วันอังคาร, พฤศจิกายน 30, 2553

"กูไม่ชอบ" รัฐธรรมนูญ

จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online

โดย สุนทร สุขสราญจิต รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ที่มา: มติชนออนไลน์ (update: วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 17:30:30 น.)


ไม่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 นี้ จะผ่านหรือไม่และอย่างไร แม้จะไม่ชอบ “การคอนเฟิร์ม” และ “การฟันธง” แต่ผมก็ขอฟันธงว่า สักวันหนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องโดน “ฉีก” อย่างแน่นอน คอนเฟิร์ม !! ดังนั้นติดตามข่าวการประชุมสภาและการโหวตช่วงนี้ไปก็เปล่าประโยชน์

หากถามว่าทำไม หลักโหราศาสตร์ของผมเดาผ่านกิจกรรมครั้งหนึ่ง

ผู้เล่นถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ผู้นำกิจกรรมกระตุ้นขอให้วาดภาพการเมืองไทยในฝัน ซึ่งต้องบรรจุทุกความเรืองรองในจินตนาการของสมาชิก และไม่มีกรอบรุงรังแห่งความจริงใดๆขีดครอบ ไม่เพียงนั้น ผู้นำกิจกรรมยังขอให้วาดตำแหน่งแห่งที่ของผู้เล่น ตลอดจนครอบครัวของพวกเขาด้วยว่า อยู่ในภาพในฐานะอะไร และอยู่อย่างไร

เมื่อการสนทนามีข้อสรุป ดินสอดำถูกนำมาร่างภาพ ส่วนดินสอสีก็ถูกนำมาแต่งระบายให้สมกับเป็นความฝัน สิ่งนี้ยังแต้มอยู่ในแววตาและมุมปากที่มุ่งมั่น แทรกอยู่ในเสียงหัวเราะชอบใจ และถูกกุมอยู่ในมือกระชับๆที่กำลังขีดฝนสี

ไม่เพียงผู้เล่น ผู้นำกิจกรรม ซึ่งตามวัยวุฒิและคุณวุฒินั้น “สูง” กว่า (?) ก็ยังวาด

“ภาพจับมือนี้คือความปรองดอง สีชมพูแทนความรัก จะเห็นได้ว่าทุกคนมีแต่รอยยิ้ม” ตัวแทนกลุ่มแรกนำเสนอ

“นี่คือพ่อและแม่ของทุกคนซึ่งทำให้บ้านเมืองเรามีเอกภาพ แม้มีคนร้ายแต่ทุกคนได้รับโอกาสแก้ตัว ในขณะที่เมืองไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ แต่เราก็ยังคงมีรากเหง้าอย่างที่เห็น และจะเห็นได้ว่ามีคนบางกลุ่มเล่นกีฬาสี แต่ไม่มีคนดูและถ้วยให้” ตัวแทนกลุ่มที่สองชี้แจง

“แม้ผมจะเป็นคนตัวเล็กๆในสังคม แต่จะเห็นได้ว่าผมเป็นน็อตตัวหนึ่ง ส่วนพ่อแม่ผมก็อยู่ตรงนี้ พักผ่อนในที่สงบ หลังตรากตรำมาตลอดชีวิต เช่นเดียวกับคนในสามจังหวัดชายแดนใต้” ตัวแทนกลุ่มที่สามพูดขึ้นเบาๆ แล้วเสียงนั้นก็หายไปกับเสียงปรบมือ

“ผมวาดเป็นรูปสัญลักษณ์ “เต๋า” ในหยินมีหยาง ในหยางมีหยิน ในสีแดงและสีเหลืองต่างมีอีกสีและสีอื่นๆภายใน มันเป็นวงกลมที่กำลังเคลื่อน ผมตั้งชื่อว่า “ขัดกันฉันท์มิตรบนเส้นทางขรุขระของการเมืองไทย” ผมคิดว่าแต่ละสีต่างเป็นคู่ตรงข้ามที่ต้องพึ่งพากัน หรือคานกันเพื่อส่วนรวม การขัดกันจึงเป็นเรื่องปกติและบางครั้งเป็นเรื่องจำเป็น ดังนั้นความฝันคือทำอย่างไรให้เป็นไปอย่างฉันท์มิตร” ผู้นำกิจกรรมพูดถึงภาพวาดตนเอง

หลังจากนั้น ผู้นำกิจกรรม ขอให้ทุกคนเงียบ หากอะไรเกิดขึ้นต่อไปขอให้เขียนความรู้สึกลงไปในกระดาษที่แจกไว้

“แกรก”

เสียงผู้นำกิจกรรมฉีกภาพวาดของตัวเอง ผู้เล่นทุกคนทำหน้างง สีหน้ากับคำตอบในกระดาษนั้นเป็นเช่นเดียวกัน

“พวกคุณรู้มั้ย ความคิดพวกคุณมันปัญญาอ่อน งี่เง่า อยู่ในโลกความฝัน เพ้อเจ้อ มันจะเป็นจริงได้อย่างไร ประวัติศาสตร์มนุษยชาติคุณก็เห็นว่ามีแต่การรบราฆ่าฟันกัน พวกคุณยังมาสร้างวิมานในอากาศ ลาออกไปเลี้ยงควายดีกว่าไป๊ เสียเงินมาร่ำเรียนสูงๆ กูไม่ชอบโว้ย!!”

ในขณะที่กำลังพูด ผู้นำกิจกรรมก็ปรี่เข้าไปแย่งกระดาษความฝันของทุกกลุ่ม

“เฮ้ย...ไอ้ชาติ…อ่า” ผู้เล่นบางคนตะโกน

“แควก”

เสียงฉีกกระดาษดังขึ้น แล้วผู้นำกิจกรรมก็ขยำเศษกระดาษปาลงพื้น กระโดดย่ำ เอาส้นเท้าบี้จนแบน ถ่มน้ำลายใส่ แล้วเขี่ยคืนไปให้ผู้วาด พลางพูดว่า “ทุเรศสิ้นดี ความคิดเด็กๆ”

“มึง...” ผู้เล่นคนหนึ่งปรี่เข้าจะชกผู้นำกิจกรรม ผู้เล่นอีกคนคว้าแขนไว้ อีกคนทรุดนั่งลงร้องไห้กับพื้น นอกนั้นตกอยู่ในความตะลึง

“พี่ไม่ชอบแล้วให้พวกหนูวาดทำไม” “แม้จะเรียนสูงกว่าแต่ก็ไม่มีสิทธิ์ดูถูกความฝัน” “แม่กูป่วย กูวาดให้แม่สุขภาพดี” ฯลฯ นี่คือส่วนหนึ่งของความรู้สึกในกระดาษ

“...พวกคุณรู้ไหม เราต่างท่องกันว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แต่เราฉีกมันเหมือนเป็นกระดาษเช็ดก้น (8 ฉบับ ; ฉบับปี 2489, 2492, 2475(นำมาใช้อีกปี 2495), 2511, 2517, 2519, 2521, 2540) นั่นก็คือ เราไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับการถูกฉีกเท่าไหร่ มิหนำซ้ำบางครั้งยังยื่นดอกกุหลาบให้คนฉีกเป็นกำลังใจ นอกจากนั้นแล้วยังมีรัฐธรรมนูญถึง 9 ฉบับ (เป็นอย่างน้อย) ที่คณะรัฐประหาร คณะทหาร หรือผู้ปกครองเป็นผู้ร่าง โดยเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคพวกตนเองอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ 2, ส.ว., หรือมีมาตราพิเศษให้อำนาจตุลาการแก่นายกฯ ฯลฯ (ฉบับปี 2490, 2475 (นำมาใช้อีกปี 2495), 2502, 2502 (นำมาใช้อีกปี 2515), 2519, 2520, 2521, 2534,2549) แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เดือดเนื้อร้อนใจแต่อย่างใด...”

ผมขอจบคำเขียนวันนี้ ด้วยคำพูดในวันนั้น

“หาก “กูไม่ชอบ” ยังคงไม่เสียดแทงใจคนไทย ไม่มีความโกรธผ่านหมัดที่เงื้อ หรือความเสียใจผ่านร่างที่ทรุดและน้ำตาที่เอ่อคลอเบ้าอย่างที่พวกคุณเป็น เมื่อนั้น จะแก้ให้ยากเย็นแสนเข็ญอย่างไร มันต้องถูกฉีกง่ายๆอย่างแน่นอน ดังนั้น คำถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พวกเราจะคิดจะตอบไปให้เสียเวลาทำไม เราควรจะถามว่าเขียนอย่างไรให้คนไทยโกรธเมื่อถูกฉีกมากกว่า”

วันจันทร์, พฤศจิกายน 29, 2553

ยิ่งตอกย้ำ ยิ่งซ้ำเติม ยิ่งเพิ่มแค้น

จาก อัลบั้มภาพThai E news


โดย ปีกซ้าย
ที่มา: ไทยอีนิวส์

ยิ่งตอกย้ำ ยิ่งซ้ำเติม ยิ่งเพิ่มแค้น
ยิ่งบี้แบน ยิ่งรู้เช่น ยิ่งเห็นชาติ
ยิ่งกดขี่ ยิ่งต่อต้าน ยิ่งองอาจ
ยิ่งประมาท ยิ่งขลาดเขลา ยิ่งเข้าที

เมื่อสิ้นรัก หักสวาท ขาดสะบั้น
ก็สิ้นชาติ ขาดกัน แต่เพียงนี้
ที่เคยหลง จงรัก และภักดี
มาบัดนี้ ไม่มีเยื่อ ไม่เหลือไย

เห็นกงจักร เป็นดอกบัว ชั่วชีวิต
เคยหลงผิด ถึงขั้น ตายแทนได้
หลงตามลม ชวนเชื่อ ทุกเมื่อไป
บัดนี้ไทย ตาสว่าง เห็นทางธรรม

เมื่อสิ้นรัก หักสวาท ขาดสะบั้น
ก็ขาดกัน เลิกเลี้ยงชุบ อุปถัมภ์
จะตอบแทน ให้สาสม โสมมระยำ
ให้หลาบจำ กรรมชั่ว ต้องชดใช้!

ไม่มีแล้ว เทวดา บนฟ้านี้
และไม่มี เหนือมนุษย์ ฉุดรั้งได้...
ประเทศชาติ ประชาชน ประชาธิปไตย
คือหลักชัย ไทยทั้งชาติ ประกาศทวง

อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เขียนจดหมายถึงคนเสื้อแดง

จาก อัลบั้มภาพThai E news


จากบทความ: อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง: สู้ทุกวิถีทาง
โดย อริสมันต์ พงษเรืองรอง
ที่มา: ไทยอีนิวส์:อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เขียนจดหมายถึงคนเสื้อแดงจากสถานที่ ซึ่งไม่เป็นที่เปิดเผย ทั้งนี้ผู้อ่านพึงใช้วิจารณญาณ
(update: วันอังคาร, พฤศจิกายน 30, 2010)


เรียนพี่น้องชาวเสื้อแดงที่เคารพรัก


เราคงต้องทบทวนความชั่วร้ายเจ้าเล่ห์ของพวกอำมาตย์และรัฐบาลที่เข่นฆ่าประชาชนเกือบร้อยศพ บาดเจ็บเป็นพันคน เราหมดความอดทน หมดหวังกับเรื่องการปรองดอง

เพราะมีแต่ลมปากแต่การกระทำมันตรงกันข้าม การไล่ล่าคนเสื้อแดง จับกุมคุมขังแกนนำ และประชาชนซึ่งไม่มีความผิดยังดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

สามเดือนผ่านมารัฐบาลไม่มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหาทางการเมือง ไม่มีเจตนาที่จะปรองดอง เอาแต่หลอกลวงไปวัน ๆ ถ่วงเวลา ยืดอายุของรัฐบาลให้อยู่ได้นานที่สุด

ถึงเวลานับถ้อยหลังให้กับพวกมันหรือยัง

ตอนนี้เขาวางระเบิดเวลากันเองลูกแรกเริ่มจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มันใกล้ได้เวลาระเบิดแล้ว ทั้งที่เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของคนทั้งประเทศ เพราะมันมีธงมาแล้วคือพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบไม่มีความผิดใด ๆ ทั้งสิ้น ตามคำสั่งของพวกอำมาตย์ที่เข้ามาแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระ

ไม่เหลือแล้วความเป็นคนของตุลาการรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงแล้ว

ระเบิดลูกที่สองคือการชุมนุมของกลุ่ม พ ธ ม. ซึ่งจะสร้างเงื่อนเพื่อให้มีการรัฐประหาร โดยกลุ่มทหารของอำมาตย์จะมีการกวาดล้างคนที่ขัดขวางการัฐประหารอย่างบ้าคลั่งจนเลือดนองเต็มแผ่นดิน

ส่วนระเบิดลูกที่สามคือการลุกขึ้นสู้ต่อต้านเผด็จการรัฐประหารจะเกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ และทั่วโลกจะเป็นสงครามที่เกิดขึ้นทุกหย่อมย่าน คนไทยจะสูญเสียล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งอำมาตย์และรัฐบาลก็ไม่สนใจพร้อมที่จะปิดประเทศโดยไม่คำนึงว่าใครจะอยู่ได้หรือไม่ได้อย่างไร

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงเราต้องผนึกกำลังตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นหามิตรประเทศรับรองความเป็นรัฐบาลให้ถูกต้อง และต่อสู้อยู่นอกประเทศ มันจะสะเทือนไปทั่วให้โลก และทั้งโลกจะรู้ว่าสงครามประชาชนกำลังจะเกิดขึ้น

พี่น้องอาจจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมทุกอย่าง การลุกขึ้นของประชาชนครั้งนี้ ถ้าถูกทหารตำรวจใช้ความรุนแรงปราบปรามด้วยอาวุธต่าง ๆ เราจะสู้ด้วยวิธีของประชาชน เราจะตะโกนบอกฟ้า เรียกชื่อจริงของคนสั่งฆ่าให้ลั่นไปทั่วโลก เพื่อให้โลกรับรู้เสียที

และเราพร้อมสู้ทุกวิถีทางเพื่อที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราขอวิงวอนถึงทหาร ตำรวจ ทุกท่าน ถึงเวลาแล้วที่พวกท่านจะได้พิจารณาตัดสินใจว่า ท่านจะเลือกยืนอยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชน หรือจะเลือกยืนอยู่ข้างอำมาตย์และรับใช้รัฐบาลทรราชที่ไล่ฆ่าประชาชนอย่างที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าประชาชนจะไม่มีอาวุธแต่เราก็จะไม่แพ้ เพราะเราจะร่วมสู้ด้วยกันอย่างเป็นระบบเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

เราจะต้องปฏิบัติดังนี้


ฝ่ายสนับสนุนมีหน้าที่ส่งเสริมอุปกรณ์ อุดหนุนเงินทุน ช่วยเหลือในด้านการเผยแพรข่าวสารความชั่วร้ายของรัฐบาลและสถาบันอำมาตย์ ทั้งทางอินเตอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆให้มากที่สุด

ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่สู้รบรับผิดชอบประกบตัวการชั่ว ที่ทำร้ายประชาชน เช่นคนในรัฐบาล คณะรัฐมนตรี ทหาร ตำรวจ ราชการ องค์กรอิสระ ตุลาการ ศาลผู้พิพากษา คนเหล่านี้รับใช้อำมาตย์และรัฐบาลจนยอมเป็นเครื่องมือที่ใช้เข่นฆ่า ไล่ล่า ทำร้ายประชาชนอย่างไม่มีมนุษยธรรม รวมทั้งสื่อที่ชอบบิดเบือนข้อเท็จจริงสร้างความแตกแยกในแผ่นดิน เราจำเป็นต้องจัดการให้หมดแบบสะดวกใครสะดวกมัน คือใครใกล้คนไหนก็จัดการคนนั้น

เราประสงค์เพียงแค่การพัฒนาเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองชาติให้ดีขึ้น เราต้องการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เราปรารถนา ในสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรม ความเท่าเทียมที่เสมอภาค เรามุ่งหวังจะได้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชนโดยประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งทุกคนทุกสถาบันต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยไม่มีข้อยกเว้น

ผู้ร่วมกระทำความผิดฆ่าประชาชนต้องได้รับโทษ เราต้องทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนทุกคน

สำหรับพี่น้องที่อยู่ในต่างประเทศทั่วโลกขอให้ปฏิบัติดังนี้ การยื่นหนังสือเอกสารถึงผู้นำประเทศพร้อมหลักฐานที่สำคัญ บอกเล่าความจริงให้ผู้นำประเทศนั้นทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพฤติกรรมของอำมาตย์และรัฐบาลทรราชฆาตกร เราจำเป็นที่ต้องสู้เพื่อความถูกต้องเป็นธรรมให้เรื่องนี้เป็นการเมืองในเวทีโลกให้ได้

การขอร้องให้รัฐบาลประเทศประชาธิปไตยช่วย ในบางประเทศจะมีงบประมาณช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนประชาธิปไตยมาก เราอาจสามารถได้รับการสนับสนุนจากองค์กรในประเทศนั้น โดยการจัดตั้งองค์กรพัฒนาประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีสมาชิก สาขาทั่วโลก

องค์กรกับสมาชิกต้องแข็งแกร่ง มันจะขับเคลื่อนถึงเป็นพลังอันยิ่งใหญ่สามารถต่อรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอนนี้เราต้องอาศัยโลกแห่งความเป็นธรรมบีบรัฐบาลประเทศไทยให้รับผิดชอบต่อการสังหารหมู่ประชาชนอย่างโหดเหี้ยมให้ได้ มีผู้เสียชีวิต ผู้พิการ ผู้บาดเจ็บ และผู้ที่ถูกไล่ล่าจำนวนมาก เขาเหล่านั้นเป็นเหยื่อของอำนาจเถื่อน ยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบให้ความช่วยเหลือ

