วันศุกร์, มกราคม 27, 2555

พรก.กู้เงิน 4 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว-ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกำหนด 4 ฉบับที่ถูกจับตามองจากฝ่ายค้านว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ 4 พ.ร.ก.ประกอบด้วย


1. พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555

2.พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555

3.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555

4.พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555



ทั้งนี้ มาตรา 7 ตาม พระราชกำหนด ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระบุว่า ในระหว่างการชำระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา 4 ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้


(1) ในแต่ละปี ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งเงินกำไรสุทธิที่ต้องนำส่งรัฐตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบ เข้าบัญชีตามมาตรา 5

(2) ให้โอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราหลังจาก การจ่ายเมื่อสิ้นปีเข้าบัญชีตามมาตรา 5 เฉพาะเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 โดยไม่ต้องโอนเข้าบัญชีสำรองพิเศษ

(3) ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ขณะที่ในมาตรา 8 ระบุว่า ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเป็นอัตราร้อยละต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้วต้องไม่เกินร้อยละ1ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก

เพื่อประโยชน์ในการชำระคืนต้นเงินกู้ หรือดอกเบี้ยเงินกู้ให้พอเพียง ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดในวรรคหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมกับเงินที่นำส่งตามวรรคหนึ่งแล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละ1ของยอดเงินที่สถาบันการเงินได้รับจากประชาชน

ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เอกชนกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาล เช่นเดียวกับที่คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) ได้เป็นห่วง ซึ่งเรื่องนี้ธปท.จะทำหนังสือแสดงความกังวลไปยังกระทรวงการคลัง และถ้ามีโอกาสก็คงจะเข้าหารือกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย

โดยประเด็นที่จะหารือ จะเน้นไปที่การแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ที่ทำให้สถาบันการเงินของรัฐสามารถออกผลิตภัณฑ์เงินออมที่ให้ดอกเบี้ยสูง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เองต้องรักษาฐานลูกค้าจึงไม่สามารถลดดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบาย มีผลต่อประสิทธิภาพนโยบาย

ส่วนการหารือกับกับธนาคารพาณิชย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF) ที่จะนำไปชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 1.14 ล้านล้านบาทนั้น คงจะนัดหารือกับธนาคารพาณิชย์อีกครั้งหลังจากที่ พระราชกำหนด(พ.ร.ก.) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

ส่วนกรณีที่ นายกิตติรัตน์ ไม่ต้องการให้ ธปท. เก็บค่าธรรมเนียมกับธนาคารพาณิชย์ในอัตราที่สูงกว่า 0.4% นั้น เรื่องนี้คงต้องขึ้นอยู่กับว่ากระทรวงการคลังต้องการให้การเรียกเก็บเงินสามารถนำไปชำระดอกเบี้ยได้อย่างเต็มที่หรือไม่และจะใช้เวลาในการลดเงินต้นหมดภายในกี่ปี


เปิดดูพระราชกำหนด ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯได้ที่นี่

พรก.กู้เงิน 4 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกำหนด 4 ฉบับที่ถูกจับตามองจากฝ่ายค้านว่าจะขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ 4 พ.ร.ก.ประกอบด้วย


1. พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555

2.พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555

3.พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555

4.พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555



ทั้งนี้ มาตรา 7 ตาม พระราชกำหนด ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระบุว่า ในระหว่างการชำระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา 4 ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้


(1) ในแต่ละปี ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งเงินกำไรสุทธิที่ต้องนำส่งรัฐตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบ เข้าบัญชีตามมาตรา 5

(2) ให้โอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราหลังจาก การจ่ายเมื่อสิ้นปีเข้าบัญชีตามมาตรา 5 เฉพาะเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 โดยไม่ต้องโอนเข้าบัญชีสำรองพิเศษ

(3) ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ขณะที่ในมาตรา 8 ระบุว่า ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเป็นอัตราร้อยละต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้วต้องไม่เกินร้อยละ1ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก

เพื่อประโยชน์ในการชำระคืนต้นเงินกู้ หรือดอกเบี้ยเงินกู้ให้พอเพียง ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดในวรรคหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมกับเงินที่นำส่งตามวรรคหนึ่งแล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละ1ของยอดเงินที่สถาบันการเงินได้รับจากประชาชน

ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เอกชนกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาล เช่นเดียวกับที่คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) ได้เป็นห่วง ซึ่งเรื่องนี้ธปท.จะทำหนังสือแสดงความกังวลไปยังกระทรวงการคลัง และถ้ามีโอกาสก็คงจะเข้าหารือกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย

โดยประเด็นที่จะหารือ จะเน้นไปที่การแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ที่ทำให้สถาบันการเงินของรัฐสามารถออกผลิตภัณฑ์เงินออมที่ให้ดอกเบี้ยสูง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เองต้องรักษาฐานลูกค้าจึงไม่สามารถลดดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบาย มีผลต่อประสิทธิภาพนโยบาย

ส่วนการหารือกับกับธนาคารพาณิชย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF) ที่จะนำไปชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยกว่า 1.14 ล้านล้านบาทนั้น คงจะนัดหารือกับธนาคารพาณิชย์อีกครั้งหลังจากที่ พระราชกำหนด(พ.ร.ก.) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

ส่วนกรณีที่ นายกิตติรัตน์ ไม่ต้องการให้ ธปท. เก็บค่าธรรมเนียมกับธนาคารพาณิชย์ในอัตราที่สูงกว่า 0.4% นั้น เรื่องนี้คงต้องขึ้นอยู่กับว่ากระทรวงการคลังต้องการให้การเรียกเก็บเงินสามารถนำไปชำระดอกเบี้ยได้อย่างเต็มที่หรือไม่และจะใช้เวลาในการลดเงินต้นหมดภายในกี่ปี


เปิดดูพระราชกำหนด ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯได้ที่นี่

วันอังคาร, มกราคม 24, 2555

เปิดปูม 3 เทพ "สไนเปอร์" คุยส่องเวียดกงดับกว่า 400 เเละ 10 เทพตลอดกาล


เปิดปูม 3 เทพ "สไนเปอร์" คุยส่องเวียดกงดับกว่า 400 เเละ 10 เทพตลอดกาล


เอ็ด แฮร์ริส (Ed Harris) นายพลนาซีในนาทีสุดท้ายแห่งชีวิต ยืนนิ่งกับที่หลังรู้ตัวว่าพลาด แพ้เหลี่ยมคมของวาสสิลิ เซ้ตซอฟ (Vassili Saytsev) โดยลุกออกจากจุดซุ่ม ขณะที่มือเพชฌฆาตซึ่งแสดงโดย จูด ลอว์ (Jude Law) ยืนเล็งปืนอยู่ระหว่างตู้รถไฟ ก่อนลั่นกระสุนสังหารอย่างแม่นยำในฉากไคลแม็กซ์ของภาพยนตร์ Enemy at the Gate ฮอลลีวูดคือโลกแห่งมายา ภาพยนตร์ที่สร้างออกมาอาจจริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่ที่แน่ๆ ฌ็อง-ฌากส์ อานโนด์ (Jean-Jaques Annaud) ผู้สร้างและกำกับ ได้ทำให้สุดยอดสไนเปอร์แห่งกองทัพแดงอดีตสหภาพโซเวียตเป็นที่รู้จักไปทั่ว โลก แต่อีกไม่กี่ทศวรรษต่อมา ด้วยอาวุธที่ทันสมัยยิ่งขึ้น ได้ทำให้เกิดสไนเปอร์ระดับเทพอีกหลายคนในช่วงสงครามเวียดนามและสงครามใน อัฟกานิสถาน.

