ธนินท์ เจียรวนนท์ ชื่อนี้การันตีความเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใครในชั้นเชิงบริหารธุรกิจการค้า แต่ถ้าจะให้ฟันธงเรื่องบ้านเมือง...ฝ่าวิกฤติไทยในช่วงเวลานี้ เจ้าสัวซีอีโอผู้ยิ่งใหญ่แห่งซีพีคนนี้...จะมีมุมมองเช่นใด
"ย้อนดูประวัติศาสตร์ น่าจะทุกครั้งที่มีสงคราม โดยเฉพาะสงครามโลก ครั้งที่หนึ่ง...ครั้งที่สอง มาจากเศรษฐกิจวิกฤติทั้งนั้น"
เจ้าสัวธนินท์ บอกว่า เศรษฐกิจวิกฤติประเทศมหาอำนาจก็หาทางรบ อเมริกาทุกๆครั้ง หลังจากรบแล้วก็ได้ประโยชน์...แล้วเศรษฐกิจก็ฟื้น ถ้าเศรษฐกิจไปไม่ได้ ประเทศก็ต้องวุ่นวายแน่ อย่าว่าแต่ประเทศเลย โลกก็ต้องวุ่นวาย เศรษฐกิจ ถ้ามันไปถึงจุดติดแล้ว วิธีแก้ปัญหาก็มีแต่รบกัน ไม่ต่างกับสมัยก่อน ที่รบกันก็เพื่อเศรษฐกิจทั้งนั้น...ต่างกันเพียงแค่รูปแบบ
"สมัย โบราณรบกันเพื่อต้องการไปจับมนุษย์มาเป็นทาส เพื่ออะไร...ก็เพื่อเศรษฐกิจ ไปเพาะปลูกทำอะไรต่างๆทำให้ประเทศมั่นคงมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ท้ายที่สุด...เพื่อผู้ปกครองจะได้ปกครองง่าย" ถ้าหากปล่อยให้ประชาชนอดอยาก ก็จะลุกฮือขึ้นมาล้มสถาบัน ประวัติศาสตร์เป็นอย่างนี้ ที่รบกันก็เพื่อเอาแรงงาน
ถึงวันนี้ "มนุษย์"...ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าทุกอย่าง คำ ว่า "มนุษย์" เคยพูดไปบ้างแล้วว่า ประเทศไทยวันนี้เราต้องใช้ประโยชน์ กับแรงงานพม่าให้เต็มที่ อย่าคิดว่าคนไทยต้องขายแรงงาน ทำไม...ไม่คิดว่าเราต้องซื้อแรงงานล่ะ เพื่อมาพัฒนาประเทศ
เจ้าสัว ธนินท์ตั้งคำถามทำไมเราคิดอย่างเดียวจะให้ค่าแรงแรงงานต่ำๆ เพื่อไปขายแรงงาน ต้องคิดกลับ...เห็นไหมว่าประเทศที่เจริญแล้วล้วนแต่ซื้อแรงงาน จิ๊กซอว์สำคัญเริ่มตั้งแต่ชิ้นแรก...ถ้าวันนี้จะแก้เรื่องการเมือง คิดว่าควรแก้ความยากจน แก้ความเสมอภาค อย่าให้ห่างกันไกลเกินไปนัก แล้ว...ถ้าทุกคนอยู่ดีกินดี มีเงินใช้ ไม่มีหนี้นอกระบบ ไม่ติดหนี้รุงรัง ก็ไม่เดือดร้อน
"ถ้า มีหนี้ก็ต้องคืน ไม่มีเงินก็ต้องขายที่ดิน แล้วเมื่อถึงวันหนึ่งถ้าที่ไม่มีแล้วจะทำยังไง ก็ต้องไปหากินต่างประเทศ...แล้วก็ยังมีทางออกอีก เราถึงจะไม่มีปัญหา รัฐบาล ที่ผ่านๆมาก็ส่งเสริมการลงทุน ดึงเงินต่างชาติเข้ามาลงทุน สร้างโรงงานอุตสาหกรรม ก็มาใช้แรงงานของไทย รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว"
เหล่านี้ถามว่าถูกต้องไหม ต้องบอกว่าถูกต้อง แต่ขาดอะไรรู้ไหม? "ขาดสิ่งที่จะทำยังไงให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น เทียบเท่ากับคนในเมือง" เจ้า สัวธนินท์ ย้ำว่า คนในเมืองรัฐบาลให้สวัสดิการรองรับหลายเรื่อง นั่งรถเมล์ก็ถูก รถไฟใต้ดินก็ถูก ถนนก็ดี ต่างจังหวัดยังไม่ได้พูดถึงเลยว่า... รายได้ขั้นต่ำของเกษตรกรควรจะอยู่ที่สักเท่าไหร่
ตรงนี้คือปัญหา เพราะเวลายากจน จะตามด้วยเพื่อนอีกสองคน คือ เจ็บ แล้วก็ โง่
"จน" "เจ็บ" "โง่" เพราะอาหารการกินไม่สมบูรณ์ ซ้ำงานก็หนัก ชีวิตไม่มีความหมาย โอ้โฮ...มองไปแล้วหนี้ขนาดนี้จะคืนได้ยังไง
"แล้วหนี้มาจากไหน ก็มาจากนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา และไม่ใช่ว่าทุกรัฐบาลนะที่วางนโยบายผิดพลาด"
เหมือนกับเที่ยวนี้กระแสไข่แพง ทำไม? ไม่คิดล่ะว่าทำอย่างไรให้ ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น ไข่แพงก็ไม่มีความหมายแล้ว เจ้าสัวธนินท์จึงอยากจะให้ไปศึกษาในประเทศที่เจริญแล้ว วันนี้เขาเจริญขึ้นมาได้อย่างไร "จากที่เขาเคยยากจนกว่าเรา แล้วพัฒนากระทั่งเจริญมากกว่าเรา ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น...ผ่านการแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง จนกว่าไทย เป็นหนี้รุงรัง แล้วทำไมเขาในวันนี้ถึงร่ำรวย..."
