วันจันทร์, สิงหาคม 30, 2553

Lawyer asks Thai PM not to send Russian to US

by Goosehhardcore on 2010-08-31 - 09:06 am
Ref: Asian correspondent, Aug. 31 2010 - 08:32 am



The lawyer for accused Russian arms trafficker Viktor Bout filed a last ditch appeal Monday to Thailand's prime minister in an effort to stop his client's extradition to the United States.

Bout, a 43-year-old former Soviet air force officer who is reputed to have been one of the world's most prolific arms dealers, was arrested in March 2008 in Bangkok as part of a sting operation led by U.S. agents. Bout has allegedly supplied weapons that fueled civil wars in South America, the Middle East and Africa, with clients including Liberia's Charles Taylor and Libyan leader Moammar Gadhafi and both sides in Angola's civil war.

A Thai court in August last year originally rejected Washington's request for Bout's extradition on terrorism-related charges, but after the ruling was reversed last week the U.S. moved to get him out quickly, sending a special plane to stand by.

Just ahead of the appeals court ruling, the United States forwarded new money-laundering and wire fraud charges to Thailand, in an attempt to keep Bout detained if the court ordered his release. But the move backfired, because Bout now cannot legally leave Thailand until a court hears the new charges.

Bout's lawyer, Lak Nittiwattanawichan, delivered an 11-page handwritten petition for Prime Minister Abhisit Vejjajiva on Monday, arguing that the Aug. 20 appeals court ruling to hand Bout over to the United States to stand trial on terrorism charges was unjust.

Abhisit has said it is up to the courts to handle Bout's case, and it is unclear if he has any authority to intervene.

Bout's arrest at a luxury hotel was part of an elaborate sting in which U.S. agents posed as arms buyers for the Revolutionary Armed Forces of Colombia, or FARC, which Washington classifies as a terrorist organization.

Bout was indicted in the U.S. on charges that include conspiring to kill Americans and conspiring to sell millions of dollars worth of weapons to FARC, including more than 700 surface-to-air missiles, thousands of guns, high-tech helicopters and airplanes outfitted with grenade launchers and missiles.

Efforts to withdraw the newer charges have been proceeding slowly through the Thai bureaucracy, while officials have expressed irritation at U.S. attempts to hurry the proceedings.

"I am not guilty of the crimes I am accused of and I continue to believe that justice will prevail in my case," Bout said in a statement Friday read by his wife Alla at a news conference. He is in a high-security prison in a Bangkok suburb.

He has repeatedly denied being an arms dealer, though he acknowledges the air transport company he once ran did carry legally authorized shipments of weapons.

"The U.S. is trying to create for me the image of an illegal billionaire and an illegal arms dealer," Bout said in his statement. "I have never traded in weapons, I have never sold weapons."

Lak, his lawyer, said he was petitioning Abhisit because the court ruling against Bout was unjust and politically motivated.

He claimed that Bout's would be in danger of bodily harm if sent to the United States, that Washington failed to provide evidence required by Thai courts and that the terrorism charges were not valid under Thai law.

"The whole legal process so far is illegitimate," Lak said. "You cannot file charges without proper evidence and thorough investigation. This should invalidate the whole court ruling."

--------------------------------------------

ที่มาข้อมูล: ข่าวสดรายวัน หน้า 1
วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7215

ทนายบูทร้อง ขอพบ"มาร์ค"

ศิริโชคลั่นลุยต่อ ไม่กลัวลอยแพ

"ศิริโชค"ลั่นลุยต่อ นายกฯไม่ต้องการให้แค่เดินตาม เชื่อรัฐบาลและปชป.ไม่ได้ลอยแพทนาย"วิกเตอร์ บูท"บุกทำเนียบ ยื่น"มาร์ค"ขอความคุ้มครองลูกความ อยากขอเข้าพบนายกฯเพื่ออธิบายรายละเอียดข้อกฎหมาย ชี้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่จำเป็นต้องส่งตัวให้สหรัฐตามแรงกดดัน

เมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายลักษณ์ นิติวัฒนวิจารณ์ ทนายความนายวิกเตอร์ บูท ผู้ต้องหาค้าอาวุธชาวรัสเซีย ยื่นหนังสือขอความคุ้มครองเพราะห่วงเรื่องความปลอดภัย ว่า ยังไม่ได้รับหนังสือ แต่เรื่องความปลอดภัยได้กำชับไปแล้ว เพราะกังวลเนื่องจากอยู่ในท่ามกลางความขัดแย้ง ต้องดูหนังสือก่อนว่ามีปัญหาอะไร