ต้องขอบคุณภาพยนตร์ Enemy at the Gate ที่ทำให้โลกรู้จักวาสสิลี เซ้ตซอฟ (Vassili Zaytsev) พลแม่นปืนที่ขับเคี่ยวกับนายทหารนาซีคนหนึ่งนาน 3 สัปดาห์ และ กลายเป็นผู้พิชิตนายพลสุดยอดฝีมือในศึกสตาลินกราด เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

แต่ภาพยนตร์คือมายา ถึงแม้เซ้ตซอฟจะมีตัวตนอยู่จริงและเป็นสไนเปอร์ระดับเทพจริง แต่ก็มีหลายเรื่องที่ไม่จริง

ไม่นานเพียง 2-3 ทศวรรษหลังศึกสตาลินกราด สไนเปอร์ชั้นเทพได้จุติขึ้นมาอีก 3 คน ในยุคสงครามเวียดนาม ทั้งหมดเป็นทหารอเมริกัน ซึ่งเมื่อรวมผลงานแล้ว สามเทพสามารถ "เก็บ" ฝ่ายข้าศึกได้รวมกันกว่า 400 คน

เว็บไซต์ข่าวการทหารในสหรัฐฯ ขุดคุ้ยเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมจัดให้สไนเปอร์อเมริกันทั้งสาม เข้าอันดับ "10 สไนเปอร์มือหนึ่ง" นับแต่มีคนกลุ่มนี้อยู่ในโลก

แต่ไม่ใช่แค่จำนวนเป้าหมายที่พวกเขา "ล้ม" ได้เท่านั้น ความสามารถพิเศษกับความทรหดอดทน เป็นคุณสมบัติสำคัญเช่นกันในการจัดอันดับเทพสไนเปอร์ทั้งสิบ

1. คาร์ลอส นอร์แมน แฮธค็อกซ์ที่ 2 (Carlos Norman Hathcock II)

แฮธค็อกซ์ เกิดวันที่ 20 พ.ค.2485 ถึงแก่กรรม 1 เม.ย.2542 เคยเป็นนักยิงปืนล่ารางวัลและได้รับหลากหลายรางวัลก่อนจะอาสาไปเวียดนาม ซึ่งพลทหารคนนี้สามารถ "ล้ม" ข้าศึกได้ 93 คนเท่าที่ยืนยันได้ และ ยังมีเป้าหมายที่ไม่สามารถยืนยันการเสียชีวิตไม่ได้อีกนับร้อย

มีเรื่องเล่ากันต่อๆ มาว่า กองทัพเวียดนามเหนือตั้งค่าหัวแฮธค็อกซ์ถึง 30,000 ดอลลาร์ หลังจากสังหารกำลังพลของฝ่ายนั้นไปมากมาย รวมทั้งระดับรองแม่ทัพคนหนึ่ง

แฮธค็อกซ์เป็นสไนเปอร์เพียงคนเดียวในสงครามเวียดนาม ที่ "สอย" นักซุ่มของฝ่ายข้าศึกคนหนึ่งโดยยิงทะลุกล้องติดปืน ซึ่งมีเพียงโอกาสเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ คือ ทั้งสองฝ่ายเล็งปืนเข้าหากันในเวลาเดียวกัน แฮธค็อกซ์ลั่นไกก่อนและมันพุ่งทะลุเข้าลูกตาอย่างแม่นยำ

เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นขณะที่หมวดนาวิกโยธินที่แฮธค็อกซ์สังกัด กำลังลาดตระเวน สไนเปอร์ของเวียดนามเหนือเปิดฉากยิงจากระยะไกลแต่พลาด พลทหารโรแลนด์ เบิร์ค (Roland Burke) พลชี้เป้ามองเห็นแสงสะท้อนจากเลนส์กล้องติดปืน แฮธค็อกซ์เล็งไปที่นั่นทันทีทันใด และสร้างตำนานให้สไนเปอร์รุ่นหลังเล่าขาน

ครั้งหนึ่งเขาได้รับคำสั่งให้ "เก็บ" นายพลเวียดนามเหนือคนสำคัญ แฮธค็อกซ์ปฏิบัติการเวลากลางคืน พรางตัวและคลานเป็นระยะทาง 1,500 หลาเข้าพื้นที่เป้าหมาย ช่วงหนึ่งเขาเกือบถูกงูเห่าฉก และอีกครั้งหนึ่งเกือบจะถูกทหารเดินยามเวียดนามเหนือคนหนึ่งเหยียบ

แฮธค็อกซ์คลานถึงจุดซุ่ม เมื่อเป้าหมายไปถึงเขาก็พร้อมอยู่แล้วและเหนี่ยวไกทันที ท่านนายพลโดนเข้ากลางอกล้มลง ทหารฝ่ายนั้นออกค้นหาสไนเปอร์จ้าละหวั่น พลทหารนักแม่นปืนต้องคลานกลับอีก 1,500 หลา ให้พ้นพื้นที่ข้าศึก

และ นี่คือสุดยอดสไนเปอร์ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งทะยานขึ้นอันดับ 2 ในสังเวียนระดับโลก

2. เอเดลเบิร์ต เอฟ วัลดรอน (Adelbert F Waldron)


เกิดวันที่ 14 มี.ค.2476 ถึงแก่กรรม 18 ต.ค.2535 "เก็บ" ฝ่ายเวียดนามเหนือได้ 109 คน แต่ได้รับการยกย่องเป็นนักแม่นปืนที่แม่นยำที่สุดและมือดีที่สุดคนหนึ่งของ นาวิกฯ สหรัฐ

พ.อ.ไมเคิล ลี แลนนิง (Michael Lee Lanning) นายทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนาม ได้บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ว่า บ่ายวันหนึ่งขณะหมวดลาดตระเวนกำลังแล่นเรือไปตามลำน้ำโขง มีข้าศึกยิงจากฝั่งในระยะไกลโดนเข้าลำเรือ และขณะที่คนอื่นๆ ตื่นตระหนกหาที่หลบซ่อน จ่าวัลดรอนมองเห็น เขายกปืนขึ้นเล็งและสอยเวียดกงนักซุ่มลงจากต้นมะพร้าวที่อยู่ห่างออกไปราว 900 หลา

มือวางอันดับ 2 ในสงครามเวียดนามและอันดับ 3 ในระดับโลก ได้รับการยกย่องในความมีสติ กับความแม่นยำยิ่ง ในเหตุการณ์ดังกล่าว เขาประทับไหล่ยิงขณะที่เรือยังคงแล่นไปข้างหน้า ซึ่งยากมากที่จะ "สอย" เป้าหมายที่อยู่ไกลขนาดนั้น

"นี่คือพลแม่นปืนที่ดีที่สุดของเราคนหนึ่ง" พ.อ.แลนนิง เขียนเอาไว้ในหนังสือ "Inside the Crosshairs: Snipers in Vietnam"

3. ชาร์ลส์ "ชัค" มอวินนีย์ (Charles ‘Chuck’ Mawhinney)
.

