วันอาทิตย์, มิถุนายน 27, 2553

นักวิชาการชี้การเมือง ทางตัน เกิดเผด็จการพันธุ์ใหม่ เลือกตั้งปีหน้า วอนรัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน


นักวิชาการ ถก“แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง” วังวนติดอยู่ในระบบอำนาจนิยม รัฐบาลกับทหาร ยังต้องพึ่งพิงอาศัยกัน วอนรัฐบาลยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน


วันนี้(27 มิ.ย.) เวลา 10.00 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดเวทีราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 8/2553 เรื่อง “แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง” ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร


ผู้อภิปราย ประกอบด้วย รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,รศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายสุนทร ทาซ้าย บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


รศ.ดร. นครินทร์ กล่าวว่า ประชาธิปไตยในมิติประวัติศาสตร์ อธิบายได้ว่า ช่วง 25 ปีแรก ประชาธิปไตยประเทศไทย เป็นรูปแบบกึ่งประชาธิปไตย มีรัฐบาลกึ่งผสมผสานระหว่างพลังของสังคมและพลังคณะราษฎร มีความขัดแย้งที่สืบทอดมาจากประวัติศาสตร์การเมืองหลายๆครั้งให้เห็น อาทิ มีนายกรัฐมนตรีคู่ 2 คน รวมถึงการเนรเทศนายกรัฐมนตรีออกนอกประเทศ ก็เคยเกิดขึ้นในสมัยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกฯ เพียง 1 เดือน และอยู่นอกประเทศถึง 14 ปี ซึ่งหลังจากนั้นในพ.ศ. 2516 ได้ก้าวเข้าสู่ยุคทหารปกครองประเทศ เป็นเผด็จการเต็มรูปที่เป็นประชาธิปไตยแบบไทย โดยมีจุดพลิกผัน คือ ประเทศไทยก้าวไปสู่เป็นอำนาจแบ่งปันหลายฝ่าย มีรัฐบาลผสมหลายพรรค


“สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่ ปี 2540 ที่ส่งผลให้การเมืองไทยเป็นเช่นปัจจุบัน คือ มีการพยายามทำ รัฐบาล 2 พรรค แต่สุดท้ายเกิดเป็นพรรคเดียว เป็นอำนาจไม่กระจาย กระจุกอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น และมีการเอาหลักตรวจสอบการใช้อำนาจเข้ามาด้วย เกิดการจัดตั้งองค์กรอิสระมากมาย ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ ในการเปลี่ยนระบบการเมืองไทย”


รศ.ดร.นครินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนมิติทางสังคม ของคนไทยมีลักษณะพิเศษ มีการเคลื่อนไหวมีแต่รูป ไม่มีเนื้อหาสาระ ไม่มีรากฐานที่ยาวนาน ทำให้มีโครงสร้างการรวมกลุ่มเพื่อสาธารณะอ่อนแอ มีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่มากนัก เกิดเป็นการเมืองที่มีแต่รูป ไม่มีเนื้อหาสาระอยู่ข้างใน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องฝ่าฟันอีกมาก ในการสร้างค่านิยมใหม่ๆขึ้นเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่


“อย่างเหตุการณ์ หลัง พฤษภาคม 2553 ก็เช่นเดียวกัน แม้จะมีโครงสร้างเดียวกัน แต่การต่อสู้ทางการเมือง แต่ยังเป็นฉากละครเดียวกันกับปี 2540 ในสภาพสังคมไทยมีความหลากหลาย แตกแยก ซึ่งการมองสังคมว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเพียงการจินตนาการที่เข้าใจความแตกแยกไม่ชัดเจน โดยอย่าคาดหวังว่าประเทศไทยจะศิวิไลซ์ เพราะไม่ได้มีความเป็นเสรีนิยม มาก่อนโดยพื้นฐาน แต่มีแนวโน้มเป็นอำนาจนิยมเสียมากกว่า”


นายสุนทร กล่าวว่า ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยที่ยังไม่โต มองได้ 3 ปัญหา คือ ระยะแรก จากการเปลี่ยนแปลงปี 2475 คือ มีการเปลี่ยนแปลงรัฐประหารแต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอำนาจ 2. มีการเลือกตั้งมากขึ้นจนเกิดปัญหาใหม่ คือ การเมืองไทย ไม่ตอบสนองการแก้ไขปัญหา มีนักธุรกิจ สู่การเมืองมากขึ้น มีการซื้อเสียง ซื้อพรรคการเมือง และองค์กรอิสระ ถูกครอบงำจากทุกส่วน และ 3.ประชาธิปไตยไทยไม่สามารถขจัดความขัดแย้ง โดยใช้วิธีการอย่างสันติ อาจมีแนวโน้มไปถึงความรุนแรง ซึ่งหากไม่สามารถเอาชนะในสภา จะมีการลงไปเอาชนะกันข้างถนน เกิดเป็นปัญหาที่ใหญ่ระดับประเทศ