ด้านนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ คนสนิทนายกฯ ให้สัมภาษณ์กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตำหนิการเข้าไปพบนายวิกเตอร์ บูท ในเรือนจำ และว่าหากมีอะไรเกิดขึ้นให้แก้ปัญหาเองเหมือนเป็นการลอยแพว่า ไม่คิดว่าตัวเองถูกลอยแพ มองว่าไม่ใช่เรื่องลอยแพ แต่เป็นการชี้แจงข้อเท็จจริงว่าหน้าที่ของส.ส.นอกจากจะอยู่ในสภาแล้ว ยังมี หน้าที่ตรวจสอบหาข้อมูล ดังนั้นต้องแยกแยะ

ผู้สื่อข่าวถามว่าแต่การเข้าไปพบผู้ต้องหาเพื่อสืบหาข้อมูลต่างๆ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบอยู่แล้ว นายศิริโชคกล่าวว่า นี่มันไม่ใช่เรื่องคดี แต่เป็นการหาข้อมูลทั่วไป การไปเอาหน่วยงานราชการมาทำก็เป็นการแทรกแซง

"ผมไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ เปิดเผยตัวเองและเดินเข้าไปในเรือนจำถูกต้องตามกฎระเบียบทุกอย่าง เพียงแต่บางทีสังคมอาจรู้สึกในความที่อยู่ในแวดวงของนายกฯ แต่ข้อเท็จจริงต้องยอมรับว่าส.ส.นอกจากมีหน้าที่ในสภาแล้ว ต้องมีหน้าที่ต่อประชาชน มีความรับผิดชอบปกป้องผลประโยชน์ของประเทศเมื่อจำเป็น เช่นเดียวกับกรณีนายวิกเตอร์ บูท เราเข้าไปหาข้อมูลเบื้องต้นและไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดี" คนสนิทนายกฯ กล่าว

เมื่อถามว่าคนในรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์บอกว่ารัฐบาลและพรรคไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รู้สึกอย่างไร นายศิริโชคกล่าวว่า ไม่น้อยใจ มันเป็นข้อเท็จจริงที่อธิบายมาตลอด นายสุเทพและทุกคนยืนยันว่าเราแยกกันทำงาน ฝ่ายนิติบัญญัติทำงานเรื่องหนึ่ง ฝ่ายบริหารทำงานอีกเรื่องหนึ่ง แต่ทั้งสองฝ่ายต้องเชื่อมข้อมูลกัน ตนในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติก็เอาข้อมูลมาให้ฝ่ายบริหาร ส่วนจะดำเนินการอย่างไรเป็นสิทธิและหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ตนอยากให้แยกแยะระหว่างไปเอาข้อมูลกับการยุ่งเกี่ยวกับคดี เป็นคนละเรื่องกัน และไม่คิดว่าตัวเองถูกลอยแพ ยิ่งวิจารณ์เท่าไหร่ยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่ง ถือเป็นยาชูกำลัง คนเราถ้าไม่ทำงานก็ไม่ถูกตำหนิ แต่เมื่อเราทำงานก็ต้องกล้ายืนต่อสู้กับกระแส

"ตราบใดที่ผมยังเป็นส.ส.อยู่ จะทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างนี้ต่อไป และคิดว่านายกฯ คงไม่ต้องการให้คนใกล้ชิดมีไว้เพื่อเดินตามอย่างเดียว แต่เรื่องนี้ยืนยันว่านายกฯ ไม่ได้สั่ง เป็นการทำหน้าที่ของผม" คนสนิทนายกฯ กล่าว และว่า ตนทำงานบนดินทั้งนั้น ถ้าเป็นงานใต้ดินก็หมาย ความว่าเป็นงานที่ผิดกฎหมาย

ต่อข้อถามว่าได้คุยกับนายสุเทพหรือยัง นายศิริโชคกล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุยกัน แต่เข้าใจกันอยู่แล้ว นายสุเทพเป็นเลขาธิการพรรค ตนเป็นลูกพรรค สิ่งที่นายสุเทพพูดไม่มีอะไรหวือหวา และพูดตามข้อเท็จจริง ตนไม่คิดว่าถูกลอยแพ สิ่งที่นายสุเทพพูดทำให้สังคมเชื่อมั่นและเข้าใจมากขึ้น