เกิดปี พ.ศ.2492 เกิดในครอบครัวชาวนาแห่งทุ่งแพรรี่ ล่าสัตว์มาตั้งแต่ยังเล็ก สมัครเข้ารับใช้ชาติในปี 2510 และ เพียง 16 เดือนในเวียดนาม พลทหารมอวินนีย์ ซัดข้าศึกด่าวดิ้นต่อหน้า 103 คน อีก 216 คน โดน "ส่อง" และอาจถึงแก่ชีวิต ในช่วงปีดังกล่าวเป็นการเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะค้นหาศพเพื่อยืนยัน

เมื่อปลดประจำการจากกองกำลังนาวิกโยธิน "ชัค" ไม่ปริปากเรื่องเวียดนามกับใคร มีเพื่อนนาวิกฯ เพียงไม่กี่คนที่รู้ จนอีก 20 ปีต่อมาหนึ่งในคนเหล่านั้นจึงเปิดเผยเรื่องราวอันน่าทึ่งของเขาออกมาให้โลก รู้จัก ซึ่งขณะนั้นมอวินนีย์เป็นครูสอนวิชายิงปืนที่สถาบันแห่งหนึ่ง

"มันเป็นการล่าที่สุดยอด- คนๆ หนึ่งออกล่าอีกคนหนึ่งที่กำลังตามล่าตัวเขาเช่นเดียวกัน อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับการล่าสิงโตล่าช้างอย่างเด็ดขาด- สัตว์พวกนั้นไม่ได้มีโอกาสต่อสู้ ไม่ได้ยิงโต้ตอบคุณด้วยไรเฟิ้ลติดกล้อง ผมรักการล่า (ในเวียดนาม) อย่างจับใจและรู้สึกพอแล้ว" เพื่อนนาวิกฯ ที่เขียนเรื่องราวของเขา อ้างคำพูดอันเป็นวรรคทองของมอวินนีย์

ระยะซุ่มยิงของมอวินนีย์จะอยู่ระหว่าง 300-800 หลา แต่ก็มีหลายครั้งที่เขาสอยข้าศึกร่วงจากระยะกว่า 1,000 หลา ซึ่งทำให้มอวินนีย์เป็นเทพสไนเปอร์อันดับ 3 ในสงครามเวียดนาม และนี่คือมือวางอันดับ 8 ของโลก

10 เทพตลอดกาล

อีก 7 คนที่ขึ้นทำเนียบ 10 สุดยอดสไนเปอร์ จัดอันดับจากยอดนักแม่นปืน ตั้งแต่ยุคอาณานิคมในอเมริกาเหนือ ถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ สงครามโลกครั้งที่ 2

1. สิโม ฮาห์ยา (Simo Häyhä)

ในช่วงสงครามกับรัสเซีย พ.ศ.2482-2483 ในเวลาเพียง 100 วัน พลทหารกองทัพเล็กๆ ของฟินแลนด์คนนี้สังหารทหารรัสเซีย 505 คนด้วยปืนไรเฟิ้ลไม่ติดกล้อง กับอีกราว 200 คนด้วยปืนกล รวมผลงาน 705 ศพ

ฮาห์ยาบอกกับคนใกล้ชิดในเวลาต่อมาว่า กล้องติดปืนเป็นอันตรายอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมด้วยหิมะ มันอาจสะท้อนแสงวาววับเมื่อไรก็ได้ ซึ่งจะทำให้ข้าศึกมองเห็นจุดซุ่มยิง เทคนิคการเอาชีวิตรอดอีกอย่างหนึ่งคือ ก่อนจะลั่นไกเขาจะอมหิมะเอาไว้ ป้องกันมิให้ลมหายใจที่พวยพุ่งออกมากลายเป็นไอให้เห็น ภายใต้อุณหภูมิติดลบ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นที่สังเกตของฝ่ายตรงข้าม

จุดซุ่มของเขาจะมีหิมะปกคลุมช่วงปลายกระบอกปืนเอาไว้เสมอ ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ ไม่ให้ไอร้อนจากการยิงพวยพุ่งขึ้น

เมื่อเขายิงสังหารฝ่ายรัสเซียเป็นจำนวนมากขึ้นทุกทีๆ ฝ่ายนั้นส่งทหารทั้งกองร้อย ออกค้นหาทั่วทั้งป่าและทุ่งหิมะ แต่ก็ไม่เคยพบ "ความตายสีขาว" (White Death) อันเป็นฉายาที่ข้าศึกมอบให้ด้วยความเคารพเลื่อมใส

4. ฟรานซิส พีกะมากาโบว์ (Francis Pegahmagabow)
เกิด 1 มี.ค.2431 ถึงแก่กรรม 5 ส.ค.2495 เป็นพลทหารชาวแคนาดา เป็นสไนเปอร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีประวัติสังหารทหารเยอรมันถึง 378 คน จับได้อีก 300 คนเศษ ยังมีชื่อเสียงในฐานะนักสะกดรอยและสอดแนมในพื้นที่ยึดครองของข้าศึก


5. ลูดมิลา ปาฟลิเชนโก (Lyudmila Pavlichenko)

เกิด 12 ก.ค.2459 ถึงแก่กรรม 10 ต.ค.2517 สมัครเข้าเป็นทหารเดือน มิ.ย.2484 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะกองทัพนาซีบุกสหภาพโซเวียต เธอเป็นหนึ่งในนักแม่นปืนหญิงราว 2,000 คนของกองทัพแดง ปฏิบัติการในเซวาสโตโปล (Sevastopol) คาบสมุทรไครเมีย ในทะเลดำ

“นักฆ่าหน้าหวาน” มีประวัติสังหารนาซี 309 คน ในนั้น 36 คนเป็นสไนเปอร์เช่นเดียวกับเธอ

6. วาสสิลี เซ้ตซอฟ (Vassili Zaytsev)

เกิด 23 มี.ค.2458 ถึงแก่กรรม 15 ธ.ค.2544 ดูจะเป็นสไนเปอร์ที่โลกรู้จักมากที่สุด ผ่านภาพยนตร์ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งที่ ฌ็อง –ฌากส์ อานโนด์ (Jean-Jaques Annaud) สร้างและกำกับ จูด ลอว์ (Jude Law) ประชันบทกับ ริชาร์ด ไฟนส์ (Richard Fiennes) เอ็ด แฮร์ริส (Ed Harris) กับ เรเชล ไวส์ (Rachel Weisz)

เกิดในครอบครัวชาวนา เซ้ตซอฟเข้าเป็นทหารกองทัพแดงของอดีตสหภาพโซเวียต เขาสังหารนาซีได้ 242 คน ระหว่างเดือน ต.ค.2485 ถึง ม.ค. 2486 ที่กองทัพของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ยึดครองนครสตาลินกราด (Stalingrad) เรื่องราวอันแท้จริงของเขาไม่มีรายละเอียดมากนัก เพียงแต่ว่าเขาสามารถสังหารเออร์วิน โคนิก (Erwin Kónig) สุดยอด "มือปราบสไนเปอร์" ของนาซีได้ และได้ปืนของคู่ต่อสู้เป็นรางวัลเกียรติยศ เนื่องจากเป็นของคนที่เป็นยอดฝีมือเช่นเดียวกันกับตัวเขา

7. ร็อบ เฟอร์ลอง (Rob Furlong)

โรเบิร์ต เฟอร์ลอง เป็นอดีตพลทหารกองทัพแคนาดา ปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน เป็นสไนเปอร์ที่ยิงสังหารได้จากระยะไกลที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในประวัติ ศาสตร์ คือ 1.51 ไมล์ หรือ 2,430 เมตร

ร็อบยิงด้วยปืน TAC 50 ขนาด .50 มม.ของแม็คมิลลันบราเดอร์ส (McMillan Brothers) และ ยิงด้วยกระสุน A-MAX เป้าหมายเป็นผู้นำระดับปฏิบัติการคนสำคัญของกลุ่มอัลกออิดะห์ นัดแรกของเขาพลาดเป้า นัดที่สองโดนเป้สะพายหลัง

ตอนกระสุนนัดที่ 2 โดนนั้น ร็อบได้เหนี่ยวไกยิงนัดที่ 3 ออกไปแล้ว แต่ก็เป็นช่วงที่อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัวว่าถูกลอบยิง ระยะทางขนาดนั้นกระสุนแต่ละนัดใช้เวลาราว 3 วินาที แหวกอากาศสู่เป้าหมาย ซึ่งนานพอที่อีกฝ่ายหนึ่งจะรู้ตัวว่าโดนซุ่มและหลบหาที่กำบัง

