วันเสาร์, กรกฎาคม 31, 2553

Matichon Online: ไอเดีย "คิดใหม่ประเทศไทย" ของ "ดร.สมคิด" ก้าวข้ามวิกฤติ สลัดหลุมดำแห่งความขัดแย้ง

จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online


Matichon Online: ไอเดีย "คิดใหม่ประเทศไทย" ของ "ดร.สมคิด" ก้าวข้ามวิกฤติ สลัดหลุมดำแห่งความขัดแย้ง

วันที่ 31 กรกฎาคม มูลนิธิสัมมาชีพ ร่วมกับ เครือมติชนจัดโครงการอบรม "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" ระหว่างวันที่ 31 ก.ค. - 5 ก.ย. เพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับผู้นำรุ่นใหม่ในทุกภาคส่วนของสังคมที่มีความ ตั้งใจจริงและมีเป้าหมายชัดเจนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นใน สังคมไทย และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป ในการอบรมวันแรกมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมมากมายอาทิ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ,ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย, ดร.คณิศ แสงสุพรรณ, ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ และดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์


การอบรมในวันแรก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ "คิดใหม่ประเทศไทย" ว่าอยากบอกกับประเทศไทยว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดใหม่ก่อนที่จะสายเกินไป นิตยสาร"นิวส์วีค"กล่าวถึงความสำเร็จในอดีตของไทยว่าในอดีต เรากลายเป็นเสือแห่งเอชียที่หลายคนยกย่อง ไทยเสมือนแดนสวรรค์ในสายตาโลก แต่แล้วจากประเทศที่ทุกคนคิดว่าเป็นประเทศที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้กลายเป็น สังคมที่แตกแยกพร้อมที่จะปะทุขึ้นทุกขณะ


ความผิดพลาดที่มากที่สุดของประเทศไทยคือ ไม่เคยจริงจังกับการปฎิรูปไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่เลวร้ายหรือรุ่งโรจน์ เราไม่เคยคิดจะปฎิรูปการศึกษา อุตสาหกรรม และภาคเอกชนยังขาดความสามารถที่จะก้าวไปสู่ระดับโลก เรามีการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งแต่เราไม่รักษา ฟูมฟัก เรากลายเป็นสูญเสียทรัพยากรไป


ประเทศไทยขาดผู้นำเชิงรัฐบุรุษที่ พร้อมจะทำเพื่อสังคมส่วนรวม ไม่ใช่แค่เพื่อพรรคและบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่เพียงแค่นิตยสาร"นิวส์วีค" ที่มองเราแบบนี้แต่ทั่วโลกมองเราแบบนี้ทั้งนั้น


ปัญหาใหญ่ของชาติในวันนี้คือเราไม่สามารถก้าว ข้ามวิกฤติการความขัดแย้งซึ่งเหมือนหลุมดำที่ดูดความก้าวหน้าเข้าไปอยู่ใน วังวนเหล่านี้ ประเด็นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเราวนเวียนอยู่กับเรื่อง"ทักษิณ" การเมืองและกระบวนการของเราไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาสร้างบ้านเมือง แต่ถูกใช้เพื่อเอาชนะ ใช้บนพื้นฐานว่า"ถ้าเราไม่ชนะเขามาแน่" เสมือนหนึ่งประเทศไทยไม่มีปัญหาอื่นที่ต้องแก้ไขนอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ ประเทศไทยเราจมปลักอยู่กับที่ ประเทศอื่นเขาปรับตัวเข้ากับบริบทใหม่ของโลก ยิ่งนานวันเราก็ยิ่งอ่อนแอ


ลองหลับตานึกภาพถ้าเราไม่คิดเรื่องความขัดแย้ง ลองมองที่ประเทศไทยว่ามีปัญหาอะไรที่ท้าทายเรา รอการบริหารจัดการ ลองมองที่ภาคใต้มันสงบแล้วหรือ วันนี้แทบจะไม่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่าง 4 จังหวัดภาคใต้เลยได้แต่ดูจากข่าวที่โผล่มาทีละอย่างว่าตรงนั้นระเบิด งบประมาณหมดไปเท่าไหร่แล้ว คนตายไปเท่าไหร่แล้ว ความคิดที่จะไปฟื้นฟูเศรษฐกิจที่นั่น ฟื้นฟูความกลมเกลียวที่นั่นอยู่ที่ไหน ? ถ้าเป็นแบบนี้ใครจะมาเชื่อมั่นเรา นี่คือปัญหาที่รอการจัดการอย่างเป็นระบบและโปร่งใส


