![]() |
จาก อัลบั้มRobert Amsterdam Thailand |
ละครแห่งกระบวนการพิจารณาคดี, การพิจาณาคดีการเมือง และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
หลังจากเหตุการณ์สังหารมวลชนในกรุงเทพมหานครในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ ผ่านมา เราได้เริ่มตระเตรียมข้อเท็จจริงอย่างย่อเกี่ยวกับการกระทำอาชญากรรมต่อ มนุษยชาติต่ออัยการ นอกจากคำให้การของพยานที่ให้สัตยาบันแล้ว เรายังมีหลักฐานวีดีโอและหลักฐานทางนิติเวชวิทยา ซึ่งหลักฐานทั้งหมดเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ระบุถึงความไม่เต็มใจของรัฐบาลไทย ที่จะนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมสิ่งที่ผมได้พบเห็นและรับรู้ในประเทศรัสเซียเมื่อไม่นานมานี้ เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการบิดเบือนการใช้กระบวนการตุลาการทำลายฝ่าย ตรงข้ามโดยไม่ยั้งคิด และมีการปกปิดอาชญากรรมโดยผู้ทีใช้อำนาจในศาลยุติธรรมและสถาบันอื่นๆ
บุคคลที่ประณามความพยายามของเราในการบังคับใช้กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ควรพิจารณาเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เป็นเหมือนฝันร้าย หลังจากสั่งปิดเวปไซต์กว่า 250000 เวปไซต์ รัฐบาลยังจับกุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองด้วยข้อหาก่อการร้าย คุมขังพวกเขาโดยใช้อำนาจทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมอย่างพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน
และพยายามที่จะปิดบังความรับผิดของตนด้วยการใช้ “คณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์” จอมปลอมมาบังหน้า
บทความนี้ต้องการที่จะกล่าวถึงประเด็นของความไม่เท่าเทียมทางอำนาจ (การดำเนินคดี) ระหว่างบุคคลที่แย่งชิงอำนาจในการควบคุมสถาบันต่างๆไปอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย และบุคคลหนึ่งที่พยายามใช้ิสิทธิตามรัฐธรรมนูญของตน ภายใต้สถานการณ์ที่มีการบิดเบือนใช้กฎหมายฉุกเฉินอย่างยืดเยื้อ (ของรัฐบาล)
เราเชื่ออย่างหนึ่งว่า การจะกล่าวถึงประเด็นของความไม่เป็นธรรมนั้นนั้น เราต้องมองไปไกลกล่าวประเด็นที่เราสามารถเห็นได้ชัดอย่าง การไม่ทำการสอบสวนเป็นอิสระครั้งแล้วครั้งเล่าของรัฐบาลไทย
ซึ่งเรามีหลักฐานเป็นรายงานและจดหมายเปิดผนึกหลายฉบับ โดยครั้งนี้เราได้ตัดสินใจหยิบยกประเด็นที่ว่า การกระทำของรัฐบาลต่อกลุ่มคนเสื้อแดงอาจเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ภายใช้กฎหมายระหว่างประเทศ
ตามบทบัญญัติที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์แห่งสงคราม ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ อนุสัญญาระหว่างประเทศแห่งกรุงเจนีวา กล่าวว่า การพิพากษาลงโทษและการประหารชีวิตโดยปราศจากคำพิพากษาของศาลยุติธรรมโดยทั่ว ไป อันเป็นหลักประกันที่ประเทศอารยะธรรมยอมรับโดยทั่วไปนั้น ไม่อาจกระทำได้
นอกจากนี้ บทบัญญัติของศาลอาญาระหว่างประเทศยังได้บัญญัติคำอธิบายเพิ่มไว้ในมาตราที่ ๘ (๒) (a)(vi) อย่างชัดเจนว่า “เจตนาลิดรอนสิทธิของนักโทษสงครามและบุคคลที่ได้รับการปกป้องซึ่งสิทธิดังกล่าวในการเข้าถึงกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเป็นปกติวิสัย”ถือเป็น อาชญากรรมสงคราม และละเมิดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศแห่งกรุงเจนีวา
ภายใต้สภานการณ์บิดเบือนการใช้กฎหมายฉุกเฉินนี้ ในไม่ช้าละครแห่งการพิจารณาคดีของรัฐบาล (ประกอบกับการสมรู้ร่วมคิดของตุลาการที่ฉ้อฉล) ต่อแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดง จะแสดงในเห็นว่ารัฐบาลละเมิดต่อกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและกฎหมาย ระหว่างประเทศ
คำถามคือ รัฐบาลไทยมีเหตุผลทางการเมืองและกฎหมายอย่างพอเพียงที่จะใช้ปกปิดการกระทำ ที่ละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ และจารีตประเพณีอาชญากรรมระหว่างประเทศหรือไม่?
หรือสิบปีหลังจากเสวยสุขจากความพยายามปัดความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษย ชนที่น่าสยดสยองที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย นายอภิสิทธิ์จะเป็นผู้นำคนแรกของประเทศไทยที่ต้องรับผิดต่ออาชญากรรมที่เขา ได้ร่วมก่อขึ้น?
ที่มาบทความ: robertamsterdam.com
ชื่อบทความ: ละครแห่งกระบวนการพิจารณาคดี, การพิจาณาคดีการเมือง และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
บทความโดย: โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม และ ศาสตราจารย์คนูปส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น