“ปัจจุบัน คนมักคิดว่า หากไม่มีการตายเกิดขึ้น การชุมนุมจะไม่ชนะ ซึ่งเป็นอันตรายต่อประชาธิปไตยของประเทศมาก ซึ่งหากยังแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติไม่ได้ แผนปรองดองหรือแม้กระทั่งการแก้รัฐธรรมนูญจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จากวัฒนธรรมคนไทยไม่เป็นประชาธิปไตย จนในที่สุดก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งว่าต้องพยายามเอาการเมืองจากท้องถนนขึ้นมาต่อสู้กันบน สภาให้ได้เช่นเดิม”

จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online

ด้าน รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้ประชาธิปไตยกำลังถึงทางตัน จาก 1 ปี หลังสงกรานต์เลือด แสดงให้เห็นว่า มีการล้มเหลว การใช้สมานฉันท์ ไม่สามารถเกิดการสมานฉันท์ได้ และหากเลือกตั้งจะไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากกลไกมาตรการต่างๆที่เกิดขึ้น ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) จะยังคงอยู่ต่อไป


นอกจากนั้น ยังเกิดประชาธิปไตยไทยมีความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่มากขึ้น ซึ่งแม้ไม่ใช่รัฐประหาร แต่ถ้ามีการอิงกันไปด้วยดี ระหว่างรัฐบาลกับทหารจะเป็นปรากฏการณ์ความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่ เป็นเผด็จการพลเรือน เลื่อนขั้น ซึ่งการแก้ไขนั้นควรที่จะต้องปล่อยนักการเมืองที่ถูกห้ามเล่นการเมืองเข้ามา ไม่ใช่นั้นกลุ่มเสื้อแดงจะไม่มีทางเลือกใหม่ มีเพียงนักการเมืองกลุ่มเก่า สนามการเลือกตั้งก็ไม่เข้มข้น


“สิ่งที่น่าเป็นห่วง จะเกิดสภาวการณ์จะเป็นไข่กับไก่มากขึ้น เหตุการณ์จะคงอยู่ต่อไป เป็นภาวะงูกินหาง ศอฉ.จะกลายเป็นอำนาจนิยม ไม่เลิกโดยง่าย แม้กระทั่งกองทัพที่เข้ามาจะไม่ถอย และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะยังขยายไปเรื่อย ซึ่งความเป็นจริงนั้น ไม่ควรจะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะไปละเมิดความเป็นพลเมืองของประเทศไทย และสร้างเป็นความรู้สึกที่ไม่ดี ในความรู้สึกของความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง”


ขณะที่ รศ.สุริชัย กล่าวว่า วิกฤตประชาธิปไตยไทย ไม่ใช่วิกฤตระบอบเท่านั้น แต่ทุกคนรู้สึกได้ ว่าเกิดอะไรขึ้น เพียง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งกำลังมาถึงจุดที่เกิดการเกลียดชังกันและรุนแรงแบบที่คนที่ไม่รู้จักกัน สามารถฆ่ากันได้ จากประสบการณ์ของประเทศที่ไม่เคยมี ซึ่งในครั้งนี้ เกิดเป็นความรุนแรงไกลไปจนถึงต่างจังหวัดด้วย


“ประชาธิปไตยที่ลอกกันมา จากต่างประเทศ หลายฝ่ายเข้าใจว่าสำคัญที่สุด แต่การเลือกตั้งแบบตัวแทน ไม่ได้เชื่อมต่อความจำเป็นของประชาธิปไตยแบบประเทศไทย ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า เสื้อเหลือง เสื้อแดง ที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ และชนชั้นกลางมีบทบาททางการเมืองมาก แสดงให้เห็นว่าหมดยุคแล้วว่า จะมองสังคมไทยโดยไม่จำแนก เพราะคนที่เสียสละก็เป็นคนในสังคมไทย คนไทยมีจิตสำนึก แต่ไม่ใช่ข้อยกเว้น และหมดยุคมองวัฒนธรรมไทยแบบเหมารวม ต้องทำความเข้าใจใหม่กับสังคม ปัญหาใหญ่คือ ข้อเสนอการปรองดองแห่งชาติ การให้เรามีการปฏิรูป ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในสังคมไทยแค่ไหน มีโอกาส การใช้รัฐบาลจากกาเรลือกตั้ง การใช้เครื่องมือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จึงเป็นเรื่องอนาคตไม่ตายตัว ต้องเปิดกว้างให้เราคิดร่วมกัน ซึ่งหากรัฐบาลยังไม่ปรับท่าทีต่อสถานการณ์ กังวลว่าอนาคตจะไม่สามารถเดินต่อไปได้


