วันพฤหัสบดี, กันยายน 30, 2553

"อภิวันท์"บอกหน.เพื่อไทยตอบรับคุยปรองดองกับ"เสธ.หนั่น" ...คุยไม่กลัว"พรรคเสธ.แดง"ตัดฐานเสียงอีสาน

by herogeneral.blogspot.com
Ref: มติชนออนไลน์ (updateวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 10:31:33 น.)

จาก Dailyworldtoday

พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.พรรคเพื่อไทย และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเมื่อวันที่ 30 ก.ย. ถึงกรณีพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา จะเข้าหารือกับพรรคเพื่อไทยเรื่องการปรองดอง ว่า เข้าใจว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ตอบรับเข้าร่วมหารือกับ พล.ต.สนั่นแล้ว แต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรค ยังติดภารกิจ

พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า มองว่าแนวทางที่นำไปสู่การปรองดอง ถือเป็นขั้นตอนที่ทำให้การปรองดองของประเทศก้าวหน้า กว่าการจะเร่งรัดกฎหมายนิรโทษกรรม

ไม่หวั่น"พรรคเสธ.แดง"ตัดฐานเสียงอีสาน

พ.อ. อภิวันท์ กล่าวถึงกระแสข่าวนางสาวขัตติยา สวัสดิผล บุตรสาวของพล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง เตรียมทำพรรคขัตติยะธรรม โดยเน้นส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ภาคอีสาน ว่า ไม่มีปัญหา ถือเป็นเรื่องดีที่จะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งนี้ไม่คิดว่าส.ส.พท. จะรู้สึกกังวลกับการทำพรรคการเมืองของบุตรสาวเสธ.แดงว่าจะเป็นการตัดคะแนนกันเอง และทำให้พรรคภูมิใจไทย (ภท.) มีโอกาสเบียดชิงพื้นที่ในภาคอีสาน


"สนั่น"ถก"พท.-แดง"ชื่นมื่นเดินสายต่อ"กกต.-มหา"ลัย-กองทัพ-ธุรกิจ"ตบท้าย"แม้ว"

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 กันยายน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา บุตรชายและนายอัศวิน วิภูศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคชาติไทยพัฒนา ได้เดินทางมาพูดคุยกับแกนนำพรรคเพื่อไทย ตามแนวทางการสร้างความปรองดอง ซึ่งนำโดยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง และนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ให้การต้อนรับและร่วมโต๊ะเจรจาที่ห้องรับรองชั้น 8 พรรคเพื่อไทย อาคารโอเอไอ ทาวเวอร์ สี่แยกอโศก โดยทั้งหมดใช้เวลาในการหารือกันประมาณ 1 ชั่วโมงซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่น ในช่วงท้ายการหารือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย เดินเข้ามาสมทบเพื่อทักทาย พล.ต.สนั่นครู่หนึ่ง ก่อนที่จะขออนุญาตออกไปปฏิบัติภารกิจภายนอก

จากนั้นเวลา 11.45 น. ทั้งหมดได้ร่วมกันแถลงข่าวโดย พล.ต.สนั่น กล่าวว่า เราได้ใช้เวลาในการพูดคุยกันประมาณ 1ชั่วโมง เพื่อรับฟังทุกฝ่ายและเดินหน้าในการขอรับฟังจากพรรคการเมืองต่างๆต่อไป ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทหาร นักธุรกิจและอื่นๆ เพื่อหาจุดกึ่งกลางให้ได้ โดยได้ขอให้ตนได้เดินร่วมกันต่อไปในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งหลายเรื่องที่นายจตุพร เล่าให้ฟังทั้งเมษายน 2552 และพฤษภาคม 2553 ก็จะรับฟังทั้งหมดเพื่อเก็บไปประมวลเป็นข้อมูลก่อนไปพบกลุ่มอื่นๆต่อไป แล้วก็จะได้มาพูดคุยกันอีกครั้ง

พล.ต.สนั่น กล่าวว่า นายจตุพร และพรรคเพื่อไทย ไม่ได้มีข้อเรียกร้องใดๆ แล้วก็เห็นชอบด้วยที่จะให้มีการปรองดองเกิดขึ้นในประเทศ จากนี้ตนก็จะไปรับฟังจากทุกๆ ส่วน โดยเฉพาะพรรคการเมืองทุกพรค โดยวันที่ 1 ตุลาคมก็จะเริ่มไปพูดที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จากนั้นก็จะไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องหันมาร่วมมือกันลืมความหลังและเริ่มกันใหม่

เมื่อถามว่า จะนำข้อมูลต่างๆ ที่พูดคุยกับพรรคเพื่อไทย ไปแจ้งกับนายกรัฐมนตรีหรือไม่ พล.ต.สนั่น กล่าวว่าคงไม่ เพราะตนจะไปพบนายกรัฐมนตรีในฐานะของพรรคการเมืองเหมือนกัน โดยหลังจากตนไปพบทุกพรรคแล้วจะไปพบพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อถามว่า ได้ต่อสายพูดคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหรือยัง พล.ต.สนั่น กล่าวว่า ตอนนี้พ.ต.ท.ทักษิณ คงยังนอนหลับอยู่ เพราะเวลาไม่ตรงกัน แต่ตนก็จะไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย แต่หลังจากทำให้ภายในประเทศมีบรรยากาศที่ดีขึ้น

เมื่อถามว่าแผนการปรองดองจะเริ่มต้นสร้างกลไกได้เมื่อไร พล.ต.สนั่น กล่าวว่า ก็จะพยายามให้เร็วที่สุด หากลดความขัดแย้งต่างๆได้มันก็จะดี เมื่อถามว่าจะทันในวาระของรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ พล.ต.สนั่น ย้อยถามว่า “เอ๊ะ แล้วเขาจะยุบสภาเมื่อไร แต่ใครเป็นรัฐบาลก็ไม่อยากยุบสภาหรอก แต่เราก็ต้องเดินไปอย่างนี้ ซึ่งที่ทำอยู่ก็เร็วแล้ว กึ่งเดินกึ่งวิ่ง แต่ก็หวังว่าความปรองดองของคนในชาติจะเกิดขึ้น ซึ่งตนก็ได้ทำถนนไปสู่ความปรองดองเอาไว้แล้ว เหมือนพระญี่ปุ่นรูปหนึ่งที่อยู่บนเขา ที่เดินขึ้นและลงจากเขาทุกเช้า ทุกวัน โดยไม่ได้ไปบิณฑบาตในหมู่บ้านหลายเดือน ชาวบ้านก็มาถามว่าท่านเดินขึ้นและลงเขาทุกวันทำไม พระท่านก็บอกว่าเดินเพื่อทำทางเดินไว้เผื่อคนจะได้ขึ้นไปบนวัด หากไม่มีทางเดินคนก็จะไม่ขึ้นไป ซึ่งผมก็เดินแนวทางนั้น”

ด้านนายจตุพร กล่าวว่า ปัญหาของประเทศไทยวันนี้ถ้ายังไม่มีการพูดคุยกันเพื่อหาทางออกอย่างแท้จริง บนพื้นฐานของความยุติธรรมและเสมอภาคนั้นไม่มีทางที่ปัญหาจะจบลงได้ โดยตนได้แจ้งกับพล.ต.สนั่นไปว่าคนที่จะเป็นกลางในการพูดคุยได้นั้นจะต้องเป็นพวกที่ไม่ติดดี หรืออ้างตัวว่าวิเศษวิโสกว่าคนอื่น และต้องเป็นคนที่ผ่านทั้งความสำเร็จและความเจ็บปวดในชีวิตมา จะได้เข้าใจว่าความสำเร็จและความเจ็บปวดคืออะไร ซึ่งงในทางการเมือง พล.ต.สนั่น ผ่านมาแทบทั้งหมด เพราะเคยเป็นทั้งรัฐมนตรีหลายกระทรวงแล้วยังก็เคยถูกตัดสินจำคุกเหตุการณ์ 26 มีนาคม 2520 พร้อมกับนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช. ก็เห็นชีวิตของแกนนำคนเสื้อแดงที่ถูกคุมขังว่าเมื่อเวลาที่อยู่ในเรือนจำมีความรู้สึกอย่างไร แม้กระทั่งการถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี พล.ต.สนั่นก็เคยผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งคนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ก็ย่อมจะเห็นความทุกข์และความสุข ไปจนถึงทางออกของประเทศ

นายจตุพร กล่าวว่า พล.ต.สนั่น บอกว่าการเริ่มต้นการพูดคุยจะไม่มีเงื่อนไขอะไร แต่เป็นการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยตนได้แจ้งไปว่าวันนี้พวกตนไม่ขัดข้องที่จะปรองดอง หากจะยึดแนวปฏิบัติตามกฎหมายก็ต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันหมด คือฝ่ายที่ฆ่าประชาชนจะต้องถูกดำเนินคดีเหมือนกัน หรือหากจะเริ่มต้นประเทศกันใหม่ เพื่อยุติปัญหาทั้งปวงก็ต้องถอยกลับไปเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

จาก Dailyworldtoday

“การที่คนๆหนึ่งที่ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านชีวิตมามากมาย ได้มาร่วมสนทนากับพรรคเพื่อไทยและพวกตนนั้นอย่างน้อยที่สุดก็เป็นการเปิดช่องหายใจเล็กๆของประเทศนี้ขึ้นมา เพราะต้องยอมรับความจริงว่าวันนี้คุยกันไม่ได้ ประเทศนี้หาผู้ใหญ่ยากเต็มที เหมือนนายอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) บอกกับผมว่าปรองดองกับทุกคนได้ ยกเว้นผู้ก่อการร้าย ผมก็สวนกลับทันทีว่าผมก็ไม่ปรองดองกับฆาตกรเหมือนกัน ก็จะทำให้คุยกันไม่ได้หากเริ่มต้นกันอย่างดี หรือจะเริ่มต้นปรองดองด้วยพรบ.นิรโทษกรรมของพรรคภูมิใจไทย ก็เป็นการนิรโทษกรรมให้ผู้เข่นฆ่าประชาชน ที่จะได้ประโยชน์ปัญหาก็จะไม่จบ ดังนั้นการที่พล.ต.สนั่น จะตระเวณไปรับฟังปัญหาจากทุกส่วน ก็หวังว่าวันหนึ่งจะมีการรวบรวมข้อเสนอตรงกลางของทุกภาคส่วนนั้นมีจุดสมดุลอยู่ตรงไหนและอย่างไร” นายจตุพร กล่าว

นายจตุพร กล่าวว่า คนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการปรองดอง แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมและเสมอภาค โดยไม่ละเลยผู้เสียชีวิตและคนบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน เพราะสาเหตุที่ไหวหวั่นกันอยู่ขณะนี้คือเราจะมาคุยกันตรงนี้แล้วจบ โดยที่คนที่ได้รับผลกระทบไม่ได้รับความยุติธรรม ปัญหาทุกก็จะไม่ได้รับการแก้ไข

วันพุธ, กันยายน 29, 2553

"..และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป" ..."เราไม่ทอดทิ้งกัน"

by herogeneral.blogspot.com on 2010-09-29 - 04:16 pm
Ref:
1)YouTube: KWASDESIGN | September 27, 2010
2)มติชนออนไลน์(updateวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 23:59:59 น.)


Ref: KWASDESIGN | September 27, 2010 กฤช เหลือลมัย อ่านบทกวีที่หอประชุมศรีบูรพา วันที่ 25-09-2553 ในงาน "เราไม่ทอดทิ้งกัน"

บทกวี "..และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป"

เมื่อเราผ่านการต่อสู้ เราย่อมตระหนักรู้ ว่าตัวเราเปลี่ยนไป
มันอาจจะเพียงไม่นาน และเราไม่ได้ถูกจ้างวานให้มาโดยใคร
เราสุขเราทุกข์มาด้วยกัน ผ่านคืนและวันที่เราต่างลุกเป็นไฟ
ไฟบางกองวูบวับดับลง หากที่เหลือยังคงเป็นไฟกองใหม่

แม้ล่วงเข้าปลายฤดูฝน มันยังลุกอยู่บนสิ่งที่ควรลุกไหม้
เพื่อนเอ๋ย..เราไม่อาจปล่อยวาง จุดหมายปลายทางยังอีกยาวไกล.......

ระหว่างเส้นทางสายนี้, เราเริ่มรู้ว่ามีเรื่องราวมากมาย
มีชุมชน และผู้คนเหล่านั้น ในตรอกซอยตัน และถนนสายใหญ่
บนทางลอยฟ้า หน้าห้างฯ ลานสนามกว้างขวางมีเวทีอภิปราย
วิทยุ, ทีวี, หนังสือ ฯลฯ บอกเราให้ยึดถือหลักการฯ ทั้งหลาย

การเผชิญหน้าปากกระบอกปืน ช่วยให้เราหยัดยืนได้มั่นคงกว่าใครๆ
และการล้อมปราบครั้งนั้น ไม่ทำให้เราพรั่นพรึงแต่อย่างใด........

เพื่อนเอ๋ย เราผ่านมันมา และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป
เราเริ่มพูดจาเหมือนกัน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องอะไร

คิดและทำสิ่งเดียวกัน ตั้งเข็มมุ่งมั่นโดยมิต้องนัดหมาย
ไม่ต้องมัวตั้งคำถาม เพราะทุกอย่างเป็นไปตามชุดคำอธิบาย

การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ ทุกเรื่องเราคิดคำตอบได้ง่ายดาย
เรารักคนคนเดียวกัน และเกลียดคนคนนั้นเหมือนๆ กันใช่ไหม ?
ทุกคน ทุกเรื่องที่เรารัก ทำไมเรามักไม่มีคำถามใดๆ ?
และทุกคน ทุกเรื่องที่เราเกลียด เราก็ยิ่งยัดเยียดความเกลียดชังลงไป

เราอนุโลมให้กับความผิดพลาด ในทุกๆ โอกาสของพวกเราใช่หรือไม่ ?
เราจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ท่ามกลางความเงียบงันของ "คำถาม" ได้อย่างไร ?
หรือนี่คือสิ่งที่เรากำหนด ให้เป็นอนาคตของ "สังคมไทย" ..? .........

แน่นอน..เราถูกกระทำ ถูกเหยียดถูกย่ำอย่างกับวัวกับควาย
เสียงเราไม่ถูกได้ยิน เลือดเราไม่มีกลิ่นเหมือนพวกเขาทั้งหลาย
ศพเราไม่ถูกมองเห็น เหมือนว่าเรานั้นเป็น "ผู้ไม่มีร่างกาย"
แต่แล้ว ในเวลาเดียวกัน เรากำลังทำอย่างนั้นกับคนอื่นอยู่หรือไม่ ?

เราคิดว่า ข้างนอกนั่น มีแต่ "พวกมัน" เท่านั้นหรืออย่างไร ?
หลายคนคงยังพอนึกออก ถึงตอนที่อยู่ "ข้างนอก" ยังไม่เข้ามา “"ข้างใน"
ก่อนจะมาถึงวันนี้ เราต่างก็เคยมีเมื่อวานนี้ ใช่หรือไม่ ?

เราเคยเห็นแย้งเห็นต่าง อคติ – เป็นกลาง กับเรื่องราวหลากหลาย
เคยถกเถียงหน้าดำคร่ำเครียด แต่ไม่เคยโกรธเกลียดกันแบบเอาเป็นเอาตาย
เคยได้ยินคำพูดทุกคำ แถมยังจดยังจำหน้าตากันได้

เราลองคิดว่า "พวกเขา" ก็คือพวกเราในวันเก่าๆ ได้หรือไม่ ?
คือ "เรา" ที่เคยมีโอกาส ก้าวข้ามความผิดพลาด กลายมาเป็นคนใหม่..
แล้วทำไมเราจะฉวยโอกาส รับฟังข้อผิดพลาดจากพวกเขาบ้างไม่ได้ ?
บางที หลายคนในพวกเขา อาจไม่ใช่ศัตรูเรา อย่างที่เราเข้าใจ............

เพื่อนเอ๋ย เราเพิ่งผ่านมันมา ภาพยังติดตา เรื่องยังคาใจ
นตายต้องไม่ตายเปล่า ความตายของเขาต้องมีความหมาย
แน่นอน, เราไม่อาจปรองดอง กับคนที่มือทั้งสองเปื้อนเลือดพวกเราได้ !

แต่หากเราต้องเป็นเหมือนกัน - กับคนเหล่านั้น มันมีประโยชน์อะไร ?
เราอาจต้องสนใจปัญหา ในระดับลึกกว่า "อำนาจของตีนใหญ่"
สนใจเครือข่ายกลุ่มก้อน ที่ลึกลับซับซ้อนกว่าเส้นสนกลใน
ทำความรู้จักกับทุกคน เพื่อเข้าใจว่า "ประชาชน" นั้น หมายถึงใคร ?

กล้าพูด กล้าวิพากษ์วิจารณ์ ทุกๆ หลักการที่เริ่มล้าสมัย
ทบทวนวิธีต่อสู้ ที่มุ่งโค่นศัตรูอย่างเอาเป็นเอาตาย
เราก็เห็น ว่าคนเหล่านั้น ทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน..จะเอาอย่างไปทำไม ?

โลกมีพื้นที่กว้างขวาง ผู้คนถูกสร้างให้มีความหลากหลาย
เรา, ฉัน, ท่าน, เขา – แต่ละคน ต่างมีตัวตนแตกต่างกันไป
แต่เสียงเราต้องเป็นที่ได้ยิน เลือดเราต้องมีกลิ่นเหมือนพวกเขาทั้งหลาย
และมันคือเลือดสีแดง เหมือนเลือดสีแดงของผู้คนทั่วไป

ตัวตนเราต้องถูกมองเห็น เพราะชีวิตเราเป็นสิ่งที่มีความหมาย
พลังแห่งปัจเจกภาพ ย่อมไม่ใช่การหมอบราบ – รอฟังคำสั่งใคร !
เพื่อนเอ๋ย..เราจงมากำหนด สิ่งที่เป็นอนาคตของสังคมไทยใหม่
ถ้าไม่อยากย่ำอยู่ที่เก่า...
ถ้าไม่อยากย่ำอยู่ที่เก่า... ตัวตนของเรา จะต้องเปลี่ยนต่อไป

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

นี่คือบทกวีชื่อ "..และเรารู้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป" ของกฤช เหลือลมัย กวีที่แต่งบทกวีว่าด้วยสังคมการเมืองไทยซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจหลายชิ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

กฤชอ่านบทกลอนหัวเดียวชิ้นนี้ในงานคอนเสิร์ต "เราจะไม่ทอดทิ้งกัน" ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ต่อหน้าคนเสื้อแดงกว่า 2 พันคนซึ่งเข้าร่วมชมคอนเสิร์ตดังกล่าวจนแน่นขนัดหอประชุม และมีอีกมากที่เข้าไปนั่ง/ยืนชมข้างในไม่ได้

ในด้านหนึ่ง บทกวีชิ้นนี้ของกฤชได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ที่มีความเห็นว่า ควรจะเกิดการวิจารณ์กันเองในหมู่คนเสื้อแดง เพื่อวิถีการต่อสู้ที่ถูกต้องเหมาะสมในอนาคต นอกจากนี้ นี่ยังแสดงให้เห็นว่าคนเสื้อแดงอาจไม่ได้มีเพียงกลุ่ม/เฉดสีเดียว หากแต่เต็มไปด้วยผู้คนซึ่งมีแนวคิดแตกต่างหลากหลาย รวมทั้งบางคนที่อาจยืนข้างเสื้อแดง ทว่าไม่ได้ประกาศตนเป็นคนเสื้อแดง

แต่ในอีกด้าน บทกวีชิ้นนี้กลับถูกวิจารณ์จากคนอีกส่วนว่ามีลักษณะ "สองไม่เอา" และแม้ผู้แต่งจะมีความหวังดี ทว่าแนวคิดที่กฤชถ่ายทอดออกมา ซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การต่อสู้ของคนเสื้อแดงและคล้ายจะไม่ใส่ใจอย่างจริงจังต่อความอยุติธรรมที่พวกเขาได้รับนั้นก็อาจจะเข้าทางอำนาจรัฐได้

แม้วิวาทะครั้งนี้อาจเกิดขึ้นแบบจำกัดวงในหมู่ปัญญาชนเสื้อแดงเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นี่ถือเป็นความเคลื่อนไหวหรือสีสันที่น่าสนใจและชวนฉุกคิดมิใช่น้อยของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งมีประชาชนจำนวนมากหนุนหลังอยู่กลุ่มนี้

ลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

by herogeneral.blogspot.com on 2010-09-29 - 04:09 pm
Ref: มติชนออนไลน์ (update วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 12:25:59 น.)