เมื่อถามว่านายกฯ มีความเห็นอย่างไร นายศิริโชคกล่าวว่า "นายกฯ ก็หยอกล้อว่าทำไมทีมสโต๊กแพ้เชลซีเยอะเหลือเกิน"

เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังเล่น 2 หน้าหรือไม่ คนสนิทนายกฯ กล่าวว่า วันนี้จะหันไปทางไหนก็วิจารณ์ทั้งนั้น ทั้งเรื่องถูกลอยแพ หรือเล่น 2 หน้า แต่อยากให้สังคมเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และระบอบประชา ธิปไตย การทำงานของตนไม่ทำให้เรื่องนายวิกเตอร์ บูทบานปลาย มีแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่บานปลาย แต่สหรัฐกับรัสเซียไม่ได้สนใจเลย แม้แต่วิกเตอร์ บูท ก็บอกว่าเป็นเรื่องโจ๊กถ้าอยู่ในรัสเซีย

เมื่อถามว่าสรุปว่าข้อมูลที่ได้มานั้นเพื่อนำมาประกอบการทำงานของฝ่ายบริหาร นายศิริโชคกล่าวว่า ข้อมูลที่ได้ฝ่ายบริหารจะเอาไปใช้ตัดสินใจหรือไม่ เป็นสิทธิ ตนไม่สามารถบอกฝ่ายบริหารเอาข้อมูลมาใช้ แต่อย่างน้อยทำหน้าที่ของประชาชน ในฐานะส.ส.นำข้อมูลที่คิดว่าเหมาะสม เป็นประโยชน์ ดีกว่ามาเสียดายภายหลัง เมื่อถามว่าคิดหรือไม่ว่าถ้าคนชื่อศิริโชคเป็นประชา ชนทั่วไปทางเรือนจำจะอนุญาตให้เข้าพบกับผู้ต้องหา นายศิริโชคกล่าวว่า คิดว่าเรือนจำดูตามเหตุและผล ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ถ้าพูดอย่างที่ถาม หมายความว่าคนที่อยู่ใกล้ชิดนายกฯ ทุกคนต้องนั่งเงียบเฉยๆ ไม่ทำอะไร ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่ คนใกล้ชิดนายกฯ ยิ่งต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้นายกฯ หรือฝ่ายบริหารได้เห็นข้อเท็จจริงในภาพรวม

ผู้สื่อข่าวถามว่านายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ระบุว่า พฤติกรรมไม่เหมาะสม และยิ่งทำให้เรื่องบานปลาย คนสนิทนายกฯ กล่าวว่า คิดว่าบางครั้งข้อมูลของแต่ละคนที่ได้มาอาจได้ไม่ครบถ้วน

"ผมไม่อยากไปต่อว่าประธานส.ว.เพราะ ท่านมีหน้าที่ดูแลส.ว.อยู่แล้ว แต่เผอิญว่าผมเป็น ส.ส.และหน้าที่ของเราชัดเจนว่าการไปหาข้อมูลกับการไปยุ่งเกี่ยวกับคดีเป็นคนละเรื่องกัน แล้วที่ประธานส.ว.ยกตัวอย่างว่าถ้าเป็นผู้พิพากษาท่านจะไม่คุยกับทั้งโจทก์และจำเลยนั้นแน่นอน เพราะท่านมีส่วนได้ส่วนเสีย แต่กรณีนี้ท่านยืนยันชัดเจนว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยไม่มีทางถูกแทรกแซง ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับคดีนี้เลย ผมเพียงแต่ไปเอาข้อมูล บางครั้งท่านอาจถูกคำถามนำก็เลยตอบไป แต่เชื่อว่าท่านทราบดีว่าเรื่องนี้ทำหน้าที่โดยบริสุทธิ์ใจเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศในนามส.ส.คนหนึ่ง" คนสนิทนายกฯ กล่าว

เมื่อถามว่าต่อไปต้องระวังในการทำหน้าที่มากขึ้นหรือไม่ นายศิริโชคกล่าวว่า ธรรมดาก็ระวังอยู่แล้ว ไม่เคยโอนเอนไปตามกระแส แต่ดูตามกฎระเบียบ ข้อกฎหมาย และการเป็น ส.ส.ไม่ใช่แค่เพียงยกมือในสภา แต่มีหน้าที่ดูแลและปกป้องผลประโยชน์ประเทศ

