วันอังคาร, มิถุนายน 29, 2553

ดูฟุตบอลโลก สะท้อนสงครามเศรษฐกิจ

จาก ไทยรัฐออนไลน์

วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯยังทรง...ไม่ฟื้น วิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปกำลังระบาด ล่าสุดสงครามเศรษฐกิจอีกระลอกกำลังจะก่อตัวที่...จีน


สารพัดเรื่อง สารพัดราวในโลกเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในความรับรู้ของคนทั่วไปเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว เกินคาดคิด...แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ นักเศรษฐศาสตร์มหภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อคิดเตือนสติ...ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

ผลกระทบที่เกิดขึ้น คนธรรมดาเดินดินกินข้าวแกง จะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย

ถ้าเรามีผู้ บริหารประเทศมือไม่ถึง...รู้ไม่ทันความผันผวนทางเศรษฐกิจ ที่จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้

"เพราะสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจระดับโลก ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ในสหรัฐอเมริกา ตัวเลขเศรษฐกิจบางอย่างดูเหมือนจะดี คล้ายจะฟื้น เป็นแค่ ภาพลวงตา อาการยังไม่ดีขึ้น ที่ดูดีได้เป็นเพราะเงินอัดฉีดที่รัฐบาลสหรัฐฯปั๊มเงินเข้าไปในระบบเท่านั้น


เศรษฐกิจ ภาคการผลิตที่แท้จริงยังไม่ดีขึ้น เห็นได้จากตัวเลขอัตราคนว่างงาน ยังมีสูงอยู่ถึง 9% หรือประมาณ 20 ล้านคนที่ไม่มีงาน ซึ่งในภาวะปกติ ตัวเลขคนว่างงานของสหรัฐฯไม่ควรจะเกิน 4-5%"


วิกฤติหนี้สาธารณะของ ประเทศในยุโรป ที่เรียกกันว่า วิกฤติหมู 4 ตัว (PIGS)...โปรตุเกส (P), อิตาลี (I), กรีซ (G) และสเปน (S) วันนี้สถานการณ์กำลังลุกลามบานปลายขึ้นไปสู่ยุโรปเหนือแถบกลุ่มประเทศสแกนดิ เนเวีย และลามไปทางยุโรปตะวันออกอย่างฮังการีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


"วิกฤติ เศรษฐกิจในยุโรปแย่ขนาดไหน ดูได้จากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ เห็นได้ชัด ทีมดัง ตัวเต็งจากยุโรป ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส, อิตาลี, เยอรมัน, อังกฤษ, สเปน,โปรตุเกส, กรีซ ล้วนสร้างความผิดหวังให้กับผู้ชมด้วยกันทั้งนั้น"


เรียกว่ารัฐบาล ประเทศไหนก่อหนี้สาธารณะไว้เยอะ งบประมาณอุดหนุน อัดฉีดถูกหั่นลดทอน...ทีมฟุตบอลเลยมีผลงานแย่ไปเป็นเงาตามหนี้


และ สาเหตุอีกประการที่ชี้ว่าวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปจะเป็นปัญหาไปอีกนาน นั่นคือ...การมองการณ์ไกลของรัฐบาลจีน ที่ประกาศลอยตัวค่าเงินหยวนภายใต้การควบคุมให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น


หมาย ความว่า จีนจะไม่ให้ค่าเงินหยวนผูกติดอยู่กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกต่อไป

ค่า เงินหยวนจะขึ้นลงไปตามกลไกตลาด แต่ไม่ถึงขั้นปล่อยลอยตัวอย่างเต็มที่ รัฐบาลจีนจะคอยกำกับดูไม่ให้ค่าเงินหยวนผันผวนขึ้นลงเร็วมากจนเกินไป


ทั้ง ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลสหรัฐฯไม่รู้กี่ประธานาธิบดีมาแล้ว ทั้งขู่ทั้งบีบให้จีนลอยตัวค่าเงินหยวน...แต่รัฐบาลจีนดื้อแพ่งไม่ยอมทำตาม

