วันศุกร์, ตุลาคม 29, 2553

เดวิด: คำถามที่เห็นอยู่ทนโท่คือ: ?ถ้าสถาบันกษัตริย์เป็นที่รักที่เทิดทูนยิ่ง ทำไมจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายหมิ่นฯ

จาก อัลบั้ม บันทึกของอชิต on FB

Interview on Lese Majeste with David Streckfuss

Sun, 03/10/2010 - 17:54

Pravit Rojanaphruk


Khon Kaen-based scholar David Streckfuss recently completed a seminal book on lese majeste law entitled “Truth on Trial in Thailand: Defamation, treason, and lese-majeste” published by Routledge. He answered questions by Pravit Rojanaphruk about lese majeste law and more. Excerpts:

1) Many people who support lese majeste law say Thailand and its monarchy is unique thus the law is needed. What's your view?

The most obvious question to ask is: “If the Thai monarchy is so loved, why does it require one of the most draconian lese majeste laws of recent world history?” So yes, the institution may be quite unique, and so is the law protecting it. But in many cases, the law is in direct conflict with the democratic aspirations of many Thais. To believe something is unique tends towards a sense of exceptionalism, which easily leads towards becoming blinded to universal and historical trends elsewhere.

2) Some Thais claim foreigners do not and cannot really understand Thai society. Is your book yet another example of a portrayal of Thai society from a 'naive' outsider's perspective?

These days, I’m not so sure that anyone really understands what’s going on in Thai society—Thai or foreigner. The discourse on Thailand and Thai-ness has drifted into terra incognita and as such perhaps no one has a privileged perspective any more. As for the book, I think it does pretty well in appreciating and characterizing the historical roots of “Thai” perceptions of the truth. The conclusions the book draws are a descriptive analysis of this very “Thai” system confronting modern, largely universal legal norms and human rights discourse. I wouldn’t argue that the book’s perspective is “the right one.” It is merely one perspective, but one that I hope will resonate for some who live in Thailand—both Thai and foreigner—and who sincerely want the best for this country and its people.


3) Many decades ago, Thai mainstream media used to report and write critically about the monarchy institution. Today, they exercise self-censorship on anything deemed even mildly critical without any qualm. How do you explain it?

There are a number of factors that might explain the change. One cause certainly is the increased penalty for lese majeste. After the 6th of Oct. massacre, the military dictatorship of the time increased the penalty to a minimum of three and a maximum of 15 years in jail for each count—a penalty that is more than twice as high as during the absolute monarchy. Most importantly perhaps is that since the early 1960s, much of the movement toward democracy was reversed and there was a re-sacralization of the institution. This shift made it increasingly difficult to address a whole series of political, social, economic, and cultural issues, depriving Thailand of much of the artistic and intellectual dynamism it might otherwise have had. The chilling effect of this law on the media is undeniable. But the mainstream media seems to have also failed in fulfilling its historical task of fighting for greater freedom of expression.

The German press in the 1890s, for instance, showed a remarkable feistiness at a time when there were more than 500 cases of lese majeste on average per year. A number of newspaper editors would be jailed for a year or two, be released for a few days, challenge the law again, and be thrown right back into jail. Sometimes it is said that government repression in Thailand is understandable given that Thailand has been democratic for only 80 years. German democracy in the 1890s was even younger, and yet the media showed its verve.

Thailand cannot claim to be democratic while at the same time arresting and trying hundreds of people for freedom of expression. It might be clearer were Thailand to emulate Myanmar, ignore international human rights standards completely, and simply say that “Thai-style democracy” is one where the military can act with wanton impunity, freedom of expression on certain key issues is non-existent, and amnesties conveniently expunge the past.

4) Why Thai society doesn't seem to be able to come to a censensus over lese majeste law?

In the 1970s, the right tore Thai society apart by accusing its opponents of being “communists” or “communist terrorists.” Now the ultimate act of treason is republicanism or even not showing absolute loyalty to the highest institution. Today’s Thai conservatives are too eager to bundle together republicanism, those who want to reform the monarchy, and even those who question the lese majeste law. Under these conditions, consensus is impossible. Instead, Thai society continues its historical tendency to demonize. Thailand has been divided into patriots and traitors.