ลองมองไปที่การจัดการประเทศในเรื่องยุทธศาสตร์ เราไปทางไหน เป้าหมายคืออะไร การขับเคลื่อนเป็นอย่างไรบ้าง ลองดูที่มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่ฉลาด เขาประกาศจะขยับจากประเทศรายได้หลักกลางไปสู่รายได้ระดับสูง เขามีเป้าชัดเจน เขาลงทุนในการพัฒนาบุคคลากร เขารู้ว่าความกลมเกลียวในชาติเป็นสิ่งสำคัญ เขายกเลิกสิทธิของชนชาติมาเลย์ดั้งเดิมให้ลดลงมาอย่างเท่าเทียม


ผมเชื่อว่าเรามีภาระทางนโยบาย 2 ประการคือ การเปลี่ยนเข็มเป้า จากที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องเปลี่ยนไปสู่การยกระดับรายได้ความเท่าเทียมในชีวิตและลดความยากจน ตัวนี้มันก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม ยิ่งนานวันความเจริญก็ยิ่งถ่างออกไป


ในทางสังคมความไม่เท่าเทียม เราเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้ ในประเทศเรามีความต่างกันทางรายได้ประมาณ 14- 15 เท่า การเกลี่ยความยุติธรรมนั้นจำเป็น


ส่วนในทางการเมืองหากประชาชนที่ยากจนต้องหาเลี้ยงชีพ การเมืองจะดีก็จ่อเมื่อประชาชนแข็งแรง ฉะนั้นการยกระดับรายได้และเกลี่ยความยุติธรรมคือสิ่งแรกที่ต้องทำ


การปฎิรูปการเกษตรไม่ใช่ว่าเราไม่มีแผน แต่เราไม่ขับเคลื่อนอย่างมีพลัง ผมสนับสนุนแนวทางท่านประเวศที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม เรารู้ว่าการแก้ไขปัญหาเกษตรกรรายบุคคลแก้ปัญหาไม่ได้ การรวมกลุ่มและสหกรณ์คือหัวใจ โจทย์คือ ทำอย่างไรที่จะยกระดับผู้นำชุมชนทั่วประเทศให้มีความเข้มแข็งทางปัญญา โครงการอะไรต้องทำ โลกเปลี่ยนแปลงอย่างไร บทบาทของการปฎิรูปจากรากหญ้าสำคัญมาก


การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสังคมสำคัญมาก ต้องไม่ใช่การแจกเงินและไม่ใช่กู้มาแจก ทำอย่างไรให้มีการแบ่งและกระจายอำนาจซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการ 76 จังหวัดต้องให้เขามียุทธศาสตร์ร่วมกัน จังหวัดที่มีศักยภาพสามารถให้เป็นซุปเปอร์ซิตี้ได้ ยุทธศาสตร์ของส่วนกลางมันก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ตอนนี้ไม่มีใครคิดแบบนี้ กลายเป็นว่าเราเอาขนมเค้กที่หายากมากไปแบ่งกัน


ประการที่สองคือ การเปลี่ยนโครงสร้างเป็นการขับเคลื่อนด้วยวิทนาการไม่ใช่จินตนาการ สิ่งที่มาเลย์ผลิตได้ไม่ใช่แค่ความรู้พื้นฐาน ไทยเราต้องเปลี่ยนความคิดว่าเราเป็นศูนย์กลางการผลิต แต่ต้องเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางความคิดให้มากขึ้น ซึ่งการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เรื่องของครู ไอที หลักสูตร นักการศึกษารู้ปัญหาดีอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่าคุณจะเคาะขับเคลื่อนอย่างไร


เรื่องของเทคโนโลยีคือหัวใจของอนาคตข้างหน้า ของอย่างนี้ไม่ใช่แค่ว่ามีแล้วจบ มันต้องมียุทธศาสตร์ ดูอย่างสิงค์โปร์ เขามีโครงการเอยนต์ซี่รีเสิด จุดคือพัฒนาทุนสามตัว คือมนุษย์ ปัญญาหรืองานวิจัย และทุนอุตสาหกรรม ดึงเอกชนมาร่วม ทุนมนุษย์ต้องสร้างบุคคลากร ทุนปัญญาเขาเอาเงินผลิตงานวิจัย ทุนอุตสาหกรรมเขาเอาเงินกระตุ้นให้เอกชนเข้ามาลงทุนเชิงพาณิชย์ เขารู้ว่านวัตกรรมเหมือนไข่กบมีเป็นร้อยแต่มีไม่มีฟองจะออกเป็นตัวได้ สิ่งเหล่านี้เขาทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เมืองไทยทำอย่างเขาได้หรือไม่


