วันพุธ, กรกฎาคม 07, 2553

แม่ ลูกจันทร์ ไทยรัฐ: ระเบิดเถิดเทิง...พร้อมเข้าสู่ ยุคภาษีอาน?

ใครจะตำหนิติติงนโยบายโคตรอภิมหาประชานิยมว่าสุ่มเสี่ยงจะทำให้การคลัง ประเทศล้มละลาย แต่นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันจะเดินหน้าประชานิยมสุดขั้วต่อไปโดยไม่แยแสเสียงวิจารณ์ ทั้งๆ ที่ตอนเป็นฝ่ายค้าน "อภิสิทธิ์" เคยโจมตีนโยบายประชานิยมซะยับเยินไม่มีชิ้นดี

แต่เมื่อเปลี่ยนข้างมา เป็นรัฐบาล "อภิสิทธิ์" ก็เอาสิ่งที่เคยโจมตีรัฐบาลอื่นไว้มาทำซะเอง การ เมืองไทยมันเป็นงูกินหางอย่างนี้แหละโยม

ล่าสุด นายกฯอภิสิทธิ์ คิดการใหญ่จะตรึงราคาแก๊สแอลพีจีเอาไว้ตลอดไป แม้ต้นทุนจะแพงขึ้น กว่าเก่าอีกเท่าตัว!! จะตรึงเอาไว้อย่างนี้ แม้ต้องนำเข้าแก๊สแอลพีจีเพิ่มอีกเดือนละแสนห้าหมื่นตัน

โดยรัฐบาลจะ ควักกระเป๋าจ่ายชดเชยส่วนต่างแทนประชาชน เพื่อให้คนไทยได้ใช้แก๊สแอลพีจีถูกกว่าราคาจริง 100 เปอร์เซ็นต์ ใครจะว่ารัฐบาลบิดเบือนราคาพลังงาน "อภิสิทธิ์" ก็ไม่แคร์

ขอให้ประชา นิยมซะอย่าง "อภิสิทธิ์" ลุยถั่วเต็มสตีม

"แม่ลูกจันทร์" เชื่อว่า "นายกฯอภิสิทธิ์" เสพติดนโยบายประชานิยมโดยยึด "อดีตนายกฯทักษิณ" เป็นแม่แบบให้เดินตามปัญหาอยู่ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ไปเน้นนโยบายประชา นิยมแจกฟรีมากเกินไป ทำให้กลายเป็นเบี้ยหัวแตกไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม

แถม "อภิสิทธิ์" ยังฝันเฟื่องจะยกระดับประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการทั้งๆที่รัฐบาลไม่มีรายได้ มากพอที่จะเป็นรัฐสวัสดิการได้จริงๆเข้าตำรา จนแล้วไม่เจียม เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง อย่างที่ "ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี" รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ ออกมาเตือนสติรัฐบาล

เพราะประเทศไทยมีคนจ่าย ภาษีแค่ 10 ล้านคน จาก 63 ล้านคน เท่ากับรัฐบาลเอาภาษีจากคน 10 ล้านคน ไปเลี้ยงดูประชาชน 53 ล้านคน ถ้าไม่เป็นเตี้ยอุ้มค่อม ก็ต้องเป็น ลิงอุ้มแตง

ยิ่งรัฐบาลโหมกระหน่ำประชานิยมไม่บันยะบันยัง ภาระรายจ่ายประจำก็ต้องเพิ่มขึ้นๆเป็นเงาตามตัว เม็ดเงินที่จะใช้ เป็นงบลงทุน พัฒนาประเทศก็ยิ่งเหลือน้อยลงๆ

สุดท้ายรัฐบาลอภิสิทธิ์ จะถูกโครงการประชานิยมทับตาย ทิ้งไว้แต่หนี้สินก้อนโตให้รัฐบาลใหม่ต้องตามล้างตามเช็ดต่อไปอีกนาน

"แม่ ลูกจันทร์" เห็นว่าถ้ารัฐบาลยังทะลุ่มทะลุยประชานิยมสุดขั้ว โดยไม่คำนึงถึงภาระรายจ่ายในระยะยาว...จะเกิดวิกฤติการคลังครั้ง ใหญ่ในอีกไม่เกิน 5 ปี

อนึ่ง มีข้อมูลที่สื่อมวลชนรวบรวมโครงการประชานิยมของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในช่วงปี ครึ่งที่ผ่านมา ปรากฏว่ารัฐบาลถลุงเงินไปมากมายจนน่าตกใจ

เฉพาะ โครงการประชานิยม (แจกฟรี) ซึ่งเป็นภาระผูกพันระยะยาว เช่น...เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 21,000 ล้านบาทต่อปี

เบี้ยยังชีพคน พิการ 500 ล้านบาทต่อปี

เบี้ยอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 3,500 ล้านบาทต่อปี

ขึ้นเงินข้าราชการ 5 เปอร์เซ็นต์ 30,000 ล้านบาทต่อปี

จ่าย โบนัสข้าราชการอีก 5,000 ล้านบาทต่อปี

สนับสนุนโครงการเรียนฟรี 19,000 ล้านบาทต่อปี

สนับสนุนโครงการรักษาฟรี 89,000 ล้านบาทต่อปี

กอง ทุนหมู่บ้าน สวัสดิการชุมชน และเศรษฐกิจพอเพียง 27,000 ล้านบาทต่อปี

มาตรการ ลดค่าครองชีพ รถเมล์ฟรี ไฟฟรี นํ้าฟรี 37,000 ล้านบาทต่อปี

แก้ปัญหา หนี้สินประชาชน 10,000 ล้านบาทต่อปี

นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรอีก 27,000 ล้านบาทต่อปี

นี่ยังไม่รวมนโยบายแจกฟรีระยะสั้น เช่น โครงการแจกเช็คช่วยชาติ โครงการต้นกล้าอาชีพ โครงการชุมชนพอเพียง อีก 70,000 ล้านบาทโดยประมาณ

เสียดาย...เนื้อที่ไม่พอต้องเอามาแค่เป็น แซมเปิ้ลเพื่อทบทวนความจำ

นี่แค่ปีครึ่งเท่านั้น รัฐบาลยังใช้เงินระเบิดเถิดเทิง

ถ้ารัฐบาลอยู่ครบเทอม จะแซ่บอีหลีขนาดไหน โปรดใช้สะดือตรอง.