ขอให้พี่น้องคนไทยในต่างแดนได้โปรดช่วยกันโดยจัดตั้งกองทุนเยียวยาเพื่อบรรเทาทุกข์ผู้เสียสละ

ส่วนการต่อสู้นั้นก็จะเคลื่อนไหวต่อไปอย่างรอบคอบ เราต่างคนต่างทำต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เราต้องหันหน้าเข้าหากันร่วมคิดร่วมวางแผนเป็นหนึ่งเดียว ดั่งขนทรายเข้าวัดคนละกำสองกำ ถ้านำมาร่วมกันได้ก็จะเป็นทรายกองใหญ่สามารถก่อเป็นพระทรายที่สวยงาม

การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในโลกนี้ต้องใช้พลังอำนาจจากมวลมหาประชาชนที่กล้าหาญเสียสละ ชัยชนะคือความเจริญรุ่งเรืองของอนาคตคนรุ่นหลัง ลูกหลานไทยทุกคนจะได้มีโอกาสที่เทียมกัน มีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค มีความยุติธรรม มีประชาธิปไตยที่แท้จริง และมีระบบการเมืองที่ดีสามารถพึ่งหวังได้จริง

เตรียมแผน เตรียมการ เตรียมตัว เตรียมการเปลี่ยนระบบประเทศด้วยมือของเราทุกคน ผู้รักประชาธิปไตยที่กล้าหาญและเสียสละ

ขอขอบคุณครับ

อริสมันต์


------------------------------------------------


รัฐบาลพลัดถิ่น...คำนี้หายไปนาน

บทความโดย: สุทธิชัย หยุ่น
ที่มาบทความ: คม ชัด ลึก

คมชัดลึก : คำว่ารัฐบาลพลัดถิ่นหายไปนาน กลับมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อ คุณอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ที่เขียนจดหมายเปิดผนึกลงวันที่ 30 พฤศจิกายน ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ประชาไทย เว็บบอร์ดและเว็บไซต์ไทยอีนิวส์
โฆษณาโดย Google
J.I.B Computer GroupCPU ประสิทธิภาพการทำงานสูงราคาพิเศษ จาก Intel® Core™ i3 Processorwww.jib.co.th

จดหมายของ คุณอริสมันต์ ซึ่งเป็นแกนนำคนเสื้อแดงที่หลบหนีออกจากประเทศไทยในช่วงเหตุการณ์วุ่นวายทาง การเมืองช่วงเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว มีหัวข้อว่า อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง สู้ทุกวิถีทาง จดหมายนี้เขียนที่ไหนไม่บอก และมีการเตือนจากผู้ที่เอามาลงเว็บไซต์ว่าให้อ่านด้วยวิจารณญาณด้วย แปลว่าไม่รู้ว่าจริงเท็จหรือไม่อย่างไร

เนื้อหาบางส่วนบอกว่าเราคงต้องทบทวนความชั่วร้ายเจ้าเล่ห์ของพวกอำมาตย์ และรัฐบาลที่เข่นฆ่าประชาชนเกือบร้อยศพบาดเจ็บเป็นพันคน เราหมดความอดทนหมดหวังกับเรื่องการปรองดอง เพราะการกระทำทั้งล่าคนเสื้อแดงและการจับกุมคุมขังแกนนำและประชาชนที่ไม่มี ความผิด เป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่รัฐบาลพูดโกหกไปวันๆ เพื่อยืดอายุรัฐบาล

ที่อ้างว่าเป็นจดหมายจากอริสมันต์บอกว่าตอนนี้เขาวางระเบิดเวลากันเอง ลูกแรกเริ่มจากคดียุบประชาธิปัตย์ มันใกล้ได้เวลาระเบิดแล้ว ทั้งที่เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของคนทั้งประเทศ เพราะมีธงมาแล้ว คือพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น ตามคำสั่งของพวกอำมาตย์ที่เข้ามาแทรกแซงครอบงำองค์กรอิสระไม่เหลือแล้วความ เป็นคนของตุลาการรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงแล้ว

จดหมายของอริสมันต์ หรือที่อ้างว่าเป็นจดหมายจากอริสมันต์ บอกต่อว่าระเบิดลูกที่สองคือการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยที่จะสร้างเงื่อนให้มีการรัฐประหาร โดยกลุ่มทหารของอำมาตย์จะกวาดล้างคนที่ขัดขวางการรัฐประหารอย่างบ้าคลั่งจน เลือดนองเต็มแผ่นดิน

ระเบิดลูกที่สามคือการลุกขึ้นต่อสู้เผด็จการรัฐประหารที่จะเกิดขึ้นทั่ว ประเทศและทั่วโลก ซึ่งจะเป็นสงครามที่เกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า แล้วคนไทยจะล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งอำมาตย์และรัฐบาลไม่ได้สนใจ เพราะพร้อมที่จะปิดประเทศ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น

ที่อ้างว่าเป็นจดหมายบอกต่อว่า เราต้องผนึกกำลังตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น หามิตรประเทศมารองรับความถูกต้อง แล้วต่อสู้อยู่นอกประเทศ ซึ่งจะทำให้ทั่วโลกรู้ว่าสงครามประชาชนกำลังจะเกิดขึ้น

ภาษาอย่างนี้เป็นภาษาของคนที่เคยใกล้ชิดกับคุณอริสมันต์แน่นนอน แต่ว่าจะเป็นจดหมายจริงจากคุณอริสมันต์ หรือว่าจะเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดไม่ปรากฏชัด

แต่ว่าคุณทักษิณ ชินวัตร เคยพูดถึงคำว่ารัฐบาลพลัดถิ่นตอนต้นๆ ที่ออกนอกประเทศไป ทำไมวันนี้จึงหยุดพูด แล้วถ้าตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นจะเป็นการต่อสู้ที่ชัดเจนกว่าปัจจุบันหรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าใคร่ครวญ น่าวิเคราะห์ น่าพิจารณา แปลว่าจดหมายฉบับนี้ทำให้เกิดคำถามใหม่ว่า ทำไมจนทุกวันนี้คุณทักษิณ ยังไม่ตัดสินใจตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 28, 2553

เปิดใจพสิษฐ์ผู้ปิดทองหลังพระ.flv



เปิดใจ พสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูณและโฆษกศาลรัฐธรรมนูณ เปรียบเปรย เพื่อเตือนศาลรัฐธรรมนูณ ให้คงความถูกต้อง ไม่เอนเอียง ก่อนแฉความจริง


Ref: เปิดใจพสิษฐ์ผู้ปิดทองหลังพระ.flv
From: judo585 | November 26, 2010

วันเสาร์, พฤศจิกายน 27, 2553

'ข้อพิรุธ-ตำหนิ-สงสัย 'คดียุบปชป.



หมาย เหตุ : ชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย และเครือข่าย จัดทำ "เปิดบันทึกที่เห็นต่าง จับผิดข้อพิรุธ-ตำหนิ-สงสัย-ข้อสังเกต และประเด็นที่แก้ข้อกล่าวหาไม่ได้ จากแนวทางการต่อสู้ของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)" ซึ่งเป็นมุมมองที่แตกต่างจากปชป. ผู้ถูกร้องในคดียุบพรรค จากการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ไม่ตรงตามความเป็นจริง


ข้อพิรุธ ตำหนิ สงสัยและแก้ข้อกล่าวหาไม่ได้ ในประเด็นที่เป็นข้อกฎหมาย

1. ที่ปชป.ต่อสู้กระบวนการยื่นและคำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมายประเด็นอำนาจนายทะเบียนพรรคการเมืองและบันทึกความเห็นนายทะเบียนฯ

มี ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องไม่ได้กล่าวถึงเพราะกลัวเสียหายต่อรูปคดี คือรายละเอียดมติกกต. 17 มี.ค. 2542 ที่ระบุ "ให้นายทะเบียนฯ พิจารณาตามมาตรา 95 พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 ทั้งสองประเด็นกล่าวหา"

จึง เป็นการลงมติเพื่อสั่งการให้นายทะเบียนฯ เสนอความเห็นต่อกกต. หากเห็นว่ามีมูลความผิดตามที่มีการกล่าวหา นายทะเบียนฯ ต้องมีความเห็นพร้อมส่งเรื่องให้กกต.พิจาร ณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 93 หรือ มาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550

มติกกต. จึงเป็นมติที่ชอบตามมาตรา 8 พ.ร.บ.คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ประกอบมาตรา 93 วรรคสอง และมาตรา 95 พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550

ขณะ ที่ข้อต่อสู้ของปชป. เรื่องนายทะเบียนฯ มีความเห็นยกคำร้องแล้ว ยกคำร้องโดยวิธีใดและมีหลักฐานใด บันทึกของนายทะเบียนฯ ลงวันที่เท่าใด ผู้ร้องไม่สามารถหาพยานหลักฐาน หรือหยิบยกได้อย่างเป็นรูปธรรม

2. ข้อตำหนิ เรื่อง การอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งหัวหน้าและ กรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรค โดยอ้างศาลฯ วินิจฉัยคดียุบพรรคชาติไทย คำวินิจฉัยที่ 19/2551 ว่า มาตรา 82 และ 98 ยังไม่ได้เป็นข้อสันนิษฐานที่เด็ดขาดที่จะเพิกถอนสิทธิ์หัวหน้า และกก.บห. หากพรรคถูกยุบ แตกต่างจากการเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 237 เมื่อกระทำผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. พ.ศ.2550

ศาลฯ ไม่ได้เขียนคำวินิจฉัยไว้เช่นนั้น ไม่มีถ้อยคำใดปรากฏในคำวินิจฉัยในเรื่องข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และไม่มีคำวินิจฉัยตอนใดระบุการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิ์ ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 มาตรา 98 สามารถยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิ์กก.บห. เป็นรายบุคคลได้

จึงมีข้อตำหนิว่าข้ออ้างดังกล่าวเป็นการสรุปความเอาเองของผู้ถูกร้อง หาใช่ศาลวินิจฉัยไว้

3. ข้อต่อสู้ที่อ้างว่าคดีนี้ต้องบังคับใช้พ.ร.บ.พรรค การเมือง ปี 2541 เท่านั้น

จาก อัลบั้ม นสพ.ข่าวสดรายวัน


ปชป. อ้างคำวินิจฉัยศาลฯ ที่ 3-5/2550 ที่ว่า อำนาจการยื่นคำร้องต่อศาลฯ ให้ยุบพรรคเป็นอำนาจของนายทะเบียนฯ ไม่ใช่อำนาจกกต. ฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นคำวินิจฉัยตามกฎหมายเดิม คือพ.ร.บ.พรรคการเมือง ปี 2541 มาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจนายทะเบียน

แต่ตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง ปี 2550 มาตรา 93 วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ บัญญัติให้เป็นอำนาจนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของกกต.

การพิจารณาว่าปชป. กระทำการอันต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ ต้องพิจารณากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำ ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติ แต่การพิจารณาว่าผู้มีอำนาจยื่นคำร้องให้ศาลฯ มีคำสั่งยุบพรรค เป็นการพิจารณาถึงวิธีพิจารณา ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนของวิธีสบัญญัติ จึงต้องใช้กฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน

จึงถือว่านายทะเบียนยื่นคำร้องโดยถูกต้องตามกฎหมาย

4. ข้อตำหนิในประเด็นข้อต่อสู้ที่ว่า หากมีการยุบพรรคตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 ไม่อาจนำประกาศ คปค. ฉบับ ที่ 27 ที่ให้ถอนสิทธิ์เลือกตั้งกก.บห. มาบังคับใช้ได้ โดยอ้างคำวินิจฉัยศาลฯ ที่ 15-16/2550 กรณียุบพรรคสันติภาพไทย ซึ่งมิได้นำประกาศคปคป. ฉบับที่ 27 มาใช้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งหัวหน้า และกก.บห. เนื่องจากมิได้กระทำผิดร้ายแรงตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 66

การ ยุบพรรคสันติภาพไทย เป็นกรณีไม่ได้ดำเนินการตั้งสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา เป็นความผิดตามมาตรา 29 ซึ่งเป็นเหตุให้ยุบพรรค และนายทะเบียนมิได้ร้องขอให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งหัวหน้า และกก.บห. ซึ่งต่างจากคดีนี้

ศาลฯ วินิจฉัยว่าการไม่จัดตั้งสาขาพรรคตามกฎหมายเป็นความผิดไม่ร้ายแรง เมื่อพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 บังคับใช้ ก็บัญญัติกรณีดังกล่าวเป็นเพียงเหตุที่ทำให้พรรคสิ้นสภาพ มิใช่เหตุให้ต้องยุบพรรค

แต่ประเด็นการกระทำผิดเรื่องการใช้เงินกอง ทุน ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่เป็นความผิดร้ายแรง มีคำวินิจฉัยศาลฯ ที่ 4-5/2553 กรณียุบพรรคเกษตรกร ไว้เป็นบรรทัดฐานว่า

"...เมื่อไม่ รายงานการใช้จ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 มาตรา 82 ประกอบมาตรา 42 วรรคสอง และในทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าหัวหน้าและกก.บห. แสดงหลักฐานหักล้างได้ จึงปรากฏหลักฐานควรเชื่อว่าหัวหน้าและกก.บห. มีส่วนร่วมรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย จึงสั่งให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งหัวหน้าและกก.บห. มีกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันมีคำสั่งยุบพรรค"

5. ข้อพิรุธ ข้อตำหนิ ข้อสงสัยและแก้ข้อกล่าวหาไม่ได้

ข้อต่อสู้ที่ว่า นับแต่ 19 พ.ย.2547 ที่กกต. อนุมัติเงินให้ปชป.สามารถทำป้ายได้เลยนั้น

จาก อัลบั้ม นสพ.ข่าวสดรายวัน


1) ทำไมปชป. ต้องทำหนังสือของสำนักงานใหญ่พรรค ลงวันที่ 10 ม.ค.2548 ที่ปชป. 4800020/2548 เรื่องการปรับปรุงโครงการและแผนงานของพรรคการเมือง ที่เสนอขอรับเงินจากกองทุน ถึงประธานกองทุน หากมั่นใจก็ไม่ต้องทำหนังสือฉบับนี้

เท่ากับจำนนต่อหลักฐานว่าพรรค รู้และเข้าใจดีว่า ต้องปฏิบัติตามหนังสือของกกต. ที่ ลต.0402/1812 วันที่ 30 พ.ย.2547 และประกาศกกต. เรื่องกองทุน ข้อ 22 ใช่หรือไม่

ราย ละเอียดจากหนังสือ ยังระบุ "การปรับปรุงโครงการ และแผนงานฯ ที่ได้รับเงินสนับสนุนมานั้น กก.บห.พรรค เป็นผู้พิจารณาร่วมกับหัวหน้าพรรค" โดยมีข้อเท็จจริงในหน้า 2 ของหนังสือดังกล่าว

2) ทำไมปชป. ต้องรีบร้อนสั่งจ่ายเช็ค 2 ฉบับ รวมเป็นเงิน 25 ล้านบาทเศษ ให้กับผู้รับจ้างในวันเดียวกับที่พรรคทำหนังสือขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงการ ในวันที่ 10 ม.ค. ในทันที

กก.บห.จะอ้างว่าไม่รู้เห็นคงไม่ได้ เพราะขัดแย้งกับหนังสือของสำนักงานฯ ลงวันที่ 10 ม.ค. 2548 ข้างต้น

ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง

พยานหลักฐานที่ปชป. ไม่ปฏิเสธข้อกล่าวหาให้ชัดแจ้งเพราะจำนนต่อหลักฐาน มีดังนี้

1. หนังสือที่ ลต.0402/11812 ลงวันที่ 30 พ.ย.2547 เรื่อง แจ้งอนุมัติโครงการและแผนงานของพรรคการเมือง ประจำปี 2548 ถึงหัวหน้าปชป.