แต่นักฆ่าชาวแคนาดามีสติมั่นคง เพียง 3 วินาทีก็มากพอที่จะยิงซ้ำนัดที่ 3 ซึ่งพุ่งเข้าทะลุหน้าอกของเป้าหมายทั้งหมดนี้เกิดขึ้นต่อหน้าเพื่อนร่วมทีม สังหารอีก 3 คน

9. “จ่าเกรซ” (Sgt Grace)
.
ทหารราบพลปืนสังกัดกองพันทหารราบจอร์เจียที่ 4 ของฝ่ายสหพันธรัฐ ในช่วงสงครามกองทัพกับอังกฤษ เป็นผู้สังหารนายพลจอห์น เซ็ดจ์วิค (Gen John Sedgwick) ของฝ่ายข้าศึกจากระยะ 1,000 หลา

จ่าเกรซยิงพลาดนัดแรกทำให้ทหารอังกฤษวิ่งหาที่กำบัง แต่นายพลเซ็ดจ์วิคยังอยู่ที่เดิม และ ยังดุผู้ใต้บังคับบัญชาว่าตกใจกลัวเกินเหตุ ทั้งๆ ที่สไนเปอร์ยิงจากระยะไกลขนาดนั้น ท่านนายพลดุทหารซ้ำอีกครั้งว่า “ระยะขนาดนั้นยิงช้างยังไม่โดนเลย”

แต่กระสุนนัดที่ 2 ของจ่าเกรซเจาะทะลุเข้าที่บริเวณใต้ตาข้างขวาของนายพลเซ็ดจ์วิค ซึ่งกลายเป็นผู้เสียชีวิตระดับสูงที่สุดของฝ่ายอังกฤษในสงครามแย่งดินแดน อาณานิคมในอเมริกาเหนือ

และเรื่องที่ขำไม่ออกก็คือ จ่าเกรซซุ่มยิงด้วยไรเฟิ้ลยี่ห้อวิธเวิร์ธ (Whitworth) ที่ผลิตในอังกฤษ

10. โทมัส พลันเกตต์ (Thomas Plunkett)

พลทหารชาวไอริชสังกัดกองทัพอังกฤษประจำการในแคนาดา เป็นผู้ยิงสังหารนายพลออกุสเต-มารี-ฟรังซัว โกลแบร์ต (Auguste-Marie-François Colbert) จากระยะไกล 600 เมตร ด้วยไรเฟิ้ลยี่ห้อเบเคอร์ (Baker)

พลันเกตต์ไม่ได้ฟลุก เขายิงพลแตรของฝ่ายฝรั่งเศสอีกคนหนึ่ง ที่เข้าไปช่วยเหลือท่านนายพลขณะใกล้จะสิ้นลม ถือเป็นผลงานสุดยอดด้วยไรเฟิ้ลในศตวรรษที่ 19

ไม่มีรายละเอียดมากนักเกี่ยวกับพลทหารยอดฝีมือจากไอร์แลนด์ ทราบแต่ว่าเสียชีวิตในปี พ.ศ.2394.

จากเว็บ http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000005903
เเละภาพบ้างส่วนที่หายผมได้เติมให้ครบมีเเก้ไข้บ้างส่วนมีข้อผิดพลาดอะไรเเนะนำได้เลยครับ

Sniper: Inside the Crosshair - Robert Furlong 2.5KM Sniper Kill Shot in ...

วันพฤหัสบดี, มกราคม 19, 2555

"ป๋าเปรม-นายกฯ" เคียงคู่ร่วมงานเลี้ยงวันกองทัพบก


"พล.อ.เปรม" เคียงคู่ "ยิ่งลักษณ์" ร่วมงานเลี้ยงวันกองทัพบก นายกฯนอบน้อมบรรจงไหว้ ขณะที่ป๋าเปรมยิ้มรับอย่างมีไมตรี บรรยากาศชื่นมื่นอบอวลสโมสรกองทัพบก

วิรุฬ ปรีจั่น ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวี รายงานจากสโมสรทหารบก (วิภาวดี) ในงานเลี้ยงเนื่องในวันกองทัพบก ล่าสุดบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก ขณะเดียวกัน นายทหารระดับสูงได้แต่งกายเครื่องแบบสโมสรอกอ่อนสีขาวแถบคาดเอวสีแดง ร่วมงานครั้งนี้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานในการจัดงานเลี้ยงรับรองเนื่องในวันกองทัพบก ครบรอบ 420 ปี ประจำปี 2555 สำหรับงานในวันนี้ มีบุคคลสำคัญเข้าร่วม อาทิ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. รวมทั้ง ประธานองค์กรด้านนิติบัญญัติ และ ตุลาการ, อดีตผู้บังคับบัญชาของกองทัพบก, คณะรัฐมนตรี, ผู้บัญชาการเหล่าทัพ, ผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย และ รมว.กลาโหมของสิงคโปร์ เข้าร่วมด้วย

สำหรับวันกองทัพไทยเป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย โดยนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่า...วันที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และหลังจากจัดพิธีรำลึกงานวันกองทัพไทยแล้ว ในวันถัดไปจะเป็นงานเลี้ยงรับรองตามธรรมเนียมปฏิบัติต่อกันมา

ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง งานเลี้ยงนี้เป็นครั้งแรก ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะได้พบกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ โดยทั้งคู่ก่อนเข้าไปในงาน มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ต่อสื่อมวลชน ก่อนที่จะเดินควงคู่กันเข้าไปในงาน

อย่างไรก็ตาม ในการจัดโต๊ะนั่งภายในงานเลี้ยง ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดโต๊ะวีไอพีให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั่งคู่กับ พล.อ.เปรม โดยบรรยายกาศเป็นไปด้วยความชื่นมื่น

วันพุธ, มกราคม 18, 2555

นายกฯมั่นใจปรับครม.ครั้งนี้ ไม่ผิดฝาผิดตัวแน่นอน


นายกฯแจง การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ถือเป็นการปรับหลังจากมีการทำงานในระยะหนึ่งแล้วและปรับเพื่อความลงตัว ยืนยันไม่เป็นการต่างตอบแทนตามที่หลายฝ่ายออกมาวิจารย์อย่างแน่นอน

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงถึงการปรับคณะรัฐมนตรี ว่า การปรับคณะรัฐมนตรี ครั้งนี้ถือเป็นการปรับหลังจากมีการทำงานในระยะหนึ่งแล้วและปรับเพื่อความลงตัวก็เท่านั้น ทั้งนี้เห็นว่าขณะนี้ประเทศกำลังอยู่ในขั้นตอนของการฟื้นฟู พร้อมยืนยันว่าไม่ได้เป็นการต่างตอบแทนตามที่หลายฝ่ายออกมาวิจารย์อย่างแน่นอน แต่ได้พิจารณาจากความรู้ความสามารถ และก็ต้องการบุคลากรมาช่วยงานเพื่อให้ตรงกับการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ

ส่วนการแต่งตั้งให้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ มาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้นเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้และการศึกษาที่ดี ซึ่งจะเข้าใจปัญหาของเกษตรกรได้ดี ส่วนกรณีของนางนลิณี ทวีสิน ที่มีการแจ้งว่าติดบัญชีดำของต่างประเทศนั้น ได้มีการพิจารณารตรวจสอบคุณสมบัติเบื่องต้นแล้วและก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญของไทยและเห็นว่าไม่เป็นเป็นปัญหาต่อหน้าตาของคณะรัฐมนตรีอย่างแน่นอน