ก่อนหน้านั้น นายลักษณ์ นิติวัฒนวิจารณ์ ทนายความของนายวิกเตอร์ บูท เดินทางมาทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ นายกฯ เพื่อขอความเป็นธรรมให้ดำเนินคดีนายวิกเตอร์ บูท อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องสนใจแรงกดดันจากสหรัฐ ซึ่งส่งเครื่องบินมาจอดรอรับตัวที่ท่าอากาศยานทหาร บน.6 แล้ว ทั้งที่กระบวนการยุติธรรมของไทยยังไม่ยุติ

นายลักษณ์กล่าวว่า หนังสือขอความเป็นธรรมดังกล่าว เขียนด้วยลายมือทั้งหมด มีเนื้อหา 11 หน้า และมีลายเซ็นของนายบูทกำกับไว้ สำหรับเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวสรุปใจความสาระสำคัญว่าขอให้นายกฯ สั่งการเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้ต้องหาตามกฎหมาย เพราะถ้าทางการไทยส่งตัวนายวิกเตอร์ให้กับสหรัฐ อาจไม่ได้รับความเป็นธรรม และอาจได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและเสรีภาพ ไม่ให้มีการข่มขู่ เพื่อนำตัวนายวิกเตอร์ บูท ให้สหรัฐ เนื่องจากไทยและสหรัฐมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน และพ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ที่ระบุว่าการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต้องเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ และหากขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ประเทศผู้ร้องต้องแสดงพยานหลักฐานให้ครบถ้วนมาพร้อมกับคำขอ แต่ปรากฏว่าทางการสหรัฐกลับส่งมาแต่คำขอเท่านั้น และยื่นพยานหลักฐานแค่บางส่วนเท่านั้น

ส่วนกรณีสหรัฐขอถอนคดีที่สองคือคดีฟอกเงินออกจากการพิจารณาของศาลไทย เพื่อจะได้รับตัวนายวิกเตอร์ บูท ไปดำเนินคดี หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีที่หนึ่งไปแล้วนั้น นายลักษณ์กล่าวว่า การจะขอถอนคดีจากศาลไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ถ้าศาลไทยอนุญาตให้สหรัฐถอนคดีนี้จริง ตนจะทำหนังสือขอให้นายกฯ ใช้อำนาจไม่ส่งตัวนายวิกเตอร์ บูท เป็นผู้ร้ายข้ามแดน เนื่องจากสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และ พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ที่ระบุว่าการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนต้องเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลที่เป็นผู้พิจารณา ไม่ใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลของทั้ง 2 ประเทศ เพราะศาลมีอำนาจพิจารณาเรื่องการควบคุมหรือปล่อยตัวผู้ต้องหาเท่านั้น จึงเชื่อว่ารัฐบาลน่าจะมีสิทธิ์ยับยั้งการส่งตัวนายวิกเตอร์ บูท ได้

นายลักษณ์กล่าวอีกว่า คดีของนายวิกเตอร์ บูท ได้พิจารณาก่อนที่พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 จะมีผลบังคับใช้ จึงต้องกลับไปใช้พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ที่ระบุว่าจะส่งตัวได้ ก็ต่อเมื่อส่งคำขอมาพร้อมพยานหลักฐานครบถ้วน แต่สหรัฐกลับส่งมาแต่คำขอเท่านั้นโดยยื่นพยานหลักฐานบางส่วน เพราะเก็บพยานหลักฐานอีกส่วนหนึ่งในซองแล้วเก็บไว้ในตู้นิรภัย ซึ่งตนร้องในชั้นศาลให้เปิดเผยหลักฐานดังกล่าว แต่ถูกปฏิเสธ โดยฝ่ายสหรัฐอ้างว่าต้องคุ้มครองพยานหลักฐาน อย่างไรก็ตามถ้าเป็นไปได้ ขอให้เปิดโอกาสให้ตนได้เข้าพบนายกฯ เพื่อพูดคุยเรื่องดังกล่าวให้เกิดความชัดเจน

จากนั้นนายลักษณ์ ไปที่ศาลอาญา รัชดาฯ เพื่อตรวจดูรายละเอียดสำนวนส่งผู้ร้ายข้ามแดน นายลักษณ์กล่าวว่า จากที่ตรวจดูสำนวนยังไม่ปรากฏว่าอัยการสำนักงานต่างประเทศยื่นคำร้องขอถอนฟ้องการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนนายวิกเตอร์เพิ่มเติมครั้งที่ 2 อีก 6 ข้อหาแต่อย่างใด ทั้งนี้หากอัยการยื่นเมื่อใด ตามขั้นตอนกระบวนพิจารณาคดี ศาลจะมีหมายแจ้งคู่ความเพื่อสอบถามว่าจะคัดค้านหรือไม่ ซึ่งตนพร้อมยื่นคัดค้านทันที โดยมีประเด็นเกี่ยวกับเจตนาของทางการสหรัฐที่ตั้งข้อหาไม่เป็นธรรม รวมทั้งการยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในเวลาต่อมาหลังจากที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อหวังที่จะให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องทั้งหมดตั้งแต่การยื่นขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพิ่มเติมฉบับที่ 2 โดยไม่ต้องไต่สวนว่าน่าจะมีการกระทำผิดข้อหานั้นหรือไม่