2. หนังสือของสำนักงานใหญ่ ปชป. ลงวันที่ 10 ม.ค.2548 ที่ปชป. 4800020/2548 เรื่อง การปรับปรุงโครงการและแผนงานของพรรคการเมือง ที่เสนอขอรับเงินสนับสนุนฯ

รวมถึงเช็ค 2 ฉบับที่สั่งจ่าย คือ เช็คธนาคารกรุงไทย จำนวน 23,314,200 บาท ลงวันที่ 10 ม.ค.2548 ให้กับ บ.เมซไซอะ และเช็คธนาคารกรุงไทย จำนวน 2 ล้านบาท สั่งจ่าย 10 ม.ค.2548 ให้บ.เกิดเมฆฯ

3. หลักฐานที่ออกโดยเมซไซอะ ไม่ตรงกับความเป็นจริงคือกรณีจ่ายเงินทำฟีเจอร์บอร์ด ปชป.สั่งจ่ายเช็คกรุงไทย 10 ม.ค.2548 จำนวน 23,314,200 บาท จัดทำใบสำคัญรับเงินว่าเมซไซอะ รับเงินจากปชป. วันเดียวกัน แต่ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินเลขที่ 293 ระบุเป็น 7 ม.ค.2548

4. กรณีจ่ายหมึกสกรีน น้ำมันพิมพ์ป้ายให้บริษัท วินสัน สกรีน 1,013,102.23 บาท เช็คสั่งจ่าย 12 ม.ค.2548 แต่ใบเสร็จรับเงินลงวันที่ 11 ม.ค.2548 ใบส่งของทุกฉบับลงวันที่ 2-30 ธ.ค.2547

5. ค่าแผ่นป้ายฟีเจอร์บอร์ด บ.ป๊อปปูล่า อินเตอร์พลาส 1,284,160.50 บาท ใบสำคัญรับเงิน 10 ม.ค.2548 แต่ใบส่งของเป็น 28 ธ.ค.2547

6. จ่ายค่าซื้อแผ่นป้ายฟีเจอร์บอร์ดให้ บ.อุตสาหกรรมอีโค่พลาส 4,697,128.80 บาท เช็คสั่งจ่าย 10 ม.ค.2548 แต่ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า และใบเสร็จรับเงินวันที่ 23 ธ.ค.2547

7. หลักฐานประกอบการรายงานการใช้จ่าย สั่งจ่ายเช็ค และใบสำคัญรับเงินจาก บ.เกิดเมฆ แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์กรุ๊ป 2,093,713.04 บาท ไม่ตรงกับใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี

8. การจ่ายเงินเริ่มดำเนินการ ม.ค.2548 แต่ปรากฏหลักฐานการจัดทำป้ายเสร็จสิ้นและส่งงานแล้วตั้งแต่พ.ย. และธ.ค. 2547

9. ปชป.รับว่าว่าจ้างเมซไซอะ และน.ส.วาศิณี ทองเจือ ซึ่งต้องจ่ายเงินให้ทั้งสองเท่านั้น แต่ปชป.สั่งจ่ายเช็คให้บ.เกิดเมฆฯ 2 ล้านบาท ทั้งที่เจ้าของบ.เกิดเมฆฯ รับว่าเป็นผู้รับจ้างช่วงจากน.ส.วาศิณี วงเงิน 500,000 บาท

10. ที่ปชป.อ้างกองทุนไม่เสียหาย เพราะใช้เงินสนับสนุนจากกองทุน 27,000,000 บาท หมดแล้ว เงินส่วนเกินเป็นเงินสมทบของปชป.เอง ไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างให้หลุดพ้นตามคำร้อง ไม่ตรงประเด็นที่นายทะเบียนฯ กล่าวหา

ในคำแถลงปิดคดี ปชป. มีโอกาสชี้แจงต่อศาลฯ ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสาร แต่ปชป. ไม่อธิบาย ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะเป็นเพราะไม่อาจหาเหตุผลมาหักล้างพยานหลักฐานได้

ช่วง ท้ายเป็นการยกตัวอย่างข้อพิรุธ ตำหนิ สงสัย ข้อสังเกต ประเด็นที่แก้ข้อกล่าวหาไม่ได้ โดยมีสำเนาเช็ค ใบเสร็จและเอกสารต่างๆ ประกอบ ได้แก่

1. กรณีปชป. ยื่นรายการต่อกกต. โดยจำแนกผู้ประกอบการ วันเดือนปีที่ส่งของ จ่ายเช็ค ออกใบเสร็จ บางรายการพบพิรุธไม่สัมพันธ์กัน เพราะออกเช็คสั่งจ่ายภายหลังผู้ประกอบการออกใบเสร็จ และใบกำกับภาษีแล้ว

2. พบพิรุธในพฤติกรรมของปชป. และเมซไซอะ เช่น ใช้ใบกำกับภาษีมิชอบ ไม่มีการทำสัญญาว่าจ้าง ทั้งที่วงเงินสูงมาก การตรวจสอบบัญชีรายจ่ายที่ยื่นต่อกกต. ไม่มีรายการค่าขนส่งป้ายแบบเขต

3. เมซไซอะ สั่งจ่ายเช็ค 12 พ.ย.2547 (ก่อนปีที่ได้รับเงินกองทุนเป็นการจัดทำก่อนวันที่ 1 ม.ค.2548 ) 1,200,000 เข้าบัญชี น.ส.วรารัตน์ พงษ์พันธุ์เดชา เมื่อนายประจวบ สังข์ขาว นำเงินเข้าบัญชีแล้วได้แฟ็กซ์ให้นายธงชัย ดลศรีชัย ซึ่งเป็นหมายเลขพรรคปชป.

4. มีการทำนิติกรรมอำพราง เพราะผู้ประกอบการที่ได้รับเงินทั้งหมดต้องนำส่งคืนให้น.ส.วาศิณี ทองเจือ

5. สร้างพยานหลักฐานประกอบการรายงานการใช้จ่ายเงินฯ ซึ่งหักล้างไม่ได้

6. ปชป.ไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้ได้ว่าไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดเรื่องการใช้จ่ายเงินกองทุน เพราะกกต. แจ้งอนุมัติและอธิบายรายละเอียดการใช้จ่ายเงิน ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องขออนุมัติจากกรรมการกองทุนก่อน ตามหนังสือกกต. ลงวันที่ 30 พ.ย.2547


ที่มา: ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ รายงานพิเศษ หน้า 3
(update : วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7303)

Roger Arnold - Bangkok Street Protests



Ref: therorypeckawards | November 02, 2010 |

Roger's footage is a detailed diary of events in Bangkok during the final week of the anti-government protests in May 2010. Close, immediate and dramatic, we see the conflict from both the perspective of the protestors' and the Thai army.

Roger Arnold is a freelance photographer, cameraman and journalist currently based in Thailand. He has travelled and photographed in more than 50 countries and his work has appeared in print, TV and internet outlets around the world.

For more information on the awards visit our website: http://www.rorypecktrust.org/ and Facebook page: http://www.facebook.com/RoryPeckAwards

--------------------------------------------

ชาวต่างชาติผู้บันทึกภาพเหตุการณ์สลายการชุมนุม "เม.ย.-พ.ค.53" ได้รับรางวัลสำคัญระดับโลก


จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online
โรเจอร์ อาร์โนลด์ (ซ้าย)


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า โรเจอร์ อาร์โนลด์ ช่างภาพชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้บันทึกภาพข่าวเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารของรัฐบาลไทยกับ ผู้ชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา กลายเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัล "รอรี่ เป๊ค นิวส์ อวอร์ด" ซึ่งมอบให้แก่ช่างภาพอิสระผู้เสี่ยงชีวิตของตนเองเข้าไปบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในสถานที่อันตรายทั่วโลก

โดยอาร์โนลด์ได้รับรางวัลรอรี่ เป๊ค นิวส์ อวอร์ด ในสาขาผู้บันทึกภาพเหตุการณ์ข่าวยอดเยี่ยม จากผลงานภาพเคลื่อนไหวที่มีชื่อว่า "เร้ด เชิร์ตส์ โปรเทสต์" (การประท้วงของคนเสื้อแดง) ซึ่งเคยแพร่ภาพผ่านทางเว็บไซต์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล หรือ wsj.com มาก่อนหน้านี้

คณะกรรมการตัดสินรางวัลระบุว่าภาพข่าวของอาร์โนลด์เป็น "ผลงานอันทรงพลังและสามารถเก็บใจความสำคัญได้อย่างครอบคลุม"

"หากคุณจะคาดหวังอะไรจากช่างภาพสื่อ มวลชน คุณก็ต้องคาดหวังถึงภาพข่าวที่มหัศจรรย์ โรเจอร์ได้แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความกล้าหาญ เขาเปิดเผยเรื่องราวจากทุกแง่มุม ทุกสถานที่ และคุณไม่สามารถจะเรียกร้องอะไรจากเขามากไปกว่านี้อีกแล้ว" กรรมการตัดสินรางวัลรายหนึ่งกล่าว


(สกู๊ปรายงานข่าวการได้รับรางวัลของโรเจอร์ อาร์โนลด์ โดยสำนักข่าวบีบีซี)

ที่มา: มติชนออนไลน์ (update: วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 19:30:00 น.)

-----------------------------------------------



Ref: Tuxillaplanet | November 27, 2010

รางวัลภาพข่าวชนะเลิศ จาก BBC เป็นเหตุการณ์ที่ราชประสงค์: Cameraman wins award for filming violent Thai protests



Ref: KUNGINTER1 | November 26, 2010
รางวัลภาพข่าวชนะเลิศ จาก BBC เป็นเหตุการณ์ที่ราชประสงค์: Cameraman wins award for filming violent Thai protests

วันศุกร์, พฤศจิกายน 26, 2553

ความจริง-การเมือง-กฎหมายหมิ่นในทรรศนะ"เดวิด สเตรกฟัสส์" "กฎหมายนี้ใช้เป็นอาวุธทางการเมืองก็ว่าได้"



ฏิบัติการเกาะติดและสะกดรอยผู้กระทำความผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้มข้นยิ่งขึ้น

ในปรากฏการณ์ความขัดแย้งเหลือง-แดงกว่าครึ่งทศวรรษ "คดีหมิ่น" ขึ้นสู่ศาล 430 คดี

ขณะนี้จำนวนคดีหมิ่นพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ

"ประชา ชาติธุรกิจ" ติดตาม-ฉายภาพ "คดีหมิ่น" จากแว่นของ เดวิด สเตรกฟัสส์ (David Streckfuss) นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ และทำงานในฐานะนักมานุษยวิทยาในภาคอีสาน

ผู้เขียนหนังสือที่อาจหาอ่านจากเมืองไทยไม่ได้ชื่อ Truth on Trial in Thailand : Defamation, Treason, and Lese-Majeste (การดำเนินคดีกับความจริงในเมืองไทย : กฎหมายหมิ่นประมาท, ข้อหากบฏ, และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ)

- ในฐานะที่เป็นฝรั่งศึกษาประเทศไทย มองการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการเมืองไทยอย่างไร

ช่วง นี้ไม่ว่าฝรั่งหรือไทยหลายคนก็เริ่มมองเหมือนกันว่า การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่เหมือนกฎหมายอื่นหลายอย่าง ถ้าเป็นหมิ่นประมาทธรรมดาก็เป็นผู้เสียหายเท่านั้นที่เป็นผู้ฟ้องร้อง แต่ในเมืองไทยไม่มีข้อจำกัด ผู้ที่สามารถฟ้องร้องบุคคลที่เขาคิดว่ากำลังหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อีกอันหนึ่งที่ไม่เหมือนกันระหว่างกฎหมายหมิ่นคนธรรมดากับหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ คือในการพิจารณาคดีของศาลหรือในยุทธศาสตร์การต่อสู้ของจำเลย ถ้าเป็นหมิ่นประมาทธรรมดามีข้อยกเว้น หากเป็นความจริงมีประโยชน์ต่อสาธารณะหรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต แต่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่มีข้อยกเว้น

อีกอย่างหนึ่งที่แตก ต่างจากหมิ่นประมาทธรรมดาอาจจะเห็นในต่างประเทศ คือ การวิจารณ์ถึงคนที่อยู่ในสายตาสาธารณะยิ่งต้องมีข้อยกเว้นจากศาล (จากกฎหมาย) สำหรับผู้ที่ถูกพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการ หรือแม้แต่ดาราหรือใครก็ตามที่อยู่ในสายตาของสาธารณะ แต่กฎหมายในประเทศเหล่านั้นก็คุ้มครอง head of the state ก็ได้ หรือนายกรัฐมนตรีก็ได้ ซึ่งอาจจะคุ้มครองกรณีที่มีผู้ใช้คำหยาบหรือดูหมิ่น เช่น กล่าวหาว่าไปฆ่าคนอื่น หรือกล่าวหาเรื่องส่วนตัว ขณะที่ หากเป็นเรื่องสาธารณะเขาก็ไม่คิดจะฟ้อง แต่จะใช้วิธีโต้ตอบผ่านสื่อมากกว่า

ดังนั้น หลักการคือยิ่งเป็นบุคคลสาธารณะ เช่น นักการเมือง นายกรัฐมนตรี ยิ่งควรเปิดโอกาสที่จะพูดถึง

- แล้วกรณีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศอื่น ๆ เป็นอย่างไร

ประเทศ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประเทศอื่นก็มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเหมือนกัน เช่น สเปน มีโทษจำคุกถึง 3 ปี นอร์เวย์ จำคุกถึง 5 ปี แต่มีข้อจำกัด เช่น ที่ประเทศนอร์เวย์ ถ้ามีใครดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ถ้าจะดำเนินคดีต้องมาจากความยินยอมของพระมหากษัตริย์เอง ดังนั้นก็มีวิธีการที่จะให้ผู้เสียหาย (พระมหากษัตริย์) บอกว่า อันนั้นมากเกินไปแล้วต้องดำเนินคดี

ดังนั้น หลายประเทศก็อาจจะมีเงื่อนไขว่าเรื่องต้องผ่านราชสำนัก หรือคณะ องคมนตรีก่อน คืออย่างน้อยต้องมีการกรองระดับหนึ่ง

- ผลของกฎหมายไทยที่บัญญัติแบบนี้ ส่งผลอย่างไร

การกลั่นแกล้งเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ปัญหาคือถ้าตำรวจได้รับแจ้งความแล้ว แม้เขาจะไม่อยากฟ้อง แต่เขาก็ไม่กล้าที่จะยุติการดำเนินคดีนั้น เพราะต้องสอบสวนและส่งให้อัยการอยู่ดี ส่วนอัยการก็ไม่กล้าที่จะไม่ฟ้อง ฉะนั้นเขาก็ส่งให้ศาลในที่สุด ศาลชั้นต้นก็ไม่ตัดสินชี้ขาดก็ส่งต่อให้ศาลอุทธรณ์ และแม้แต่ศาลฎีกาก็ดูเหมือนไม่แน่ใจว่าจะตัดสินอย่างไร ก็มี 9 คดีที่มาถึงศาลฎีกา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมายังไม่ พิพากษาและแนวโน้มของกระบวนการที่ไม่มีไกด์ไลน์ก็มีแต่การส่งต่อไปจนถึงศาล ฎีกา ประเด็นคือคนที่ทำคดีก็ไม่กล้ายกคำร้อง หรือยกฟ้อง ดังนั้นกลั่นแกล้งง่ายมาก

- กฎหมายนี้ดูเหมือนถูกนำมาใช้ทางการเมืองมากกว่าจะหวังผลทางกฎหมายหรือไม่

ถ้าการเมืองอย่างแคบคือการเลือกตั้ง แต่การเมืองอย่างกว้างทุกวันนี้ทุกอย่างก็มีเรื่องอำนาจอยู่ในตัวมันเอง หมายความว่าทุกอย่างก็เป็นการเมืองอีกแบบหนึ่งมองอย่างกว้าง ถ้านิยามอย่างแคบก็คือ นักการเมืองนำกฎหมายนี้มาแกล้งกัน มาฟ้องกัน นักการเมืองอาจจะเป็นศัตรูกันจึงฟ้องกัน ถ้าจะพูดว่ากฎหมายนี้ใช้เป็นอาวุธทางการเมืองก็ว่าได้

แต่เหยื่อของ การใช้กฎหมายนี้เป็นใคร ส่วนมากเราไม่รู้ ความจริงแล้วไม่มีใครมีข้อมูลการฟ้องคดีนี้มากเท่าไร ซึ่งเราก็จะรู้แค่ 3-4 คดี เช่น ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล, บุญยืน ประเสริฐยิ่ง, สุวิชา ท่าค้อ, แฮรี่ นิโคไลดส์ ชาวออสเตรเลีย ฯลฯ ปีที่ผ่านมามี 164 คดี ไปถึงศาลชั้นต้นแล้วก็ลงอาญา 82 คดี เรามีข้อมูลไม่กี่คดี และช่วงหลังมานี้สำนักงานอัยการไม่ได้รวบรวมสถิติคดีนี้ในรายงานประจำปีของ เขา เดิมทีเขารวมสถิติได้เป็นประโยชน์มาก ซึ่งต่อมาผมก็ต้องใช้สถิติของสำนักงานศาลยุติธรรมแต่ก็ขาดรายละเอียด บางอย่าง

- ทำไมเลือกศึกษาเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ผม ไม่ได้สนใจกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเดียว แต่สนใจกฎหมายที่ใช้หลักการเรื่องหมิ่นประมาท คือเริ่มต้นจากผมเป็นลูกศิษย์อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ผมก็พยายามศึกษาความเป็นไทย...หลังจากนั้นก็ดูเรื่องมุมมองความมั่นคง เช่น สถานะผู้หญิง เด็ก ทุกอย่างก็เกี่ยวกับความมั่นคง ศึกษาต่อมาก็ดูกฎหมายหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ก็ดูคำพิพากษาตั้งแต่เรื่องกบฏภายใน เรื่องดูหมิ่นสถานทูตที่เป็นมิตรกับไทย และจึงเริ่มดูกฎหมายที่ใช้หลักการหมิ่นประมาท

- พบว่ามีการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในสถานการณ์การเมืองที่ แตกต่างกันอย่างไร

ตอน ที่ผมเขียนวิทยานิพนธ์ พบว่าหลังจากรัฐธรรมนูญ 2540 บางปีไม่มีคดีเลย หรืออาจจะ 5 คดีต่อปี แต่ช่วงปี 2548 ก็มีการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เริ่มมีการฟ้องกันเรื่อง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ... โดยมีการฟ้องร้องกันเต็มที่ภายในไม่กี่เดือน เทียบกันไม่ได้กับในอดีต ก่อนปี 2548 ผมยังเขียนเน้นเกี่ยวกับเรื่องหมิ่นประมาทธรรมดา แต่ปี 2548 มีการแจ้งความฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากขึ้นไม่หาย

- สาเหตุที่ในตอนแรกศึกษาคดีหมิ่นประมาทธรรมดาเพราะอะไร

สนใจ กฎหมายที่ใช้หลักการเรื่องหมิ่น และตอนนั้นทักษิณ ชินวัตร ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้ข้อหาหมิ่นประมาท ฟ้องร้องคนอื่นเป็นร้อยล้านบาท ในช่วงนั้นทุกคนก็พูดถึงกฎหมายหมิ่นประมาท ซึ่งกระทบต่อสื่อมวลชนและตอนนั้นก็มี คดีของสุภิญญา กลางณรงค์

