ผู้ที่จะผ่าน พรบ.ปองดอง ท่านพร้อมแล้วหรือยังที่จะไปขึ้นศาลโลก......
ที่มา จาก FB by Tom Quick on Monday, May 28, 2012 at 11:18pm ·
ตามที่ประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการขจัดคอรัปชั่น สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยที่สนธิสัญญาว่าด้วยการขจัดการคอรัปชั่นของสหประชาชาติ 2003 เกิดขึ้นโดยข้อกำหนดของสหประชาชาติที่ 58/4 ลงวันที่ 31 ตค. 2003 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 ธค. 2005 มีชาติลงนาม 140 ประเทศ และประเทศไทยพึ่งเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกเมื่อปี 2011 นี้ และการประชุมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี " สนธิสัญญาว่าด้วยการขจัดการคอรัปชั่น ให้รวมเอาเรื่องของ " crimes against humanity " เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความผิดในสนธิสัญานี้ และให้เป็นไปตามสนธิสัญญากรุงโรม ที่ได้ก่อตั้งตามสนธิสัญญาขององค์การสหประชาชาติ วันที่ 17 กค. 1998 และมีผลบังคับใช้ 1 กต. 2002 กฎหมายนี้จะพิจารณาในรูปแบบของการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการคอรัปชั่น การฉ้อฉน การเรียกรับผลประโยชน์อื่นใด และรวมถึงการกระทำที่ก่อมาสู่อาชญากร โดยทรัพย์สินนั้นจะโดนฟ้องร้องในศาลและอายัด
ซึ่งเมื่อประเทศไทยได้ลงนามในสัตยาบัน ก็จะก่อให้เกิดอำนาจแก่การพิจารณาของอัยการศาล ICC ที่จะสามารถเข้ามาสอบสวนและฟ้องร้องผู้กระทำความผิด มีผลให้ศาลเข้ามามีอำนาจพิจารณาคดีเอาความผิดกับผู้กระทำความผิดนั้นๆได้ ถ้าฐานความผิดนั้นเข้าหลักเกณฑ์ในบทบัญญัติข้อที่ 5 และที่ 7 ของสนธิสัญญา เมื่อประเทศไทยได้ลงนามแล้วสหประชาชาติย่อมเข้ามาดำเนินการใดๆเกี่ยวกับ เรื่องคอรัปชั่นหรือการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน
แล้วสนธิสัญญาเรื่องนี้มันเกี่ยวอย่างไรกับการออก พรบ.ปองดองแห่งชาติ ที่กำลังจะเข้าสู่วาระการพิจารณาในรัฐสภานั้น จะเป็นร่าง พรบ.ปองดองแห่งชาติที่มุ่งเน้นที่ยกเว้นโทษ ลบล้างความผิดของผู้ที่กระทำความผิดฐานคอรัปชั่น ซึ่งร่าง พรบ.ปองดองแห่งชาคิฉบับนี้มุ่งเน้นให้มีผู้ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้เป็นจำนวนเฉพาะ และเจาะจงลงไปเพื่อเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใด กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ซึ่งสนธิสัญญาขจัดการคอรัปชั่น มุ่งขจัดการเรียกรับผลประโยชน์ให้แก่คนหนึ่งคนใดหรือคณะหนึ่งคณะใด
ร่าง พรบ ปองดองแห่งชาติ ฉบับนี้ที่กำลังเข้าไปสู่สภามุ่งเอื้อต่อใครถ้าไม่ใช่ทักษิณ โดยเฉพาะมาตรา 4 และ 5 ของร่าง พรบ. ฉบับนี้ " “มาตรา 4 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 อยู่ในระหว่างการสอบสวนให้ผู้มีอำนาจสอบสวนระงับการสอบสวนผู้นั้น ถ้าอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้พนักงานอัยการหรือองคืกรที่เกี่ยวข้องระงับ การฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น”
“มาตรา 5 ให้ถือว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการ หรือการปฏิบัติการทั้งหลายขององค์กรหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดย ประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นไปตามประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หรือการดำเนินการหรือการปฏิบัติการทั้งหลายขององค์กร หรือหน่วยงานอื่นใด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินการหรือการปฏิบัติขององค์กรหรือของคณะ บุคคลดังกล่าว มิได้เป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือเป็นผู้กระทำความผิด โดยให้นำความในมาตรา 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบนั้น ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมต่อไป” ที่ขีดเส้นใต้ไว้นั้น จะเห็นได้ว่า นายทักษิณ นักโทษหนีคดี จะหลุดคดีทั้งหมดแน่เพราะว่า ทักษิณ ชินวัตรไม่ได้มีเพียงคดีความที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองพิพากษาถึงที่สุดแล้ว 2 คดีเท่านั้น ยังมีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และน่าจะมีที่อยู่ในระหว่างการสอบสวนอีก และเมื่อไม่ได้เป็นผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ตามความตอนท้ายในมาตรา 5 แล้ว เงิน 4.6 หมื่นล้านบาทที่ตกเป็นของแผ่นดินเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ก็จะต้องเป็นอันว่าต้องคืนให้ นักโทษคนนี้ โดยผลของ พรบ.ปองดอง ฉบับนี้
ดังนั้นการที่รัฐสภาจะมาอาศัย พรบ.ปองดองแห่งชาติในการฟอกความผิดให้กับนักการเมืองหรือคนบางพวกนั้น ในส่วนของภาคประชาชนก็สามารถที่จะดำเนินคดีกับกลุ่ม สส. สว. ที่โหวตผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ และยังทำให้สิ่งที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีความหมายมากขึ้น และมีน้ำหนักมากขึ้นเพราะว่า คดีที่ คตส.ทำนั้นทำให้เกิดการตัดสินโดยศาลไทย ศาลต่างประเทศย่อมรับฟังนั้นเป็นเพราะ ศาลและประเทศไทยนั้นได้ให้การรับรองเป็นภาคีสมาชิกในระดับเดียวกันกับนานาชาติ
ในส่วนของภาคประชาชน ท่านสามารถเข้าชื่อกัน 2 หมื่นรายชื่อแล้วยื่นไปที่ยื่นให้คณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและดำเนินความยุติธรรมทางอาญา สำนักงานองค์กรสหประชาชาติ ว่าด้วยการปราบปรามคอร์รัปชันอาชญากรรม และยาเสพติด สอบสวน เพื่อจะให้ตรวจสอบในฐานความผิดว่ามีการละเมิดสนธิสัญญาว่าด้วยการขจัดการคอรัปชั่นหรือไม่ และส่งผลการสอบสวน ไปยังคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council - ECOSOC ) ตามกฎบัตรแห่งสหประชาชาติสอบสวนเรื่องนี้เสร็จก็จะส่งให้คณะกรรมการ " ECOSOC " ซึ่งมีผลผูกพันกับศาล ICC และศาลอาญาระหว่างประเทศ สามารถเสนอยังศาลโลกในการพิจารณาเรื่องนี้ได้ทันที......
สรุป.......ท่าน สส. สว. ท่านใดว่าอยากจะลองไปขึ้นศาลโลกก็ลองผ่านร่างกฎหมาย หรือ พรบ.ปองดองแห่งชาติ ฉบับนี้ดู ซิครับท่าน...........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น