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์
ลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ 28 กันยายน คณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่เดินทางมาประชุมคณะกรรมการรางวัลนานาชาติฯ เพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2553 ณ.ศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช นอกจากนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ภาคอีสาน พรรคเพื่อไทยนำโดย นายพายัพ ชินวัตร ประธาน สส.พรรคเพื่อไทย ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

รัฐไทยไม่ทำอะไรนอกจาก "ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ หมกเม็ดความจริง กลอกกลิ้ง ตลบแตลง แสดงเหตุผล ยอกย้อนตัวตนของตัวเอง"

by herogeneral.blogspot.com on 2010-09-29 - 03:38 pm
Ref:
1)ผ่าสมอง"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนกับ "ความขัดแย้ง": รัฐประหาร เจ้าพ่อ และความตายของคนชายขอบ: มติชนออนไลน์ update วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 11:40:54 น.
2)ผ่าสมอง"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนกับ "ความขัดแย้ง"(2): รัฐไทยกับรัฐศาสตร์ การตลาด และชายแดนใต้: มติชนออนไลน์ updateวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 09:20:39 น.

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์
ผ่าสมอง"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนกับ "ความขัดแย้ง": รัฐประหาร เจ้าพ่อ และความตายของคนชายขอบ

เมื่อวันที่ 22 กันยายน เวลา 9.00 น. นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาทางวิชาการ "รัฐไทยกับการจัดการความขัดแย้ง" เป็นส่วนหนึ่งของการสอบปลายภาควิชา "รัฐและสังคม" ดำเนินการสอนโดยอ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อ.ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยในการเสวนาเป็นการนำเสนอรายงานจากตัวแทนของกลุ่มในประเด็นปัญหาต่างๆได้แก่

"การแก้ไขความขัดแย้งของรัฐไทย: รัฐประหาร 19 กันยายน ในฐานะการจัดการความขัดแย้ง" โดยภัทรนันท์ ลิ้มอุดมพร

นายภัทรนันท์ กล่าวตอนหนึ่งในการรายงานว่า กลุ่มของตนเลือกประเด็นเรื่องรัฐประหาร 19 กันยายน เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาที่ต้องอยู่กับมันตลอดชีวิตเหมือนเป็นเรื่องที่ตามหลอกหลอนคนรุ่นนี้ไปซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิดแม้ว่าข้ออ้างของคนที่สนับสนุนให้ทำรัฐประหารคือ การชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 20 กันยายนจะมีการนองเลือด อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคิดว่าการนองเลือดอาจเป็นเรื่องที่ปล่อยให้เป็นไปบ้าง เพราะจุดแตกหักนี้จะทำให้การเมื่องไทยเปลี่ยนผ่าน ไม่ใช่การทำรัฐประหาร ประเด็นสำคัญคือเราไม่ปล่อยให้สังคมไทยมีจุดแตกหัก ยังคงแก้ไขในระบบวิถีเดิมๆ เพียงเพราะเรากลัวเลือด

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

มิเชล ฟูโก้ (Michel Foucault) เชื่อว่าการรัฐประหารเป็นการแสดงตัวตนของรัฐ คือรัฐมองเห็นความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น ซึ่งความไม่ปลอดภัยของรัฐคือ "เสรีนิยมประชาธิปไตย" ที่มีมาตั้งแต่ 2540 และความขัดแย้งที่นำมาสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน คือความขัดแย้งระหว่าง เสรีนิยมประชาธิปไตย กับ รัฐนิยม ตรงนี้เหมือนกการถกเถียงว่าเราต้องมีรัฐหรือไม่มีรัฐอย่างกลายๆ

มีข้อถกเถียงของนักวิชาการว่าประเทศไทยเป็น "ครอบครัวแบบจินตกรรม" คือวันนี้เราต้องไม่มาเถียงกัน รักกัน วิธีการแก้ไขปัญหาของครอบครัวเป็นแบบนี้ การแก้ไขปัญหาของเราจึงเป็นการแก้ไขปัญหาแบบครอบครัวทำให้ประชาธิปไตยของเราไม่เดินไปไหน เพราะคิดว่าเป็นพี่น้องกัน

สุดท้ายความขัดแย้งทั้ง 2 ระบบคือ ความเชื่อเรื่องรัฐ กับ เรื่องประชาธิปไตย โดยรายงานฉบับนี้ฟันธงว่า ถ้าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงแล้วพลเมืองไม่ได้รับการศึกษาที่ดีพอ ที่สุดแล้วประชาชนก็จะเหมือนเด็กทะเลาะกัน และจะนำไปสู่สงครามกลางเมือง ซึ่งเป็นคำถามว่าเราอยากได้สภาพแบบนั้นหรือไม่หลังการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

"ปัญหาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น" โดย นางสาวณัฎฐา ทั้วสุภาพ

ณัฎฐา ทั้วสุภาพ นำเสนอรายงานโดยมองว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ โครงสร้างของรัฐเอง โดยรัฐไทยถูกกำหนดเป็นรัฐเดี่ยว ทำให้เรามองเห็นปัญหาเจ้าพ่อ ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่เกิดขึ้น การที่ประเทศไทยมีเจ้าพ่อส่งผลให้รัฐไทยไม่สามารถทำงานได้ดี ไม่สามารถจัดสรรผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนระดับล่างได้จริง ทำให้ประชาชนในระดับท้องถิ่นไปพึ่งพาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัญหาที่ฝังรากในวัฒนธรรมทางการเมือง รวมถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในไทยมานาน โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของไทยเป็นโครงสร้างระบบศักดินามาตั้งแต่สมัยก่อน

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

วัฒนธรรมอุปถัมภ์เป็นสิ่งที่ปูพื้นทางสังคมไทย พอเกิดรัฐสมัยใหม่ขึ้น หน้าที่ของรัฐสมัยใหม่ก็ต้องสามารถจัดสรรผลประโยชน์ ดูแลทุกข์สุขประชาชนได้ แต่เจ้าพ่อทำให้รัฐไทยไม่สามารถควบคุมความรุนแรงเหนือดินแดนของไทยได้

ยิ่งเมื่อมีรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เน้นเรื่องกระจายอำนาจมากขึ้น โครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบเดิมของผู้มีอิทธิพลแบบเก่าไม่เชื่อมต่อกับรัฐส่วนบนก็แปรสภาพเปลี่ยนตัวเองจากที่เคยเป็นผู้นำมีอิทธิพลกันอยู่ในชุมชนตัวเองก็ลามเป็นระดับชาติเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่นในยุคของคุณทักษิณ มีการส่งตัวแทนพรรคลงเล่นการเมืองท้องถิ่น มันไม่ได้เป็นการโยงใยอำนาจท้องถิ่นขึ้นไปถึงในระดับชาติ เครือข่ายอิทธิพลก็ผันตัวเองไปจนเข้มแข็ง และเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กันเอง ในรัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ไม่สามารถจัดการได้เพราะมีการถ่วงดุลกันของกลุ่มผู้มีอิทธิพลแต่เดิมที่ขยายตัวขึ้น

โดยสรุปคือการที่มีเจ้าพ่อทำให้รัฐไทยที่มีหลักว่าเป็นรัฐเดี่ยว ทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะกลไกของรัฐไม่ว่าจะเป็นทหารหรือตำรวจไม่สามารถจัดการความัขัดแย้งหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้และการที่รัฐไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทำให้เกิดผู้มีอิทธิพลขึ้นอีก แต่ถ้าหากจัดสรรผลประโยชน์หรือตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดีปัญหาของผู้มีอิทธิพลก็จะลดน้อยลง


"เปิดม่านความขัดแย้งกับคนตายที่ชายขอบ" โดย นายสิทธิพล พาเจริญ

สิทธิพล เป็นตัวแทนกลุ่มเสนอรายงาน โดยกล่าวว่า เมื่อรัฐกับสังคมเกิดความขัดแย้งขึ้น ความขัดแย้งเป็นความขัดแย้งที่ไม่สมมาตร ความขัดแย้งจึงผูกกับความรุนแรง และเป็นความรุนแรงระหว่างเมืองกับชายขอบรวมถึงรัฐกับคนชายขอบด้วย ซึ่งรัฐบอกว่าคนชายขอบเป็นปัญหา เป็นอสูรกายแต่ไม่เคยพูดว่าอสูรกายเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มองแค่ว่านี่เป็นปัญหา นี่ไม่ใช่คน ฆ่าทิ้งได้ เพราะเป็นภาระของเรา ซึ่งการนิยามแบบไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่เข้าใจความขัดแย้งเมื่อคนออกมาเรียกร้อง ทุกข้อขัดแย้งมักมีสารที่คนต้องการสื่อว่ามันมีอะไรในความขัดแย้งเบื้องหลังอยู่ แต่การที่มีม่านมาบังทำให้ไม่เข้าใจว่าการที่มาเรียกร้องคืออะไร

เมื่อนิยามว่าเป็นอสูรกาย ทำให้เกิดกลัวว่าเขาจะมาเอาอะไรไป ซึ่งบางเรื่องสังคมและรัฐก็ให้ได้ แต่ในบางเรื่องก็ทำให้เกิดความกลัว โดยสิ่งที่รัฐกลัวที่สุดคือความมั่นคงปลอดภัยเพราะรัฐต้องประกันความมั่นคงให้คนในสังคม และเมื่อรัฐเห็นว่าเกิดสิ่งที่ไม่มั่นคงก็ต้องลงไปจัดการ รัฐก็อาศัยการฝ่าฝืนกฎหมายแบบเสรีนิยม รัฐจึงสร้างความกลัวเพื่ออาศัยความกลัวให้คนในสังคมให้ความชอบธรรมกับรัฐใช้ความรุนแรงจัดการได้

สังคมไทยคิดว่า "แตกต่างได้ แต่อย่าแตกแยก" แต่ที่จริงสังคมไทยเป็นสังคมจารีตที่กลัวความแตกต่าง สิ่งที่สะท้อนได้ดีที่สุดคือ ความเชื่อเรื่องผี อย่างในสังคมอังกฤษยุคโบราณที่กลัว แดร็กคูล่าหรือแฟรงค์เกนสไตน์ ซึ่งเป็นผีที่แสดงความแตกต่างผิดแปลกไปจากสังคม กินอาหารที่คนไม่กิน สิ่งที่คนเรียนรู้คือ ถ้าไม่ฆ่าก็จะถูกผีเหล่านั้นฆ่า แต่ไม่เคยรับรู้เลยว่า เพราะเราเองไม่ใช่หรือที่ไปสร้างแฟรงค์เกนสไตน์ขึ้นมามันจึงมาฆ่าเรา สังคมไทยไม่ยอมรับความแตกต่างเพราะเชื่อว่าความแตกต่างผิดบรรทัดฐานจึงนำความแตกแยกแต่ในยุคหลังเริ่มยอมรับได้บ้างแล้วอย่างเรื่องเพศ

รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นรัฐรวมศูนย์ซึ่งความเป็นเอกภาพได้ละเลยความแตกต่างซึ่งเป็นฐานคิดเดิมในรัฐแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปเมื่อเกิดความเป็นเอกภาพภายในรัฐเดียวขึ้นจึงส่งผลถึงความขัดแย้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ที่แบ่งได้เป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ การสร้างรัฐชาติ การพัฒนารัฐสมัยใหม่ และสังคมยุคโลกาภิวัตน์ การสร้างรัฐชาติเกิดความช่วงชิงความเป็นชาติในหลายฝ่ายที่ซับซ้อน ความเป็นชาติของรัฐไทยที่สร้างขึ้นมาเป็นเอกภาพซึ่งทำให้เป็นภาพเดียว มีหลายคนตกภาพนั้นไป

ส่วนด้านสังคมรัฐสมัยใหม่ก็ควบคุมสังคม อย่างบอกว่า ในสังคมต้องมีเพศวิถีอย่างไร ต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะมีสุขภาวะ ด้านวัฒนธรรมว่าคุณเป็นคนไทยก็ควบคุมความคิดว่าถ้าเป็นคนไทยก็ต้องปฎิบัติตัวอย่างไร การรวมศูนย์โดยไม่เห็นความแตกต่างทำเห็นเกิดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาจากข้างล่าง

ส่วนประเด็นเรื่องโลกาภิวัตน์เห็นได้ว่ามีทั้งผลดีและไม่ดี รัฐสามารถคุมสื่อได้ บล็อกเว็บที่ไม่อยากให้คนเข้าได้ แต่อีกทางหนึ่งคนก็สามารถเริ่มเห็นสื่อใหม่ๆ คนเริ่มตระหนักและสำนึก เพราะเกิดวัฒนธรรมที่แพร่หลายไม่สามารถยึดโยงกับรัฐได้อีกต่อไป คนก็เลยติดกับท้องถิ่น เมื่อติดกับท้องถิ่น เขาจึงมีความทรงจำที่ขัดกันแล้วตัวเขาควรจะเชื่ออย่างไร ทำให้เกิดความไขว้เขวทางอัตลักษณ์

จุดที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งคือ ความขัดแย้งของอัตลักษณ์ คนที่อัตลักษณ์เดี่ยวอ้างอิงความเป็นตัวตนกับรัฐ เมื่อคนไม่สามารถอ้างอิงได้ก็เกิดความแปลกแยกเกิดความเป็นอื่นจึงเกิดความขัดแย้งเชิงประจักษ์ที่เห็นได้อย่างการแสดงออกด้วยการประท้วงฆ่าตัวตาย หรือก่อการร้าย


ผ่าสมอง"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนกับ "ความขัดแย้ง"(2): รัฐไทยกับรัฐศาสตร์ การตลาด และชายแดนใต้

หลังจากตอนที่แล้วได้นำเสนอรายงานของนิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เหล่า"สิงห์ดำ"ออกมานำเสนอในการเสวนาทางวิชาการ "รัฐไทยกับการจัดการความขัดแย้ง" อันเป็นส่วนหนึ่งของการสอบปลายภาควิชา "รัฐและสังคม" เมื่อวันที่ 22 กันยายน เวลา 9.00 น. ไปเรียบร้อยแล้ว ลองมาดูความเข้มข้นทางความคิดของ"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนในประเด็นเรื่องความขัดแย้งกันต่อ

ช่วงที่ 2 ของการสัมนาเริ่มด้วยการเสนอรายงานเรื่อง "รัฐไทยกับความขัดแย้ง: รัฐศาสตร์ บริบทเชิงโครงสร้างทางวัฒนธรรมและกรณีศึกษาเชิงประจักษ์"

โดยนายฤชากร ไตรรัตนานุสรณ์ ตัวแทนของกลุ่มกล่าวว่า ปัญหาทางการเมืองของไทยเกิดจากความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่มีปัญหา เนื่องจากเราไม่ทบทวนความรู้ของเราแบบเพียงพอ แต่ไปนำเอาเทคโนโลยีทางรัฐศาสตร์ของตะวันตกมาใช้โดยที่ขาดการศึกษาความเป็นมาเรื่องประวัติศาสตร์และความคิดทางการเมือง เพราะเราไม่พยายามเข้าใจรากเหง้าของปัญหา ซึ่งแตกต่างจากตะวันตกที่พยายามหาจุดเริ่มต้นและนำมาสู่ปัจจุบัน สุดท้ายแล้วความรู้ทางรัฐศาสตร์ของไทยก็เหมือนไปลอกเลียนแบบจากตะวันตก

ปัญหาที่สำคัญอีกเรื่องคือ การศึกษารัฐศาสตร์ในแง่การสร้างพลเมือง ไม่มีความชัดเจนนอกจากต้องการเพียงแค่สร้างแรงงานในระบบตลาดมากกว่าสร้างคนที่มีจิตสำนึก โครงสร้างเชิงวัฒนธรรมของสังคมไทยก็มีปัญหาเช่น วัฒนธรรมอุปถัมภ์ ทำกิจกรรมที่ไม่มีความคิดริเริ่ม แต่มักทำตามระบบมากกว่า

นอกจากนี้ รัฐศาสตร์ไทยยังขาดจิตวิญญาณ จึงอยากให้ทบทวนปรัชญาทางการเมืองและบริบททางประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากสหรัฐแต่เวลาที่เราเอาใช้กลับลืมบริบทและปรัชญาในความเป็นตัวเราไปทำให้ขาดพลัง ปัญหาหลักก็คือ เมื่อองค์ความรู้มีปัญหาจึงเกิดการแบ่งชิงพื้นที่ความรู้ อุดมการณ์ อย่างเช่นความคิดเรื่อง "รัฐประหารเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ และเป็นประชาธิปไตยแบบไหน" ซึ่งควรมีคำอธิบายที่ลึกกว่าประโยคแค่ "รัฐประหารเป็นการฉีกธรรมนูญและทำลายประชาธิปไตย"

ทั้งนี้ จึงต้องการเสนอในเชิงทฤษฎีว่า ที่ผ่านมานิยามคำว่า "รัฐ" กับ "สังคม" ยังไม่สามารถตอบคำถามได้ อยากให้เปลี่ยนหน่วยการวิเคราะห์มาเป็น "มนุษย์" โดยหลักแล้วมนุษย์เมื่อไม่มีรัฐก็รวมตัวเป็นสังคมอยู่แล้ว ตามวามคิดของนักคิดแนวสัญญาประชาคม รัฐเป็นกลไกที่ตอบสนองสังคมเอง รัฐเป็นเครื่องมือของการจัดการ จึงเกิดนิยามต่อมาคือ รัฐเป็นสนามพลัง เข้าปะทะสังสรรค์ในการแสดงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ

ในขณะที่ปัญหาทางการเมืองของเราคือ ความเหลื่อมล้ำ, เทคโนโลยีทางรัฐศาสตร์ไทย และการให้นิยามคำว่าประชาธิปไตย ที่ทุกคนต่างให้คำนิยามเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ซึ่งสังคมไทยกลายเป็น "สังคมไพร่สมัยใหม่" คนที่มีอำนาจยังคงอยู่ เพราะคนจะเป็นใหญ่ได้ก็ต้องพึ่งพาเสียงเลือกตั้ง

ส่วนเรื่อง "เหลือง-แดง" นั้นมองว่าทั้ง 2 ขบวนการมีตรรกะร่วมกันคือ เคลื่อนไหวเพื่อกดดันรัฐบาล เลียนแบบ 14 ตุลา โดยใช้พลังประชาชนขับไล่ แต่คำถามก็คือ มีวิธีการอื่นหรือไม่ ที่ไม่ต้องแสดงพลังด้วยการชุมนุม 2 กลุ่มก็มีอุดมการณ์ความเชื่อของตัวเอง และอุดมการณ์ของทั้ง 2 ฝ่ายต่างเป็นมาตรวัดของตัวเอง ไม่รับฟังกัน และไม่มีมาตรวัดมาตรฐาน จึงกลายเป็นสภาพ "สำเร็จเป็นเจ้า ปราชัยเป็นโจร" คนที่ต่างอุดมการณ์ ความเชื่อ และปัจจัยส่วนตัวก็โดนผลักให้ไปสู่ฝ่ายตรงข้าม จึงเกิดคำถามว่า ที่ทางของคนที่ไม่ใช่เหลืองและแดงจะอยู่ที่ตรงไหน

แนวทางแก้ไขที่จะเสนอคือ ให้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ทบทวนหลักสูตร โดยไม่จำเป็นต้องสร้างแรงงานตลาดให้มากนัก, ทบทวนรัฐศาสตร์ไทย ไม่ให้มีการช่วงชิงอุดมการณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง สุดท้ายคือ ในเบื้องต้นต้องร่วมกันเห็นโลงศพแล้วหลั่งน้ำตา เข้ามาร่วมคุยกัน ทุกภาคส่วนไม่ควรตั้งแค่คณะกรรมการปฎิรูป แต่ต้องเสื้อเหลือง แดง ทหาร และทุกฝ่ายมาคุยกัน ทบทวนย้อนหลังว่าสิ่งที่ผ่านมาถูกหรือผิดอย่างที่เกาหลีใต้ทำเพื่อสร้างบรรทัดฐานอย่างแท้จริง คือ ต้องจำแต่ให้อภัย


"การตลาด กับการจัดการความขัดแย้งในรัฐไทย"

นายนพพล ผลอำนวย เป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนอโดยตั้งคำถามหลักในรายงานเรื่องนี้ว่า "ทำไมรัฐไทยแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้ หรือ ที่ผ่านมารัฐไทยไม่ได้แก้เลย ?" ที่ผ่านมารัฐไทยมีตรรกะการแก้ปัญหาไม่กี่อย่าง เมื่อมีปัญหาขึ้น ก็มักตั้งคณะกรรมการขึ้น

ซึ่งรัฐไทยมักใช้ "การตลาด" เป็นเครื่องมือทำให้เชื่อว่ามีการจัดการกับความขัดแย้งโดยรัฐไทยจัดการความขัดแย้งด้วยการสร้างความขัดแย้งที่ควบคุมได้ขึ้น อย่างเช่น การตัดถนนที่เขาใหญ่ เราเห็นภาพความขัดแย้งของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) แต่จริงๆแล้วอาจเห็นความขัดแย้งของราชการกันเองด้วยก็ได้ ไม่ใช่แค่ความขัดแย้งของกระทรวงคมนาคมกับเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้ และ ความขัดแย้งระหว่างมาร์ควี 11 กับ มาร์ค ราบ 11รัฐไทยสร้างความขัดแย้งของมาร์ควี 11 เพื่อจัดการกับความขัดแย้งในอีกด้านหนึ่ง