ที่มาบทความ: คอลัมภ์สำนักข่าวหัวเขียว ไทยรัฐออนไลน์
* โดย แม่ลูกจันทร์
* 7 กรกฎาคม 2553, 05:00 น.
-----------------------------------------------------


พร้อมเข้าสู่ ยุคภาษีอาน?

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ต่ออายุมาตรการลดภาระประชาชนในเรื่องการ ใช้ไฟฟ้า ฟรี โดยสารรถไฟและรถเมล์ฟรี รวมทั้งให้ตรึงราคาแก๊สต่อไป ส่วนบางอย่างเช่น การโดยสารรถเมล์และรถไฟฟรี จะให้เป็นมาตรการถาวรหรือไม่? นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชี้แจงว่า จะต้องขอเวลาศึกษาดูก่อน ต่างจากการชี้แจงครั้งก่อนที่เสนอให้บางอย่างเป็นมาตรการถาวร คล้ายกับจะเป็นรัฐสวัสดิการ

มาตรการลดภาระประชาชนด้วย การให้ใช้ไฟฟ้า น้ำประปา โดยสารรถไฟชั้น 3 และรถประจำทางไม่ปรับอากาศฟรี เป็นนโย-บายที่รัฐบาลปัจจุบันลอกมาจากนโยบายของรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช เป็นมาตรการชั่วคราว มีการต่ออายุมาโดย ตลอด แต่เมื่อมีการโยนหินถามทางว่า บางอย่างควรเป็นมาตรการถาวร จึงมีเสียงคัดค้านจากวงการนักวิชาการ

นักวิชาการส่วนใหญ่มองว่า การใช้ไฟฟรี น้ำฟรี รถเมล์ฟรี เป็นแค่นโยบายประชานิยม ลดแลกแจกแถม เพื่อหาเสียงทางการเมือง ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง แต่ต้องใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนนับหมื่นๆล้านบาท นักวิชาการบางคนเสนอว่า ทำไมจึงไม่ทำเรื่องที่เป็นแก่นสารมากกว่านี้ เช่น ทำให้กองทุนหมู่บ้านกว่า 7 หมื่นแห่ง เข้มแข็ง

หรือมิฉะนั้น รัฐบาลก็ควรจะผลักดันระบบสวัสดิการพื้นฐานให้ครบถ้วนตามบทบัญญัติของรัฐ ธรรมนูญ เพราะรัฐบาลได้ทำแล้วในเรื่องสาธารณสุข และการศึกษาโดยให้การรักษาพยาบาลฟรี และให้การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งล้ำหน้ากว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่ควรจะเสริมในด้านสวัสดิการของคนชั้นกลางระดับล่าง คนจน คนพิการ และคนชรา

สถาบัน วิจัยบางแห่งประเมินว่าถ้าต้องการให้คนไทยได้รับสวัสดิการพื้นฐานที่ดี ใกล้เคียงกับเกาหลีใต้หรือเม็กซิโก (ยังไม่ถึงขั้นรัฐสวัสดิการ) รัฐบาลไทยจะต้องใช้งบ ประมาณด้านสวัสดิการ 3 ถึง 4 แสนล้านบาทต่อปี ปัญหาสำคัญที่สุดของรัฐสวัสดิการก็คือ ค่าใช้จ่ายของรัฐ จะต้องมีการปรับระบบการเก็บภาษีครั้งใหญ่ คนที่มีฐานะดีและคนทำงาน จะต้องเป็นผู้เสียสละด้วยการเสียภาษี

จึงมีคำถามว่า ประเทศไทยและคนไทยพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ "ยุคภาษีอาน" หรือยัง? จากระบบการเสียภาษีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีข้อมูลระบุว่า จากประชากรทั้งหมดกว่า 63 ล้านคน มีบุคคลธรรมดาเสียภาษีเงินได้เพียง 8-9 ล้านคน (บ้างก็ว่า 6-7 ล้านบาท) และมีนิติบุคคลเสียภาษีเพียง 30% จากทั้งหมดเกือบ 5 แสนราย ระบบรัฐสวัสดิการก็คือ การให้คนกลุ่มน้อยนิด เสียภาษีอุ้มคนส่วนใหญ่

การโดยสารรถไฟหรือรถเมล์ฟรีอาจจะช่วยแบ่งเบา ภาระค่าครองชีพของผู้มีรายได้น้อยได้บางส่วน แต่เป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณนับหมื่นๆล้านบาท ที่จะต้องทุ่มลงไป และเมื่อเปรียบเทียบกับสวัสดิการด้านสุขภาพ การศึกษา การมีงานทำที่มั่นคง และการช่วยเหลือกลุ่มคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงถูกมองว่าเป็นแค่การลดแลกแจกแถม และหาเสียงทางการเมือง.


จากบทบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์
* โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
* 7 กรกฎาคม 2553, 05:00 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น