นี่คือตัวอย่างของทิศทาง ถ้าเราคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้อง ชัดเจนแล้ว เราก็ต้องมาดูว่าจุดแข็งของเรามีสิ่งเหล่านี้หรือไม่ นั่นคือภารกิจที่สามที่จะตามมา ความสามารถเชิงนวัตกรรมของเราอยู่อันดับที่ 59 เวียดนามอยู่ที่ 33 งบประมาณและการคลังต้องบริหารจัดการให้ดีๆ มันไม่เกี่ยวว่าจะกระทบตอนนี้หรือตอนไหน แต่มันอยู่ที่"อนาคต" อนาคตข้างหน้ามันขึ้นอยู่ที่วันนี้


สำหรับต่างประเทศ ทุกประเทศต่างปรับตัวทั้งนั้น อเมริกาวันนี้มองกลับมาถ้าปล่อยให้จีนใหญ่ต้องยุ่งแน่ ก็เข้ามาสัมพันธ์กับอาเซียน อินเดียก็ไม่ยอมให้จีนใหญ่ก็เข้ามาสัมพันธ์กับอาเซียน ไทยอยู่ตรงไหน? เราต้องเดินความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ ผมมองว่าวันหนึ่งข้างหน้าข้าวของเราจะมีปัญหาในWTO ส่วนเขาพระวิหารก็มีปัญหาเราต้องเร่งสร้างความสัมพันธ์เชิงลึก เราไม่ใช่มหาอำนาจ พลังของเราอยู่ที่ประเทศเหล่านี้จะช่วยหรือไม่


ตอนนี้เรากำลังรอการบริหารจัดการอยู่ เราวนเวียนอยู่กับการจัดการตัวบุคคล ยิ่งนานยิ่งวนเวียนน เราเสียเวลาไปมากแล้ว บราซิลใช้เวลา 7 ปีเป็นมหาอำนาจ แต่อาร์เจนตินาทุกวันนี้ยังเบี้ยวหนี้อยู่เลย เพราะเป็นชาติที่ไม่เคยมีฟอร์ม และทำตัวเป็นเด็กดีที่แกล้งโง่เดินตามตะวันตก ทำตามเรตติ้งฝรั่ง กู้มาแล้วก็มาโกง การเมืองไม่สนใจเรื่องความโปร่งใส กู้มาเรื่อยๆแล้วไม่ทำประโยชน์ดอกเบี้ยก็บาน พัฒนาไม่ถูกจุดก็ไม่เกิดรายได้ ดอกเบี้ยก็ถมไปเรื่อยๆ จนตอนนี้กลายเป็นบราซิลเป็นยักษ์ใหญ่ของโลก คุณมีทางให้เลือกจะเป็นมีความคิดอ่านในโลกมีศักดิ์ศรี หรือจะเป็นหนี้


"มีคนบอกว่ายุคนี้ต้องเลือกข้าง ผมว่าอันนั้นเป็นการขุดหลุมฝังประเทศ ถ้าคุณนำประโยชน์ของชาติมาไว้ก่อน ไม่ใช่แค่ประโยชน์ของความขัดแย้งแค่นี้ทำไมจะก้าวข้ามไปไม่ได้ ทำไมมันแก้ไม่ได้ ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องคิดใหม่แล้ว"


การบรรยายของผมขอจบด้วยคำกล่าวของเนล สัน แมนเดล่า ที่กล่าวว่า"ชีวิตของผมต่อสู้เพื่อประชาชนแอฟริกาใต้ ต่อสู่กับชนชั้นปกครองผิวขาวและผิวดำที่แบ่งแยก ผมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่คนทุกคนอยู่ร่วมกันเพื่อประเทศ ผมอยู่เพื่อเห็นวันนั้น ถ้าต้องตายเพื่อที่จะได้เห็นวันนั้น ผมก็ยอม"


Ref: มติชนออนไลน์
วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:17:15 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น