5) Some royalists believe that without lese majeste law, the royal institution will become unstable. How realistic is such concern?

If it takes the lese majeste law to suppress criticism, expression of opinions, and public scrutiny—the hallmarks of any minimally functioning democracy—then the system is already precariously unstable. It is the lese majeste law itself and its use creating this instability, for it masks the truth or reality of the situation. I believe that Thai society, although already battered and divided, could survive and perhaps even flourish by a strong dose of the truth. It strengthens no public institution when society cannot exercise public reason. Those who want to protect the monarchy from public scrutiny weaken the institution and endanger its future.


6) Is there anything particularly unique about the recent arrest of Prachatai on-line newspaper's director Chiranuch Premchaiporn under lese majeste law?

Chiranuch’s arrest indicates a worrying trend in lese majeste arrests. First, the police admit that they had a warrant for her arrest for as long as a year before actually seizing her at the airport. They claimed that they had to use this tactic because of the seriousness of the crime. Well, if it was so serious, the police had plenty of time to arrest her in her office where she was arrested last year. But instead, she was arrested while returning to the country from abroad. She is probably the fourth or fifth person to be arrested in this dramatic and needless manner. Second, this is probably another example of the increasing use of a double lese majeste-computer crimes charge.

7) Given His Majesty's advancing age, and concerns over the succession of the throne and the current political crisis, will there likely be more lese majeste charges made?

Unfortunately, it appears that in all of this political turmoil, lese majeste has become the preferred charge against political opponents, especially against the red shirts or those perceived to be red-shirt sympathizers. The law has now become more than just a latent threat. Over a five year period—from 2005 to 2009—there were 430 cases accepted the Court of First Instance in Thailand, which handed down 231 decisions. Another 39 were received by the Appeals Court, and 9 by the Supreme Court. The number of lese majeste cases has skyrocketed under the present administration, to historically unprecedented and incomparable numbers—164 cases went to trial in the Court of First Instance in 2009. Such a vigorous use of a law for non-violent word crimes and against freedom of expression makes hollow Thailand’s claim to being democratic. And, of course, use of the law will continue to counter any attempts at reconciliation. In fact, it is the law and its use that comprise one of the chief roadblocks to reconciliation.

8) In your book, you wrote about Thai elites having “ossified Thai ‘culture’ into a mythical time". Why are they so keen?

I argue that the entrenched culture of impunity has had a serious effect on the way that Thai society perceives the truth. The repeated coups, amnesties for perpetrators of murder, and general degradation of the laws and judicial system especially after the late 1950s so tortured and twisted Thai society and politics that simple truths became unrecognizable. Often this arrangement was supported by what I interpret as misdirected state-supported Buddhism which eagerly urged the victims of violence to forgive and move on. But the accumulated effects of denying historical truth have exacted a terrible price by allowing the next massacre to emerge. Thai history was essentially suspended in time, into a repeating monotonous melodrama of heroes and villains. It was under such a scheme that the defamation laws—including lese majeste—became paramount, and clearly showed a reversal in democratization. When the 1997 constitution jolted Thai history into movement, the old power structure acted to re-suspend history by backing the 2006 coup. But, as events have shown, the 2006 coup was the one that many did not accept or forget.

Actually, this is encouraging. There needs to be a massive historical reckoning. Forgiveness has its place, but only after the truth has been told, the perpetrators of murder have been identified, and Thais have a chance to deal with what has happened—whether it is Dusun-nyor incident, 6 October, Black May, Tak Bai, and now, April-May 2010. Amnesties don’t change the fact that overthrowing the government in a coup or shooting unarmed civilians is against the law. In other countries citizens have pushed to address past cases of impunity. The lese majeste law and other defamation-based laws have made it difficult, but not impossible, for an aroused public to begin the process of this great historical reckoning.

9) Is lese majeste law related to the creation of a hegemonic notion of Thainess? How?

