000
4. ถนนสู่การปฏิวัติ 2549
เพื่อเป็นการตอบโต้การยืนยันการคุมอำนาจของพรรคไทยรักไทยเหนือระบบการ เมืองของประเทศ กลุ่มก้อนต่างๆ ในกลุ่มอำนาจเก่าของไทยได้ออกมาตรการหลากหลายเพื่อกู้บทบาทของตนคืนมาก่อน ที่มันจะสายเกินไป พวกเขาให้การสนับสนุนการชุมนุมประท้วงที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศสับ สนอลหม่านที่จะสร้างความชอบธรรมในการนำการปกครองโดยทหารกลับมาในประเทศอีก ครั้ง พวกเขายังบ่มสร้างข้อกล่าวหาเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาใช้ เมื่อยุทธศาสตร์เหล่านี้ล้มเหลวพวกเขาก็อาศัยวิธีการเดิมๆ อย่างการรัฐประหาร
แผนการที่จะขับไล่ทักษิณและพรรคไทยรักไทยเริ่มต้นมาตั้งแต่หลังการเลือก ตั้งทั่วไปในปี 2548 หนึ่งในแกนนำคนสำคัญที่ต่อต้านทักษิณคือสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าพ่อธุรกิจสื่อผู้ล้มเหลวซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของ ทักษิณ สนธิกล่าวหาว่ารัฐบาลทักษิณนั้นเป็นเผด็จการและมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด อย่างเป็นระบบ สนธิให้เหตุผลสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ทักษิณลาออกว่าเพราะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคุ้มครองพระมหากษัตริย์จากแผนการลับของทักษิณที่ ต้องการให้ประเทศปกครองด้วยระบบประธานาธิบดี
ในกฎหมายและสังคมไทย พระมหากษัตริย์เป็นดั่งสมมติเทพ และได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงสุดจากประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดบัญญัติไว้ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ” การไม่แสดงความเคารพนับถือพระมหากษัตริย์โดยทางอ้อมนั้นอาจจะถูกดำเนินคดี ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปีสำหรับแต่ละกรรมได้
ที่ร้ายไปกว่านั้น ข้อกล่าวหาที่ว่านายรัฐมนตรีนั้นเป็นภัยใกล้ตัวต่อเกียรติยศของสถาบัน กษัตริย์ หรือตัวองค์พระมหากษัตริย์เอง นั้นดูคล้ายจะเป็นข้ออ้างที่นำไปสู่การกำจัดและเนรเทศอดีตนายกรัฐมนตรีที่มี ชื่อเสียงหลายคนมาแล้ว ข้อกล่าวหาผิดๆ ว่าลอบปลงพระชนม์และเหยียดหยามพระมหากษัตริย์นั้นเป็นฐานของการทำลายชื่อ เสียงและการที่ต้องลี้ภัยอยู่ต่างประเทศอย่างถาวะของนายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในแกนนำของการปฏิวัติในปี 2475 และเป็นวีรบุรุษของขบวนการใต้ดินเสรีไทยที่ต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ครั้งที่สอง พลตำรวจเอกเผ่า สียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ถูกโค่นจากอำนาจและเนรเทศออกจากประเทศโดยหนึ่งในสมาชิกสามทรราชย์ในยุค เผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยข้อหาที่ว่าพวกเขาเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของสถาบันฯ ในปี 2534 ก็มีข้อกล่าวหาคล้ายๆ กันต่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ว่าพลเอกชาติชายได้พยายามที่จะสร้าง “เผด็จการรัฐสภา” อย่างถาวร อันเป็นสิ่งอันตรายยิ่งที่ทำให้นายพลต่างๆ ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ต้องก่อการรัฐประหาร ในประเทศไทยข้อกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อระบอบ กษัตริย์เป็นเรื่องที่มักจะถูกนำมาใช้ในการพยายามทำลายชื่อเสียง กักขัง เนรเทศ และสังหาร ผู้ที่มีแนวคิดทางการเมืองที่เป็นภัยคุกคามต่ออำนาจที่ถือมั่นอยู่
ครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างน้อยตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์เมื่อปี 2500 ข้อกล่าวหาว่าด้วยการเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์นั้นมักถูกใช้เป็นข้ออ้างให้ ความชอบธรรมแก่การทำการรัฐประหารโดยทหาร และการปกครองประเทศโดยทหารเป็นเวลานาน นี่เป็นฐานของการ “ปฏิวัติ” ปี 2501 ของจอมพลสฤษดิ์ การรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อปีพ.ศ. 2514 เหตุการณ์การสังหารอยู่ของเผด็จการในปี 2516 และการขับไล่พลเอกชาติชายให้ออกจากตำแห่งเมื่อปี 2534 ตั้งแต่การเข้ามามีอำนาจในปีพ.ศ. 2500 หรือ 25 ปีหลังจากที่ระบบการปกครองโดยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สิ้นสุดลง จอมพลสฤษดิ์เป็นเผด็จการทหารคนแรกที่อ้างเหตุผลส่วนตนบนฐานของความชอบธรรม ทางการเมืองในความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ และบนการอุทิศตนให้แก่การฟื้นเกียรติ การไม่อาจละเมิดได้ และความเคารพศรัทธาของสาธารณะต่อสถาบันฯ อีกด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มอำมาตย์ได้เปลี่ยนรูปความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ทั้งจาก ภัยคุกคามที่เป็นจริงและที่เป็นจินตนาการไปสู่ข้อโต้แย้งที่ไม่สามารถเถียง ได้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ความชอบธรรมแก่การใช้อำนาจที่ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญ ใดให้ไว้ เพื่อเป้าหมายที่แทบไม่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสถาบันจริงๆ เลย หลังจากนั้นเป็นต้นมา ใครก็ตามที่ปฏิเสธอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของกลุ่มอำมาตย์ก็ถูกตีตราเป็นสัตว์ ร้ายและป้ายสีว่าเป็นศัตรูของสถาบันกษัตริย์
ในเดือนเมษายน 2548 หลังจากได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ทักษิณเป็นประธานในพิธีทำบุญที่จัดขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งปกติแล้วจะเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นองค์ประธาน (แต่ไม่ได้จำกัดไว้ว่าต้องเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น) เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความกราดเกรี้ยวในประเทศไทย ถึงแม้ทักษิณจะไม่ได้ถูกกล่าวหาอย่างเป็นทางการ แต่เรื่องนี้ก็ช่วยให้พวกกลุ่มอำนาจเก่าได้เสนอว่าตนเป็นผู้ทักษ์พระมหา กษัตริย์ขึ้นอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม หตุการณ์ที่กระตุ้นการต่อต้านทักษิณและพรรคไทยรักไทยมากที่สุดคือการขายหุ้น บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 3 มกราคม 2549 ก่อนหน้านั้นทักษิณได้โอนหุ้นในบริษัทชินคอร์ปของเขาไปแล้วก่อนจะเข้า มาเล่นการเมืองตามที่กำหนดไว้โดยกฎหมาย โดยการโอนการถือหุ้นของตนไปให้ลูกคนโตสองคน เพื่อเป็นการตอบกับข้อกล่าวหา เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ครอบครัวของทักษิณตัดสินใจขายหุ้น 49.6 เปอร์เซ็นต์ในบริษัทให้แก่กองทุนเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของสิงคโปร์ หลังจากการขายหุ้น ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณร้องเรียนว่าทักษิณได้ขายสมบัติสำคัญของชาติให้ แก่ต่างชาติ และยังมีข้อกล่าวหาด้วยว่าลูกๆ ของเขานั้นใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมายภาษีของไทยโดยการขายหุ้นผ่านทาง บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อจะได้ไม่ต้องเสีย ภาษี ข้อกล่าวหาว่า “ขายชาติ” และหลบเลี่ยงภาษีกลายมาเป็นเหตุแห่งสงครามที่ฝ่ายตรงข้ามหยิบยกมาใช้
