผิดตามที่กำหนดโดยกฎหมายระหว่างประเทศ
เป้าหมายประการที่สองเกี่ยวข้องกับพันธกรณีของประเทศไทยในการสืบสวนการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นในด้านสิทธิทางการเมือง หลังจากการรัฐประหารในปี 2549 และในระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลที่มีทหารหนุนหลังพยายามที่จะรวบรวมอำนาจของตนโดยการกดขี่ปราบปรามการ คัดค้านทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มาตรการประการหนึ่งก็คือ การปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวนั้นโดยมีการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนที่ไร้ อาวุธอย่างเป็นระบบและอย่างเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การกระทำผิดต่อกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างร้ายแรงนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการ ดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำนั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้ เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดยไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่มีเป้าหมายเพื่อโจมตีกลุ่มทางการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมา เป็นระยะเวลา 4 ปีและที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่รับรองโดยรัฐบาล อภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการปฏิบัติตามนโยบาย ดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น
สมุดปกขาวเล่มนี้ศึกษาการเกิดขึ้นของความรุนแรงในประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติการทางทหารในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2553 รวมทั้งการปราบปรามในเดือนเมษายนปี 2552 ที่มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน จากแง่มุมของหลักประกันตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง หลักฐานต่างๆ นั้นเพียงพอต่อการสืบสวนโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระและเป็นกลางถึงนัยยะทางอาญา ของการประหัตประหารทางการเมืองเช่นนี้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
วัตถุประสงค์ประการที่สามของสมุดปกขาวเล่มนี้คือเพื่อยืนยันถึงสิทธิตาม กฎหมายระหว่างประเทศของสมาชิกนปช.หลายร้อยคนที่กำลังเผชิญข้อกล่าวหาทางอาญา จากการเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองรับรองสิทธิใน การต่อสู้ดคีอย่างยุติธรรม รวมถึงสิทธิที่จะเลือกทนายของตนเอง เพื่อเตรียมการต่อสู้คดีโดยมีเวลาและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ และสิทธิในการสามารถเข้าถึงหลักฐานได้อย่างเท่าเทียม [1] ผู้ ถูกกล่าวหามีสิทธิในการตรวจสอบหลักฐานอย่างอิสระผ่านทางผู้เชี่ยวชาญหรือ ทนายของตนเอง ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับรัฐบาล และมีสิทธิในการเรียกพยานหลักฐานฝ่ายตนเพื่อแก้ต่างให้ตนเองได้ [2] เพื่อ เป็นการตอบสนองต่อข้อประท้วงของนานาชาติเกี่ยวกับความรุนแรงในเดือนเมษายน และพฤษภาคม นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศโร้ดแมปเพื่อการปรองดองและได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อ เท็จจริงขึ้นมาอย่างเป็นทางการ สิ่งที่หายไปจากโร้ดแมปของอภิสิทธิ์ก็คือ ความเป็นอิสระและความเป็นกลางอย่างแท้จริงในกระบวนการตรวจสอบตัวเอง นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ที่ได้รบแต่งตั้งให้นำคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ได้บอกกับสื่อมวลชนในเกือบจะในทันทีทันใดว่าเขาสนใจในการ “ส่งเสริมการให้อภัย” มากกว่าการเรียนรู้ข้อเท็จจริง [3] การละเลยเช่นนี้อาจจะสอดคล้องกับแนวความคิดเรื่องการปรองดองแบบเดิมๆ ของไทย ที่ให้นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่สังหารผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2516, 2519 และ 2535 หลายร้อยคน แต่ไม่ทำอะไรกับการสืบหาข้อเท็จจริงหรือส่งเสริมการสมานฉันท์ที่แท้จริงเลย
ปัจจัยหลายอย่างได้ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการเข้ามาเกี่ยวข้อง จากประชาคมโลก เพื่อรักษาการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกกรณีอย่างเป็นอิสระ และเป็นกลาง ประการแรก รัฐบาลไม่มีทีท่าจะยอมอ่อนข้อในการยึดอำนาจทางการเมือง โดยการให้ผู้นำทหารและพลเรือนถูกดำเนินคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ประการที่ สอง การกักขังที่ยาวนานและการไม่สนใจที่จะดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมต่อคนเสื้อแดง หลายร้อยคนที่ถูกรัฐบาลตัดสินไปล่วงหน้าแล้วว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” นั้นทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมของการสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้ ประการที่สาม คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของอภิสิทธิ์ทำงานรับใช้ความต้องการของนายก รัฐมนตรี และไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจนในการสืบสวนหรือดำเนินคดีกับรัฐบาล ส่วนความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมการก็ถูกขัดขวางโดยกฎระเบียบ ต่างๆ ที่ออกภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ถูกเหมือนจะยังคงมีผลในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของการดำเนินการของคณะ กรรมการ ประการสุดท้าย การวิเคราะห์หลักฐานของรัฐบาลไทยนั้นมีแนวโน้มจะโอนเอียงและเชื่อถือไม่ได้ เช่นที่มักจะเป็นในทุกครั้งที่รัฐบาลต้องทำการตรวจสอบการกระทำผิดของตัว เอง การที่รัฐบาลยึดมั่นกับผู้สืบสวนที่เลือกมาจากฐานของการถือข้างมากกว่า จากฐานของความเชี่ยวชาญทำให้กระบวนการไต่สวนทั้งหมดมีมลทิน การสืบสวนข้อ เท็จจริงที่มีอคติ ไม่เป็นกลาง และตอบสนองผลประโยชน์ของรัฐบาลทหารนั้นก็เท่ากับไม่มีการสืบสวนเลย
ทุกคนย่อมยอมรับความจริงที่ว่าประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้นความรุนแรง และดำเนินการให้เกิดความปรองดอง ทว่าความปรองดองนั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการฟื้นคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นความปรองดองนี้ยังต้องการความรับผิดอย่างเต็มที่ต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้น กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยไปกว่านี้ได้
000
บทที่ 2 เส้นทางไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย
ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ “ประชาธิปไตย” มาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อปีพ.ศ. 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในความจริง นอกจากช่วงเวลาที่เป็นเผด็จการทหารอย่างรุนแรงในระหว่างปี พ.ศ. 2501- 2512 แล้ว ประเทศไทยมีการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติเป็นประจำมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการ ปกครอง ทว่า อำนาจมักจะถูกเปลี่ยนมือด้วยการรัฐประหารโดยทหารมากกว่าด้วยกระบวนการตามรัฐ ธรรมนูญที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และจะมีการนำรัฐธรรมนูญฉบับที่สนับสนุนโดยทหารและรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยทหาร เข้ามาบังคับใช้แทนที่รัฐธรรมนูญและรัฐบาลของช่วงเวลานั้น รัฐธรรมนูญในช่วง หลังมักจะถูกร่างขึ้นเพื่อรักษาการควบคุมของกลุ่มที่ก่อการรัฐประหาร ไม่ว่าผู้ก่อการจะตั้งใจใช้อำนาจโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านทางการให้ตัวแทนหรือ การเข้าควบคุมจัดการรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอ การจัดการเช่นนี้จะยังคงมีผล บังคับใช้ไปจนกว่าจะมีกลุ่มทหารกลุ่มอื่นทำรัฐประหารครั้งใหม่ และนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้สมดุลย์อำนาจใหม่ได้รับการ รับรองในกฎหมายขึ้นมาใช้ [4] วิธีปฏิบัติเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา ผ่านทางการรัฐประหารโดยทหารที่สำเร็จ 11 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 14 ฉบับ และแผนการและปฏิบัติการล้มล้างรัฐบาลที่ไม่สำเร็จอีกหลายครั้ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2475 มาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2535
ตลอดช่วงเวลาเหล่านี้ ประเทศไทยมีช่วง “ประชาธิปไตย” สั้นๆ เพียงสามครั้งที่หยั่งรากอยู่ในเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแข่งขันในการ เลือกตั้งอย่างแท้จริง โดยครั้งแรกคือหลังจากการใช้รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2507 และครั้งที่สองคือหลังจากการประท้วงใหญ่ในปี 2516 ครั้งที่สามคือหลังการเลือกตั้งที่ได้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2531 ในทั้งสามครั้งนี้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกล้มล้างด้วยกระบอกปืนของกอง กำลังทหาร และถูกแทนที่ด้วยระบอบที่เหมาะสมกับการคุ้มครองอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่าและผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของพวกเขามากกว่า