ขณะเดียวกันมั่นใจว่าการปรับคณะรัฐมนตรียี่งลักษณ์ 2 ครั้งนี้ ไม่ผิดฝาผิดตัวอย่างแน่นอน อาจมีหลายคนที่ไม่คุ้นหน้า แต่หากดูคุณสมบัติและความสามารถแล้วส่วนใหญ่ก็ตรงกับงานที่จะต้องไปดูแล

ส่วนการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้นเห็นว่าไม่กระทบต่อเศรษฐกิจมหาภาคเพราะการเปลี่ยนครั้งนี้แทบจะไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลยและก่อนหน้านายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ก็ดูแลดูด้านเศรษฐกิจเป็นหลักอยู่แล้ว เพียงแต่หลังจากนี้ไป นายกิตติรัตน์ จะเข้ามารับผิดชอบโดยตรงด้านเศรษฐกิจโดยตรง ขณะเดียวกันเห็นว่าปีนี้เป็นปีสำคัญดังนั้นจึงต้องการให้ นายกิตติรัตน์ มาช่วยดูเศรษฐกิจโดยตรงอีกทั้งจะทำงานควบคู่กันกับ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อฟูและสร้างอนาคตประเทศหรือ กยอ.อย่างใกล้ชิด

ส่วนการแต่งตั้งนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจากที่ดูแลทางด้านเศรษฐกิจมาก่อนนั้น นายกรัฐมนตรีอยากให้มองว่ากระทรวงศึกษาธิการไม่ใช่กระทรวงเศรษฐกิจ แต่ต้องการพัฒนาบุคลากรบุคคลกรมากกว่า หากพัฒนาไปได้ดีวงการศึกษาก็ไปได้ และนายสุชาติก็เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่แล้ว ที่เป็นนักการศึกษา จึงน่าจะจะมีความรู้ความเข้าใจในวงการศึกษา

ส่วนของพลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้นจะไม่เป็นปัญหาระหว่างกองทัพ เพราะเป็นสายทหารเหมือนกัน จึงน่าจะมีความเข้าใจเรื่องของกองทัพแต่จะต้องทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกัน การให้พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา มาเป็นรองนายกรัฐมนตรีนั้นเพื่อให้ดูแลด้านความมั่นคง และกระทรวงกลาโหม ซึ่งไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ส่วนการที่ให้พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ ออกจากรองนายกรัฐมนตรีนั้นจะไม่น่อยใจ แต่รู้สึกเสียดาย เพราะเป็นคนที่ช่วยงานรัฐบาลมาเยอะมาก แต่ด้วยจำนวนตำแหน่งที่มีจำกัด

อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีขอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้ทำงานก่อน และขอให้ประชาชนสบายใจว่าทุกอย่างได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้เดินหน้าทำงาน โดยจะเน้นที่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและผลักดันนโยบายเศรษฐกิจ

ขอบคุณที่มา: Produced by VoiceTV

เปิดอก พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ก่อนถูกเด้งจากกลาโหม "การเมืองยังระแวงทหาร"


พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา หนึ่งในรัฐมนตรีที่ถูกนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีปรับก่อนตรุษจีน โดยคาดว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ จะถูกปรับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านความมั่นคง แล้วให้ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มานั่งแทน

ก่อนจะถูกปรับจากตำแหน่ง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ "มติชน ออนไลน์" ถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับทหารว่า ขณะนี้กำลังดีขึ้นทุกที ความไว้วางใจ ความสบายใจของรัฐบาลที่มีต่อทหารมากขึ้น

"โดยเฉพาะท่านนายกฯท่านให้ความเชื่อมั่นมาก ผมก็กราบเรียนท่านว่าถ้ามีเรื่องเร่งด่วน ท่านไม่ต้องรอสั่งรัฐมนตรี ท่านสั่งตรงได้เลย ผมให้ท่านมีเบอร์โทรศัพท์ของ ผบ.เหล่าทัพทุกท่าน ท่านสั่งตรงได้เลย แล้ว ผบ.เหล่าทัพจะรายงานให้ผมทราบเองว่าเขาได้รับคำสั่งตรงมาอย่างไรบ้างเพื่อความรวดเร็ว"

ท่านนายกฯไม่ต้องเกรงใจตน ไม่ต้องเกรงใจสายงาน ถ้ามีเรื่องอะไรก็สั่งให้ทำเสียก่อน แล้วเรามาตามทีหลังได้ เวลานี้ใช้ความรวดเร็ว ใช้ความไว้วางใจมากยิ่งขึ้น ก็ทำให้รัฐบาลได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ตนได้พูดกับน้องๆ จากพรรคเพื่อไทยที่มาช่วยงานว่าขอชี้แจงให้พรรคเข้าใจด้วย การทำงานของตนไม่ได้คิดถึงเรื่องการใช้กำลังทหารไปต่อต้านอะไร แต่ใช้ไว้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ทางพรรคต้องการให้ทหารช่วยงานอะไร ก็พร้อมที่จะช่วยทุกเรื่องเลย ไม่ได้ช่วยแต่ทางรัฐบาลอย่างเดียว

"ทางการเมืองก็ต้องให้ความไว้วางใจหน่อย ผมก็ยืนยันว่าไม่มีอะไรจริงๆ ในหัวใจของเขา วันนี้ยังระแวงยังคิดอยู่ว่าใจเขายังฝักใฝ่อย่างเดิมอยู่หรือเปล่า ผมรู้ว่าวันนี้ไม่มีหรอกครับ ในหัวใจของนายทหารไม่มี คนเรามันอยู่ที่ความคิด เอาชนะทางความคิด เปลี่ยนแปลงทางความคิดแล้วการปฏิบัติก็ทำได้ แต่ถ้าจะเปลี่ยนทั้งคนและเริ่มความคิดใหม่ มันต้องมาทำงานใหม่อีกหลายเรื่อง มันยากนะครับ ทำอย่างพ่อขุนรามคำแหง ทำให้ศัตรูมาเป็นมิตรเสีย"

ทหารทุกคนต้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ บทบาทนี้จะต้องเต็มที่ ตนก็เห็นแล้วว่าแสดงความจงรักภักดีเต็มที่จริงๆ ตนยืนยันว่าได้ถวายชีวิตแล้วให้กับสถาบัน ถ้าเป็นผู้นำเราทำอย่างนี้ น้องๆ ในกองทัพจะตามเราอย่างสุดกำลังเลย แต่ถ้าเราทำเฉยเมยไม่พูดเสียเลย ลูกน้องก็ทำไปตัวคนเดียว จะเห็นว่าผู้บัญชาการทหารบกนั้นเกินร้อย

"เราพูดกันแล้ว เราคุยกันหลายๆ ครั้ง สิ่งเดียวที่เรามีความคิดเหมือนกันก็คือสิ่งนี้ ตราบใดที่ยังมีประเทศชาติอยู่ตราบนั้นจะต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้าไม่มีจะไม่มีชีวิตพวกเรา เราคุยกันลึกซึ้งกับผบ.เหล่าทัพ มันก็ได้ใจกัน"

วันอาทิตย์, มกราคม 15, 2555

ภาพภารกิจนายกรัฐมนตรี จากงาน "วันเด็ก" น่ารักๆ สู่ "งานหลัก" ที่เชียงใหม่

ภาพ: นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงานฯ) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้การต้อนรับ ณ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย


วันที่ 14 มกราคม อาจถือเป็นวันเสาร์ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีงานชุกเป็นพิเศษ ทั้งในฐานะ "แม่" ที่ต้องพาลูกชายไปเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ ในฐานะ "นายกรัฐมนตรี" ซึ่งต้องต้อนรับ-เล่านิทานให้พลเมืองตัวน้อยๆ ของประเทศได้รับฟัง และในฐานะ "ผู้นำประเทศ" ที่ต้องเดินทางไปประชุมครม.สัญจรที่จ.เชียงใหม่


นอกจากสมาชิกครม. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แล้ว นายกฯ ยังได้พบกับ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ผอ.โครงการพัฒนาดอยตุง และนายสุเมธ ตันติเวชกุล ที่ปรึกษากยน.