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้ถูกลืมไปเฉยๆ เหมือนกับไม่เคยเกิดขึ้นโดยใช้ความบันเทิง อย่างเช่น หลังเหตุการณ์ราชประสงค์ ก็เห็นมิวสิควีดีโอที่มีเนื้อหาว่าให้ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วสร้างอนาคตขึ้นใหม่ เกิดคำถามว่าภายใต้ความหลงลืมนี้รัฐไทยดำเนินการอะไรจริงหรือไม่ คนไทยอาจเห็นภาพแต่ลืมคิด

รัฐไทยใช้รัฐธรรมนูญแบบวัฒนธรรม ใช้จารีตจัดการกับความขัดแย้งเยอะ อย่างเช่น กรณีเอาปาล์มมาปักสร้างฮวงจุ้ย ก็เห็นภาพว่าต่อไปจะไม่มีความขัดแย้ง เชื่อเรื่องบุญกรรม จริงๆแล้วรัฐไทยแก้ได้หรือเปล่าอาจก็ไม่อาจรู้ได้

สรุปแล้ว รัฐไทยทุกวันนี้ตอบคำถามว่า ทำไมรัฐไทยจึงจัดการความขัดแย้งไม่ได้ เพราะ รัฐไทยจัดการกับความขัดแย้งหนึ่ง ก็เกิดอีกความขัดแย้งหนึ่งวนเวียนไปมา แท้จริงแล้วรัฐไทยไม่ได้จัดการความขัดแย้งเพียงแต่ใช้การตลาดในการสร้างภาพให้เห็นภาพว่าจัดการความขัดแย้งแล้วโดยใช้จารีตและวิถีชีวิตของคน

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์
รัฐไทยไม่ทำอะไรนอกจาก "ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ หมกเม็ดความจริง กลอกกลิ้ง ตลบแตลง แสดงเหตุผล ยอกย้อนตัวตนของตัวเอง"

"ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้"
ด้าน นายพายุ ปลั่งดี เป็นตัวแทนของกลุ่มมานำเสนอรายงานเรื่องปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ว่า ประเด็นปัญหาของรัฐไทยเกิดขึ้นทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นพร้อมกัน แต่มักหลงลืมประเด็นท้องถิ่นไป ปัจจุบัน ท้องถิ่นถูกผลัก ถูกลืม แต่ไม่ได้ถูกแก้ไข ลืมเคอิโงะ ลืมคนใต้แต่ตนเชื่อว่าปัญหาอาจขึ้นอีก และที่ผ่านมารัฐไทยเพียงเบี่ยงเบนประเด็น ไม่เคยยอมรับความแตกต่างเลย

ต้นเหตุของปัญหาเป็นเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความแปลกแยกคือ ปัญหาความขัดแย้งทางอัตลักษณ์ อย่างเรื่องศาสนา เกิดความไม่ไว้วางใจ เกลียดชังกัน ล้อเลียนกัน อย่างเช่นภาพของผีอิสลามที่เชื่อว่ากลัวหนังหมู, ปัญหาการศึกษาก็มีอิทธิพลต่อการกำหนดชีวิตและความเชื่อ โดยครูมีอิทธิพลมากในการปลูกฝัง และปัญหาการเมืองคือ รัฐบาลไม่ค่อยให้ความสนใจกับประชาชนในพื้นที่มุสลิม เงินหลายแสนล้านบาทถูกนำไปใช้แต่ก็ยังอาจไม่ได้ผล

ทั้งนี้ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อ.คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาคือ รัฐต้องยอมรับความจริงมองประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของทั้งสยามและปัตตานี, ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสังคม, ใช้ประโยชน์จากพลังศาสนาให้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา, ให้ข้าราชการเกิดความรู้ความเข้าใจทางความแตกต่าง, ต้องเข้าถึงทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม อย่าเลือกปฎิบัติ, ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของทุกฝ่าย เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม ยุติมาตรการความรุนแรงกับประชาชน, ยึดครองพื้นที่ในใจประชาชน สร้างความเชื่อมั่นและไว้ใจ

สรุปแล้ว ทุกวันนี้เรากำลังลืมเหตุการณ์ความรุนแรงของภาคใต้ไป ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหาอาจมาจากอคติในความคิดของเราเอง

2010-10-10 นัดหมายร่วมรำลึกครบรอบ 6 เดือนเหตุการณ์อำมหิตที่สี่แยกคอกวัว

ิิby: herogeneral.blogspot.com on 2010-09-29 - 02:22 pm
Ref: ข่าวสดรายวัน คอลัมภ์ เหล็กใน เรื่อง ไม่เป็นสุข (updateวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7244 หน้า 6)

จาก อัลบั้ม นสพ.ข่าวสดรายวัน

นับวันแต่จะยิ่งแจ่มชัดและตาสว่างขึ้นเรื่อยๆ สำหรับภาพเหตุการณ์และหลักฐาน ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กำลังสลายม็อบเสื้อแดง

ทั้งการปะทะกันเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว และการใช้กำลังทหารและยุทโธปกรณ์บดขยี้กลุ่มผู้ชุมนุม ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.

แม้ที่ผ่านมาจะใช้อำนาจพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน บิดเบือนและปิดกั้นข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

แรกๆ สังคมก็อาจรู้สึกคล้อยตาม หลงใหลไปตามกระแสแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ ทั้งกรณีชายชุดดำบ้าง หรือกองกำลังไม่ทราบฝ่ายบ้าง

เพราะรัฐบาลใช้สื่อของรัฐออกข่าวสารด้านเดียว โหมประโคมใส่ร้ายผู้ชุมนุม จนละเลยข้อเท็จจริง กล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง และล้มล้างสถาบัน

สร้างภาพป้ายสีผู้ชุมนุมให้คนบางกลุ่มเห็นพ้องว่าเป็นพวกไม่รักชาติ ไม่เคารพสิทธิคนเมืองหลวง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการกวาดล้าง เข่นฆ่า และจับกุม

นายอภิสิทธิ์ยืนกระต่ายขาเดียวอ้างตลอดเวลาว่าไม่เคยสั่งให้ปราบปรามประชาชน

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ยืนยันทุกครั้งว่าไม่เคยสั่งให้ทหารลั่นกระสุนใส่ผู้ชุมนุม

ล่าสุด พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ.ทบ. ก็ยืนกรานอ้างว่าไม่เคยสั่งการให้หน่วยสไนเปอร์ขึ้นบนตึกสูง ยิงเด็ดหัวผู้ชุมนุม

แต่เมื่อมีการล้มตายที่เกิดจากคมกระสุนเกือบ 100 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันชีวิต ใครจะออกปฏิเสธอย่างไร โยนผิดเช่นใด ก็ย่อมมิอาจปกปิดข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้

กาลเวลาผ่านล่วงเลยไป การสังหาร การตาย และความรุนแรงที่แยกราชประสงค์ ผ่านมา 4 เดือนกว่าแล้ว

การที่ฝูงชนพากันหลั่งไหลออกมาร่วมกันรำลึกกว่า 1 หมื่นคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีใครลืมเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น

อีกไม่นานก็จะถึงวันที่ 10 ต.ค. ซึ่งนัดหมายกันว่าจะออกมาร่วมรำลึกครบรอบ 6 เดือนเหตุการณ์อำมหิตที่สี่แยกคอกวัว

ก็จะพิสูจน์อีกครั้งว่า ผู้คนจะลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่


สำหรับผู้ที่อีกไม่กี่วันก็จะหมดอำนาจ แม้จะบอกว่าไม่ยุ่งกับการเมือง และจะอยู่ให้ห่างจากสื่อ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะตามหลอกหลอนไปตลอดชีวิต

ส่วนนายอภิสิทธิ์ ซึ่งอีกไม่กี่เดือนก็มีเค้าว่าอาจจะต้องลงจากเก้าอี้

เหตุการณ์ที่นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้สั่งการ ก็จะตามหลอนหลอกตลอดชีวิตเช่นกัน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในส่วนอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้ประชาชนล้มตายและได้รับบาดเจ็บ

ก็ยากจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขสงบตามปกติ

อย่างน้อยก็ทางใจ

Staunch Thaksin foe takes command of Thai army

by herogeneral.blogspot.com
Ref: Asian Correspondent

จาก อัลบั้ม Asiancorrespondent

A new commander-in-chief is taking the helm of Thailand's powerful army -- a staunch royalist who is expected to pursue a hardline stance against the "Red Shirt" anti-government protest movement.

General Prayut Chan-O-Cha, 56, takes charge Friday at a crucial juncture following the deadliest political unrest in decades and in light of uncertainty over what royal succession will eventually mean for the kingdom.

Thai society remains deeply divided following the Red Shirt protests, which triggered a series of confrontations between demonstrators and armed troops in April and May, leaving 91 people dead, mostly civilians.

Prayut is seen as a strong opponent of the red-clad movement and its hero Thaksin Shinawatra, the fugitive ex-premier accused by the Thai authorities of bankrolling the protests and inciting unrest from overseas.

Prayut is reported to have overseen the deadly military assault on the Reds' fortified encampment in the retail heart of Bangkok in May.

"I think with this man taking charge, the prospect of the Red Shirts coming back will be even more difficult because we know he's taking a hardline approach," said Thailand expert Pavin Chachavalpongpun.

"It also reflects how desperately the traditional elite want to hold on to power by putting their own people in key positions in the military," said Pavin, a fellow at the Institute of Southeast Asian Studies in Singapore.

Prayut, who is being promoted from second in command, has long been seen as the top contender to replace retiring chief General Anupong Paojinda.

So it was no surprise when he was named for the top job by Prime Minister Abhisit Vejjajiva, who himself came to power with the support of the army in a 2008 parliamentary vote.

Prayut is seen as a close ally of Anupong. Both are former commanders of the 21st Infantry Regiment, whose special role is to provide protection for the queen.

Both were also central to the 2006 coup that ousted tycoon-turned-premier Thaksin, who is hailed by the Reds for his policies for the masses but seen by the establishment as corrupt, autocratic and a threat to the revered monarchy.

During the April-May crisis, Anupong appeared reluctant to use force to disperse the red-shirted demonstrators, calling for a political solution in a country that has seen 18 coups or attempted coups since 1932.

In contrast, "Prayut would more likely deal quickly and proactively in quelling pro-Thaksin anti-government demonstrators," said Thailand analyst Paul Chambers, a senior research fellow at Heidelberg University.

"He may be more prone to publicly vocalise military displeasure with civilian governments -- and threaten coups as Thai generals did 20 years ago."

The appointment of the general, who could stay in the post until 2014, is expected to shore up the Thai establishment's grip on power at a time of considerable uncertainty for the kingdom.

"With the rise of Prayut, we will witness the continuing clout of the Queen's Guard over the army and the armed forces," said Chambers.

A recent string of grenade blasts in Bangkok and the return of thousands of Red Shirts to the streets earlier this month for a short rally have reinforced the view of many observers that the political crisis is far from over.

Thailand's revered King Bhumibol Adulyadej, seen by some Thais as a demigod, has been a stabilising force for the country but he turns 83 in December and has been hospitalised for a year.

Abhisit, accused by critics of being a "puppet" for an unelected elite and the army, told AFP in an interview in July he hoped the military would remain out of politics and "respect the constitution and the parliamentary system".

Some observers think Prayut could enjoy a better relationship with the government than his predecessor Anupong.

"Abhisit owes a lot of favour to the military because of the way he came to power," said Pavin. "And now you see Abhisit paying back... so I guess at many levels the military now owes Abhisit."

AFP

Comments by Anonymous on 09/29/2010 02:21 pm

Good night democracy! Hello burma model!

วันอังคาร, กันยายน 28, 2553

ประชาชนออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับประชาชนไม่ได้

by Generalhero on 2010-09-29 - 10:38 am
Ref: มติชนออนไลน์ (updateวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 22:31:32 น.)
บทความโดย: ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

ข่าวจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมของพรรคการเมือง ที่จะรณณรงค์ให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมไม่ว่าจะเป็นพวกเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อน้ำเงิน ฯลฯ นั้น ก็ได้มีทั้งผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านต่อต้านออกมาเป็นระยะๆ การที่มีผู้ออกมาทั้งสนับสนุนและคัดค้านต่อต้าน อาจทำให้วัตถุประสงค์ของผู้เสนอให้ออกกฎหมายที่มีข่าวออกมาว่า ต้องการจะถอนฟืนออกจากไฟเพราะต้องการให้ไฟดับนั้น ก็จะกลายเป็นสะเก็ดไฟลามทุ่งไหม้ไปทั่วประเทศก็ได้
ผู้เขียนมิได้มีเจตนาที่จะสนับสนุนหรือคัดค้านการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในครั้งนี้แต่อย่างใด แต่ในฐานะที่เป็นประชาชนคนหนึ่ง ย่อมมีความห่วงใยในสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าวได้ ผู้เขียนจึงขอเสนอข้อคิดตามหลักการทางวิชาที่เป็นสากล ในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมต่อสาธารณชน เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบและสาธารณชนได้พิจารณาว่า การออกกฎหมายนิรโทษกรรมในกรณีเช่นนี้จะกระทำได้หรือไม่ เพราะกรณีที่กำลังเกิดขึ้นนี้จะมีผลกระทบต่อสังคมประเทศโดยรวม

นิรโทษ หมายถึง การยกโทษให้ หรือการอภัยให้กับผู้กระทำความผิด ( abrogate the crime and punishment ) นิรโทษกรรม ( Justifiable act หรือ amnesty) เป็นกฎหมายที่ออกเพื่อยกโทษให้กับผู้กระทำความผิดให้เป็นผู้บริสุทธิ์ กฎหมายนิรโทษกรรมจึงเป็นการออกโดยมีเงื่อนไขว่า ต้องมีผู้กระทำความผิดกฎหมายเสียก่อน

ถ้าไม่มีผู้กระทำความผิดกฎหมายหรือมีแต่ผู้บริสุทธิ์ สิทธิในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีการกระทำความผิดและไม่มีโทษที่ยกโทษให้ อำนาจในการออกกฎหมาย ( Statute หรือ Law enactment ) ประชาชน ผู้ออกกฎหมาย และสังคมชาติจำเป็นต้องรู้ถึงอำนาจและหน้าที่ของการออกกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับกับสังคมในชาติของตนว่าใครจะมีอำนาจและมีหน้าที่ในการออกกฎหมาย
ในสังคมประชาธิปไตยการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับสังคมชาติ เป็นอำนาจและหน้าที่ของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ( Legislative power ) ฝ่ายบริหาร ( Executive power ) หรือประชาชนขึ้นอยู่กับช่องทางการขอออกกฎหมายและส่วนได้ส่วนเสียของสังคมโดยรวม โดยประชาชนสามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอกฎหมายออกใช้บังคับได้ ( ตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 มาตรา 163 แต่มีข้อจำกัดสำหรับประชาชน ผู้เขียนจะไม่ก้าวล่วงในส่วนนี้ในบทความนี้ )

อำนาจและหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะขอออกกฎหมายดังกล่าว จะมีลักษณะของกฎหมายที่ออกใช้บังคับเป็นบทบัญญัติของกฎหมาย ( Statute ) ซึ่งเป็นการออกกฎหมายในรูปของกฎหมายโดยอำนาจอธิปไตยทางนิติบัญญัติ ( Legislative body ) อันเป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับกับประชาชนทุกคนให้ต้องปฏิบัติ ( Commanding ) หรือต้องละเว้นการปฏิบัติ ( Prohibiting) ต่อรัฐ ต่อเอกชน หรือต่อสาธารณชน หรืออยู่ในขอบเขตของการกระทำที่ต้องห้ามเด็ดขาดโดยบทบัญญัติของกฎหมาย หรือการกระทำที่ต้องได้รับอนุญาตให้กระทำได้โดยบทบัญญัติของกฎหมาย ( mandatory Statute หรือ directory Statute )

เช่น กฎหมายห้ามเด็ดขาดมิให้บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำการสมรส หรือห้ามมิให้พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทำการสมรส ( ตาม ปพ.พ. มาตรา 1449 มาตรา 1450 ) หรือกฎหมายห้ามมิให้บุคคลอายุต่ำกว่า 17 ปีทำการสมรสเว้นแต่ศาลเห็นสมควรอนุญาต หรือห้ามผู้เยาว์ (อายุไม่เกิน 20 ปี) ทำการสมรส เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ( ตาม ปพ.พ. มาตรา 1448 มาตรา 1454 ) เป็นต้น

ดังนั้นการออกกฎหมายโดยอำนาจอธิปไตยทางนิติบัญญัติ ( Legislative body) เป็นการออกกฎหมายเพื่อให้สังคมชาติอยู่ในระเบียบวินัย กฎ กติกา เพื่อความสงบสุขร่วมกันของสังคม กฎหมายที่ออกมาใช้บังคับในลักษณะเช่นนี้จะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม

เพราะทุกคนต้องยอมรับปฏิบัติเพื่อให้สังคมในชาติดำเนินการต่างๆไปด้วยกันได้ และหากจะมีความขัดแย้งกันเกิดขึ้นจากการออกกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับก็จะมีช่องทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาได้ โดยสามารถยกปัญหาว่า กฎหมายหรือข้อบัญญัติที่อำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายมานั้นเป็นกฎหมายที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลหรือชุมชนไว้แล้ว หรือไม่ ซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้

กฎหมายนิรโทษกรรมเป็นกฎหมายที่มีลักษณะแตกต่างกับกฎหมายที่ออกใช้บังคับโดยอำนาจอธิปไตยทางนิติบัญญัติ กฎหมายนิรโทษกรรมเป็นกฎหมายของการใช้อำนาจอธิปไตยของอำนาจบริหารที่ฝ่ายบริหารจะออกกฎหมายยกโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดได้เท่านั้น( Sovereign act)การออกกฎหมายนิรโทษกรรมจึงมีข้อจำกัดที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล

หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้นเท่านั้นที่เป็นผู้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมได้ และการออกกฎหมายเพื่อยกโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าความผิดนั้นจะเป็นความผิดอาญา ความผิดเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ความผิดเกี่ยวกับการทรยศต่อประเทศของตนโดยไปเข้ากับฝ่ายศัตรู ( กรณีมีสงคราม ) การยุยงปลุกปั่นเพื่อก่อการกบฏ การจลาจล การหลีกเลี่ยงการกระทำที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย การหลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ

การนิรโทษกรรมจะกระทำได้โดยต้องมีเงื่อนไขว่า บุคคลผู้กระทำความผิดเหล่านั้นจะต้องรู้สำนึกในการกระทำความผิด และต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องในเวลาที่กำหนดแล้ว โดยยอมเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลแล้ว เช่นการที่รัฐบาลได้กำหนดเวลาให้นำอาวุธสงคราม หรืออาวุธอื่นใดมาคืน หรือมามอบให้ในเวลาที่กำหนดโดยยินยอมทำตามคำสั่งของรัฐบาลแล้ว รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจึงจะใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายบริหารในการเสนอขอออกกฎหมายนิรโทษกรรมได้

และการออกกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าวยังมีเงื่อนไขสำคัญที่ฝ่ายบริหารจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่การกระทำความผิดที่ได้กระทำต่อเอกชน หรือในการกระทำความผิดที่มีผลบังเกิดขึ้นต่อสถานภาพของเอกชนไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลไม่ได้มีอำนาจอธิปไตยเหนือสิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนที่จะนิรโทษให้แก่การกระทำของบุคคลที่ได้กระทำความผิดต่อเอกชนหรือกระทำความผิดโดยเกิดผลต่อสถานภาพของบุคคลอื่นได้เลย

การนิรโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายที่จะได้รับยกโทษให้นั้น ไม่ใช่เป็นเป็นเรื่องที่ใครก็ได้ที่มีอำนาจในทางการเมืองจะหยิบยกขึ้นมาดำเนินการ โดยอาศัยพื้นฐานการมีมวลชนที่สามารถควบคุม โน้มน้าว และสั่งการได้มาเป็นฐานเพื่อให้มีการออกกฎหมายนั้น หาอาจทำได้ไม่

เพราะตามหลักการการปกครองในสังคมประชาธิปไตยแล้วประชาชนไม่มีทั้งอำนาจและไม่มีทั้งหน้าที่ในการใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองมาดำเนินการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้อื่นซึ่งเป็นประชาชนด้วยกันเองได้เลย และก็ไม่มีรัฐสภาใดในโลกเสรีประชาธิปไตยที่จะยอมรับการเสนอขอออกกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ได้เช่นกัน

การนิรโทษกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนใดคนหนึ่ง หรือของกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง แต่การนิรโทษกรรมต้องขึ้นอยู่กับการกระทำของกลุ่มคนที่ได้กระทำความผิดแล้ว และรู้สำนึกในการกระทำความผิดโดยหยุดการกระทำความผิดนั้นแล้ว และได้ปฏิบัติตนตามเงื่อนไขที่รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารได้สั่งให้กระทำในเวลาที่กำหนดแล้วเท่านั้น และการกระทำความผิดของบุคคลที่จะนิรโทษกรรมนั้น จะต้องไม่ใช่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นต่อบุคคลอื่นหรือมีผลกับสถานภาพของบุคคลอื่นด้วย

ทั้งการนิรโทษกรรมจะเลือกปฏิบัติในการกระทำความผิดโดยเลือกที่จะนิรโทษเฉพาะบางคน โดยยกเว้นไม่นิรโทษกรรมให้แก่ผู้บงการ ผู้ใช้ หรือตัวการไม่ได้เลย เพราะจะเป็นการออกกฎหมายนิรโทษกรรมโดยเลือกปฏิบัติ ซึ่งก็จะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30

การใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนเพื่อออกกฎหมายยกเลิกความผิด ( crime ) และไม่ลงโทษ( punishment ) ให้แก่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ เพื่อที่จะให้เกิดผลในการปรองดองกันนั้น ผลที่จะเกิดอาจไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนาดีของผู้เสนอ แต่อาจจะเกิดผลในทางตรงกันข้ามเป็นความแตกแยกก็ได้ และความแตกแยกก็จะเกิดขึ้นไม่แต่เฉพาะในสภาเท่านั้น แต่จะเกิดความแตกแยกกันไปทั่วประเทศเป็นสะเก็ดไฟลามทุ่ง ก็อาจเป็นไปได้ เพราะประชาชนเป็นผู้เสนอขอออกกฎหมายยกโทษให้แก่ประชาชน โดยประชาชนที่จะถูกยกโทษให้นั้นก็จะโต้แย้งว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดและไม่ต้องการให้นิรโทษกรรมให้

ส่วนประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการที่มีพ่อ แม่ พี่ น้องและญาติได้ตายไป ได้รับความเสียหายทางร่างกายและจิตใจโดยได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือได้รับความเสียหายในทรัพย์สินอื่นใด ก็จะไม่ยินยอมกับการที่มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ ซึ่งจะเกิดความไม่พอใจขยายวงไปอย่างกว้างขวางจนไม่อาจประมาณได้

และถึงเวลานั้นประเทศไทยอาจจะไม่มี “นักการเมือง” หลงเหลืออยู่เพื่อปกครองประเทศ มีแต่ “ นักกินเมือง” ที่เข้ามากินประเทศ ก็อาจเป็นไปได้ทั้งสิ้น.