"ตามปกติในคดีอื่น เมื่อมีการยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ต้องสอบถามคู่ความอีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ ส่วนความจำเป็นว่าต้องไต่สวนหรือไม่เป็นดุลพินิจศาล แต่หากจะไต่สวน ศาลน่าจะนัดวันเดียวกับที่นัดไต่สวนคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนฉบับที่ 2 วันที่ 4 ต.ค. เพื่อไม่ให้เสียเวลาวันนัดที่กำหนดไว้แล้วซึ่งคดีอื่นมักจะปฏิบัติอย่างนี้" นายลักษณ์กล่าว

---------------------------------------------


"กษิต" กร้าว!! ซัดสหรัฐฯ ไม่ให้เกียรติศักดิ์ศรีไทย กรณีส่งเครื่องบินรอรับตัว "บูท" ชี้เสมือนการบีบบังคับ

นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุว่าให้กระทรวงการต่างประเทศไปทำความเข้าใจกับสหรัฐอเมริกาและรัสเซียกรณีนายวิคเตอร์ บูท ว่า ดำเนินการอยู่แล้วและได้หารือกับทั้งสองประเทศมาโดยตลอดว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมของไทย ซึ่งมีความอิสระ เป็นเอกเทศ และเป็นมืออาชีพ

ทั้งนี้ก่อนเดินทางไปต่างประเทศตนพูดกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาไปแล้วว่าการส่งเครื่องบินของสหรัฐฯ มาจอดรอเพื่อรับตัวนายบูท ที่สนามบินดอนเมือง เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมเพราะ ต้องเคารพในกระบวนการภายในของเราด้วย

"ทั้งสองประเทศต้องให้ความเคารพกระบวนการยุติธรรม รวมถึงศักดิ์ศรีของประเทศไทย ไม่ควรมาทำสิ่งใดที่เสมือนเป็นการมาบีบกัน ซึ่งดูไม่ดีต่อศักดิ์ศรีและความเป็นรัฐไทย ที่เขาต้องให้ความเคารพความเป็นอธิปไตยและกระบวนการทางกฎหมายของไทย เรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องที่มิตรประเทศไม่ควรทำกัน"นายกษิตกล่าว

ส่วนกรณีที่นายศิริโชคเข้าพบนายบูท รวมถึงประเด็นที่นายจตุพรหมพันธ์ พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ระบุว่าไทยยื่นเงื่อนไขแลกตัวบูทกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้กลายเป็นเรื่องการเมืองในประเทศนั้น นายกษิตยืนยันว่า ไม่ใช่นโยบายรัฐบาลที่จะมายื่นหมูยื่นแมวระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับนายบูท โดยอยากให้เอาข้อเท็จจริงมาพูดกันมากกว่าไม่ใช่การโกหก เพ้อฝัน หรือคิดเองเออเอง

เพราะทั้งเรื่องนายบูทและพ.ต.ท.ทักษิณเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่เรื่องการแลกเปลี่ยนทางการเมือง รัฐบาลทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเป็นการแทรกแซงและข้ามหน้าข้ามตากระบวนการยุติธรรม พูดแบบนั้นเสียหายอย่างมากต่อประเทศ ก

ด้าน นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีต่างประเทศ กล่าวถึงความคืบหน้าการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนายบูท ว่า กระทรวงการต่างประเทศ มีหนังสือหารือถึงนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด( อสส.) เกี่ยวกับขั้นตอนและข้อกฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ซึ่งจะต้องไปตรวจดูรายละเอียดในหนังสือดังกล่าวก่อนว่าอัยการจะต้องพิจารณาและให้ความเห็นตอบกลับหนังสือของกระทรวงการต่างประเทศเรื่องใดบ้าง ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ส่วนการยื่นคำร้องถอนฟ้องนายบูท สำนวนที่ นั้น 2 ขอ ยืนยันว่ายังไม่มีการดำเนินการใด ๆ