นอกจากช่วงเวลาสั้นๆ เหล่านั้นแล้ว ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาถูกปกครองโดยระบอบที่มีส่วนผสมของประชาธิปไตยและเผด็จการแตกต่าง กันไป สิ่งที่ทุกระบอบมีเหมือนกันก็คือ เครือข่ายของเจ้าหน้าที่รัฐในราชการพลเรือนและทหาร หรือที่เรียกว่ากลุ่มอำมาตย์ ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองที่แท้จริง ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนขึ้นมา ผู้แทนของประชาชนมีอิสรภาพ ระดับหนึ่ง และมีมากขึ้นในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่ภายใต้ระบบอำมาตยาธิปไตย (คำที่ใช้เรียกระบบรัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยกลุ่มอำมาตย์ มักจะใช้ในทางตรงข้ามกับ “ประชาธิปไตย”) รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่เคยได้รับสิทธิในการกำหนดให้ทหารอยู่ภายใต้ การควบคุมของพลเรือน และเข้าควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบายทางทหารได้ ที่จริงแล้ว แนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ได้ถูกจัดขึ้นโดยรัฐไทยตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 2500 เป็นต้นมา โดยหมายถึงรูปแบบรัฐบาลที่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่มีการกำหนดข้อจำกัดเข้มงวดเรื่องเสรีภาพของพลเมือง และเรื่องขอบเขตอำนาจที่เจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งสามารถใช้ได้ ระบบ รัฐบาลแบบนี้ที่อยู่บนฐานของการยินยอมอย่างไม่ใยดีของประชากรไทยส่วนใหญ่ ได้รักษาอำนาจของทหาร ข้าราชการ นายทุนขนาดใหญ่ และกลุ่มองคมนตรี (หรือเรียกรวมๆว่า “กลุ่มอำนาจเก่า”) ในการกำหนดนโยบายระดับชาติส่วนใหญ่เอาไว้
เหตุการณ์ต่างๆ หลังจากการยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยกองทัพที่นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อปีพ.ศ. 2533 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องอำนาจนำของกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่ได้มาจากการ เลือกตั้งเหนือระบบการเมืองไทย การประท้วงโดยประชาชนจำนวนมากที่ต่อต้านการ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา หลังจากที่มีการเลือกตั้งที่มีเปลือกนอกว่าเป็น “ประชาธิปไตย” ในเดือนมีนาคม 2535 ได้นำไปสู่การปะทะรุนแรงเป็นประวัติการณ์ระหว่างพลเรือนกับทหารในช่วงวันที่ 17-20 พฤษภาคม ผู้ประท้วงหลายสิบคนที่เรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออกและนำประเทศ กลับสู่ระบอบประชาธิปไตยถูกสังหารโดยโหดร้ายโดยทหารในช่วงระหว่างเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ” ปี 2535 ในท้ายที่สุด พลเอกสุจินดา ได้ลาออกหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปรากฏพระองค์ต่อสาธารณะ และนำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ในเดือนกันยายน 2535
โศกนาฏกรรมพฤษภาทมิฬทำให้ประเทศเดินเข้าสู่หนทางการเป็น “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” อย่างแท้จริง และมีกระบวนการปฏิรูปเป็นเวลานานห้าปี อันสิ้นสุดลงด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างสูงในกระบวนการที่นำไปสู่การออกรัฐธรรมนูญ รวมถึงการที่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยอย่างไม่กำกวม รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”
รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 นำมาซึ่งยุคใหม่แห่งการเมืองที่ไม่มีการกีดกันในไทย เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ผู้แทนของประชาชนเป็นผู้ร่างและรับรอง รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นการกำหนดมาจากกลุ่มอำนาจเก่าอย่างแต่เดิม นำไปสู่ยุคแห่งประชาธิปไตยที่แท้จริง ความโปร่งใส และการรับผิดตรวจสอบได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมือง ซึ่งฉบับก่อนหน้านี้ไม่ได้รองรับ และยังกำหนดกลไกอีกบางประการ รวมถึงเรื่องการเลือกตั้งสภาทั้งสอง ระบบการเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสต์เพื่อมาใช้พร้อมกับระบบแบ่งเขตแบบเดิม และตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ออกแบบมาเพื่อรับประกันว่าจะมีรัฐบาลตัว แทนอย่างเต็มที่ และเพื่อสร้างสนามเลือกตั้งที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในขณะที่ยังรักษาความเป็นธรรมและความซื่อสัตย์เอาไว้ให้ได้ [5] ที่ สำคัญก็คือ รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 นี้ยังห้ามการใช้สิทธิหรือเสรีภาพในการล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย และยังห้ามความพยายามใดๆ ในการ “ให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้” [6] และยังห้ามทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยกเว้นแต่เป็นไปตามหลักการและวิธีการที่บัญญัติไว้ [7]
รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ยังได้สร้างเสถียรภาพทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้รับการรับรองในช่วงที่มีวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและทางการเงินอย่าง หนักในประเทศ การส่งออกลดลงและความกังวลเรื่องสถานการณ์ของภาคการเงินทำให้เกิดการไหลออก ของทุนขนาดใหญ่อย่างทันที จนเกิดวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงปลายปีพ.ศ. 2540 [8] ในสถานการณ์ที่ประชาชนต่างไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่สามารกู้วิกฤติเศรษฐกิจของปะ เทศได้ จึงเป็นที่คาดกันว่าอาจจะเกิดการรัฐประหารครั้งที่ 12 อย่างแน่นอน แต่ถึงกระนั้นวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ก็ไม่ได้นำไปสู่วิกฤตทางการเมือง ข้อผูกพันมุ่งมั่นของประเทศที่จะเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้ จริงดูเหมือนจะยังคงถูกรักษาไว้ได้ในที่สุด [9]