- จากการศึกษาพบว่าทักษิณใช้กฎหมายหมิ่นจัดการกับฝ่ายที่วิจารณ์ตัวเขาอย่างไร

ร้าย แรงมาก มีการใช้คดีแบบนี้เยอะมาก อาจจะมีถึง 100 คดีกับสนธิ ลิ้มทองกุล ก่อนหน้านี้มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ที่ใช้กฎหมายนี้เก่งจนดูเหมือนเขาอาจจะขึ้นศาลทุก ๆ 2 วัน เพราะฟ้องทั่วประเทศ แต่สู้ทักษิณไม่ได้ เพราะทักษิณใช้กฎหมายนี้เก่งกว่า

- เป็นธรรมชาติของนักการเมืองทั่วโลกหรือไม่ ที่ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทจัดการฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ถ้า กฎหมายอำนวยให้ เขาก็คงจะใช้ หรือถ้าอัยการและศาลเห็นด้วยในการดำเนินคดี เขาก็คงยิ่งได้อำนาจในการป้องกันตัวเองจากศัตรู โดยทั่วไปการยิ่งใช้กฎหมายหมิ่นประมาท ก็ยิ่งปิดพื้นที่สาธารณะหรือทำให้มันเล็กลง มันก็มี แนวโน้มที่ไม่ไปในทางประชาธิปไตยมากเท่าไร ซึ่งถ้าที่ไหนมีกฎหมายอำนวยให้...คนที่มีอำนาจก็จะใช้กฎหมายนั้นอยู่ดี

- การที่ใครไปแจ้งความข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ได้ เป็นปัญหาที่มีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง

มี หลายอย่างที่อาจจะช่วยให้คนมีจิตสำนึกมากขึ้นในการใช้กฎหมายนี้ ซึ่งของฝ่ายรัฐบาลเวทีสัมมนากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ มีบางคนก็เสนอว่าใคร แจ้งเท็จก็ถูกฟ้องได้ อาจจะถูกจำคุก 5 ปี แต่ผมคิดว่าอาจจะเป็นการขยายปัญหา เพราะที่จริงแล้วอะไรที่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว และถ้าจะฟ้องคนที่กล่าวหาก็ยิ่งมั่ว เพราะในที่สุดก็เป็นเรื่องเจตนาซึ่งเป็นสิ่งที่วัดยาก

- ทางออกในการแก้ปัญหา

ถ้อย คำที่ใช้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ก็เป็นถ้อยคำตามกฎหมายธรรมดา ที่แต่ละประเทศที่ปกครองแบบนี้ก็อาจจะใช้ได้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่มาตรา 112 แต่ปัญหาอยู่ที่อาจจะต้องมีข้อยกเว้นหรือไกด์ไลน์เพื่อที่จะทำให้ศาลนิยาม ความผิด ที่ชัดเจนมากขึ้น ควรจะมีการศึกษาว่า อะไรคือหมิ่นฯ เพราะอะไร ? อะไรไม่เป็นหมิ่นฯ เพราะอะไร ? จะเป็นประโยชน์ ต่อสังคมมาก

- ในฐานะที่อาจารย์ลงพื้นที่ศึกษาแบบมานุษยวิทยา พบว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากลั่นแกล้งกัน ในสังคมไทยสามารถ ใช้ได้ผล

ในความคิดเห็นของผม คิดว่าใน 100 ปีที่ผ่านมามีการพยายามสร้างโมเดลชาตินิยมชนิดหนึ่งที่ปฏิเสธความแตกต่างทาง ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น หลาย ๆ อย่างโดยพยายามทำให้มันหายไป และก็ที่จริงแล้วช่วงที่อาจจะเข้มแข็งที่สุดก็คือตอนช่วงต่อต้านคอมมิวนิสต์ ให้เป็นศัตรูสุดยอดสมบูรณ์แบบ เป็นผู้ดูเหมือนปฏิเสธความเป็นไทย ดูเหมือนช่วงนั้นก็มีคำถามว่าความเป็นไทยคืออะไร เราเป็นใคร เราน่าจะมีการปกครองแบบไหน ดูเหมือนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยรัฐธรรมนูญ 2540 ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น

แต่หลังจากรัฐประหาร 2549 นั้น ดูเหมือนมีความพยายามเอาโมเดลชาตินิยมแบบนี้ขึ้นมาใหม่ แล้วบังคับให้ทุกคนอยู่ในนั้น แต่มีศัตรูแบบใหม่ คือ ผู้ไม่มีความจงรักภักดีกับสถาบันสูงสุด ผมว่าเป็นโชคร้ายมาก หรือเป็นสิ่งที่แย่มากที่เป็นแบบนี้ แบ่งแยกว่ามีผู้จงรักภักดีและไม่จงรักภักดี หรือบอกว่ามีคนรักชาติและไม่รักชาติ ทั้งที่คนซึ่งถูกหาว่าไม่รักชาติ เขาอาจจะรักชาติอีกแบบหนึ่งก็ได้ การกล่าวหากันนั้นได้ผลระยะสั้น แต่ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยยังไม่เผชิญหน้ากับการชำระประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นช่วงสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีคำสั่งคณะปฏิวัติที่ 17 ที่พยายามควบคุมสื่อมวลชน หรือช่วงตุลา 2516 ตุลา 2519 พฤษภาทมิฬ 2535 และเมษา พฤษภา ในปีนี้ก็ดูเหมือนแนวโน้มยังไม่ถึง (การชำระประวัติศาสตร์) ใช่ไหม ผมยังไม่เห็นเหตุการณ์ที่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะเผชิญหน้ายอมรับกับความจริง เพราะกลัวเจ็บ

- อาจารย์เชื่อว่าแผนปรองดองจะได้ผลไหม

ผมทำวิจัยอยู่อีสาน มีคนน้อยมากที่ผมเจอที่คิดว่าแผนปรองดองมีความหมาย

- บรรยากาศในชนบทเป็นอย่างไร

เปลี่ยน ไปเยอะ แต่ยังไงก็มีฐานบางอย่างอยู่ที่นั่น อย่างเช่นเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมามีคนอีสานตายเยอะ จนคนอีสานหลายคนแทบไม่เชื่อว่าคนกรุงเทพฯรับได้ที่มีคนตายเยอะ แทบไม่เชื่อว่าเขาทนได้ยังไง แล้วหลังจากมีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ คนกรุงเทพฯก็ให้คุณค่ากับอันนั้น (เซ็นทรัลเวิลด์) เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ได้มองชีวิตคนว่าเป็นมนุษย์เท่ากัน...เขาก็เจ็บ

- ถ้าคิดแทนคนกรุงเทพฯ เขาก็รับไม่ได้ที่คนเสื้อแดงมาเผาบ้านเผาเมือง

คน อีสานก็จะตอบว่า ต้องดูหลักฐานก่อนว่าใครเผา มันจะมีเกมการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ เขายังมีความสงสัย ซึ่งผมก็ไม่มีข้อมูล แต่การเผาเป็นสิ่งดีไหม ก็ไม่ดีเพราะคนเสื้อแดงส่วนมากไม่มีใครเห็นด้วย

- อารมณ์คนกรุงเทพฯที่รับไม่ได้กับเสื้อแดง

ปัญหา คือใครมีสิทธิจะบอกว่าเป็นตัวแทนของคนกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯก็น่าจะเป็นของคนไทยทุกคน แต่คนที่สีลมในช่วงนั้นบอกให้คนชนบทออกไป คำถามคือคนชนบทเขาไม่มีสิทธิอยู่ที่นี่เหรอ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องกระจายอำนาจหน่อย เพราะถ้าไม่กระจายอำนาจ...ทุกคนก็จะมาหางานที่กรุงเทพฯอยู่ดี ถ้าไม่มีคนชนบทในกรุงเทพฯแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์ของคนกรุงเทพฯก็จะหายไป ก็ลองดู ก็จะไม่มีร้านอาหารไม่มีอะไร ลองดูว่าคนกรุงเทพฯจะยังสบายใจไหม

- มองการเคลื่อนไหวเสื้อแดงอย่างไร

ยัง ไม่มีใครพูดได้อย่างมั่นใจว่ากระบวนเสื้อแดงว่ามันคืออะไรกันแน่ มันเป็นของพรรคเพื่อไทยเหรอ ? มันเป็นของทักษิณ เหรอ ? หรือมีเอกลักษณ์ของมันเอง ? ที่จริงแล้วใครควบคุมเสื้อแดงตอนนี้ได้ ? ตอนแรกก็รู้สึกว่าเชื่อมกับทักษิณ กับพรรคเพื่อไทย แต่ตอนหลังเริ่มไม่แน่ใจเพราะคุมกันไม่ได้และไม่รู้ว่าจะไปทิศทางไหน...อาจ จะต้องมีเหตุการณ์อะไรสักอย่าง แต่ดีที่คุณอภิสิทธิ์มีเหตุผลที่บอกว่า ถ้าห้ามแต่เสื้อแดงก็จะเป็นการสร้างความแตกแยกเสียเอง...


ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ (update : วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4265 หน้า 35)
สัมภาษณ์พิเศษ"เดวิด สเตรกฟัสส์"
บทความชื่อ: ความจริง-การเมือง-กฎหมายหมิ่น ในทรรศนะ "เดวิด สเตรกฟัสส์" "กฎหมายนี้ใช้เป็นอาวุธทางการเมืองก็ว่าได้"

วันอังคาร, พฤศจิกายน 23, 2553

Thai Yellow Shirts oppose change in constitution




Hundreds of demonstrators protested in the Thai capital Tuesday against constitutional amendments the government proposed to change the electoral system, and which would benefit its smaller coalition partners.

About 400 to 500 "Yellow Shirt" protesters demonstrated peacefully outside Parliament as lawmakers began debating the amendments and planned to return daily until a vote Thursday.

Prime Minister Abhisit Vejjajiva said the electoral changes were not proposed to reward any particular parties.

Protest leader Sondhi Limthongkul called for a national referendum for any changes to the 2007 charter, even though it allows amendments to be made by Parliament.

"These constitutional amendments are merely aimed at pleasing the government coalition parties," Sondhi told to the crowd. "This Constitution was endorsed by more than 17 million people. If anyone wants to change it, they'd better ask them first."

The Yellow Shirts represent Thailand's traditional royalist and military elite and were originally organized to oppose populist Prime Minister Thaksin Shinawatra, who was ousted in a 2006 coup. Their continued demonstrations in 2008 added pressure to oust two pro-Thaksin prime ministers.

The 2007 charter was crafted by allies of the military and presented to the public as a take-it-or-leave-it proposition in a national referendum which saw strong opposition from supporters of the ousted Thaksin.

The more controversial government-backed amendment would change the electoral system to have single-seat constituencies for parliament instead of multi-seat constituencies. The other would require treaties signed by the government that affect sovereignty to be approved by Parliament.

The Yellow Shirts, formally known as the People's Alliance for Democracy, agreed not to camp overnight in front of Parliament. In 2008, the group's members occupied the prime minister's offices for three months and seized Bangkok's two major airports for a week to press their demand to oust Thaksin's allies from government.

Their militant tactics inspired pro-Thaksin Red Shirts to similar actions, culminating in street protests earlier this year that turned violent and were put down by the army.


Ref: Asian Correspondent (update: Nov. 24 2010 - 11:55 am)

กิ๊บเก๋พาเที่ยว แยกราชประสงค์



Ref: tik4u007 | September 19, 2010 |
คลิ๊บ กิ๊บเก๋พาเที่ยว แยกราชประสงค์ ดูคนเสื้อแดงมารวมตัวกันเพื่อรำลึกถึง 4 ปี รัฐประหาร 4 เดือน เข่นฆ่าประชน เมื่อวันที่ 19/09/2553

ร ต อ เฉลิม อภิปรายการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตอน 1



Ref: Pheuthai | November 23, 2010

วันจันทร์, พฤศจิกายน 22, 2553

จดหมายเปิดผนึกถึงสมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติทุกท่าน

จาก อัลบั้มRobert Amsterdam Thailand

เรียน เพื่อนนปช.ที่เคารพรักทุกท่าน

บางท่านอาจจะสงสัยว่าเหตุใด ในสัปดาห์นี้ สมาชิกประชาธิปัตย์ถึงได้ออกมาโจมตีข้อความในสมุดปกขาว สี่เดือนหลังจากที่สมุกปกขาวกว่า 50,000 สำเนาถูกเผยแพร่ ดูราวกับว่า ดร.บุรณัชย์ สมุทรักษ์และสมาชิกพรรคคนอื่นออกมากล่าวหาว่าสมุดปกขาวมีข้อความที่ละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกวัน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลและจนตรอก

เหตุใดพรรคประชาธิปัตย์ถึงเลือกที่จะโมโหโทโสกับข้อความในสมุดปกขาวที่ถูกเผยแพร่เมื่อสี่เดือนในเวลานี้? สัปดาห์ที่แล้ว สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารของสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมที่ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งในการประชุมดังกล่าว มีการพิจารณาถึงเรื่องการระงับสมาชิกภาพชั่วคราวหรือขับไล่พรรคประชาธิปัตย์ออกจากสหพันธรัฐ

สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เดินทางไปยังแอฟริกาใต้พร้อมด้วยกระเป๋าเดินทางที่เต็มไปด้วยคำอธิบายที่ซ้ำซาก เข้าข้างตนเอง และไม่มีมูลความจริง ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวที่พรรคใช้อธิบายให้คนในประเทศไทยฟังเมื่อ 6เดือนที่ผ่านมา โดยปกติแล้ว มาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนของสมาชิกสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมนั้นไม่ใช่มาตรฐานสิทธิมนุษยชน “แบบไทยๆ”

ดังนั้นจึงมีความเป็นได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์อาจจะไม่ได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างที่ได้คาดหวังเอาไว้ในแอฟริกาใต้ และการตอบโต้เรื่องสมุดปกขาวหลังจากเลยมาสี่เดือนแล้ว อาจเป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์ถูกสมาชิกสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมประณามเรื่องการทำลายระบอบประชาธิปัตย์ในประเทศไทยลงอย่างไม่เหลือชิ้นดี

นอกจากจะโมโหเพราะพรรคถูกทำให้อับอายแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญคือ การที่พรรคประชาธิปัตย์เสียหน้าในเวทีโลกเป็นภัยอย่างยิ่งต่อรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ อย่างที่เรารู้ดีว่า สาเหตุที่อภิสิทธิ์ถูกกลุ่มอำมาตย์เลือกให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เพราะว่าอภิสิทธิ์ดูสุขุมนุ่มนวล ทันสมัย และเป็นผู้ดี ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นเกราะกำบังภัยกลุ่มอำมาตย์ได้เป็นอย่างดี และในเวลานี้ มีสัญญาณจากประชาคมโลกที่ชัดเจนว่า ความมีประสิทธิภาพในการใช้นายอภิสิทธิ์บังหน้านั้นกำลังเสื่อมลง

โดยในวันนี้ มีรายงานข่าวว่านายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายเดวิด คาเมรอน ยกเลิกแผนการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยในช่วงวันหยุดคริสต์มาส โดยส่วนหนึ่งเพราะมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลของนายคาเมรอนนั้นเป็นรัฐบาลผสม โดยมีพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคการเมืองดังกล่าวเป็นสมาชิกของสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยม

นายอภิสิทธิ์รู้ดีว่าเมื่อใดที่เปลือกของเขาถูกเปิดเผย ชะตากรรมของเขาจะไม่ต่างจากผู้นำคนก่อน กลุ่มอำมาตย์จะกำจัดนายอภิสิทธิ์อย่างไม่เป็นไปตามระบบเหมือนอย่างที่ทำกับผู้นำคนก่อนหน้าเขา ไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธียุบพรรค ยุบสภา ใช้บริการกลุ่มพันธมิตร ทำรัฐประหาร และการโยนนายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่งนั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดสำหรับกลุ่มอำมาตย์

ยิ่งประชาคมโลกรับรู้ถึงพฤติกรรมอันน่าตกใจของพรรคประชาธิปัตย์มากขึ้นเท่าไร พรรคประชาธิปัตย์ก็จะใช้ชาติ วัฒนธรรม และสถาบันมาเป็นข้ออ้าง ข้อกล่าวหาที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้โจมตีเรา เป้าหมายไม่ใช่เพื่อการปกป้องระบอบกษัตริย์ เพราะบทความหรือเอกสารของเราไม่มีข้อความที่วิจารณ์หรือทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เป้าหมายที่แท้จริงของพรรคเป็นไปเพื่อจะปิดปากประชาชนไม่ให้วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ด้วยความชอบธรรม

ในกรณีเรื่องการดำเนินนโยบายและการกระทำที่ผิดกฎหมายของพรรค ในอดีต ผู้คนมักจะกินยาอายุวัฒนะเพื่อความเป็นอมตะ แต่ปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์ใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแทนยาอายุวัฒนะ เพื่อหวังจะใช้เป็นเกราะป้องกันตนเองจากสิ่งต่างๆที่พรรคคิดว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอำนาจของตนเอง

ความรู้สึกที่ประชาชนไทยมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ การที่พรรคต้องการรักษาอำนาจตนเองในรัฐบาล โดยพยายามอ้างถึงการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการบิดเบือนทำให้ประชาชนเข้าใจผิดถึงความสัมพันธ์ที่ไม่มีมูล และยุทธศาสตร์ที่เลวร้ายนี้แสดงให้เห็นว่านายอภิสิทธิ์และพวกพ้องสามารถสละได้ทุกอย่างเพื่อที่จะรักษาอำนาจ การยอมสละความจริง ระบอบประชาธิปไตย และชีวิตของประชาชนกว่า 80คน เพื่อที่จะรักษาอำนาจของตนเอง เราคงจะอดสงสัยไม่ได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะทำอะไรต่อไป

ด้วยความนับถือ

นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

นายกฯย้ำพันธมิตรฯประสงค์ "ก่อปฏิวัติ" ลั่นรับผิดชอบหากแก้รธน.ไม่ผ่าน ไม่สอดไส้ "นิรโทษกรรม"

จาก posttoday.com


นายกฯย้ำพันธมิตรฯประสงค์"ก่อปฏิวัติ"ลั่นรับผิดชอบหากแก้รธน.ไม่ผ่าน ไม่สอดไส้ "นิรโทษกรรม"


"มาร์ค" ยันแก้ รธน. ไม่สอดไส้ "นิรโทษกรรม"


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 พ.ย. ว่า "มีคนกล่าวหาว่าผมไม่รักษาคำพูดตระบัดสัตย์ อะไรต่าง ๆ นานา ผมไม่รักษาคำพูดตระบัดสัตย์ อะไรต่าง ๆ นานา แต่ขอยืนยันว่าจนถึงวันนี้รัฐบาลก็มีแนวคิดเช่นเดียวกันว่าไม่ควรจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในลักษณะที่จะเป็นการนิรโทษกรรมโดยเด็ดขาด อันนี้จะได้ชัดเจนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในลักษณะที่จะสร้างปัญหาความขัดแย้ง โดยการมีการนิรโทษกรรมนั้น รัฐบาลยังยืนยันในจุดเดิมว่าไม่เห็นด้วย"

"มาร์ค"ชี้อยากได้"เขตใหญ่"แต่ต้องฟังกก.

