วันจันทร์, สิงหาคม 09, 2553

Cambodia alerts U.N. to Thai threat of force over border dispute ; ต้นฉบับสารที่กัมพูชา ส่งถึงสหประชาชาติ



PHNOM PENH, Aug. 8 2010 Cambodian Prime Minister Hun Sen sent letters Sunday to the presidents of the U.N. General Assembly and Security Council to decry a statement Saturday that Thailand is ready to abrogate rulings on the border between the two countries.

ที่มา : อัลบั้มภาพของ Palrak Raksapho : ต้นฉบับสารที่กัมพูชา ส่งถึงสหประชาชาติ หลังฮุนเซนรับชมการหารือรัฐบาลกับพันธมิตรฯเรื่องพระวิหาร เมื่อวานนี้(8 สิงหาคม 2553)

Cambodia alerts U.N. to Thai threat of force over border dispute

PHNOM PENH, Aug. 8 2010 Cambodian Prime Minister Hun Sen sent letters Sunday to the presidents of the U.N. General Assembly and Security Council to decry a statement Saturday that Thailand is ready to abrogate rulings on the border between the two countries.

จาก รูปปภาพของ Palrak Raksaphol - สารกัมพูชาส่งUN


จาก รูปปภาพของ Palrak Raksaphol - สารกัมพูชาส่งUN


จาก รูปปภาพของ Palrak Raksaphol - สารกัมพูชาส่งUN

จาก รูปปภาพของ Palrak Raksaphol - สารกัมพูชาส่งUN

จาก รูปปภาพของ Palrak Raksaphol - สารกัมพูชาส่งUN

-------------------------------------------------


ฮุน เซน ส่งหนังสือถึงสหประชาชาติ ชี้แจงท่าทีความขัดแย้ง


สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาส่งหนังสือถึงสหประชาชาติ ชี้แจงท่าทีต่อความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหารกับไทย โดยมีใจความกล่าวหาไทยว่าละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ ด้วยการขู่ที่จะใช้กำลังทหารกับกัมพูชาเพื่อยุติปัญหาชายแดน

สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาส่งหนังสือถึงนายอาลี อับดุสซาลัม ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และนายวิทาลี เชอร์กิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ชี้แจงท่าทีต่อความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหารกับไทย

โดยหนังสือดังกล่าวมีใจความกล่าวหาไทยว่าละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ มาตรา 2.3 และ 2.4 อย่างชัดเจน ด้วยการขู่ที่จะใช้กำลังทหารกับกัมพูชาเพื่อยุติปัญหาชายแดน พร้อมกันนี้สมเด็จฮุนเซนยังย้ำถึงจุดยืนของกัมพูชาที่จะไม่ใช้กำลังทางทหาร ในการคลี่คลายความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน แต่จะปกป้องดินแดนและอธิปไตยของประเทศเต็มที่หากถูกคุกคาม


ขอบคุณที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ออนไลน์
2010-08-09

------------------------------------------------------


นายกฯ ปัดเลิก "เอ็มโอยู ปี′43" อัดกัมพูชาให้ข้อมูล "ยูเอ็น" คลาดเคลื่อน วาดภาพไทย "รุนแรง-รุกราน"

"มาร์ค"ชี้ข้อมูลเขมรคลาดเคลื่อน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีสมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ส่งหนังสือถึงประธานการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ประท้วงท่าทีของไทยกรณีจะยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ไทย-กัมพูชาปี 2543 รวมถึงกรณีเตรียมใช้วิธีทางการทูตและการทหารในการแก้ปัญหาชายแดน เนื่องจากเป็นการละเมิดคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศ โดยให้สัมภาษณ์เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 9 สิงหาคม ที่โรงแรมเซนทาราแกรนด์ ว่า เป็นการเวียนหนังสือของกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาที่อยู่บนพื้นฐานที่ตนคิดว่าน่าจะคลาดเคลื่อน ทั้งคำพูดและตัวรายงาน แต่คงไม่มีปัญหาอะไร กระทรวงการต่างประเทศไทยคงได้ทำความเข้าใจต่อไป