วันจันทร์, กันยายน 27, 2553

“เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ” โฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ไทยเริ่มต้นขึ้นง่ายดาย เงียบงำ

by Generalhero on 2010-09-28 - 11:28 am
Ref: มติชนออนไลน์ (update วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 19:04:14 น.)

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

เช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ณ ลานพระที่นั่งอนันตสมาคม ... ในนามของหัวหน้าคณะผู้ยึดอำนาจพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา รองจเรทหารบกในขณะนั้น ได้เป็นผู้อ่านประกาศแถลงการณ์อันจะเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินขึ้นในสยามประเทศ ในเวลาต่อมา...


เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มาจนถึงปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ถูกถ่ายทอดโดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ผู้สื่อข่าวที่ผ่านประสบการณ์ร้อนหนาวมายาวนาน ปัจจุบันเป็นคอลัมน์นิสต์แห่งหนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

ประสบการณ์ที่สั่งสมนี้เอง เป็นผลให้ผู้ใหญ่หลายคนร้องขอให้คุณติ๋ม-วิมลพรรณ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองและพัฒนาการทางการเมืองตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

27 กันยายน ถือเป็นจังหวะดีในการเปิดตัวหนังสือ ซึ่งใช้เวลาค้นคว้ากว่า 3 ปี และอีก 1 ปีสำหรับการร้อยเรียงตัวอักษรออกมาเป็นหนังสือทรงคุณค่า ด้านประวัติศาสตร์ หนึ่งชุดจำนวน 3 เล่ม ที่โรงแรมโฟร์ ซีซั่น งานนี้คึกคักไปด้วยผู้มีเกียรติ ทุกระดับ ให้ความสนใจกับเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้อย่างคับคั่ง

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

การเปิดตัวหนังสือเรื่อง “เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ” โดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ณ โรงแรมโฟร์ ซีซั่น โดยมีแขกผู้มีเกียรติเดินทางมาร่วมเปิดตัวหนังสืออย่างคับคั่ง

วิมลพรรณ เปิดใจก่อนถึงช่วงเสวนาว่า มีหนังสือหลายเล่มที่เขียนถึงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในลักษณะเฉลิมพระเกียรติมากกว่า เขียนถึงบริบททางประวัติศาสตร์ หนังสือ”เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ”นี้ อยากให้เห็นถึงรัชสมัยของพระองค์ท่านว่า ทรงครองราชย์อย่างไร ทรงพระราชกรณียกิจในฐานะกษัตริย์อย่างไร โดยเน้นย้ำถึงการทำงานของพระองค์ท่านภายใต้รัฐธรรมนูญ

“ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงกำหนดบทบาทของพระบาทกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเอง ที่ผ่านมาเราปล่อยให้ฝรั่งเขียนเอกสาร ข้อมูลเละเทะ หรือแม้แต่นักวิชาการสมัยใหม่ ถอดเรื่องราวเล่าแต่ละช่วงวิกฤต สถานการณ์ นับแต่พ.ศ.2500 มาถึงเหตุการณ์เดือนตุลาคม การปฏิวัติระยะหลังๆ ไม่มีใครเขียนว่า พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญผ่านอะไรมาบ้าง บทบาทที่ทรงทำ มีอย่างไรบ้าง ยิ่งนักวิชาการเล่าเรื่อง โดยนำข้อมูลจากเอกสารของคนต่างชาติมาใช้ นำข้อมูลมาเพียงบางส่วน หรืออาจไม่ได้สอบทานข้อเท็จจริง และนำข้อมูลนั้นมาอ้างอิงต่อ อาจคลาดเคลื่อน”

วิมลพรรณ ชี้ความตั้งใจของการเขียนหนังสือเล่มนี้ว่า ตนเองก็ค้นคว้าเอกสาร หลักฐานจากประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา แม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องอาศัยค่าใช้จ่ายดำเนินการที่สูงมาก ได้มีโอกาสไปค้นคว้าในห้องสมุด State of Congress ของสหรัฐฯ เป็นคนไทยคณะแรกที่ได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ ผ่านเอกสารบันทึกต่างๆ ซึ่งเก็บรักษาไว้ภายใน นำมาสู่การสอบทานความถูกต้องของเอกสารมากมาย โดยเฉพาะกรณี การสวรรคตของรัชกาลที่ 8

“หนังสือเล่มนี้ ต้องการให้คนไทยเห็นข้อเท็จจริงของสังคมไทยในแต่ละยุคสมัย แต่ผู้อ่านจะต้องพิจารณาเอาเองว่า เรื่องราวต่างๆ เป็นอย่างไร เพราะตัวเองไม่อยากจะใช้คำว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ แต่เป็นบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัยของบ้านเมือง”

“สิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเราอ่านทั้งหมด จะรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับบ้านเมือง หรือใครก็ตามที่กระทำต่อบ้านเมือง มีบางคนที่เราอาจจะให้อภัยได้ มีบางคนเราไม่อาจให้อภัยได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับวิจารณญาณของคนอ่าน เพราะดิฉันมีหน้าที่ข้อมูลให้กับคน ไม่ไปวิเคราะห์หรือตัดสินแทนคนอ่าน หรือใครทั้งสิ้น”

วิมลพรรณ ยังกล่าวว่า ข้อมูลบางส่วนอาจไม่ใช่ข้อมูลใหม่ เพียงแต่นำมาเรียงร้อยให้ผู้อ่านได้เห็นว่าตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้เกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองบ้าง แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทำหน้าที่ในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญได้ถูกต้อง และรักษาบ้านรักษาเมืองมาได้อย่างไร ซึ่งอยากให้อ่านและพิจารณา

“ฉะนั้น หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือเฉลิมพระเกียรติ แต่เป็นหนังสือบอกข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในยุคสมัยว่า ท่ามกลางความเป็นไป การอยู่รอดของบ้านเมือง มันมีใครบ้าง ที่ได้ทำอะไรไว้ที่เราควรจะให้อภัยหรือไม่ให้อภัย"

วิมลพรรณ เล่าเบื้องหลังว่า หนังสือเล่มนี้ ใช้เวลากว่า 3 ปี ก่อนจะออกมาเป็นเล่มอย่างสมบูรณ์ แต่การค้นคว้าทำแค่ปีเดียว ลงมือเขียน 1 ปี ครึ่ง ระหว่างการคว้ารวบรวมข้อมูล มีเจ็บป่วย ไม่สบาย แม้แต่เพื่อนที่ช่วยค้นคว้าก็ป่วยเป็นมะเร็ง ต้องหยุดพักเพื่อรักษาตัวก่อน แต่สุดท้ายก็เขียนจนจบ นับตั้งแต่ปี 2549 รวมเวลากว่า 3 ปี ส่วนลงมือเขียน ปีครึ่ง

กับคำถามที่ว่า หวั่นใจหรือไม่ หากมีการนำเนื้อหาดังกล่าว ไปอ้างอิงหรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง วิมลพรรณ ตอบชัดเจนว่า ไม่กลัวเลย เนื่องจากเจตนาของการเขียนหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้มีเจตนาทำลายเกียรติของผู้ใด แต่ความแน่วแน่อยู่ที่การค้นคว้าข้อมูล และร้อยเรียงให้ถูกต้องตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากจะถูกนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้กับใคร หวังใจว่า ผู้อ่านสามารถไตร่ตรอง และใช้วิจารณญาณได้

ตอนหนึ่งของหนังสือ เอกกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ เล่ม 2 หน้า 29 กรณีข้อเท็จจริงในการสวรรคต

"....การสอบสวนชันสูตรพระบรมศพของตำรวจในครั้งแรกก็ทำอย่างหยาบๆ ไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนตั้งแต่แรก เมื่อจะมีการร่างแถลงการณ์ให้เป็นที่รับทราบของประชาชน นายปรีดี พนมยงค์ ถามหลวงนิตย์ฯว่า แถลงว่าสวรรคตเพราะพระนาภี (ท้อง) เสียได้หรือไม่ หลวงนิตย์ฯ ตอบว่า ไม่ได้ หลวงเชวงศักดิ์สงครามถามว่า เพราะโรคหัวใจได้ไหม หลวงนิตย์ฯ ปฏิเสธอีก จะออกแถลงการณ์ว่า ในหลวงปลงพระชนม์เอง กรมขุนชัยนาทนเรนทรทรงคัดค้าน รับสั่งให้แถลงการณ์ตามที่เป็นจริง นายกรัฐมนตรี (นายปรีดี พนมยงค์) จึงแถลงการณ์ว่า "เป็นอุบัติเหตุ" ซึ่งกรมขุนชัยนาทฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ ไม่ได้คัดค้านหรือห้ามการสืบสวนตามกฎหมาย โดยอ้างว่าขัดกับพระราชประเพณีแต่อย่างใด"

อีกตอนหนึ่ง หน้า 40 ระบุว่า .... "หลังการชันสูตรพระบรมศพแล้วแพทย์ลงความเห็นว่า สาเหตุใดมีน้ำหนักว่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ปรากฎว่า ประเด็นถูกลอบปลงพระชนม์มีน้ำหนักมากที่สุดคือ 16 เสียง ปลงพระชนม์เองมีน้ำหนักมากที่สุด 4 เสียง อุปัทวเหตุมีน้ำหนักมากที่สุด 2 เสียง"

"ความเห็นของคณะแพทย์และข้อเท็จจริงบางประการในการทดลองในการยิงศพล่วงรู้ไปถึงหนังสือพิมพ์บางฉบับเช่น หนังสือพิมพ์เสรี ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2489 ได้ลงรูปแสดงวิถีกระสุนและมีความละเอียดว่า คณะกรรมการได้ทดลองยิงในท่าต่างๆ แต่ที่คล้ายคลึงกับบาดแผลในพระบรมศพ คือผู้ยิงยืนเหนือศีรษะจ่อปืนใกล้หน้าผากในระยะ 10 ซม. แล้วยิง"

หนังสือดังกล่าว ยังนำรายงานของสถานเอกอัครราชทตูอังกฤษประจำประเทศไทย รายงานไปยังกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษที่ลอนดอน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2489 เรื่องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยไปเจรจาขอให้ทูตอังกฤษประจำประเทศไทยห้ามแพทย์ชาวอังกฤษที่ไปร่วมเป็นกรรมการชันสูตรพระบรมศพออกความเห็น สาเหตุแห่งการสวรรคต ดังนี้

"โทรเลขฉบับนี้เป็นความลับอย่างที่สุดและควรเก็บไว้โดยผู้รับที่มีอำนาจหน้าที่เท่านั้น ไม่ให้ส่งต่อ ...แจกในคณะรัฐมนตรี

F. 9488 จากกรุงเทพฯ ถึงกระทรวงการต่างประเทศ
Mr.Thompson เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2489
No. 851

ด่วน โทรเลขของผมเลขที่ 834

"...มีการเชื่อกันอย่างกว้างขวาง (ซึ่งก็มีเหตุผล) ว่าคณะกรรมการแพทย์ที่สอบสวนกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อนกำลังจะรายงานโดยเสียงข้างมากเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ จริงๆ แล้วในการลงคะแนนเสียงวันนี้ เมื่อคณะกรรมการยอมรับถ้อยคำต่างๆ ในรายงานแล้ว 16 เสียงเห็นว่าเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ 4 เสียงเป็นอัตวินิบาตกรรม และ 2 เสียงเป็นอุบัติเหตุ ตัวเลขเหล่านี้ไม่รวมนายทหารอังกฤษ 5 คนผู้ปฎิเสธที่จะออกความเห็นใดๆ"

“เมื่อเสียงปืนดังขึ้น นักกฎหมายต้องนั่งลง” หรือ??!!

by Generallhero on 2010-09-28 - 11:09 am
Ref: มติชนออนไลน์ (update วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 19:15:09 น.)
บทความชื่อ: บทบาทของนักกฎหมายไทยต่อการรัฐประหาร และการจัดการกับคณะรัฐประหารแบบตุรกี
บทความโดย: คุณนรินทร์ อิธิสาร

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

รัฐประหารครั้งล่าสุดของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นคือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนในฐานะนักเรียนกฎหมายที่พอจะได้ติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการรัฐประหารดังกล่าวอยู่บ้างเกิดความฉงนและจับต้นชนปลายไม่ถูกคือ พฤติกรรมของนักกฎหมายบางคนบางกลุ่มในประเทศไทยซึ่งหลายคนเคยเป็นครูบาอาจารย์ของผู้เขียนที่ได้มีพฤติกรรมไปในทางสนับสนุนการทำรัฐประหาร


พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ผู้เขียนนึกถึงตอนที่ผู้เขียนเริ่มเรียนวิชากฎหมายในปีแรกๆ ของการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาจารย์คนหนึ่งได้พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น นักกฎหมายต้องนั่งลง” ซึ่งหากเปรียบกับการรัฐประหารเป็นเสียงปืนเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นนักกฎหมายก็ต้องนั่งลง

กรณีนี้ก็ไม่มีเหตุใดๆ ที่จะต้องไปตำหนิติเตียนหรือว่ากล่าวนักกฎหมายนั้นๆ หรือเรียกร้องให้พวกเขาเหล่านั้นออกมาดำเนินการต่อต้านการทำรัฐประหารแต่อย่างใดได้เพราะเป็นธรรมดาของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่จะรักชีวิตร่างกายของตน การที่จะไปเรียกร้องให้ทุกคนกระทำการต่อต้านรัฐประหาร เช่น ขับรถไปชนรถถังเพื่อต่อต้านการรัฐประหารเหมือนคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ก็ย่อมเป็นไปได้ยาก


สิ่งที่น่าผิดหวังคือนักกฎหมายของไทยบางกลุ่มเมื่อเสียงปืนดังขึ้นหรือหลังจากที่เสียงปืนได้สงบลงแล้ว นักกฎหมายบางคนบางกลุ่มไม่ได้แค่นั่งลงเฉยๆ แต่กลับเข้าไปนั่งให้ความร่วมมือช่วยเหลือเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร แล้วยังสามารถมากล่าวอ้างว่าเป็นคนที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเต็มปาก


บางคนบางกลุ่มก็เป็นครูบาอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยที่สอนหลักประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ หลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ฯลฯ ซึ่งนักกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ต่างไปจากคนที่เอาดอกไม้ ข้าวปลาอาหาร หรือแต่งชุดยอดมนุษย์ หรือส่งสาวพริตตี้ไปเต้นให้กำลังใจผู้ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่ประการใด เพราะบุคคลเหล่านี้ก็คือกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนรัฐประหารนั่นเอง


กลุ่มนักวิชาการไทยบางกลุ่มโดยเฉพาะนักกฎหมายไทยที่เข้าไปร่วมกับคณะรัฐประหารภายหลังการล้มรัฐบาลสำเร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการตรา หรือร่าง ประกาศคณะรัฐประหาร, ร่างกฎหมาย หรือร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ฯลฯ หรือเข้าไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการ(พิเศษ) ที่คณะรัฐประหารได้จัดตั้งขึ้นมา หรือยอมรับและรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารว่าเป็นการกระทำของ “รัฐาธิปัตย์” โดยไม่มีปากเสียง ไม่ว่าจะเป็นด้วยข้ออ้างประการใดก็ตามการกระทำทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นการสนับสนุนการทำรัฐประหารและเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ซึ่งพฤติกรรมของนักกฎหมายไทยบางกลุ่มในลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นประจำซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยถือเป็นเรื่องปกติ

หลายครั้งหลายคราที่เกิดการรัฐประหารและนักกฎหมายเข้าไปสนับสนุนให้การรัฐประหารนั้นดำเนินไปได้ด้วยดีโดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา

เหตุผลประการหนึ่งคือ “ถ้าตนไม่เข้าไปดำเนินการต่างๆ ดังกล่าว ก็จะส่งผลให้เสียให้เกิดความเสียหายหรืออาจจะเกิดความวุ่นวายต่อประเทศชาติบ้านเมืองได้” ซึ่งเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง เพราะกรณีที่น่าพิจารณาคือถ้าคณะรัฐประหารไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักกฎหมายในการเข้าไปเป็นเครื่องมือให้กับคณะรัฐประหาร ผลเสียจากการทำรัฐประหารก็คงจะมีความชัดเจนมากขึ้น และประชาชนชาวไทย คงได้เห็นข้อเสียของการทำรัฐประหารชัดเจนมากขึ้น และไม่เกิดความเคยชินกับรัฐประหาร และเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเพราะตนไม่ได้มีความเดือดร้อนอะไรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ


ปัญหาที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมาคือปัญหาเกี่ยวกับผลในทางกฎหมายของการทำรัฐประหารที่เกิดนั้นว่าจะมีผลในทางกฏหมายอย่างไร?

นักกฎหมายไทยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการทำรัฐประหาร หรือวิธีการดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ทำรัฐประหารโดยวิธีการทางกฎหมายภายหลังการทำรัฐประหารอย่างไร? ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการทำรัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทยคือการที่ไม่มีผลในทางกฎหมายใดๆ เกิดขึ้นกับคณะรัฐประหารเลย ด้วยเหตุผลที่ว่าคณะรัฐประหารได้ออกกฎหมายซึ่งมานิรโทษกรรมการกระทำของตนเองเพื่อไม่ให้ตนเองได้รับผลในทางกฎหมายที่จะตามมาจากการล้มล้างรัฐบาลนั่นเอง


เมื่อได้นิรโทษกรรมการกระทำของตนไปแล้วทุกอย่างก็จบสิ้นลงไม่มีใครหยิบยกกล่าวโทษหรือเอาผิดกับการทำรัฐประหารได้อีก นักกฎหมายที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่างก็ยินยอมน้อมรับคำสั่ง ประกาศ ฯลฯ ของคณะรัฐประหารโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ความเคยชินในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยวิธีการแบบนักการเมืองหรือ กลุ่มรัฐประหาร ที่ “ชอบ” นิรโทษกรรม เห็นได้ชัดเจนจากปรากฏการณ์ในปัจจุบันที่มีการเสนอแนะให้มีการ “นิรโทษกรรม” การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นการเพิ่มความเคยชินและสร้างความเป็นธรรมดาของ

หรือกล่าวอีกประการหนึ่งคือการลดความร้ายแรงของเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นให้เป็นเรื่องปกติ ทำนองว่าหลับหูหลับตากวาดขยะไว้ใต้พรมแล้วหลอกตัวเองว่าไม่มีขยะอยู่แล้ว พร้อมกันนั้นก็ปิดกั้นการพิสูจน์ความจริงที่จะเป็นบทเรียนของคนไทยทุกคน


มุมมองในทางกฎหมายต่อปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น ชาวตุรกีได้มีวิธีการทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนชาวตุรกีได้แสดงให้เห็นถึงทางเลือกหนึ่งในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ประชาชนชาวตุรกีได้ลงประชามติเห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่


ซึ่งก็มีประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่ประชาชนหรือพรรคการเมืองในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ประสบปัญหาการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าแบบซ้ำซาก และเป็นวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทยมาตลอดเวลา คือ ประชาชนเลือกตั้ง-รัฐบาลบริหารประเทศ-บุคคลบางกลุ่มเข้ามาทำรัฐประหารล้มรัฐบาล-ล้มรัฐธรรมนูญ-นิรโทษกรรมตัวเอง-ออกรัฐธรรมนูญใหม่(หรือชั่วคราว)-จัดการเลือกตั้งใหม่-ประชาชนเลือกตั้ง.....เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไปเป็นวัฏสงสาร วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีทางได้หลุดพ้นไปจากวงจรอุบาทว์ดังกล่าวได้


ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการลงประชามติของชาวตุรกีที่ได้กล่าวถึงข้างต้นถือกันว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของประเทศตุรกีที่ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมยุโรป และแสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตยของประเทศตุรกี ในการลงประชามติเห็นด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของชาวตุรกีนั้นมีหลายประเด็นด้วยกัน ทั้งนี้โดยมีประเด็นที่สำคัญๆ คือ


1. การจำกัดอำนาจของอำนาจศาลทหาร ในส่วนของการพิจารณาคดีพลเรือนเช่นในกรณีข้อกล่าวหาว่ากระทำการอันเป็นผลกระทบต่อความมั่นคง และนอกจากนั้นยังให้อำนาจศาลพลเรือนในการพิจารณาคดีกองทัพในกรณีที่มีข้อสงสัยว่ากองทัพจะทำการล้มรัฐบาล


2. การปฏิรูปคณะกรรมการสูงสุดของผู้พิพากษาและอัยการ เดิมคณะกรรมการดังกล่าวซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาและอัยการ โดยประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 5 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีโดยแต่งตั้งจากบัญชีรายชื่อที่เสนอโดยศาลสูง ผลจากการปฏิรูปคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยสมาชิกทั้งสิ้น 21 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และการเลือกตั้งโดยผู้พิพากษาและอัยการทั้งประเทศ


3. การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเพิ่มขึ้น จากเดิม 10 คน เป็น 19 คน ที่มาจากเดิมมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีโดยบัญชีเสนอจากศาล และดำรงตำแหน่งจนถึงเกษียณอายุ เปลี่ยนมาเป็นสภาแต่งตั้ง 3 คน และที่เหลือประธานาธิบดีแต่งตั้งโดยเลือกจากบัญชีที่เสนอจากสภาทนายความ จากสภาสูงการศึกษา และศาล โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 12 ปี


4. การปฏิรูปการปิดพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาปิดพรรคการเมืองได้ก็แต่โดยมีเหตุว่าพรรคการเมืองนั้นเรียกร้องให้มีการใช้กำลัง ไม่ใช่โดยเหตุว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


5. การคุ้มครองข้อมูล มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความเข้มข้นมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น


6. สิทธิสตรี และสิทธิสำหรับกลุ่มพลเมืองที่มีความอ่อนแอให้มากขึ้น โดยเพิ่มสิทธิสตรี, คนพิการ, ลูกจ้าง และสหภาพแรงงาน


7. การปฏิรูปสภาทหารสูงสุด ในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งในการปลด โดยให้สามารถร้องขอให้ทบทวนคำสั่งปลดดังกล่าวได้


8. ความรับผิดทางอาญาของสมาชิกของคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญเดิมสมาชิกของคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้รับความคุ้มครองโดยไม่ให้ได้รับการดำเนินการทางอาญา นั่นหมายถึงบรรดานายพลทั้งหลายที่ทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 (ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลในขณะนั้น) จะถูกแตะต้องและถูกดำเนินคดีไม่ได้ แต่ด้วยผลของการลงประชามติครั้งนี้ ความคุ้มครองดังกล่าวจะถูกลบล้างไป และบรรดานายพลทั้งหลายสามารถถูกดำเนินคดีในศาลได้


9. ให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อรับผิดชอบคำร้องทุกของประชาชน และดำเนินแก้ไขปัญหาโดยวิธีการที่ไม่ใช่การดำเนินคดีทางศาล


จากเนื้อหาสาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศตุรกีดังกล่าวข้างต้น นานาประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประชาคมยุโรปต่างก็ออกมาแสดงความเห็นยอมรับและชมเชย ถึงการลงประชามติดังกล่าวของชาวตุรกีโดยเห็นว่าเป็นการก้าวสู่สังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง แม้ว่าเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็มีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการจับกุมกลุ่มนายทหารโดยข้อหาว่าเตรียมการล้มล้างรัฐบาล ก็ตามที

และนอกจากนั้นการที่รัฐบาลของนาย Erdogan ได้กำหนดเลือกเอาวันที่ 12 กันยายน 2553 เป็นวันลงประชามติในครั้งนี้นั้นเป็นการที่มีเจตนาประสงค์ที่จะให้การลงประชามติดังกล่าวเกิดขึ้นในวันครบรอบ 30 ปี ของการเกิดการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 นั่นเอง


ผลของการลงมติของชาวตุรกีที่ได้ยกเลิกการนิรโทษกรรมของคณะรัฐประหารดังกล่าวข้างต้นนั้น ส่งผลให้ภายหลังจากรับทราบผลของการลงประชามติ ก็ปรากฏว่ามีประชาชนชาวตุรกีบางส่วนได้เริ่มเข้าแจ้งความเพื่อให้ดำเนินคดีอาญาต่อคณะรัฐประหารเมื่อ 30 ปีก่อนโดยทันทีแล้วเช่นกัน


วิธีการในการจัดการกับคณะรัฐประหารของชาวตุรกีที่ได้ใช้วิถีทางประชาธิปไตยและวิธีการในทางกฎหมายในการดำเนินการกับคณะรัฐประหารดังกล่าว เป็นวิธีการที่น่ายกย่องชมเชยและถือเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะว่าได้แสดงให้เห็นว่าการทำรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลนั้นผู้กระทำย่อมจะได้รับผลร้ายตามกฎหมาย

แม้ว่าเหตุการณ์จะพ้นมาแล้ว 30 ปี และมีการออกรัฐธรรมนูญออกมานิรโทษกรรมการทำรัฐประหาร แต่ระยะเวลาที่ยาวนานและการนิรโทษกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้การกระทำของคณะรัฐประหารในปี ค.ศ. 1980 เป็นสิ่งที่มีความถูกต้องชอบธรรมขึ้นมาแต่ประการใด


ดังนั้นการให้มีการยกเลิกการให้ความคุ้มครองโทษทางอาญาต่อคณะรัฐประหารดังกล่าวย่อมเป็นหนทางหรือวิธีการหนึ่งในการดำเนินการต่อการรัฐประหารที่เกิดขึ้น

หากบางประเทศที่มีการทำรัฐประหารบ่อยๆ และจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำแนวความคิดนี้ไปดำเนินการบ้างก็ย่อมจะดีไม่น้อย เพราะจะได้แสดงให้เห็นถึงความคงอยู่ของระบอบประชาธิปไตย การคงอยู่ของอำนาจอธิปไตยตามวิถีประชาธิปไตยที่แท้จริงของประเทศนั้นๆ

เพราะเมื่ออำนาจอธิปไตยกลับมาอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริงแล้ว ประชาชนผู้ทรงอำนาจดังกล่าวย่อมสามารถตัดสินและดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ ประเทศไหนที่อยากจะนำเอาแนวความคิดดังกล่าวของชาวตุรกีไปใช้บ้าง คิดว่าชาวตุรกีคงไม่สงวนวิธีการดังกล่าวแต่ประการใด

-----------------
( บทความทางวิชาการจาก เว๊บไซต์ www.pub-law.net 27 กันยายน 2553 )

"เมื่อเป็น 'ผู้บริสุทธิ์' ก็ต้องไม่มีมลทิน ความผิด ตั้งแต่ต้น แล้วจะนิรโทษกรรมให้ใคร ทำไม อย่างไร ไม่ทราบ?" : เหล็กใน

by Generalhero on 2010-09-28 - 09:57 am
Ref: ข่าวสดรายวัน คอลัมภ์ บริสุทธิ์ โดย เหล็กใน
(update วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7243 หน้า 6)

จาก อัลบั้ม ข่าวสดออนไลน์

กระบวนการนิรโทษกรรมขับเคลื่อนโดยเนวิน ชิดชอบ ครูใหญ่พรรคภูมิใจไทย

กับกระบวนการปรองดอง ผลักดันโดยเสธ.หนั่น กุนซือใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา

ซึ่งกำลังคึกคัก โครมคราม ต่างก็เน้นจุดขายประเด็นเดียวกัน

ช่วยเหลือ 'ผู้บริสุทธิ์' ให้พ้นมลทิน ความผิด

ผู้บริสุทธิ์?

นักการเมืองใหญ่ระดับชี้เป็น ชี้ตายรัฐบาล ออกมาเคลื่อนไหวเต็มตัวขนาดนี้

ย่อมยืนยันข้อเท็จจริงที่ว่า มีผู้บริสุทธิ์ถูกจับกุม คุมขัง จากการชุมนุมทางการเมืองช่วงที่ผ่านมา

ในเมื่อเป็น 'ผู้บริสุทธิ์' ถูกละเมิด ได้อย่างไร?

และในเมื่อเป็น 'ผู้บริสุทธิ์' ก็ต้องไม่มีมลทิน ความผิด มาตั้งแต่ต้น

แล้วจะนิรโทษกรรมให้ใคร ทำไม อย่างไร ไม่ทราบ?


เพราะนิรโทษกรรม ความหมายมันชัดเจน คือได้กระทำความผิดสำเร็จ เสร็จสิ้นแล้ว แต่ได้รับยกเว้นโทษ ไม่ถูกลงโทษ ถ้ายอมรับนิรโทษกรรม ก็เท่ากับยอมรับความผิด!

นำมาสู่คำถามข้อต่อไป ในเมื่อไม่ได้กระทำผิดแต่ถูกละเมิด จับกุม คุมขัง แล้วอยู่ๆบอกปรองดองกันดีกว่า

มันเอาเปรียบ เหยียบย่ำ ซ้ำเติมกันเกินไป!! ทั้งๆที่สิ่งที่ 'ผู้บริสุทธิ์' ควรจะได้รับโดยเร็วที่สุด ก็คือ การช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชย ควบคู่กับดูแลขบวนการต่อสู้กับความอยุติธรรม ความไม่เป็นธรรมที่ได้รับ ภายใต้ข้อเท็จจริง ไม่มีมลทิน ความผิด มาตั้งแต่ต้น

บุคคลใด หน่วยงานไหน กระทำกับ 'ผู้บริสุทธิ์' ต้องเอาผิด และลงโทษ อย่างตรงไปตรงมา ยิ่งถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ กระทำผิดเสียเอง ยิ่งต้องเอาผิด และลงโทษสถานหนัก

บุคคลพิเศษระดับ เนวิน เสธ.หนั่น หรือพรรคการเมืองระดับ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา หากจริงจัง จริงใจ อยากช่วยเหลือจริงๆ ด้วยปัญญา ความสามารถ ศักยภาพ ช่วยได้อยู่แล้ว

เพียงแต่ไม่ใช่ นิรโทษกรรม ให้ 'ผู้บริสุทธิ์' หรือเรียกร้อง 'ผู้บริสุทธิ์' ปรองดอง กับผู้กระทำละเมิดพวกเขา

สิ่งควรทำก็คือ ช่วย 'ผู้บริสุทธิ์' ต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม อยุติธรรม ต่อสู้กับบุคคล หน่วยงาน ที่จับกุม คุมขัง 'ผู้บริสุทธิ์' นำตัวมาลงโทษ!?

วันอาทิตย์สีแดง@อุดรธานีเมืองหลวงคนเสื้อแดง&ราชประสงค์ กรุงเทพฯ

by Generalhero on 2010-09-27 - 04:31 pm
Ref: ขอบคุณภาพจาก: ไทยอีนิวส์

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

จาก อัลบั้มภาพThai E news

ผ่าสมอง"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนกับ "ความขัดแย้ง": รัฐประหาร เจ้าพ่อ และความตายของคนชายขอบ

by Generalhero on 2010-09-27 - 03:28 pm
Ref: มติชนออนไลน์ update วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 11:40:54 น.

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์
ผ่าสมอง"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนกับ "ความขัดแย้ง": รัฐประหาร เจ้าพ่อ และความตายของคนชายขอบ

เมื่อวันที่ 22 กันยายน เวลา 9.00 น. นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาทางวิชาการ "รัฐไทยกับการจัดการความขัดแย้ง" เป็นส่วนหนึ่งของการสอบปลายภาควิชา "รัฐและสังคม" ดำเนินการสอนโดยอ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อ.ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยในการเสวนาเป็นการนำเสนอรายงานจากตัวแทนของกลุ่มในประเด็นปัญหาต่างๆได้แก่

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

"การแก้ไขความขัดแย้งของรัฐไทย: รัฐประหาร 19 กันยายน ในฐานะการจัดการความขัดแย้ง" โดยภัทรนันท์ ลิ้มอุดมพร

นายภัทรนันท์ กล่าวตอนหนึ่งในการรายงานว่า กลุ่มของตนเลือกประเด็นเรื่องรัฐประหาร 19 กันยายน เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาที่ต้องอยู่กับมันตลอดชีวิตเหมือนเป็นเรื่องที่ตามหลอกหลอนคนรุ่นนี้ไปซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิดแม้ว่าข้ออ้างของคนที่สนับสนุนให้ทำรัฐประหารคือ การชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 20 กันยายนจะมีการนองเลือด อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคิดว่าการนองเลือดอาจเป็นเรื่องที่ปล่อยให้เป็นไปบ้าง เพราะจุดแตกหักนี้จะทำให้การเมื่องไทยเปลี่ยนผ่าน ไม่ใช่การทำรัฐประหาร ประเด็นสำคัญคือเราไม่ปล่อยให้สังคมไทยมีจุดแตกหัก ยังคงแก้ไขในระบบวิถีเดิมๆ เพียงเพราะเรากลัวเลือด

มิเชล ฟูโก้ (Michel Foucault) เชื่อว่าการรัฐประหารเป็นการแสดงตัวตนของรัฐ คือรัฐมองเห็นความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น ซึ่งความไม่ปลอดภัยของรัฐคือ "เสรีนิยมประชาธิปไตย" ที่มีมาตั้งแต่ 2540 และความขัดแย้งที่นำมาสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน คือความขัดแย้งระหว่าง เสรีนิยมประชาธิปไตย กับ รัฐนิยม ตรงนี้เหมือนกการถกเถียงว่าเราต้องมีรัฐหรือไม่มีรัฐอย่างกลายๆ

มีข้อถกเถียงของนักวิชาการว่าประเทศไทยเป็น "ครอบครัวแบบจินตกรรม" คือวันนี้เราต้องไม่มาเถียงกัน รักกัน วิธีการแก้ไขปัญหาของครอบครัวเป็นแบบนี้ การแก้ไขปัญหาของเราจึงเป็นการแก้ไขปัญหาแบบครอบครัวทำให้ประชาธิปไตยของเราไม่เดินไปไหน เพราะคิดว่าเป็นพี่น้องกัน

สุดท้ายความขัดแย้งทั้ง 2 ระบบคือ ความเชื่อเรื่องรัฐ กับ เรื่องประชาธิปไตย โดยรายงานฉบับนี้ฟันธงว่า ถ้าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงแล้วพลเมืองไม่ได้รับการศึกษาที่ดีพอ ที่สุดแล้วประชาชนก็จะเหมือนเด็กทะเลาะกัน และจะนำไปสู่สงครามกลางเมือง ซึ่งเป็นคำถามว่าเราอยากได้สภาพแบบนั้นหรือไม่หลังการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์

"ปัญหาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น" โดย นางสาวณัฎฐา ทั้วสุภาพ

ณัฎฐา ทั้วสุภาพ นำเสนอรายงานโดยมองว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ โครงสร้างของรัฐเอง โดยรัฐไทยถูกกำหนดเป็นรัฐเดี่ยว ทำให้เรามองเห็นปัญหาเจ้าพ่อ ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่เกิดขึ้น การที่ประเทศไทยมีเจ้าพ่อส่งผลให้รัฐไทยไม่สามารถทำงานได้ดี ไม่สามารถจัดสรรผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนระดับล่างได้จริง ทำให้ประชาชนในระดับท้องถิ่นไปพึ่งพาผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัญหาที่ฝังรากในวัฒนธรรมทางการเมือง รวมถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในไทยมานาน โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของไทยเป็นโครงสร้างระบบศักดินามาตั้งแต่สมัยก่อน

วัฒนธรรมอุปถัมภ์เป็นสิ่งที่ปูพื้นทางสังคมไทย พอเกิดรัฐสมัยใหม่ขึ้น หน้าที่ของรัฐสมัยใหม่ก็ต้องสามารถจัดสรรผลประโยชน์ ดูแลทุกข์สุขประชาชนได้ แต่เจ้าพ่อทำให้รัฐไทยไม่สามารถควบคุมความรุนแรงเหนือดินแดนของไทยได้

ยิ่งเมื่อมีรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เน้นเรื่องกระจายอำนาจมากขึ้น โครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบเดิมของผู้มีอิทธิพลแบบเก่าไม่เชื่อมต่อกับรัฐส่วนบนก็แปรสภาพเปลี่ยนตัวเองจากที่เคยเป็นผู้นำมีอิทธิพลกันอยู่ในชุมชนตัวเองก็ลามเป็นระดับชาติเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่นในยุคของคุณทักษิณ มีการส่งตัวแทนพรรคลงเล่นการเมืองท้องถิ่น มันไม่ได้เป็นการโยงใยอำนาจท้องถิ่นขึ้นไปถึงในระดับชาติ เครือข่ายอิทธิพลก็ผันตัวเองไปจนเข้มแข็ง และเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กันเอง ในรัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ไม่สามารถจัดการได้เพราะมีการถ่วงดุลกันของกลุ่มผู้มีอิทธิพลแต่เดิมที่ขยายตัวขึ้น

โดยสรุปคือการที่มีเจ้าพ่อทำให้รัฐไทยที่มีหลักว่าเป็นรัฐเดี่ยว ทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะกลไกของรัฐไม่ว่าจะเป็นทหารหรือตำรวจไม่สามารถจัดการความัขัดแย้งหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้และการที่รัฐไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทำให้เกิดผู้มีอิทธิพลขึ้นอีก แต่ถ้าหากจัดสรรผลประโยชน์หรือตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดีปัญหาของผู้มีอิทธิพลก็จะลดน้อยลง


"เปิดม่านความขัดแย้งกับคนตายที่ชายขอบ" โดย นายสิทธิพล พาเจริญ

สิทธิพล เป็นตัวแทนกลุ่มเสนอรายงาน โดยกล่าวว่า เมื่อรัฐกับสังคมเกิดความขัดแย้งขึ้น ความขัดแย้งเป็นความขัดแย้งที่ไม่สมมาตร ความขัดแย้งจึงผูกกับความรุนแรง และเป็นความรุนแรงระหว่างเมืองกับชายขอบรวมถึงรัฐกับคนชายขอบด้วย ซึ่งรัฐบอกว่าคนชายขอบเป็นปัญหา เป็นอสูรกายแต่ไม่เคยพูดว่าอสูรกายเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มองแค่ว่านี่เป็นปัญหา นี่ไม่ใช่คน ฆ่าทิ้งได้ เพราะเป็นภาระของเรา ซึ่งการนิยามแบบไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่เข้าใจความขัดแย้งเมื่อคนออกมาเรียกร้อง ทุกข้อขัดแย้งมักมีสารที่คนต้องการสื่อว่ามันมีอะไรในความขัดแย้งเบื้องหลังอยู่ แต่การที่มีม่านมาบังทำให้ไม่เข้าใจว่าการที่มาเรียกร้องคืออะไร

เมื่อนิยามว่าเป็นอสูรกาย ทำให้เกิดกลัวว่าเขาจะมาเอาอะไรไป ซึ่งบางเรื่องสังคมและรัฐก็ให้ได้ แต่ในบางเรื่องก็ทำให้เกิดความกลัว โดยสิ่งที่รัฐกลัวที่สุดคือความมั่นคงปลอดภัยเพราะรัฐต้องประกันความมั่นคงให้คนในสังคม และเมื่อรัฐเห็นว่าเกิดสิ่งที่ไม่มั่นคงก็ต้องลงไปจัดการ รัฐก็อาศัยการฝ่าฝืนกฎหมายแบบเสรีนิยม รัฐจึงสร้างความกลัวเพื่ออาศัยความกลัวให้คนในสังคมให้ความชอบธรรมกับรัฐใช้ความรุนแรงจัดการได้