รศ.สุริชัย กล่าวต่อว่า ปัญหาในอนาคตเป็นสิ่งสำคัญ ขอเพียงอย่ามี ความระแวง โกรธ และเกลียดกัน ขณะที่ รัฐบาลประกาศเรื่องปรองดอง ควรสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน เปิดใจร่วมคิดร่วมทำ ยังหวังพึ่งพิงเชิงเครื่องมือ ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ แต่การปฏิรูปการเมือง ต้องปฏิรูปการทำงานของรัฐบาลด้วย ในสิ่งที่เรียกว่า อำนาจนิยมถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวน และมีความรับผิดชอบต่อความสร้างความรุนแรงทางการเมือง โดยที่รัฐบาลต้องใจกว้าง ปรับปรุงการทำงานตนเอง ปฏิรูปราชการก็ต้องเร่งดำเนินการ


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 17:00:30 น.
--------------------------------------------------


มติชนออนไลน์
นที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 16:36:35 น.

"ฐิตินันท์ "ฟันธง การเมืองถึงทางตัน เลือกตั้งปีหน้า ลอกคราบเผด็จการพันธุ์ใหม่ ท้าตรวจสอบศอฉ.ใช้งบ ?

วงเสวนา แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง วันนี้ ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ได้อภิปรายสถานะการเมืองไทยว่า เป็น การเมืองที่ " พูดยาก เขียนลำบาก แถมน้ำท่วมปาก "

มติชนออนไลน์ นำเสนอ มุมมองของ ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ที่อาจไม่เข้าหูใครหลายคน ดังนี้

..ผมไม่ค่อยชอบพูดเรื่อง เมืองไทย ผมว่ามันเป็นยุคที่พูดยากเขียนลำบาก วันก่อนอ่านคำสัมภาษณ์ของคุณประจวบ ไชยสาส์น พูดว่าอย่างนั้น ผมขอเติมนิดหนึ่งว่าเป็นยุคพูดยาก เขียนลำบาก และน้ำท่วมปาก เพราะฉะนั้นจึงพูดยากเข้าไปใหญ่

วันนี้ ต่างชาติมองการเมืองไทย หลากหลาย แต่รวมๆแล้วเขาคิดว่าประเทศไทยมีปัญหา ประชาธิปไตยไทยมีปัญหา แต่ที่ผมสังเกตบางครั้งต่างชาติก็มองในแง่ดี สมมติว่ามีคนมองว่าดี ทางการหรือรัฐบาลจะออกมาตีข่าวเป็นข่าวใหญ่ เช่น ประเทศไทยได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนโลกของสหประชาชาติ ( สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว)

ขณะที่สื่อต่างชาติตอนนี้กำลังโดนโจมตีอย่างหนักภายในประเทศไทย ซีเอ็นเอ็น บีบีซี ผมก็มีข้อสังเกตว่าในวันเกิดเหตุการณ์และช่วงพฤกษาคม ผมไม่ได้ดูซีเอ็นเอ็น ไม่รู้เขารายการกันอย่างไร เป็นได้อาจเอียง และสังเกตว่า พวกสื่อต่างชาติที่รายงานช่วงนั้นจะไม่พูด ไม่ระบุว่าที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เริ่มชุมนุม เนื่องจากคุณทักษิณโดนยึดทรัพย์ตรงๆ 2 อาทิตย์หลังโดนยึดทรัพย์ นปช.เริ่มเคลื่อนไหวบนท้องถนน เขาจะพูดถึง นปช. มาเรียกร้องประชาธิปไตย ก็โดนโจมตีหนัก

แต่ผมสังเกตว่าสื่อต่างประเทศ ถ้ารายงานอะไรที่รัฐบาลชอบ คนที่สนับสนุนรัฐบาลชอบ เขาไม่ปฏิเสธ เช่น เรื่องเสื้อดำ ข่าวครั้งแรกที่จำได้ รายงานโดยไฟแนนเชียลไทม์ พวกผู้ประท้วงเสื้อแดงมีกองกำลังติดอาวุธเป็นเสื้อดำ ก็เป็นข่าวที่รัฐบาลนำมาขยายความ เรื่องอัลจาซีราห์ สัมภาษณ์ทนายความคนใหม่ของคุณทักษิณ นายโรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม สัมภาษณ์อย่างเข้มข้นเรียกว่า นายอัมเตอร์ดัมหงุดหงิดเลย เป็นข่าวใหญ่ในแวดวงการของไทย เพราะนายอัมเตอร์ดัมโดนอัด และข่าวนี้เป็นที่ชอบของทางการและผู้สนับสนุนรัฐบาลทั้งหลาย