รัฐธรรมนูญ 2540 ยังกำหนดยุทธศาสตร์ทางการเมืองแบบใหม่ ก่อนหน้านี้พรรคการเมืองที่อ่อนแอและแตกแยกต้องขึ้นอยู่กับผู้มีอิทธิพลใน ท้องถิ่นและเครือข่ายเส้นสายของระบบอุปถัมภ์ ในการระดมพลังสนับสนุนในพื้นที่การเลือกตั้งส่วนใหญ่ของประเทศ เนื่องจากพรรคเหล่านั้นมีเนื้อหาเชิงโครงการน้อยมาก และมีภาพลักษณ์ของพรรคไม่ชัดเจน ด้วยระบบตรวจสอบและถ่วงดุลย์ การป้องกันการคอร์รัปชั่น และด้วยบทบัญญัติใหม่ๆ ที่เสริมอำนาจของฝ่ายบริหารโดยการทำให้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งมี ความเปราะบางต่อการแปรพรรคน้อยลง รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ได้เปิดช่องทางให้เกิดการเติบโตของผู้นำทางการเมืองใหม่ๆ ที่พยายามจะสร้างพรรคการเมืองระดับชาติที่เข้มแข็งที่อยู่บนฐานของวาระ นโยบายเชิงโครงการที่ชัดเจน ที่อาจจะเป็นที่สนใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ นี่เป็นบริบทที่ทำให้ ทักษิณ ชินวัตร ตั้งพรรคไทยรักไทยและนำพรรคไปสู่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งในปี 2544 และ 2548 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้จินตนารของคนนับล้านๆเป็นจริง และได้มอบปากเสียงให้แก่พลังทางการเมืองที่ปัจจุบันนี้คัดค้านการบริหาร ปกครองของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างมั่นคง
000
บทที่ 3 การขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย
ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2492 เป็นคนจังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจในปีพ.ศ. 2516 และรับราชการเป็นเวลา 14 ปี จนมียศพันตำรวจโท ซึ่งในระหว่างนั้นเขาได้ลาไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาอาชญา วิทยาที่มหาวิทยาลัย Eastern Kentucky และมหาวิทยาลัย Sam Houston ในเท็กซัส
ในปีพ.ศ. 2526 ขณะรับราชการตำรวจอยู่นั้น ทักษิณก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์กรุ๊ป กับภรรยาและพี่ชายภรรยา หลังจากออกจากราชการตำรวจในปี 2530 และทุ่มเทความสนใจทั้งหมดให้กับธุรกิจ บริษัทของเขาก็เติบโตเป็นบริษัทชิน คอร์ป ในช่วงทศวรรษ 1990s (2533-2542) บริษัทนี้เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจโทรคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังเริ่มต้น ในประเทศไทย ในปี 2537 อันเป็นปีที่เขาเข้าสู่วงการการเมือง นิตยสาร Forbes ประเมินว่าเขามีทรัพย์สินประมาณ 1.6 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ทักษิณเข้าสู่การเมืองโดยเข้าร่วมในรัฐบาลชวน หลีกภัย ในปี 2537 เมื่อเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะสมาชิกพรรคพลังธรรมของพลตรีจำลองศรีเมือง จากนั้นเขาก็เป็นรองนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาสั้นๆ ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา (2538-2539) และรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ (2540) ในวันที่ 14 กรกฏคม 2541 เขาก่อตั้งพรรคไทยรักไทยอย่างเป็นทางการร่วมกับสมาชิกพรรครุ่นก่อตั้ง 22 คน ภายใต้การนำของทักษิณ ไม่นานพรรคก็ประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีพรรคการเมืองใดทำได้มาก่อนเลย ในประเทศไทย
ในความพยายามที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการเงินในปี 2540 รัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงินกู้จำนวน 1.7 หมื่นล้านเหรียญนั้นต้องแลกมาด้วยกับการยอมรับเงื่อนไขของ IMF ที่จะต้องมีการปฏิรูประบบการเงิน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมาตรการอื่นๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (foreign direct investment) ในช่วงแรก การปฏิรูปเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ค่าจ้างตกต่ำลง อัตราว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรและแรงงาน บรรดานักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงได้เข้าร่วมขบวนการชาตินิยมที่กำลังขยายตัวต่อ ต้าน IMF และพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลขณะนั้น นายกฯ ชวน หลีกภัยถูกโจมตีจากหลายด้าน ทั้งภาคธุรกิจขนาดใหญ่ นักวิชาการ องค์กรประชาสังคมก่นประนามเขาว่าทำลายเศรษฐกิจ รับนโยบายจากต่างประเทศ ปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาฮุบทรัพย์สินของไทยในราคาถูก
ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยของทักษิณปราศรัยถึงประเด็นเหล่านี้อย่างดุเดือด พรรคมีนโยบาย ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา และพลังงาน ในขณะเดียวกันนโยบายสวัสดิการสังคมของไทยรักไทยและการพัฒนาชนบทก็ได้รับความ นิยมอย่างมากจากชนชั้นแรงงานในเมืองและเกษตรกรในต่างจังหวัดที่ได้รับผล กระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจมากที่สุด