Beginning more than a century ago, great efforts were made to paper over ethnic and religious divisions. Later, other divisions, like economic and educational ones, were papered over with incessant calls for national unity. It was a grand effort, and it worked reasonably well for a century. This entire historical construction resulted in the notion of “Thainess.” Since 1960 when Field Marshal Sarit Thanarat revived the monarchy ideologically, and especially since 1976 when the monarchy had become fully re-sacralized until just recently at least, love of the monarchy became the central tenet of Thainess. One regrettable aspect of this process is that Thainess became paramount, largely at the expense of everything else. So when the concept of Thainess begins to crack and fall apart piece by piece—as it seems to be doing now—it is understandably frightening because there is little else out there to unite people in Thailand. Coups have stripped constitutions or a respect of rule of law of any meaning. There is no tradition of dealing with difference. The judicial system for many Thais is not the last resort. But in the process of reckoning with history and allowing truth to come out, it is possible that a new identity and unifying principle may emerge.


10) What is the most surprising discovery you made in the process of researching and writing up the book?

One of the most surprising things about the book is its relevance. When writing my dissertation in the 1990s, I was teased by graduate school friends for choosing such an irrelevant topic as defamation and lese majeste. Even when Routledge agreed to publish the book, lese majeste was still not very newsworthy. At the time, former prime minister Thaksin Shinwattra was engaged in a defamation spree unequalled in Thai history. So when lese majeste popped back into the news in late 2005, and has with each year accelerated in relevance, it became a very hard book to finish! I finally chose Darunee’s sentencing of 18 years in prison as a fitting end point. Another surprising discovery was the huge number of lese majeste cases since 2006, and the mind-boggling silence on the issue of most human rights organizations, both foreign and Thai.

11) Is your book being banned in Thailand?

I wouldn’t think so! Why ban it? I don’t believe that the contents of the book violate the lese majeste law or the country’s defamation laws, and is not contrary to good public morals and order. I believe that it may give pause to the wiser and more far-sighted royalists who truly have the institution’s long-term interests in mind. It is a serious academic study that makes an attempt to explain the serious divisions in the country, and suggests a number of ways to move forward democratically and as a constitutional monarchy. Of course if the book was banned, it would prove the central thesis of the book that the powers that be, and significant swaths of Thai society, can’t deal with different perspectives. But what would be gained in banning the book? No, I believe in a future Thailand (or rather, Siam) that is democratic, one that can deal with difference and new ways of understanding what a good citizen can be.


Ref: http://www.prachatai3.info/english/node/2068
-----------------------------------------------------------


จากบทสัมภาษณ์ เดวิด สเตร็คฟัส ว่าด้วยกฎหมายหมิ่นฯ และสังคมการเมืองไทย

Thu, 2010-10-14 14:16

ประวิตร โรจนพฤกษ์


เดวิด สเตร็คฟัส นักวิชาการชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพิ่งออกหนังสือเล่มใหม่ ชื่อ “Truth on Trial in Thailand: Defamation, treason, and lese-majeste” (การดำเนินคดีกับความจริงในเมืองไทย: กฎหมายหมิ่นประมาท, ข้อหากบฎ, และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge เมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ และสังคมการเมืองไทย

1. ประวิตร: คนจำนวนมากที่สนับสนุนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเชื่อว่า สถาบันกษัตริย์ไทยมีลักษณะพิเศษ จึงควรมีกฎหมายหมิ่นฯ มาปกป้องคุ้มครอง คุณเห็นว่าอย่างไร เดวิด: คำถามที่เห็นอยู่ทนโท่คือ: “ถ้าสถาบันกษัตริย์เป็นที่รักที่เทิดทูนยิ่ง ทำไมจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายหมิ่นฯ ซึ่งมีบทลงโทษหนักฉกรรจ์ และรุนแรงอย่างที่สุดประเทศหนึ่งในโลก” ใช่ สถาบันกษัตริย์อาจมีลักษณะพิเศษบางประการ แต่กฎหมายที่คุ้มครองสถาบันก็เช่นกัน หลายครั้งที่กฎหมายนี้ขัดแย้งโดยตรงกับความปรารถนาอยากให้สังคมเป็น ประชาธิปไตยของคนไทยจำนวนมาก การเชื่อว่า บางสิ่งบางอย่างมีลักษณะพิเศษเฉพาะมักนำไปสู่สภาวะการยกเว้น (sense of exceptionalism) ซึ่งทำให้เรามืดบอดต่อกระแสระดับสากล [ที่พัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น] และกงล้อของประวัติศาสตร์ [สู่ความเป็นสังคมสมัยใหม่อันเป็นอารยะ] ได้อย่างง่ายดาย