สังคมไทยคิดว่า "แตกต่างได้ แต่อย่าแตกแยก" แต่ที่จริงสังคมไทยเป็นสังคมจารีตที่กลัวความแตกต่าง สิ่งที่สะท้อนได้ดีที่สุดคือ ความเชื่อเรื่องผี อย่างในสังคมอังกฤษยุคโบราณที่กลัว แดร็กคูล่าหรือแฟรงค์เกนสไตน์ ซึ่งเป็นผีที่แสดงความแตกต่างผิดแปลกไปจากสังคม กินอาหารที่คนไม่กิน สิ่งที่คนเรียนรู้คือ ถ้าไม่ฆ่าก็จะถูกผีเหล่านั้นฆ่า แต่ไม่เคยรับรู้เลยว่า เพราะเราเองไม่ใช่หรือที่ไปสร้างแฟรงค์เกนสไตน์ขึ้นมามันจึงมาฆ่าเรา สังคมไทยไม่ยอมรับความแตกต่างเพราะเชื่อว่าความแตกต่างผิดบรรทัดฐานจึงนำความแตกแยกแต่ในยุคหลังเริ่มยอมรับได้บ้างแล้วอย่างเรื่องเพศ

รัฐใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นรัฐรวมศูนย์ซึ่งความเป็นเอกภาพได้ละเลยความแตกต่างซึ่งเป็นฐานคิดเดิมในรัฐแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปเมื่อเกิดความเป็นเอกภาพภายในรัฐเดียวขึ้นจึงส่งผลถึงความขัดแย้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ที่แบ่งได้เป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ การสร้างรัฐชาติ การพัฒนารัฐสมัยใหม่ และสังคมยุคโลกาภิวัตน์ การสร้างรัฐชาติเกิดความช่วงชิงความเป็นชาติในหลายฝ่ายที่ซับซ้อน ความเป็นชาติของรัฐไทยที่สร้างขึ้นมาเป็นเอกภาพซึ่งทำให้เป็นภาพเดียว มีหลายคนตกภาพนั้นไป

ส่วนด้านสังคมรัฐสมัยใหม่ก็ควบคุมสังคม อย่างบอกว่า ในสังคมต้องมีเพศวิถีอย่างไร ต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะมีสุขภาวะ ด้านวัฒนธรรมว่าคุณเป็นคนไทยก็ควบคุมความคิดว่าถ้าเป็นคนไทยก็ต้องปฎิบัติตัวอย่างไร การรวมศูนย์โดยไม่เห็นความแตกต่างทำเห็นเกิดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาจากข้างล่าง

ส่วนประเด็นเรื่องโลกาภิวัตน์เห็นได้ว่ามีทั้งผลดีและไม่ดี รัฐสามารถคุมสื่อได้ บล็อกเว็บที่ไม่อยากให้คนเข้าได้ แต่อีกทางหนึ่งคนก็สามารถเริ่มเห็นสื่อใหม่ๆ คนเริ่มตระหนักและสำนึก เพราะเกิดวัฒนธรรมที่แพร่หลายไม่สามารถยึดโยงกับรัฐได้อีกต่อไป คนก็เลยติดกับท้องถิ่น เมื่อติดกับท้องถิ่น เขาจึงมีความทรงจำที่ขัดกันแล้วตัวเขาควรจะเชื่ออย่างไร ทำให้เกิดความไขว้เขวทางอัตลักษณ์

จุดที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งคือ ความขัดแย้งของอัตลักษณ์ คนที่อัตลักษณ์เดี่ยวอ้างอิงความเป็นตัวตนกับรัฐ เมื่อคนไม่สามารถอ้างอิงได้ก็เกิดความแปลกแยกเกิดความเป็นอื่นจึงเกิดความขัดแย้งเชิงประจักษ์ที่เห็นได้อย่างการแสดงออกด้วยการประท้วงฆ่าตัวตาย หรือก่อการร้าย

จาก อัลบั้มมติชน ออนไลน์
Ref: มติชนออนไลน์ (updateวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 09:20:39 น.)

ผ่าสมอง"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนกับ "ความขัดแย้ง"(2): รัฐไทยกับรัฐศาสตร์ การตลาด และชายแดนใต้

หลังจากตอนที่แล้วได้นำเสนอรายงานของนิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เหล่า"สิงห์ดำ"ออกมานำเสนอในการเสวนาทางวิชาการ "รัฐไทยกับการจัดการความขัดแย้ง" อันเป็นส่วนหนึ่งของการสอบปลายภาควิชา "รัฐและสังคม" เมื่อวันที่ 22 กันยายน เวลา 9.00 น. ไปเรียบร้อยแล้ว ลองมาดูความเข้มข้นทางความคิดของ"สิงห์ดำ"วัยละอ่อนในประเด็นเรื่องความขัดแย้งกันต่อ


ช่วงที่ 2 ของการสัมนาเริ่มด้วยการเสนอรายงานเรื่อง "รัฐไทยกับความขัดแย้ง: รัฐศาสตร์ บริบทเชิงโครงสร้างทางวัฒนธรรมและกรณีศึกษาเชิงประจักษ์"

โดยนายฤชากร ไตรรัตนานุสรณ์ ตัวแทนของกลุ่มกล่าวว่า ปัญหาทางการเมืองของไทยเกิดจากความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่มีปัญหา เนื่องจากเราไม่ทบทวนความรู้ของเราแบบเพียงพอ แต่ไปนำเอาเทคโนโลยีทางรัฐศาสตร์ของตะวันตกมาใช้โดยที่ขาดการศึกษาความเป็นมาเรื่องประวัติศาสตร์และความคิดทางการเมือง เพราะเราไม่พยายามเข้าใจรากเหง้าของปัญหา ซึ่งแตกต่างจากตะวันตกที่พยายามหาจุดเริ่มต้นและนำมาสู่ปัจจุบัน สุดท้ายแล้วความรู้ทางรัฐศาสตร์ของไทยก็เหมือนไปลอกเลียนแบบจากตะวันตก

ปัญหาที่สำคัญอีกเรื่องคือ การศึกษารัฐศาสตร์ในแง่การสร้างพลเมือง ไม่มีความชัดเจนนอกจากต้องการเพียงแค่สร้างแรงงานในระบบตลาดมากกว่าสร้างคนที่มีจิตสำนึก โครงสร้างเชิงวัฒนธรรมของสังคมไทยก็มีปัญหาเช่น วัฒนธรรมอุปถัมภ์ ทำกิจกรรมที่ไม่มีความคิดริเริ่ม แต่มักทำตามระบบมากกว่า

นอกจากนี้ รัฐศาสตร์ไทยยังขาดจิตวิญญาณ จึงอยากให้ทบทวนปรัชญาทางการเมืองและบริบททางประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งไทยได้รับอิทธิพลมาจากสหรัฐแต่เวลาที่เราเอาใช้กลับลืมบริบทและปรัชญาในความเป็นตัวเราไปทำให้ขาดพลัง ปัญหาหลักก็คือ เมื่อองค์ความรู้มีปัญหาจึงเกิดการแบ่งชิงพื้นที่ความรู้ อุดมการณ์ อย่างเช่นความคิดเรื่อง "รัฐประหารเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ และเป็นประชาธิปไตยแบบไหน" ซึ่งควรมีคำอธิบายที่ลึกกว่าประโยคแค่ "รัฐประหารเป็นการฉีกธรรมนูญและทำลายประชาธิปไตย"

ทั้งนี้ จึงต้องการเสนอในเชิงทฤษฎีว่า ที่ผ่านมานิยามคำว่า "รัฐ" กับ "สังคม" ยังไม่สามารถตอบคำถามได้ อยากให้เปลี่ยนหน่วยการวิเคราะห์มาเป็น "มนุษย์" โดยหลักแล้วมนุษย์เมื่อไม่มีรัฐก็รวมตัวเป็นสังคมอยู่แล้ว ตามวามคิดของนักคิดแนวสัญญาประชาคม รัฐเป็นกลไกที่ตอบสนองสังคมเอง รัฐเป็นเครื่องมือของการจัดการ จึงเกิดนิยามต่อมาคือ รัฐเป็นสนามพลัง เข้าปะทะสังสรรค์ในการแสดงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ

ในขณะที่ปัญหาทางการเมืองของเราคือ ความเหลื่อมล้ำ, เทคโนโลยีทางรัฐศาสตร์ไทย และการให้นิยามคำว่าประชาธิปไตย ที่ทุกคนต่างให้คำนิยามเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ซึ่งสังคมไทยกลายเป็น "สังคมไพร่สมัยใหม่" คนที่มีอำนาจยังคงอยู่ เพราะคนจะเป็นใหญ่ได้ก็ต้องพึ่งพาเสียงเลือกตั้ง

ส่วนเรื่อง "เหลือง-แดง" นั้นมองว่าทั้ง 2 ขบวนการมีตรรกะร่วมกันคือ เคลื่อนไหวเพื่อกดดันรัฐบาล เลียนแบบ 14 ตุลา โดยใช้พลังประชาชนขับไล่ แต่คำถามก็คือ มีวิธีการอื่นหรือไม่ ที่ไม่ต้องแสดงพลังด้วยการชุมนุม 2 กลุ่มก็มีอุดมการณ์ความเชื่อของตัวเอง และอุดมการณ์ของทั้ง 2 ฝ่ายต่างเป็นมาตรวัดของตัวเอง ไม่รับฟังกัน และไม่มีมาตรวัดมาตรฐาน จึงกลายเป็นสภาพ "สำเร็จเป็นเจ้า ปราชัยเป็นโจร" คนที่ต่างอุดมการณ์ ความเชื่อ และปัจจัยส่วนตัวก็โดนผลักให้ไปสู่ฝ่ายตรงข้าม จึงเกิดคำถามว่า ที่ทางของคนที่ไม่ใช่เหลืองและแดงจะอยู่ที่ตรงไหน

แนวทางแก้ไขที่จะเสนอคือ ให้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ทบทวนหลักสูตร โดยไม่จำเป็นต้องสร้างแรงงานตลาดให้มากนัก, ทบทวนรัฐศาสตร์ไทย ไม่ให้มีการช่วงชิงอุดมการณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง สุดท้ายคือ ในเบื้องต้นต้องร่วมกันเห็นโลงศพแล้วหลั่งน้ำตา เข้ามาร่วมคุยกัน ทุกภาคส่วนไม่ควรตั้งแค่คณะกรรมการปฎิรูป แต่ต้องเสื้อเหลือง แดง ทหาร และทุกฝ่ายมาคุยกัน ทบทวนย้อนหลังว่าสิ่งที่ผ่านมาถูกหรือผิดอย่างที่เกาหลีใต้ทำเพื่อสร้างบรรทัดฐานอย่างแท้จริง คือ ต้องจำแต่ให้อภัย


"การตลาด กับการจัดการความขัดแย้งในรัฐไทย"

นายนพพล ผลอำนวย เป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนอโดยตั้งคำถามหลักในรายงานเรื่องนี้ว่า "ทำไมรัฐไทยแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้ หรือ ที่ผ่านมารัฐไทยไม่ได้แก้เลย ?" ที่ผ่านมารัฐไทยมีตรรกะการแก้ปัญหาไม่กี่อย่าง เมื่อมีปัญหาขึ้น ก็มักตั้งคณะกรรมการขึ้น

ซึ่งรัฐไทยมักใช้ "การตลาด" เป็นเครื่องมือทำให้เชื่อว่ามีการจัดการกับความขัดแย้งโดยรัฐไทยจัดการความขัดแย้งด้วยการสร้างความขัดแย้งที่ควบคุมได้ขึ้น อย่างเช่น การตัดถนนที่เขาใหญ่ เราเห็นภาพความขัดแย้งของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) แต่จริงๆแล้วอาจเห็นความขัดแย้งของราชการกันเองด้วยก็ได้ ไม่ใช่แค่ความขัดแย้งของกระทรวงคมนาคมกับเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้ และ ความขัดแย้งระหว่างมาร์ควี 11 กับ มาร์ค ราบ 11รัฐไทยสร้างความขัดแย้งของมาร์ควี 11 เพื่อจัดการกับความขัดแย้งในอีกด้านหนึ่ง

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้ถูกลืมไปเฉยๆ เหมือนกับไม่เคยเกิดขึ้นโดยใช้ความบันเทิง อย่างเช่น หลังเหตุการณ์ราชประสงค์ ก็เห็นมิวสิควีดีโอที่มีเนื้อหาว่าให้ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วสร้างอนาคตขึ้นใหม่ เกิดคำถามว่าภายใต้ความหลงลืมนี้รัฐไทยดำเนินการอะไรจริงหรือไม่ คนไทยอาจเห็นภาพแต่ลืมคิด

รัฐไทยใช้รัฐธรรมนูญแบบวัฒนธรรม ใช้จารีตจัดการกับความขัดแย้งเยอะ อย่างเช่น กรณีเอาปาล์มมาปักสร้างฮวงจุ้ย ก็เห็นภาพว่าต่อไปจะไม่มีความขัดแย้ง เชื่อเรื่องบุญกรรม จริงๆแล้วรัฐไทยแก้ได้หรือเปล่าอาจก็ไม่อาจรู้ได้

สรุปแล้ว รัฐไทยทุกวันนี้ตอบคำถามว่า ทำไมรัฐไทยจึงจัดการความขัดแย้งไม่ได้ เพราะ รัฐไทยจัดการกับความขัดแย้งหนึ่ง ก็เกิดอีกความขัดแย้งหนึ่งวนเวียนไปมา แท้จริงแล้วรัฐไทยไม่ได้จัดการความขัดแย้งเพียงแต่ใช้การตลาดในการสร้างภาพให้เห็นภาพว่าจัดการความขัดแย้งแล้วโดยใช้จารีตและวิถีชีวิตของคน

รัฐไทยไม่ทำอะไรนอกจาก "ตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จ หมกเม็ดความจริง กลอกกลิ้ง ตลบแตลง แสดงเหตุผล ยอกย้อนตัวตนของตัวเอง"


"ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้"

ด้าน นายพายุ ปลั่งดี เป็นตัวแทนของกลุ่มมานำเสนอรายงานเรื่องปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ว่า ประเด็นปัญหาของรัฐไทยเกิดขึ้นทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นพร้อมกัน แต่มักหลงลืมประเด็นท้องถิ่นไป ปัจจุบัน ท้องถิ่นถูกผลัก ถูกลืม แต่ไม่ได้ถูกแก้ไข ลืมเคอิโงะ ลืมคนใต้แต่ตนเชื่อว่าปัญหาอาจขึ้นอีก และที่ผ่านมารัฐไทยเพียงเบี่ยงเบนประเด็น ไม่เคยยอมรับความแตกต่างเลย

ต้นเหตุของปัญหาเป็นเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความแปลกแยกคือ ปัญหาความขัดแย้งทางอัตลักษณ์ อย่างเรื่องศาสนา เกิดความไม่ไว้วางใจ เกลียดชังกัน ล้อเลียนกัน อย่างเช่นภาพของผีอิสลามที่เชื่อว่ากลัวหนังหมู, ปัญหาการศึกษาก็มีอิทธิพลต่อการกำหนดชีวิตและความเชื่อ โดยครูมีอิทธิพลมากในการปลูกฝัง และปัญหาการเมืองคือ รัฐบาลไม่ค่อยให้ความสนใจกับประชาชนในพื้นที่มุสลิม เงินหลายแสนล้านบาทถูกนำไปใช้แต่ก็ยังอาจไม่ได้ผล

ทั้งนี้ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อ.คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาคือ รัฐต้องยอมรับความจริงมองประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของทั้งสยามและปัตตานี, ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสังคม, ใช้ประโยชน์จากพลังศาสนาให้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหา, ให้ข้าราชการเกิดความรู้ความเข้าใจทางความแตกต่าง, ต้องเข้าถึงทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม อย่าเลือกปฎิบัติ, ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของทุกฝ่าย เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม ยุติมาตรการความรุนแรงกับประชาชน, ยึดครองพื้นที่ในใจประชาชน สร้างความเชื่อมั่นและไว้ใจ

สรุปแล้ว ทุกวันนี้เรากำลังลืมเหตุการณ์ความรุนแรงของภาคใต้ไป ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหาอาจมาจากอคติในความคิดของเราเอง

วันอาทิตย์, กันยายน 26, 2553

วิกเตอร์ บูท'ร่อนจ.ม.ผ่านคุก แจง'มาร์ค'แก้ 28 ข้อกล่าวหา

by Generalhero on 2010-09-27 - 01:15 pm
Ref: รายงานพิเศษ ข่าวสดรายวัน หน้า 3 (updateวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7242)

'วิกเตอร์ บูท'ร่อนจ.ม.ผ่านคุก แจง'มาร์ค'แก้ 28 ข้อกล่าวหา

ข่าวคราวเกี่ยวกับการส่งตัว นายวิกเตอร์ บูท ผู้ต้องหาค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย แม้จะเงียบหายไปในช่วงนี้

แต่ทั้งตัวนายบูท ทีมทนายความ และนางเอลล่า บูท ภรรยา ยังคงเคลื่อนไหวต่อสู้คดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อยืนยันว่า นายบูทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าอาวุธสงคราม อย่างที่มหาอำนาจสหรัฐกล่าวหา

หลังจากนี้ ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง นายบูทต้องถูกส่งตัวออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ กลับไปดำเนินคดีในสหรัฐภายใน 90 วันตามคำสั่งศาลอุทธรณ์

นับระยะเวลาดูคร่าวๆ ตรงกับเดือนพ.ย.

ถ้ายังจำกันได้ คดีนายบูทนอกจากทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไทยกับรัสเซียตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากแล้ว

การที่ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประ ชาธิปัตย์ หรือ 'วอลเปเปอร์' คนสนิทนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ใช้ขั้นตอนพิเศษเข้าไปสอบปากคำนายบูทในเรือนจำ ยิ่งทำให้ปัญหาขมวดปมยุ่งเหยิงขึ้นไปอีก

ล่าสุดฝ่ายของนายบูท เขียนจดหมายเปิดผนึกภาษาอังกฤษถึงนายกฯ ขณะที่นางเอลล่าได้แนบสำเนาส่งถึงกองบรรณาธิการ 'ข่าวสด' โดยเนื้อหาจดหมายตอบโต้ข้อกล่าวหาต่างๆ แจกแจงเป็นข้อย่อยๆ 28 ข้อ ดังนี้

"ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนายวิกเตอร์ บูท ทั้งหมดนี้สามารถตรวจสอบได้ผ่านข้อมูลสาธารณะ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ"

ตามด้วยคำชี้แจงข้อ 1-24 ยืนยันความบริสุทธิ์ของนายบูท

ระบุว่าข้อกล่าวหาการค้าอาวุธที่เกิดขึ้น ยังไม่เคยได้รับการพิจารณาไต่สวนและพิพากษาให้มีความผิดจากศาล ขณะที่หลักฐานธุรกรรมเกี่ยวกับการเดินทางด้วยเครื่องบินทั้งหมดมีระบุไว้อย่างชัดเจน

มีเพียงศาลของประเทศเบลเยียมเท่านั้นที่เคยดำเนินคดีข้อหาฟอกเงินในปี 2545 แต่ภายหลังยกฟ้องเพราะขาดหลักฐาน เรื่องดังกล่าวแทบไม่เคยปรากฏในสื่อ

ส่วนตำนานลึกลับเกี่ยวกับประวัตินายบูท ภายใต้ฉายา 'พ่อค้าแห่งความตาย' ถูกเสกสรรปั้นแต่งขึ้นในปี 2543-2550 ซึ่งนายบูทขณะนั้นไม่ได้มีความเกี่ยว ข้องใดๆ กับการขนส่งอาวุธทางอากาศ เพราะกำลังยุ่งอยู่กับโครงการก่อสร้างและการเกษตรในรัสเซีย

อีกทั้งนายบูทไม่เคยเดินทางไปทวีปอเมริกาเหนือ หรือทำสัญญาค้าอาวุธกับกลุ่มก่อการร้ายตาลิบัน

จดหมายชี้แจงถึงการจับกุมนายบูทที่กทม.ว่า เป็นการละเมิดกฎหมายหลายข้อของไทย

หมายจับแรกได้รับการอนุมัติเนื่องจากแรงกดดันจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกทม. นำมาซึ่งการรวบตัวนายบูทที่ห้องล็อบบี้ในโรงแรมที่พัก

หลังเดินทางมาถึงนายบูทเดินทางไปยังโรงแรมดังกล่าว พบเพียงเจ้าหน้าที่สหรัฐคนหนึ่งที่แสร้งทำเป็นกบฏโคลัมเบีย กับนายไบรตั้น แอนดรูว์ สมิวเลียน เพื่อนเก่า ซึ่งขณะนั้นเป็นสายของสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐ (ดีอีเอ)

จึงเป็นไปไม่ได้ที่นายบูทจะเคยทำความผิดในไทย

ส่วนข้อ 25 เป็นต้นไปชี้แจงว่า

ทางการรัสเซียทราบเรื่องจากทนายความไทยและรัสเซียของนายบูทราวปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาว่า เมื่อ วันที่ 15 เม.ย. นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางไปพบในเรือนจำ

อ้างตัวเป็นผู้ช่วยพิเศษของนายกรัฐมนตรี

จดหมายเปิดผนึกยังพาดพิงว่า นายศิริโชคต้องการให้นายบูทสารภาพว่ารู้จักและสนิทสนมกับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร แต่นายบูทปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

จดหมายระบุอีกว่า เมื่อพรรคฝ่ายค้านนำเรื่องดังกล่าวขึ้นอภิปรายในการประชุมสภาตั้งแต่ 24 ส.ค. เป็นต้นมา นายศิริโชคได้กล่าวถ้อยคำที่ทำให้นายบูทเสื่อมเสียอย่างรุนแรง โดยเรียกร้องให้ประชาชนชาวไทยอย่าเชื่อคำพูดของนายบูท

อ้างว่านายบูทเป็นพ่อค้าความตาย เป็นพ่อค้าอาวุธรายใหญ่ ระหว่างออกรายการโทรทัศน์โต้เถียงกับนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 7 ก.ย.