ด้วยมาตรฐานของประเทศที่คุ้นชินกับการมีรัฐบาลผสมที่เคยประกอบด้วยพรรค การเมืองมากถึง 16 พรรค พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 อย่างถล่มทลาย ได้ที่นั่งในสภาถึง 248 ที่นั่งจากทั้งหมด 500 และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองหนึ่งเกือบจะได้เสียงข้างมากในสภา และผลจากการเลือกตั้ง ทักษิณ ชินวัตรก็ได้รับเลือกให้เป็นนายกฯ คนที่ 23 ของไทย
ชัยชนะของพรรคไทยรักไทยที่หีบเลือกตั้งและการเพิ่มจำนวนสส.จากการรวมกับ พรรคอื่นในภายหลังนำไปสู่สภาพการณ์ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกลุ่มอำนาจ เก่าของไทย ซึ่งก็คือ องคมนตรี ผู้นำกองทัพ ข้าราชการระดับสูง ผู้พิพากษาศาลสูง ผู้นำทางธุรกิจ ที่ได้สะสมความมั่งคั่งในระบบการเมืองก่อนที่จะมีทักษิณ ก็สนับสนุนการการขึ้นมาของทักษิณอย่างกระตือลือล้นในช่วงแรก แต่เมื่อความชอบธรรมจากการกุมเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำให้นายกฯ อยู่ในฐานะที่สามารถผลักดันนโยบายของพรรคไทยรักไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องต่อ รองหรือขอความเห็นชอบจากกลุ่มอำนาจเก่า ความเข้มแข็งที่ได้มาด้วยความนิยมชม ชอบของประชาชนในการเลือกตั้ง คุกคามอำนาจในการกำหนดนโยบายประเทศที่พวกอำมาตย์ยึดกุมมาตลอดตั้งแต่ประเทศ ไทยดูคล้ายจะเป็นประชาธิปไตยมา
ก่อนหน้านี้กลุ่มอำนาจเก่ากุมอำนาจเหนือระบบการเมืองของประเทศและนักการ เมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอาศัยยุทธวิธีแบ่งแยกและปกครอง ภาวะเบี้ยหัวแตกของระบบพรรคการเมืองของไทยได้ป้องกันการรวมตัวเป็นกลุ่ม ก้อนที่มีฐานจากการเลือกตั้งที่จะสามารถท้าทายอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของกลุ่ม อำนาจเก่า การเลือกตั้งปี 2544 ทำให้ทักษิณมีฐานมวลชนสนับสนุนอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ซึ่งเขาใช้ฐานสนับสนุนนั้นในการทำสิ่งที่เขาได้สัญญาไว้ ในช่วง 1 ปีแรก เขาดำเนินนโยบายตามที่ได้เสนอไว้ในการหาเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทักษิณยังกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ทำงานครบวาระ พรรคไทยรักไทยหาเสียงในการเลือกตั้งปี 2548 ด้วยนโยบายต่อเนื่องภายใต้สโลแกน “สี่ปีซ่อม สี่ปีสร้าง” และผลการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ก็เป็นชัยชนะที่ถล่มทลายยิ่งกว่าเดิม หลังจากการเลือกตั้งปี 2548 พรรคไทยรักไทยกุมเสียงข้างมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่นั่งในสภา พรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดคือประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งกว่าหนึ่งในสี่ เหลือไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของที่นั่งในสภา และถือเป็นครั้งแรกอีกเช่นเดียวกันที่ทักษิณได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกฯ อีกครั้ง
ในขณะที่หลายคนในกลุ่มอำนาจเก่าของไทยเคยมองทักษิณว่าเป็นคนที่อาจสามารถ ช่วยกอบกู้ให้พ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย ที่ทำลายความมั่งคั่งของพวกเขาไปไม่น้อย พอเริ่มต้นวาระที่สอง ทักษิณก็ได้กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอำนาจทาง การเมืองของกลุ่มอำนาจเก่า มาถึงปี 2548 นี้ ทักษิณไม่เพียงแต่ยึดกุมสนามการเลือกตั้งในประเทศไทยได้เท่านั้น การที่เขาได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนยังทำให้เขามี โอกาสขับเคลื่อนในทิศทางที่ดึงอำนาจตามรัฐธรรมออกมาจากกลุ่มอำนาจเก่า ชนิดที่ไม่มีนายกฯ พลเรือนคนไหนเคยทำได้มาก่อน ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้วรัฐธรรมนูญของประเทศ ไทยส่วนใหญ่ก็มอบอำนาจดังกล่าวไว้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว
รัฐบาลทักษิณมีลักษณะเป็นภัยคุกคามหลายประการต่อกลุ่มหลักๆ 4 กลุ่มที่ประกอบเป็นกลุ่มอำนาจเก่าของไทยอันได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจการเงินในกรุงเทพฯ 2) ผู้นำทางทหาร 3) ข้าราชการพลเรือนชั้นสูง 4) กลุ่มองคมนตรี
พวกนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ที่ทักษิณเคยทอดสะพานให้ครั้งเขาลงชิงตำแหน่งนายกฯ ครั้งแรก กลับหันมาต่อต้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเพราะดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่ง เน้นไปที่เกษตรกรและคนจนในเมือง ตลอดจนการเปิดเสรีทางการค้า โดยผู้ต่อต้านนั้นพูดอย่างชัดเจนว่า “เป้าประสงค์นั้นคือการต่อต้านนโยบายแบบทักษิโนมิคส์”