บรรยากาศงานเลี้ยงคณะรัฐมนตรี ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่


ภาพจากเฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra





วันอังคาร, มกราคม 03, 2555

ที่สุดดาวเด่นปี ′54 ยกให้ "ทหาร" หัวใจพี่หล่อมาก สื่อดราม่าต้องช่อง3-ผู้คนในเพจ"น้ำขึ้นให้รีบบอก"


ที่สุดดาวเด่นปี ′54 ยกให้ "ทหาร" หัวใจพี่หล่อมาก สื่อดราม่าต้องช่อง3-ผู้คนในเพจ"น้ำขึ้นให้รีบบอก"

"โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ กระต่ายลอยคอ"

ไม่น่าเชื่อว่า เพลงกล่อมเด็กที่มีตรรกะแปลกๆเพลงนี้ จะทำให้เห็นภาพสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา
เพราะปี 2554 เป็นปีกระต่าย และดูเหมือนว่า กระต่ายตัวนี้จะพาผู้คนลอยคอเพราะน้ำท่วมกันเกือบแทบทุกภาคของเมืองไทย

โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของปี ตั้งแต่เดือนกันยายน น้ำเหนือเริ่มไหลลงมาท่วมภาคกลางจนมาถึงกรุงเทพฯในที่สุด
แน่นอนว่า เหตุเกิดครั้งนี้ ผู้คนจำนวนหลายล้านคนต้องเดือดร้อนกัน จากการไม่มีที่อยู่ ธุรกิจหยุดชะงัก ไปจนถึงขาดแคลนอาหารกันเป็นแรมเดือน

แต่ในภาวะวิกฤติ มักมีฮีโร่เกิดขึ้นมาเพื่อบรรเทาวิกฤติอยู่เสมอ


หากกรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี กรุงรัตนโกสินทร์ก็ไม่สิ้นดาวเด่นที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากในช่วงน้ำท่วมเช่นกัน

มาดูกันดีกว่าว่า ดาวเด่นที่ลอยเหนือน้ำท่วม ที่จะลืมไม่ได้ในปีกระต่ายนี้ มีคนกลุ่มไหนกันบ้าง?


พี่ทหาร หัวใจพี่หล่อมาก

สุดยอดดาวเด่นในช่วงเวลาน้ำท่วมในปีนี้ คงจะหนีไม่พ้น “พี่ทหาร”
ในช่วงเวลาน้ำท่วม ปืน และ รถถัง ไม่ใช่สัญลักษณ์ประดับความเป็นเป็นทหาร
แต่กลับกลายเป็น รถทหาร และเรือทหาร ที่เป็นพาหนะบรรเทาทุกข์ให้กับผู้คนในยามยาก
และที่สำคัญก็คือ กำลังกายจากทหาร ที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนในเวลา 2-3 เดือน ในช่วงที่สภาวะน้ำท่วมกำลังเข้มข้น

ภารกิจของชายในชุดเขียว มีมากมาย ทั้งขนของไปบริจาค ขับเรือ ไปจนถึงทำกระสอบทรายกั้นน้ำท่วม และมีทหารเกณฑ์หลายร้อยคนที่เลื่อนการปลดประจำการเพื่อช่วยเหลือประชาชน

หัวใจพี่ๆหล่อมาก...



สิ่งที่กองทัพทำไว้ จึงไม่น่าแปลกใจว่า จากผลสำรวจในหลายโพลล์ สรุปได้ว่า ปีนี้ ทหารกลายเป็นกลุ่มคนที่ครองใจประชาชนตัวจริง!


อย่างเช่น เอแบคโพลล์ ได้เปิดผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง"เสียงสะท้อนของผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมต่อผู้เข้าให้ความช่วยเหลือ: กรณีศึกษาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยศึกษาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,478 ตัวอย่าง

ในประเด็นเรื่องความพอใจของหน่วยงานและคณะบุคคลที่เข้ามาช่วยเหลือปรากฏว่า 5 อันดับแรกได้แก่ 1.ทหาร ได้ 9.56 คะแนน 2.อาสาสมัครได้ 9.10 คะแนน 3.สื่อมวลชน 9.08 คะแนน 4.ตำรวจ 9.05 คะแนน และ 5.กทม. 8.34 คะแนน

ส่วนม.กรุงเทพโพลล์ ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “บทสรุปน้ำท่วมกับการทำหน้าที่ของภาคส่วนต่างๆ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งผู้ประสบภัยและไม่ประสบภัย จำนวน 1,087 คน ระหว่างวันที่ 22 - 24 พ.ย. ที่ผ่านมา

กลุ่มบุคคลที่ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ความพึงพอใจการทำหน้าที่/การมีส่วนร่วมของ ทหาร ร้อยละ 98.3 ความพึงพอใจการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ของคนไทย ทุกคน ร้อยละ 98.2 ความพึงพอใจการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือของ มูลนิธิและกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ร้อยละ 96.6

ฟีดแบ็กในเชิงบวกเช่นนี้ “ผู้พันเบิร์ด” พันตรีวันชนะ สวัสดี ในฐานะที่เป็น รองโฆษกกองทัพบก ได้บอกเล่าให้ฟังว่า

“ตอนน้ำท่วม ในส่วนของกองทัพบก ทหารจะมีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ผู้บังคับบัญชาระดับสูง เขาก็จะมีหน้าที่วางแผน อำนวยการ เพื่อสั่งการให้ปฏิบัติ ในส่วนของผู้ปฎิบัติเอง ก็จะนำแผนการเหล่านั้น มาทำเป็นภาคของการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น จึงทำให้กองทัพบกสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ในพื้นที่ที่กว้างมากขึ้นก็เพราะว่ามันเกิดขึ้นจากสิ่งที่เราวางแผนไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว”

ผู้พันเบิร์ดบอกว่า สิ่งที่ทหารทำในช่วงน้ำท่วม ไม่ใช่เพราะเพื่อการเสริมภาพลักษณ์ของกองทัพ แต่เพื่อให้ผู้คนเข้าใจกองทัพมากขึ้น

“ช่วงที่ผ่านมา ผมต้องบอกว่า ประชาชนให้ความรู้สึกที่ดีกับกองทัพ แต่สิ่งนั้นได้บ่งบอกสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งก็คือ แสดงว่าประชาชนมีความเข้าใจในพันธกิจของกองทัพ ซึ่งผมจะบอกเสมอว่า ผมไม่ได้ต้องการให้ทุกคนสงสารทหาร เพราะว่าสิ่งที่พวกผมทำ เป็นสิ่งที่ผมเลือกเอง เป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่สิ่งที่พวกผมต้องการ คือต้องการความเข้าใจ

“ภาพตอบกลับมา ทำให้ผมเข้าใจว่า ประชาชนส่วนมาก เข้าใจภาพของกองทัพมากขึ้น การใกล้ชิดประชาชน เริ่มมีมากขึ้น ในภารกิจของกองทัพบก”

และนี่คือ สิ่งที่กองทัพบกต้องการที่จะบอกประชาชนในประเทศ

ชวนให้นึกถึงบทสนทนาคมๆของทหารกับประชาชนในช่วงเวลาที่น้ำท่วม ที่ถูกเผยแพร่กันในโลกออนไลน์
ประชาชนถามทหารว่า “ บ้านอยู่ไหนครับ ?”