ทั้งๆ ที่สถานะของนายบูทเป็นเพียงผู้ต้องสงสัยภายใต้ข้อกล่าวหาจากศาลสหรัฐเท่านั้น

ถ้อยแถลงดังกล่าวจึงถือว่า น่าวิตกอย่างยิ่ง ปราศจาก ความยุติธรรม

จดหมายยังระบุว่า นายศิริโชคเข้าชี้แจงต่อกรรมา ธิการการต่างประเทศเมื่อวันที่ 8 ก.ย. กล่าวหานายบูทโกหกส.ส.ที่เดินทางเข้าไปสอบถามถึงการพบกันระหว่างนายศิริโชคกับนายบูท เพื่อให้ร้ายตัวเขาและทางการสหรัฐว่าไม่ยุติธรรม

นายศิริโชค อธิบายยืดยาวผ่านแผ่นภาพและสไลด์ แสดงรายละเอียดชี้ให้เห็นว่านายบูทเป็นพ่อค้าความตายและขายอาวุธ โดนล่าตัวไปทั่วโลก

จดหมายอ้างอิงการรายงานข่าวของ น.ส.พ.ข่าวสด เมื่อวันที่ 9 ก.ย. นายศิริโชคเชื่อว่าเครื่องบินขนอาวุธ รุ่นไอแอล-76 ของเกาหลีเหนือ ซึ่งถูกยึดไว้ได้เป็นของนายบูท

สวนทางกับรายงานการสืบสวนของตำรวจไทยก่อนหน้าที่ไม่พบความเชื่อมโยงกัน

เช่นเดียวกับถ้อยแถลงของนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันแถลงเมื่อ 17 และ 22 ธ.ค. ปีที่ผ่านมา

หรือราว 5 เดือนก่อนการพบกันในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ระหว่างนายศิริโชคกับนายบูท

เป็นที่น่าสังเกตว่าทำไมนายศิริโชคถึงมีท่าทีรีบร้อนขณะเดินทางไปพบนายบูท เลือกช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ 5 วัน ให้หลังการปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงในวันที่ 10 เม.ย. ซึ่งเป็นช่วงห้ามเยี่ยมผู้ต้องขัง

เหตุผลอาจเป็นเพราะนายศิริโชคไม่ต้องการให้ใครพบเห็นใช่หรือไม่

และยังสรุปเอาเองว่า นายบูทรู้จักมักคุ้นกับพ.ต.ท. ทักษิณ แต่พยายามปกปิด

จดหมายระบุอีกว่า การเข้าชี้แจงกับกรรมาธิการ นายศิริโชคใช้ข้อมูลส่วนใหญ่จากกระทรวงการคลัง สหรัฐ ที่ระบุว่าระงับการทำธุรกรรมการเงินของนายบูทด้วยอำนาจพิเศษแห่งประธานาธิบดีสหรัฐ มาเป็นหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหานายบูท

ซึ่งไม่เหมาะสมเพราะคำสั่งประธานาธิบดี ไม่ใช่คำสั่งศาล

นอกจากนี้ การพยายามสอบถามความเคลื่อน ไหวของหน่วยสืบราชการลับของรัสเซีย (เคจีบี) จากนายบูท อ้างว่าเป็น 'ผู้ช่วยพิเศษ' ของนายกฯ ไทย

อาจส่งผลให้ทางการรัสเซียสงสัยว่า นายศิริโชคทำงานให้กับรัฐบาลไทยเพียงอย่างเดียวจริงหรือไม่

เนื่องจากนายศิริโชคใช้หลักฐานและเรื่องราวที่ปลุกปั้นขึ้นโดยหน่วยงานบางหน่วยของสหรัฐ ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่าทางการรัสเซียยังถือว่านายบูทเป็นผู้บริสุทธิ์และคุ้มครองนายบูท

ไม่ใช่เพราะเป็นผู้ล่วงรู้ความลับใหญ่หลวง แต่ในฐานะพลเมืองรัสเซียที่ถูกปรักปรำ

หลักฐานโผล่... สรุปว่าปลอกกระสุนที่เจอเป็นของกลุ่มชายชุดดำทำหล่นไว้หรือเปล่า

ิby Herogeneral on 2010-09-27 - 00:02 pm
Ref: ข่าวสดรายวัน หน้า 6 (updateวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7242)
บทความโดย: เหล็กใน ชื่อบทความ: หลักฐานโผล่

จาก อัลบั้ม นสพ.ข่าวสดออนไลน์

ตลอดเวลา 4-5 เดือนที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการคลี่คลายคดี 91 ศพเหยื่อปืนจากเหตุการณ์สลายม็อบแดง ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาลเลยแม้แต่น้อย

ตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯในฐานะผอ.ศอฉ. ไม่เคยให้ความสำคัญกับคดีความที่คนเสื้อแดงตกเป็นผู้เสียหาย

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้คลี่คดี 91 ศพโดยตรงก็ทำงานแบบอืดอาด

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ไม่ได้สร้างความมั่นใจให้ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต

ทวงถามความคืบหน้าในการชันสูตรศพไปแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ก็ไม่ได้รับคำตอบอะไรเลยจากปากนายธาริต ไม่ว่าจะเป็นคดีสังหารหมู่ 6 ศพในวัดปทุมวนาราม

หรือคดีสังหารนักข่าวญี่ปุ่นและอิตาลี นายธาริตกลับบอกว่ารู้แค่ว่าถูกยิงที่จุดไหน แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนฆ่า !?

ผิดกลับคดีการไล่เช็กบิลบรรดาเสื้อแดง นายธาริตดูจะกระตือรือร้นเป็นพิเศษ ให้ความสำคัญยิ่งกว่าการตาย 91 ศพ

แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าญาติผู้เสียชีวิตจะมีความหวังขึ้น

เมื่อทีมสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ดีเอสไอ นำเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญกว่า 20 คนขึ้นไปตรวจสอบบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส จากสถานีสยามสแควร์ไปถึงบริเวณหน้าวัดปทุมวนาราม

และจากการตรวจสอบอย่างละเอียดนาน 4 ชั่วโมง พบหลักฐานที่น่าสะพรึงกลัว
เจอปลอกกระสุนปืนเอชเคหลงเหลือตกอยู่ในซอกใต้รางรถไฟฟ้า

เป็นปลอกกระสุนที่เก็บไปไม่หมดหลังเกิดเหตุใหม่ๆ

หลักฐานเหล่านี้ทำให้คดี 91 ศพโดยเฉพาะฆ่าหมู่ 6 ศพวัดปทุมฯดูเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

เพราะไปสอดคล้องกับภาพและคลิปของกลุ่มคนสวมชุดเขียว !!


นอกจากนี้ยังมีการใช้เลเซอร์ตรวจสอบวิถีกระสุนจากบนรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมฯ พบว่าตรงกับจุดที่ 'น้องเกด'กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสากับเพื่อนๆ ถูกยิงตาย

ในชั้นนี้คงยืนยันได้แล้วว่า 6 ศพในวัดปทุมฯถูกกระหน่ำยิงจากบนรางบีทีเอสจริงๆ

ปลอกกระสุน ร่องรอยเขม่าปืน ขวดน้ำเปล่า ถือได้ว่าเป็นหลักฐานเด็ดจริงๆ

แต่ก็ยังไม่มั่นใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบของดีเอสไออีกหลายขั้นตอน

ยังไม่อาจฟันธงลงไปได้ชัดเจน !?

เพราะไม่รู้ว่าเมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ

อาจเห็นใครออกมานั่งแถลง สรุปว่าปลอกกระสุนที่เจอเป็นของกลุ่มชายชุดดำทำหล่นไว้หรือเปล่า

เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ในรัฐบาลยุคนี้

จาก อัลบั้ม นสพ.ข่าวสดออนไลน์
หลักฐาน - เจ้าหน้าที่ดีเอสไอชุดคลี่คดี 6 ศพวัดปทุมฯ บุกขึ้นไปตรวจเก็บหลักฐานบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส จุดที่เคยมีทหารเข้าประจำการช่วงสลายม็อบ พบปลอกกระสุนปืนเอชเคจำนวนหนึ่ง และขวดน้ำดื่มทิ้งไว้

บุกรางรถไฟฟ้า เจอทีเด็ด คลี่ยิง6ศพวัดปทุม

Ref: ข่าวสดรายวัน หน้า 1(update วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7240)

ทีมดีเอสไอพบ ปลอกกระสุน! 'เลเซอร์'ยันวิถี เด็ดหัวเสื้อแดง ไม่มีรอยยิงต่อสู้

หลักฐาน - เจ้าหน้าที่ดีเอสไอชุดคลี่คดี 6 ศพวัดปทุมฯ บุกขึ้นไปตรวจเก็บหลักฐานบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส จุดที่เคยมีทหารเข้าประจำการช่วงสลายม็อบ พบปลอกกระสุนปืนเอชเคจำนวนหนึ่ง และขวดน้ำดื่มทิ้งไว้ (ชมภาพชุด น.16)

ผบ.สำนักคดีเทคโน โลยีดีเอสไอนำทีมขนอุปกรณ์ไฮเทคขึ้นตรวจสถานีรถไฟฟ้าสยาม และวัดปทุมวนาราม ไขปริศนาคดีการเสียชีวิต 6 ศพในเขตอภัยทานวัดปทุมฯ พบหลักฐานสำคัญเป็นปลอกกระสุนปืน 'เอชเค' กระ จายตกอยู่ใต้ราง อีกทั้งเลเซอร์ตรวจวิถีกระสุนชี้ชัด มีการยิงกระสุนปืนจากตำแหน่งที่ 'กลุ่มชายแต่งกายคล้ายทหาร' ยืนอยู่บนรางรถไฟฟ้าเข้าไปในวัดปทุมฯ จริง และตรงจุดเดียวกันนี้ยังสาดกระสุนไปสู่จุดที่มีผู้เสียชีวิต 6 ศพได้เช่นกัน แต่ไม่พบร่องรอยยิงปืนจากในวัดเข้าใส่กลุ่มชายคล้ายทหาร ส่วนดีเอสไออีกทีมลุยเก็บหลักฐานย่านบ่อนไก่-พระราม 4-ศาลาแดง เพื่อคลี่คลาย คดียิงเสื้อแดง ตะลึง! เจอรูกระสุนจริงนับร้อยรู ทั้งเอ็ม-16 และ 9 ม.ม. ทนายทักษิณยื่นร้อง 'ยูเอ็น' รบ.ไทยละเมิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศและสิทธิสากล ด้าน 'มาร์ค' โผล่จ้อ ซีเอ็นเอ็น ลั่นไม่ยุบสภาถ้าเสื้อแดงไม่ยอมสงบ

-ตรวจรถไฟฟ้า-วัดปทุมฯ

เมื่อเวลา 01.00 น. วันที่ 24 ก.ย. พ.ต.ท. วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผบ.สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะรองหัวหน้าคณะทำงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงการเสียชีวิตจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานตรวจสอบ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ประมาณ 20 นาย พร้อมอุปกรณ์การตรวจสอบที่เกิดเหตุ เดินทางมาเก็บหลักฐานบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สยาม และภายในวัดปทุมวนาราม ตรงจุดที่น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือ "น้องเกด" พยาบาลอาสา ถูกยิงเสียชีวิต พร้อมเพื่อนอาสากู้ชีพกู้ภัยและประชาชน รวม 6 ศพ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553

ก่อนเริ่มกระบวนการตรวจสอบ พ.ต.ท. วรรณพงษ์ เรียกเจ้าหน้าที่ทุกคนมาประชุมวางแผนการค้นหาหลักฐานในครั้งนี้บริเวณด้านหน้าทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้าดังกล่าว โดยนำแผนที่มาประกอบคำอธิบายประมาณ 10 นาที ก่อนเจ้าหน้าที่จะแยกย้ายกันปฏิบัติงาน โดยแยกออกเป็น 2 ชุด ชุดแรก ขึ้นไปตรวจบนรางรถไฟฟ้าชั้น 2 ตั้งแต่แยกเฉลิมเผ่าจนถึงหน้าวัดปทุมฯ ชุดที่ 2 ตรวจสอบบริเวณแนวกำแพงและภายในวัดปทุมฯ

ทั้งนี้ ระหว่างปฏิบัติงานโดยรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า และหน้าวัดปทุมฯ มีกำลังเจ้าหน้าที่ดีเอสไอติดปืนกลประมาณ 5 นาย เข้าประจำจุดเพื่อคอยดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับทีมค้นหาหลักฐานตลอดทั้งคืน

-ยิง'เลเซอร์'หาวิถีกระสุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการตรวจสอบ ทีมช่างของบีทีเอสได้เข้ามาตัดกระแสไฟบนรางทั้งหมด ก่อนจะอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ดีเอสไอและนิติ วิทยาศาสตร์ขึ้นไปเท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้สื่อ มวลชนร่วมสังเกตการณ์

สำหรับการตรวจวิถีกระสุน เจ้าหน้าที่ขึ้นไปบนรางรถไฟฟ้าด้านหน้าวัดปทุมวนาราม พร้อมใช้เครื่องมือยิงแสงเลเซอร์ลงมายังพื้นดินตรงจุดที่พบหลุมลักษณะคล้ายกระสุนปืน ขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร จำนวน 3 รอย บริเวณประตูทาง ออก ภายในวัดปทุมฯ โดยมีเจ้าหน้าที่อีกชุดอยู่ภายในวัดด้วย พร้อมกับใช้เครื่องมือยิงเลเซอร์ขึ้นไปบนรางรถไฟฟ้าเช่นเดียวกัน เพื่อตรวจหาวิถีที่ชัดเจน และเดินตรวจหาปลอกกระสุนและหลักฐานอื่นๆ ที่อาจยังหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะกระสุนปืนและปลอกกระสุน ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะนำมา ตรวจสอบเปรียบเทียบกับหลักฐานที่เก็บได้ก่อนหน้านี้ ใช้เวลาค้นหาหลักฐานตั้งแต่ 01.00-05.00 น.

-เจอปลอก'เอชเค'ใต้ราง

พ.ต.ท.วรรณพงษ์ กล่าวว่า การเข้าตรวจสอบหาหลักฐานครั้งนี้ เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ตลอดจนใช้เครื่องมือตรวจหาแนววิถีกระสุนเพื่อคลี่คลายคดีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมกลุ่มนปช. ภายในวัดปทุมวนา ราม ในช่วงที่มีการชุมนุมเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังประสานขอความร่วมมือจากบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ "บีทีเอส" เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบบนแนวรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงตั้งแต่สถานีสยามจนถึงวัดปทุมฯ

รายงานข่าวแจ้งว่า จากการตรวจสอบหาหลักฐานบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชั้น 2 บริเวณด้านหน้าวัดปทุมฯ เจ้าหน้าที่ตรวจพบหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะเป็นกุญแจไขปริศนาว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุยิงประชาชนในช่วงการชุมนุมของคนเสื้อแดง-นปช. โดยพบปลอกกระสุนปืน "เอชเค" ใช้แล้ว ตกกระจายอยู่ใต้รางรถไฟฟ้าประมาณ 3-4 ปลอก เจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์จึงเก็บไว้ตรวจสอบเปรียบเทียบกับหลักฐานหัวกระสุนปืนที่เก็บได้ก่อนหน้านี้ว่าตรงกันหรือไม่

จาก อัลบั้ม นสพ.ข่าวสดออนไลน์
ใครยิง? - เจ้าหน้าที่ขึ้นไปยืนบนรางรถ ไฟฟ้าบีทีเอส ใช้อุปกรณ์เครื่องยิงเลเซอร์ตรวจสอบหาวิถีกระสุนที่ยิงเข้าไปในวัดปทุมวนาราม ในช่วงเหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดง 19 พฤษภาฯ พบว่าตรงกับรอยกระสุนบนพื้นอย่างพอดี

-ชี้คนบนรางยิงใส่วัดปทุมฯจริง

รายงานข่าวจากดีเอสไอ เปิดเผยด้วยว่า เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่เคยเป็นข่าวใหญ่ กรณีมีกลุ่มชายแต่งกายคล้ายทหารยืนอยู่บนรางรถไฟฟ้า ตรงข้ามทางเข้าวัดปทุมฯ พร้อมกับเล็งปืนเข้าไปในวัดปทุมฯ ช่วงเวลาประมาณ 18.00-18.30 น. วันที่ 19 พ.ค.2553 และเทียบกับผลตรวจวิถีกระสุนด้วยเลเซอร์ ทั้งยังพบปลอกกระสุนปืนบนรางรถไฟฟ้าด้วยนั้น แนวทางการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า กลุ่มชายคล้ายทหารดังกล่าวได้ยิงกระสุนปืนเข้าไปในวัดปทุมฯ จริง

นอกจากนั้น ตำแหน่งที่กลุ่มชายคล้ายทหารยืนอยู่ยังสามารถเล็งยิงเข้าไปได้ทุกจุดในวัดปทุมฯ รวมถึงจุดที่พบศพผู้เสียชีวิตทั้ง 6 ศพในวัดปทุมฯ เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ไม่พบร่องรอยการยิงกระสุนปืนตอบโต้จากพื้นราบในวัดปทุมฯ ขึ้นมาใส่กลุ่มชายคล้ายทหารบนรางรถไฟฟ้าดังกล่าว

-ลงพื้นที่'บ่อนไก่-ศาลาแดง'

ต่อมาเวลา 10.00 น. บริเวณหน้าสนามมวยเวทีลุมพินี ถ.พระราม 4 กทม. พ.ต.ท.บัณฑิต ประดับสุข เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ชำนาญการพิเศษดีเอสไอ พร้อมเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กว่า 30 นาย ลงพื้นที่เดินทางตรวจสอบหาหลักฐานแนววิถีกระสุนที่กลุ่มคนเสื้อแดงถูกยิงได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.2553

ครยิง? - เจ้าหน้าที่ขึ้นไปยืนบนรางรถ ไฟฟ้าบีทีเอส ใช้อุปกรณ์เครื่องยิงเลเซอร์ตรวจสอบหาวิถีกระสุนที่ยิงเข้าไปในวัดปทุมวนาราม ในช่วงเหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดง 19 พฤษภาฯ พบว่าตรงกับรอยกระสุนบนพื้นอย่างพอดี

ขั้นตอนการปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่แบ่งกำลังออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกตรวจสอบบริเวณหน้าสนามมวยเวทีลุมพินี ชุมชนบ่อนไก่ จนถึงบริเวณใต้ทางด่วนพระราม 4 ระยะทางกว่า 3 ก.ม. และชุดที่ 2 ตรวจสอบบริเวณแยกศาลาแดงและซอยปลูกจิต ระยะทางประมาณ 3 ก.ม. โดยใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง

สำหรับการตรวจหาหลักฐานวิถีกระสุนนี้ เจ้าหน้าที่จะตรวจทั้งหมด 8 จุด ประกอบด้วย หน้าร้านระเบียงทอง จุดพบศพนายบุญมี เริ่มสุข, หน้าธนาคารกรุงเทพ สาขาบ่อนไก่ จุดพบศพนาย สุพรรณ ทุมทอง, บริเวณปั๊มน้ำมัน ปตท. จุดพบศพนายวารินทร์ วงศ์สนิท, หน้าร้านเซเว่นฯ จุดพบศพนายสมชาย พรสุวรรณ ส่วนจุดบริเวณหน้าสำนักงานไทยประกันชีวิต สาขาลุมพินี และ ริมถนนพระราม 4 เป็นจุดที่มีผู้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่เสียชีวิต และจุดที่อยู่ใต้ทางด่วนพระราม 4 พบศพนายเกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล และนายประจวบ ประจวบสุข

ทั้งนี้ กรณีของนายบุญมี เริ่มสุข หรือลุงบุญมี นั้นเป็นประชาชนทั่วไป ไม่ใช่ผู้ร่วมชุมนุม แต่ถูกลูกหลงกระสุนยิงทะลุช่องท้องขณะเดินออกมากินก๋วยเตี๋ยว

-เจอรูกระสุนปืนนับ 100 นัด

พ.ต.ท.บัณฑิตเปิดเผยว่า จากการตรวจสอบพื้นที่ในวันนี้เป็นการตรวจหาวิถีกระสุนและทิศทางการยิง เพื่อนำไปประกอบสำนวนในคดี โดยหลังจากเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบได้ทันที จึงทำให้การตรวจหาวิถีกระ สุนและหลักฐานต่างๆ ล่าช้าไปมาก แต่จะเร่งรวบรวมหลักฐานให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ จากการตรวจสอบสถานที่ต่างๆ และตู้โทรศัพท์สาธารณะ ที่ตั้งอยู่ริมทางเท้า ถ.พระราม 4 พบมีรอยรูกระ สุนปืนจำนวนมากนับ 100 นัด มีทั้งรูกระสุนปืนเอ็ม 16 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5.56 มิลลิเมตร และกระสุนปืนขนาด 9 ม.ม. การตรวจสอบเจ้าหน้าที่จะใช้เครื่องวัดระยะและอุปกรณ์ของทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ในการตรวจพิสูจน์ จากนั้นจะนำไปประมวลผลการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

