วันอังคาร, กรกฎาคม 20, 2553

Can Thailand's state of emergency lead to ‘reconciliation'?

Can Thailand's state of emergency lead to ‘reconciliation'?


AFTER BLOODY clashes between the Thai army and opposition demonstrators killed some 90 people in the center of Bangkok in May, the unelected government of Prime Minister Abhisit Vejjajiva promised to launch what he called a "national reconciliation plan." Since then authorities have arrested hundreds of opposition leaders; closed media; frozen the bank accounts of suspected supporters of the Bangkok demonstrations and brought terrorism charges against the movement's exiled leader, Thaksin Shinawatra.

On July 6, Mr. Abhisit renewed a state of emergency in Bangkok and 18 other provinces, allowing his regime to arrest and hold people without charge, censor the media and prevent public gatherings. Meanwhile, he has announced that the parliamentary elections he had offered to hold in November will be postponed until next year. If this is what he calls "national reconciliation," Mr. Abhisit, a graduate of Eton and Oxford, must have taken a lesson in Orwellian language.

In fact Thailand's government is carrying out something close to the opposite of a policy that might heal the country's deep polarization. It is trying to crush the "red shirt" movement that still supports Mr. Thaksin, a former prime minister whose ouster in a 2006 military coup has plunged a once-promising democracy into endless turmoil. In the process, Mr. Abhisit is raising the chances that the opposition will go underground and turn violent. That would ensure that Thailand loses the foreign tourists and investors on which it depends -- not to mention the support of Western democracies.


Mr. Thaksin and the red shirts have contributed to Thailand's impasse by blockading the center of Bangkok for two months last spring and for refusing the compromise Mr. Abhisit offered before the violence began and the army moved in. But the root cause of the troubles is the refusal of the traditional political class, the military and the royal court, which Mr. Abhisit's government represents, to accept the results of democratic elections.

Repression will not solve this problem. If Mr. Abhisit really wants reconciliation, the steps he must take are clear: End the state of emergency, release the red shirt leaders and negotiate leading to elections, with a commitment by all sides to allow the winners to rule within the boundaries of a reformed constitution.


Ref: washingtonpost
Thursday, July 15, 2010
-------------------------------------------------------

จาก อัลบั้มไทยรัฐออนไลน์

วอชิงตันโพสต์ ไม่เชื่อ'มาร์ค' ตีข่าวตรงข้าม

ส.ส.เพื่อไทย "อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" หยันนายกฯ แจงปลัดต่างประเทศสหรัฐฯ พร้อมเลือกตั้งใหม่ปลายปีหากแผนปรองดองเดินหน้า ดูเหมือนน่าเชื่อถือ แต่อ้างสื่อต่างชาติ "วอชิงตันโพสต์" กลับเสนอบทบรรณาธิการตรงกันข้าม...


เมื่อ เวลา 10.00 น. วันที่ 17 ก.ค. ที่พรรคเพื่อไทย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย แถลงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงกับนายวิลเลียม เจ เบิร์นส ปลัดกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ระบุหากแผนปรองดองเดินหน้าไปได้ ในช่วงปลายปีนี้ก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ ว่า สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงนั้นดูเหมือนน่าเชื่อถือ แต่ปรากฏว่าบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำวันที่ 15 ก.ค. เสนอบทบรรณาธิการในหัวข้อ "ไทยจะสามารถใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นำไปสู่ความปรองดองได้หรือ"


สาระของเนื้อหาระบุว่า หลังจากเหตุการณ์ปะทะและสลายชุมนุม มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน แต่รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง กลับตามกวาดล้างผู้ที่ต่อต้านรัฐบาล มีการปิดสื่อและห้ามทำธุรกรรมทางการเงินของผู้ที่ต้องสงสัยว่าให้การสนับ สนุนผู้ประท้วง นอกจากนั้น รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ยังต่ออายุการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่ประกาศแผนปรองดองภายในชาติ แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลไทย กระทำตรงกันข้ามกับนโยบายที่กล่าวมา ซึ่งการปราบปรามไม่ใช่การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และหากรัฐบาลยังไม่ยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และปล่อยแกนนำเสื้อแดง เพื่อเจรจานำไปสู่การเลือกตั้ง


น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่า แนวคิดจากบทบรรณาธิการของสื่อต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้อ่านทั่วโลก สะท้อนปัญหาของไทยให้คนทั่วโลก เห็นถึงความไม่จริงใจในการแก้ปัญหาของประเทศ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไข อย่าใช้เพียงคำพูดให้ดูสวยหรู เป็นเครื่องมือในการหาทางออก แต่ลับหลังกลับกลับใช้อำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดหูปิดตาประชาชนที่ไม่เห็นด้วย เหมือนที่สื่อไทยและต่างประเทศกำลังวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ ดังนั้นทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ รัฐบาลต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยเร็วที่สุด.


ที่มาข่าว: ไทยรัฐออนไลน์

* โดย ทีมข่าวการเมือง
* 17 กรกฎาคม 2553, 14:53 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น