ช่วงเวลาที่ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปนั้นบังเอิญตรงกับช่วงที่สอดรับกับเป้า หมายของฝายตรงข้าม นั่นคือเกิดขึ้นก่อนการเดินขบวนต่อต้านทักษิณที่มีการกำหนดไว้ในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2549 ณ ท้องสนามหลวง ประเด็นนี้ทำให้กลุ่มผู้จัดการประท้วงได้พลังสนับสนุน เป้าหมาย และพลังงานสำหรับการประท้วง ที่สำคัญกว่านั้นคือ มันทำให้ฝ่ายที่ต่อต้านทักษิณทั้งปัญญาชน นักพัฒนาองค์กรเอกชน นักธุรกิจชั้นนำ ชนชั้นกลางระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ นักเคลื่อนไหวพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สนับสนุนนักระดมมวลชนอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตที่ปรึกษาของทักษิณ เริ่มก่อตัวชัดขึ้นในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งจัดตั้งขึ้นไม่ กี่วันหลังจากนั้น ผู้ประท้วงกว่าห้าหมื่นคนนำโดยสนธิและจำลองเรียกร้องให้ ทักษิณลาออกในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2549 สนธิ ลิ้มทองกุล ได้ถวายฎีกาผ่านทางองคมนตรีพลเอกเปรม ติณสูนานนท์ ให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านทางมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ในการถอดถอนทักษิณและแต่งตั้งนากยกรัฐมนตรีขึ้นมาใหม่ [27] วิธีการของสนธิซึ่งตั้งอยู่บนการอ่านรัฐธรรมนูญที่ค่อนข้างจะน่าสงสัยนั้น ได้เลี่ยงวิธีการตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่ให้มีการเลือกตั้งรัฐสภาเพื่อ ให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่
ทักษิณตอบโต้การประท้วงที่ขยายตัวขึ้นด้วยการประกาศยุบสภาไม่นานหลังการ เดินขบวนประท้วงที่สนามหลวง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549 พรรคการเมืองฝ่ายค้านหลักๆ ทั้งหมดคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างง่ายดายตามอย่างที่คาดการณ์ และได้ที่นั่งในสภามากกว่าร้อยละ 90 ฝ่ายค้านออกมาบอกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านไปมีความผิดปกติในทันที ในหลายเขตของกรุงเทพฯ และในภาคใต้ของประเทศ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเสียงที่น้อยกว่าเสียง “ไม่ลงคะแนน” ในบางพื้นที่ภาคใต้ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยที่ลงสมัครโดยไม่มีคู่แข่งสอบตกการเลือกตั้งเนื่องจาก ได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามที่กำหนดไว้ ทำให้ผลกรเลือกตั้งในพื้นที่นั้นเป็นโมฆะ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเรียกร้องให้การ เลือกตั้งเป็นโมฆะทั้งหมด พธม. กล่าวโทษคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ลงคะแนนเสียง และกล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยทุจริตการเลือกตั้ง [28] สองวันหลังจากการเลือกตั้ง ทักษิณประกาศลาออกและดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี
ในวันที่ 26 เมษายน 2549 พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวฯ มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยได้ตรัสต่อศาลปกครองโดยตรงว่า
ให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะหรือเป็นอะไร ซึ่งท่านจะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควร ที่ไม่ควร ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดูมันเป็นไปไม่ได้ คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียว คนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป แต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่า ท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไป ดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ [29]
ไม่นานหลังจากนั้น ศาลปกครองยกเลิกการเลือกตั้งใหม่ที่กำหนดเป็นการเลือกตั้งซ่อมในเขตที่มีผล การเลือกตังค์แบบตัดสินไม่ได้ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาว่าการเลือกตั้งในเดือนเมษายนเป็นโมฆะทั้งหมดและ ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคม ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญได้เรียกร้องต่อสาธารณะให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ลาออก เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิเสธที่จะลาออก ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกพวกเขา 4 ปี ในข้อหาผิดวินัยร้ายแรง ทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งและต้องออกจากตำแหน่ง [30]
หลังจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับการเลือกตั้งในเดือนเมษายน ศูนย์กลางของผู้ที่ต่อต้านทักษิณได้ย้ายจากกลุ่มพธม. ไปสู่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีผู้ทรงอำนาจ พลเอกเปรมเกิดเมื่อปีพ.ศ. 2463 เขาเป็นบุคคลที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย จุดเริ่มต้นของการก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งที่มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างไม่อาจ เปรียบได้ของเขาสามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี 2484 ในขณะที่ยังเป็นทหารสังกัดเหล่าทหารม้า เปรมได้ร่วมรบต่อต้านสัมพันธมิตรเคียงข้างกองทัพญี่ปุ่นภายใต้อนาคตจอมเผด็จ การสฤษดิ์ ธนะรัชต์
[31]
การ ขึ้นมามีอำนาจของเปรมในเวลาต่อมานั้นเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสฤษดิ์ ซึ่งเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่าเขาเป็นคนที่โหดร้ายและเป็นนายทหารที่ ทุจริตที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย จอมพลสฤษดิ์เลื่อนยศให้เปรมให้ขึ้นเป็นพันเอก และแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ควบคุมโดยทหารในปี 2502 เปรมยังมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดจอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้นำทหารที่ชื่อเสียงชั่วร้ายผู้เลื่อนยศให้เขาเป็นพลตรีในปี 2514 และเขายังเป็นเพื่อนสนิทกับพลตรีสุดสาย หัสดิน ผู้นำกองกำลังกระทิงแดงที่เป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการสังหารหมู่ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2519 อีกด้วย
ในเดือนกันยายน ปี 2521 เปรมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (2520-2522) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก ไม่นานหลังจากนั้นในเดือนมีนาคม 2522 สภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าเปรมจะไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเลย แต่ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงระหว่างปี 2522-2531 ซึ่งในช่วงเวลานั้นเขารอดพ้นจากความพยายามที่จะก่อการรัฐประหารโดยทหารถึง สองครั้ง (คือในปี 2524 และ 2528) และได้รับการรับรองในสภาฯ ถึงสองครั้งหลังการเลือกตั้งในปี 2526 และ 2528 บางทีจุดสูงสุดของอำนาจของเปรมคือหลังจากที่เขาลาออกจากการเป็นนายก รัฐมนตรีเมื่อเขาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี และเป็นประธานองคมนตรีตั้งแต่ปี 2541 กว่า 70 ปีในหน้าที่การงาน เปรมสร้างเครือข่ายอิทธิพลและอำนาจแผ่ขยายลึกสู่ทหาร ข้าราชการ และตุลาการ รวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศไทย นอกจากนั้นพลเอกเปรมยังเป็นประธานกรรมการของธนาคารกรุงเทพ และดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของกลุ่มบริษัทซีพีซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับ สนุนหลักของพรรคประชาธิปัตย์จนกระทั่งไม่นานมานี้