พ.ต.ท.บัณฑิตกล่าวอีกว่า เบื้องต้นเท่าที่ตรวจสอบรอยวิถีกระสุนปืนพบว่า มีการยิงมาจาก 2 ทิศทาง เป็นการยิงมาจากทางด้านสะพานไทย-เบลเยียม ข้ามแยกถนนวิทยุ นอกจากนั้น จากการสอบปากคำพยานที่อยู่บริเวณจุดเกิดเหตุทราบว่ามีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายเป็นชายวัยรุ่น อายุ 17 ปี นอนเสียชีวิตอยู่บนฟุตปาธหน้าร้านอันซีน ทราเวล สาขาลุมพินี เลขที่ 1881/9 ซึ่งผู้เสียชีวิตดังกล่าวไม่มีอยู่ในสำนวนของดีเอสไอ แต่อาจจะอยู่ในสำนวนของพนักงานสอบสวนชุดอื่น ซึ่งต้องตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป

-ถ่ายรูป-เก็บข้อมูลอาคารสูง

เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยา ศาสตร์เดินทางไปตรวจสอบบริเวณซอยปลูกจิต ถ.พระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ซึ่งเป็นจุดที่นายสมัย ทัดแก้ว อายุ 35 ปี ถูกยิงแผ่นหลัง 1 นัด ล้มลงอยู่หน้าร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ก่อนจะมีผู้นำส่งร.พ.กล้วยน้ำไท 1 ในวันที่ 19 พ.ค. เข้าพักรักษาตัวที่ร.พ.ประมาณ 14 วัน ก่อนจะเสียชีวิตในวันที่ 31 พ.ค. และมีพยานให้ข้อมูลว่าเห็นผู้เสียชีวิตเดินอยู่บนถนนพระราม 4 ก่อนจะได้ยินเสียงปืนดังขึ้น จึงรีบวิ่งเข้ามาในซอยประมาณ 50 เมตร ก่อนถูกยิงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยา ศาสตร์ได้ถ่ายรูปที่เกิดเหตุและบริเวณอาคารสูง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

จากนั้นจึงเดินทางไปตรวจจุดต่อไป คือ บริเวณ ซอยศาลาแดง 1 หน้าบริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เลขที่ 1010/16 แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. เป็นจุดที่ 2 ที่นายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี ถูกยิงศีรษะ 1 นัดเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที ทางเจ้าหน้าที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้ตรวจวิถีกระสุน บริเวณประตูเหล็กเลื่อนหน้าบริษัทที่มีรอยกระสุนเฉี่ยวบริเวณประตูเหล็ก และเสาปูน โดยใช้เครื่องเลเซอร์วัดระยะและตรวจวิถีกระสุน ก่อนจะถ่ายภาพร่องรอยในที่เกิดเหตุใช้เวลาตรวจราว 30 นาที จึงแล้วเสร็จ

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการเข้าตรวจหาร่องรอยบริเวณแยกบ่อนไก่ เจ้าหน้าที่ตรวจจากร่องรอยรูกระสุนปืนจากบริเวณตามบ้านเรือน ราวบันไดสะพานลอย ป้ายโฆษณา หน้าตึกแถวร้านขายสินค้าและตู้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งพบว่ายังมีร่องรอยรูกระสุนปืนอยู่เป็นจำนวนมาก

-'ตู่'เปิดศูนย์เยียวยาเสื้อแดง

เวลา 13.00 น. ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว กทม. นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทยและแกนนำนปช. แถลงข่าวการเปิดศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในการชุมนุม (นปช.) ที่ชั้น 5 ศูนย์การค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว ว่า นับแต่เหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เม.ย.-19 พ.ค. มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ที่ผ่านมาคนเสื้อแดงได้ให้เงินบริจาคช่วยเหลือจำนวนมาก แต่ถูกตรวจสอบจากรัฐบาลและไม่ให้นำเงินออกมาใช้ เมื่อถึงช่วงเวลานี้ได้พูดคุยกันในหมู่ผู้ใหญ่คนเสื้อแดงและคนที่เสื้อแดงคิดถึงว่า ถึงเวลาต้องช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ได้รับความเดือดร้อน จึงตั้งศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในการชุมนุม เพื่อช่วยเหลือในด้านต่างๆ โดยมีคณะกรรมการหลักๆ ที่จะร่วมประชุมกันทุกวันพฤหัสบดี อาทิ น.ส.สุนีย์ เหลืองวิจิตร อดีตเลขาธิการพรรค นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เจ้าของห้างสรรพสินค้าอิมพี เรียล ลาดพร้าว โดยกองทุนช่วยเหลือเยียวยามีเงินหมุนเวียนประมาณ 1,500,000 บาท

"ถ้าวันนี้เปลี่ยนแปลงรัฐบาลมาเป็นพรรคเพื่อไทย จะดูแลผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยครอบ ครัวผู้เสียชีวิตรับครอบครัวละ 10 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ถือว่าน้อยมาก หากเทียบกับการที่รัฐบาลโกงกินภาษีประชาชน" นายจตุพรระบุ

-ดีเอสไอขอข้อมูล'เพื่อไทย'

เวลา 13.30 น. ที่พรรคเพื่อไทย ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดี ดีเอสไอ ซึ่งได้รับการมอบหมายจากอธิบดี ดีเอสไอ เดินทางเข้าพบพล.ต.ท.วิโรจน์ เปา อินทร์ ประธานกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของดีเอสไอเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เม.ย.-17 พ.ค.2553 ของพรรคเพื่อไทย เพื่อรับทราบข้อมูลสาเหตุการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ 89 ศพ หลังจากพล.ต.ท. วิโรจน์ได้เข้าให้ข้อมูลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากับ ดีเอสไอ โดยมีคณะกรรมการพรรคเพื่อไทยเข้าร่วมประชุมหารือ ประกอบด้วยพล.ต.อ.วิรุฬห์ ฟื้นแสน พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง ใช้เวลาการประชุมนาน 1 ชั่วโมงครึ่ง

จาก อัลบั้ม นสพ.ข่าวสดออนไลน์
เปิดศูนย์ - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทยและแกนนำนปช. แถลงเปิดศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค. ที่ชั้น 5 ศูนย์การค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 24 ก.ย.

พ.ต.อ.ณรัชต์ ให้สัมภาษณ์หลังประชุมว่า การเข้าพบพล.ต.ท.วิโรจน์เพื่อแสดงความจริงจังในการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของทั้ง 89 ศพจากพรรคเพื่อไทย เพื่อหาหลักฐานให้ครบถ้วนและหาสาเหตุการเสียชีวิตของทั้ง 89 ศพ จากการพูดคุยเบื้องต้น พล.ต.ท.วิโรจน์แสดงความห่วงใยต่อพยานที่จะเข้าให้ปากคำ เนื่องจากพยานบางส่วนกังวลว่าจะมีการปองร้าย และไม่สะดวกเข้าให้ข้อมูลกับดีเอสไอโดยตรง เรื่องดังกล่าวดีเอสไอมีโครงการคุ้มครองพยาน จัดเจ้าหน้าที่ดูแลคุ้มครองความปลอดภัยอยู่แล้ว ส่วนกรณีไม่สะดวกเข้าให้ข้อมูลที่ดีเอสไอ จะส่งเจ้าหน้าที่มารับทราบข้อมูลที่พรรคเพื่อไทยก็ได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน

-นัดสืบพยานฝ่ายกองทัพต.ค.นี้

"ดีเอสไอทราบข้อมูลเบื้องต้นของทั้ง 89 ศพบ้างแล้วว่าเป็นใคร เสียชีวิตจากสาเหตุอะไร เหลือเพียงว่าใครทำให้ตาย ผู้เกี่ยวข้องมีใครบ้างและมีพยานหลักฐานใดที่จะสามารถเอาผิดได้ ส่วนระยะเวลายังบอกไม่ได้แน่นอน เนื่องจากต้องดูพยานหลักฐานก่อน แต่จะทำให้เร็วและถูกต้องที่สุด" พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าว

รายงานข่าวพรรคพื่อไทยแจ้งด้วยว่า ระหว่างการประชุม พ.ต.อ.ณรัชต์ชี้แจงถึงกระบวนการดำเนินการของดีเอสไอว่า การสอบสวนการเสียชีวิต 89 ศพ จะแยกการสอบสวนเป็น 25 คดี ส่วนการเข้ารับฟังข้อมูลของดีเอสไอในวันนี้ เป็นการฟังความของ 2 ฝ่าย เนื่องจากตอนนี้ทางดีเอสไอมีข้อมูลจากศอฉ. เพียงด้านเดียวเท่านั้น และจะนัดสืบพยานทางกองทัพในช่วงเดือนต.ค. และทางดีเอสไอยืนยันว่ากระบวนการสอบสวนต้องการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด ไม่ใช่เพียงขอข้อเท็จจริงให้กับสาธารณชนเท่านั้น โดยพรรคเพื่อไทยจะใช้เวลา 1 สัปดาห์เพื่อรวบรวมเรื่องที่มีอยู่ส่งต่อไปที่ดีเอสไอ และทางพรรคจะดูว่าดีเอสไอมีความจริงใจเพียงใดในการสอบสวนคดีนี้ ขณะที่พ.ต.อ.ณรัชต์ได้ชี้แจงว่า กระบวน การสอบสวนจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นตามกรอบเวลา 45 วัน แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะยืดเวลาออกไป

-'คอป.'ชี้ตาย92ศพ-พบ'ป๊อก'

น.พ.รณชัย คงสกนธ์ ประธานอนุกรรมการเยียวยา ในกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอนุกรรมการฯ ได้รวบรวมตัวเลขผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บและรับผลกระทบอย่างเป็นทางการ พบว่าผู้เสียชีวิตจากเหตุไม่สงบทางการเมืองทั้งหมดมี 92 คน ไม่ใช่ 91 คน ซึ่งตนได้ไปพบปะพูดคุยกับญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ทั้ง จ.ลำพูน จ.เชียงใหม่ และยังมีเป้าหมายอีกหลายจังหวัด เป็นการดำเนินการภายใต้ 10 มาตรการประกอบด้วย 1.เยียวยาผู้ถูกกระทำ เยียวยาชุมชน และสังคม 2.จัดเวทีให้ผู้ได้รับผลกระทบได้พูด ซึ่งจะมีขึ้นเร็วๆ นี้ 3.พบปะแลกเปลี่ยนผู้นำศาสนาและผู้นำทางสังคม 4.ประสานหน่วยงานราชการให้ความช่วยเหลือทรัพย์สินเงินทองผู้ได้รับผลกระทบ 5.เปิดศูนย์รับร้องทุกข์ 6.พบปะกับผู้ที่มีจิตใจอยากจะสร้างความสมานฉันท์ 7.สร้างจุดศูนย์กลางของจังหวัด 8.หาทางป้องกันเหตุรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 9.ทำสารคดีเพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบได้แสดงออกและ 10.พบปะหาทางเยียวยาเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารที่ปฏิบัติการในพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันจันทร์ที่ 27 ก.ย. กรรมการคอป.จะเดินทางเข้าพบพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เพื่อขอทราบข้อมูล โดยเฉพาะแผนปฏิบัติการใช้กำลังในช่วงเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค.2553

-ทนายทักษิณฟ้อง'ยูเอ็น'

วันเดียวกัน นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนาย ความพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ให้สัมภาษณ์ว่า วัตถุประสงค์การออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 3 ส่งไปถึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ชัดเจนตามถ้อยความในจดหมาย เพราะโลกเห็นว่า รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขัดขวางและไม่เต็มใจที่จะสอบสวนสาเหตุที่พลเรือนถูกสังหารในช่วงการชุมนุมเสื้อแดง เท่ากับเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ กฎ หมายอาญาระหว่างประเทศและกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล จดหมายฉบับนี้ต้องการบอกว่า เราจะไม่หยุดดำเนินการเรียกร้องให้มีการสอบ สวนที่เป็นอิสระ

เมื่อถามว่าคาดหวังอะไรจากรัฐบาลไทยในการออกจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ นายอัมสเตอร์ ดัม กล่าวว่า ตนดำเนินการเรื่องนี้ด้วยจุดประสงค์ 2 อย่าง อย่างแรก คือเป็นตัวแทนพลเรือนที่สูญเสียญาติพี่น้อง แต่กลับไม่ได้รับการดูแล ไม่มีการสอบสวนสาเหตุการตายใดๆ ที่ผ่านมาเรียกว่าเป็นศูนย์ อย่างที่สอง ต้องการบอกว่าสมาชิกคนเสื้อแดงถูกข่มขู่คุกคามด้วยวิธีการต่างๆ สิ่งที่น่าตกใจก็คือ สมาชิกของรัฐบาลพยายามปกปิดข้อมูลและสนับสนุนคนที่ทำอันตรายต่อพลเรือนให้ได้ดี

นายอัมสเตอร์ดัมระบุว่า ในฐานะทนาย ตนไม่ได้ข่มขู่ แต่ขอเรียกจดหมายฉบับนี้ว่าเป็น Wake up letter (จดหมายปลุกให้ตื่น) เพื่อเรียกสติให้รัฐบาลรู้ว่า ขณะนี้มีกฎหมายระหว่างประ เทศอยู่ มีกฎหมายอาญาระหว่างประเทศอยู่ ให้ตัดสินใจเอาเองว่าจะทำอย่างไร ขอย้ำว่าความไม่รู้กฎหมายไม่ได้เป็นข้อแก้ตัวและไม่มีอะไรที่ปกปิดความจริงได้

-'เทือก'ปัดเสนอเลิกพ.ร.ก.

ส่วนสถานการณ์บังคับใช้พ.ร.ก.บริหารราช การในสถานการณ์ฉุกเฉิน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ในฐานะ ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ให้สัม ภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล กรณีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย เสนอยกเลิกพ.ร.ก.ฉุก เฉินในพื้นที่ จ.ขอนแก่น อุดรธานี และนคร ราชสีมา ว่า กระทรวงมหาดไทยเสนอมาได้ แต่ต้องดำเนินการตามที่ตนเคยสั่งการ คือให้ประ เมินสถานการณ์จนถึงวันที่ 4 ต.ค. ต้องประเมินทุกจังหวัด ส่วนจะยกเลิกจังหวัดใดนั้นต้องให้คณะกรรมการ ศอฉ.ร่วมพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินก่อนนายอภิสิทธิ์ นายกฯ จะไปร่วมประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ระหว่าง 3-6 ต.ค. นายสุเทพกล่าวว่า อาจมีความเป็นไปได้

เมื่อถามว่าเหตุที่ไม่ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินเพราะอะไร นายสุเทพกล่าวว่า เพราะสถาน การณ์ไม่น่าไว้วางใจ หรืออาจเป็นต้นเหตุและช่องโหว่ให้เกิดความวุ่นวาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตปกติสุขของประชาชน เสียหายต่อเศรษฐกิจและภาพพจน์ประเทศ ต่อข้อถามว่าหากเปรียบเทียบระหว่างการประกาศใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินกับการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้านเศรษฐ กิจและการท่องเที่ยวเสียหายแตกต่างกันอย่างไร นายสุเทพตอบว่า ไม่ค่อยแน่นอน เพราะตนดูจากกรณีที่ จ.เชียงใหม่ ตอนแรกมีการเรียกร้องให้ยกเลิก เพราะหวังว่าจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น แต่ปรากฏว่าพอยกเลิกแล้วกลายเป็นสถานที่ที่คนเคลื่อนไหวชุมนุมกันและมาเรียกร้องให้ประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกครั้ง ซึ่งเราไม่ประกาศแล้ว

-'ไก่อู'โต้ฮิวแมนไรต์วอตช์

ที่กองบัญชาการกองทัพบก นายสุเทพทำหน้าที่ประธานการประชุมศอฉ. มีนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการศอฉ. และผู้แทนเหล่าทัพ เข้าร่วมประชุม ใช้เวลาหารือสั้นๆ 45 นาที

จากนั้นพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. แถลงว่า ที่ประชุมรับฟังรายงานสถาน การณ์ ตามปกติ และหารือกรณีกลุ่มสิทธิมนุษยชน "ฮิวแมนไรต์วอตช์" ระบุว่าการใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนทั่วไป และขณะนี้ยังมีการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยอยู่ ซึ่งในที่ประชุมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ นายสุเทพจึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ และเลขาธิการศอฉ.รวบรวมข้อมูลเพื่อแถลงชี้แจงต่อไป

"ความจริงการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นำเรียนต่อที่ประชุมให้ได้รับทราบมาหลายครั้งว่าปัจจุบันไม่ได้มีการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามหมาย ฉฉ. แต่เป็นการควบคุมตัวในความผิดอาญาที่ได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมมาแล้ว การควบคุมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมราช ทัณฑ์กับสถานพินิจรวม 13 แห่ง จำนวน 185 คน อยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางอีก 5 คน และอยู่ที่กรมพินิจคุ้มครองเด็กอีก 3 แห่ง คือ กทม. อยุธยา และอุบลราชธานี แห่งละ 1 คน ดังนั้น สิ่งที่เป็นข้อมูลข่าวสารที่ฮิวแมนไรต์วอตช์เสนอไปนั้นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง" พ.อ. สรรเสริญกล่าว

เมื่อถามถึงการพิจารณาว่าจะต่ออายุพ.ร.ก. ฉุกเฉินที่จะครบกำหนดในวันที่ 7 ต.ค.นี้หรือไม่ พ.อ.สรรเสริญกล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่ได้ลงในรายละเอียด เพราะยังมีเวลาพิจารณาถึงวันที่ 4 ต.ค.

-'มาร์ค'โผล่แจงซีเอ็นเอ็น

ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น ระหว่างร่วมประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นถามว่า ทำไมรัฐบาลไม่ยุบสภาเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากทุกฝ่ายของประเทศเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ให้ย้อนไปดูข้อเสนอ 3 ข้อที่รัฐบาลยื่นให้และกลุ่มเสื้อแดงปฏิเสธตลอด หนึ่งในนั้นคือการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมนำไปสู่การเลือกตั้งที่สันติและทุกฝ่ายต้องเห็นพ้องในกฎต่างๆ เช่นเดียวกัน

เมื่อถามว่า เมื่อไหร่สภาพแวดล้อมเช่นนั้นจะเกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า รัฐบาลกำลังเร่งทำงานเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ ถ้าหากกลุ่มเสื้อแดงหยุดทุกความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง และเปิดให้นักการเมืองและทุกพรรคทำงานกันอย่างมีอิสระ นักการเมืองเดินทางไปไหนต่อไหนได้อย่างเสรี อาจนำไปสู่การเลือกตั้งที่สันติได้ ส่วนจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับฝ่ายเสื้อแดง รัฐบาลพูดมาตลอดว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ซึ่งขณะนี้ฟื้นแล้ว เมื่อทุกฝ่ายยอมรับในกฎเกณฑ์และเงื่อนไขก็กลับมาดูถึงความเป็นไปได้ในการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง

-แขวะ'แม้ว'จอมบงการ

สำหรับการประท้วงของกลุ่มเสื้อแดงที่ยังดำเนินอยู่ และมีบทบาทสำคัญตลอดที่รัฐบาลชุดนี้อยู่ในอำนาจนั้น นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลไม่เคยมีปัญหากับการชุมนุมประท้วงสันติ ถือเป็น การแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่รัฐบาลเน้นคือการดำเนินนโยบายเพื่อคนส่วนใหญ่ รัฐบาลแยกปัญหาการเมืองออกจากเศรษฐกิจ แม้แต่กระทั่งเศรษฐกิจโลก "สิ่งที่ผมทำมาตลอด คือ การสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้า สำหรับการเลือกตั้งรัฐบาลยื่นข้อเสนอไปแล้ว ขึ้นอยู่กับกลุ่มเสื้อแดงเท่านั้นว่าจะรับเงื่อนไขหรือไม่" นายอภิสิทธิ์กล่าว

นักข่าวซีเอ็นเอ็นถามว่า การที่กลุ่มเสื้อแดงยังสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ และพ.ต.ท.ทักษิณเอ่ยปากแล้วว่าจะไม่แทรกแซงการเมืองไทย ส่วนตัวมีความเชื่อถือคำพูดนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณน่าจะทำให้ได้เหมือนที่พูด เพราะเห็นอยู่ชัดเจนว่ามีความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนไปมาหาสู่กับพ.ต.ท. ทักษิณตลอดเวลา และเห็นชัดว่าอดีตนายกฯ ยังคงเป็นผู้กำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวเหล่านั้นอยู่