ปลงแล้วสังคมไทย ใครเห็นต่าง คือ พวกทักษิณ

อีกข่าวใน AP ประมาณอาทิตย์ที่มีความตึงเครียด รายงานราชประสงค์ไม่ใช่เทียนอันเหมิน ข่าวนี้ก็ได้รับการขยายความ ผมจึงไปดูภาคส่วนอื่นๆ นักลงทุน นักท่องเที่ยว ทูตานุทูตที่มาสังเกตการณ์เสื้อแดงและต่างประเทศ นักข่าวต่างประเทศ นักธุรกิจระหว่างประเทศ มูลนิธิต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ถ้ามีมุมมองที่ไม่สอดคล้องกับทางการ จะมีข้อสรุปที่ตามมาว่าไม่เข้าใจประเทศไทย หวังร้าย ดีไม่ดีอาจเพราะคุณทักษิณจ้างมา ไปรับสตางค์ มีความอคติ ลำเอียง และกระแสโทษต่างชาติ หรือไม่ไว้ใจ ยิ่งจะแรงขึ้นเข้มขึ้นไปอีก กระแสเมินและต่อต้านโลกของข้างนอก เหมือนประเทศไทยโดนปิดล้อม ด้วยทักษิณด้วย โลกาภิวัตน์ด้วย เหมารวมเลยในเชิงคลุมเครือ ว่ามีพลังขับเคลื่อนจากข้างนอกที่มาหวังร้ายปองร้ายกับไทยโดยมีอคติ

เป็นมุมมอง ปรากฎการณ์ที่ไม่น่าแปลก เพราะเรามีอย่างนี้มาตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ มีแอนตี้โลกาภิวัตน์ ข้าวแกงIMF มีกระแสชาตินิยม ตั้งแต่สมัยคุณทักษิณ จนกระทั่งไล่IMF ออกไป ถ้าเรามีปัญหาหนักๆ กระแสต่อต้านข้างนอกจะมาเร็วขึ้น และจะมีกระแสแรงขึ้นไปอีกและต่อเนื่อง ในหมู่คนไทยเองที่มีปฏิสัมพันธ์กับข้างนอก ต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น คนศึกษาเมืองนอกมานานๆ คนไทยบริโภคข่าวต่างประเทศ มีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างประเทศ ถ้ามีมุมมองสอดคล้องกับรัฐบาลก็แล้วไป ยิ่งไปกันได้ดี กระแสไปอย่างนั้น ถ้าไปตามกระแสก็แล้วไป

ถ้าทวนกระแส มีผลตามมา อาจถูกมองมีอคติ ได้รับการจ้างวาง หรือไปอยู่มืองนอกนานไม่เข้าใจเมืองไทย แต่ถ้าคนในซีกรัฐบาล หรือท่านนายกฯเอง ไปอยู่เมืองนอกมาแต่เข้าใจเมืองไทยดี จะเป็นกระแสเข้มขึ้นเรื่อยๆ ผมก็ค่อนข้างปลงแล้วที่จะเป็นแบบนี้ กระแสต่อต้านและเมินต่างประเทศ ไม่เป็นไร ปลงแล้ว ผมก็ทำใจ เหมือนกับว่าสังคมไทยเวลานี้ มีความสองจิตสองใจ ถ้าดีเอา ถ้าไม่เห็นด้วยบอกว่าไม่เข้าใจ มีอคติต่างๆ นานา และเป็นยุคที่แปลก เป็นยุคที่แปลกมากขึ้น ใครเสนอต่างจะมีกระแสมาป้ายสี กดดัน ข่มขู่ กวาดล้าง ถึงบอกว่าต้องปลง

ประชาธิปไตยไทยถึงทางตัน อภิสิทธิ์อยู่เกือบครบเทอม

ประเด็นที่2 เรื่องสถานะประชาธิปไตย ประชาธิปไตยไทยถึงทางตัน สังเกตได้ว่าทางตันไม่ต้องการเข้าสู่การเลือกตั้งเร็ว ผมคิดว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์อาจอยู่เกือบครบเทอม นายกฯเคยกล่าวไว้อยู่ไม่ครบเทอม ผมคิดว่าคงอยู่ไปเหลือเวลาอีก 2 อาทิตย์ก่อนครบเทอมไม่กี่วัน ทางเทคนิคถือว่าไม่ครบเทอม แต่กว่าเลือกตั้งก็เหมือนอยู่ครบเทอม