หลังจากที่ศาลมีคำตัดสินว่าผลของการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายนเป็นโมฆะ พลเอกเปรมได้กล่าวบรรยายเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของทักษิณหลายครั้ง [32] ด้วยสถานะและอำนาจของพลเอกเปรม การรณรงค์ต่อสาธารณะของเขาส่อให้เห็นถึงการขจัดทักษิณออกจากอำนาจ มีการแข่ง ขันกันควบคุมกองทัพและรัฐ และมีรายงานสาธารณะถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการรัฐประหารปรากฏขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ในการกล่าวกับข้าราชการกลุ่มหนึ่ง ทักษิณได้อ้างอิงถึงพลเอกเปรม และกล่าว่าตนปฏิเสธความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่โดย “ผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญ” และการไม่ “เคารพหลักนิติธรรม” เพื่อบั่นทอนรัฐบาล นักวิจารณ์สังคมที่มีชื่อเสียงต่างๆ กล่าวหาทักษิณโดยทันทีว่าล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ [33] พลเอกเปรมพร้อมด้วยองคมนตรีและพลเอกสุรยุทธ์ จุลนานนท์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ได้ปรึกษากับนายทหารผู้ใหญ่หลายคนและเดินทางเข้าเยี่ยมหน่วยทหารต่างๆ ในวัน ที่ 14 กรกฎาคม เขาได้กล่าวเตือนบรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายว่าความจงรักภักดีนั้นไม่ควรมีให้ กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องมีต่อพระมหากษัตริย์ [34]
โพลสำรวจความคิดเห็นหลายโพลที่ทำในช่วงก่อนจะมีการเลือกตั้งในเดือน ตุลาคมชี้ว่าทักษิณจะชนะการเลือกตั้งอีกครั้งโดยเสียงส่วนมาก เหตุการณ์ตึง เครียดสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อมีรถยนต์บรรจุระเบิดหนัก 70 กิโลกรัมถูกพบไม่ไกลไปจากที่พักของทักษิณ เจ้าหน้าที่ทหาร 5 นายถูกจับแต่ก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาในไม่ช้าเพราะขาดพยานหลักฐาน ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทักษิณรีบออกมาให้ข่าวว่าคาร์บอมบ์นี้เป็นฝีมือ ของรัฐบาลเองที่มีเป้าหมายเพื่อทำลายชื่อเสียงของฝ่ายตรงข้ามและเพื่อระดม การสนับสนุนรัฐบาล
000
5. การฟื้นฟูระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างผิดกฎหมาย
การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (เมื่อปี 2549 อภิสิทธิ์เป็นผู้นำพรรคระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ซึ่งมีนั่งน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่นั่งในสภาทั้งหมด) มีช่องทางเดียวคือการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และการล้มล้างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยซึ่งประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2540 หลังจากรัฐประหาร รัฐบาลทหารดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อทำลายล้าง “ระบอบ” ทักษิณ กระบวนการทำลายล้างนั้นรวมความถึงการยุบพรรคไทยรักไทยผ่านการบังคับใช้ กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ย้อนหลัง การตัดสิทธิเลือกตั้งของนักการเมืองที่โดดเด่น การกำหนดโทษในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการฟ้องร้องทักษิณ ชินวัตรเป็นคดีอาญาจำนวนมาก แต่แม้จะใช้มาตรการเหล่านี้แล้ว ก็ยังไม่สามารถขัดขวางประชาชนจากการลงคะแนนให้กับพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทย รักไทยในการเลือกตั้งปลายปี 2547 ที่สำคัญไปกว่านั้น ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของคนรากหญ้ายังได้ถือกำเนิดขึ้น เนื่องจากการทำลายเจตจำนงของประชาชนซ้ำๆ ทำลายสถาบันตัวแทนของประเทศไทย รวมถึงการปราบปรามทางการเมืองที่เปิดฉากโดยการรัฐประหารปี 2549 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยนี้ค่อยๆ เข้มข้นขึ้นเป็นผลมาจากการที่ฝ่ายอำมาตย์คว่ำผลการเลือกตั้งในปี 2550 ส่งผลให้อภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปลายปี 2551
5.1 การยึดอำนาจโดยทหาร
หลังทศวรรษแห่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งที่เป็น อิสระและเปิดเผย 3 ครั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก็ถูกยึดครองโดยการใช้กำลังทหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ขณะที่ทักษิณเข้าร่วมการประชุมทั่วไปขององค์การสหประชาชาติในกรุงนิวยอร์ก ทหารเข้ายึดครองเมืองหลวง การรัฐประหารนำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก โดยได้รับความร่วมมือของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการกองทัพเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐบาลทหารมีชื่อว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเหลือเพียง “คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย” (คปค.) เพื่อป้องกันการ “เข้าใจผิด” เกี่ยวกับ “บทบาทของสถาบันกษัตริย์” [35]
เหตุผลที่ใช้กล่าวอ้างในการทำรัฐประหารนั้น คปค. ประกาศว่า (1) รัฐบาลทักษิณนำไปสู่ “ปัญหาความแตกแยกและบ่อนเซาะความสามัคคีในหมู่คนไทย (2) คนไทยส่วนใหญ่มีข้อกังขาต่อรัฐบาลทักษิณว่ามี “สัญญาณของการคอร์รัปชั่นและทุจริตอย่างรุนแรง และ (3) องค์กรอิสระถูก “แทรกแซง” ซึ่งนำไปสู่ “ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการกับพฤติกรรมทางการเมือง [36] คปค.ระบุว่า แม้จะมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะ “ประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ยังไม่สามารถที่จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้” ดังนั้นพลเอกสนธิจึง “มีความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน” [37]
แม้ว่าพลเอกสนธิ จะให้คำมั่นต่อสาธารณะในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ว่า “กองทัพจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง” เพราะ “การรัฐประหารโดยทหารนั้นเป็นเรื่องในอดีต” [38] แต่ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตรได้ยอมรับในเวลาต่อมาว่าการรัฐประหารนั้นถูกเตรียมการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ [39] พลเอกสนธิซึ่งทำหน้าที่อย่างเต็มประสิทธิภาพในฐานะหัวหน้า คปค. [40] ควบคุมรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จและรวดเร็ว และวางรากฐานสำหรับการฟื้นฟูบทบาททางการเมืองของกองทัพในระยะยาวและและหาทางสืบทอดอำนาจในอนาคต
พลเอกสนธิประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศไทย [41] โดยหวังควบคุมการเคลื่อนไหวของกองทัพและตำรวจอย่างเต็มที่ [42] เขายกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ยกเลิกวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ เขาทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในนามของหัวหน้า คปค. (ทั้งโดยผ่านตัวเขาเอง) หรือผ่านผู้ที่เขาแต่งตั้ง [43] พร้อมทั้งทำหน้าที่ในส่วนที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งในระดับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา [44] ยิ่งไปกว่านั้น เขาประกาศว่า ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอัตถคดี “ตามบทกฎหมายและตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข” [45] ที่น่าสังเกตคือ พลเอกสนธิประกาศว่าองคมนตรี “คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป” [46]
คปค.กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมกระบวนการทางการเมืองทั้งหมดของประเทศทันที พลเอกสนธิประกาศว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม 2549 จะถูกเลื่อนไปอีก 1 ปี [47] แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการเลือกตั้งใดๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้นเป็นไปตามที่ คปค.กำหนดเท่านั้น
คณะกรรมการการเลือกซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เพื่อจัดการปัญหาการซื้อเสียงที่มีมาอย่างยาวนานนั้นมีหน้าที่จัดการและวาง ระเบียบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก รวมถึงมีหน้าที่ในการไต่สวนการทุจริตเลือกตั้ง ความเป็นอิสระของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหลักประกันอยู่ที่การกำหนดวาระการ ดำรงตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้งวาระละ 7 ปี และห้ามดำรงตำแหน่งซ้ำหลังจากหมดวาระ [48] หลังการรัฐประหาร พลเอกสนธิแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเพิ่งได้รับคัดเลือกจากวุฒิสภา และเพื่อให้แน่ใจว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นเป็นไปโดย “กระบวนการและการจัดการที่เป็นธรรมและเป็นกลาง” [49] พลเอกสนธิให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่สามารถเพิกถอนสิทธิเลือก ตั้งของผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งหากเชื่อได้ว่าบุคคลผู้นั้นได้กระทำการ ทุจริตหรือละเมิดกฎหมายในการเลือกตั้ง [50]
คปค. ยังประกาศห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และ/หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท [51] ทั้งห้ามพรรคการเมืองจัดการประชุมหรือดำเนินกิจกรรมอื่นใดทางการเมือง และระงับการจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมือง [52] ที่สำคัญที่สุดอาจได้แก่การที่ คปค.เขียนกฎหมายตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบพรรคในการมี ส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี แม้ว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหานั้นจะได้กระทำลงก่อนการรัฐประหารก็ตาม [53]
5.2 ระเบียบรัฐธรรมนูญใหม่
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของคณะรัฐบาลทหาร เริ่มใช้ธรรมนูญชั่วคราว [54] และแต่งตั้งสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและองคมนตรี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราวนั้นได้ฟื้นฟูรูปแบบของการแก้รัฐธรรมนูญที่ยอม รับผู้นำการรัฐประหารโดยทำให้การยึดอำนาจโดยทหารเป็นสิ่งที่โดยชอบด้วย กฎหมาย ตัวอย่างเช่น ธรรมนูญชั่วคราวถือว่าประกาศหรือคำสั่งของ คมช.ที่ประกาศใช้หลังการรัฐประหารมี “ความชอบธรรมและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ” [55] ธรรมนูญชั่วคราวยังกำหนดให้ผู้นำ คมช. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง “ไม่ต้องถูกลงโทษจากความรับผิดและการลงโทษใดๆ” แม้จะพบในภายหลังว่าในการยึดอำนาจนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก็ตาม [56]
ธรรมนูญชั่วคราวกำหนดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งสมาชิกมาจากการแต่ง ตั้งโดย คมช. เพื่อทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเดิม โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการออกกฎหมายทั้งหมด [57]
ธรรมนูญชั่วคราวยังกำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ เริ่มจากการตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้นโดยมีสมาชิกสมัชชาจำนวน 2,000 คนซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ หัวหน้าคมช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาฯ โดยหัวหน้าคมช. นั้นเองเป็นผู้จัดเตรียมรายชื่อและควบคุมการเสนอชื่อบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง สมาชิกสมัชชาฯ [58]จาก นั้นสมัชชาแห่งชาติให้ความเห็นชอบรายชื่อที่ถูกคัดเหลือ 200 คนเป็นผู้ชิงตำแหน่งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ [59] รายชื่อนั้นถูกนำเสนอต่อ คมช. ซึ่งจะทำการตัดลงให้เหลือ 100 คนเพื่อทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการโดยคมช. [60] คมช. คัดสมาชิกจากจำนวน 100 คนเหลือ 25 คน จากนั้นแต่งตั้ง “ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย” อีก 10 คน ที่สุดแล้วจะได้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คน โดยกระบวนการเช่นนี้ คมช. สามารถใช้อำนาจควบคุมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยตรง [61]
ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญกำลังจะเสร็จสมบูรณ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เริ่มโหมประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าร่างรัฐธรรมนูญ นั้นจะผ่านการลงประชามติ สสร.ใช้งบประมาณราว 30 ล้านบาทเพื่อการรณรงค์ซึ่งรวมถึงการรณรงค์ผ่านสถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิทยุ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาและแม้แต่ป้ายโฆษณา [62] และแม้ว่าจะมีการจัดอภิปรายเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแต่ก็กลับถูกถ่ายทอดผ่าน ทางช่องเคเบิลทีวีเท่านั้น ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดการผ่านสถานีฟรีทีวีที่รัฐบาลเป็นเจ้าของคลื่น รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการให้มีการรณรงค์แบบเคาะประตูบ้านเพื่อผลัก ดันให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ สสร.จัดตั้งให้มีการรณรงค์ทั่วประเทศในช่วงใกล้การลงประชามติ และผู้ที่จะไปลงประชามติได้เดินทางฟรี ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่มีความผิดทางอาญาฐานละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง
เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพประการหนึ่งที่รัฐบาลทหารใช้เพื่อสร้างความ มั่นคงให้กับการลงคะแนนเสียงเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ก็คือการนำเสนอว่ากระบวนการลงประชามตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นจะนำไปสู่การเลือก ตั้ง การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลทหารก็คือสร้างความเชื่อมั่นว่าการยอมรับร่างรัฐ ธรรมนูญจะเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการจัดการเลือกตั้ง ผู้ลงประชามติจำนวนมากเลือก “รับ”ด้วยความมุ่งหวังที่จะกลับไปสู่ระบอบรัฐสภา ไม่ใช่เพราะพวกเขาเข้าใจความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญปี 2550 กับรัฐธรรมนูญปี 2540 [63] ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลทหารถือสิทธิ์ที่จะนำเอารัฐธรรมนูญเก่าฉบับอื่นๆ ซึ่งบางฉบับมีลักษณะเสรีนิยมมาก มาใช้แทน (และปรับแก้ตามสมควร) หากว่าประชาชนลงประชามติไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
สมัชชาแห่งชาติผ่านพระราชบัญญัติประชามติโดยกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับ การแสดงความเห็นในทางสาธารณะที่มีลักษณะต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองถูกปิดกั้นไม่ให้โน้มน้าวผู้ลงประชามติให้เห็นชอบหรือไม่เห็น ชอบร่างรัฐธรรมนูญโดยกำหนดโทษจำคุก 10 ปี ผู้ใด “ขัดขวาง” การลงประชามติจะถูกดำเนินคดีอาญา และหากผู้นั้นเป็นผู้บริหารพรรคการเมืองก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี [64] กฎอัยการศึกยังคงมีผลบังคับ ผู้ที่ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญถูกข่มขู่และเอกสารที่ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ นั้นถูกยึดจากบ้านและที่ทำการไปรษณีย์ ผู้ประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร 2549 ถูกจับกุมด้วยความผิดอาญา [65] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียประณามว่าพระราชบัญญัติประชามตินั้นเป็น ความพยายามที่ชัดเจนว่ามุ่ง “ข่มขู่และปิดปากบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับทางการ” [66] ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกระบวนการรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