"แต่เรื่องนี้เป็นตัวบ่งบอกเรื่องที่หลายคนบอกว่าถ้าไทยยกเลิกเอ็มโอยูปี 2543 แล้วไปยึดสนธิสัญญาของฝรั่งเศสนั้น ไม่ใช่ แต่กัมพูชาต้องย้อนกลับไปหาทางลากองค์กรระหว่างประเทศเข้ามา ส่วนหลักการแก้ปัญหานั้น แม้จะมีเอ็มโอยูปี 2543 อยู่ แต่ต้องมีการเจรจาตามหลักของยูเอ็นซึ่งไทยเป็นภาคีอยู่แล้ว"นายกฯระบุ

หวังสร้างภาพไทยรุนแรงรุกราน

ผู้สื่อข่าวถามว่ากัมพูชาระบุว่าไทยละเมิดการตัดสินของศาลโลก นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กัมพูชายังใช้คำว่า “ถ้า” สิ่งที่อ้างว่าหนังสือพิมพ์ไทยบอกว่าตนพูดเป็นจริง ซึ่งมันไม่จริงอยู่แล้ว ตรงนั้นชี้แจงได้ ไม่มีปัญหา จดหมายที่เขาส่งไปมีคำว่า“ถ้า” ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ และตอนนี้ก็ยังไม่มีอะไร เมื่อถามว่าความพยายามที่กัมพูชาจะนำประเทศที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องมีโอกาสสำเร็จหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คงไม่สำเร็จ เพราะมีเอ็มโอยูปี 2543อยู่ ส่วนกัมพูชาอ้างว่าถ้ามีการยกเลิกเอ็มโอยูนี้เท่ากับไทยทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่าคงไปไม่ถึงตรงนั้น ขณะนี้มองว่าเอ็มโอยูเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับมรดกโลก และเป็นฐานในการดำเนินการใดๆ ในกรณีที่มีเห็นว่าการรุกล้ำเข้ามา ทั้งยังเป็นหลักประกันที่ทำให้ชาวโลกได้เห็นว่าไทยยึดมั่นตามเจตนารมณ์ของยูเอ็น

“ผมคิดว่าค่อนข้างชัดเจนว่ากัมพูชาพยายามจะทำให้ภาพของไทยในสายตาของชาวโลกเป็นฝ่ายที่รุนแรง หรือเข้าไปรุกราน ซึ่งตรงกันข้าม เพราะสิ่งที่ผมพูดทั้งหมดคือเราต้องตอบโต้ ถ้ามีการรุกล้ำเข้ามาในส่วนของเรา” นายอภิสิทธิ์กล่าว

เมื่อถามว่าการที่ไทยไม่มีเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศกัมพูชาทำให้เสียเปรียบในแง่การติดตามความเคลื่อนไหวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “ไม่ครับ” เมื่อถามแสดงว่าจะยังไม่มีการพิจารณาส่งตัวทูตไทยกลับไปประจำที่กัมพูชาใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า “ต้องรอทางกัมพูชา เพราะเป็นฝ่ายที่สร้างปัญหาขึ้นในเรื่องที่จะมาละเมิดระบบของเรา”

รบ.เตรียมจม.แจง"ยูเอ็น"3ข้อ

ด้านนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศกำลังประชุมและหารือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ก่อนจัดทำรายงานเสนอต่อนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามจุดยืนของไทยไม่เปลี่ยนแปลงในเรื่องความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านบนพื้นฐานการรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเนื้อหาจดหมายที่กัมพูชาส่งให้ยูเอ็นก็พูดอย่างเดียวกัน โดยอ้างว่าถ้านายกฯเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็ยังสามารถร่วมมือกันได้ แต่ส่วนที่เป็นปัญหาต้องบริหารจัดการพื้นที่ และจะชี้แจงว่ามีการรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของไทยอย่างไร