ทำไม? ไต้หวันใช้เวลา 20 ปีเท่านั้น เกษตรกรบ้านเมืองเขาไปเที่ยวทั่วโลกได้ ทำไมเกาหลีใต้ใช้เวลา 27 ปี...ญี่ปุ่นไม่ต้องพูดถึงเลย ตั้งแต่ไหนมาก็ยกย่องเกษตรกรเทียบเท่าซามูไร "เกษตรกรญี่ปุ่นเขาร่ำรวย ไปเที่ยว พักโรงแรม 5 ดาว เที่ยวทั่วโลกเป็นเรื่องปกติ ผมว่านะเกษตรกรญี่ปุ่นรวยกว่าเกษตรกรอเมริกาอีก" ที่ดิน ก็มีนิดเดียว ตามกลไกตลาดที่น้อยก็ต้องขายแพง เมื่อขายแพงแล้วคนในเมืองจะทำอย่างไร ก็ต้องยกระดับคนในเมืองให้มีรายได้สูงขึ้น ทำไมเราต้องไปกดให้มันต่ำล่ะ
การกดให้ต่ำ นี่คือไปสู่...ความยากจน
จาก อัลบั้มไทยรัฐออนไลน์ |
ราคาสินค้าการเกษตร คือทรัพย์สมบัติของชาติ เป็นน้ำมันบนดิน ถ้าประเทศไหนกดน้ำมันของประเทศเขาให้ต่ำก็จน ถ้าปล่อยให้สูงก็รวย
"เมืองไทยเราพยายามกดน้ำมันบนดินให้ต่ำ ทั้งที่ค่าของมันยิ่งกว่าน้ำมันเสียอีก แล้วผู้ปลูกน้ำมันจะรวยได้อย่างไร" ประเทศ ที่มีน้ำมัน ถ้ากดราคาน้ำมันต่ำ ประเทศนั้นจนแน่ น้ำมันเมืองไทย สำคัญกว่า เพราะสินค้าเกษตรเลี้ยงมนุษย์ ต่างกับน้ำมันที่เอาไว้เลี้ยงเครื่องจักร
"ผู้ผลิตอาหารเลี้ยงมนุษย์จะจนได้อย่างไร มีเหตุผลที่ไหน ถ้าไม่ใช่ฝีมือของรัฐบาล" เจ้า สัวธนินท์ บอกอีกว่า เหมือนสมัยเหมา...ทำให้เมืองจีนจนทั่วถึงกัน ก็เป็นเพราะนโยบายผิด ผลัดใบมาถึงสมัยเติ้ง...นโยบายถูกก็ทำให้คนจีนร่ำรวยขึ้น แต่สถานการณ์วันนี้ เขาก็ปวดหัวเหมือนกัน เป็นพี่ๆเรานิดหน่อย เอาเกษตรกร คนจนมารองรับ...แบกภาระคนจนในเมือง แล้วแถมยังต้องรองรับคนรวยในเมือง
แต่เขายังดีกว่าเรา ให้อย่างอื่นทดแทน คนไหนจนถ้าเป็นเกษตรกรก็จะจ่ายเงินเดือนให้ทุกเดือน...ขณะที่เมืองไทยเรายังไม่มี
การ แก้ปัญหาแบบนี้ เขารู้แล้วว่าไม่ได้ เพราะถ้าจะให้มีกำลังซื้อใน 700 ล้านคนทั่วถึงกัน สินค้าเกษตรต้องดี...ต้องยกราคาให้ดีขึ้นสูงขึ้น "ต้อง ใช้สองสูง" เจ้าสัวธนินท์ ย้ำ "สมัยเหมาใช้สองต่ำ จนหมดเนื้อหมดตัว เงินเดือนก็ไม่ต้องขึ้น สินค้าเกษตรก็ไม่ต้องขึ้น สุดท้ายภาษีก็ไม่มี... เงินจับจ่ายก็ไม่มี เครื่องจักรเก่าแล้วก็ไม่มีเงินไปเปลี่ยน"
เข้าสู่สมัยโบราณที่ต้องเอาของมาแลกกัน...เงินไม่มีประโยชน์
เจ้า สัวธนินท์ บอกว่า อันที่จริงแล้ว เงินเดือนต้องขึ้นตามราคาสินค้า สองตัวนี้ต้องให้สมดุลกัน แต่พูดกับนักวิชาการยาก เพราะว่าคนละยุคคนละสมัย คนละสิ่งแวดล้อม เช่นวันนี้...ไม่ใช่กลัวเงินเฟ้อ สินค้ามีน้อยกว่าเงิน มีเงินแต่ไม่มีของให้ซื้อ แต่กลัวที่สุดคือเงินฝืด...สินค้ามีมากแต่ไม่มีเงินให้ซื้อ