“เชียงรายครับ” ทหารตอบ

“โชคดีนะครับ น้ำไม่ท่วม” ประชาชนคนนั้นว่า

“ท่วมครับ เพราะบ้านผม คือ ประเทศไทย”



ผมตำรวจ(ครับ)...มาช้าดีกว่าไม่มา

ในวิกฤตมหาอุทกภัยที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) ที่มีกำลังพลกว่าสองแสนนายภายใต้การนำทัพของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. แม้จะทำงานใกล้ชิดกับประชาชนมาตลอด

แต่บทบาทในช่วงแรกการเข้าช่วยเหลือแบบถึงบ้านพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมกลับไม่โดดเด่นเท่าทหารที่ระดมกำลังพลพร้อมอุปกรณ์ครบครันลงไปในพื้นที่

ภาพที่ออกผ่านสื่อทั้งทีวี หนังสือพิมพ์ โลกออนไลน์จึงเห็นแต่ภาพรถทหารขนาดใหญ่บรรทุกพี่น้องประชาชนตามท้องถนนที่น้ำท่วมขังวิ่งผ่านไปมาทั่วเมือง มองไปที่ไหนก็เห็นภาพทหารสวมเสื้อยืดสีเขียวนำสิ่งของบรรเทาทุกข์ ถุงยังชีพเข้าไปแจกจ่ายตามบ้านเรือน

เห็นภาพทหารหนุ่มๆอุ้มผู้เฒ่า คนแก่ เด็ก ลุยน้ำท่วมออกมา จนชินตาพี่น้องประชาชน น้อยนักจะเห็นภาพตำรวจ

ทั้งๆที่ความเป็นจริงตำรวจทุกหน่วยก็ไม่ได้ละทิ้งชาวบ้านผู้ประสบภัย มีการระดมกำลังช่วยเหลือพี่ น้อง ประชาชนในพื้นที่แม้โรงพักหลายแห่งจะถูกน้ำท่วมสูงไม่ต่างจากชาวบ้านเช่นกัน

เพียงแต่การเข้าช่วยเหลือต่างคนต่างทำยังไม่เป็นเอกภาพเหมือนทหารที่สีเขียวพรึบไปหมด

ทำให้พล.ต.อ.เพรียวพันธ์นั่งไม่ติด ต้องระดมทีมงานมาช่วยกันฉุดภาพลักษณ์ตำรวจของประชาชนขึ้นมาก่อนจะจมหายไปกับน้องน้ำ
หนึ่งในทีมงานไอเดียกระฉูดนั้นก็มี พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ รองผบช.น.(ผบก.น.1 ตำแหน่งขณะนั้น)รวมอยู่ด้วย

กลยุทธ์คือ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์นำทัพตำรวจสวมเสื้อยืดสีขาวสกรีนคำว่าตำรวจด้วยสีแดงมองเห็นโดดเด่นทั้งด้านหน้าอกและหลัง ออกตระเวนช่วยเหลือพี่ น้องประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมกระจายไปทั่วเมืองไม่น้อยหน้าทหาร

ทีเด็ดไปกว่านั้น การที่ทีมงานตำรวจเลือกเสื้อยืดสีขาวนอกจากจะทำให้เห็นเด่นชัดจดจำง่ายแล้ว เสื้อสีขาวยังเลอะเทอะเปรอะเปื้อนง่าย ภาพที่ออกมายิ่งช่วยให้เห็นตำรวจทำงานหนักสมบุกสมบันบำบัดทุกข์บำรุงสุขเคียงข้างประชาชน

ช่วยภาพลักษ์ตำรวจดูดีขึ้นทันตา แม้จะออกตัวช้ากว่าทหารไปหน่อยก็ตาม!!!


สื่อดราม่า ...ต้องช่อง 3

แม้ว่าสื่อใหม่อย่างอินเตอร์เน็ตกำลังมาแรง แต่หากมองในบริบทบ้านเรา ในภาพรวม สื่อเก่าอย่างเช่น โทรทัศน์ก็ยังสร้างผลกระทบในสังคมเป็นวงกว้าง

ข้อพิสูจน์คำกล่าวอ้างข้างต้น เกิดขึ้นในวันที่คนในประเทศไทยต้องเผชิญกับน้ำหลาก ภัยเอื่อยๆ ที่ไหลด้วยความเร็ว 3 กิโลเมตรต่อวัน แต่ก็ทำให้ตื่นตระหนกไปทั่วทุกหย่อมหญ้า

ส่วนหนึ่งของ “อารมณ์ร่วม” ของคนไทยทั้งประเทศ นั้นเกิดจาก สื่อมีชีวิตที่เรียกว่า “โทรทัศน์” ที่ไม่ว่าจะเปิดช่องไหน ต้องบอกว่า “น้ำท่วมจอ” เห็นแต่ข่าวน้ำท่วมกันจริงๆ


ไม่น่าแปลกใจที่ชื่อ “คนเล่าข่าว” อย่าง สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา จะกลายเป็นชื่อที่ผู้คนพูดถึงมากเป็นอันดับต้นๆจากเหตุการณ์นี้ จนชาวต่างชาติบางคนเข้าใจว่า

นี่คือ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย!

ไม่ว่าผู้อ่านจะมีความเห็นในเชิงลบหรือเชิงบวกต่อชายผู้นี้ ต้องยอมรับว่า รายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ไปจนถึง “เรื่องเด่นเย็นนี้” ของทาง ช่อง 3 ดูจะทำการบ้านในการทำข่าวที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์อย่างข่าวน้ำท่วมมากเป็นพิเศษ
เพราะนี้ไม่ใช่ปีแรกที่ทาง “ครอบครัวข่าวสาม” ทำให้เคมีของรายการตรงกับจริต “ดราม่า” ของคนดูในการทำข่าวน้ำท่วม

ปีวานซืนที่แล้ว(ปี 2553) ทางรายการนี้ ทำข่าวน้ำท่วมจนขโมยซีนรัฐบาลตอนที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยทำมาแล้ว

ยิ่งมาปี 2554 ที่สถานการณ์น้ำท่วมหนักกว่าปีที่แล้ว ทาง “ครอบครัวข่าว 3” ยิ่งลุยหนักขึ้น


ทำให้เราเห็นหน้าค่าตาทีมเล่าข่าวอย่าง น้องไบรท์-พิชญทัฬห์ หรือ เอกราช เก่งทุกทาง ลงลุยน้ำร่วมกับสรยุทธ์ด้วย

โดยเฉพาะ การเข้ามาร่วมเล่าข่าวของ โก๊ะตี๋ อารามบอย ในการจับคู่กับสรยุทธ์ ทำให้การเล่าข่าวในตอนลงพื้นที่น้ำท่วม กลายเป็นสีสันและชอตจำของผู้คนที่เปลี่ยนมาเสพ “ดราม่า” จากข่าว แทนที่จะเป็นละครโทรทัศน์อย่างที่เคยเป็นมา

ผู้ชมจึงได้ซึ้งใจไปกับข่าวโรแมนติกกับเรื่องราว ลุงสมศักดิ์ ที่คอยดูแลป้ายุพิน ภรรยาของตัวเองซึ่งเป็นเจ้าหญิงนิทราในตอนน้ำท่วม

หรือข่าวแนวผจญภัยอย่าง ข่าว แจ็ค สแปร์โรว์ แห่งซอยแอนเน็กซ์ ย่านพหลโยธิน ที่ทำเรือโฟมรับจ้างในราคาถูกขึ้นเอง และเจรจากับเรือรับจ้างที่ขูดรีดให้ลดราคาลง

ความขี้เล่นของโก๊ะตี๋ บวกกับความ “แม่น” ในการจับประเด็นของสรยุทธ์ ผสมกับความ “ดราม่า” ในเนื้อหาข่าว
จึงทำให้การนำเสนอข่าวของ “ครอบครัวข่าว 3” กลายเป็น Talk of the town แห่งปีกระต่าย