วันที่ 19 สิงหาคม 2550 รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 ผ่านการลงประชามติด้วยจำนวนผู้ลงคะแนนที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกประกาศใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 [67] รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นั้นมีความแตกต่างอย่างสำคัญจากหลักที่รัฐธรรมนูญ 2540 ให้ความคุ้มครองไว้ ตัวอย่างคือ รัฐธรรมนูญ 2550 นั้นกลับไปสู่ระบบก่อนรัฐธรรมนูญ 2540 นั่นคือการเลือกตั้งแบบหลายเขต ซึ่งเป็นให้โอกาสแก่พรรคการเมืองขนาดเล็กมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดรัฐบาลผสมที่ไม่มีเสถียรภาพ ขณะที่ยังคงระบบบัญชีรายชื่อไว้ แต่ก็ลดสัดส่วนปาร์ตี้ลิสต์จาก100 คน เหลือ 80 คน ยิ่งไปกว่านั้น ฐานคะแนนของระบบปาร์ตี้ลิสต์จากเดิมที่กำหนดให้ทั่วประเทศเป็นหนึ่งเขตเลือก ตั้ง ก็ถูกเปลี่ยนเป็นฐานคะแนนตามภูมิภาค การแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไม่ยุติธรรมและค่อนข้างเทอะทะนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดแรงสนับสนุนของผู้ที่จงรักภักดีต่อทักษิณ [68] ระบบเลือกตั้งวุฒิสมาชิกตามรัฐธรรมนูญ 2540 ถูกเปลี่ยนเป็นกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกจำนวน 150 คน โดย 76 คนมาจากการเลือกตั้ง และอีก 75 คนมาจากการแต่งตั้งโดยผ่านคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งมีที่มาจากผู้พิพากษาและ ข้าราชการระดับสูง [69] การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถูกดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันอำนาจจากการเลือกตั้งที่โดดเด่นแบบที่เคยเกิดกับพรรคไทยรักไทย [70]
5.3 การยุบพรรคไทยรักไทย
คมช. ซึ่งเข้าสู่อำนาจด้วยการใช้กำลังบังคับ ทำลายพรรคไทยรักไทยและทำลายความนิยมของพรรค ในเดือนมกราคม 2550 รัฐบาลทหารจัดสรรงบประมาณลับจำนวน 12 ล้านบาท สำหรับการรณรงค์เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือและนโยบายของรัฐบาลทักษิณ [71] ตามรายงานกล่าวว่ารัฐบาลทหารอนุมัติให้มีการโฆษณารณรงค์โดยใช้เงินภาษีจาก ประชาชน-ดำเนินการโดยบริษัทโฆษณาซึ่งมีญาติของรองเลขาธิการ คมช.- พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นเจ้าของกิจการ - ทั้งยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์คนสำคัญ รวมถึงกรณ์ จาติกวณิช และกอบศักดิ์ สภาวสุ [72]
ดังที่กล่าวไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปทันทีเมื่อมีการรัฐประหาร ธรรมนูญชั่วคราวแต่งตั้งองค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจำนวน 9 คน โดยองค์คณะทั้งหมดเป็นผู้พิพากษาที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คมช. [73] ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 องค์คณะตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นทำการวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย [74] ชัดเจนว่าการตัดสินคดีนั้นวางอยู่บนการวินิจฉัยว่าพรรคไทยรักไทยติดสินบน พรรคการเมืองฝ่ายค้านพรรคเล็กๆ ให้เข้าร่วมการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2549 พรรคประชาธิปัตย์ (คู่ต่อสู้สำคัญของไทยรักไทยในสภา) ถูกกล่าวหาด้วยข้อกล่าวหาอย่างเดียวกัน แต่ศาลตัดสินให้พ้นผิด นอกจากการตัดสินยุบพรรคที่เคยเป็นพรรครัฐบาลแล้ว ศาลยังตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คนเป็นเวลา 5 ปีโดยอาศัยความตามประกาศ คมช.ฉบับที่ 27 ที่กำหนดให้บทลงโทษมีผลย้อนหลัง นี่เป็นการทำให้แน่ใจว่าเมื่อพรรคการเมืองถูกยุบ แกนนำพรรคจะไม่อาจลงเลือกตั้งได้อีกในนามของพรรคการเมืองอื่น ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นการกระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้น เกิดขึ้นหลายเดือนก่อนการประกาศใช้ประกาศ คมช. ฉบับที่ 27 แกนนำพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสในการแก้ต่างในศาล [75]
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียกล่าวถึงการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่า
“ด้วยเหตุนี้ เราได้เห็นปรากฏการณ์พิเศษที่คณะผู้พิพากษาซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาล ทหารที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งและต่อต้านประชาธิปไตยดำเนินการตัดสินการกระทำ ของพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งซึ่งถูกกล่าวหาว่าบ่อนทำลายกระบวนการ ประชาธิปไตย” [76]
ในระบอบใหม่นี้ การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ แกนนำพรรคถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง ภาพลักษณ์ของพวกเขาเสื่อมเสีย และพรรคที่ครั้งหนึ่งไม่มีใครเอาชนะได้แตกสลายเป็นเสี่ยงๆ
5.4 การรัฐประหารทางศาลและเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ถูกจัดตั้งขึ้น
ในเดือนสิงหาคม 2550 อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยรวมตัวกันอีกครั้งอย่างไม่สะทกสะท้านต่อผลการยุบ พรรคไทยรักไทย โดยใช้ชื่อพรรค “พลังประชาชน” ผู้นำพรรคคือนายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองชาวกรุงเทพฯ ผู้แก่พรรษา เพียงไม่นานหลังจากที่พรรคพลังประชาชนก่อตั้งขึ้น คมช.ก็มีคำสั่งห้ามกิจกรรมทางการเมืองของพรรค ทำให้พรรคร้องทุกข์กล่าวโทษ คมช. ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกเฉยต่อคำร้องทุกข์ดังกล่าวซึ่งกล่าวหาว่า คมช. มีความผิดจากการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่แทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. [77]
วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกนับจากมีรัฐประหาร แม้ คมช.จะต่อต้านและใช้กลยุทธ์ในการปราบปรามอย่างหนัก แต่พรรคพลังประชาชนก็ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนจำนวนมาก โดยชนะการเลือกตั้ง 233 ที่นั่งจากทั้งหมด 480 ที่นั่ง แม้ว่าคณะกรมการการเลือกตั้งตัดสิทธินักการเมืองคนสำคัญที่ลงเลือกตั้งในนาม พรรคพลังประชาชนไปจำนวนมากแล้วก็ตาม [78] พรรคจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ โดยนายสมัคร สุนทรเวชขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 29 มกราคม 2551 ถือเป็นอีกครั้งที่การเลือกตั้งแสดงให้เห็นถึงระดับความมุ่งมั่นของคนไทยใน การกำหนดใจตนเองผ่านการเลือกตั้งขณะที่เผชิญกับการประหัตประหารกันทางการ เมือง เมื่อต้องเผชิญกับการเลือกตั้งที่ส่งผลให้ได้รัฐบาลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผล ประโยชน์ของตนเอง อำมาตย์ก็ใช้แนวทางใหม่ แทนที่จะยึดอำนาจโดยการใช้กองกำลังอีกครั้ง อำมาตย์เลือกทำลายรัฐบาลโดยอาศัยการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงบนท้องถนนและการ ขัดขวางบริการสาธารณะที่สำคัญ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลับมาปรากฏตัวบนท้องถนนของกรุงเทพฯ อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 5 เดือนหลังรู้ผลการเลือกตั้ง และเมื่อการประท้วงที่ยืดเยื้อกว่าสามเดือนบนถนนราชดำเนินไม่ประสบความ สำเร็จในการสร้างแรงเสียดทานใดๆ ในปลายเดือนสิงหาคมผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่ติดอาวุธก็บุกเข้าไปในสถานีโทรทัศน์ในกรุงเทพฯ บุกกระทรวงหลายกระทรวงและยึดทำเนียบรัฐบาลไว้เพื่อกีดกันไม่ให้รัฐบาลสามารถ ทำงานได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ยึดสนามบินในจังหวัดภูเก็ต กระบี่และหาดใหญ่ ปิดกั้นถนนสายหลักและทางด่วน สหภาพรัฐวิสาหกิจขัดขวางการเดินรถไฟทั่วประเทศและขู่ว่าจะตัดน้ำตัดไฟ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำของพันธมิตรฯ มีโอกาสถอนเงินจำนวนมหาศาลจากบัญชีธนาคารซึ่งได้มาจากผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ที่ร่ำรวย [79]
พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ “รัฐบาลหุ่นเชิด” ของนายสมัคร ลงจากตำแหน่ง แต่น่าสังเกตว่าไม่ได้เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่เพื่อหารัฐบาลมาทำ หน้าที่แทน [80] แต่กลับเรียกหาการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ดังที่นิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ระบุว่า “พันธมิตรฯ อ้างว่า ไม่ว่าอย่างไรรัฐบาล (สมัคร) ก็ไม่ชอบธรรม เพราะเชื่อว่าคนจนไม่สมควรจะมีสิทธิลงคะแนนเสียงเนื่องจากพวกเขาโง่เกินไป” [81]
เมื่อครั้งที่พันธมิตรฯ พยายามขับไล่รัฐบาลทักษิณในปี 2549 นั้น กลุ่มพันธมิตรฯ อภิปรายว่าประเทศไทยกำลังก้าวสู่ระบอบเผด็จการภายใต้การนำของทักษิณ และพันธมิตรฯ ร้องหาการแทรกแซงจากพระมหากษัตริย์โดยอ้างว่าเป็นความจำเป็นของประเทศเพื่อ เป็นหนทางไปสู่การเป็น “ประชาธิปไตย” ที่สมบูรณ์ แนวทางในการรณรงค์ที่เล่นโวหารเรื่องประชาธิปไตยของพันธมิตรฯ อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมพันธมิตรฯ จึงสามารถเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจจากคนทั่วไปจำนวนมากในกรุงเทพฯ และที่อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่นิยมและให้การสนับสนุนพันธมิตรฯ ส่วนใหญ่ค่อยๆ ลดลง ขณะที่พันธมิตรฯยังคงกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในปี 2551 จากการต้องเผชิญกับการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนน้อยและความล้มเหลวของการ รัฐประหาร กติกาใหม่จึงถูกกำหนดตามมา การล่าแม่มดเกิดขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อ ต้านเศษซากที่เหลืออยู่ของพรรคไทยรักไทยเพื่อให้รัฐบาลเอื้อประโยชน์ต่อ อำมาตย์มากขึ้น ยุทธศาสตร์ของพันธมิตรฯ นั้นรุนแรงขึ้นและมีลักษณะสุดโต่ง ประการแรก พันธมิตรฯ เพิ่มแนวทางที่รุนแรงมากขึ้น ประการที่ 2 แกนนำอภิปราย ต่อต้าน ประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยตำหนิว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัดและชนชั้นล่างจำนวนมากยังคงถูก หลอกได้ง่าย ไม่มีการศึกษา และถูกครอบงำจากความต้องการทำให้ไม่อาจลงคะแนนอย่างมีเหตุผล [82] สิ่งที่พันธมิตรฯ เสนอให้นำมาใช้แทนก็คือการลดจำนวนนักการเมืองในสภาลงให้เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์จากที่นั่งในสภาทั้งหมด และปล้นอำนาจในการกำหนดนโยบายของประเทศจากนักการเมืองเหล่านั้น
แม้ว่าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทยจะมีลักษณะผกผัน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่จะได้ยินกลุ่มจัดตั้งประกาศต่อสาธารณะว่าต่อต้าน ประชาธิปไตยด้วยท่าทีที่ถืออภิสิทธิ์และแข็งกร้าว แต่กระนั้น สิ่งที่โลกได้เห็นจากพันธมิตรฯ ก็คืออุดมการณ์อย่างเป็นทางการของประเทศซึ่งฝังลึก นั่นคือการแยกแยะความแตกต่างอย่างเด่นชัดทางจารีตระหว่างชนชั้นปกครองจำนวน น้อยกับผู้อยู่ใต้การปกครอง ในความเป็นจริง ดูเหมือนว่าสิ่งที่ทำให้พันธมิตรฯ หวาดกลัวไม่ใช่การคาดการณ์ว่าทักษิณ “คอร์รัปชั่น” หรือ เป็น “เผด็จการ” การที่พันธมิตรฯ ต้องการให้กองทัพซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นองค์กรที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุดของ ประเทศเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยไม่เอ่ยถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเลวร้าย ขององค์กรนี้เลยนั้น เป็นตัวอย่างอันดีที่แสดงให้เห็นว่าพันธมิตรฯ ไม่ใส่ใจต่อประชาธิปไตยและนิติรัฐ สิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดของพันธมิตรฯ ก็คือความนิยมที่ทักษิณได้รับอันเนื่องมาจากนโยบายและการที่ทักษิณปลูกฝัง และให้อำนาจแก่กลุ่มคนที่ครั้งหนึ่งเคยมีบทบาทในการเมืองไทยในฐานะผู้ ถูกกระทำ ดังที่นักวิชาการผู้หนึ่งกล่าวว่า “อาชญากรรมที่แท้จริง” ของทักษิณก็คือเขา “ไม่จำเป็นต้องชนะการเลือกด้วยการซื้อเสียงอีกต่อไป” [83]
กลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งโดยแก่นแท้แล้วเป็นองค์กร “รากหญ้าเทียม” นั้นมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนรวยในกรุงเทพฯ ได้รับเงินทุนจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และเป็นหนี้ต่อเหล่าอิทธิพลที่หนุนหลังผู้มีอำนาจในกองทัพ สภาองคมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์ เช่นเคย พันธมิตรฯและผู้หนุนหลังรู้สึกว่าการคุกคามจาก พรรคไทยรักไทยและพรรคที่สืบทอดนั้นทบทวี
ในด้านหนึ่ง ทักษิณได้ให้สิทธิพิเศษกับกลุ่มอำนาจในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยได้ประโยชน์จากงบประมาณของรัฐ ในเรื่องนี้ คาร์ล ดี. แจคสัน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อสกินส์อภิปรายว่า “ปัญหาพื้นฐานของระบบการเมืองไทยก็คือเงินกระจุกอยู่ในกรุงเทพฯจำนวนมาก ขณะที่ผู้มีสิทธิคะแนนเสียงส่วนใหญ่นั้นอยู่นอกกรุงเทพฯ” [84] สิ่งที่ศ.แจ็คสันละเลยไม่ได้กล่าวถึงก็คือ แม้ว่าจุดศูนย์รวมความมั่งคั่งของประเทศอยู่ในเมืองหลวงที่มีลักษณะพิเศษ อย่างยิ่ง แต่ว่าบรรดาผู้มีฐานะในกรุงเทพฯ กลับยังไม่ยอมรับแนวคิดว่าประเทศควรจะปกครองด้วยตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือก จากเสียงส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัด
ในอีกด้านหนึ่ง ข้อเท็จจริงอันบริสุทธิ์ก็คือกลุ่มพลเมืองที่ตื่นตัวและรวมกลุ่มกันลงคะแนน ให้กับพรรคการเมืองเดียวนั้นเป็นการคุกคามและลดทอนความสำคัญของสถาบันที่ไม่ ผ่านการเลือกตั้งและนักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมองเห็นแล้วว่าความ แข็งแกร่งในการเลือกตั้งลดลงอย่างต่อเนื่อง นักการเมืองคนสำคัญของพรรคอย่างสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และสำราญ รอดเพ็ชร ยังมีสถานะเป็นแกนนำพันธมิตรฯ อีกด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบัน,กษิต ภิรมย์ ก็ปรากฏตัวในการชุมนุมของพันธมิตรฯ บ่อยครั้งในช่วงที่พันธมิตรฯ ยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิอย่างผิดกฎหมาย รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน กรณ์ จาติกวณิช กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่าเขาสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ แม้ในที่สุดแล้วจะมีการก่อความรุนแรงอย่างน่ารังเกียจ และมีลักษณะของการต่อต้านประชาธิปไตยอย่างรุนแรง แต่กรณ์ได้เขียนอธิบายผ่านบทความในบางกอกโพสต์ ซึ่งใช้สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรฯ กับพรรคประชาธิปัตย์ว่า :
“เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันดีว่าแกนนำคนหนึ่งของ พันธมิตรเป็น ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าเขาจะเข้าร่วมกับพันธมิตรในนามส่วนตัวก็ตาม
“ผู้ปราศรัยจำนวนมากก็เป็นผู้ลงสมัครรับเลือก ตั้งในสมัยที่ผ่านมา มากกว่าหมื่นคนที่เข้าร่วมการชุมนุมเป็นผู้ที่ลงคะแนนให้กับพรรคประชาธิปัต ย์ ที่สำคัญที่สุด พันธมิตรฯ และผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ มีข้อคิดเห็นเช่นเดียวกันกับเราว่ารัฐบาลนั้นไม่มีความชอบธรรมทั้งในทาง กฎหมายและในทางจริยธรรม”
เขาเสริมว่า:
“ผมเชื่อด้วยว่า ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์โดยตัวเองแล้วไม่สามารถจะต้านทานพรรคพลังประชาชนหรือรัฐบาล จากการใช้อำนาจในทางที่ผิดในช่วงเวลา 7 เดือนที่ปกครองประเทศ ผมคิดว่าหากปราศจากความพยายามของเราที่เคียงข้างกันมา ก็เหมือนว่ารัฐธรรมนูญนั้นได้รับการแก้ไขและให้ความคุ้มครองเฉพาะทักษิณและ พรรคพลังประชาชนเท่านั้น” [85]