นายปณิธานกล่าวว่าเข้าใจว่ายูเอ็นคงจะให้ความเห็นบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ไทยจะทำหนังสือถึงยูเอ็นเพื่อชี้แจง 3 ส่วนคือ 1. ข้อกฎหมายที่กัมพูชาตั้งข้อสังเกต 2. กรณีที่ไทยถูกบุกรุกพื้นที่ และ 3. ยืนยันว่าไทยจะดำเนินการทุกอย่างตามหลักสันติวิธีและข้อกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับ

ชี้"มหาอำนาจ"กังวลข้อพิพาท

เมื่อถามห่วงหรือไม่กัมพูชาจะดึงเอาประเทศที่ 3 เข้ามาช่วยยุติข้อพิพาท นายปณิธานกล่าวว่า หลายประเทศคงเป็นกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา หลายประเทศที่เคยมีประสบการณ์ไม่ดี ในเรื่องการใช้กำลังและความรุนแรง โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจก็เป็นกังวล แต่ขอยืนยันว่าไทยยึดหลักเจรจามาโดยตลอด จริงๆ แล้วเป็นหลักว่าปัญหาชายแดนตกลงกันด้วยกรอบทวิภาคีของ 2 ประเทศ แม้ไทยจะรับความเป็นกังวลของนานาชาติ แต่โดยหลักแล้ว 2 ประเทศจะตกลงกันเอง และคิดว่านานาชาติจะเคารพตรงนี้

“ตรงนี้จะเป็นโอกาสดีที่ทำให้นานาชาติสนใจว่า ขณะนี้มีปัญหาในพื้นที่จริง การดำเนินการขั้นต่อไปต้องมีการพูดคุยกัน เพราะไทยยึดหลักสันติวิธีชัดเจน ต้องการเป็นเพื่อนที่ดี แต่ขณะเดียวกันก็ปกป้องผลประโยชน์ของเรา” โฆษกรัฐบาลระบุ

บัวแก้วเร่งทำหนังสือให้นายกฯ

ด้านนายธานี ทองภักดี รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า กระทรวงเห็นว่าหนังสือที่กัมพูชาทำถึงยูเอ็นมีบางส่วนที่คลาดเคลื่อน อีกทั้งบริบทบางตอนไม่สมบูรณ์ จึงต้องชี้แจงทำความเข้าใจในบางประเด็นแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้เพราะต้องนำเสนอนายกฯพิจารณาเนื้อหาและลงนามก่อนจะให้เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติณ นครนิวยอร์ก ยื่นชี้แจงต่อยูเอ็นต่อไป ยังบอกไม่ได้ว่าจะสามารถส่งให้นายกฯพิจารณาได้ภายในวันนี้หรือไม่ แต่จะเร่งทำให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ในประเด็นที่กล่าวหาว่าไทยขู่จะใช้กำลังทหารเชื่อว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งยืนยันการกระทำของไทยได้

“สุเทพ”ยันทหารแค่เตรียมพร้อม

ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ไทยยึดมั่นในหลักการที่จะอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านโดยสันติ กองกำลังทหารไทยไม่ได้บุกรุกไปในดินแดนของกัมพูชาอย่างแน่นอน แต่กองกำลังทหารไทยพร้อมจะปกป้องอธิปไตยของประเทศ ต้องแยกแยะให้ชัดว่าการเตรียมพร้อม ไม่ใช่เรื่องที่จะไปรุกรานหรือคุกคามใคร เมื่อถามว่ามีรายงานข่าวว่ากองกำลังทหารกัมพูชาตรึงกำลังตามแนวชายแดน นายสุเทพ กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่ไปว่าอะไรไม่ได้ เช่นเดียวกันกองกำลังที่เรามีอยู่เพื่อดูแลอธิปไตยของเรา อย่ากังวลใจมาก”

ปัด2มาตรฐานไม่เอาผิดพธม.

ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ออกมาชุมนุมภายใต้ประกาศใช้พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า มติของศอฉ.สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาข้อกำหนดทุกอย่าง อย่างครังครัด ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่เป็นดุลยพินิจของผู้ปฏิบัติหน้าที่ ถ้าละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ก็มีความผิด เท่าที่ได้ติดตามตรวจสอบเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้กำหนดเอาไว้ทุกประการ เช่น การเจรจา การอธิบายให้ทราบตามข้อกำหนด ในส่วนรายละเอียดต้องให้เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งการชุมนุมที่เข้าข่ายความผิดมีองค์ประกอบ 4 ประการ

เมื่อถามว่าจะดำเนินคดีกับแกนนำที่ชุมนุมหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า “ผมทราบว่ามีการเตรียมการในกรณีที่ผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตาม ก็เตรียมการดำเนินคดี ผมไม่มี 2 มาตรฐาน ไม่เลือกปฏิบัติไม่มีเหตุจูงใจอะไรที่ต้องทำอย่างนั้น ในเมื่อเป็นรัฐบาลมีหน้าที่ดูแลรักษากฎหมายบ้านเมือง ขอให้มั่นใจ โดยเฉพาะผมนี่ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง ก็ด่าผมอยู่ทุกวัน ผมไม่มีความจำเป็นที่ไปรักชอบใครเป็นพิเศษ”

“สุขุมพันธุ์”ลั่นถ้าผิดพร้อมเข้าคุก

ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่าขอยืนยันว่าเอ็มโอยูฉบับดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหา ที่ผ่านมาก็มีการนำเอ็มโอยูมาใช้ถึง 6 รัฐบาล และมีการประชุมภายใต้เอ็มโอยู ปี 2543 หลายครั้ง ส่วนที่ภาคประชาชนกดดันให้รัฐบาลยกเลิกเอ็มโอยูนั้น ไม่สนใจ เพราะผลการสำรวจของสำนักโพลต่างๆ พบว่ามีประชาชนสนใจในประเด็นเอ็มโอยูเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น

"ยืนยันว่าผมไม่ใช่จำเลยของสังคม และเบื่อที่จะต้องมาถูกตั้งคำถามซ้ำแล้วซ้ำอีก เหตุใดจึงไม่มีใครไปตั้งคำถามนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย และนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบ้าง เพราะเอ็มโอยูฉบับนี้เกิดขึ้นได้เพียง 5 เดือน ก่อนรัฐบาลนายชวน(หลีกภัย)หมดวาระเท่านั้น ปัญหาเกิดขึ้นหลังจากเซ็นเอ็มโอยูแล้ว คือการปล่อยให้กัมพูชาเข้ามารุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนโดยรอบปราสาทเขาพระวิหาร สุดท้ายแล้วหากอยากจะยกเลิกก็ยกเลิกไปเลยครับ ถ้าผมผิดผมก็พร้อมที่จะเข้าคุก” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว

เร่งแก้3แนวทาง-เลิกเอ็มโอยู

ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายว่า รัฐบาลควรเร่งดำเนินการ 3 ทาง คือ 1.เร่งยกเลิกบันทึกข้อตกลงการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ในทันที เพราะทุกวันนี้แทบจะไม่มีความหมายเนื่องจากกัมพูชาทำความผิดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด รวมถึงรัฐบาลบังคับใช้เอ็มโอยูด้วยการเจรจาโดยสันติไปถึง 7 ครั้ง แต่ไม่ได้ผล 2.รักษาอธิปไตยของชาติด้วยการรักษาพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารโดยใช้ทุกวิธีการที่จำเป็น และ3.รัฐบาลต้องเร่งขออนุมัติกรอบเจรจากจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เพื่อเจรจากับกัมพูชาในการจัดทำบันทึกข้อตกลงฉบับใหม่ที่มีสาระสำคัญในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกโดยยึดสันปันน้ำตามอนุสัญญาค.ศ. 1904 และอนุสัญญาพิธีสารค.ศ. 1907 เท่านั้นโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยพิสูจน์ทราบในพื้นที่จริง