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้สัมภาษณ์ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดชุมนุมใหญ่หน้ารัฐสภาและกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าทั้งสองกลุ่มคงไม่ต้องการเห็นความรุนแรง ซึ่งได้คุยกับพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. แล้วก็จะประสานกับแกนนำของทุกกลุ่มว่าจะให้ความร่วมมือในการใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญอย่างไร และหากให้ความร่วมมือกันคงไม่มีปัญหาอะไร

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญกลายเป็นเงื่อนไขของความแตกแยกจะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังหาข้อยุติ และการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ว่าจะจบในสามวัน เพราะมีกระบวนการของรัฐสภา หลังรับหลักการต้องไปพิจารณาในกรรมาธิการ จากนั้นเว้นระยะ 15 วัน แล้วกลับมาพิจารณาในวาระ 3 หากถึงจุดนั้นมันยังเป็นความขัดแย้งในขั้นตอนไหนเราสามารถพิจารณาตามความเหมาะสมได้

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องระบบเลือกตั้งก็มีการฟังเสียงประชาชนและศึกษากันมาหลายครั้ง และเป็นการศึกษาของคนที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียงและมีการรับฟังข้อท้วงติงปัญหาระบบเขตเล็กจึงได้มีการเสนอลดจำนวนส.ส.ลงและเพิ่มส.ส.สัดส่วน ดังนั้นมันมีการฟังความคิดเห็นกัน ส่วนตัวตนก็อยากได้เขตใหญ่ แต่ถ้าตนอยากได้อย่างนี้ คนอื่นอยากได้อย่างนั้นพอไปตั้งคณะกรรมการเพื่อหาข้อยุติมา ให้ฝ่ายวิชาการไปดูแล้วออกมาบอกว่าตนยังเห็นเหมือนเดิมถ้าอย่างนั้นต่อไปก็ไม่ต้องดำเนินการตั้งคณะกรรม การหรือให้ใครมาช่วยทำงาน

ลั่นแก้รธน.ไม่ได้ "รับผิดชอบ"

เมื่อถามว่า ทำไมไม่รอการทำประชามติให้เรียบร้อยก่อน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าเรื่องประชามติถ้าตนกลับไปถามใหม่ต้องไปนั่งตั้งต้นกันใหม่กับทุกพรรคการเมืองและวุฒิสภา คนก็จะต่อว่าเวลาตนไม่ทำก็มีเสียงต่อว่า เวลาทำก็มีเสียงต่อว่า ต้องตัดสินใจวันนี้ยืนยันว่าตนเดินอย่างนี้ถ้าสถานการณ์บ่งบอกว่าเดินอย่างนี้ไม่ถูกต้อง ผมก็ทบทวน"นายอภิสิทธิ์ กล่าว เมื่อถามว่า สถานการณ์ขนาดไหนถึงจะบอกได้ว่านี่คือการตัดสินใจไม่ถูกต้อง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่าไปตั้งประเด็นให้เกิดเป็นการท้าทายเป็นการยั่วยุ อะไรทั้งสิ้นเราเอาตามข้อเท็จจริงขณะนี้และเอาตามกฎหมาย

เมื่อถามว่า หากขัดแย้งบานปลายขึ้นมาจะรับผิดชอบอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ผมต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ต้องดูตามสถานการณ์ เพราะยังไม่ทราบเลยว่าการแก้ไขจะผ่านหรือไม่หรืออะไร เพราะผมมีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองมีความเรียบร้อย ถ้าทำไม่ได้ผมก็ต้องรับผิดชอบ"

อ้างแก้ รธน. ลดความขัดแย้ง

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีนี้ไม่ได้สร้างเงื่อนไขความขัดแย้งให้มากขึ้น แต่หากตนไม่ทำตามก็จะมีปัญหาตามมาเหมือนกัน เพราะบรรดาคณะกรรมการที่อยู่ในกรอบของความปรองสมานฉันท์ทั้งหมด จะตั้งคำถามว่าตกลงจะให้เขาทำงานหรือไม่เพราะทำงานแล้วมีความเห็นเสนอมาไม่ตรงกับความเห็นของตน สุดท้ายเอาความเห็นตนเป็นใหญ่แล้วเราจะเดินหน้ากระบวนการปรอง ดองสมานฉันท์อย่างไร คนเหล่านี้ทำงานไม่มีส่วนได้เสีย ช่วยลดปัญหาภาพรวมความขัดแย้งในสังคม ถ้าไม่ให้ความมั่นใจกับคนเหล่านี้ว่า สิ่งที่ทำจะนำไปสู่ผลการปฏิบัติอย่างแท้จริงคงไม่มีประโยชน์

"ความขัดแย้งในการต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญตลอดมา เรื่องหลักคือการจะไปนิรโทษกรรมหรือไปทำให้กระทบกระเทือนต่อกลไกเพิ่มอำนาจให้กับ ส.ส.หรือผู้บริหาร ซึ่งกติกาเป็นเรื่องที่สามารถกำหนดกันได้ และนี่เป็นเรื่องของกติกาของการเลือกตั้ง ฝ่ายที่เห็นด้วยก็มีเหตุผลบอกว่าควรปรับให้เป็นสากล เพื่อความเสมอภาค" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

เมื่อถามว่าหลังจากนี้หากฝ่ายการเมืองไม่พอใจรัฐธรรมนูญมาตราที่กระทบกับตัวเอง ก็สามารถแก้ไขได้เลยใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แต่ถ้าเป็นประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล เช่น เพิ่มอำนาจให้ตัวเอง ทำลายหลักนิติธรรมรัฐบาลก็ไม่เสนอ เพราะต้องแยกแยะในประเด็นที่เห็นว่าสามารถเดินหน้าได้กับประเด็นที่เห็นว่ายังละเอียดอ่อน แต่เราไปยึดอย่างเดียวว่าไม่แก้ไขเลยจะมีคนอีกกลุ่มในสังคมที่บอกว่าเขาไม่เอารัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะมาโดยการทำรัฐประหารก็เป็นจุดทำให้เกิดความขัดแย้งไม่จบไม่สิ้น

ย้ำพันธมิตรฯประสงค์ "ปฏิวัติ"

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี นายกรัฐมนตรีเคยบอกว่าในกลุ่มพันธมิตรฯ มีคนพยายามก่อการปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "เขาไม่ได้ก่อการ เขามีความประสงค์" เมื่อถามว่า เกรงว่าจะมีคนใช้เงื่อนไขการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเคลื่อนไหวให้เกิดการปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนต้องดูแล ซึ่งผู้ที่ดูแลฝ่ายความมั่นคง ก็กังวลในเรื่องการเคลื่อนไหวของมวลชนทั้งนั้น แต่เราพยายามที่จะให้กระบวนการทั้งหลายมันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนเห็นแตกต่างกันได้แต่อย่าใช้ความรุนแรง ถ้าเหตุการณ์ผ่านไปได้ด้วยดีก็จะช่วยให้สามารถยกเลิก พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้เร็วขึ้น

"ผมเรียนว่าผมไม่สร้างเงื่อนไขการปฏิวัติ ผมต้องการให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกับเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย พันธมิตรฯชุมนุมทุกครั้งผมก็บอกแล้วว่า มีสิทธิ์ที่จะชุมนุม แต่ขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เหมือนกับตอนที่ นปช.ชุมนุมผมก็ขอเหมือนกัน วันนี้สังคมไทยต้องก้าวพ้นตรงนี้ไปให้ได้ว่าบางเรื่องเราสามารถใช้กระบวนการรัฐสภาได้ บางเรื่องรัฐสภาต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจ บางเรื่องกลุ่มมวลชนเคลื่อนไหวได้ทุกเรื่องทุกคนต้องยับยั้งชั่งใจไม่ให้นำไปสู่เรื่องของใช้ความรุนแรง สังคมต้องเติบโตอย่างนี้ ไม่มีวันหรอกที่เราจะไปสู่จุดที่สังคมเห็นตรงกันในทุกประเด็น แต่ประเด็นไหนเห็นไม่ตรงกันเราต้องมีกระบวนการที่เหมือนกับมาตรฐานของประเทศประชาธิปไตยว่าเราหาข้อยุติได้" นายอภิสิทธิ์

ป้อง "เทพไท" ซัดถูกด่าก่อน "เนรคุณ"

เมื่อถามว่า พันธมิตรฯ อยากให้รัฐบาลฟังบ้างเพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ถ้าผมไม่ฟัง ผมก็เสนอ 5 ประเด็น และต้องทำอีกหลายอย่างแล้ว นี่ก็ฟังเชิญมาคุยกันทำความเข้าใจ มวลชน นปช. ก็อยากให้ผมฟัง ผมถึงตั้งคณะกรรมการมาพอตั้งกรรมการบอกอีกอย่างไม่ถูกใจผม หรือไม่ถูกใจอีกกลุ่มแล้วผมไม่ทำเลย นปช.ก็บอกไม่ฟังเขา เพราะฉะนั้นถึงบอกว่าคนจำนวนมากเห็นหลากหลายไม่มีวันเห็นตรงกันในหลายเรื่องเราต้องหาความพอดี และต้องเริ่มสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองว่าต่อไปนี้จะบริหารราชการกันอย่างไร ไม่เสนอประเด็นปัญหานำไปสู่การขัดหลักนิติธรรมนิติรัฐ และกระบวนการรัฐสภาต้องเดินได้"

เมื่อถามว่า จะเดินหน้าต่อใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ใช่ แต่การแสดงความเห็นคัดค้านในรัฐสภาทำได้หลายขั้นตอน เรื่องของฉบับที่จะมีปัญหาเรื่องนิรโทษกรรมยืนยันว่าไม่รับหลักการ ส่วนที่รัฐบาลเสนอแก้ 2 ประเด็นยังมองไม่เห็นว่ามีอะไรเสียหายต่อบ้านเมือง

ถามถึงกรณีที่นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใช้คำว่าเนรคุณกับกลุ่มพันธมิตรฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "เขาไม่ได้เป็นคนเริ่มพูด เพราะพันธมิตรฯเป็นคนกล่าวหาผม" เมื่อถามอีกว่า หวั่นใจหรือไม่ว่ารัฐบาลจะต้องล้มไปเพราะกลุ่มพันธมิตรฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ติดใจอะไรเพราะถือว่าถ้าสถานการณ์มันถึงจุดที่รัฐบาลต้องพ้นไปก็ต้องพ้น ขอให้เป็นไปตามประชาธิปไตยเท่านั้นเอง แต่ตนจะดูแลรัฐผิดชอบไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย

ปชป.หารือแก้รธน.ลงมติ 22พ.ย.ยันแก้2ประเด็น

เมื่อเวลา 10.30 น.ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ส.ส.สัดส่วนโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีรัฐสภาจะพิจารณาญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็นวันที่ 23-24 พฤศจิกายน พรรคจะมีมติถึงจุดยืนของพรรคอย่างเป็นเอกภาพในการประชุมพรรควันที่ 22 พฤศจิกายน โดยจะเปิดให้แสดงความเห็นอย่างกว้างขวางซึ่งนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคและนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคจะแสดงความคิดเห็นด้วย บนพื้นฐานการสนับสนุนรัฐบาลตามแนวทางปรองดอง

นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า ส่วนที่หลายฝ่ายระบุว่า หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของครม.ไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา แล้วรัฐบาลต้องรับผิดชอบเพราะคุมเสียงข้างมากนั้น ผู้พูดคงเข้าใจผิด เพราะตามธรรมเนียมระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงข้างมากของรัฐสภาที่มีส.ว.ด้วย ลำพังเสียงส.ส.ฝ่ายรัฐบาลไม่พอ และส.ว.ก็มีเอกสิทธิ์ในการโหวต นอกจากนี้ การแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 190 และมาตราที่ว่าด้วยระบบเลือกตั้งส.ส. มาจากข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ตั้งโดยประธานรัฐสภา มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธาน ต่อมามีเหตุการณ์เมษยน-พฤษภาคม 53 นายกฯก็นำปัญหาเข้าปรึกษารัฐสภา ต่อมาจึงตั้งกรรมการอิสระศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑืตพัฒนาบริหารศาสตร์(นิด้า)เป็นประธาน ตอนนี้ที่นำเรื่องเข้ารัฐสภาอีกครั้ง วิปรัฐบาล ก็ดำเนินการตามฝ่ายบริหารให้งานของกรรมการทั้งสองชุดสมบูรณ์ ฉะนั้นร่างของรัฐบาลจะผ่านหรือไม่ เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของรัฐสภา

"รัฐบาลมองการแก้รัฐธรรมนูญต้องตอบโจทย์การแก้ไขความขัดแย้งได้ ซึ่งมาตรา 190 และเขตเลือกตั้ง ไม่สร้างความขัดแย้ง กรรมการชุดนายสมบัติ ไปสอบถามความเห็น ประชาชนก็เห็นด้วย นอกจากนี้ ยังไม่ได้แก้เรื่องยุบพรรค หรือเพิ่มอำนาจส.ส.ที่เป็นประเด็นขัดแย้ง ซึ่งนายสมบัติ ก็บอกว่า ค่อยแก้ประเด็นอื่นเพิ่มเติมในสภาชุดหน้าหรือสมัยหน้าก็ได้ อย่างไรก็ดี พรรคยืนยันสนับสนุนแนวทางปรองดอง 5 ข้อของรัฐบาล ในการนำพาประเทศไปข้างหน้า และอยากให้สังคมสบายใจ เพราะการแก้รัฐธรรมนูญไม่มีเรื่องนิรโทษกรรม หรือแก้บทบัญญัติที่เพิ่มอำนาจให้นักการเมือง" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว

นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า ส่วนที่บางฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นแผนยุบสภานั้น ขอยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวไม่จริง และตอนนี้เงื่อนไขการยุบสภาเช่น ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและพรรคร่วมฯหรือกับฝ่ายนิติบัญญัติไม่มี และเรื่องดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศ

นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า สำหรับพรรคเพื่อไทยที่สนัยสนุนร่างคปพร. พรรคไม่เห็นด้วย เพราะเหมือนสมัยพรรคพลังประชาชนที่เสนอแก้ไข ซึ่งมีเจตนายกเลิกรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อปลดคดีการเมืองและคดีของพ.ตงท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ให้หลุดพ้น การแก้กฎหมายสูงสุดหวังผลให้เกิดกับเฉพาะบุคคล จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ส่วนที่มีบางฝ่ายทวงเรื่องการทำประชามติ นั้น เรื่องนี้เป็นข้อเสนอหลังจากที่กรรมการสมานฉันท์ฯ เสนอผลการศึกษา แต่คราวนั้นพรรคเพื่อไทยถอนตัว ทำให้การประชามติตอบโจทย์ความขัดแย้งไม่ได้จึงต้องตั้งกรรมการชุดนายสมบัติ ขึ้นมาอีกรอบ

-------------------------------------


“จตุพร” สั่ง “เสื้อแดง” ห้ามป้วนเปี้ยนหน้าสภาฯ ให้อยู่บนภูดู พธม.ฟัด ปชป. เชื่อปฏิวัติมีมูล


เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง แถลงที่พรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรี ถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดชุมนุมใหญ่ที่หน้าอาคารรัฐสภาในวันที่ 23 พ.ย.เพื่อคัดค้านการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่นำเสนอโดยรัฐบาลคนภายนอกไม่รู้ว่ารัฐบาลกับพันธมิตรฯนั้นจะมีการคัดค้านกันจริงแค่ไหนและอย่างไร

แต่สำหรับคนเสื้อแดงนั้นตนขอบอกเอาไว้เลยว่าห้ามเดินทางมายังหน้าอาคารรัฐสภาอย่างเด็ดขาด เพราะคนเสื้อแดงไม่จำเป็นจะต้องมามีส่วนในปัญหาของพวกที่เคยร่วมกันปล้นประชาธิปไตย และขอให้อยู่บนภูเพื่อดูว่าสถานการณ์หลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปเท่านั้น รวมทั้งต้องขอร้องให้คนในซีกรัฐบาลที่คิดจะเอาคนมาใส่เสื้อแดงแล้วไปแถวๆ หน้าอาคารรัฐสภาในวันที่ 23 พ.ย. หากเลิกคิดเพราะหากมีการจับตัวได้จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด

นายจตุพร กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เสนอโดยคณะกรรมการประชาชนเพี่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) นำโดย น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำคนเสื้อแดงนั้นแม้จะถูกบรรจุในวาระเร่งด่วนของรัฐสภามานาน แต่เราก็เชื่อว่ารัฐสภาชุดนี้จะไม่พิจารณาร่าง คปพร.อยู่แล้ว ดังนั้นพรรคเพื่อไทย จึงคิดว่าแม้ครั้งนี้รัฐบาลจะไม่เหลียวแลร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของประชาชน

แต่หากมีการยุบสภาพรรคเพื่อไทยจะหาเสียงโดยการให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ทั้งฉบับ ซึ่งเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งก็จะดำเนินการทันที หากถึงวันนั้นถ้าพันธมิตรฯ มาคัดค้านอีกก็จะมาว่ากันอีกครั้งหนึ่ง จึงขอให้คนเสื้อแดงอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เรายืนยันว่าจะเข้าไปทำหน้าที่ และจะไม่เป็นอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล

นายจตุพร กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุว่าบางคนในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพยายามที่จะเคลื่อนไหนเพื่อให้เกิดการปฏิวัตินั้นพวกตนไม่ได้มีความคิดเห็นอะไร แต่รู้ว่าเป็นกฎแห่งกรรม เพราะการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ลงทุนลงมาจัดการกับรองเท้าแตะด้วยตัวเองแล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้ การจับมือกันของกลุ่มพันธมิตรฯกับทหารบางกลุ่มนั้นมีมูลแน่นอน แต่ตนขอไม่เป็นฝ่ายบอกว่าอะไร อย่างไร เพราะเป็นคนนอกและอยากปล่อยให้เป็นการดำเนินการของพวกที่เคยร่วมมือกันปล้นประชาธิปไตยไปจัดการกันเอง


ที่มา: matichon.co.th/news
วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 17:30:05 น.
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 14:37:04 น.