ที่มาข้อมูล : มติชนออนไลน์ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 20:02:16 น.
--------------------------------------------


หลุมดำ

ข้อมูลโดย: เหล็กใน
ที่มาข้อมูล: ข่าวสดรายวัน หน้า 6 วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7215


นาทีนี้ นายศิริโชค โสภา ผู้สถาปนาตำแหน่งใหม่ "ผู้ช่วยนายกรัฐมนตรี" คงไม่ต่างจาก "หลุมดำ" ที่พร้อมจะดูดทุกอย่างให้ผลุบหายไป

เมื่อก่อเรื่องที่ทำให้ประเทศไทย ตกอยู่ในสถานการณ์ขัดแย้งระหว่างประเทศที่น่าจับตาอีกครั้ง นับจากสงคราม โลกครั้งที่ 2

คนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ย่อมทราบดีว่าในห้วงแรกประเทศไทย ถูกนานาชาติผลักให้ไปอยู่กับฝ่าย"อักษะ"นำโดยเยอรมันและญี่ปุ่น เพราะยอมให้ญี่ปุ่นกรีธาทัพผ่านเข้ามา และให้ความร่วมมือในหลายๆด้าน

รวมไปถึงประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มีสหรัฐ เป็นแกนนำด้วย

จวบจนสงครามสงบพร้อมกับความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะ ประเทศไทยหวุดหวิดจะกลายเป็นประเทศที่แพ้สงครามไปด้วย

โชคดีที่มีขบวนการเสรีไทย ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งในเมืองไทย จับมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทั้งการข่าวและอื่นๆ

ไทยจึงรอดพ้นหายนะครั้งนั้นมาได้

ผ่านมาหลายสิบปี ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยกำลังถูกพาเข้าไปสู่สถานการณ์คล้ายๆ กันอีก

เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากคนเพียง 2 คน

หนึ่งคือวิกเตอร์ บูท เจ้าพ่ออาวุธสงคราม

หนึ่งคือนายศิริโชค


นายวิกเตอร์ ทำให้เมืองไทยตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่าง 2 มหาอำนาจคือสหรัฐ และรัสเซีย ที่ต่างก็ต้องการตัวไปสอบสวน

ส่วนนายศิริโชค ทำให้สหรัฐ และรัสเซีย เพ่งมองอย่างไม่วางใจว่านำเรื่อง"การเมือง"เข้ามาพัวพันกับการตัดสินใจส่งตัวนายวิกเตอร์ ให้กับประเทศใด ประเทศหนึ่ง หรือไม่!??

ก่อนหน้านี้ไม่ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยจะมีท่าทีอย่างใด เรายืนยันได้เต็มปากเต็มคำว่านี่คือการตัดสินของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งไม่มีอะไรก้าวล่วงได้

ทว่าพลันที่นายศิริโชค ไปปรากฏตัวพูดคุยกับนายวิกเตอร์ ในเรือนจำ พร้อมกับการออกมาแฉของนายวิกเตอร์ ผ่านทางภรรยา ว่าเข้าไปสอบถามเกี่ยวกับขบวนการค้าอาวุธสงคราม เพื่อเชื่อมโยงถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ทำให้เกิดปัญหาป่วนไปหมด

ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร หรือแก้ตัวแบบไหน ถามว่า 2 ประเทศมหาอำนาจย่อมมีสิทธิ์คิดในทางลบ กรณีที่ประเทศตัวเองไม่ได้ตัวนายวิกเตอร์ เพราะมีข้อต่อรองทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง

บวกกับปัญหาความเหลื่อมล้ำกันอย่างมากของผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายระหว่าง "เสื้อเหลือง" และ "เสื้อแดง" ซึ่งเชื่อว่าทั้งสหรัฐ และรัสเซีย ย่อมรู้และเห็นว่าอะไรเป็นอะไร

ลำพังไม่มีการเมืองเข้าไปเกี่ยวกับปัญหาการส่งตัวนายวิกเตอร์ ประเทศไทยก็เหนื่อยหนักอยู่แล้ว

พอมีนักการเมืองเข้ามายุ่งอีก ประเทศไทยไม่ใช่แค่เหนื่อยเท่านั้น แต่อาจจะถึงขั้นเดือดร้อนได้ง่ายๆ

แค่จะทำลายนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ถึงขนาดเอาประเทศชาติเป็นเดิมพันเชียวหรือ!??

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น