"นอกจากนี้ เห็นว่าการนำบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือเจบีซี แนบร่างข้อตกลงชั่วคราวที่อิงกับมติรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 เข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 สิงหาคม จะเป็นการเพิ่มความขัดแย้งขึ้นไปอีก"นายคำนูณ กล่าว

สภาประชุมร่วมถกลับเขตแดน

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภา มีคำสั่งนัดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญนิติบัญญัติ วันที่ 17 สิงหาคมเวลา 09.30 น. เป็นการประชุมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ซึ่งมีวาระสำคัญคือการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่านอกจากนี้ยังมีเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วจำนวน 4 เรื่อง คือ 1.รายงานผลการพิจารณารายงานการประชุมลับ เรื่อง กรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา ตลอดแนวในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และกลไกอื่นภายใต้กรอบนี้ 2.รายงานผลการพิจารณารายงานการประชุมลับเรื่อง กรอบการเจรจาสำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว 3.รายงานผลการพิจารณารายงานการประชุมลับ เรื่อง ร่างกรอบการเจรจาในกลไกของการประชุมคณะกรรมาการชายแดนทั่วไป(กทช.)ไทย-กัมพูชา และ 4.ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่เสนอใหม่จำนวน 12 เรื่องล้วนเกี่ยวเนื่องกับการเจรจาระหว่างประเทศทั้งสิ้น"ผู้สื่อข่าว

กมม.ชี้มาร์คกลัวผู้ใหญ่เสียหน้า

นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) กล่าวถึงกรณีที่สมเด็จฮุน เซน ส่งหนังสือถึงยูเอ็นว่า รัฐบาลต้องชี้แจงต่อประชาคมโลกว่าสิ่งที่กัมพูชาพูดบิดเบือน เพราะหากกัมพูชาทำให้ยูเอ็นเอชซีอาร์เห็นด้วยกันแนวทางจะทำให้นำยูเอ็นเอชซีอาร์มาเป็นเกาะกำบัง ที่สำคัญอย่าลืมว่าในเวทีโลกเราเป็นรองกัมพูชา ฉะนั้นต้องเร่งอธิบายเล่ห์เหลี่ยมของกัมพูชาให้ประชาคมโลกรู้

นายสุริยะใส กล่าวว่าการที่นายอภิสิทธิ์บอกว่าถ้าเห็นว่าเอ็มโอยูไม่มีประโยชน์พร้อมที่จะเลิก แสดงว่านายกฯไม่ได้มั่นใจ100 เปอร์เซ็นต์ว่าเอ็มโอยูมีประโยชน์ เพราะถ้ามีประโยชน์จริงทำไมไม่ใช้คัดค้านการขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมกดกโลกของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวในปี 2551 นายกฯต้องกล้าคิด ที่ผ่านมาอาจจะเป็นเพราะกลัวผู้ใหญ่ในพรรคปชป. ซึ่งเป็นคนไปเซ็นเอ็มโอยูเองกับมือเสียหน้า นายกฯต้องไม่ติดกับดักตัวเอง

อดีตกก.มรดโลกบอกอย่าไปสน

ด้าน ศ.อดุล วิเชียรเจริญ ที่ปรึกษาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย และอดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก กล่าวว่ารัฐบาลไม่ต้องไปสนใจเนื่องจากสหประชาชาติ และศาลโลกก็ไม่มีอำนาจบังคับประเทศไทยได้ ทั้งนี้เสนอให้รัฐบาลไทยใช้มารยาทที่อยู่ในประชาคมโลกทำหนังสือชี้แจงถึงจุดยืนของรัฐบาลไทยเพื่อเป็นการตอบโต้กัมพูชา แต่อย่าไปยอมรับกับสิ่งที่ยูเอ็นจะนำไปพิจารณา โดยต้องปฏิเสธทุกกรณี


ขอบคุณที่มาข่าว: มติชนออนไลน์
วันที่ 09 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 21:07:50 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น