-------------------------------------------------


ระเบิดเวลาทำงาน ม็อบเหลืองล้อมสภาพาประเทศเสี่ยง

ที่มา: posstoday.com โดย...ทีมข่าวการเมือง
(update: 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09:06 น.)


ถนนการเมืองทุกสายจะพุ่งตรงไปที่รัฐสภาอีกครั้งระหว่างวันที่ 23-25 พ.ย. หลังจากมีการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ร่างด้วยกัน ท่ามกลางการจับตามองของสังคมว่าถึงที่สุดแล้วเสียงของรัฐสภาจะพอผ่านในวาระที่ 1 หรือไม่ เข้าสู่กระบวนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป

ถนนการเมืองทุกสายจะพุ่งตรงไปที่รัฐสภาอีกครั้งระหว่างวันที่ 23-25 พ.ย. หลังจากมีการประชุมร่วมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ร่างด้วยกัน ท่ามกลางการจับตามองของสังคมว่าถึงที่สุดแล้วเสียงของรัฐสภาจะพอผ่านในวาระที่ 1 หรือไม่ เข้าสู่กระบวนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป

เมื่อดูเสียงในสภาของรัฐบาลมีถึง 270 เสียง โดยต้องการเพียงอีกประมาณ 40-50 เสียงโดยประมาณ เพื่อรวมให้ได้ 310 เสียง เพื่อให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระแรกไปได้ ซึ่งจะดูว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะในวุฒิสภาเองมีเสียงทั้งส่วนที่สนับสนุนและไม่สนับสนุน

ก่อนที่จะไปลุ้นว่าผ่านหรือไม่ ต้องระทึกใจกันก่อนกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ว่าจะมีผลต่อการเร่งอุณหภูมิการเมืองให้พุ่งสูงขึ้นแค่ไหน และจะเป็นปัจจัยให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญแท้งก่อนหรือไม่

การชุมนุมของ พธม. ช่วง 3 วันนี้ จะสร้างความยุ่งยากให้กับรัฐบาลแน่ ทั้งประเด็นการชุมนุมที่อยู่ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่ารัฐบาลจะบังคับใช้กฎหมายเข้มข้นขนาดไหน หรือจะสองมาตรฐาน เมื่อเทียบกับการชุมนุมของม็อบเสื้อแดงที่ ศอฉ.ค่อนข้างเข้มงวดเป็นพิเศษ

ระเด็นสำคัญที่จะเกิดในการชุมนุม 3 วันนี้ ไม่ได้อยู่ที่การควบคุมการชุมนุมของรัฐบาล แต่จะอยู่ตรงที่จังหวะการออกมาเคลื่อนไหวของพลพรรคเสื้อเหลือง ซึ่งนี่ถือเป็นยกสำคัญ และอีกครั้งคือวันที่ 11 ธ.ค. ที่จะมาชุมนุมอีกครั้งเพื่อกดดันให้รัฐบาลล้มเลิกบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) และกระบวนการของคณะกรรมาธิการเขตแดนไทยกัมพูชา (เจบีซี)

ปัญหามีอยู่ว่า พลังของ พธม.เพียงพอสำหรับการล้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

ที่น่าสนใจอยู่ตรงที่กระบวนการจัดรูปแบบการชุมนุมของ พธม. เนื่องจากเป็นลักษณะของการมาเช้าเย็นกลับ ไม่ใช่แบบปักหลักไม่ชนะไม่เลิกเหมือนช่วงที่เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลนอมินีทักษิณ ทำให้พลังในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญดูอ่อนลง ซึ่งปัจจัยหนึ่งเป็นเพราะ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ประกาศใช้อยู่ ทำให้ไม่สามารถชุมนุมยืดเยื้อได้ถนัด

แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวของ พธม.นั้น ก็เพื่อต้องการแสดงจุดยืนเดิมของตัวเองในการต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นจุดยืนที่คนเสื้อเหลืองมีมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ห้ามใครแตะ แต่ครั้งนี้ดูเหมือนว่าการเอาจริงเอาจังของม็อบเหลืองแผ่วเบาลงไปพอควร โดยเฉพาะจำนวนมวลชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมามีน้อยลง

เป็นเพราะท่าทีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ยืนยันมาตลอดว่าจะไม่มีการผลักดันการนิรโทษกรรมทางการเมืองผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผิดกับจุดยืนของรัฐบาลพรรคพลังประชาชนที่เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญพ่วงเรื่องการนิรโทษกรรม จึงเป็นผลให้กลุ่มคนเสื้อเหลืองนำมาแปรเป็นพลังล้มรัฐบาลพลังประชาชนได้

แม้ว่าการพิจารณาร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีถึง 4 ฉบับ แต่มีเพียงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยคณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) ของคนเสื้อแดง เท่านั้นที่เป็นปัญหามากที่สุด เพราะมีเนื้อหาให้นำเอารัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ทั้งหมด

เมื่อมาดูร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 2 ประเด็นที่เสนอโดยรัฐบาล ไม่ได้ปรากฏเงื่อนไขเหมือนกับของ คปพร. เพียงแต่แก้เรื่องหนังสือสัญญาประเภทใดที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งจากเขตใหญ่เป็นเขตเล็ก ซึ่งก็ช่วยลดแรงเสียดทานในการต่อต้านลงได้บ้าง

“คิดว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรไม่น่าจะมีผลอะไรมากนัก ในวาระที่ 1 น่าจะผ่านไปได้ แต่คงจะมีบางร่างที่ต้องตกไป ส่วนวาระที่ 2 และ 3 จะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่การประสานงานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ต้องดูว่าการชุมนุมจะมีผลต่อการเข้าออกสภาของสมาชิกรัฐสภาหรือไม่ และถ้ามีผลถึงลงมติโหวตไม่ได้ จะมีการดำเนินการแก้ไขอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นปัญหาที่สำคัญมากกว่า” พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สว.สรรหา แสดงทัศนะ

การเคลื่อนไหวของ พธม.ในครั้งนี้ ไม่น่าต่างอะไรกับการแสดงจุดยืนปกติ เพราะตัวแกนนำ พธม. คงตอบมวลชนลำบากเหมือนกันหากให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญดำเนินไป โดยที่ไม่ได้แสดงท่าทีอะไรออกมาเลย ทั้งๆ ที่เป็นวาระที่ พธม.แสดงความคัดค้านมาตลอด

นี่อาจมองได้ว่า พธม.เองก็ไม่ได้หวังถึงขั้นล้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่การเคลื่อนไหวครั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีอะไรติดไม้ติดมือเลยเสียทีเดียว

เพราะอย่างน้อยที่สุดเป็นการปลุกกระแสสร้างชื่อ พรรคการเมืองใหม่ ให้เริ่มติดหูคนในสังคมมากขึ้น หลังจากมีกลิ่น “ยุบสภา” ออกมาเป็นระยะๆ จากนายกฯ อภิสิทธิ์ ดังนั้นพรรคการเมืองใหม่จึงต้องใช้ พธม.เป็นกลไกคู่ขนานในการสร้างพลังให้กับพรรคตัวเอง

อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถดูแคลนพลังของ พธม.ได้ทั้งหมด เพราะหากมีการปลุกเร้าและสร้างพลังกระเพื่อมไปยังสังคมให้เห็นคล้อยเพื่อกดดันรัฐบาล โดยชี้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์ของนักการเมืองล้วนๆ และไม่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองแม้แต่น้อย ก็อาจทำให้รัฐบาลไม่สามารถผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านรัฐสภาในวาระที่ 1 ได้เหมือนกัน เนื่องจากตัวแปร คือ เสียงของ สว.ที่รัฐบาลต้องหวังพึ่งอยู่ 4050 เสียง ยังเป็นห่วงสถานการณ์วันข้างหน้าที่เกรงว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจเกิดวิกฤตประเทศระลอกใหม่ เพราะบรรยากาศขณะนี้ยังเปราะบางและมีความเสี่ยงสูง ทั้งกลุ่มสร้างสถานการณ์ มือที่สามที่จ้องป่วนให้เกิดการล้มกระดานทางลัด

การเมืองไทยในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน พ.ย. จึงต้องจับตามองแบบห้ามกะพริบตา ทั้งแรงกดดันในสภาและนอกสภา

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 21, 2553

คำแปลจดหมาย 4 หน้ากระดาษ เขียนด้วยลายมือของ “วิคเตอร์ บูท” - 9 กันยายน 2553

จาก uddthailand


@...คนฉลาดต้องรู้ว่าตนเองโง่...ภูผาหิน เข้าประจำการรายงานข่าวสังคม Bangkok Gossip ในหนังสือพิมพ์ บางกอก ทูเดย์ ฉบับออนไลน์ประจำวันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2553...วันที่ต้องตั้งคำถามกับผู้มีอำนาจในประเทศ...การส่งตัว “วิคเตอร์ บูท” ให้ทางการสหรัฐฯ...พวกท่าน “ฉลาด” หรือ “โง่” กันแน่?...@

@...วันนี้ “ภูผาหิน” ขอร่ายมหากาพย์เรื่องยาวเกี่ยวกับ “พ่อค้าความตาย” ที่กลายเป็นเชื้อไฟนำพาประเทศเข้าสู่ภาวะ “ศึกสงคราม”ซึ่งสหายใจดีได้ทำการ “แปลจดหมาย” ฉบับหนึ่งความยาว 4 หน้ากระดาษ เขียนด้วยลายมือของ “วิคเตอร์ บูท” ก่อนที่เขาจะถูกดำเนินคดี เหมือนเรื่องนี้มีเป้าหมายและ “เงื่อนงำ” อะไรบางอย่าง...ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็รู้...รัฐบาลสหรัฐก็รู้...แต่ไม่มีใครกล้าพูดความจริง!...@

@...การแปลเรื่องนี้ ดิฉัน “ดวงจำปา” ได้แปลจากการอ่านลายมือที่เขียนไว้ในรูปภาพที่โพสต์ประกอบไว้ ซึ่งดิฉันไม่ได้มีส่วนร่วม...ไม่ได้รู้เห็น...หรือไม่ได้แสดงความคิดเห็นว่า มีความเห็นพ้องต้องกันหรือไม่ กับเนื้อความจากจดหมายและรูปภาพที่โพสต์ประกอบไว้ในเรื่องนี้...ถ้าท่านนำเอาข้อความที่แปลนี้ไปถ่ายทอดหรือสื่อสาร หรือเผยแพร่ กรุณาช่วยลงหลักการอ้างอิงของดิฉันไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยในทางการบังคับใช้กฎหมายที่ใช้ควบคุมอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ ในประเทศสหรัฐอเมริกา...@

@...(หน้า 1) เรียนท่านที่เคารพ...ทนายความของผมที่นี่ (ประไทศไทย) และที่กรุงมอสโคว์ได้ตรวจสอบผลการตัดสินของศาลอาญา และการตัดสินของศาลอุทธรณ์แล้ว ปรากฎว่าในทางกลับกันจากความหมายและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทย...ไม่มีศาลที่สามารถพิจารณากรณีของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้...แต่ถ้ามีศาลที่เกี่ยวกับเรื่องนี้จริง ผมคงเสนอให้ทราบหลายหัวข้อ ในเรื่องการสู้ความของผม “ผมไม่ใช่นักกฎหมาย” แต่ผมจะพยายามอธิบายหัวข้อและข้อเท็จจริงเหล่านี้ในกรณีของผมอย่างดีที่สุดเท่าที่ผมจะสามารถกระทำได้...ซึ่งมีดังต่อไปนี้คือ...@

@...1. การจับกุมตัวผมในวันที่ 6 มีนาคม 2551 นั้น...เป็นการยุแหย่โดยสายสืบของฝ่ายอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ไม่เคารพต่อกฎหมายไทยหรือกฎหมายสากล และเขาก็ไม่มีหลักฐานอะไรที่จะผูกมัดตัวผมได้...ฝ่ายอเมริกันนั้นได้ปฎิบัติการโดยการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ด้วยการให้ผมเซ็นชื่อในเอกสารการจับกุมตัวผม ในข้อหาเรื่องการ “ก่อการร้าย” ตามที่กล่าวอยู่ในกฎหมายไทย...@

@...พวกเขาทำได้โดยการบอกกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยว่า...ผมเป็นอาชญากรและทางฝ่ายอเมริกันนั้น มีหลักฐานที่จะมัดตัวผมไว้แล้ว...มันได้เกิดขึ้น 5 วัน ก่อนที่ผมจะเดินทางเข้าไปในประเทศไทยโดยตรงจากกรุงมอสโคว์....ระหว่างการจับกุมผมนั้น เจ้าหน้าที่สายสืบฝ่ายอเมริกันได้ทำการค้นห้องพักในโรงแรมของผม โดยปราศจากหมายค้น...ที่ตามปรกติแล้วจะต้องออกโดยศาลยุติธรรมของประเทศไทย...@

@...พวกเขายอมรับเรื่องนี้ จากคำให้การในวันที่ 22 กันยายน 2551 ในการพิจารณาความเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ศาลอาญาในระหว่างการตรวจค้น...เจ้าหน้าที่สายสืบชาวอเมริกันก็ไม่ได้พบอะไร...ในห้องของผมก็ไม่ได้มีอาวุธ...ไม่มีภาพเขียนใดๆ เกี่ยวกับอาวุธ...ไม่มีเงินสด...ไม่มีกระบวนการหรือวิธีการที่ถูกระเบียบเหมาะสมในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในเคสของผมเกิดขึ้นมาก่อนวันที่ 9 เมษายน 2551...ทางฝ่ายผู้ฟ้อง (อัยการ – ผู้แปล) ได้ตัดสินใจไม่ส่งฟ้องตามข้อกล่าวหาที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา...0

0... (หน้า 2) เป็นระยะเวลาทั้งหมดหนึ่งเดือนที่ผมได้อยู่ภายใต้การสอบสวน ด้วยข้อหาของการ สนับสนุนการ “ก่อการร้าย” ภายใต้กฎหมายอาญาของเมืองไทย...ในวันที่ 9 เมษายน อัยการของไทยได้ยกคำฟ้องเรื่อง ผู้ต้องหา โดยเหตุผลและหลักฐานของการกล่าวหาในศาล...ผมก็ “โล่งอก” ไปประมาณ 1 นาที และหลังจากนั้นในทันทีผมได้ถูก “จับกุมโดยชั่วคราว” โดยรอฟังผลในเรื่องของการส่งผู้ก่อการร้ายข้ามแดน...0

0...ในการฟังความนั้นศาลไทยได้ขอหลักฐานเพียงนิดหน่อยจากฝ่ายอเมริกัน ถึงเรื่องการกระทำผิดของผม แต่ทางประเทศสหรัฐอเมริกาก็ไม่เคยส่งหลักฐานเหล่านี้ไปให้ พวกเขาได้อ้างว่า...ตัวหลักฐานเหล่านี้เป็น “ความลับสุดยอด” และ “ได้ถูกเก็บไว้ในสถานที่ความมั่นคงในประเทศสหรัฐอเมริกา” ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงหลักฐานที่เสนอส่งขึ้นมาว่า เพียงพอสำหรับการส่งผู้ก่อการร้ายข้ามแดนได้...@

@...อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้ส่งมานั้น มีเพียงแค่คำร้องอย่างเป็นทางการในการขอเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามพรมแดน และ เอกสารการจากการให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรของสายสืบ ที่ทำงานอยู่ในหน่วยปราบปรามยาเสพติด (DEA = Drug Enforcement Agency) ซึ่งพวกนี้ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการจับกุมตัวผมเลย....ทางฝ่ายสหรัฐอเมริกายืนกรานในฝั่งไทยว่า ไม่ต้องการที่จะต้องส่งหลักฐานใดๆ ตามข้อกล่าวหาทางอาชญากรรมให้กับผู้พิพากษา....ศาลอุทธรณ์ก็ได้ใช้หลักการนี้ในการพิจารณาความ...@