2. คนไทยจำนวนหนึ่งอ้างว่า คนต่างชาติไม่เข้าใจ และไม่สามารถเข้าใจสังคมไทยได้ หนังสือของคุณเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการวาดภาพสังคมไทย โดย “ฝรั่ง” ผู้เป็นคนนอกและผู้ไม่รู้หรือไม่ทุกวันนี้ ผมไม่แน่ใจว่า จะมีใครสามารถเข้าใจว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทยได้อย่างถ่องแท้ – ไม่ว่าคนไทยหรือเทศ วาทกรรมเรื่องความเป็นไทยได้เดินเข้าสู่พรมแดนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน (terra incognita) จึงไม่มีใครที่มีมุมมองอันเป็นอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น (privileged perspective) อีกต่อไป สำหรับหนังสือเล่มนี้ผมคิดว่า มันได้พยายามทำความเข้าใจและบรรยายถึงรากประวัติศาสตร์ของมุมมองต่อความจริง แบบ “ไทย” และในบทสรุปของหนังสือก็ได้วิเคราะห์บรรยายระบบ “ไทย” อันนี้ซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับวาทกรรมเรื่องสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานกฎหมายอันเป็นสากลสมัยใหม่ ผมคงไม่อ้างว่ามุมมองในหนังสือเป็นมุมมอง “ที่ถูกต้อง” มันเป็นเพียงหนึ่งมุมมองแต่ก็เป็นมุมมองที่สอดคล้องกับมุมมองของคนจำนวน หนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย – ทั้งไทยและเทศ – ผู้ซึ่งมีความจริงใจปรารถนาจะเห็นสิ่งที่ดีที่สุดเกิดแก่ประชาชนและประเทศ นี้

3. หลายทศวรรษที่แล้ว สื่อกระแสหลักไทยเคยรายงานและเขียนข่าวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อย่างเท่าทัน และวิพากษ์ มาวันนี้สื่อเหล่านี้เซ็นเซอร์ตนเอง แม้กระทั่งในเรื่องที่มีนัยยะเชิงวิพากษ์เพียงเล็กน้อย โดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวง คุณจะอธิบายประกฎการณ์นี้ได้อย่างไรมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจช่วยอธิบายการเปลี่ยนแปลง ข้อแรก คือการเพิ่มโทษกฎหมายหมิ่นฯ หลังการสังหารหมู่ 6 ตุลา (พ.ศ. 2519) เผด็จการทหาร ณ เวลานั้นได้เพิ่มโทษขึ้นเป็น จำคุก 3 – 15 ปี ซึ่งมากกว่าสองเท่าของระดับโทษในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และที่สำคัญที่สุดได้แก่ เหตุการณ์ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ.1960 กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยไทยส่วนใหญ่ถอยหลังลงคลอง และมีการรื้อฟื้นให้สถาบันกษัตริย์มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้การพูดถึงประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศไทย ขาดซึ่งพลวัตทางปัญญา และศิลปะอย่างที่มันควรจะเป็น ผลอันน่าสะพรึงกลัวของกฎหมายนี้ที่มีต่อสื่อเป็นเรื่องที่ไม่สามารถปฏิเสธ ได้ หากทว่าสื่อกระแสหลักก็ดูเหมือนจะล้มเหลวในการปฏิบัติภารกิจทางประวัติ ศาสตร์เพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งเสรีภาพในการแสดงออกมากกว่านี้