"เหตุผล ที่จีนยอมลอยตัวค่าเงินหยวนในครั้งนี้ มาจากหลายเหตุผล หนึ่งมาจากสหรัฐฯขู่จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน ถ้าไม่ยอมลดค่าเงินหยวน และรัฐบาลสหรัฐฯตั้งใจจะประกาศมาตรการนี้ในการประชุมกลุ่มประเทศจี 20 ที่แคนาดา จีนเลยประกาศลอยตัวก่อนที่จะมีการประชุม


อีกเหตุมาจาก วิกฤติเศรษฐกิจหนี้สาธารณะในยุโรปจะเกิดไปอีกนาน เป็นโอกาสเหมาะในการลอยตัวค่าเงินหยวน เพราะวิกฤติในยุโรปจะทำให้ค่าเงินหยวนที่ลอยตัวไม่แข็งค่าจนทำให้สินค้าจาก ประเทศจีนมีราคาสูงมากเกินไป"

เพราะวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปทำให้ นักลงทุนไม่มั่นใจค่าเงินยูโร เทขายเงินยูโรกันอย่างขนานใหญ่ ส่งผลให้เงินยูโรอ่อนค่า...และนักลงทุนหันไปซื้อเงินดอลลาร์มาถือไว้แทน


แม้ เศรษฐกิจสหรัฐฯจะยังไม่ดี ยังไม่ฟื้น เงินดอลลาร์จะมีค่าดูไม่ดีนักก็ตาม แต่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นเงินตราสกุลเดียวที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก สามารถนำไปใช้ซื้อขายลงทุนในทุกประเทศในโลกใบนี้


ด้วยเงินดอลลาร์มี ข้อเด่นในเรื่องนี้ นักลงทุนเก็งกำไรเทขายยูโร หันมาซื้อดอลลาร์กันมากขึ้น เงินดอลลาร์แข็งตัว ในภาวะเช่นนี้หากจีนไม่ลอยตัวค่าเงินหยวน ยังเอาเงินหยวนผูกติดอยู่กับดอลลาร์...ดอลลาร์แข็ง เงินหยวนแข็งตาม สินค้าจากประเทศจีนก็จะมีราคาสูงขึ้นขายแข่งกับประเทศอื่นลำบาก

แต่ ถ้าลอยตัว ไม่ผูกติดกับดอลลาร์...เงินหยวนจะไม่แข็งตามดอลลาร์

เลย เป็นเหตุผลสำคัญที่จีนยอมลอยตัวค่าเงินหยวนขึ้นมาตอนนี้


"ส่วนสหรัฐ อเมริกา ทั้งเรียกร้อง ทั้งบีบบังคับให้จีนลอยตัวค่าเงินหยวน ไม่ใช่ต้องการให้เงินหยวนแข็งค่า สินค้าจากจีนจะได้แพงขึ้น เพื่อสหรัฐอเมริกาจะลดการขาดดุลการค้า ลดการนำเข้าสินค้าจากจีนเท่านั้น


เหตุผล เบื้องลึกจริงๆ ต้องการลดทอนความเป็นมหาอำนาจของจีนมากกว่า พูดง่ายๆ สหรัฐอเมริกาต้องการทำสงครามทางเศรษฐกิจกับจีนอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในแนวทางที่สหรัฐฯมีความถนัดและเชี่ยวชาญเหนือกว่าชาติอื่นใดในโลก นั่นคือทำสงครามโจมตีค่าเงิน


เพราะรัฐบาลที่เข้มแข็งผูกขาดอำนาจได้ มาอย่างยาวนานของหลายประเทศในเอเชีย ต้องมีอันเป็นไปเพราะการโจมตีค่าเงินนี่แหละ ซูฮาร์โต ผูกขาดเป็นผู้นำประเทศอินโดนีเซีย ยาวนานถึง 31 ปี เจอการโจมตีค่าเงิน จากพิษต้มยำกุ้ง ซูฮาร์โตหมดหนทางสู้ ต้องลงจากอำนาจ


เกาหลีใต้ก็ เช่นกัน เจอพิษต้มยำกุ้งโจมตีค่าเงิน รัฐบาลทหารที่ผูกขาดอำนาจมายาวนานมีอันเป็นไป ต้องให้คิมแดจุง ผู้นำฝ่ายค้านขึ้นมามีอำนาจแทน"