@...อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาได้ระบุว่า การขาดหลักฐานในกรณีนี้ เป็นเหตุผลที่สำคัญต่อการปฎิเสธคำร้องทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของผม...หลักฐาน “เพิ่มเติม” ที่ทางฝ่ายสหรัฐฯ ได้ส่งมานั้น มันเกิดขึ้นหลังจากการจับกุมผมไว้มาหนึ่งปี ซึ่งประกอบไปด้วย สำเนาคู่มือเก่าๆ ภาษารัสเซีย ของเครื่องบินบรรทุกสินค้า และกระดาษที่พิมพ์ออกมาอีกหลายๆ แผ่น ซึ่งพิมพ์มาจากเวปไซต์ทางอินเตอร์เน็ทที่ใครๆ ก็เข้าไปค้นกันได้...@

@...ไม่มีสิ่งใดเลยในหลักฐานเหล่านี้ที่อยู่ในบัญชีรายการซึ่งได้ถูกรวบรวมไว้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยในวันที่ผมถูกจับ...เมื่อทางฝ่ายรัฐบาลของรัสเซียได้เรียกร้องสำเนาของการฟ้องร้องและหลักฐานเพิ่มเติม ทางฝ่ายสหรัฐฯ ได้ส่งปึกเอกสารเดิมที่ประกอบไปด้วยคู่มือเก่าๆ และ เรื่องที่พิมพ์ออกมาทางอินเตอร์เน็ท...ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเลยสักนิดเดียว...@

@...(หน้าที่ 3) หลักฐานเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับตัวผมเลยแม้แต่น้อย...2. ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับศาลอาญาในเรื่องสถานะทางการเมืองในกรณีของผม...ผมไม่เคยขายอาวุธให้กับใคร...ธุรกิจของผมก็คือ การขนส่งสินค้าหลากหลายชนิดทางอากาศ โดยทำสัญญาว่าจ้างกับรัฐบาลต่างๆ…ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากประเทศในทวีปแอฟริกา...@

@..ในการล่อลวงผมในกรุงเทพฯ นั้น..สายสืบของฝ่ายอเมริกันได้ปลอมตัวเข้ามาในฐานะของสมาชิกกลุ่ม FARC (กลุ่มปฎิวิติด้วยการใช้อาวุธจากประเทศโคลอมเบีย) โดยการขอร้องให้ผมขายอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากให้กับฝ่ายเขา...จากนั้นเขาก็จับกุมตัวผม ผมไม่เคยมีความตั้งใจที่จะขายอะไรเลย...นอกจากเครื่องบินขนส่งสินค้าที่เหลืออยู่ลำหนึ่ง...ซึ่งผมพยายามอย่างยิ่งที่จะขายมันทิ้งเป็นเวลาหลายเดือนมาแล้ว...0
0..ทนายความของผมได้ใช้วิธีการที่จะพิสูจน์ว่า...กรณีของผมนั้นเป็นกรณี “การเมือง” โดยใช้เหตุผลที่ว่า...กฎหมายทางไทยและทางสากลนั้น ซึ่งต่างกับของสหรัฐอเมริกาได้มีความเห็นว่า...กลุ่มของ FARC นั้นเป็นกลุ่มทางการเมือง...ไม่ใช่กลุ่มอาชญากรหรือองค์กรทางการก่อการร้าย...ศาลอาญาได้มีความเห็นพ้องกับการสู้คดีของฝ่ายผมและคำขอร้องจากฝ่ายสหรัฐในการส่งตัวผมไปในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนนั้นก็ได้ถูกปฎิเสธกลับไป...@

@...แต่ทางศาลอุทธรณ์นั้นกลับได้ละเลยและไม่สนใจต่อตรรกะในผลของการตัดสินครั้งแรก...ศาลได้กล่าวว่า เมื่อตัวผมไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่ม FARC ดังนั้น ในแง่มุมของทางการเมือง ก็ไม่สามารถมีผลบังคับใช้ในกรณีผมได้ แต่ตัวผมเชื่อว่า มันต้องมีผลบังคับใช้ได้ เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่สามารถถูกส่งตัวไปในฐานะของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน...@

@...3. ศาลอุทธรณ์ได้ลงความเห็นว่า ข้อหาของฝ่ายอเมริกันนั้นเห็นพ้องและลงรอยกันกับ มาตรา 135 ของประมวลกฎหมายอาญาของไทย (ในเรื่องของการก่อการร้าย) ซึ่งกลับกันกับตอนที่ศาลอาญาลงความเห็นว่า “มันไม่พ้องกัน” การตัดสินของศาลอุทธรณ์นั้น ได้แก้ไขข้อกล่าวหาข้อที่ 4 ของผม (ในเรื่องของการสนับสนุนทางอาวุธกับองค์กรผู้ก่อการร้าย)...@

@...แต่ในประเทศไทยนั้น FARC ไม่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นองค์กรของการก่อการร้าย...นอกเหนือไปจากนั้น ข้อกล่าวหาเหล่านี้ ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย มาตรา 135 ได้ถูกยกข้อกล่าวหาไปจากผม ในกรณีของหลักฐานที่มีอยู่...@

@...(หน้าที่ 4)ตัวผมได้ถูกตัดสินให้พ้นผิดไปในเรื่องนี้แล้ว และตามกฎหมายนั้นไม่สามารถที่จะถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนได้...ทั้งนี้รวมไปถึงข้อกล่าวหา 3 ข้อแรกด้วยที่ไม่เห็นพ้องกับมาตรา 135 ของประมวลอาญากฎหมายไทย...สรุปได้แล้วก็คือ ตัวผมนั้นไม่สามารถถูกส่งตัวออกไปในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนได้...@

@...4. ศาลอาญาได้กล่าวว่า...มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างบทลงโทษในอาชญากรรมที่กล่าวไว้ ซึ่งเหมือนกับว่า เป็นเรื่องของการกระทำผิดโดยบุคคลต่างชาติ ที่เกิดขึ้นบนผืนดินต่างชาติและคู่กรณีก็เป็นคนต่างชาติอีกด้วย....แต่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินว่า ข้อกล่าวหาเหล่านี้ได้เห็นพ้องกันกับ มาตรา 135...@

@...ตามด้วยการพบกับ “นายศิริโชค โสภา” ที่เรือนจำพิเศษ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2553 เพื่อเป็นการบอกนัยๆ ว่า...อาวุธต่างๆ ที่ถูกยึดได้ในกรุงเทพฯ จากประเทศเกาหลีเหนือ ในเดือนธันวาคม 2552และการปฎิเสธต่อการร่วมมือในการจับกุมอดีตผู้นำ “ทักษิณ ชิณวัตร” นั้น...ก็หมายถึงว่า คำตัดสินนี้ ได้เป็นที่สิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้ว...@

@...ดังนั้น ผมจึงขอร้องท่านให้นำเอาคดีของผมนี้ ออกไปจากปัญหาการเมืองภายในประเทศเสีย... ผมขอร้องให้ท่านได้ช่วยแต่งตั้งผู้ที่สามารถสืบสวนดดีของผมได้ เพื่อแสงสว่างแห่งความยุติธรรมด้วยหลักการที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ จิตวิญญาณ และทางนิติธรรมในทางกฎหมายไทย...ซึ่งคดีของผมนั้น ได้ถูกละเมิดสิทธิอยู่...@

ด้วยความเคารพและขอบคุณ
(ลายมือชื่อ) วิกเตอร์ บูท - 9 กันยายน 2553


ที่มา: โดย uddthailand (update ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2010 เวลา 13:34 น.)
Ref : http://www.bangkok-today.com/node/7868

--------------------------------------------------

จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online

ปฎิบัติการ "คน 4 คน" กับภารกิจหนึ่งเดียว เปิดโปง "วิคเตอร์ บูท" !

บทความโดย ปิยมิตร ปัญญา piyamitara@gmail.com
ที่มา: มติชนออนไลน์ (update: วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 18:12:54 น.)

วิคเตอร์ อนาโตลเยวิช บูท เป็นคนชาญฉลาด มีไหวพริบปฏิภาณมาตั้งแต่วัยเด็ก ในบรรดาลูกๆ 2 คน วิคเตอร์ ฉลาดกว่า และทะเยอทะยานกว่า เซอร์เก บูท ผู้พี่ นั่นทำให้ วิคเตอร์ วัย 43 ปี คือแกนหลักของธุรกิจที่ทั้งคู่ร่วมกันดำเนินการร่วมกับ ริชาร์ด ชิชาคลี พลเรือนอเมริกันเชื้อสายซีเรีย

ความฉลาดเฉลียวและมีไหวพริบของ วิคเตอร์ คือปัจจัยสำคัญที่ไม่เพียงทำให้เขาสามารถสร้างรายได้หลายร้อยหรืออาจจะเป็นหลายพันล้านดอลลาร์ จากการขนส่งอาวุธให้กับทุกฝ่ายในระหว่างความขัดแย้ง โดยที่ยังสามารถอำพรางตัวเองได้ดีพอที่จะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจให้ขนส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับเหยื่อของสงครามและการกดขี่ที่เขาคือผู้ทำให้ "เกิดขึ้นและเป็นไปได้" ในภาคพื้นแอฟริกา โดยหน่วยงานบรรเทาทุกข์ของสหประชาชาติ

แม้จะฉลาดเพียงใด มีไหวพริบแค่ไหน ดูเหมือนวิบากกรรมที่ วิคเตอร์ บูท ทำไว้จะไล่ล่าตัวเขาจนทันในที่สุด ภาพของชายวัย 43 ปี ถูกตีตรวน สวมเสื้อเกราะ ถูกหน่วยคอมมานโดคุมตัวขึ้นเครื่องบินเช่าเหมาลำพิเศษ คือภาพสุดท้ายที่สะท้อนความเป็นจริงของกฎแห่งกรรม

อย่างน้อยที่สุด วิคเตอร์ บูท ก็ถูกนำตัวขึ้นพิจารณา ไต่สวนข้อเท็จจริงแห่งพฤติกรรมแห่งตนแล้วในวันนี้

วันเวลาของ วิคเตอร์ อาจจะยังคงความรุ่งโรจน์ เขาอาจจะยังใช้ชีวิตอย่างสบายๆ ทำธุรกิจทั้งหลายได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหอบหิ้วทั้งพี่ เพื่อน และภรรยามาปักหลักในมอสโก ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนอย่างเปิดเผยได้อีกต่อไปเหมือนอย่างที่เป็นอยู่

ชื่อ วิคเตอร์ บูท อาจจะยังคงสะอาดเอี่ยม ไม่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าอาวุธและก่อการร้ายหลายคนในซีกโลกตะวันตกเชื่อว่า เขาคือผู้รับผิดชอบต่อการแพร่หลายของความพรั่นพรึง ต้องรับผิดชอบกับความตายของผู้คนเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนที่คนอย่าง โอซามา บิน ลาเดน ต้องรับผิดชอบเสียอีก

และชื่อ วิคเตอร์ บูท คงไม่จำหลักอยู่อย่างมั่นคงเป็นอันดับ 2 ในรายชื่อ "ผู้ที่ถูกต้องการตัวมากที่สุด" รองจาก บิน ลาเดน ที่ถูกแจกจ่ายกันเป็นการภายในในหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐอเมริกา

ถ้าหากโลกนี้มีคนน้อยไปสัก 4-5 คน คนไม่กี่คนที่ชื่อ ดักลาส ฟาราห์, สตีเฟน บราวน์, ดิค ดรอลันส์, โยฮัน พีลแมน และ ลี โวลอสกี้

น่าสนใจที่คนเหล่านี้ไม่เคยรู้จักกัน ไม่เคยพบปะพูดคุยกันมาก่อน ไม่เคยหารือซึ่งกันและกันว่าด้วยเรื่องราวของ วิคเตอร์ ต่างฝ่ายต่างอยู่กันคนละที่ทาง คนละประเทศ


จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online
ดักลาส ฟาราห์

สิ่งร่วมเพียงประการเดียวที่คนทั้งหมดมี ก็คือ ความมุ่งมั่นที่จะเปิดโปง "วิคเตอร์ บูท"

วิคเตอร์ บูท น้อยครั้งที่จะตัดสินใจผิดพลาดในเรื่องหนึ่งเรื่องใด นับตั้งแต่เริ่มต้นกว้านซื้อเครื่องบินเก่าๆ การเริ่มคบหาเป็น "เพื่อนตาย" กับ ริชาร์ด ชิชาคลี การย้ายบริษัทพร้อมกับดึง เซอร์เก ผู้พี่ และ อัลลา ภริยา ไปปักหลักอยู่ที่ ซาร์จาห์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่ง "เอาหูไปนา เอาตาไปไร่" ได้มากกว่าที่ไหนๆ

เขาไม่เคยผิดพลาดแม้กระทั่งการคัดสรร "เส้นทางบิน" ในการลำเลียง "สรรพสิ่ง" ตามออเดอร์

แต่ครั้งหนึ่งเขาพลาดเมื่ออนุญาตให้ ดิค ดรอลันส์ ผู้สื่อข่าวชาวเบลเยียมร่วมเดินทางไปกับเที่ยวบินเพื่อทำ "ธุรกิจ" สำคัญกับ ฌ็อง-ปิแอร์ เบมบ้า ผู้นำกบฏเลื่องชื่อแห่งคองโก ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นรองประธานาธิบดี

การเดินทางหนนั้นไม่มีอะไรติดอยู่ในความทรงจำของ ดรอลันส์ มากมายนัก เว้นเสียแต่ว่า เขาได้เห็น "ตัวตนที่แท้จริง" ของ วิคเตอร์ บูท มากขึ้น

บูท บอกว่า "เฮลิคอปเตอร์กันชิป" ที่เขาลำเลียงส่งมอบให้กับ เบมบ้า นั้นคือส่วนหนึ่งของ "แผนฟื้นฟูคองโก" ที่เขาหวังว่าจะประสบผลสำเร็จ เพื่อที่ตัวเองจะได้มาใช้ชีวิตใน "สวรรค์บนดิน" แห่งนี้ในบั้นปลายชีวิต

ดรอลันส์ เห็นกับตาว่า คนอย่าง วิคเตอร์ บูท เยือกเย็นแค่ไหน จัดการกับสถานการณ์การต่อรองธุรกิจที่กำลังจะ "หลุด" กลายเป็นเรื่อง "นอกเหนือการควบคุม" ได้อย่างไร เขาเล่าว่า เบมบ้า และพลพรรค ไม่เพียงคาดหวังว่า เฮลิคอปเตอร์สงคราม จะเป็นสินค้าเพียงอย่างเดียวบนเครื่องบินของบูท แต่ยังหวังด้วยว่า จะมี "แอลกอฮอล์" ติดมาด้วย

สัญชาตญาณบอก บูท ว่า ทุกอย่างกำลังจะ "วายป่วง" เขาตัดสินใจส่งนักบิน ยอมเสี่ยงตายเพื่อเอาใจลูกค้า บินข้ามแนวรบ ไปซื้อเบียร์มา 2-3 ลัง ชนิดที่นักบินรายนั้นหอบลงมาในสภาพเหงื่อแตกท่วมตัว

นั่นคือแบบฉบับของวิคเตอร์ บูท ในสายตาของ ดิค ดรอลันส์ ที่ไม่เคยเชื่อในคำหวานของชายที่มี "องครักษ์" รัสเซีย 3 คนประกบติดตัวอยู่ตลอดเวลา

องครักษ์ที่มีบุคลิกเหมือนหลุดออกมาจากภาพยนตร์แรมโบ้ ยังไงยังงั้น

เรื่องราวที่ ดรอลันส์ พบเห็นในราวปี 1993 คือตัวจุดประกายความสนใจให้กับคนอีก 2 คน คนที่อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ ให้สนใจในตัว วิคเตอร์ บูท ยิ่งค้นคว้า ยิ่งพิเคราะห์ พิจารณา พวกเขายิ่งมุ่งมั่นมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า จำเป็นต้องเปิดโปงตัวตนที่แท้จริงของชายผู้นี้

จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online
โยฮัน พีลแมน

ในปี 2000 ดักลาส ฟาราห์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักข่าวภูมิภาคแอฟริกา ของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์อยู่ในวอชิงตัน ในขณะที่ โยฮัน พีลแมน ทำงานอยู่กับองค์กรการกุศลเพื่อสันติภาพของวิหารฟรานซิสกัน ในนครแอนท์เวิร์บ ประเทศเบลเยียม

ด้วยวิถีของสัมมาชีพ ดักลาส คุ้นเคยอยู่กับการค้าอาวุธไม่มากก็น้อย แต่ตรงกันข้าม โยฮัน ไม่เคยรู้เรื่องราวการค้าอาวุธมาก่อน สิ่งที่เขาเชี่ยวชาญอย่างยิ่งยวดคือ "วรรณกรรมยุคกลาง" ของยุโรป ที่ร่ำเรียนมาเป็นพิเศษเท่านั้น

สิ่งที่ผลักดันให้เขาทุ่มเวลาให้กับการค้นคว้าเรื่องการค้าอาวุธของวิคเตอร์ บูท อย่างสาหัส คือคุณงามความดีและอุดมคติในใจเท่านั้นเอง