4. ทำไมสังคมไทยจึงดูเหมือนไม่สามารถหาฉันทามติเรื่องกฎหมายหมิ่นฯ ได้ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ฝ่ายขวาฉีกสังคมไทยออกโดยการกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” หรือ “ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์” การเป็นกบฎคือการฝักใฝ่อุดมการณ์สาธารณรัฐนิยม หรือแม้กระทั่งการไม่ยอมแสดงความจงรักภักดีอย่างเต็มร้อยต่อสถาบันสูงสุด วันนี้พวกอนุรักษ์นิยมมักยัดเยียดเหมารวมว่า คนที่มีอุดมการณ์สาธารณรัฐนิยม คนที่ต้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ หรือแม้กระทั่งคนที่ตั้งคำถามต่อกฎหมายหมิ่นฯ เป็นพวกเดียวกัน ในสภาพเช่นนี้ ฉันทามติจึงเกิดขึ้นไม่ได้

สังคมไทยยังคงเดินหน้าตราหน้าผู้เห็นต่างว่าเป็นปีศาจอย่างที่มันได้เคย เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาในอดีต และคนไทยก็ถูกแบ่งเป็นผู้รักชาติ และคนขายชาติ

5. พวกเจ้านิยมจำนวนหนึ่งเชื่อว่า หากปราศจากกฎหมายหมิ่นฯ สถาบันกษัตริย์จะสั่นคลอน ความกังวลเช่นนี้มีเหตุผลมากน้อยเพียงใดถ้ามีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายหมิ่นฯ เพื่อกดไม่ให้มีการวิพากษ์ และแสดงความเห็น รวมถึงการตรวจสอบจากสาธารณะ – ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะสำคัญพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย – นั่นก็แสดงว่า ระบบนี้มันไม่มั่นคงอย่างยิ่งยวดอยู่แล้ว ตัวกฎหมายหมิ่นและการใช้กฎหมายนี้นี่แหละที่สร้างความไม่มั่นคง เพราะมันปิดบังความจริงของสถานการณ์อันเป็นจริง ผมเชื่อว่า ถึงแม้สังคมไทยตอนนี้จะแตกแยกและบอบช้ำ แต่มันก็สามารถดำรงอยู่ต่อไป หรือแม้กระทั่งเติบโตหากยอมรับโอสถแห่งสัจจะ ไม่มีสถาบันสาธารณะใดที่จะได้ประโยชน์จากการที่สังคมนั้นไม่สามารถใช้ตรรกะ ในที่สาธารณะได้ พวกที่ต้องการปกป้องเจ้าจากการตรวจสอบสาธารณะกำลังทำให้สถาบันฯ อ่อนแอลง และเสี่ยงต่อการคงอยู่ต่อไปไม่ได้ในอนาคต

6. มีอะไรที่พิเศษเกี่ยวกับการจับกุม จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท ด้วยกฎหมายหมิ่นฯ เมื่อเร็วๆ นี้หรือไม่การจับกุมตัวจีรนุชชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์อันน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการใช้ กฎหมายหมิ่นฯ อย่างแรก ตำรวจออกมายอมรับว่า ได้ออกหมายจับมากว่าหนึ่งปีแล้วก่อนที่จะจับกุมตัวจีรนุชที่สนามบิน พวกเขาอ้างว่า ต้องใช้วิธีนี้เพราะมันเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหนัก ถ้าเป็นอาชญากรรมฉกรรจ์จริง ตำรวจก็มีเวลามากมายก่อนหน้านี้ในการจับกุมจีรนุชที่ออฟฟิศ ซึ่งเธอก็ถูกดำเนินคดีไปแล้วอีกคดีก่อนหน้านี้เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้เธอถูกจับระหว่างเดินทางกลับจากต่างประเทศ เธอคงเป็นคนที่สี่หรือห้าที่ถูกจับด้วยวิธีที่เว่อร์เกินเหตุเกินความจำเป็น ประการที่สอง นี่เป็นอีกตัวอย่างของการใช้กฎหมายหมิ่นควบคู่ไปกับการใช้ พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ

7. เมื่อพิจารณาถึงพระชนมพรรษาที่สูงของในหลวง และความกังวลเรื่องการสืบทอดราชบัลลังก์ และวิกฤติการเมืองในปัจุบัน คุณคิดว่า จะมีการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เพิ่มมากขึ้นหรือไม่เป็นที่น่าเสียดายว่า ในสภาพความยุ่งเหยิงทางการเมืองในปัจจุบัน กฎหมายหมิ่นดูเหมือนจะเป็นที่นิยม ถูกนำมาใช้ในการเล่นงานฝ่ายการเมืองตรงข้าม โดยเฉพาะคนเสื้อแดงและผู้ที่เห็นอกเห็นใจคนเสื้อแดง กฎหมายหมิ่นมิได้เป็นเพียงคำขู่อันว่างเปล่า ในช่วงเวลา 5 ปีระหว่าง พ.ศ.2548-2552 ศาลชั้นต้นได้รับพิจารณาคดีหมิ่นฯถึง 430 คดี และตัดสินพิพากษา 231 คดี ในจำนวนนี้มีการอุทธรณ์ 39 คดี และต่อสู้ถึงชั้นศาลฎีกา 9 คดี จำนวนคดีหมิ่นฯได้เพิ่มขึ้นแบบติดจรวดในรัฐบาลปัจจุบัน เพิ่มถึงระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ – ในปี 2552 ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องถึง 164 คดี การใช้กฎหมายอย่างขยันขันแข็งกับอาชญกรรมทางคำพูดที่ไม่รุนแรงและกับเสรีภาพ ในการแสดงออก ทำให้ข้อกล่าวอ้างว่า สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยดูกลวงไปโดยปริยาย การใช้กฎหมายนี้จะขวางกั้นความพยายามในการสร้างความสมานฉันท์ เพราะที่จริงแล้ว กฎหมายนี้และการใช้กฎหมายนี้เป็นอุปสรรคอันหนึ่งในการสร้างความสมานฉันท์

8. ในหนังสือคุณเสนอว่า ชนชั้นนำไทย ได้แช่แข็งหรือฟอสซิลวัฒนธรรมไทยให้อยู่ในยุคตำนานปรัมปรา ทำไมพวกเขาจึงกระตือรือร้นที่จะทำเช่นนั้นผมได้เสนอไว้ว่า วัฒนธรรมการไม่รับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรง (culture of impunity) มีผลอย่างฉกรรจ์ต่อการที่สังคมไทยมองเรื่องความจริง รัฐประหารซึ่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โรคความจำเสื่อมว่าใครเป็นฆาตกรสั่งสังหารหมู่ และความถดถอยของการใช้กฎหมายและหลักนิติรัฐ โดยเฉพาะหลังทศวรรษ 1950 ได้ส่งผลดั่งการทรมานและบิดเบือนสังคมการเมืองไทยจนกระทั่งแม้ความจริงง่ายๆ ก็มองไม่เห็น บ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านี้ได้รับแรงสนับสนุนจากมุมมองผิดๆ ทางพุทธที่เรียกร้องให้เหยื่อของความรุนแรงให้อภัยและลืม แต่ผลลัพธ์ของการปฏิเสธความจริงทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง มีราคาค่างวดสูงยิ่ง และทำให้การสังหารหมู่ครั้งต่อไปเกิดขึ้นได้อีก

ประวัติศาสตร์ไทยถูกแช่แข็งไร้การเปลี่ยนแปลง ตกอยู่ในภาวะที่เหมือนอยู่ในละครน้ำเน่าที่ถูกฉายซ้ำซากประกอบด้วยตัวละครคน ดีและคนชั่ว สภาพเช่นนี้แหละที่กฎหมายหมิ่นหลายชนิด – ซึ่งรวมถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีบทบาทสำคัญยิ่ง และนำไปสู่การถดถอยของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ตอนที่รัฐธรรมนูญ 2540 กระตุ้นให้กงล้อประวัติศาสตร์ไทยเคลื่อน กลุ่มอำนาจเก่าก็ออกมาแช่แข็งประวัติศาสตร์ไทยเสียใหม่ โดยการสนับสนุนรัฐประหาร [19 กันยา] 2549 แต่ทว่า เราก็ได้รับรู้หลังจากนั้นว่า รัฐประหาร 19 กันยาเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากไม่ยอมลืมและไม่ยอมรับ