น่าขำที่ทักษิณมักถูกโจมตีเรื่อง “ประชานิยม” (เมื่อเร็วๆนี้ พวกเสื้อแดงก็ถูกเรียกว่าเป็นพวก “มาร์กซิสต์”) การสนับสนุนการค้าเสรีของเขานั่นเองที่สร้างความระคายเคืองแก่คนรวยมากที่ สุด นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ Suehiro Akira อธิบายเศรษฐกิจประเทศไทยยุคหลังสงครามว่าถูกครอบงำโดยครอบครัวที่เป็น ทุนนิยมพวกพ้อง (“client capitalist”) ไม่กี่สิบครอบครัว ที่ยึดกุมและรักษาการผูกขาดเกือบโดยสิ้นเชิงเหนือภาคส่วนทางเศรษฐกิจขนาด ใหญ่จำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากเส้นสายความสัมพันธ์ที่พวกเขามีกับเจ้าหน้าที่ รัฐที่ทรงอิทธิพล ในการแลกเปลี่ยนเพื่อความมั่งคั่งส่วนตัว เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในฝ่ายพลเรือนหรือนายทหารระดับสูงจะคอยดูแลให้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ภายในประเทศต้องได้รับผลประโยชน์จากนโยบายต่างๆ ความอ่อนแอของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และการป้องกันการแข่งกันจากภายในและภายนอกประเทศของรัฐ
วิกฤติการเงินเอเชียทำให้หลายครอบครัวในกลุ่มนี้ต้องมีหนี้สิน ทำให้พวกเขาต้องยอมขายกิจการให้กับต่างชาติ รัฐบาลไทยได้เข้ามาช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่เมื่อต้นปี 2544 โดยการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ เพื่อซื้อหนี้เงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loans)มูลค่า1.2 พันล้านเหรียญทั้งที่เกิดจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งหนี้เงินกู้เหล่านี้หลายตัวก็ยังคงไม่ก่อรายได้ (underperforming)อยู่จนถึงปี 2548 และบริษัทที่กู้เงินก็ยังมีหนี้ค้างชำระกับธนาคารจำนวนมาก ภายใต้การบริหารงานของทักษิณ บรรดานักธุรกิจชั้นนำของกรุงเทพ ผู้ซึ่งแต่ไหนแต่ไรเคยชินกับการอาศัยอิทธิพลทางการเมืองในการปกป้องผล ประโยชน์ทางธุรกิจของตน เริ่มที่จะเสี่ยงต่อการสูญเสียอิทธิพลที่มีต่อรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ ทำให้พวกเขาตกอยู่ในฐานะที่อ่อนแอในการต่อรองกับธนาคารเกี่ยวกับหนี้ที่ยัง ค้างชำระ นอกจากนี้ การที่นโยบายเศรษฐกิจของไทยรักไทยมุ่งเน้นสนับสนุนการค้าเสรีก็คุกคามกลุ่ม ธุรกิจภายในประเทศให้ต้องเผชิญกับการแข่งขันจริงๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่คุ้นที่จะต้องเผชิญ ครอบครัวที่ควบคุมอาณาจักรเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ไทยเบเวอเรจ เจริญโภคภัณฑ์กรุ๊ป และทีพีไอ โพลีน กลับกลายมาเป็นปฏิปักษ์ตัวฉกาจของทักษิณ
นอกจาก ทุนนิยมพวกพ้อง client capitalists เหล่านี้แล้ว นโยบายของทักษิณได้คุกคามเครือข่ายราชการ (หรืออำมาตยา) ที่ได้คอยดูแลให้ครอบครัวเหล่านี้มีอำนาจครอบงำเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด ในด้านหนึ่ง การที่ทักษิณพยายามลดทอนอำนาจของทหาร ข้าราชการ และองคมนตรีในการกำหนดนโยบายประเทศนั้นยังได้ไปบ่อนเซาะเกราะคุ้มกันจากการ แข่งขันที่พวกนักธุรกิจชั้นนำเคยได้รับเสมอมาจากระบบอมาตยาอีกด้วย และในอีกทางหนึ่ง ความมุ่งมั่นของทักษิณที่จะลดบทบาทของสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งให้ เหลือเพียงบทบาทที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ก็เป็นภัยคุกคามต่ออิทธิพลและรายได้ของของกลุ่มอำมาตย์
ข้าราชการอาชีพอาจเป็นกลุ่มหันมาต่อต้านรัฐบาลทักษิณเร็วที่สุด ตั้งแต่แรกทีเดียว ทักษิณได้กำหนดตนเองเป็นตัวเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในระบบราชการและนักการ เมืองอาชีพ ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาล การดำเนินนโยบายของไทยรักไทยทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาดูแลกระบวนการกำหนดนโยบาย โดยตรง ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาอยู่ในมือของข้าราชการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในการ พยายามที่จะทำให้รัฐบาลมีอำนาจควบคุมการออกแบบและดำเนินการนโยบายใหม่ๆ ทักษิณได้ทำให้ข้าราชการระดับสูงมีบทบาทลดน้อยถอยลง ทั้งโดยการให้อำนาจแก่ฝ่ายการเมืองและการปฏิรูประบบราชการที่ทำให้เกิด กระทรวงใหม่ขึ้นมาหกกระทรวงเพื่อให้ระบบราชการทำงานได้คล่องแคล่วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและการสนองตอบต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
ทักษิณพยายามอย่างหนักที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ ในช่วงเวลาที่ทักษิณเข้ารับตำแหน่ง กองทัพยังคงมีภาพพจน์ที่ไม่ดีที่ผู้นำกองทัพกระทำไว้จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 อย่างไรก็ตาม ด้วยประวัติศาสตร์ของไทย บรรดานายพลก็ยังคงเป็นกลุ่มอำนาจที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่สามารถจะมอง ข้ามได้ งบประมาณของกองทัพที่ถูกหั่นลงอย่างมากหลังวิกฤติทางการเงินเอเชีย ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงสมัยแรกของทักษิณ จาก 71.3 พันล้านบาทในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็น 86.7 ในปี 2549 ทว่าในเวลาเดียวกัน ทักษิณก็พยายามที่จะทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนมากขึ้น ในทางหนึ่งเขาปฏิเสธที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายของกองทัพตามที่ขอมา (ที่กองทัพต้องการนั้นดูได้จากงบประมาณทหารที่เพิ่มขึ้นมา 35 เปอร์เซ็นต์ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอนุมัติหลังการรัฐประหาร) ในอีกทางหนึ่ง ทักษิณใช้การโยกย้ายตำแหน่งเพื่อสร้างความพอใจให้กับผู้ที่ภักดีต่อรัฐบาล และตัวเขาเอง ซึ่งทำให้นายทหารชั้นสูงหลายคนไม่พอใจที่ถูกข้ามหัวหรือเห็นอนาคตตีบตัน