ทางตันคือผู้สนับสนุนของรัฐบาลไม่ต้องการให้เลือกตั้งเร็วๆ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ไม่สามารถทำให้ปรองดองกันได้ในช่วงประท้วง พวกนปช.ต้องโทษตัวเอง เขาเสนอ 14 พ.ย.มาให้แต่ก็ไม่รับ จะทะเลาะกันเอง คุณทักษิณ หรือผู้ชุมนุมไม่รับหลังจาก 10 เม.ย.ก็ว่าไป เมื่อไม่รับแล้ว ซีกนายกฯ ก็ถอนข้อเสนอนี้ เราต้องถามว่าเขาไม่รับ เราพอจะเห็นได้ว่าคุณทักษิณอาจต้องการเร็วกว่านั้น พวก นปช.อาจทะเลาะกัน คนที่มาประชุมอาจรับไม่ได้ แต่นายกฯถอน ผมก็ตั้งคำถามว่าถอนทำไม เพราะถ้าเกิดจะเสนอเพื่อหาทางออกให้เขาลง ก็ควรเสนอไว้ รับก็รับ ไม่รับก็ยังอยู่ เหมือนซีกของ นปช. ความผิดอยู่กับเขา พอถอนก็เลยพลิกผัน รัฐบาลของอภิสิทธิ์ ผู้สนับสนุนข้างหลังก็ไม่อยากมีการเลือกตั้ง ถ้าไม่เลือกตั้งแล้วไม่ชนะจะทำอย่างไร ปชป.ยังแพ้

ถ้าตัวต่อตัว ปชป.กับเพื่อไทยยังสูสี ดีไม่ดีอาจแพ้ เพราะเป็นพรรคร่วม เลือกตั้งเป็นทีม พรรคเพื่อไทยกึ่งโดดเดี่ยว อาจชนะได้ นี่คือแผนที่ปฏิบัติอยู่ พยายามมีงบประมาณออกมา มีการเยียวยา มีการอัดฉีด มีการเด็ดหัว สูบเลือดท่อน้ำเลี้ยงออก กดแกนนำ กวาดล้างฮาร์ดคอร์บ้าง ขู่บ้าง หวังว่าขบวนการเสื้อแดงอ่อนกำลังลง ดีไม่ดีหากมีการเยียวยาเพียงพอ อาจหมดไปก็เป็นได้

คิดว่าจะทำให้เลือกตั้งเร็วไม่ได้ เขาจะต้องใช้เวลาให้มากที่สุด ทั้งแจกจ่ายเยียวยา กดแกนนำ กวาดล้างเพื่อเอาขบวนการเสื้อแดงให้อยู่ แต่จะถึงทางตัน เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว มีกลุ่มนักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์จะชนะ หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีรัฐธรรนูญ เขียนโดยคณะที่ตั้งโดยผู้ยึดอำนาจ ทางฝั่งนั้นก็ชนะเลือกตั้ง ธ.ค.2550 อยู่ดี เพราะฉะนั้นรัฐบาลที่ขึ้นมาอยู่ไม่ได้ ในที่สุดโดนยุบพรรค มีการตั้งพรรคนี้ขึ้นมา

ตอนนี้ผ่านไปนานๆ สังเกตความโจ๋งครึ่มยิ่งมากขึ้น ไม่ต้องพูดเป็นนัยยะ แอบๆ เลียบๆเคียงๆ แล้ว คือรัฐบาลนี้เป็นที่รู้กันแล้วว่า ตั้งออกมาจากค่ายทหาร มีทหารเป็นสปอนเซอร์ และเรียกกลุ่มนักการเมืองที่แปรพักตร์ออกมา ไม่งั้นไม่มีอนาคต จึงตั้งรัฐบาลผสม แต่บางครั้งต้องระบุว่ายอมรับการแล้ว สมัยก่อนต้องเรียบๆ เคียงๆ

รัฐบาลก็อยู่มา สงกรานต์ปี 2552 ก็ประท้วงกันมาแล้ว สงกรานต์เดือด หลังสงกรานต์นายกฯก็พูดอย่างนี้ มีปฏิรูปและสมานฉันท์ พูดไปทำไป1ปี แต่มีพ.ค.2553ขึ้นมา แสดงว่าล้มเหลว เพราะมีเหตุการณ์ที่เป็นหลักฐาน ถ้าสมานฉันท์สำเร็จจะไม่มีเหตุการณ์เมษายน พฤษภาคม มิถุนายนที่ผ่านมา

ถ้าเลือกตั้งอีก คนสนับสนุน ประชาธิปัตย์ ก็คิดว่าเลือกตั้งแล้ว ถ้าแพ้จะลำบาก ผมเลยคิดว่าเลือกตั้งจะไม่เร็ว และคิดว่ากลไกจาก ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)จะมีอย่างต่อเนื่อง อาจเลื้อยไปเรื่อยๆ ถึงปลายปีหรือต้นปีหน้า หรือไม่มีกำหนด อ้างเหตุผลจำเป็นบอกต้องมีอยู่