จะว่าไปแล้วนี่ก็เป็นเรื่องที่ดูแล้วพอมีความหวัง การชำระประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่เป็นสิ่งจำเป็น การให้อภัยย่อมเกิดขึ้นได้ แต่จะเกิดหลังจากความจริงได้ถูกเปิดเผย และผู้บงการสังหารได้ถูกชี้ตัว และคนไทยได้มีโอกาสเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้ – ไม่ว่าจะเป็นกรณีดุซุงยอ กรณี 6 ตุลา [2519] พฤษภาทมิฬ ตากใบ หรือกรณี เมษา- พฤษภา 2553 การนิรโทษกรรมไม่สามารถเปลี่ยนความจริงที่ว่า การล้มล้างรัฐบาลพลเรือนโดยการก่อรัฐประหาร หรือการยิงประชาชนผู้ปราศจากอาวุธเป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ในประเทศอื่น ประชาชนได้ผลักดันให้มีการสร้างความกระจ่างต่อผู้ที่ใช้ความรุนแรงโดย ปราศจากความรับผิดชอบ กฎหมายหมิ่นฯ และกฎหมายหมิ่นรูปแบบอื่นได้ทำให้สาธารณะไม่สามารถเริ่มกระบวนการที่จะทำให้ ประวัติศาสตร์กระจ่างขึ้นได้

9. กฎหมายหมิ่นฯ เกี่ยวข้องกับการสร้างวาทกรรมหลักเรื่องความเป็นไทยหรือไม่ราวร้อยปีที่แล้ว อภิกระบวนการกลบเกลื่อนความต่างทางชาติพันธุ์และศาสนาได้ถูกริเริ่มขึ้น ต่อมาภายหลังความแตกต่างทางเศรษฐกิจและการศึกษาก็ถูกกลบให้พร่ามัว ภายใต้วาทกรรมของความสามัคคีในชาติ มันเป็นความพยายามระดับช้างและได้ผลพอสมควรในช่องร้อยปีที่ผ่านมา กระบวนการนี้ก่อให้เกิดวาทกรรมเรื่อง “ความเป็นไทย” ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์รื้อฟื้นอุดมการณ์เจ้านิยม โดยเฉพาะหลังปี 2519 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการทำให้สถาบันกษัตริย์กลับมาศักดิ์สิทธิ์ได้สำเร็จลง แล้วอย่างสมบูรณ์ ความจงรักภักดีต่อสถาบันได้กลายเป็นเสาเอกของความเป็นไทย ผลสืบเนื่องที่น่าเสียดายอย่างหนึ่งของกระบวนการนี้ได้แก่ การที่ความเป็นไทยกลายเป็นเรื่องสำคัญที่บดบังสิ่งอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด ดังนั้นพอวาทกรรมเรื่องความเป็นไทยเริ่มร้าวและแตกหลุดทีละชิ้นสองชิ้น – ซึ่งดูเหมือนกำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน – มันจึงกลายเป็นเรื่องที่น่าวิตกกลัว อย่างที่เข้าใจได้ เพราะมันแทบไม่มีอะไรที่จะยึดเหนี่ยวรวมให้คนในประเทศไทยสามัคคี รัฐประหารได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของนิติรัฐและรัฐธรรมนูญ สังคมไม่มีรากวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกับความต่าง อย่างไรก็ตาม กระบวนการเผชิญหน้ากับความจริงทางประวัติศาสตร์เพื่อที่ความจริงจะได้ถูก เปิดเผยสามารถก่อให้เกิดอัตลักษณ์ใหม่และหลักการใหม่ๆ ที่จะนำมาซึ่งความสามัคคีได้