ในอนาคต จีนก็อาจจะเป็นเช่นนั้น


ดร.สมภพ วิเคราะห์ว่า...หนทางที่สหรัฐฯจะเอาชนะจีนได้ มีหนทางนี้หนทางเดียว เพราะการจะต่อสู้ด้วยวิธีอื่นเอาชนะยาก โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ การจะผลิตสินค้ามาขายแข่ง ยังไงสหรัฐฯก็สู้จีนไม่ได้ มีแต่การต่อสู้เรื่องค่าเงินเท่านั้นที่สหรัฐฯมีความชำนาญมากที่สุด เพราะเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจเจริญเติบโตมาได้ก็ด้วยธุรกิจเก็งกำไร เลยรู้ช่องทางความซับซ้อนมากกว่าคนอื่น


และหลังจากที่จีนลอยตัวค่า เงินแล้ว ต่อไปในอนาคตข้างหน้า...ธุรกิจเก็งกำไร ค้าเงิน ค้าหุ้น ค้าน้ำมัน ที่ฟุบมาระยะหนึ่งหลังจากเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ นักเศรษฐศาสตร์มหภาคท่านนี้เชื่อว่า...จะกลับมาบูม เพราะการปลดล็อกค่าเงินหยวนนี่แหละ


"ลอยตัวค่าเงินหยวน แม้ทางการจีนจะมีมาตรการควบคุมไม่ให้ค่าเงินผันผวนขึ้นลงเร็วนัก แต่ยังไงต่อไปค่าเงินหยวนก็ต้องมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง การธุรกิจการค้าต่างๆ จะมีความเสี่ยงเรื่องค่าเงินมากยิ่งขึ้น


การจะซื้อขายสินค้า จะเก็งมองแค่ราคาสินค้าในอนาคตจะขึ้นหรือลงอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องเก็งเรื่องค่าเงินที่จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย สิ่งที่จะตามมานั่นคือ ในระบบเศรษฐกิจจะเกิดสิ่งที่เรียกว่าความต้องการเทียม หรือดีมานด์เทียมขึ้นมา


ยกตัวอย่างง่ายๆ จีนบริโภคน้ำมันไม่น้อย จะซื้อน้ำมันมาใช้ ปกติราคาน้ำมันขึ้นลงตลอดเวลาอยู่แล้ว เมื่อค่าเงินไม่แน่นอน ต้องเอาค่าเงินมาคิดคำนวณอีกต่างหาก"


เพื่อลด ความเสี่ยงของค่าเงินและค่าน้ำมันที่ผันผวน จีนจะต้องใช้วิธีสั่งซื้อน้ำมันล่วงหน้า หรือที่เรียกว่า ซื้อตั๋วน้ำมัน...จีนซื้อตั๋วน้ำมันตามความต้องการมากขึ้น


ส่งผลให้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกแพงขึ้น ประเทศอื่นก็ต้องทำตาม ซื้อตั๋วน้ำมันตาม ดีมานด์เทียมยิ่งเกิดขึ้นมาล้น น้ำมันยิ่งแพงเกินจริงมากขึ้น เหมือนในยุคก่อนจะเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์


ตัวอย่างเบาะๆแค่น้ำมัน แพงขึ้น...วิกฤติเศรษฐกิจอย่างนี้ชาวบ้านคนเดินดินกินข้าวแกงจะเดือดร้อน หรือไม่

เตรียมตัว เตรียมใจรับสถานการณ์ในอนาคตแล้วหรือยัง...โดยเฉพาะ ฯพณฯ ที่เสวยสุข


ด้วย เกรงว่า เมื่อวันนั้นมาถึง ไม่อยากได้ยินคำพูด "น้ำมันแพงก็ใช้ ให้น้อยลง"...เหมือน "น้ำแล้งก็อย่าปลูกข้าว" อย่างที่ได้ยินกันในวันนี้


ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
• โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
• 29 มิถุนายน 2553, 05:12 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น