โยฮัน บอกว่า เขาถึงกับช็อค เมื่อพบว่า ไม่ว่าจะเป็นอุดมคติ อุดมการณ์ทางการเมือง หรือจริยธรรม จรรยาใดๆ ไม่ได้มีผลกระทบกระเทือนต่อการตัดสินใจหยิบยื่นอาวุธให้กับทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่ายในคู่สงคราม คู่ความขัดแย้งของวิคเตอร์ บูท เลยแม้แต่น้อยนิด

ดักลาส ฟาราห์ เขียนบทความจากการค้นคว้าของตนเองลึกลงไปในเครือข่ายของ วิคเตอร์ บูท ร่วมกับ สตีเฟน บราวน์ หลายต่อหลายชิ้น แต่ที่ โยฮัน พีลแมน ทำนั้นมีบทบาทสำคัญยิ่งกว่า เขาจัดทำรายงานเรื่องการค้าอาวุธของ วิคเตอร์ พร้อมหลักฐานบ่งชี้หลายประการนำเสนอต่อสหประชาชาติ ตั้งแต่ความเคลื่อนไหวของเที่ยวบิน ใบอนุญาตขนส่งสินค้าที่น่าเคลือบแคลงทั้งหลาย ทำให้สหประชาชาติตัดสินใจว่าจ้าง โยฮันเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำวิจัยเชิงลึกในเรื่องนี้ต่อไป

ในรายงานว่าด้วยเรื่องอังโกลา ที่โยฮันนำเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อปลายปี 2000 เป็นครั้งแรกที่ชื่อของวิคเตอร์ บูท ถูกเชื่อมโยงเข้ากับการค้าอาวุธ

ดักลาส ยังคงนำเสนอข้อมูลของตนอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่นานที่ผ่านมานี่เองที่ หนังสือ "เมอร์ชานท์ ออฟ เดธ" ของเขาถูกตีพิมพ์เผยแพร่

ในนั้นคือรายละเอียดถี่ยิบของวิคเตอร์ บูท กับขบวนการค้าอาวุธและผลของสงครามที่เขาช่วยในการก่อขึ้น

ลี โวลอสกี้ เป็นนักกฎหมาย และเป็นนักการเมืองเดโมแครต ทำงานอยู่ในระบบอย่างเคร่งครัด เขาสำเร็จการศึกษาจากฮาร์วาร์ด และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญรัสเซียที่เป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านภัยคุกคามข้ามชาติในสังกัดทีมที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของทำเนียบขาวในยุค บิล คลินตัน ในเวลาต่อมา

ปี 2000 แฟ้มคดีของ วิคเตอร์ บูท หนาเพียง 2-3 หน้า ตกมาถึงโต๊ะทำงานของ ลี มันดึงดูดเขาได้ในทันทีทันควัน เขาบอกในภายหลังว่า วิคเตอร์ บูท เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของ "ปรากฏการณ์ในยุคหลังสงครามเย็น" ได้อย่างชัดเจน เขาทำในสิ่งที่ไม่มีใครทำ ไม่มีกรอบใดๆ กีดกั้น ไม่มีฝ่ายใดตอบสนอง หรือหาหนทางแก้ไขปัญหานี้

"เราจำเป็นต้องสร้างการตอบสนองอันนั้นขึ้นมาให้ได้" เขาสรุป

สำหรับ ลี โวลอสกี้ แล้ว วิคเตอร์ บูท ยิ่งสาวยิ่งลึก ยิ่งค้นยิ่งพบ เขาได้ข้อสรุปแน่วแน่ว่า "ฝีไม้ลายมือ" ของบูท ปรากฏอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทุกที่ที่มีความขัดแย้งและการสู้รบ

เขาเดินหน้า ตั้งความหวังเอาไว้ว่า จะดำเนินการให้ได้ "หมายจับสากล" สำหรับ วิคเตอร์ บูท ออกมาให้ได้ ในขณะที่ข้อฟ้องร้องก่อนหน้านั้นที่มีต่อ บูท มีเพียงข้อกล่าวหาว่า "ฟอกเงิน" จากทางการเบลเยียม เท่านั้นเอง

ความคาดหวังของเขาถูกสกัดด้วยการมาถึงของ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช หน่วยเล็กๆ ของเขาถูกยุบ ความหวังของเขาพลอยสลายไปพร้อมกันในทันที

เมื่อถึงต้นปี 2008 นั้น ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนยังเคว้งคว้างสำหรับทุกคนที่เคยพยายามไล่ล่า วิคเตอร์ บูท ซึ่งในขณะนั้นหลบไปใช้ชีวิตอย่างสำราญภายใต้การคุ้มครองอย่างน่าสนใจในกรุงมอสโก

ดรอลันส์ ผู้สื่อข่าวชาวเบลเยียมยังคงรายงานข่าวจากแอฟริกา แต่เลี่ยงที่จะพูดถึงสงครามกลางเมืองและพ่อค้าอาวุธไปแล้ว เนื่องเพราะพยายามลืมเลือนวิคเตอร์ บูท

โยฮัน พีลแมน ยังคงมีสำนึกในอุดมการณ์เต็มเปี่ยม แต่ภารกิจของเขากลับเป็นการประสานงานกับกองกำลังรักษาสันติภาพในคองโก

โวลอสกี้ พ้นจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมงานกับบริษัทกฎหมายเอกชนในนิวยอร์ก พยายามจะลืมชายชาวรัสเซียรายนี้เช่นเดียวกัน

5 มีนาคม 2008 วิคเตอร์ บูท ออกนอกประเทศเป็นครั้งแรกในรอบหลายต่อหลายปี เขาเดินทางถึงกรุงเทพฯเมื่อค่อนดึกวันนั้น เดินทางต่อเข้าเมืองมา "เช็คอิน" ที่โซฟิเทล สีลม ใจกลางกรุงเทพมหานคร

เขาเลือกห้องสวีต ที่ชั้น 15 บรรจงแขวนป้าย "ห้ามรบกวน" ไว้ด้านหน้า และหลับสนิทไปตอนตี 3

ไม่นานต่อมา วิคเตอร์ บูท ถูกจับกุมที่ห้องพักแห่งนี้ และเริ่มต้นการดำดิ่งสู่ความไม่แน่นอนและการชดใช้ของตนเองนับแต่บัดนั้น



ที่มา: มติชนออนไลน์
Ref:หน้า 17 วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 11942 มติชนรายวัน

------------------------------------------------------

จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online

"เมียบูท" ขู่ฟ้องนายกฯ-รัฐบาล อ้างไทยทำข้อตกลงกับสหรัฐฯ แลกตัวสามีกับการไล่ล่า "ทักษิณ"

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน นางอัลลา บูท ภริยานายวิคเตอร์ บูท ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นพ่อค้าอาวุธระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา เปิดแถลงข่าวว่า เตรียมการฟ้องร้องดำเนินคดีกับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบกับการทำให้สามีของนางต้องถูกส่งตัวให้กับทางการสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

โดยการฟ้องร้องจะพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลไทย, นายกรัฐมนตรีไทย และบุคคลที่ลงนามในการปล่อยตัวนายบูทให้ไปอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกา เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดกฎหมายของไทยเอง

นางบูทอ้างด้วยว่า ทางการสหรัฐอเมริกาอาจทำความตกลงกับไทย แลกเปลี่ยนตัวนายบูทกับการให้ความช่วยเหลือจากทางการสหรัฐเกี่ยวเนื่องกับการไล่ล่าอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

นอกจากนั้น ยังเปิดเผยด้วยว่า ได้แนะนำให้นายวิคเตอร์ บูท ผู้เป็นสามีฟ้องร้องใครก็ตามที่ตีพิมพ์ข้อกล่าวหาที่ปราศจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตน และเห็นว่า ควรฟ้องร้องต่อผู้สร้างภาพยนตร์ "ลอร์ด ออฟ วอร์" ที่นำแสดงโดยนิโคลัส เคจ ด้วย


ที่มา : มติชนออนไลน์ (update; วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 19:39:19 น.)

British PM cancels Thai trip

จาก อัลบั้มภาพThai E news

British Prime Minister David Cameron has cancelled plans to spend a Christmas holiday in Phuket, following complaints from campaigners about the Thai government's human-rights record, the UK press reported on Sunday.


Mr Cameron had faced claims that the trip would be viewed as "showing support" for a "brutal" regime after the May 19 violence, and red shirt attempts to take the government to the International Criminal Court.


The PM's office would not comment on the Camerons' plans, but it is understood that the family had booked flights some time ago and now felt it was better to enjoy the festive season in England.


It had been reported that Mr Cameron chose Thailand because the Thai Prime Minister, Abhisit Vejjajiva, is a fellow graduate of Eton, something that his office denied. (Agencies)


Ref: bangkokpost(update 21/11/2010 at 09:26 PM)
---------------------------------------------------


คาเมรอนเลิกฝันถึงการฉลองคริสมาสต์ที่เมืองไทย

ที่มา: ไทยอีนิวส์ (update: วันจันทร์, พฤศจิกายน 22, 2010)

ดวิด และ ซาแมนทา คาเมรอน ยกเลิกการเดินทางที่เป็นข้อถกเถียงที่จะมาประเทศไทยหลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ดีในขณะที่ประเทศ(อังกฤษ)กำลังเผชิญปัญหาการว่างงานและการประหยัดค่าใช้จ่าย

มันหมายถึงการใช้จ่ายอย่างหรูหราในวันหยุด แต่ไม่ทันที่ครอบครัวคาเมรอนเพิ่งจะจองที่พักในต่างประเทศเป็นที่แรกตั้งแต่เข้าทำงานที่ถนนดาวนิ่งก็เริ่มเกิดคำถามขึ้น

ว่าการเดินทางไปพักที่โรงแรมห้าดาวที่ประเทศไทยในช่วงคริสมาสต์เพื่อแสงแดดในหน้าหนาวเป็นเรื่องเหมาะสมในช่วงเวลาที่เข้มงวดกวดขัน แม้ว่าครอบครัวคาเมรอนจะออกค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองหรือไม่?

ในขณะที่คนที่เหลือในอังกฤษกำลังทุกข์ยากในการตัดค่าใช้จ่าย นายกรัฐมนตรีควรหรือไม่ที่จะเพลิดเพลินกับการใช้ชีวิตเกินตัวมากกว่าคนที่เหลือในประเทศจะสามารถจ่ายได้?

ประวัติในเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนั้นไม่ช่วยเช่นกัน รวมทั้งข้อเท็จจริงที่เดวิด คาเมรอนเรียนที่อีตันเวลาเดียวกันกับนายกรัฐมนตรีของไทย ผู้ซึ่งกำลังประสบกับการวิพากษ์วิจารณ์ทั่วโลกในเรื่องการจัดการกับผู้ชุมนุมประท้วงเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งนำไปสู่การตายของผู้ชุมนุมประท้วง

ขณะนี้นายคาเมรอนได้ยกเลิกการเดินทางที่มีการถกเถียงขึ้นหลังจากมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด โดย นสพ. The Sunday Telegraph ได้เปิดเผยเรื่องนี้

การตัดสินใจที่จะทิ้งการเดินทางหลังจากที่เขาเปลี่ยนใจที่จะจ่ายเงินให้กับช่างภาพโดยกระเป๋าสตางค์จากประชาชน นายกรัฐมนตรีโดนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินให้ “เจ้าหน้าที่แต่งหน้าทาปาก” หลายคน โดยเงินของสาธารณะ ทั้ง แอนดี้ พาร์สัน ช่างภาพของเขา และ นิกกี้ วู้ดเฮ้าส์ ผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้ซึ่งผลิตรายการ WebCameron ผู้นำในการต่อต้านของทอรี่

ป็นที่เข้าใจว่าการตัดสินใจยกเลิกวันหยุดหลังจากนายคาเมรอนและภรรยาของเขา ซาแมนทา ถูกห้ามปรามโดยที่ปรึกษาคนสนิทที่สุดที่ถนนดาวนิ่ง

แอนดี้ คัวสัน ผู้อำนวยการการสื่อสารของนายคาเมรอน ได้เข้าแทรกแซงโดยส่วนตัวที่จะห้ามปรามไม่ให้นายกรัฐมนตรีเดินทางไป ท่ามกลางความห่วงใยว่าการเดินทางนี้จะจุดประกายเรื่องส่วนตัวของเขา

ประเทศไทยเป็นที่ท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสำหรับคนอังกฤษเป็นหมื่นทุกปี แต่การไปเยือนของนายคาเมรอนทำให้คนตกใจ

มีการคาดคะเนในหนังสือพิมพ์ของไทยว่าเขาจะเข้าพักที่ใดที่หนึ่งในรีสอร์ทสองแห่งในภูเก็ต ซึ่งค่าที่พักราคาอย่างน้อย 1,000 ปอนด์ ต่อคืน และมีความกังวลเต็มสิบว่าการเดินทางที่ฟุ่มเฟือยเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คนอังกฤษจำกัดค่าใช้จ่าย

ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงข้อถกเถียงที่คล้ายกับโทนี่ แบลร์ในวันหยุดที่หรูหราในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรี

ข้อถกเถียงในเรื่องการเดินทางยังถูกเติมเชื้อเมื่อพบว่านายคาเมรอนและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ต่างเป็นศิษย์เก่าอีตัน และเกิดความคิดว่าการที่เลือกประเทศไทยก็เพราะความเกี่ยวโยงนี้

ถนนดาวนิ่งปฏิเสธประเด็นนี้ แต่การปฏิเสธล้มเหลวที่จะระงับคำวิจารณ์ โดยเฉพาะกลุ่มสิทธิมนุษยชน

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการของไทย หรือเป็นที่รู้จักในนามคนเสื้อแดง กล่าวว่าการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงด้วยกองทัพของรัฐบาลในตอนต้นปี ทำให้ผู้ชุมนุมอย่างน้อย 90 คน ถูกสังหาร และนับพันรายบาดเจ็บหลังจากรัฐบาลสั่งการให้ทหารยุติการชุมนุมในทันที

ดยกลุ่มหวังว่าอังกฤษจะสนับสนุนการเรียกร้องในเรื่องการละเมิดซึ่งมีการฟ้องร้องไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อเดือนที่แล้ว

*********

เรื่องเกี่ยวเนื่อง:


รเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม:คาเมรอน ยกเลิกแผนการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทย เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เพราะพรรคเสรีประชาธิปไตยที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคการเมืองดังกล่าวเป็นสมาชิกของสหพันธรัฐพรรคการเมืองเสรีนิยมมีนโยบายคัดค้านรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย (รายละเอียด)

----------------------------------------------

จาก อัลบั้มภาพ Matichon Online

ายกฯอังกฤษ ยกเลิกพักผ่อนเมืองไทย หลังถูกร้องเรียน อาจสนับสนุน "ความรุนแรง"

ที่มา: มติชนออนไลน์ (update : วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 09:37:34 น.)

นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ ยกเลิกแผนการเดินทางพักผ่อนในประเทศไทยช่วงวันคริสต์มาสนี้ เนื่องจากได้รับคำร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

โดยนายคาเมรอนได้รับคำตำหนิว่าการเดินทางดังกล่าวอาจเป็นการแสดงถึง "การแสดงการสนับสนุน" ต่อ "ระบอบการปกครองอันโหดร้าย" โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ "กลุ่มคนเสื้อแดง" ได้ร้องเรียนต่อ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ" ว่ารัฐบาลได้เข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงจนทำให้มีประชาชนเสียชีวิตกว่า 90 ราย จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา

ด้านสำนักนายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่ารัฐบาลจะไม่แสดงความคิดเห็นต่อแผนการเดินทางของนายคาเมรอนครั้งนี้ แต่ทราบว่าพวกเขาได้จองตั๋วเครื่องบินมาระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ที่นายคาเมรอนยังไม่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีรายงานว่า สาเหตุที่นายคาเมรอนเลือกเดินทางไปยังประเทศไทยนั้น เป็นเพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯของไทย เคยเป็นเพื่อนร่วมรุ่นสมัยที่เรียนที่โรงเรียนอีตัน แม้ว่าทั้งคู่จะไม่เคยพบกันในช่วงนั้นเลยก็ตาม

ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยต่อหนังสือพิมพ์เดลีเมล์ว่า มีการยืนยันการยกเลิกการเดินทางดังกล่าว หลังจากมีข้อมูลรั่วไหลออกมาว่า เงินจำนวน 50,000 ปอนด์ (ประมาณ 2.35 ล้านบาท) ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัยให้แก่นายคาเมรอนระหว่างการเดินทางครั้งนี้ด้วย

และแม้ว่านายคาเมรอนจะจ่ายค่าใช้จ่ายในการพักผ่อนด้วยเงินของตนเองแต่อย่างไรก็ตาม เงินภาษีของประชาชนจำนวนดังกล่าว ได้ถูกใช้สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าที่พักสำหรับบอดี้การ์ดจำนวน 5 คน เป็นจำนวนเงิน 1,000 ปอนด์ (47,000 บาท) ต่อคืน

นอกจากนั้นพวกเขายังได้รับเงินสำหรับการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า หรือประมาณ 3,000 ปอนด์ (141,000 บาท)ต่อคน

แหล่งข่าวใกล้ชิดนายคาเมรอนเปิดเผยต่อว่า นายคาเมรอน และครอบครัว ตัดสินใจที่จะอยู่พักผ่อนในประเทศอังกฤษแล้ว และค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง รวมถึงค่าที่พัก ได้ถูกส่งคืนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะไม่มีการรบกวนเงินภาษีของประชาชนเด็ดขาด โดยเขาลดทอนความสำคัญของค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยลง และอ้างว่านายคาเมรอนยังคงมีสิทธิที่จะเดินทางไปพักผ่อนในต่างประเทศ

"เมื่อเขาต้องเดินทางจำเป็นต้องมีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอนั่นเป็นความจริงของชีวิต"