วันศุกร์, มิถุนายน 04, 2553

ข้อมูลตารางการชี้วัดรายได้

โดย อภิชาต สถิตนิรามัย
ใน โอเพนอ อนไลน์

ข้อมูลในตารางของ 18 จังหวัดในภาคอีสาน ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ ซึ่งถูกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขั้นร้ายแรงนั้น ประกอบด้วยตัวชี้วัดด้านรายได้ (Income index) และตัวชี้วัดด้านการมีส่วนร่วม ทางการเมือง-สังคม (Participation index) ตัวชี้วัดแรก ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 4 ตัว คือ ระดับรายได้ของครัวเรือน อัตราความยากจน (Poverty incidence) ครัวเรือนที่เป็นหนี้ และระดับความไม่เท่าเทียมของรายได้ (Gini)

ส่วนตัวชี้วัดที่ 2 ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 4 ตัวเช่นกัน คือ อัตราการลงคะแนนเลือกตั้ง (Voter turnout) จำนวนการรวมกลุ่ม (Community group) ครัวเรือนที่เข้าร่วมในกิจกรรม กลุ่มท้องถิ่น (Household participating in local group) และครัวเรือนที่เข้าร่วมในกิจกรรม บริการสังคม (Household participating in social service)

images by uppicweb.com
Thanks: เว็บฝากรูป จองโรงแรมออนไลน์


จากตาราง กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่ตัวชี้วัดด้านรายได้มีค่าสูงสุดในประเทศ แต่ตัวชี้วัดด้านการมีส่วนร่วมต่ำที่สุด ในขณะที่จังหวัดมุกดาหารมีค่าเฉลี่ยรายได้ลำดับที่ 66 ของประเทศ ซึ่งถือเป็นกลุ่มจังหวัดที่ยาก จนที่สุดของไทย (ชั้นที่ 1) แต่ตัวชี้วัดด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีค่าสูงสุดของประเทศ

พูดอีกแบบคือ กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดคู่ตรงข้ามของมุกดาหาร หากเหมาเอาว่าส่วนใหญ่ของคนกรุงเป็นเหลืองแล้ว คนส่วนใหญ่ของมุกดาหารย่อมเป็น แดง

เมื่อพิจารณาทั้ง 17 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพฯ) จะพบว่า 1.ในแง่รายได้ มีถึง 10 จังหวัดที่ตกอยู่ในกลุ่มที่ฐานะ ทางเศรษฐกิจแย่ที่สุดของประเทศ (ชั้นที่ 1) อีก 4 จังหวัดอยู่ในชั้นที่ 2 และมีเพียง 3 จังหวัดเท่านั้นที่อยู่ในชั้นที่ 3 สรุปแล้วฐานะของคนเสื้อแดงก็คือ คนจนถึงคนชั้นกลาง

2.ในแง่การมีส่วนร่วมด้านการเมือง-สังคม ภาพของทั้ง 17 จังหวัดกลับหัวกลับหางกับภาพด้านเศรษฐกิจกล่าวคือ มีเพียง 5 จังหวัดเท่านั้นที่ตกอยู่ในชั้น ที่ 2 (ค่อนข้างต่ำ) อีก 5 จังหวัดอยู่ชั้นที่ 3 ในขณะที่ 4 จังหวัดเป็นชั้นที่ 4 และอีก 3 จังหวัดมีระดับการมีส่วนร่วมสูงสุด (ชั้นที่ 5) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ส่วนใหญ่ของคนใน 17 จังหวัดแดงมีส่วนร่วมทางการเมืองและมีกิจกรรมรวมหมู่ระดับสูง

เรา "อ่าน" อะไรได้บ้างจากตัวเลขชุดนี้...