นอกจากช่อง 3 จะมี “สายหวาน” สไตล์สรยุทธ์+โก๊ะตี๋ แล้ว ยังมี “สายเข้ม” อย่างทีม “ข่าว 3” ให้เลือกชมอีกทางหนึ่ง

จุดเด่นของ "ข่าวสามมิติ" คือ การรายงานสถานการณ์แบบครอบคลุมมากที่สุดและเปิดประเด็นใหม่ ๆ ให้สังคมจับตามองสิ่งที่หลายสื่อมองข้าม

ความจริงจัง ซื่อตรงและหลีกเลี่ยงการออกความเห็นในประเด็นข่าวของ กิตติ สิงหาปัด และการลงสนามอย่างหนักเอาเบาสู้ของฐปณีย์ เอียดศรีชัย ในระดับที่ว่า ทุกครั้งที่นักข่าวจาก “มติชน” โทรไปขอสัมภาษณ์ครั้งใด ไม่ว่าจะเช้า เย็น หรือค่ำ คำตอบที่มีออกมาก็คือ “อยู่ในสนามข่าว” เสมอ

ความใส่ใจตรงนี้นี่เอง ทำให้ผู้คนเฝ้ารอชมรายการข่าวของพวกเขาในยามค่ำคืน...

ใช่ว่าจะมีแต่งานข่าวของสื่อโทรทัศน์ช่อง 3 ที่ผู้คนพูดถึง แต่รูปแบบรายการของช่อง “ไทยพีบีเอส” ก็ปรับได้น่าสนใจเช่นกัน ด้วยการจัดรายการทั้งหมดภายใต้แนวคิด "เราจะฝ่าวิกฤตน้ำท่วมใหญ่...ครั้งนี้ไปด้วยกัน" หรืออย่างช่อง 7 จากผังรายการเน้นแต่ความ "ดราม่า" ของ ละครโทรทัศน์แต่วันนี้ "ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ" พยายามปรับรูปแบบการทำข่าว เพื่อให้สามารถสู้กับช่องอื่น ๆ ได้อย่างทัดเทียม

ความคิดเหล่านี้นั่นเอง ที่ทำให้สื่อเก่าอย่าง “โทรทัศน์” กลายเป็นดาวเด่นเหนือน้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมาอย่างเต็มภาคภูมิ


“น้ำขึ้นให้รีบบอก” เพจสร้างสรรค์ ในโลกออนไลน์

บุคคลแห่งปีของสื่อกระแสหลักอย่างไทม์ ในปี ค.ศ.2006(พ.ศ.2549) เขาตั้ง “คุณ”(You) ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลาย เป็นบุคคลแห่งปี


ส่วนในปี ค.ศ.2011(พ.ศ. 2554) ไทม์ได้ยกให้ “ผู้ประท้วง”(The Protester) จำนวนมากมายตั้งแต่เหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในอาหรับไปจนถึงกลุ่มคนที่เข้าไปยึกครองวอลล์สตรีต กลายเป็นบุคคลแห่งปี


คำว่า ฮีโร่เอกชน ที่ฉายเดี่ยวแบบซุปเปอร์ฮีโร่ผู้เปี่ยมพลังอย่าง ซุปเปอร์แมน อาจจะกลายเป็นเรื่องที่พ้นยุคไปแล้ว
เพราะขุมพลังมหาศาล อาจจะเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของคนตัวเล็กตัวน้อย จากพลังน้อยๆของปัจเจก เมื่อรวมกลุ่มกันแล้ว ต้องบอกว่า ทรงพลังมาก


ซึ่งสิ่งที่เอื้อให้กับการเกิดพลังเหล่านี้ก็คือ สื่อโซเชียลมีเดียในยุคต้นคริสตศวรรษที่ 21 อย่าง เฟซบุ๊ค, ยูทูบ ไปจนถึง ทวิตเตอร์
ไม่เว้นแม้แต่ เหตุการณ์น้ำท่วมเมืองไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว...


ดาวเด่นหนึ่งที่ต้องพูดถึงในเหตุการณ์นี้ก็คือผู้คนจำนวนหลักหมื่น หลักแสนคน ที่อยู่ใน “เพจ” สร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม ของเฟซบุ๊ค
เพจแรกที่จะต้องพูดถึงเลยก็คือ เพจที่มีชื่อว่า “น้ำขึ้น ให้รีบบอก” ที่ในวันนี้ มีผู้คนเป็นสมาชิกประจำเพจร่วม 3 แสนคนแล้ว!


ในช่วงเริ่มต้นภาวะภัยน้ำท่วม ต้องบอกว่า การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับ “น้องน้ำ” ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

นักวิชาการด้านน้ำก็ใช้ศัพท์แสงยากเกินไป, ส่วนสื่ออย่าง โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ก็เจาะข่าวได้ในพื้นที่ที่จำกัด หรือทางหน่วยงานรัฐต่างก็นำเสนอข้อมูลที่ขัดแย้งกัน


นี่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้คนในสังคมกลัว “น้ำท่วม” เพราะไม่มีข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจว่า จะ “ขนของ”, “จะย้าย” หรือจะ “อยู่ต่อ”


ในวันที่ 6 ตุลาคม 2554 เวลา18.16 น. เพจ “น้ำขึ้น ให้รีบบอก” จึงเกิดขึ้นเพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนคนเดินดิน(ทั้งดินแห้งและดินเปียก)



เพจนี้เกิดขึ้นด้วยแนวคิดง่ายๆก็คือ ให้ประชาชนช่วยกันเป็นสื่อในการให้ข้อมูลง่ายๆ


เพียงแค่แจ้งสถานการณ์น้ำท่วมที่หน้าปากซอยหมู่บ้านตัวเอง หรือในพื้นที่ที่ตนสามารถให้ข้อมูลได้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
จากคนเดียวที่ให้ข้อมูลได้เพียงซอยเดียว เมื่อรวมกันมากๆเข้า ก็จะเห็นข้อมูลในภาพรวมกว้างขึ้นเป็นหลายซอย ด้วยภาษาง่ายที่ไม่ต้องแปรบัญญัติไตรยางศ์ให้เปลืองพื้นที่ในสมอง อย่างเช่น บอกเพียงว่า หน้าปากซอย น้ำท่วมเท่าข้อเท้า เข่า หรือยังไม่ท่วม

เพียงเท่านี้ เพื่อนร่วมเพจก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและสติกันแล้ว

นอกจากนี้ ผู้คนในเพจต่างช่วยกันให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในช่วงน้ำท่วมอย่างเช่น การป้องกันน้ำท่วมด้วยวิธีง่ายๆ ไปจนถึงการทำอาหารทานในยามยากนี้

พอน้ำลด ก็รวมกลุ่มกันทำงานอาสาสมัครจำพวก “บิ๊ก คลีนนิ่ง” หรือไม่ก็ระดมทุนผ่านการจำหน่ายเสื้อของ “เพจ” เพื่อในไปใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ที่ถูกทำลายจากน้ำท่วม


เพจนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเพจอื่นๆที่เฉพาะเจาะจงเฉพาะพื้นที่ในเวลาต่อมา อย่างเช่น เพจ “Thonburi Flood Report” หรือ “ชาวจรัญฯร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม”

และแม้ว่า “น้องน้ำ” จะไหลลงสู่ทะเลแล้ว

แต่พายุที่เข้าทางภาคใต้ส่งท้ายปีกระต่าย ต้อนรับปีงูใหญ่ ส่งผลให้ “น้องน้ำ” ไปเยือนภาคใต้ตอนล่าง
คงทำให้ผู้คนในเพจนี้...

ยังต้องทำงาน “จิตอาสา” ในโลกไซเบอร์ กันต่อไป