การต่อต้านของเครือข่ายที่ปรึกษาของราชสำนักที่นำโดยประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการถูกถอดจากตำแหน่งของทักษิณ สำหรับพลเอกเปรมและพันธมิตรแล้ว ประเด็นขัดแย้งคือการบ่อนเซาะอำนาจทางการเมืองที่เป็นผลมาจากความพยายาม อย่างเป็นระบบของทักษิณที่จะขจัดระบบอุปถัมภ์อันเป็นช่องทางที่บรรดาผู้แวด ล้อมราชสำนักใช้อำนาจอิทธิพลในการบริหารราชการแผ่นดินแทบทุกแง่มุม การที่ทักษิณพยายามทำให้กองทัพและราชการพลเรือนอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาล ตลอดจนลดอิทธิพลของพล.อ.เปรมที่มีต่อศาลและองค์กรอิสระ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการต่อต้านจากองคมนตรี ในปี 2549 หลังจากประสบความสำเร็จในการผลักดันให้พลเอกสนธิ บุญยรัตกลินได้ขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพ พลเอกเปรมก็เริ่มวางแผนการรัฐประหารอยู่หลังฉากและทำการรณรงค์ต่อต้านรัฐบาล อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยมุ่งหมายบ่อนทำลายความภักดีของกองทัพที่มีต่อรัฐบาลจากการเลือกตั้งเป็น การเฉพาะ
กฎสำคัญข้อหนึ่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของการเมืองไทยหลังสงครามโลก ครั้งที่สองเป็นต้นมาก็คือ รัฐบาลพลเรือนจะเป็นที่อดรนทนได้ตราบใดที่เป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ แตกแยกภายใน ต้องคล้อยตามระบบอมาตยาในกองทัพ ราชการ และองคมนตรี และรับใช้ผลประโยชน์ของนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ รัฐบาลใดที่พยายามจะทำในสิ่งที่แตกต่าง ก็จะถูกบ่อนทำลายอย่างเป็นระบบ และหากบ่อนทำลายไม่สำเร็จ ก็จะถูกขจัดออกไปโดยกองทัพ ทักษิณไม่เพียงแต่ละเมิดกฎอันไม่เป็นทางการข้อ นี้ด้วยการทุ่มเทบริหารประเทศอย่างไม่บันยะบันยัง การอยู่ในตำแหน่งนายกฯ จนครบวาระและชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งสองครั้งซ้อนอันเนื่องมาจาก การสนับสนุนอย่างล้นหลามจากมวลชนที่พึงพอใจในนโยบาย เป็นการคุกคามที่จะเปลี่ยนทิวทัศน์ทางการเมืองของไทยโดยขจัดอำนาจนอกรัฐ ธรรมนูญที่มีมาอย่างยาวนานของกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่ได้มาจากการเลือก ตั้ง ด้วยสังขารที่ร่วงโรยของผู้นำที่มีบารมีสูงสุดบางคนของอำมาตย์ กลุ่มอำนาจเก่าก็ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องลงมืออย่างรวดเร็วและเด็ดขาดเพื่อ ทำลายล้างพรรคไทยรักไทยและการท้าทายอำนาจอย่างใหญ่หลวงที่สุดที่พวกเขาเคย ประสบในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา
000
อ้างอิง:
1. [1] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 วรรค 3(ข) และ 3(จ)
2. [2] ICCPR ข้อ 14 วรรค 3(จ)
3. [3] “Deaths Probe ‘Won’t Cast Blame’,” Bangkok Post, 12 มิถุนายน 2553
4. [4] Pinai Nanakorn, “Re-Making of the Constitution in Thailand,” Singapore Journal of International & Comparative Law, 6(2002): 90-115, p. 93.
5. [5] เพิ่งหน้า, หน้า 107-09.
6. [6] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (จากนี้เรียก รัฐธรรมนูญฉบับ 2540), ข้อ 63
7. [7] เพิ่งอ้าง, ข้อ 313.
8. [8] Pansak Vinyaratn, 21st Century Thailand, Facing the Challenge, Economic Policy & Strategy (Hong Kong: CLSA Books, 2004), p. 1.
9. [9] Chaturon Chaisang, Thai Democracy In Crisis: 27 Truths (Bangkok: A.R. Information & Publication Co. Ltd., 2009), p.37.
-----------------------------------------------------
วันศุกร์, กรกฎาคม 23, 2010
"ทักษิณโต้กลับ" บทความจากบล็อกรอยเตอร์
โดย แอนดรูว์ มาแชล
จากบล็อกเรื่อง "Thaksin strikes back"
ที่มา บล็อกรอยเตอร์
แปลไทย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
22 กรกฎาคม 2553
ที่มา: ไทยอีนิวส์ออนไลน์
สอง เดือนหลังจากทหารบดขยี้กลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงที่ราชประสงค์ ผู้ต้องหา-อดีตนายกฯ-เศรษฐีธุรกิจโทรคมนาคม-พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้เริ่มโต้กลับแล้ว
ทีมทนายความระหว่างประเทศของคุณทักษิณ นำโดยนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม จากบริษัทกฏหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์เปรอฟ ได้ออกรายงานจำนวน 80 หน้าถึงต้นเหตุของวิกฤติการณ์ไทย, การขึ้นสู่อำนาจและลงจากอำนาจของคุณทักษิณ, ขบวนการคนเสื้อแดงและเสื้อเหลือง และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ซึ่งได้คร่าชีวิตคนไป 90 คน และทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บนับร้อยๆ