ด้วยการกระทำอย่างเดียวกันนั้น ผู้ที่สนับสนุนคนเสื้อแดงถูกฟ้องร้องในข้อหากบฏและแกนนำเสื้อแดงถูกกล่าวหา ในความผิดฐานก่อการร้ายซึ่งอาจมีโทษประหารชีวิต แต่คนอย่างกรณ์และกษิต ได้รับรางวัลเป็นตำแหน่งรัฐมนตรี
วันที่ 9 กันยายน 2550 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายกรัฐมนตรีสมัครพ้นจากตำแหน่งตามคำฟ้องของนักการ เมืองฝ่ายค้านและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้วยความผิดจากการดำเนินรายการสอนทำอาหารผ่านรายการโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นการกระทำต้องห้าม ที่ห้ามรัฐมนตรีรับค่าตอบแทนจากนายจ้างอื่น [86] นายสมัครโต้แย้งว่าเขาไม่ได้ถูกว่าจ้างโดยสถานีโทรทัศน์และแม้ว่ารายการจะ ออกอากาศในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่การบันทึกเทปนั้นทำก่อนที่จะเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งเหล่านั้นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าฟังไม่ขึ้นและลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้เขาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เรื่องที่น่าตลกก็คือว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่งคือ นายจรัญ ภักดีธนากุลเองก็รับเชิญไปออกรายการวิทยุและได้รับค่าตอบแทนจากการสอนกฎหมาย ในมหาวิทยาลัยเอกชนเป็นประจำขณะที่กำลังดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ด้วย วันที่ 18 กันยายน 2550 สมชาย วงษ์สวัสดิ์ น้องเขยของทักษิณขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายสมัคร กลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่ปฏิเสธที่จะสลายการชุมนุม
บางที จุดเปลี่ยนอาจจะอยู่ที่วันที่ 7 สิงหาคม เมื่อเกิดความรุนแรงระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและพันธมิตรฯ ราวๆ สองถึงสามพันคนที่หน้าสภาผู้แทนราษฎร โดยฝ่ายพันธมิตรฯ พยายามปิดกั้นทางเข้ารัฐสภา มีประชาชนบาดเจ็บหลายร้อยคนจากเหตุชุลมุน การ์ดพันธมิตรยิงปืนและขว้างระเบิดปิงปองเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตาและไม้กระบอง สมาชิกของกลุ่ม พันธมิตรฯ เสียชีวิตไป 2 คน รายหนึ่งเป็นหญิงสาวซึ่งเสียชีวิตเพราะถูกแก๊สน้ำตาที่ผลิตจากประเทศจีนยิง เข้าใส่โดยตรง อีกรายหนึ่งเป็นการ์ดซึ่งไม่ได้เสียชีวิตจากการปะทะ แต่เสียชีวิตขณะที่รถของเขาระเบิดหน้าที่ทำการพรรคชาติไทย พระราชินีเสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หญิงสาวที่เสียชีวิตหน้าสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมาก็ได้แสดงการสนับสนุนพันธมิตรฯ ด้วยการไปร่วมงานศพของนายเมธี ชาติมนตรี ซึ่งเป็นไปได้ว่าเสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายด้วยระเบิดของเขาเอง
ในเวลานั้น อภิสิทธิ์ได้แสดงความเห็นอย่างต่อเนื่องซึ่งขัดแย้งอย่างรุนแรงกับสิ่งที่ เขาทำในการสังหารประชาชนภายใต้การกำกับดูแลของเขาเอง [87] ยิ่งไปกว่านั้นเขายังแถลงข่าวอย่างเกรี้ยวกราดประกาศท่าทีของพรรคต่อกรณีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับพันธมิตรฯ ว่า:
“ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่นายกฯ ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ว่าเป็นผู้ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือมิเช่นนั้นก็จงใจให้เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้น แต่ว่าที่เลวร้ายกว่าการโยนความผิดหรือความพยายามปัดความรับผิดชอบไปให้เจ้า หน้าที่ก็คือว่า วันนี้พัฒนาไปสู่กระบวนการใส่ร้ายประชาชน ผมไม่นึกไม่ฝันว่าเรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสแล้ว เรายังมีรัฐที่พยายามยัดเยียดความผิดกลับไปให้ประชาชนอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ ผมเคยได้ยินคนในฝ่ายรัฐบาลชอบถามคนนั้นคนนี้ว่า เป็นคนไทยหรือเปล่า แต่พฤติกรรมที่ท่านแสดงอยู่นั้น ไม่ใช่เป็นคนไทยหรือเปล่า แต่เป็นคนหรือเปล่า
วันนี้ในทางการเมืองความชอบธรรม(ของรัฐบาลสมชาย) มันหมดไปแล้วครับ เราเรียกร้องความรับผิดชอบจากท่าน (นายกรัฐมนตรี) ท่านจะลาออก หรือถ้าท่านกลัวว่าถ้าท่านลาออกแล้วจะเป็นเรื่องที่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จะ ไปมีอำนาจท่านก็ยุบสภาเถิดครับ แต่ท่านเพิกเฉยไม่ได้ เพราะถ้าท่านเพิกเฉยแล้ว ท่านทำร้ายบ้านเมืองและท่านกำลังทำร้ายระบบการเมือง
“ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชน ถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้ว รัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ” [88]
บันทึกเหตุการณ์ถัดจากนี้ แสดงให้เห็นว่าอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้ฝ่าฟันการเปลี่ยนแปลง ครั้งสำคัญบนเส้นทางที่นำพาเขาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ม็อบพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ทำให้มีนักท่องเที่ยวตกค้างเป็นจำนวนหลายแสนคน พร้อมกันนั้น พันธมิตรฯ ยังทำการยึดสนามบินนานาชาติดอนเมืองเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลที่จะ จัดเส้นทางการบินเข้าออกใหม่ ผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ หลายพันคนใช้โล่มนุษย์ป้องกันการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีรายงานข่าวด้วยว่าพันธมิตรฯ หลอกใช้เด็กโดยการจ้างพ่อแม่ของเด็กเพื่ออนุญาตให้เด็กเข้าร่วมการชุมนุม [89] ขณะเดียวกันการ์ดพันธมิตรฯ ซึ่งสามารถเอาชนะตำรวจได้ทำการตั้งด่านปิดกั้นทางเข้าสนามบินสุวรรณ [90] รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเรียกให้ทหารเข้ามาทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพปฏิเสธที่จะทำตาม ในทางตรงกันข้าม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กลับเรียกร้องผ่านทางสาธารณะให้รัฐบาลลาออก ความพยายามของรัฐบาลในการขับไล่ผู้ชุมนุมไม่ประสบความสำเร็จ เศรษฐกิจเสียหายจากการยึดสนามบินราวหนึ่งหมื่นสองพันล้านเหรียญสหรัฐ [91]
ในวันที่ 2 ธันวาคม เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรมที่ถูกการเมืองครอบงำเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ แสดงความจำนนให้เห็น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชนและพรรค ร่วมรัฐบาลได้แก่ พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรคเป็นเวลา 5 ปี ในบรรดานักการเมืองที่ถูกตัดสิทธินั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที [92] ภายในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา สนธิ ลิ้มทองกุลจัดแถลงข่าวและประกาศว่าพันธมิตรฯ จะยุติการยึดสนามบิน เขาไม่ลืมที่จะประกาศด้วยว่าพันธมิตรฯ จะกลับมาต่อสู้อีกหากหุ่นเชิดของทักษิณกลับมามีอำนาจ [93] ตรงกันข้ามกับแกนนำ นปช. ซึ่งถูกทหารควบคุมตัวเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ไม่มีแกนนำคนไหนของพันธมิตรฯ ที่ต้องนอนค้างคืนในคุกด้วยความผิดฐานฝ่าฝืนกฎอัยการศึก ยึดสนามบิน ทำลายสิ่งก่อสร้างในทำเนียบรัฐบาล หรือยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อกำหนดเรื่องการยุบพรรคซึ่งศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็น ฐานในการตัดสินคดีนั้นอยู่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตามที่คณะรัฐบาลทหารเรียกร้อง มองเผินๆ แล้วก็เหมือนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเข้มแข็งให้กับฝ่ายตุลาการต่อสู้กับ การคอร์รัปชั่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะทหารใช้อำนาจ อย่างกว้างขวางในการล้มล้างอำนาจผู้ที่ประชาชนเลือกมา ด้วยลักษณะที่คล้ายกันมากกับธรรมนูญชั่วคราวซึ่งถูกนำมาใช้ภายหลังการรัฐ ประหาร รัฐธรรมนูญ 2550 ให้ทางเลือกแก่ศาลในการยุบพรรคการเมืองใดๆ ก็ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่าคณะกรรมการบริหารพรรคหรือผู้สมัครของ พรรคแม้เพียงรายเดียวทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อมีการตัดสินยุบพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญอาจตัดสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี คดีตัวอย่างเช่น ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคโดยอาศัยฐาน การกระทำความผิดของยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานทุจริตการเลือกตั้งครั้งล่าสุด แม้ว่าจะมีการฟ้องร้องพรรคประชาธิปัตย์ในกรณีเดียวกัน แต่กลับพบว่าศาลเลี่ยงที่จะสั่งให้มีการยุบพรรค