ผมอ่านว่า 1.คนใน 17 จังหวัดนั้นเป็นพลเมืองผู้ตื่นตัว (active citizen) มากกว่าคนกรุงเทพฯ ทั้งๆ ที่มีฐานะความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจแย่กว่ามาก ดังนั้น การกล่าวหาของคนกรุงเทพฯ ต่อคนเสื้อแดงว่าเป็นได้แค่ม็อบเติมเงิน ม็อบรับจ้าง จึงไม่น่าจะถูกต้อง เขาเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในการเข้าร่วมกิจกรรมการเมือง- สังคมมากกว่าคนกรุงเทพฯเสียอีก คนกรุงต่างหากที่เป็นผู้ไม่สนใจ ไม่ไปเลือกตั้ง ไม่เข้าร่วม ไม่รวมกลุ่มทำกิจกรรมรวมหมู่ พูดง่ายๆ คือ เป็นผู้เฉื่อยชาทางการเมืองและสังคมมากกว่าคนเหนือและคนอีสานที่ตนดูแคลน

2.ทำไมคนที่รวยกว่าเช่นคนกรุงจึง มีกิจกรรมรวมหมู่น้อยกว่า คนต่างจังหวัด ตอบแบบกำปั้นทุบดินได้ว่า เพราะคนกรุงมีความจำเป็นในการรวมกลุ่มน้อยกว่า กรุงเทพฯ ในฐานะศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่าง ของประเทศได้รับการประ คบประหงมจากรัฐมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสาธารณูปโภคทางกายภาพทุกแบบ การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ

ดังนั้น ไม่ว่าคนกรุงจะไปใช้สิทธิเลือก ตั้งต่ำแค่ไหน รัฐบาลไม่ว่าจะมาจากพรรคไหนก็ต้องเอาใจคนกรุงอยู่แล้ว คนกรุงจึงไม่เห็นว่าการเลือกตั้ง คือเครื่องมือทางการเมือง ที่เป็นประโยชน์ และมีประสิทธิผลในการแย่งชิงทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ของพื้นที่กรุงเทพฯ คงไม่ต้องแจกแจงในรายละเอียดว่า คนกรุงมีเครื่องมืออื่นที่ทรง อำนาจมากกว่าการเลือกตั้งมาก เช่น สื่อกระแสหลักทุกประเภท (และชนชั้นนำทุกแบบของสังคมก็เป็นคนกรุงด้วย)

ลองจิตนาการว่า คุณเป็นคนมุกดาหาร จังหวัดไกลปืนเที่ยง แล้วอยากได้ใคร่มีสาธารณูปโภค โรงเรียน หรือโรงพยาบาล คุณจะต้องทำอะไรบ้าง ง่ายที่สุดคือการเลือกตั้ง ส.ส. พรรค หรือ อบต.ที่คุณคิดว่าจะนำมาซึ่งสิ่งเหล่านี้ (อย่าลืมว่าทำไมสุพรรณบุรีจึงมีชื่อเล่นว่า บรรหารบุรี) หรือไม่คุณก็ต้องรวมกลุ่มกันแล้ว ไปต่อรอง เรียกร้องกับผู้มีอำนาจ-หน้าที่ นั้นๆ ในแง่นี้จึงไม่แปลกที่มุกดาหาร จะมีคะแนนการมีส่วนร่วมสูงที่ สุดในประเทศ

ไม่แปลกอีกเช่นกันที่คนกรุงเทพฯ คัดค้านข้อเรียกร้องยุบสภาของเสื้อ แดง จนกระทั่งยอมออกใบอนุญาตฆ่าให้ แก่รัฐบาลอภิสิทธิ์ (ชน) เพราะรู้ดีว่าไม่มีทางชนะในระบบเลือกตั้งที่คนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป มีคุณค่า-น้ำหนักทางการเมืองเท่า กัน เนื่องจากข้อเท็จจริงพื้นๆ ว่า คนกรุงมีจำนวนน้อยกว่าคนต่างจังหวัด ไม่แปลกเลยที่คนกรุงจำนวนมากจะเห็นด้วยกับ "การเมืองใหม่" แบบ 70/30 ของฝ่ายพันธมิตรฯ และผมจะไม่แปลกใจเลยหากมีตัวเลขยืนยันว่าคนกรุงเชื่อมั่นในระบบเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นขั้นต่ำ สุดของระบอบประชาธิปไตย น้อยกว่าคนอีสาน


ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2553

ที่มา: http://onopen.com/ap...sms_ss=facebook

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น