การเลือกตั้งจะเป็นตัวพลิก ปีหน้าจะถึงเวลาอยู่ดี จะทำอย่างไรถ้าเลือกตั้งแล้วแพ้ จะทำให้เรากลับไปในปี 2551 เพระามีเงื่อนไขคล้ายกัน หรือ ถ้าชนะเลือกตั้งเป็นทีมก็มีแนวโน้มสูงขึ้นที่เป็นไปได้ ต้องมีพรรคร่วมเป็นทีม แต่ปชป.ต้องเสียต้นทุนมากขึ้น ตอนนี้เห็นว่ากระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม มีความสุขกันดี สนุกเลย พรรคเล็กแต่แรงต่อรองเยอะ ก็ถึงทางตัน ถ้ามีประชาธิปไตย แต่เลือกตั้งไม่เป็นที่ยอมรับ จะผ่าทางตันนี้อย่างไร

เปิดโฉมหน้า เผด็จการพันธุ์ใหม่ ท้าตรวจสอบ ศอฉ.ใช้งบประมาณ

ประการที่ 3 เกรงว่า ประชาธิปไตยไทยจะมีความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่มากขึ้น รู้สึก ศอฉ.มีพฤติกรรมคล้ายคณะปฏิวัติ เขาจะเรียกใครไปสอบก็ได้ ไปแช่แข็งบัญชีใครก็ได้ เขากักขังคนได้7วัน และต่อเวลาได้ อำนาจของศอฉ.น่าเป็นห่วง และไม่มีใครตรวจสอบเลย

ได้ยินว่าศอฉ.ใช้เงินมือเปิบเลยตอนนี้ ใช้ไปเท่าไรแล้ว ได้ข่าวสมาชิกศอฉ.ได้สตางค์พิเศษนอกเหนือเงินเดือน เป็นรายวัน โฆษกศอฉ.ได้เงินพิเศษเป็นรายวันหรือไม่ ขอให้ตรวจสอบบอกมาว่าได้เท่าไร ไม่งั้นใครจะไปตรวจสอบศอฉ.
บางครั้ง ตั้งคำถามว่าถ้าไม่มีกองทัพ ปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีรัฐบาลนายกฯชื่ออภิสิทธิ์ กองทัพจะเป็นอย่างไร 2 คำถามนี้ทำให้เห็นว่าเขาเอื้อกัน พึ่งพาพึ่งพิงกันอย่างแน่นแฟ้นและด้วยดีพอสมควร

หลัง 10เม.ย. ทหารต้องการทำรัฐประหาร ด้วยรู้สึกเจ็บแค้นมีกลุ่มติดอาวุธมายิงทหารออกไปปราบที่มีแต่โล่กระบอง เท่าที่สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องยืนยันได้ว่าทหารกระสับกระส่ายมากคืนนั้น ถ้าทำแล้วจะทำอย่างไรต่อ เขาจะลำบาก ขณะเดียวกันรัฐบาลถ้าไม่มีกองทัพหนุนหลังก็ไปไม่รอด ทั้งเมษายน52 และเมษายน-พฤษภาคม53 และเป็นการอิงกันลักษณะมีความเผด็จการมากขึ้น มีการบงการ การสั่งที่นอกเหนือกฎหมาย ละเมิดสิทธิ์เสรีภาพ เช่นการเรียกคนเข้าไปสอบเฉยๆ ไปเคาะประตู เอาบัญชีขึ้นมาเป็นบัญชีดำ

สังเกตบัญชีดำ 83 บัญชี ต้องมีท่อน้ำเลี้ยงแดงแน่นอน แต่ไม่ใช่ทุกคน ใครจะไปติดแหบ้าง ขึ้นอยู่กับศอฉ.ตัดสินอย่างไร ตอนนี้ไม่ต้องมีรัฐประหารแล้วคิดว่าเขาไปด้วยกันได้ดี และหลังเปลี่ยนผบ.ทบ. ก็ยิ่งจะแน่นแฟ้นขึ้นอีกหน่อย เพราะแบ็กเขาแบ็กเดียวกัน เป็นปรากฎการณ์เผด็จการพันธุ์ใหม่ ไม่ใช่เผด็จการทหาร แต่เป็นเผด็จการพลเรือน

เรื่องการซื้ออาวุธ การเลื่อนขั้น การเปลี่ยนตำแหน่งหมุนเวียน งบประมาณ ภาคใต้ บางเรื่องกองทัพเป็นเอกเทศเลย รัฐบาลไม่แตะ กองทัพได้โดยที่ไม่ต้องรัฐประหาร แต่มีข้อจำกัดที่เขาต้องทนอยู่กับรัฐบาลพลเรือน กองทัพมีความชอบธรรม เป็นประชาธิปไตย เอกเทศโดยไม่ต้องรัฐประหาร ขณะเดียวกัน รัฐบาลพลเรือนต้องพึ่งกองทัพ ต้องพึ่งกำลัง เขาต้องพึ่งกองทัพในการกดคู่ต่อสู้ ต้องพึ่งหลายหน่วยงานกดคู่ต่อสู้ เพื่ออยู่ต่อไป และกลับมาหลังการเลือกตั้ง