อัมสเตอร์ดัม กล่าวว่าคุณทักษิณได้ร้องขอให้บริษัททนายความของเขาให้คำปรึกษากับทนายความ ไทยในการปกป้องกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงที่ถูกจับกุมในช่วงเดือนที่ผ่านมา รายงานชุดดังกล่าวนี้ก็ได้ครอบคลุมบางส่วนของการแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าวนี้
"รายงาน สมุดปกขาวนี้เน้นความสัตย์ ความน่าเชื่อถือ และผลการเลือกตั้งที่ไม่ปลอม เป็นเรื่องเบื้องต้นที่ปูทางสู่การปรองดองที่แท้และยั่งยืนในประเทศไทย" นายอัมสเตอร์ดัมกล่าว
แน่นอนว่ารายงานนี้จะไม่แสดงมุมมองของวิกฤติ การณ์ในประเทศไทยอย่างเป็นกลาง มร.อัมสเตอร์ดัมทำงานให้กับคุณทักษิณ และจากประวัติของเขาที่ผ่านมามันชี้ให้เห็นอย่างนั้น ศัตรูของทักษิณได้รับการเขียนถึงในเชิงลบ (เช่น พล.อ.เปรม แต่การเขียนดังกล่าวก็ไม่ได้แปลว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง) ในขณะที่แนวร่วมของเขาได้รับการฟอกขาว (นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับการอ้างถึงในรายงานเพียงว่า "นักการเมืองเก่าในสนามการเลือกตั้งกรุงเทพฯ" ส่วนคุณทักษิณถูกฉายให้เป็นแชมเปี้ยนของประชาธิปไตยในประเทศไทย ขณะที่ผมกำลังเขียนบล็อกที่นี่, ผมไม่ถือว่านี่เป็นการอธิบายภาพของคุณทักษิณที่น่าเชื่อถือได้ - แต่ก็ยังคงเป็นคำถามปลายเปิดว่า ทักษิณอาจจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำประชาธิปไตยที่แท้จริงมาสู่ประเทศไทยได้
แต่ ข้อวิเคราะห์ของอัมสเตอร์ดัมก็ช่างลึกซึ้งซับซ้อน และเป็นเอกสารงานวิจัยที่ดีทีเดียว และมีคุณภาพที่สูงไกลจากรายงานชิ้นอื่นๆที่ช่างน่าละอายและไม่เอาโล้เอาพาย ที่พยายามครอบงำการอภิปรายวิกฤติการณ์ในไทยจากพวกสนับสนุนอำมาตย์
ผม ขอแนะนำให้อ่าน และสำหรับคนที่ไม่เห็นด้วย ก็ขอให้พยายามที่จะนำเสนอบทความและข้อมูลที่มีคุณภาพที่เทียบเคียงกันได้ แทนที่จะเดินหนี โกรธ และดูถูกแบบกลวงๆ
อ่านรายงานฉบับดังกล่าวได้ที่ลิงก์http://robertamsterdam.com/thai/?p=128
ขอให้ดูอ้างอิงที่สำคัญบนหน้า 32
"สำหรับ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด, นายกฯไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบของเขาได้ ไม่ว่าจะอ้างว่าไม่ตั้งใจหรือจงใจ. สิ่งที่แย่ยิ่งกว่าการกล่าวร้ายต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานคือการใส่ราย ประชาชน ผมไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นรัฐประเทศซึ่งได้เข่นฆ่าประชาชน ทำร้ายประชาชนจนได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัส แล้วยังกล่าวหาประชาชนว่าเป็นอาชญากร สิ่งนี้เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ผมได้ยินบรรดาพวกที่เป็นรัฐบาลได้ออกคำถามถามพวกประชาชนเสมอๆว่า -คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า?- แต่จากการใช้วิจารณญาณการกระทำของพวกคุณขณะนี้ ผมบอกได้ว่ามันไม่ใช่คำถามถามว่าคุณเป็นคนไทยหรือไม่ แต่ต้องถามว่า คุณยังเป็นคนอยู่หรือไม่?"
สำหรับคนที่ตั้งคำถามเช่นนั้น เขาคงรู้สึกกระอักกระอ่วนที่จะโดนตั้งคำถามถามกลับเช่นนี้
----------------------------------------------------------
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 23:05:30 น. มติชนออนไลน์
ทนายฝรั่ง"ทักษิณ"ท้ารัฐบาลอภิปรายสมุดปกขาว ลั่นเจอกันได้ทุกที่ทุกเวลาบนพื้นฐานกม.ระหว่างปท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ http://robertamsterdam.com/thai/ ของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 23 กรกฏาคม ถึงผู้อ่านสมุดปกขาวเรื่อง"การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ" ซึ่งมีการเผยแพร่ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน โดยชี้แจงว่าสมุดปกขาวเล่มนี้ร่างขึ้นด้วยความร่วมมือของผู้เขียนหลายคน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญไทยจำนวนหนึ่ง แต่นายอัมสเตอร์ดัมขอเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจัดทำสมุดปกขาวเล่มนี้เพียงผู้ เดียว เพราะประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้พรก.ฉุกเฉิน
นายอัมสเตอร์ดัมกล่าวถึงตนเองและดร.คานูปส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมสงคราม ซึ่งเป็นลูกทีมของนายอัมสเตอร์ดัม ถูกรัฐบาลไทยสั่งห้ามเข้าประเทศว่า เป็นการทำลายสิทธิของตนที่จะแก้ต่างให้กลุ่มคนเสื้อแดงที่เป็นลูกความ ซึ่งตนและดร.คานูปส์ตัดสินใจที่จะใช้วิธีเจรจาทางการทูตเพื่อขอให้รัฐบาล เพิกถอนคำสั่ง
นายอัมสเตอร์ยังกล่าวหารัฐบาลว่าพยายามใช้ระบบกฎหมายและสื่อเป็น เครื่องมือที่จะลดทอนความสำคัญของสมุดปกขาวที่มีการแปลเป็นหลายภาษาและแจก จ่ายไปทั่ว รวมถึงการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ในตอนท้ายนายอัมสเตอร์ดัมระบุว่ายินดีที่จะอภิปรายเรื่องสมุดปกขาวกับตัวแทน ของรัฐบาลทุกที่ทุกเวลาบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น