10. อะไรที่คุณค้นพบระหว่างการทำวิจัยเพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ แล้วทำให้คุณแปลกใจที่สุดเรื่องที่น่าแปลกใจที่สุดเรื่องหนึ่งได้แก่ความสอดคล้องของหนังสือต่อ สถานการณ์ปัจจุบัน ตอนที่ผมเขียนวิทยานิพนธ์ในช่วงทศวรรษ 1990 เพื่อนผมล้อผมว่า ผมนั้นเลือกหัวข้อที่แสนเชย ไม่มีนัยยะสำคัญใดๆ เช่นเรื่องกฎหมายหมิ่นประมาทและกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือแม้กระทั่งเมื่อสำนักพิมพ์ Routledge ตัดสินใจให้ผมเขียนหนังสือเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เรื่องนี้มันก็ดูจะไม่เป็นข่าวเท่าไหร่ ตอนนั้นทักษิณ ชินวัตรซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ฟ้องร้องผู้คนด้วยกฎหมายหมิ่นประมาทเป็น จำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในสังคมไทย แต่พอกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกลับมาเป็นข่าวในปี 2548 และเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีนับแต่นั้นมา มันก็กลายเป็นหนังสือที่เขียนให้จบได้ยาก! ในที่สุดผมเลือกที่จะจบตอนดารณี (ชาญเชิงศิลปกุล) ถูกศาลตัดสินจำคุก 18 ปี ที่น่าแปลกใจอีกเรื่องได้แก่ จำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลตั้งแต่ปี 2549 และความเงียบอย่างเหลือเชื่อขององค์กรสิทธิส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ ต่อเรื่องนี้

11. หนังสือคุณจะถูกห้ามขายในเมืองไทยหรือไม่คิดว่าไม่นะ! ทำไมถึงต้องห้ามล่ะ ผมไม่เชื่อว่า เนื้อหาในหนังสือละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือกฎหมายหมิ่นอื่นๆ ของประเทศนี้ หรือขัดกับหลักศีลธรรมอันดีงาม และความสงบเรียบร้อยของสังคม ผมเชื่อว่า มันจะช่วยให้คนที่นิยมเจ้าที่ฉลาดและมองการณ์ไกลซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์ของ สถาบันในระยะยาวได้ฉุกคิด มันเป็นหนังสือวิชาการที่พยายามอธิบายความแตกแยกร้าวลึกของประเทศ และเสนอทางออกหลายประการเพื่อสังคมจะได้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเป็น ประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แน่ล่ะ หากหนังสือเล่มนี้ถูกแบน มันก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ความคิดหลักของหนังสือเล่มนี้ว่า ผู้มีอำนาจและคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยไม่สามารถอยู่ร่วมกับความเห็นต่างได้ แต่พวกเขาจะได้อะไรจากการห้ามไม่ให้ขายหนังสือนี้ ไม่หรอก ผมเชื่อในอนาคตของประเทศไทย (หรือสยาม) ที่เป็นประชาธิปไตย ที่สามารถอยู่ร่วมกับความต่างและมีความเข้าใจแบบใหม่ๆ ว่า พลเมืองที่ดีสามารถทำอะไรได้บ้าง

---------ปล. เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ผู้สัมภาษณ์พบ อ.เดวิดโดยบังเอิญจึงได้ถามว่าหนังสือมีขายที่ร้านหนังสือภาษาอังกฤษหรือไม่ เดวิดตอบว่าเขาได้ลองติดต่อสอบถามที่ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะและเอเชียบุ๊กส์ ปรากฎว่า ร้านหนังสือทั้งสองแห่งไม่ยอมตอบชี้แจงว่ามีหนังสือเล่มนี้ขายหรือไม่ในเมืองไทย


หมายเหตุ: อ่านภาคภาษาอังกฤษได้ที่ http://prachatai3.in...glish/node/2068
ที่มาบทความ: บันทึกของอชิต โดยอชิต วีไอพี on FaceBook

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น