ทางออก ปล่อยนักการเมือง ไม่เช่นนั้นเจอทางตัน

หาทางออกยาก วิธีหนึ่งต้องปล่อยนักการเมืองที่ถูกห้ามออกมา ไม่งั้นเสื้อแดงไม่มีแกนนำเป็นทางเลือกใหม่ ถ้าคิดว่าเขามีตัวตน มีความรู้สึกนึกคิด เขาอาจมีแนวทางมีตัวเลือกใหม่ ถ้าปล่อยพวกนั้นเร็วก่อนกำหนด สนามเลือกตั้งจะเข้มข้น พรรคเพื่อไทยจะไม่ชอบ ปชป.ยิ่งไม่ชอบใหญ่ คนบอกถ้าไม่ใช่อภิสิทธิ์แล้วใครจะเป็นนายกฯ ผมบอกว่าก็คุณไปห้ามเขาหมด ต้องปล่อยพวกนี้ออกมาจะมีตัวเลือก ไม่งั้นจะเป็นทางตันอย่างต่อเนื่อง
-----------------------------------------------

จาก อัลบั้ม นสพ.ข่าวสดรายวัน

ข่าวสดรายวัน
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7150


สงครามแรก หลังพฤษภา"53


ผลัด กันชิงพื้นที่ข่าวกันแบบไม่มีใครยอมใครระหว่างข่าวฟุตบอลโลกกับข่าวการเมือง

พอ สรุปได้ว่าใครหวังจะใช้กระแสฟุตบอลโลก กลบเกลื่อนกระแสการเมือง"ด้านลบ"ภายในประเทศ หลังเหตุการณ์พฤษภา"53 คงต้องผิดหวัง

ยิ่งกว่าทีมแชมป์เก่าอิตาลีพลาดท่าตกรอบแรก

ส่วน ทีมอาร์เจนตินาที่นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศตัวเป็นหัวหน้ากองเชียร์ในไทยลุ้นคว้าแชมป์สมัยที่ 3 เซียนบอลดูแล้วพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูง

จะว่าไป แล้วสถานการณ์ของทีมฟ้าขาว เป็นอะไรที่แตกต่างกันลิบลับกับสถาน การณ์ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์

ที่กองเชียร์ลุ้นเท่าไหร่ก็ลุ้นไม่ขึ้น

โดย เฉพาะเมื่อดูจากผลสำรวจกรุงเทพโพล ในหัวข้อประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือนของรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ ซึ่งเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคทั่วประเทศ

คือ กระจกสะท้อนว่ารัฐบาลยังไม่สามารถครองใจประชาชนได้ทั้งที่เพิ่งชนะศึกใหญ่ ทางการเมือง

ถล่มทัพมวลชนเสื้อแดงจนแตกกระเจิง

ผลสำรวจดัง กล่าวก็คือ ประชาชนพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลเพียง 3.79 จากคะแนนเต็ม 10 ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกฯ ของนายอภิสิทธิ์ ได้แค่ 4.48 คะแนน

ทั้ง คณะรัฐบาลและนายกฯ สอบตกทั้งคู่

ลึกลงไปกว่านั้นโพลยังระบุ ประชาชนพอใจผลงานรัฐบาลด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย น้อยที่สุด 3.61 คะแนน

ส่วนนายกฯอภิสิทธิ์ ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ น้อยที่สุด 3.73 คะแนน

อย่างไรก็ตาม ขนาดสั่งการเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง จนเกิดความผิดพลาดมีคนตายถึง 90 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบ 2,000 คน

รัฐบาลยังฝ่ามรสุมโลหิตอยู่ต่อไปได้ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

กับแค่สอบตกผลงาน คะแนนลดต่ำลงไปไม่กี่จุด

รัฐบาล คงไม่เก็บเอามาคิดมาก

ถ้าหากไม่มีเงื่อนไขไฟต์บังคับที่จะต้องเลือก ตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 กทม.ขึ้นมาเสียก่อน


ถึงจะเป็นการเลือกตั้งซ่อมเพียงแค่เขตเดียว

แต่ผลแพ้-ชนะในสนามเลือก ตั้งนี้วิเคราะห์กันว่าไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

เพราะถือเป็นการวัดเรตติ้ง การเมืองตามกติกาประชาธิปไตยครั้งแรกภายหลังเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภา

เป็น การต่อสู้ตัวต่อตัวระหว่างแกนนำรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่ส่ง นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ลงชิงธงกับนายก่อแก้ว พิกุลทอง ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย

ทั้ง คู่ไม่ใช่บิ๊กเนม แต่ไม่ถึงกับโนเนม

นายพนิช เป็นอดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ปัจจุบันผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ คอหอยลูกกระเดือกกับนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ

มีผลงานตามล่าตามล้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาบรรดากองเชียร์รัฐบาล รวมไปถึงกองแช่งรัฐบาลด้วยเช่นกัน

ฝั่งนายก่อแก้ว เป็นอดีตผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย เป็นพิธีกรร่วมรายการความจริงวันนี้ และเป็น 1 ในแกนนำ นปช.

หลังปิด ฉากม็อบเสื้อแดง นายก่อแก้ว ตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำคลองเปรม

ยังดีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ออกจาก เรือนจำ 1 วันเพื่อไปกรอกใบสมัครรับเลือกตั้งได้ ก่อนต้องไปลุ้นอีกขยักว่าศาลจะให้ประกันตัวออกมาหาเสียงหรือไม่

อย่าง ไรก็ตามความสำคัญของการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคล

แต่ อยู่ที่ความเป็น "สงครามตัวแทน" ระหว่างรัฐบาลกับเสื้อแดง นปช.

การ ที่พรรคเพื่อไทยไม่ส่งนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ หรือนายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ ลงสมัคร แต่กลับส่งนายก่อแก้ว ซึ่งเป็นแกนนำ นปช.ลงแทน

พรรคประชา ธิปัตย์อ่านเกมว่าพรรคเพื่อไทยต้องการพลิกฟื้นกระแสคนเสื้อแดงให้กลับมา คึกคักอีกครั้ง

ข้อได้เปรียบของนายก่อแก้ว ในการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ก็คือแกนนำนปช.ไม่มีอะไรต้องเสีย

ถ้าแพ้ ก็ถือว่าเสมอตัวเพราะที่นั่งเดิมเป็นของพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้ว

แต่ หากเกิดพลิกล็อกเอาชนะได้ก็เท่ากับเป็นการตบหน้ารัฐบาลฉาดใหญ่

และ นั่นเป็นคำตอบว่าทำไมหัวเด็ดตีนขาดรัฐบาลและศอฉ.

ถึงได้ไม่ยอมยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน


ช่วงเวลาที่ผ่านมาสังคมต่างรับรู้โดยทั่วกัน

การ คงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้ ไม่ได้มีประโยชน์กับรัฐบาลแต่เฉพาะในด้านความมั่นคงเท่านั้น

แต่ยัง ถูกใช้เป็นเครื่องมือขุดรากถอนโคนการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเลือกตั้งซ่อมที่กำลังจะมีขึ้นอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ใน ทางกลับกันการบังคับใช้กฎหมายจนเกินความพอดี อย่างเช่นการกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ก่อการร้าย ร่วมขบวนการล้มล้างสถาบัน โดยไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นหนา

หรือการบังคับใช้กฎหมายแบบ 2 มาตรฐานที่ปรากฏชัดเจนในคดีบุกยึดสนามบิน หรือกระทั่งคดีคนในรัฐบาลถูกแจ้งความกล่าวหาสั่งฆ่าประชาชนก็ไม่มีอะไรคืบ หน้าให้เห็น

เหล่านี้ทำให้ประชาชนสัมผัสได้ถึงความไม่ยุติธรรม

ผล คือคนที่อยู่ตรงกลางเริ่มเคลือบแคลงสงสัยรัฐบาล เพราะเห็นการบังคับใช้กฎหมายที่เลือกปฏิบัติ และใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือจัดการฝ่ายตรงข้าม

อย่างที่โพลระบุในตอน ต้นว่าประชาชนพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการ และการบังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด 3.61 คะแนนเต็ม 10

แม้รัฐบาลจะ พยายามเสนอแผนการปรองดองออกมาเพื่อตัดกระแสต่อต้าน

ฉุดกระชากบรรดา บุคคลมีชื่อเสียงเด่น-ดัง เข้ามาเป็นประธานคณะกรรมการอิสระชุดต่างๆ ซึ่งบางคนมีประวัติพฤติกรรมโน้มเอียงไปทางใดก็รู้ๆ กันอยู่

จึงทำให้ เกิดคำถามตามมาว่ากรรมการเหล่านี้จะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม นำพาคนไทยไปสู่ฝั่งฝันความปรองดองได้จริงหรือไม่

บางทีคำตอบอาจอยู่ ที่การเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ก็เป็นไปได้
--------------------------------------------------

ผลที่ออกมาจะเป็นสิ่งยืนยัน ความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน

หน้า 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น