วันข้างหน้าเชื่อว่าจะเข้าใจ และเชื่อมั่นว่านักวิชาการไม่ใช่ทุกคนที่ไม่เข้าใจ
"ถาม ว่าทำไมวันนี้ถึงต้องกลัวเงินฝืด ลองดูประเทศญี่ปุ่น สินค้าแพงลิ่ว เงินเฟ้อเขาเท่าไหร่ เงินเฟ้อก็ต้องมาดูว่าเรามีเงินเท่าไหร่ มีสินค้าเท่าไหร่ ถ้าสินค้ากับเงินสมดุลกัน ก็ไม่ถือว่านี่คือเงินเฟ้อ...สิ่งสำคัญคือการปรับโครงสร้าง ปรับเงินเดือนกับราคาสินค้าให้สอดคล้องกัน ซึ่งต้องใช้สองสูง"
ในโลก นี้เขาใช้ 3 สูงกันแล้ว ญี่ปุ่น...ที่ดินราคาสูงที่สุดในโลก ที่อยู่อาศัยเหลือพื้นที่เป็นแค่รังหนู บ้านนิดเดียว โต๊ะเก้าอี้ ทุกอย่างนิดเดียวหมด แล้วก็เงินเดือนสูง สินค้าราคาสูง นี่คือ 3 สูง แต่ผลสะท้อนที่เกิดขึ้น ไม่เห็นญี่ปุ่นมีเงินเฟ้ออะไร ไม่มีประเทศไหนหรอกที่ใช้สองต่ำแล้วจะร่ำรวย เพียงแต่ว่าเวลาใช้ต้องเข้าใจด้วยว่า ต้องผลิตสินค้าเกษตร...ให้สินค้าเกษตรมีราคาสูงตามผลผลิต
สมมติว่า ผมมีที่ดินน้อย ผมปลูกได้น้อย ก็ต้องขายราคาสูง จะเห็นว่าข้าวญี่ปุ่น กิโลกรัมละเป็น 100 บาท ตั้งนานแล้ว เราเอาข้าวไทยไปขายให้เขา 10 บาท เขาไม่ซื้อเรา ทำไม...แค่นี้เราต้องรู้แล้ว ข้าวกิโลกรัมละเป็นร้อย แพงกว่าข้าวไทย 10 เท่า ไปดูเงินเดือนเขา ก็สูงกว่าเรา 10 เท่าเหมือนกัน เรียกว่าเจ๊ากัน คนมีเงินแล้ว น้ำมันแพงขนาดนี้ก็เป็นเรื่องเล็ก
"เรา ไปพัวพันกับโลก แต่เราไม่พัวพันกันอย่างจริงๆจังๆ เราไปใช้สินค้าทุกอย่างตามโลก...โทรศัพท์ ทีวี คนอเมริกามีเราก็มีเหมือนหมด รถยนต์... ไฮเวย์...รถใต้ดิน แต่ขอถามว่า แล้วเงินเดือนเรากับเขาผิดกันเท่าไหร่ แล้วจะไม่ยากจนให้มันรู้ไป...ก็ต้องจนไปอย่างนี้ต่อไป"
เหล่า นี้คือมุมมองของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์...ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะปรับฐาน ลงเสาหลักให้มั่นคงเพื่อรับมือกับวิกฤติความโกลาหลที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ของเรา.
ที่มาข่าว: สกู๊ปหน้า1 ไทยรัฐออนไลน์
* โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
* 22 กรกฎาคม 2553, 05:00 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น