มันเป็นเพียงควันหลงจากการปะทะที่ชอกช้ำระหว่างรัฐบาลกับพันธมิตรฯ สนามบินถูกยึด ผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมและ ส่งผลให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ธันวาคม 2551 รัฐบาลผสมนั้นเป็นหนี้บุญคุณมุ้งการเมืองที่สำคัญในพรรคไทยรักไทยซึ่งหัว หน้ามุ้งก็คือนายเนวิน ชิดชอบผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง และอดีตพรรคร่วมรัฐบาลพลังประชาชนอย่างเช่นพรรคชาติไทยพัฒนาซึ่งตั้งขึ้น โดยอดีตนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา ผู้เคยเป็นพันธมิตรกับทักษิณมาก่อน ข้อตกลงบรรลุในวันที่ 6 ธันวาคมที่บ้านของผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา มีรายงานข่าวว่าในการประชุมครั้งนั้น พล.อ.อนุพงษ์กล่าวเตือนผู้ร่วมการประชุมว่า เขาพูดแทน “ชายเจ้าของถ้อยคำที่ไม่อาจปฏิเสธได้” [94]
แม้ว่าในการเลือกตั้งในปี 2544, 2548, 2549 และ 2550 ซึ่งประชาชนไทยได้แสดงความนิยมต่อพรรคที่เชื่อมโยงกับทักษิณด้วยเสียงข้าง มาก ซึ่งครองเสียงข้างมากทั้งโดยพรรคเดียวและหลายพรรครวมกันในการเลือกตั้งแต่ละ ครั้ง อำมาตยาธิปไตยฟื้นฟูได้ด้วยรัฐประหารโดยทหาร 15 เดือนแห่งการปราบปราม ฟ้องร้อง ทำลายความน่าเชื่อถือของนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน การยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินหลักของชาติอย่างผิดกฎหมาย และคำพิพากษาตามอำเภอใจที่มีออกมาเป็นลำดับเพื่อยุบพรรคการเมืองใหญ่ 4 พรรค ยุบรัฐบาล 3 รัฐบาล และปรับเปลี่ยนระบบกฎหมายของประเทศให้เป็นไปตามความพอใจและผลประโยชน์ของ อำมาตย์
กระนั้นก็ตาม การที่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมการชุมนุมของพันธมิตรฯ บทบาทพันธมิตรฯ ในฐานะเครื่องมือที่ผลักดันอภิสิทธิ์สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการที่พรรคประชาธิปัตย์ให้คำมั่นต่อพันธมิตรฯ ว่าจะไม่ถูกลงโทษภายใต้รัฐบาลประชาธิปัตย์ ทำให้ความสัมพันธ์ของกลุ่มการเมืองทั้งสองอยู่ในสภาวะน่าวิตก แกนนำพันธมิตรฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สนธิ ลิ้มทองกุลตำหนิการเมืองแบบเก่าของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีการต่อรองทางการเมืองซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ถูกบังคับให้ต้องเกี่ยวดองกับ นักการเมืองที่ฉาวโฉ่เรื่องการทุจริตเนื่องจากความพยายามตั้งรัฐบาลผสมและ ประคับประคองไปด้วยกัน [95]
ยิ่งกว่านั้น พันธมิตรฯ หวนกลับมาวิพากษ์วิจารณ์จุดอ่อนอันเป็นที่รับรู้รวมถึงความไม่แน่วแน่ของของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลที่พันธมิตรฯ ตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง “พรรคการเมืองใหม่” [96] ตั้งแต่เดือนแรกๆ ที่อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่ง โดยมีนโยบายปกป้องสถาบันกษัตริย์และทำความสะอาดการเมืองไทย อันเป็นภารกิจที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการให้พวกเขาได้ดี พอ สนธิ ลิ้มทองกุลวิพากษ์ว่าอภิสิทธิ์ไม่มีศักยภาพที่จะนำพาประเทศไปข้างหน้า และเรียกร้องให้ “คืนอำนาจรัฐสภาให้พระมหากษัตริย์” [97] และเสนอแนะว่ากองทัพควรจะทำการรัฐประหารหากอภิสิทธิ์ไม่สามารถที่จะสร้าง “ธรรมาธิปไตย” ที่ห่างไกลจากระบบรัฐสภาซึ่งเขาเรียกว่าเป็น “ที่อยู่ของเหล่าอสูร” [98]
ตามความเป็นจริง ความสัมพันธ์อันกลมกลืมระหว่างพันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์และการดำรงอยู่ร่วมกันที่น่าอึดอัดนั้น อาจอธิบายได้ว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรฯ เป็นเสมือนปีกสองข้างของโครงสร้างหลวมๆ ของกลุ่มอำนาจเก่าในประเทศไทย พันธมิตรฯ เป็นปีกนอกกลไกรัฐสภาซึ่งทำให้มีการปฏิบัติการบนท้องถนนได้เมื่อต้องการ ขณะที่ประชาธิปัตย์เป็นปีกภายใต้กลไกรัฐสภาซึ่งมีหน้าที่แสดงบทบาทรัฐบาลที่ ถูกครอบงำโดยกองทัพ ที่ปรึกษาของกษัตริย์และผู้นำทางธุรกิจ สำหรับทั้งสององค์กร สิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของฝ่ายอำมาตย์ถือเป็นประเด็นสำคัญทั้งในแง่ อุดมการณ์และความจำเป็น อย่างน้อยที่สุดทั้งสองกลุ่มนี้ไม่อาจที่จะบรรลุถึง อำนาจที่ตนถือครองอยู่ในปัจจุบันหากไม่ได้รับการหนุนหลังจากกองทัพ การอุปถัมภ์จากคนในราชสำนักที่ทรงอิทธิพล และการเกื้อหนุนจากครอบครัวที่มั่งคั่งในกรุงเทพฯ
การที่กลุ่มอำนาจเก่าสนับสนุนพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ส่งผลต่อความวุ่นวายที่ไปไกลกว่าความขัดแย้งภายใน ประเทศ พันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ก่อให้เกิดข้อถกเถียงในประเด็นปราสาทเขาพระวิหาร นำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงที่จะก่อสงครามกับประเทศกัมพูชาในพื้นที่พิพาท ซึ่งถูกศาลระหว่างประเทศตัดสินไปแล้วตั้งแต่ปี 2505 (โดยสร้างความพึงพอใจแก่คู่กรณีทั้งสองประเทศ) แต่ในปี 2551 นายสมัครและพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลลงนามยินยอมให้รัฐบาลกัมพูชา นำเขาพระวิหารขอขึ้นทะเบียนต่อคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) พันธมิตรฯ และบรรดาผู้สนับสนุนปั้นแต่งว่านี่เป็นหลักฐานว่า “นอมินีของทักษิณ” มีเจตนาที่จะยกเขตแดนไทยให้กัมพูชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายนพดล ปัทมะ ซึ่งเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชาถูกกดดันให้ลาออก ในเดือนกรกฎาคม 2551 กลุ่มชาตินิยมพยายามปักธงชาติไทยในพื้นที่ทับซ้อนบริเวณใกล้เขาพระวิหาร ซึ่งเป็นการกระทำที่ส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารไทยกับทหาร กัมพูชา [99] ช่วงเวลาที่เวทีพันธมิตรฯ เรียกร้องทุกคืนให้ “คืนเขาพระวิหารให้กับประเทศไทย” [100] และกษิต ภิรมย์ ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศบนเวทีพันธมิตรฯ ขณะที่ยึดสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ว่าจะเอาเลือดสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชามาล้างเท้า นับแต่นั้นมากำลังทหารของทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชายิงตอบโต้กันในพื้นที่ใกล้ ปราสาทเขาพระวิหารหลายครั้ง ความผันผวนของภูมิภาคที่ถูกจุดขึ้นโดยการกระทำของพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์สร้างความตื่นตระหนกให้กับคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ประเทศไทยค่อยๆไหลลื่นไปสู่การปกครองแบบเผด็จการทหาร และทำลายศักยภาพของภูมิภาคอาเซียนด้วยระบบที่โหดร้ายในระดับเดียวกับรัฐบาล ทหารพม่า ความมืดบอดด้วยความเกลียดชังที่พวกเขามีต่อทักษิณ อำมาตย์และหมู่มิตรในพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่เคยยับยั้งการกระทำของตัวเองแม้ว่าจะเกิดผลกระทบ ระหว่างประเทศร้ายแรงตามมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น